นับแต่อดีตแต่ไหนแต่ไรมางานบริหารจัดการสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยก็เรียกได้ว่าเป็นงานยากอยู่แล้ว  ยิ่งมาถึงยุคนี้และอนาคตข้างหน้าคำว่า Disruptive Education  ก็ยิ่งเพิ่มดีกรีความยากให้ท่วมทวีขึ้นไปอีกหลายเท่า

การจะทำให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่สะดุดและหยุดยั้ง อย่างแรกคือการมีความสงบ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อ และเป็นจุดหักเหสำคัญของประเทศ เพราะปัจจุบันมีหลายอย่างเกิดขึ้นในโลก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีความชัดเจนอย่างมาก ซึ่งทำให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่จุดที่เป็นได้ทั้งโอกาสและความท้าทาย ถ้าการเลือกไปในทิศที่ถูกทาง แต่ถ้าเลือกไปอย่างไม่เหมาะสมก็จะทำให้พลาดโอกาส ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายและปัญหาสั่งสมที่มีอยู่เดิมที่ต้องแก้ไข เพราะอาจกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศได้ในอนาคตซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เพื่อที่คนไทยจะได้รับประโยชน์ มีความอยู่ดีกินดี คือแนวนโยบายหลักของ ดร.อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

ภายใต้ภาพลักษณ์นักการเมืองป้ายแดงแกะกล่องของดร.อุตตม สาวนายน นักวิชาการสายแข็งผู้มีดีกรีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยภูมิหลังทางครอบครัวที่ไม่ธรรมดา และวันนี้ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเป็นหนึ่งในคีย์แมนสำคัญในทีมเศรษฐกิจของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้ที่ทั้งประเทศไทยเข้าใจได้ว่าคือผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทยในยุคสมัยรัฐมนตรี พลเอก.ประยุต จันทร์โอชา โดยดร.อุตตม สาวนายน ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) พรรคการเมืองป้ายแดงแกะกล่องที่น่าจับตา ของสนามการเลือกตั้งแห่งปี 2562 นโยบายของพรรคพลังประชารัฐ ที่หลายคนเฝ้าติดตามว่า จะมีรูปร่างหน้าตาออกมาแบบไหนบ้างนั้น ดร. อุตตม เปิดเผยกับ นิตยสาร MBA ว่า

แม้ว่าพรรคพลังประชารัฐเราจะเป็นพรรคใหม่ แต่หากเราได้เข้ามาเป็นรัฐบาล มีโอกาสรับใช้พี่น้องประชาชน โดยยึดถือแนวนโยบายที่ตั้งอยู่บนความสงบสุข เราไม่ต้องการเข้ามาเพื่อการเมืองโดยการเมือง หมายความว่าเราไม่สนับสนุนการขัดแย้ง เราจะสนับสนุนการเคารพกติกาการเมือง กติกาสังคม พร้อมทั้งยึดมั่นใน 5 แนวทางสำคัญที่เป็นนโยบายหลักของพรรคเพื่อการพัฒนา ซึ่งประกอบไปด้วยเรื่อง สวัสดิการประชารัฐ ,สังคมประชารัฐ,เศรษฐกิจประชารัฐ, การต่างประเทศและนโยบายเรื่องการศึกษา”

สวัสดิการประชารัฐ

ดร.อุตตม เผยถึงแนวคิดเรื่องสวัสดิการประชารัฐว่า เราต้องการให้คนไทยมีโอกาสและทางเลือกสำหรับอนาคต ตลอดจนความมั่นคงในชีวิต ซึ่งเป็นไปได้ภายใต้การมีสวัสดิการที่ดี ที่เรียกว่าสวัสดิการประชารัฐ เป็นสวัสดิการที่คนไทยสมควรจะมี ทั้งเรื่องอาชีพ การสร้างรายได้ สาธารณสุข ที่อยู่อาศัยและการศึกษา เราจะทำการเติมเต็มให้ ภายใต้แนวคิดที่เราจะแบ่งเป็นกลุ่มตั้งแต่เกิด วัยทำงาน จนถึงผู้สูงวัย ตลอดชีพ โดยสวัสดิการที่มีอยู่ในวันนี้จะมีการเพิ่มเติมตามที่ควรจะเป็น และปรับให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

สังคมประชารัฐ

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ภายใต้การมีความพร้อมในทางสวัสดิการ สิ่งที่ตามต่อมาก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของสังคม และเศรษฐกิจไปได้ควบคู่กัน สังคมก็คือคนไทย เมื่อโลกเปลี่ยนไป เราเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คนไทยต้องเตรียมตัวเพื่อก้าวไปข้างหน้า แล้วสังคมควรจะเป็นอย่างไรนั้น เราต้องมองครอบคลุมไปมากกว่าเรื่องการศึกษา หรือจะเรียกว่า Next Gen skill Development คือทักษะที่คนไทยในเจเนอเรชั่นต่อไปควรจะมี คืออะไร ตั้งแต่ทักษะด้านการทำงาน ทักษะในการเรียนรู้ที่จะอยู่กับสังคม เราต้องการสร้างสังคมที่รู้จักแบ่งปัน รู้จักเกื้อกูล ให้โอกาสต่อกัน เหล่านี้ถือเป็นทักษะที่ต้องช่วยกันส่งเสริมและสร้างขึ้นมา

“เราต้องไม่มองแต่เรื่องเศรษฐกิจ หรือมองแต่สังคม เพราะต้องยอมรับว่าปากท้องกับเรื่องของสังคมนั้นแยกจากกันไม่ได้ สังคมไทยจะต้องการมีสภาพแวดล้อมที่ดี พรรคพลังประชารัฐจึงนำเสนอ “สังคมสีขาว” ที่หมายถึงสังคมที่ปลอดยาเสพติด ซึ่งเมื่อปลอดยาเสพติดแล้วก็จะเป็นสังคมที่ปลอดโรค และปลอดภัย

นโยบายการรับมือเรื่อง Aging Society ซึ่งเริ่มปรากฏในหลายประเทศทั่วโลก เริ่มก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดย ดร.อุตตม กล่าวถึงนโยบายเรื่องนี้ว่า “ต้องจัดสวัสดิการผู้สูงวัย ซึ่งหมายรวมไปถึงการสร้างโอกาส และการสร้างสังคม เพราะอย่างไรก็ตามผู้สูงวัยก็ยังเป็นกลุ่มคนที่มีกำลัง มีศักยภาพ วันนี้คนอายุยืนขึ้น เรื่องของโอกาสจึงเป็นเรื่องที่เรามุ่งเน้น และมองเห็น การสร้างโอกาสเรื่องงานและอาชีพให้กลุ่มผู้สูงวัยที่ยังมีกำลัง ความสามารถ เป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลย”

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงการดูแลในระดับชุมชนที่จะยิ่งเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะในต่างจังหวัดชุมชนไทยมีศักยภาพสูง อย่างเช่นวิสาหกิจชุมชน Social Enterprise ผู้สูงวัยในวันนี้จึงมีบทบาทอย่างมาก ที่จะต้องเข้าไปช่วยสนับสนุน

ส่วนเรื่องสวัสดิการ ต้องมีการจัดสรรโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพซึ่งต้องให้การดูแล ผู้สูงวัยบางรายถึงแม้จะมีทุนทรัพย์แต่ก็ต้องไปดูในรายละเอียดว่า เข้าถึงแพทย์ และเข้าถึงการดูแลสุขภาพหรือไม่ โดยพรรคพลังประชารัฐจะคิดระบบให้เข้าถึงแพทย์ เข้าถึงยาได้โดยสะดวกทั่วประเทศ เป็นสวัสดิการที่สมควรจะมี ซึ่งต้องคิดไปพร้อมๆ กับเรื่องการเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ในระดับพื้นที่ และระดับชุมชน

 

เศรษฐกิจประชารัฐ

ดร.อุตตม กล่าวถึงแนวทางของเรื่องนี้ว่า ต้องสร้างความสามารถและภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ ที่ให้ประเทศและคนของเราสามารถจะเดินหน้าต่อในยุคที่โลกาภิวัตน์มีความเข้มข้น ส่งผลกระทบที่ชัดเจนรุนแรงและรวดเร็วมาก เรามีการพูดถึงโลกาภิวัตน์มาเป็นเวลากว่า 10 ปี และทุกวันนี้มีผลที่ปรากฏชัด มีรูปแบบออกมาหลากหลาย เศรษฐกิจไทยต้องปรับเปลี่ยน เราต้องก้าวให้ทัน ต้องเป็นเศรษฐกิจที่มีความสามารถ และมีความยืดหยุ่น

“เราถามตัวเองว่า ประเทศไทยมีจุดเด่นอะไร วันนี้ผมตอบได้เลยว่า เรามีทั้งจุดเด่น และจุดแข็งอยู่มาก เป็นประเทศพื้นฐานการเกษตร มีพืชผลเกษตรกรรมเด่นๆ หลายตัว บางครั้งเราอาจจะมองว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหา เพราะที่ผ่านมาภาคเกษตรของเรามีรูปแบบการขายแบบยกล็อต เน้นไปที่ปริมาณ แต่ราคาที่ได้กลับถูกกำหนดจากปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นสถานการณ์จริงและเป็นความจริงที่สืบเนื่องต่อกันมาอย่างยาวนาน นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราต้องปรับเปลี่ยนไปเป็นเกษตรแบบเพิ่มมูลค่า เป็นเกษตรที่ยั่งยืนให้ได้ เรามีแรงงานจำนวนมากในภาคเกษตรกรรม และเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศไทยเรา เป้าหมายเรื่องนี้คือ การเปลี่ยนภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคเกษตรที่มีมูลค่าสูง”

นอกจากนี้ยังมี ภาคอุตสาหกรรมที่เป็นโจทย์ในการก้าวไปข้างหน้า โดยเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล 5G ที่กำลังจะมาถึง ไม่ได้เฉพาะเป็นแต่เพียงเรื่องของโทรคมนาคม แต่สำหรับแวดวงอุตสาหกรรม 5G เป็นเทคโนโลยีที่มีผลต่อห่วงโซ่การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน เราต้องทำให้อุตสาหกรรมไทยมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ได้โดยเร็ว และอย่างกว้างขวาง สร้างบุคลากร และแรงงานที่มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้มากขึ้น พรรคพลังประชารัฐ มีนโยบายที่กำหนดเป้าหมายชัดเจนแล้วว่าอุตสาหกรรมใดบ้าง และทำอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ครอบคลุมไปถึงผู้ประกอบการ SME และถึงวิสาหกิจชุมชน อย่างครบพร้อม

ทุกวันนี้มีบทพิสูจน์แล้วว่าคนตัวเล็กเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี เพราะคิดและทำได้อย่างรวดเร็ว” เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา ต้องมีการทำงานเรื่อง ‘คน’ คู่ขนานไปพร้อมๆ กัน เพราะในห่วงโซ่การผลิต เมื่อมีระบบดิจิทัล มีระบบอัตโนมัติ ระบบ Robotic จะเกิดคำถามตามมาว่าแล้ว “คน” ของเราจะทำอะไร”

นโยบายในเรื่อง ‘คน’ มีอยู่ 2 ส่วน คือ

  1. เร่งยกระดับทักษะคนที่อยู่ในกระบวนการผลิต ซึ่งจะมีแนวทางดำเนินการเป็นแพลตฟอร์มระดับชาติ เพื่อปรับทักษะเหล่านี้ให้เหมาะสม และ
  2. สร้างฐานผู้ประกอบการใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี คือ Tech Startup เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการลดผลกระทบ (Disruption) จากเทคโนโลยีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบการใหม่หรือ Startup เป็นได้ทั้งผู้ประกอบการที่เกิดมาใหม่เลย หรือคนที่เคยอยู่ในอุตสาหกรรมผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการใหม่ ซึ่งตอนนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้พัฒนาโครงการที่ชื่อว่า Thailand InnoSpace ซึ่งจะเป็นแพลตฟอร์มที่จะมาทำหน้าที่ส่งเสริมเรื่องผู้ประกอบการเริ่มใหม่ (Tech Startup) และส่งเสริมการมีนวัตกรรมในอุตสาหกรรมต่างๆ ตั้งแต่ระดับฐานราก เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และทักษะให้กับผู้ประกอบการใหม่ เพื่อเป็นโครงการที่จะดึงเอาเทคโนโลยีเข้ามาในประเทศไทย Thailand InnoSpace ประกาศจัดตั้งโดยมีพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ทั้งจากฮ่องกง ญี่ปุ่น อิสราเอล และองค์กรใหญ่ของประเทศไทย ภายใต้เงินทุนเริ่มต้นที่ 500 ล้านบาท โดย Thailand InnoSpace นี้จะจัดตั้งเครือข่ายกับพันธมิตรในประเทศในภูมิภาคต่างๆ อาทิ EECi จังหวัดระยอง หรือ EEC ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งเครือข่ายความร่วมมือนี้จะขยายออกไปในทุกภูมิภาค ซึ่งแพลตฟอร์มของ Thailand InnoSpace นี้จะเป็นคำตอบของการunlocked เรื่องนวัตกรรมของประเทศไทยที่ติดกับมาอย่างช้านาน

ดร.อุตตม กล่าวต่อ เรื่องมิติทางด้านพื้นที่ ซึ่งมีความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องของการกระจายความเจริญให้กว้างขวางครอบคลุมทุกพื้นที่ นโยบายของพรรคจะต่อยอดในส่วนที่มีอยู่แล้ว เช่น EEC (Eastern Economic Corridor – เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเป็นจุดเริ่มของการสร้างฐานความเจริญ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจ โดยมีทั้งเรื่องของอุตสาหกรรม เรื่องการสร้างเมือง และเรื่องการพัฒนาคน ซึ่งเราจะปรับยอดให้เกิด EEC ในภูมิภาค เช่นภาคเหนืออาจจะเป็น ล้านนา 4.0 รวมไปถึงภาคอีสาน ภาคใต้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งหมด ให้สอดรับกับจุดเด่น และวิถีในชุมชน เป็นการกระจายโอกาสเพื่อหลีกเลี่ยงการกระจุกตัวของการปรับเปลี่ยนรับความเจริญที่จะตามมา

วันนี้ทั่วโลกพูดถึงกระแส Urbanization คือการสร้างเมือง ที่เราไม่ได้หมายถึงเฉพาะการสร้างเมืองใหญ่เท่านั้น แต่ต้องสร้างเมืองรองขึ้นมาไปพร้อมๆ กัน และยึดโยงกับเมืองใหญ่ เพื่อให้ความเจริญกระจายตัว อย่างส่งเสริมและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดคือเรื่องการท่องเที่ยว เรามีเมืองหลักในการท่องเที่ยว และเป็นเมืองหลักที่เป็นฐานการผลิตด้วย เราก็จะมุ่งสร้างเมืองรองที่ยึดโยงกัน ตามนโยบาย 15 เมืองหลัก 15 เมืองรองทั่วประเทศ ผ่านเศรษฐกิจใหม่

ลงมาที่รากฐานชุมชน เราเข้าต้องเข้าให้ถึงการผลิตและขีดความสามารถในระดับชุมชน โดยเอาเทคโนโลยีเป็นตัวนำ ตั้งแต่ดิจิทัล ไปจนถึงเรื่องอีคอมเมิร์ซโดยจะทำให้เป็นระบบ โดยต่อไปจะเห็นภาพได้ว่าในเรื่องของเศรษฐกิจนั้น มี 3 มิติหลัก คือ 1. นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน และอุตสาหกรรม และที่สำคัญคือการเข้าถึงต้องเป็นไปอย่างอย่างเร็ว และเรื่องที่ 2. เรื่องคน จะเป็นเรื่องการสร้างทักษะใหม่ (New skill) ปรับเปลี่ยนทักษะที่มี (Re skill) สร้างผู้ประกอบการใหม่ขึ้นมา ลดผลกระทบของเทคโนโลยีที่เข้ามา Disrupt 3. เชิงพื้นที่ ก็คือการดูแลให้เกิดความครอบคลุม

“การที่เราเปลี่ยนเศรษฐกิจให้เป็นเศรษฐกิจที่สามารถมีความยืดหยุ่น มีการกระจายความเจริญ ทั้งในเชิงของอุตสาหกรรม พื้นที่ และคน เมื่อเกิดสถานการณ์ผันผวนจากโลกเราจะมีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจที่จะต้านทานได้ แต่หากเรายังยึดอยู่กับอุตสาหกรรมเกษตร ที่ขายแต่เกษตรต้นทางเป็นหลัก เราจะหนีไม่พ้นปัญหาที่เราเคยเผชิญมาโดยตลอด เมื่อมีภูมิคุ้มกัน ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดเซไป แต่ส่วนอื่นยังยืนได้”

นโยบายต่างประเทศ

เป็นอีกเรื่องซึ่งสำคัญ ดร. อุตตมกล่าวว่า ประเทศไทยต้องมีจุดยืนที่คนไทยภาคภูมิใจได้ในเวทีนานาประเทศ ต้องสร้างขีดความสามารถที่จะค้าขายในเวทีโลกที่สามารถสะท้อนศักยภาพของประเทศไทย และคนไทย เพื่อให้ทั่วโลกสนใจ ไม่เพียงแต่ค้าขาย แต่มาร่วมมือเป็นพันธมิตร มาร่วมลงทุนกับเรา อย่างเป็นรูปธรรม

อย่างเช่น การสร้างพื้นที่ฐานการเจริญใหม่ เช่น EEC ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ เหล่านี้ในการสร้างเราจะยึดโยงพื้นที่เหล่านั้นไปจนถึงระดับเมืองหลัก เมืองรองระดับภูมิภาค ยกตัวอย่างล้านนา 4.0 จะโยงไปถึงทางใต้ของจีน ลาว และพม่า โดย EEC เองนั้นในทางพื้นที่ มีศักยภาพสูงมาก เป็นศูนย์กลางของ Transshipment Ports หมายถึงเป็นทั้งฐานอุตสาหกรรม และฐานคมนาคมในตัว ซึ่งเรามองว่าเรามีความสามารถเป็นฐานของเอเชียได้เลย ดังนั้นในการพัฒนาของเราจะมองในมิติของต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยมีจุดยืนในเวทีโลกที่ชัดเจน

เมื่อถูกถามเรื่องความคิดเห็นถึงคุณสมบัติของผู้นำที่เหมาะสมในเวทีโลก ดร.อุตตม กล่าวตอบในเรื่องนี้ว่า ผู้นำที่จะเข้ามาทำงานทำการเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาในภาวะที่ประเทศอยู่ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นดั่งในช่วงนี้นั้น คือผู้ที่จะต้องสามารถนำพามาซึ่งความสงบให้กับประเทศได้ เพราะหากไม่มีความสงบเรียบร้อย ความคาดหวังในเรื่องการพัฒนาก็จะเกิดได้ยาก ถ้าหากเรายังเป็นแบบเดิมนั้นจะยาก เพราะจะไม่มีความเชื่อถือในสายตาของนานาประเทศ สถานการณ์ในวันนี้พอจะเห็นความเชื่อถือที่ชัดเจน เพราะมีความสงบแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้นำที่เหมาะสมนั้น สำคัญมากที่จะต้องสามารถฉายภาพให้เห็นได้ถึงในอนาคต ทั้งแนวคิด นโยบายและแนวทางที่เราจะก้าวไปอันเป็นเป้าหมายใหญ่ของประเทศ ไม่นับว่ายังจะต้องมีผลงานที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ชัด จับต้องได้ เช่นนี้ต่างประเทศจึงจะให้ความเชื่อถือ มีความมั่นใจ และในที่สุดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก็จะตาม และนั่นคือโอกาสอันดีของคนไทย และประเทศไทย

นโยบายด้านการศึกษา

หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กล่าว “เป็นเรื่องการเตรียมคนเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นมิติหลัก แนวทางของพรรค คือการสร้างแนวทางการศึกษาให้ตรงตามวัยกลุ่ม ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะเรามองว่าการศึกษาเป็นเรื่องการสร้างความเติบโตของคนไทยแต่ละคน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่หยุดยั้ง ตั้งแต่เด็กจนโต รวมถึงการเรียนรู้ระหว่างทำงาน แม้กระทั่งในวัยชราก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องหยุดเรียนรู้ เรามีมาตรการและนโยบาย สำหรับแต่ละกลุ่ม อย่างสอดรับและเหมาะสม โดยยึดหลักว่า เป็นการศึกษาที่มาทำให้คนไทยแต่ละคนเติบโตต่อได้ และสร้างความภูมิใจในตนเอง อย่างมีคุณค่าในการร่วมพัฒนาสังคมและประเทศของเรา โดยหลักการนี้ การศึกษาต้องกระจายลงไปในพื้นที่ มีการส่งเสริมให้ในพื้นที่พัฒนาศักยภาพ และดูแลด้านการศึกษากันเองได้มากขึ้น และการปฏิรูปการศึกษาที่พูดถึงนี้เป็นการปฏิรูปทั้งระบบ เป็นการพัฒนาการศึกษาทั้งองคาพยพในพื้นที่ และยกระดับคุณภาพขึ้นมา ในขณะที่ส่วนกลางปรับบทบาท เป็นผู้ดูแลด้านคุณภาพ มาตรฐาน และสนับสนุนเรื่องคอนเทนท์

ความเห็นของ ดร.อุตตมะ ในเรื่องบทบาทของผู้สอนวันนี้ที่มองว่า Teacher จะต้องกลายมาเป็น Facilitator เพราะวันนี้นักเรียนหรือนักศึกษาสามารถหาข้อมูลต่างๆ ได้เองจากแหล่งข้อมูลหลากหลาย โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ทำให้บทบาทและหน้าที่ของครูผู้สอนจึงต้องปรับเปลี่ยนเป็นเสมือนโค้ช หรือผู้ชี้แนะเพื่อการสังเคราะห์ข้อมูล แล้วชี้ทางว่าจากข้อมูลจะนำมาสู่การเป็นองค์ความรู้ได้อย่างไร และจะนำองค์ความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ซึ่งส่วนนี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายและต้องเริ่มวันนี้เลย เพื่อให้เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนแล้ว"

และนี่คือนโยบายหลักที่ดร.อุตตมผู้นำทัพพรรคพลังประชารัฐ เตรียมไว้อย่างครอบคลุมการเข้าถึงคนทุกระดับ ทุกช่วงชีวิต ทุกเรื่องราว ซึ่งการต่อสู้ในสนามเลือกตั้ง ที่แข่งขันกันด้วยนโยบายพรรคการเมืองนั้น พรรคพลังประชารัฐ จะฝ่าฟันอุปสรรค คว้าความสำเร็จเดินชูธงคว้าชัยชนะเข้ามาเป็นรัฐบาลในสมัยหน้าได้หรือไม่ ยังเป็นเรื่องที่ต้องรอติดตาม ส่วนข้อกังวลในปัญหาการไม่เคารพกติกาในสนามการเมืองและการเลือกตั้งนั้น ดร.อุตตม สาวนายน กล่าวในตอนท้ายว่า

หากขอได้อยากขอให้ทุกพรรคเห็นร่วมกันในการเคารพกติกา เคารพในผลการเลือกตั้งที่ออกมา ใครชนะการเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาลก็ให้เป็นไปตามนั้น โดยการเคารพกติกาต้องทั้งระบบและนอกระบบ นอกสภา หมายถึงต้องไม่ทำอะไรที่ไม่ถูกกติกาทั้งใน และนอกสภา ซึ่งพรรคพลังประชารัฐเองก็จะไม่มีการทำอะไรแบบนั้น เราจะไปตามกรอบที่ถูกต้อง


เรื่อง กองบรรณาธิการ

ภาพ ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

Prida Tangtrongchit, a director of the Thai Traditional Medicine at Wat PhraChettuphon Wimon Mangkhalaram (Wat Pho), an expert and a highly-respected pharmacist in the Traditional Thai Medicine (TTM), had indicated there are only 126-128 listed species in the Thai’s Ancient Medicine Textbook and there is an awful lot more of kingdom of plants and animals’ species that has yet to be discovered.

‘Traditional Thai Medicine (TTM)’ is focused on ‘natural therapy’ where body and mind function in harmony. Disharmony between the two will bring a distress to the body and that will cause ailments’, said Prida. All in all, the different ingredients from ‘Traditional Thai Medicine’ are meant to bring a harmony to the body’s elements inherent from mother’s earth’s sources: earth, water, wind, fire. These four elements must be kept in balance and it is the basis for Thai traditional healing.

Also, there are three basic ways to classify medicinal herbs: those taken internally, applied externally, and inhaled. Many, though, fall under two or even all three of these classifications. Herbal drugs can have from two to as many as 40 different ingredients, which are also classified by species and medicinal attributes.

Prida also explained that Thai herbal medicine can be effectively used to build and enhance our immune system since it is nature-derived. And we can prove it through gene sequencing.

‘To eat well, to sleep well and to digest well will bring a harmony to life’, explained Dr. Prida.

‘Moreover, a harmony thus means that we (human and diseases) must live together in peace and will not trespass against each other. This is the way of the nature.

“And since nature is the creator of all things, she will always prevail”, said Prida.

Traditional Thai Medicine based its merits on ‘taste and flavor’ as having the healing properties through human’s sense, and where medicine be rendered in a variety forms of pill, dose, tablet, ointment, capsule, poultices, suppositories. Thai Traditional Medicine can also be used in forms of solutions by drinking teas, tonics, alcoholic macerates.

Thai cuisine has been famous for its flavors (as mentioned earlier that its merits on ‘taste and flavor’ as having the healing properties through human’s sense), is also known for its healing properties.

There are four basic flavors in Thai cooking—hot, salty, sweet, and sour. Restaurant or food street in Thailand are equipped with seasonings on the table while customers enjoy putting these seasonings from a little jar-pot of chilly, salt, sugar and lime to season their food according to their preferred tastes. Characteristic ingredients are fragrant lemon grass and lime leaves, hot spicy chilly, fish sauce and aromatic herbs. The different spices and herbal ingredients are meant to achieve a harmony of the body’s elements, serving as a proactive, a preventive and curative approach to heal symptoms and ailments.

For example: 1) A disharmony of the earth element may manifest as a disease of the organs, bones or muscles. 2) A disharmony of the water element may show symptoms such as urniary trouble, blood or lymph disease. 3) A disharmony of the air element may show as respiratory problems like bronchitis, dizziness, stiffness, arhtiritis. 4) A disharmony of the fire element may cause heart problems.

Thailand is located in the region known as ‘Indochina’ where it received medicinal knowledge from ancient countries from India and from China. From India, the ‘Ayurveda’ a combination discipline between arts and sciences, is based on maintaining a balanced flow of energy through meridians in the body also including the use of massage and herbal remedies. The Chinese has brought treatments like acupressure and acupuncture, as well a plethora of animal and herbal concoctions. Again, Chinese medicine and its treatments are based on the creation of harmony in human’s body (as Ying-Yang is the case in point).

Prida also said that Chinese medicine has undergone a rapid development after China became the ‘People’s Republic of China’ in 1949 due to the lack of access to world’s medicine after China closed its door to the world. China was pressured to invent new drugs to treat her people thus a research and development for Chinese medicine was heavily invested by the Chinese government to that effect.

Ancient Thailand must also have already been concocting Thai herbal remedies for healing. And through trial and error and through serendipity, ancient people in Thailand have found and learned the usefulness of herbal and animal properties to be used for healing ailments. Later on the settled farmers would systematically, through the obtained knowledge, begin to grow plant in their gardens for specific herbs and species. Thai Traditional Medicine thus has begun with ethno-practices having been performed by local healers, shamans, and midwives onwards. All in all, the practices have always been based on a holistic approach that focus on creating a ‘harmony’ from the four elements inherent from the Mother Earth’s sources (earth, water, wind, fire).

Prida said furthermore that traditional Thai medicine knows how to perform herbal concoctions to make active ingredients. Different species of herbs can also significantly be interchanged to make active ingredients.

As mentioned earlier, traditional Thai medicine recognizes herbal properties on the merits of taste or flavor since it is a primary consideration by flavor or taste that the healing properties of herbs are determined. Depending on its flavor or taste, herbs can increase a particular element and decrease others. Different tastes are as follows:

However, as it has mentioned earlier that Thai’s herbal medicine often places an emphasis on flavor and taste, the characteristic of these have somehow stalled a development of Thai herbs to move up to a higher stage.

We tend to lack the insight to really appreciate their undiscovered properties. ‘The lack to get to the insights of our herbal properties has created problems when ailments in our body have become drug-resistant, we need to look and study much more on this’, said Prida.

Last but not least, Prida quotes the famous saying from Shivago Komarpaj, the Ayurvedic practitioner who treated the Lord Buddha and is considered the father of Thai traditional medicine, ‘All plants are medicine’.

And as we have mentioned earlier that Thailand possess about 8-10% of micro-organisms of the entire world’s micro-organisms which creating kingdom of plants and animals, it is not an overstatement to say that Thailand’s biodiversity is the mother of all asset classes!.

ประเทศไทยไม่สามารถปฏิเสธและหลีกพ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่รวดเร็วได้ เนื่องจากประเทศไทยจะต้องก้าวไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ในยุคดิจิทัลพร้อมกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทั้งนี้เพราะทุกประเทศทั่วโลกได้เชื่อมโยงกันด้วยระบบอินเทอร์เน็ต และการค้าระหว่างประเทศได้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวินาที แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกำลังประสบกับอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยี 5G ได้เหมือนกับที่เคยทำสำเร็จในยุค 4G มาแล้ว

ประเด็นสำคัญที่สุดคือ ความเข้าใจผิดในสังคมที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดคือ การประมูลคลื่นความถี่ที่มีราคาสูงมากจะเกิดประโยชน์กับประเทศโดยรวม เพราะสามารถนำเงินเข้ากระทรวงการคลังและสามารถนำมาใช้พัฒนาประเทศได้นั้น กำลังเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะหากราคาการประมูลสูงมากผิดปกติดังที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งประเทศไทยมีมูลค่าการประมูลคลื่นความถี่ 4G ที่แพงที่สุดติดอันดับหนึ่งในสามของโลก จึงจะเป็นสาเหตุให้ต้นทุนการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานในกิจการโทรคมนาคมสูงมากจนไม่สามารถที่จะ มีผู้ประกอบการรายใดสามารถเข้ามาประมูลได้ในอนาคตต่อไป

การแก้ไขกฎหมายและกฎการประมูลคลื่นความถี่ 5G กำลังจะเกิดขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งมีปัญหาเดียวกันคือมูลค่าคลื่นความถี่สูงเกินไป อีกทั้งเทคโนโลยีได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้ความล่าช้าในการขยายโครงข่าย 5G อาจจะมีผลกระทบต่อพัฒนาประเทศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล จนเป็นสาเหตุให้ขีดความสามารถของประเทศก้าวไม่ทันประเทศอื่นๆ

ผู้นำรัฐบาลในหลายประเทศได้หันมาสนใจประเด็นการประมูลคลื่นความถี่ 5G โดยมีแนวคิดที่จะใช้หลักการในการบริหารคลื่นความถี่ด้วยการใช้เทคนิคใหม่เข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดจากการประมูลคลื่นความถี่แบบเดิมที่มีราคาที่สูงมาก ซึ่งอาจจะใช้ไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุค 5G อีกต่อไป เนื่องจากคลื่นความถี่ที่ใช้กับระบบ 5G นั้นมีความต้องการอย่างต่ำถึง 100 เมกะเฮิรตซ์ต่อหนึ่งโอเปอเรเตอร์ ซึ่งถ้าหากใช้วิธีการประมูลคลื่นความถี่แบบเดิมที่เคยใช้มาเป็นเวลานาน นับ 10 ปี ก็อาจจะทำให้ราคาคลื่นความถี่สูงเกินไปจนไม่สามารถที่จะทำให้เกิดระบบ 5G ได้เลย ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายประเทศได้ตระหนักแล้วว่า อุปสรรคที่จะทำให้ไม่สามารถขยายโครงข่าย 5G ได้นั้น จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้ประเทศไม่สามารถมีขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจชั้นนำของโลกได้อีกต่อไป

ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไขกฎหมายการจัดสรรคลื่นความถี่ 5G อย่างเร่งด่วนให้สำเร็จก่อนปี พ.ศ. 2562 ซึ่งประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้มีการเริ่มขยายโครงข่ายระบบ 5G แล้ว ซึ่งอาจจะทำให้ประเทศไทยตกขบวนและไม่สามารถนำพาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้


บทความโดย | พันเอก ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ 

www.เศรษฐพงศ์.com

ท่านผู้อ่านคงทราบดีแล้วว่า ตั้งแต่ 1 ธันวาคมเป็นต้นมา กรุงปารีสได้ลุกเป็นไฟ

นับเป็นเวลาเกือบ 4 สัปดาห์ ที่ผู้ประท้วงซึ่งเรียกตัวเองว่า “Gilets Jaunes” หรือ "เสื้อกั๊กเหลือง" ได้ทำการเผารถรา ขว้างปาก้อนหินและเศษเหล็กใส่ตำรวจ ตลอดจนทุบทำลายกระจกและปล้นสะดมธนาคารและร้านรวง และได้ยึดถนนหนทางในหลายย่านไว้เป็นป้อมค่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ประตูชัย" (Arc de Triomphe) สัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงปารีส ซึ่งตั้งอยู่ ณ Place Charles de Gaulle ตรงด้านปลายสุดของถนน Avenue Champs-Elysees อันมีชื่อเสียง โดยได้ทำการต่อต้านกับตำรวจที่ยิงแก๊สน้ำตาและรำกระบี่กระบองเข้าใส่ฝูงชน อย่างแข็งขันที่สุด และบ้างก็ขีดเขียนพ่นสีไปบนผนังของประตูชัย และทุบทำลายสิ่งของในชั้นใต้ดินจนเสียหายอีกด้วย และการประท้วงก็ได้ลุกลามไปทั่วประเทศ โดยมีคนตายไปแล้ว 4 คนและบาดเจ็บเกือบ 200

ประเมินกันว่าการประท้วงครั้งนี้รุนแรงกว่าทุกครั้งในรอบ 50 ปี ดีกรีของความรุนแรง ไม่ด้อยไปกว่าเหตุการณ์ประท้วงใหญ่ของนักศึกษาและกรรมกรเมื่อคราวพฤษภาคม ปี 2511 ที่เรียกว่าเหตุการณ์ "Mei 1968”

ในครั้งกระโน้น นักศึกษาและประชาชนได้เข้ายึดมหาวิทยาลัยปารีสในเขต Left Bank และกะเทาะเอาแท่งหินที่ปูบนพื้นถนนมาทำป้องค่าย ตลอดจนเผาทำลายรถราและปล้นสะดมร้านรวงอย่างกว้างขวาง ผมเคยอ่านข้อมูลที่ไหนจำไม่ได้นานมาแล้วว่า Daniel Cohn Bendit ผู้นำนักศึกษา ทำนอง เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้นำม็อบในครั้งนั้นเข้ายึด Arc De Triomphe เป็นที่ปราศรัยและได้ปัสสาวะลงไปในกองไฟแห่งนิรันดร์กาล (Flames of Eternity) ด้วย ซึ่งถ้าใครเคยไปเที่ยวประตูชัยก็จะต้องเห็นคบเพลิงนี้ลุกโชนอยู่ตลอดเวลา ใต้ประตูชัยแห่งนั้น ถือเป็นอนุสาวรีย์แห่งทหารนิรนาม ที่เคยพลีชีพเพื่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสอีกด้วย

ขณะที่ผมกำลังเขียนต้นฉบับอยู่นี้ก็ปรากฏว่าประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ได้ออกมากล่าวขอโทษออกทีวีพร้อมกับมอบแพ็กเกจใหญ่ให้ประชาชนอีก คือการลดภาษีและเพิ่มสวัสดิการบางอย่าง

“Au début, c’ était de la colère contre les impôts et le Premier ministre a réagi en annulant et en supprimant toutes les augmentations prévues pour le début de la nouvelle année. Mais cette colère est plus profonde. J’ estime que cela est juste à bien des égards ... Je vous ai peut-être donné l’ impression que cela m’ était égal, que j’ avais d’ autres priorités. Je sais que j'ai peut-être fâché certains d'entre vous avec mes mots" เขากล่าวตอนหนึ่งเป็นทำนองเสียใจแกมขอโทษ

ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ม็อบจะพอใจและหยุดประท้วงหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ รัฐบาลก็ได้เลื่อนการขึ้นภาษีน้ำมัน ซึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นแห่งการประท้วง ออกไปอีก 6 เดือน (Six-Month Moratorium) แล้ว การประท้วงก็ไม่ได้แผ่วลงแต่อย่างใด แต่กลับรุนแรงขึ้นทุกวันๆ

ที่หยิบเรื่องนี้ขึ้นมาเขียน เพราะผมอยากชี้ให้ท่านผู้อ่านเห็นความข้อหนึ่งซึ่งผมคิดว่าสำคัญมากและควรนำมาพิจารณาถกเถียงกันอย่างละเอียด แต่ได้ถูกละเลยไป เพราะผู้คนไปให้ความสนใจกับความเป็นไปของม็อบและความรุนแรงต่างๆ เสีย จนกลบความสำคัญของประเด็นนี้ไป

อันที่จริง ปฐมเหตุแห่งความไม่พอใจมันมาจากเรื่องที่รัฐบาลต้องการขึ้นภาษีน้ำมัน และจะทำให้น้ำมันแพงขึ้น แต่เหตุผลเบื้องหลังของการขึ้นในครั้งนี้ มันเป็นเหตุผลที่หวังดีต่อโลกและคนรุ่นหลัง คือขึ้นภาษีน้ำมันเพื่อใช้กลไกตลาดบังคับให้คนลดการใช้น้ำมันลง แล้วหันไปใช้พลังงานสะอาดอย่างอื่นที่รัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมสนับสนุนเป็นพิเศษ

เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสนั้นถือเอาปัญหาโลกร้อน (Global Warming) เป็นวาระทางการเมืองที่สำคัญมาตั้งนานแล้ว และทำตัวเป็นผู้นำของโลกในเรื่องนี้อยู่ตลอดมา

เรียกว่าเป็นเหตุผล "รักษ์โลก" "เจตนาดี" และ "อยากทำความดี" ว่างั้น

แต่ราษฎรชั้นกลางของฝรั่งเศสเองกลับรับไม่ได้กับการที่ต้องใช้น้ำมันที่กำลังจะแพงขึ้น (เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2562) และเริ่มใส่เสื้อกั๊กเหลืองออกมาประท้วงกัน

ตอนแรกรัฐบาลก็ไม่ได้สนใจ (อย่างที่ประธานาธิบดีออกมายอมรับตอนออกทีวีซึ่งผมนำมาแปะไว้ให้อ่านข้างต้นแล้ว) และประธานาธิบดีก็มั่นใจในเจตนาดีของนโยบายนี้ เลยมีข่าวว่าเขากล่าวขึงขังเป็นทำนองว่าจะไม่ยอมถอยเด็ดขาด เพราะมั่นใจในเจตนาดีของนโยบายนี้

"Nous ne changerons rien. Les taxes sur le carburant resteront en place et seront levées en 2019. Les taxes sur les véhicules polluants augmenteront également."

คือนอกจากจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไรแล้ว ยังย้ำว่าจะขึ้นภาษียานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลภาวะอีกด้วยในอนาคต

เห็นไหมครับ ว่ามันเป็นการท้าทายม็อบอย่างหนึ่ง

เขายังกล่าวเจตนาดีอีก (ซึ่งต่อไปผมจะแปลเป็นภาษาไทย) ว่า

"ความรับผิดชอบของผมง่ายนิดเดียว คือการันตีว่าราษฎรของเราทุกคน สามารถเข้าถึงพลังงานราคาถูกและสะอาดได้....เราต้องเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล...ภายใน 30 ปี เราต้องเปลี่ยนจากฝรั่งเศสที่ 75% ของการใช้พลังงานมาจากฟอสซิล ไปเป็นฝรั่งเศสที่การผลิตและบริโภคพลังงานจะกลายเป็นพลังงานที่ปราศจากก๊าซคาร์บอนโดยสิ้นเชิงในปี 2050...และเราต้องการที่จะสร้างการขนส่งรูปแบบใหม่...ภายในปี 2030 จำนวนกังหันลมจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า แผงพลังแสงอาทิตย์จะเพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่า...และเราจะนำกังหันลมไปตั้งอยู่กลางทะเลด้วย...."

ผมว่าถ้าคนชั้นกลางไทยได้ฟังนายกรัฐมนตรีของเรากล่าวทำนองนี้ ผมว่าส่วนใหญ่น่าจะเห็นด้วยและบางส่วนอาจจะชื่นชมด้วยซ้ำว่ามีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง นอกเสียจากภาคธุรกิจเท่านั้นที่ไม่อยากต้องเสียเงินลงทุนเพิ่มกับการเปลี่ยนแปลงใหญ่อันนี้

แต่นี่ราษฎรฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นประเทศที่ก้าวหน้า มีวัฒนธรรมสูง และชนชั้นผู้นำของพวกเขาก็เคยเป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องนี้แท้ๆ กาลกลับตาลปัตรไปได้

ผมว่ามันน่าคิด เพราะราษฎรกลับไม่ไว้ใจผู้นำของเขาในประเด็นเหล่านี้ และถ้าใครติดตามเรื่องโลกร้อนมาอย่างใกล้ชิด ก็จะพบว่าระยะหลังมานี้ มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เริ่มจะไม่เชื่อ หรือไม่ก็มีความคิดทำนองว่า "ถึงโลกจะร้อนขึ้น แล้วไงหล่ะ?" หรือหลายคนที่เชื่อ แต่ก็ไม่เชื่อว่าการหันไปใช้พลังงานลม แสงอาทิตย์ หรือนิวเคลียร์ จะถูกและดีจริงอย่างที่โฆษณากัน

ยิ่งผู้นำอย่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาตั้งแง่กับเรื่องโลกร้อน ก็ยิ่งทำให้ประเด็นโลกร้อนถูกดิสเครดิตลงไปอีก

คนฉลาดที่คิดได้เอง สืบสวนสอบสวนข้อมูลด้วยเหตุด้วยผล ก็มักจะตั้งข้อสงสัยว่า คาร์บอนไดออกไซด์นั้นเป็นสาเหตุของโรคร้อนจริงหรือ หรือมันเป็นเพียงสมมติฐานเท่านั้น และเราคงตอบให้แน่ใจชัดเจนลงไปไม่ได้ทีเดียว เพราะเราพิสูจน์ไม่ได้ โลกไม่ใช่ห้องทดลอง ที่ควบคุมอะไรได้หมด

และถึงแม้มีคาร์บอนเพิ่มขึ้น แล้วมันไม่ดีจริงหรือ เพราะอย่าลืมว่า พืชทั้งมวลต้องการคาร์บอน ยิ่งคาร์บอนมาก พืชก็จะเจริญเติบโตได้ดี และพื้นที่เขียวชอุ่มย่อมเพิ่มขึ้น

พวกเขายังรู้อีกว่า ในอดีตอันไกลโพ้น โลกก็เคยเผชิญกับภาวะโลกร้อนมาแล้ว และรุนแรงกว่าปัจจุบันหลายเท่าพันทวี บรรพบุรุษของเราก่อนที่จะพัฒนามาเป็น Homo Sapiens ก็เคยผ่านยุคน้ำแข็ง แล้วก็เข้ายุคโลกร้อน น้ำแข็งละลาย แล้วก็กลับเป็นยุคน้ำแข็ง แล้วก็กลับเป็นโลกร้อน กลับไปกลับมาแบบนี้หลายเที่ยว ในทุกๆ 100,000 ปี

พวกเขาจึงคิดว่าโลกร้อนรอบนี้ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง สุดที่มนุษย์จะไปก้าวล่วงและมีอิทธิพลต่อ แต่สุดท้ายมนุษย์ก็จะต้องปรับตัวได้อยู่ดี

เพียงแต่มันจะมีคนได้และคนเสีย

เช่นผู้คนในกรุงเทพฯ อาจต้องไร้ที่อยู่อาศัย เพราะถูกน้ำทะเลไหลบ่าขึ้นมาท่วมบ้านเรือนหมด แต่ก็อาจทำให้พวกที่มีบ้านแถวเขาใหญ่ กลายเป็นบ้านชายทะเลไป และทะเลทรายในเมืองจีน ในเอเชียกลาง ในแอฟริกา และในอเมริกาเหนือ ที่เคยแห้งผาก ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น ก็อาจจะกลับกลายเป็นพื้นดินอันอุดมสมบูรณ์ เพิ่มพื้นที่ผลิตอาหารให้โลก เป็นการแก้ปัญหาความอดอยากไปโดยปริยาย เป็นต้น

ไหนจะไซบีเรีย แคนนาดาเหนือ กรีนแลนด์ อลาสก้า ตลอดจนขั้วโลกเหนือขั้วโลกใต้ อาจจะกลายมาเป็นพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเติมเลี้ยงโลกได้ไหม ถ้าน้ำแข็งละลายเพราะอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น... ฯลฯ แล้วราคาอาหารจะลดลงหรือไม่?

เหล่านี้ ล้วนยังไม่มีคำตอบซึ่งเป็นที่พอใจหรือเป็นข้อยุติ

เพียงแต่เป็นสมมติฐานแทบทั้งสิ้น

และตราบใดที่มันยังไม่มีคำตอบที่น่าพอใจสำหรับราษฎรหมู่มาก ย่อมหวังยากว่าพวกเขาจะต้องมาทนแบบรับภาระต่างๆ เพื่อการนี้

เหมือนกับที่ราษฎรฝรั่งเศสกำลังปฏิเสธภาระที่พวกเขาคิดว่าชนชั้นนำของพวกเขายัดเยียดให้


บทความโดย | ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว

Page 4 of 7
X

Right Click

No right click