×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

นีลเส็น ประเทศไทย เผยข้อมูลจากงานซีรีย์สัมมนาออนไลน์ Nielsen media talk ในหัวข้อ Winning in the influencer era ซึ่งเปิดเผยอินไซต์สำคัญของเทรนด์ตลาด Influencer ในประเทศไทย

จากเน็ตไอดอลสู่ ยุค Influencer

วงการ Influencer ในไทย เริ่มเห็นเด่นชัดมาตั้งแต่ปี 2000 โดย Influencer ในยุคนั้นอยู่ในรูปแบบของเน็ตไอดอล โดยยุคบุกเบิกที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นได้แก่ เบเบ้ ธันย์ชนก หรือ บอลลูน พินทุ์สุดา ต่อมาในยุคที่โซเชียลมีเดียแพร่หลาย ได้มีการใช้ Influencer ในการโฆษณาและเชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มความงาม เป็นอุตสาหกรรมแรกที่มีการใช้ Influencer ในการทำการตลาด ซึ่งในปี 2014 มีบิวตี้บล็อกเกอร์ที่เป็นที่รู้จักและโด่งดังเป็นจำนวนมาก เช่น เมอา และ โมเมพาเพลิน  

ซึ่งจะเห็นได้ว่าในอดีตเน็ตไอดอลหรือ Influencer จะมาจากกลุ่มที่หน้าตาดีซะส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบัน ยุคสมัยเปลี่ยนไป คนไทยยอมรับความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ตั้งแต่ช่วงปี 2019 เราได้เห็น Influencer รูปแบบใหม่ ๆ จากหลากหลายอาชีพ และวัย ใครก็สามารถเป็น Influencer ได้ เพียงแค่มีความสามารถและเป็นตัวของตัวเอง และมากไปกว่านั้นจากกระแสของ Metaverse ตอนนี้ในไทย เรามี Virtual Influencer เรียบร้อยแล้ว

คนไทยเชื่อถือ Influencer มากแค่ไหน?

จากการศึกษาของ Nielsen Trust in Advertising พบว่าคนไทย 75% ให้ความไว้วางใจโฆษณา ความคิดเห็น และการรีวิวผลิตภัณฑ์จาก Influencer ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มองว่า Influencer เป็นช่องทางที่เอาไว้ติดตาม อัพเดตเทรนด์และข่าวใหม่ๆ (22%) และยังมองว่าเป็นช่องทางที่ให้ความบันเทิงสูงอีกด้วย (20%)

 

กลุ่ม Beauty ใช้เม็ดเงินกับ Influencer สูงสุด

กลุ่มความงามเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เม็ดเงินสูงสุดในการตลาด Influencer ทั้งในไทยและในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยสัดส่วนที่มากถึง 42% รองลงมาได้แก่ สินค้าแฟชั่น, อาหารและเครื่องดื่ม, เทคโนโลยี, ฟิตเนส, สินค้าลักชัวรี

โดยเมื่อเจาะในกลุ่มความงาม พบว่า สกินแคร์ เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้เม็ดเงินไปกับ Influencer ในสัดส่วนถึง 70% โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงผิวและครีมกันแดด โดยรองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผมนิยมในการใช้ Influencer ในการโปรโมตเช่นกัน

เลือก Influencer ถูกคน ผลลัพธ์เกินคุ้ม

จากข้อมูลของ Nielsen InfluenceScope พบว่า ประเทศไทยมี Active Influencer มากกว่า 2 ล้านคน เป็นอันดับสองในกลุ่มอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย ซึ่งการเติบโตและเพิ่มขึ้นของตลาดทำให้มีวิธีการเลือก Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์และแคมเปญมีความซับซ้อนขึ้น โดยแนวทางและวิธีการเลือก สามารถพิจารณาได้จาก 4R model 

  1. Reach หรือการเข้าถึง จำนวนคนที่เข้าถึง Influencer นั้น ๆ ดูได้จากยอดการติดตาม ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ยิ่งมีผู้ติดตามจำนวนมาก โอกาสในการเพิ่มการเข้าถึงก็มีมากขึ้น
  2. Relevance ความเกี่ยวข้องของ Influencer และแบรนด์ ผ่านข้อมูลโปรไฟล์ของ Influencer ว่ามีความสนใจ ไลฟ์สไตล์ และทัศนคติ เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือแคมเปญหรือไม่
  3. Resonance การมีส่วนร่วม สามารถวัดจาก Engagement ของ Influencer ว่าผู้ติดตามมีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหน จากจำนวนยอดการดู ไลค์ แชร์ คอมเม้นท์ และรวมถึง Sentiment ด้วย ถ้าเราจ้าง Influencer ที่ได้รับ Negative sentiment สูง ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อแบรนด์หรือแคมเปญได้เช่นกัน
  4. Return ผลตอบกลับจากการใช้ Influencer เป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้คุณวัดความคุ้มทุนหรือขาดทุนจากการโฆษณาผ่านช่องทางนั้นๆ ว่าเมื่อใช้ Influencer คนนี้แล้วเราได้ยอดซื้อกลับมาเท่าไหร่ หรือคนคลิกร่วมแคมเปญมากน้อยแค่ไหน

InfluenceScope เป็นโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลล่าสุดจาก Nielsen เพื่อสนับสนุนนักการตลาดในการเลือกใช้ Influencer ที่เหมาะสมที่สุด เราประเมินผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1,000 รายที่มีอิทธิพลบนแพลตฟอร์มดิจิทัลในประเทศไทย โดยสามารถช่วยเลือก Influencer ตามความเหมาะสมของแบรนด์และแคมเปญภายในกรอบเวลาที่ต้องการ ทำการประเมินผ่าน content แพลตฟอร์ม บุคลิกภาพ และวัดมูลค่าสื่อและ ROI 

         เมื่อต้นปีที่ผ่านมา “น้ำดื่มสิงห์”  เปิดตัวแคมเปญ “A Part Of You” โดยใช้กลยุทธ์ Influencer Marketing ดึง 5 ตัวแทนกลุ่มผู้นำความคิดและไลฟ์สไตล์ จากวงการภาพยนตร์ ดนตรี เน็ตไอดอล ได้แก่ ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์, เบเบ้-ธันย์ชนก ฤทธินาคา, วิโอเล็ต วอเทียร์ และวง South side มาเป็น “แบรนด์อินฟลูเอนเซอร์” ครั้งแรก เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ เพิ่มความผูกพันแบรนด์ (Engagement) ควบคู่การเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ที่เป็นวัยรุ่นมากขึ้น ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคอย่างมาก

          ล่าสุดน้ำดื่มสิงห์ได้สร้างกระแสในโลกออนไลน์ โดยการดึง “เจ้านาย” จิณเจษฎ์ วรรธนะสิน มาเป็นพรีเซ็นตอร์ พร้อมใช้วิธีการทำตลาดด้วยการลงพื้นที่ประชิดกลุ่มเป้าหมาย สร้างสิ่งที่ “เหนือความคาดหมาย” ความประทับใจให้กับผู้บริโภคและตลาดอย่างยอดเยี่ยม

          ธิติพร ธรรมาภิมุขกุล ผู้อำนวยการกลุ่มการตลาด ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า การทำตลาดของด้วยการดึงผู้ทรงอิทธิพล (Influencer) มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ จะต้องเป็นคนที่มีเสน่ห์ (engaging personality) คาแร็คเตอร์ ธรรมชาติ เข้าถึงง่าย แต่การเปิดตัวจะต้องคิดนอกกรอบ เพื่อสร้างความแตกต่าง ความแปลกใหม่ให้กับตลาด เพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเกิดการจดจำแบรนด์มากยิ่งขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันของตลาดน้ำดื่มที่มีทั้งแบรนด์เก่า แบรนด์ใหม่เข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง

           “เจ้านาย” พรีเซ็นเตอร์คนใหม่ของน้ำดื่มสิงห์ เปิดตัวด้วยการสร้างเซอร์ไพรส์ ณ จุดขายจริง รับกับกระแสฟีเวอร์ในตัวของเจ้านาย โดยการเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ของน้ำดื่มสิงห์ มีเป้าหมายสำคัญ 2 ประการ คือ ต้องการเพิ่ม Engagement กับผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ หรือเป็น Young Generation มากขึ้น จากเดิมน้ำดื่มสิงห์เจาะกลุ่มเป้าหมายครอบครัว ทุกเพศทุกวัย และต้องการสร้างความแตกต่างของแบรนด์ให้ฉีกออกจากคู่แข่ง ให้เป็นแบรนด์อันดับแรกในใจของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อน้ำดื่ม และการใช้เจ้านายเป็นพรีเซ็นเตอร์ ถือว่าสร้างสิ่งที่เหนือความคาดหมาย เป็น Beyond expectation ให้ผู้บริโภคและตลาดได้จริงๆ

          ธิติพรขยายความต่อว่า “เราเชื่อมั่นว่าในยุคนี้ ความแปลกใหม่ ทันสมัย หรือความล้ำ (innovation) เป็นสิ่งสำคัญ  ตั้งแต่ต้นปี 2561 น้ำดื่มสิงห์จะให้เน้นนำเสนอความแปลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านของตัวผลิตภัณฑ์, การสื่อสารการตลาด อย่างที่ได้เริ่มเห็นกันไปแล้วจากกิจกรรม on ground to online ของพรีเซ็นเตอร์คนล่าสุดนี้ และยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง ซึ่งอยากให้ติดตามกัน รวมถึงการจัดรายการส่งเสริมการขายรูปแบบใหม่    บน Platform ใหม่ๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องโดนใจวัยรุ่น รวมทั้งกลุ่มแมสด้วย

          “นอกจากนั้น ช่องทางการจัดจำหน่ายและระบบการจัดจำหน่ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง ในยุคการตลาดแบบ Digital  นี้ เราเชื่อว่าการเพิ่มความพึงพอใจในความสะดวกสบายในการจัดส่งเป็นสิ่งสำคัญ สินค้าต้องถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและน่าเชื่อถือ ที่สำคัญคือต้องง่ายแค่ปลายนิ้ว  ดังนั้น ในปีหน้า(2561) เตรียมพบกับช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ๆ ของน้ำดื่มสิงห์ได้” 

           ภาพรวมตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดในปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 43,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเชิงปริมาณ 4,300 ล้านลิตร มีอัตราการเติบโตประมาณ 10% แบ่งตามบรรจุภัณฑ์เป็นน้ำดื่มขวด PET 90% มีอัตราการเติบโต 11.5% แบบขวดแก้ว 10% แนวโน้มตลาดหดตัวลงเล็กน้อย น้ำดื่มสิงห์มีส่วนแบ่งทางการตลาดโดยรวม 21% เมื่อแบ่งตามบรรจุภัณฑ์ แบบขวด PET มีส่วนแบ่งทางการตลาด 20% และแบบขวดแก้วมีส่วนแบ่งตลาด  45.2%  ในปีหน้า น้ำดื่มสิงห์ตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดรวมเพิ่มเป็น 23%  

          “ตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องปีละ 10% จากกระแสผู้บริโภครักสุขภาพ น้ำดื่มสิงห์ มีสโลแกนติดหูว่า “น้ำดื่มสะอาด น้ำดื่มสิงห์” เราชูจุดขายในเรื่องของความสะอาดและ แบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ อยู่คู่ครอบครัว และเป็นส่วนหนึ่งของคนไทยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งน้ำดื่มสิงห์ยังได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลกจากสถาบัน NSF International สหรัฐอเมริกา ซึ่งจะช่วยเสริมความแกร่งให้กับแบรนด์ด้านความน่าเชื่อถือ ตอกย้ำกลยุทธ์ Functional Marketing อีกด้านเรามุ่งสร้างความพึงพอในตราสินค้า (Brand Preference) และเพิ่ม Engagement กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ กลยุทธ์การทำตลาดเหล่านี้จะทำให้น้ำดื่มสิงห์เป็นผู้นำตลาดอย่างยั่งยืน ส่วนปีนี้คาดว่ายอดขายน้ำดื่มสิงห์จะเติบโต 10%”ธิติพร กล่าว

X

Right Click

No right click