ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นฐานรากของ “ความมั่นคงทางอาหาร”

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด  (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้คะแนนสูงสุดจากดัชนีความยั่งยืน Dow Jones Sustainability Indices(DJSI) ปี 2023 ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร  (Food Products) จากการประเมินของ S&P Global และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ประเภทตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) สะท้อนการรักษามาตรฐานความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร และให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน บนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ผลการประเมินดังกล่าว สะท้อนการรักษามาตรฐานของความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่เกษตรกร คู่ค้าธุรกิจ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน พนักงาน  ชุมชน   เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovation Management) ที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการที่ดี (Health & Nutrition)สำหรับผู้บริโภค โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้  ตลอดจนใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Resource Efficiency and Circularity) ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ CPF คือ Climate People และ Food Security ที่มีพันธกิจสร้างความมั่นคงทางอาหาร ทั้งในภาวะปกติและวิกฤติ

"ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์เป็นครัวของโลกที่ยั่งยืน ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและยึดมั่นในปรัชญาสามประโยชน์สู่ความยั่งยืน ตามดำริของประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ คือ มองประโยชน์ของประเทศ ประชาชน และบริษัท เป็นแนวทางขับเคลื่อนองค์กร   มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร   ส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีโภชนาการ และรสชาติอร่อย  ให้แก่ผู้บริโภคทั่วโลก "นายประสิทธิ์ กล่าว          

บริษัท ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตั้งแต่กระบวนการ ผลิตอาหารสัตว์ (Feed) การเลี้ยงสัตว์ (Farm) และการแปรรูปอาหาร (Food)อาทิ นำนวัตกรรมโปรไบโอติกมาใช้ในอาหารสัตว์ ทั้งสุกร ไก่ กุ้ง ช่วยสร้างสมดุลลำไส้ เสริมภูมิคุ้มกันให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง  ไม่ป่วย  จึงไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และมุ่งมั่นยกระดับเนื้อไก่ไทยสู่มาตรฐานความปลอดภัยระดับอวกาศ (Space Food Safety Standard)ในโครงการ"ไก่ไทยจะไปอวกาศ" เป็นครั้งแรกที่ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยก้าวสู่มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงที่ไม่ใช่แค่ระดับโลก แต่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับเดียวกับที่นักบินอวกาศสามารถรับประทานได้  ตามหลักเกณฑ์ของ Space Food Lab อีกถึงมากกว่า 40 การตรวจสอบ  

นอกจากนี้ ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ปัจจัยเสี่ยงและความท้าทาย บริษัทฯ เตรียมความพร้อมรับมือสู่การเปลี่ยนผ่านในทุกมิติ อาทิ การบริหารความเสี่ยงองค์กรรอบด้าน กำกับดูแลด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ สร้างความมั่นคงและความปลอดภัยด้านข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัล  จัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ  ตลอดจนการส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศที่ดีให้แก่โลก การบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีความผูกพันที่ดีกับองค์กร ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในงานที่รับผิดชอบ เสริมสร้างทักษะที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งเสริมวัฒนธรรมการเป็นคนดีของสังคม  ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ยอมรับความหลากหลายและแตกต่างโดยไม่เลือกปฏิบัติ       

ซีพีเอฟกิจการในประเทศไทยและกิจการต่างประเทศ  ได้ประกาศเจตนารมณ์เป็นองค์กรที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net-Zero) ภายในปี 2050 และเป็นผู้ผลิตอาหารรายแรกของโลกที่ได้รับการอนุมัติเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์  สอดคล้องตามมาตรฐาน Forest, Land and Agriculture Guidance (FLAG) ซึ่งเป็นมาตรฐานเฉพาะสำหรับภาคเกษตรและอาหารจากองค์กร The Science Based Targets initiative (SBTi) องค์กรไม่แสวงหากำไรระดับโลกที่สนับสนุนและให้การรับรองอย่างอิสระในการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก่ภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ

ปัจจุบัน ซีพีเอฟมีการลงทุนและร่วมลงทุนใน 17 ประเทศ  ส่งออกไปมากกว่า 40 ประเทศ ครอบคลุมประชากรมากกว่า 4,000 ล้านคน  บริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ เป็นปีที่ 9 ติดต่อกัน จากการประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทชั้นนำระดับโลก ทั้งในด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ตอกย้ำการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนในระยะยาว และเติบโตอย่างมั่นคงพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ภายใต้วิสัยทัศน์ "ครัวของโลกที่ยั่งยืน"

ห้าดาว (Five star) ร่วมมือกับ BSGF ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน ส่งต่อนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว ไม่ทิ้ง ไม่ทอด มาผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) ภายใต้โครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” พร้อมขับเคลื่อนร้านห้าดาว 5,000 สาขาทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการภายในปี 2567 ผลักดันนวัตกรรมสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายสุนทร จักษุกรรฐ์ กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจห้าดาวและร้านอาหาร บริษัท ซีพีเอฟ เรสเทอรองท์ แอนด์ ฟู้ดเชน จำกัด ในกลุ่ม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ห้าดาวร่วมโครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” กับบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด หรือ  BSGF ภายใต้การร่วมลงทุนของ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ธนโชคออยล์ ไลท์ จำกัด และ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF จากน้ำมันใช้แล้ว โดย BSGF เป็นผู้ที่รับน้ำมันจากห้าดาวและเถ้าแก่ห้าดาวถึงจุดขาย ในเฟสแรกห้าดาวร่วมกับเถ้าแก่ห้าดาวรวม 139 สาขา ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เข้าร่วมโครงการทอดไม่ทิ้ง และตั้งเป้าขยายสาขาเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 5,000 สาขา ภายในปี 2567

“ธุรกิจห้าดาว ผู้ดำเนินธุรกิจจุดจำหน่ายอาหารในรูปแบบแฟรนไชส์ ที่ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้คนไทยเป็นเถ้าแก่เติบโตบนเส้นทางธุรกิจอย่างยั่งยืน มานานกว่า 39 ปี ปัจจุบันมีผู้แฟรนไชส์รวม 5,000 รายในประเทศไทย ห้าดาวมีนโยบายสำคัญในการตัดวงจรน้ำมันทอดซ้ำ ที่ถือเป็นอีกหนึ่งความใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือกับบางจากในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันนวัตกรรมสีเขียวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” นายสุนทร กล่าว

ทางด้าน นายนิพนธ์ เลิศทัศนีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บางจาก กล่าวว่า โครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” โดย BSGF เป็นการรณรงค์ให้ประชาชน “ไม่ทิ้ง” น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วสู่พื้นที่สาธารณะ ป้องกันปัญหาการทิ้งของเสียอย่างไม่ถูกวิธี ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ “ไม่ทอดซ้ำ” ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเชิญชวนประชาชนและผู้ประกอบการนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว มาจำหน่ายที่สถานีบริการบางจากหรือจุดรับซื้อที่บริษัทฯ กำหนด เพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำมันเครื่องบิน SAF ที่ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจ BCG ทั้ง Bio-Circular-Green Economy เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว ได้อย่างครบวงจร.

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เดินหน้าสนับสนุนอาหารส่วนเกินที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีโภชนาการที่ดี รสชาติอร่อย จากศูนย์กระจายสินค้า มอบผ่านมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ หรือ SOS นำไปปรุงอาหารให้แก่ชุมชน ผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเปราะบาง ทั่วกรุงเทพฯ ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารในทุกสถานการณ์ ผ่านโครงการ “Circular Meal…มื้อนี้เปลี่ยนโลก” รับรางวัล SOS Awards 2023 ประเภท “OUTSTANDING FOOD RESCUE AWARD - BIG MANUFACTURING GROUP” จาก SOS เป็นปีที่ 2 ตอกย้ำความมุ่งมั่นร่วมผนึกภาคีเครือข่ายปฏิวัติระบบอาหารประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ในงานสัมมนา “Zero Summit 2023 SOS RE- DEFINING FOOD SYSTEM - สู่นิยามใหม่ของระบบอาหาร”

นายทวิช ทัฬหะกาญจนากุล ผู้อำนวยการโลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้า บริษัท ซีพีเอฟ โกลบอล ฟู้ด โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CPFGS ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟและซีพีเอฟจีเอส ในฐานะผู้สนับสนุนการจัดงานและเป็นหนึ่งในภาคีเครือข่ายที่ได้ร่วมงานกับ SOS มาอย่างต่อเนื่อง และได้เห็นความก้าวหน้าของ SOS และภาคี ในการร่วมผลักดันการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการอาหารส่วนเกิน  โดยตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯได้ส่งมอบอาหารกว่า 174,400 มื้อ สามารถช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการฯ กว่า 55,000 คน มากกว่า 70 ชุมชน และลดการเกิดขยะอาหารในกระบวนการจัดการได้กว่า 41 ตัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 103 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้กว่า 10,800 ต้น (อ้างอิงจาก CDM ภาคป่าไม้ โดย อบก. และ ม.เกษตรศาสตร์ 2554)

จากความมุ่งมั่นของซีพีเอฟ และ SOS ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ข้อที่ 12 โดยขยายการสนับสนุนอาหารจากศูนย์กระจายสินค้าซีพีเอฟจีเอส บางน้ำเปรี้ยวและมหาชัย รวมถึงต่อยอดกิจกรรมไปในพื้นที่อื่นๆ อาทิ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อส่งมอบอาหารมื้อที่ดีที่สุด ในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดให้แก่ผู้ที่ขาดแคลน ดังเช่นในวันอาหารโลก (World Food Day) เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซีพีเอฟและซีพีเอฟจีเอส ผนึกกำลังกับ SOS และ GEPP มอบอาหารให้บุคลากรที่ช่วยพิทักษ์ปกป้องแหล่งน้ำสำคัญของประเทศ สอดรับกับธีมสากล Water is life water is Food ซึ่งตลอดการดำเนินโครงการ Circular Meal มื้อนี้เปลี่ยนโลก บริษัทฯเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังจากการส่งมอบอาหารแล้วมากกว่า 20,000 ชิ้น สู่การจัดการที่เหมาะสมต่อไป

“ความร่วมมือนี้ยังคงพัฒนาและเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนให้แก่โลก ตามแนวทาง  Waste to Value สร้างคุณค่าปราศจากขยะ เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย Zero Food waste to Land fill ภายในปี 2030” นายทวิช กล่าว

สำหรับงานสัมมนา “Zero Summit 2023 SOS RE- DEFINING FOOD SYSTEM - สู่นิยามใหม่ของระบบอาหาร” เพื่อร่วมผนึกกำลังปฏิวัติระบบอาหารประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ซึ่งซีพีเอฟและซีพีเอฟจีเอส เป็นหนึ่งใน 700 พันธมิตร ที่ร่วมสนับสนุน SOS ส่งมอบอาหารส่วนเกินมาโดยตลอด

ซีพี-เมจิ ผู้นำอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมและโยเกิร์ต ชูกลยุทธ์ความยั่งยืน 3 ด้าน สุขภาพ-สังคม-สิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “เพิ่มคุณค่าชีวิต (Enriching Life)” พร้อมขยายตลาดสินค้าคุณภาพไปทั่วภูมิภาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้เติบโตไปด้วยกัน

นางสาวสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตระหนักเสมอถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน โดยใช้แนวคิดการเพิ่มคุณค่าชีวิต 3 ด้าน เริ่มด้วย ด้านสุขภาพ ที่บริษัทฯ จะผลิตเฉพาะผลิตภัณฑ์นมคุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน มุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องดื่มที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค ตอบโจทย์ทั้งไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การเพิ่มรสชาติใหม่ๆ ที่มีฟังก์ชั่นในการดูแลร่างกายของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม โดยจะขยายพอร์ตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (High-value) และส่วนแบ่งการตลาดกลุ่มโยเกิร์ตให้เพิ่มขึ้น รวมถึงความตั้งใจขยายตลาดนมซีพี-เมจิ ออกไปให้ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางการขายน้ำนมแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของไทยให้มากขึ้น

ถัดมา ด้านสังคม ที่ ซีพี-เมจิมุ่งเน้นการดูแลและสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงโคและการจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรต้นน้ำ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตสินค้าให้เติบโตเคียงข้างไปด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่เพียงเท่านั้นบริษัทฯ ยังให้การดูแลชุมชนในจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่โรงงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

สุดท้าย ด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด อาทิ การผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงานจากหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบการกำจัดน้ำเสียและนำกลับมาใช้ โดยจะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือกในกระบวนการผลิตให้มากขึ้น เพื่อมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net-Zero) ตลอดจนเพิ่มพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพให้กับโลกอย่างต่อเนื่อง

“โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบอย่างมากมายดังที่ทุกคนทราบกันดี ในฐานะที่ซีพี-เมจิ เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ เราจึงเดินหน้าคู่ขนานไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการดูแลรักษาโลกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว” นางสาวสลิลรัตน์ กล่าว

กลยุทธ์ความยั่งยืนทั้ง 3 ด้านจะนำไปสู่ความยั่งยืนทางธุรกิจของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี เมื่อผนวกกับสองปัจจัยบวก ทั้งการท่องเที่ยวและตลาดในประเทศฟื้นตัว ซีพี-เมจิ เชื่อมั่นว่า ในปีนี้ผลประกอบการจะเป็นไปตามเป้าหมาย หรือเติบโตราว 10% และยังคงครองการเป็นผู้นำอันดับ 1 ในกลุ่มนมพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ของประเทศไทยได้เช่นเดิม

X

Right Click

No right click