×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

เมื่อเร็วๆนี้ ธนาคารยูโอบีได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท Guangzhou Auto Group (GAC) Aion เพื่อผนึกความร่วมมือแบบครอบคลุมทุกมิติในการเข้ามาทำธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยธนาคาร ยูโอบี ประเทศจีน และ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยจะร่วมสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินสำหรับการขยายธุรกิจ การพัฒนาตลาดและ การลงทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ของบริษัท

ข้อตกลงในครั้งนี้เป็นการสานต่อความร่วมมืออันยาวนานระหว่าง ธนาคารยูโอบี ประเทศจีน กับ GAC Aion ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารายใหญ่ลำดับที่ 3 ภายในประเทศจีนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 ภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ GAC Aion และ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลล์ (ประเทศไทย) จะได้รับประโยชน์จากบริการ Global Credit Services เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการขยายกิจการและดำเนินธุรกิจ บริการธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ บริการบริหารความเสี่ยงที่หลากหลาย และการเข้าถึงสินเชื่อสีเขียวภายใต้กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนของธนาคารในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน

ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ธนาคารยูโอบีขอร่วมแสดงความยินดีกับ GAC Aion กับก้าวแรกแห่งความสำเร็จในการเข้ามาสู่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าประเทศไทย จากความสัมพันธ์ที่ก่อตัวขึ้นอย่างยาวนาน ยูโอบีรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่บริษัทเลือกธนาคารเป็นสถาบันทางการเงินหลักเพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจนอกประเทศ ในฐานะธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาคที่มีรากฐานที่มั่นคงในประเทศไทย ยูโอบีได้ช่วยเหลือให้ GAC Aion ได้เข้ามาทำตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังเติบโตในประเทศได้อย่างประสบความสำเร็จเพราะธนาคารมีเครือข่ายที่แข็งแกร่งและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจในประเทศไทยเป็นอย่างดี ยูโอบีพร้อมมอบความช่วยเหลือเพิมเติมให้แก่บริษัทเพื่อสนับสนุนความต้องการในการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค และการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้ยานยนต์สีเขียวต่อไปในอนาคต

บันทึกความเข้าใจนี้สืบเนื่องจากที่ GAC Aion ได้เปิดตัว Aion Y Plus รถยนต์พลังงานไฟฟ้าสำหรับจำหน่ายในต่างประเทศเป็นที่แรกในประเทศไทย โดยเมื่อปี 2565 บริษัทได้วางกลยุทธ์ขยายธุรกิจไปยังตลาดใหม่ในต่างประเทศ และเลือกภูมิภาคอาเซียนที่ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีประเทศไทยเป็นจุดหมายแรกในการปักธงธุรกิจ ธนาคารยูโอบีนำโดยหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment Advisory Unit) พร้อมด้วยผู้จัดการลูกค้าสัมพันธ์ และ หน่วยบริการธุรกิจจีนได้ร่วมให้คำแนะนำในการขยายธุรกิจแก่บริษัทในทุกมิติ ทำให้ Gac Aion สามารถจัดตั้งบริษัทย่อย จดทะเบียนลงทุนทางตรงในต่างประเทศ และส่งออกรถยนต์รุ่น Y Plus มาทำตลาดในไทย นอกจากนี้ธนาคารยังให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยสามารถชำระเงินเป็นสกุลเงินบาท และโอนเงินโดยตรงให้แก่บริษัทที่จีนเป็นสกุลเงินหยวนได้ทันที”

โอเชียน หม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้วหลังจากที่บริษัทได้จัดตั้งหน่วยธุรกิจต่างประเทศ เราได้เรียนรู้และสานสัมพันธ์กับธุรกิจในประเทศต่างๆ ผ่านเครือข่ายระดับภูมิภาคที่เข้มแข็งของธนาคารยูโอบีทำให้เรามีข้อมูลและรับทราบความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเวลาขยายธุรกิจออกนอกประเทศ อีกทั้งธนาคารยังช่วยเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างบริษัทกับตัวแทนจากภาครัฐทั่วภูมิภาคอาเซียนที่ตั้งอยู่ในมณฑลกวางโจว และตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ยูโอบีจึงไม่เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงินแต่เป็นคู่คิดที่อยู่เคียงข้างเราในทุกๆ ก้าวของการเดินทาง”

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเป็นผู้ผลิตและส่งออกรถยนต์พลังงานไฟฟ้าอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่เปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่น Y Series ทุกรุ่น Gac Aion มีแผนที่จะตั้งโรงงานและใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทยและประเทศอื่นๆ

กู่ ฮุ่ยหนาน กรรมการผู้จัดการบริษัท GAC Aion New Energy Automotive Co., Ltd กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัทมีแผนจะใช้ประเทศไทยเป็นที่แรกเพื่อตั้งโรงงานประกอบรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและสร้างเครือข่ายในการขยายธุรกิจส่งออกรถยนต์ไปต่างประเทศ ซึ่งเราได้รับการสนับสนุนจากธนาคารยูโอบีในการเข้ามาทำตลาดในภูมิภาคนี้เป็นอย่างดี บริษัทพร้อมจะเติบโตไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องและยินดีที่จะร่วมงานกับธนาคารเพื่อเสริมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้แก่ทุกคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซินเทีย ซิง, Head of Corporate Banking, ธนาคารยูโอบี ประเทศจีน กล่าวว่า “ยูโอบีรู้สึกยินดีที่ได้รับความไว้วางใจจาก GAC Aion พร้อมทั้งมีความเชื่อมั่นว่าการลงนามในข้อตกลงร่วมครั้งนี้จะกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจของเราให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการตอกย้ำจุดยืนของธนาคารในฐานะผู้ให้บริการทางการเงินหลักของ Aion และ GAC Aion ที่พร้อมสนับสนุนการขยายโอกาสทางธุรกิจอย่างครอบคลุมทั่วภูมิภาคอาเซียนผ่านการให้สินเชื่อหมุนเวียนทางธุรกิจ โซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืน รวมทั้งการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงิน (global markets)และกิจกรรมในตลาดทุน (capital markets)”

· ในปี 2567 ยอดจัดส่งรถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มเป็น 17.9 ล้านคัน

· ในปี 2570 รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) จะมีราคาเทียบเท่ารถเครื่องยนต์สันดาป (ICE) ในขนาดและรูปร่างคล้ายกัน

· ในปี 2573 มากกว่าครึ่งหนึ่งของรถยนต์ทุกรุ่นที่ผลิตออกมาจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

 การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดการจัดส่งรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าทั่วโลก (แบบใช้พลังงานจากแบตเตอรี่และแบบปลั๊กอิน-ไฮบริด) ในปี 2566 มีปริมาณเกือบ 15 ล้านคัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 19% ในปี 2567 คิดเป็นยอดรวม 17.9 ล้านคัน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ในปี 2567 ปริมาณการจัดส่งยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั้งหมด ตั้งแต่ รถยนต์ (Cars) รถโดยสาร (Buses) รถตู้ (Vans) และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (Heavy Trucks) จะมียอดรวมที่ 18.5 ล้านคัน โดยในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าจะคิดเป็น 97% ของยอดการจัดส่งยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในปีหน้า

การ์ทเนอร์คาดว่ารถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ทั่วโลกจะเติบโตจาก 9 ล้านคันในปี 2565 เพิ่มเป็น 11 ล้านคัน ภายในสิ้นปี 2566 โดยคาดว่ารถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) จะเติบโตช้าลงเล็กน้อยจาก 3 ล้านคัน ในปี 2565 เพิ่มเป็น 4 ล้านคันในปี 2566

โจนาธาน ดาเวนพอร์ท ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “สัดส่วนของรถ PHEV คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ของรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น โดยมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศเหล่านั้นชื่นชอบรถ PHEV มากกว่ารถ BEV โดยผู้บริโภคในสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนจากรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) มาเลือกใช้รถ PHEV มากกว่า BEV เนื่องจาก PHEV มีความสามารถที่ผสมผสานระหว่างการขับขี่ในเมืองที่ไร้มลพิษด้วยพลังงานไฟฟ้าจากมอเตอร์ และยังมอบความสะดวกสบายในการขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเพื่อการเดินทางที่ยาวนานและไกลขึ้น ซึ่งในตลาดยุโรปตะวันตก จีน และอินเดียแตกต่างออกไป โดยรถ PHEV ได้รับความสนใจน้อยกว่า BEV เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดเหล่านี้ให้ความสำคัญกับต้นทุนการใช้งานโดยรวมที่ต่ำกว่า รวมถึงประสบการณ์การขับที่เงียบกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

ในปี 2573 จำนวนรถยนต์ทุกรุ่นที่ผลิตออกมาทั้งหมด จะเป็น EV มากกว่า 50%

การตัดสินใจของภาครัฐบาลที่มุ่งมั่นลดการปล่อยฝุ่นละอองจากยานพาหนะและการริเริ่มโครงการสนับสนุนในบางประเทศ อาทิ การออกกฎหมายเพื่ออนุญาตให้จำหน่ายเฉพาะยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และการออกข้อบังคับให้ต้องใช้รถ PHEV เป็นอย่างน้อย อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์ โดยผู้ผลิตรถยนต์บางรายกำลังมองหาวิธีกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากท่อไอเสียของรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ ๆ ภายในปี 2578 และบางรายตั้งเป้าที่จะบรรลุยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดสหรัฐฯ ให้ได้ 40% ถึง 50% ต่อปี ภายในปี 2573 นอกจากนี้ ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้าได้นำไปสู่การเปิดตลาดใหม่ ๆ ของแพลตฟอร์มการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (EV Platform)

“กฎระเบียบด้านมลพิษที่เข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนโมเดลรถยนต์ที่ทำการตลาดอยู่มากกว่าครึ่งหนึ่งให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2573” ดาเวนพอร์ต กล่าวเพิ่มในปี 2570 รถ BEV จะมีราคาเท่ากับรถ ICE ที่มีขนาดและรูปแบบคล้ายกัน

นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ยังคาดว่า ภายในปี 2570 ราคาเฉลี่ยของรถ BEV จะเท่ากับรถยนต์ ICE ที่มีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะเร่งให้เกิดการใช้ EV ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2573 การผลิตไฟฟ้าและประสิทธิภาพเครือข่ายจะเป็นปัจจัยกำหนดการใช้งาน EV ให้แพร่หลายเหนือกว่าปัจจัยด้านราคา

“เว้นแต่ในประเทศต่าง ๆ จะจูงใจผู้ขับขี่รถ EV ให้ชาร์จแบตเตอรี่นอกช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด นอกจากนี้การเปลี่ยนไปใช้รถ EV อาจสร้างความต้องการที่มากขึ้นเพิ่มเติมทั้งในด้านกำลังการผลิตไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานในการจ่ายไฟ” ดาเวนพอร์ต กล่าวเพิ่ม

“การใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบกลางวันและกลางคืน (Dual Day and Night) หรือแม้แต่การใช้อัตราค่าไฟฟ้ารายครึ่งชั่วโมง (Half-Hourly Electricity Tariffs) สามารถจูงใจผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าให้หันมาชาร์จไฟนอกช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก (Peak Times) ซึ่งจะต้องมีการนำมาตรวัดพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะมาใช้เป็นวงกว้าง นอกจากนั้น ความสามารถของสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในการควบคุมเครื่องชาร์จ EV โดยตรงผ่านการเชื่อมต่อจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง หรือ Application Programming Interfaces (API) จะทำให้การชาร์จ EV ถูกลดทอนลงชั่วขณะระหว่างช่วงเวลาที่มีการบริโภคสูงสุด เพื่อให้มั่นใจว่าความต้องการการใช้ไฟฟ้าจะไม่มากเกินไป” ดาเวนพอร์ต กล่าวสรุป

 

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ประกาศความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ด้วยยอดขายรวมในปี 2560 จากจำนวนการส่งมอบรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ แบรนด์บีเอ็มดับเบิลยู บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด และมินิ รวมสูงสุดกว่า 11,030 คัน เติบโตขึ้นถึง 39% จากปีก่อนหน้า ถือเป็นครั้งแรกที่สร้างสถิติยอดขายรวมต่อปีด้วยตัวเลขหลักหมื่น และเป็นยอดขายต่อปีที่ดีที่สุดของบริษัทสำหรับทั้งสามแบรนด์ โดยเฉพาะ บีเอ็มดับเบิลยู ในประเทศไทย ที่สร้างผลงานน่าประทับใจด้วยตัวเลขอัตราการเติบโตปีต่อปีถึง 43% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในเครือข่ายบีเอ็มดับเบิลยูทั่วโลก

มร. สเตฟาน ทอยเชอร์ต ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปี 2560 ที่ผ่านมา บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย สร้างผลงานที่น่าประทับใจด้วยตัวเลขยอดขายตามเป้าหมายจากทั้ง 3 แบรนด์ ทั้งบีเอ็มดับเบิลยู มินิ และบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด โดยนอกจากบีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ที่ประสบความสำเร็จด้วยอัตราการเติบโตสูงที่สุดในเครือข่ายบีเอ็มดับเบิลยูทั่วโลกแล้ว  เซกเมนต์ของรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดยังมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 269% โดยเราเชื่อมั่นว่าตลาดรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดในประเทศไทย ยังคงมีศักยภาพที่จะเติบโตขึ้นอีกมากในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ที่มียอดการส่งมอบรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูในตระกูลบีเอ็มดับเบิลยู i และ บีเอ็มดับเบิลยู iPerformance กว่า 100,000 คันทั่วโลก เป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีแห่งอนาคตของเรา คือสิ่งที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานรถยนต์ทั่วโลก”

 

มร. สเตฟาน ทอยเชอร์ต ประธาน บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย

ในขณะเดียวกัน ยอดขายของมินิ ประเทศไทย ก็เติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเช่นกันเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ด้วยจำนวนการส่งมอบรถยนต์รวม 1,010 คันในปี 2560 เพิ่มขึ้น 11% จากปีก่อนหน้า และสำหรับ บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด ประเทศไทย ก็ยังคงรักษาระดับความสำเร็จอย่างต่อเนื่องด้วยตัวเลขการเติบโตต่อปีในระดับสองหลักถึงหกปีซ้อน กับยอดส่งมอบรถมอเตอร์ไซค์ถึง 2,001 คัน คิดเป็นอัตราการเติบโตต่อปีที่ 10% โดยทั้งสองแบรนด์ต่างก็ได้สร้างสถิติใหม่สำหรับเดือนธันวาคม 2560 ด้วยจำนวนการส่งมอบรถยนต์มินิให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยรวม 168 คัน ซึ่งเป็นยอดขายที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2558 และยอดการส่งมอบรถมอเตอร์ไซค์จากบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด ประเทศไทยกว่า 300 คันในเดือนเดียวกัน

 

2560: ศักราชแห่งทางเลือกในการบริการรูปแบบใหม่ และที่สุดของประสบการณ์ไลฟ์สไตล์เหนือระดับ

นอกจากความสำเร็จครั้งประวัติการณ์ในด้านยอดขายแล้ว บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ยังได้นำเสนอทางเลือกในการบริการหลังการขายรูปแบบใหม่ในปี 2560 ที่ผ่านมา ด้วยการปรับโฉมโปรแกรมบำรุงรักษารถยนต์ BMW Services Inclusive (BSI) และ MINI Service Inclusive (MSI) ซึ่งมาพร้อมตัวเลือกแพ็คแกจการบริการและการรับประกันรูปแบบใหม่ ที่ผ่านการคัดสรรให้เหมาะสมกับความต้องการในการขับขี่อันเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น

ในด้านของประสบการณ์ในการเป็นเจ้าของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยู ได้มีการเปิดตัวโปรแกรมสุดเอ็กซ์คลูซีฟ “The Ultimate JOY Experience” นำเสนอที่สุดของประสบการณ์ ครบครันทั้งกิจกรรมไลฟ์สไตล์ด้านยนตรกรรมและกีฬา พาลูกค้าสู่จุดหมายอันสุดตระการตาทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการพาเจ้าของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูบินลัดฟ้าไปสัมผัสกับประสบการณ์การขับรถบนพื้นผิวหิมะและน้ำแข็งบนยอดเขาในประเทศนิวซีแลนด์ หรือการเข้าร่วมแข่งขันวิ่งมาราธอนระดับโลกในกิจกรรม BMW Berlin Marathon

นอกจากนี้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ยังได้ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในโลกของบีเอ็มดับเบิลยู ผ่านทาง ChargeNow เครือข่ายสถานีชาร์จไฟฟ้าสาธารณะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ปลั๊กอิน ไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งนับเป็นอีกก้าวอันสำคัญยิ่งของการดำเนินภารกิจตามวิสัยทัศน์เพื่ออนาคตอันยั่งยืนอย่างแท้จริง

 

บีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย

ปี 2560 ที่ผ่านมาถือเป็นอีกหนึ่งปีสำคัญสำหรับบีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย หลังจากที่บริษัทได้ทำการเปิดตัว BMW FREEDOM CHOICE ผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ที่มอบอิสระในการขับขี่รถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูด้วยทางเลือกหลากหลาย ทั้งการรับประกันมูลค่ารถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูในอนาคต รวมทั้งให้ความยืดหยุ่นเมื่อถึงวันสิ้นสุดสัญญา ไม่ว่าจะเลือกเป็นเจ้าของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูคันเดิม หรือเปลี่ยนเป็นคันใหม่

มร. บียอร์น แอนทอนส์สัน ประธานกรรมการบริหาร บีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย กล่าวว่า “เรามียอดสัญญาเช่าซื้อรวมเป็นมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 4.04 หมื่นล้านบาทในปี 2560 และเราก็เชื่อมั่นว่าจะสามารถรักษาแนวโน้มการเติบโตอย่างแข็งแกร่งนี้ไว้ต่อไปในปีนี้ ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่โดดเด่นและแตกต่างเช่นเดียวกับ BMW FREEDOM CHOICE”

มร. บียอร์น แอนทอนส์สัน ประธานกรรมการบริหาร บีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย

X

Right Click

No right click