บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์  จูเลียส แบร์ จำกัด (SCB Julius Baer) บริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ และ จูเลียส แบร์ (Julius Baer) ประกาศแต่งตั้ง นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด คนใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2567

“บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์  จูเลียส แบร์ จำกัด” (SCB Julius Baer) บริษัทร่วมทุนระหว่าง “ธนาคารไทยพาณิชย์” ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกของประเทศ และ “จูเลียส แบร์” (Julius Baer) ผู้นำธุรกิจบริหารความมั่งคั่งชั้นนำระดับโลกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และหนึ่งในสี่ผู้ให้บริการธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้งรายใหญ่ของเอเชีย ประกาศแต่งตั้งนายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด คนใหม่ เพื่อนำทัพไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทย

นายพีรพงศ์มีประสบการณ์การทำงานด้านการเงินการลงทุนมากว่า 27 ปี ในสถาบันการเงินชั้นนำ ครอบคลุมด้านการบริหารความมั่งคั่งในผลิตภัณฑ์การลงทุนและทรัพย์สินหลากหลายประเภท การสร้างกลยุทธ์การลงทุนให้กับลูกค้า รวมถึงการวางแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจให้กับองค์กร

นอกจากนี้ นางสาวลลิตภัทร ธรณวิกรัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนปัจจุบัน จะดำรงตำแหน่งกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ด้านนโยบายภาพกว้าง เพื่อความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนแนวทางการทำงานและดำเนินธุรกิจขององค์กรต่อไป

ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ พร้อมนำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การวางแผนและบริหารความมั่งคั่ง ตลอดจนประสบการณ์ในการดูแลลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงทั่วโลกกว่า 130 ปี ของจูเลียส แบร์ มาผสานเข้ากับจุดแข็งของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ ที่มีความเข้าใจกลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงในประเทศไทยอย่างลึกซึ้ง มาใช้ในการดูแลเพื่อเพิ่มคุณค่าและขยายโอกาสในการลงทุนทั่วโลกแบบไร้พรมแดน ให้แก่ลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงชาวไทยที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง

นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ และกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการประกาศแต่งตั้งนายพีรพงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ โดยนายพีรพงศ์ เป็นผู้บริหารที่คร่ำหวอดในแวดวงการเงินการลงทุนเป็นอย่างดี และมีประสบการณ์ในตลาดเงินตลาดทุนมานานกว่า 27 ปี ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในอุตสาหกรรมกองทุนรวมระดับประเทศ ครอบคลุมทุกมิติของการบริหารจัดการความมั่งคั่ง เราเชื่อมั่นว่าภายใต้การนำทัพของนายพีรพงศ์จะสามารถขับเคลื่อนและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูง (UHNWIs/ HNWIs) ของไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และยังคงจุดยืนของการเป็นผู้นำบริหารความมั่งคั่งแบบครบวงจรที่แรกและที่เดียวในประเทศไทยที่สามารถดูแลและให้บริการแก่ลูกค้าแบบมืออาชีพที่ได้มาตรฐานระดับเวิลด์คลาส ตอกย้ำความมุ่งมั่นYour Legacy. Our Promise.” ของ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ ผ่านการรักษาคุณค่าและช่วยให้ลูกค้าคนสำคัญสามารถวางแผนส่งต่อความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน”

มร.จิมมี่ ลี (Jimmy Lee) ประธานประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ธนาคารจูเลียส แบร์ และกรรมการบริหาร จูเลียส แบร์ กรุ๊ป และกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด เปิดเผยว่า “เราเชื่อมั่นว่าความเชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุนของนายพีรพงศ์ ผนวกกับประสบการณ์ด้านการบริหารความมั่งคั่งระดับสูงของนางสาวลลิตภัทร แสดงให้ถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ในการยกระดับบริการเวลธ์แมเนจเม้นท์ของเรา จากประสบการณ์ในการดูแลลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งระดับสูงระดับสากลอันยาวนานผสานกับความก้าวหน้าทางนวัตกรรมที่ช่วยเสริมแกร่งศักยภาพของเราให้โดดเด่นเสมอมา นับเป็นข้อพิสูจน์ถึงคำมั่นสัญญาของ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ ในการเสนอบริการและคำแนะนำที่เหนือระดับแก่ลูกค้า พร้อมช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าเราจะยังคงยืนหยัดเป็นเสมือนสัญลักษณ์แห่งความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือที่ลูกค้าสามารถเชื่อมั่นในศักยภาพท่ามกลางอุตสาหกรรมเวลธ์แมเนจเม้นท์ของเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตอกย้ำบทบาทผู้นำธุรกิจบริหารความมั่งคั่งระดับสูงอย่างแท้จริง” 

SCB WEALTH เปิด 3 สินทรัพย์ผลงานโดดเด่นในไตรมาสแรก ได้แก่ น้ำมัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทองคำ พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส2 จัดพอร์ตระยะยาว มองตราสารหนี้ Investment grade อายุ 2-3 ปี เพื่อเก็บผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่ายที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ยังมีโอกาสรับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้น ด้านหุ้นสหรัฐ อินเดีย และไทย รอจังหวะปรับตัวลดลง ค่อยเข้าลงทุน ส่วนการลงทุนระยะสั้น แนะนำตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และเวียดนาม จากอานิสงส์ ผลประกอบการแนวโน้มดี มูลค่าหุ้นถูก เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้า

SCB WEATLH เดินหน้าจัดสัมมนาตลอดปี ตอบรับการตื่นตัวในการอัพเดทข้อมูลการลงทุนของกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคารที่ต้องการรับคำปรึกษาการลงทุน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยตรงแบบตัวต่อตัว โดยเริ่มที่งานแรกExclusive Investment Talk ในหัวข้อ “ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไทย ปรับกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส 2” โดยมี 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก SCB CIO ได้แก่ น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) และนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นวิทยากร เพื่อเปิดมุมมองวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์เศรษฐกิจ การลงทุน พร้อมแนะนำกลยุทธ์ และผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะสำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในไตรมาส 2 ให้กับกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคาร เมื่อเร็วๆ นี้ ณ SCB Investment Center เซ็นทรัลเวิลด์

 น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า น้ำมัน เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม (Total Return) สูงสุด โดย 3 เดือนแรกของปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 16.5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากอุปทานน้ำมันตึงตัว ท่ามกลางการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ประกอบกับมีความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีการโจมตีโรงกลั่นในบริเวณที่ผลิตน้ำมัน

รองลงมาได้แก่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทน ประมาณ 10.6% ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากกระแสปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่ทำให้บริษัทหลายแห่ง เช่น NVIDIA มีผลประกอบการเติบโตค่อนข้างโดดเด่น ประกอบกับนักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ออกมาดี และ ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม เป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 9.8% ส่วนหนึ่งมาจากประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทำให้นักลงทุนต้องการถือครองทองคำมากขึ้น เนื่องจากมองว่า เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่ ธนาคารกลางต่างๆ ก็สะสมทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุน ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นว่า จะชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) ทำให้นักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจโลกไม่น่าจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรง แต่ก็ทำให้ ความหวังที่ Fed จะลดดอกเบี้ยรวดเร็วและรุนแรง มีน้อยลง ด้านความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 1 ปีข้างหน้า ในกลุ่ม

ประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว (Developed Market) มีแนวโน้มลดลงเกือบทุกประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายรายการปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ Fed ก็มีการปรับคาดการณ์ตัวเลขต่างๆ ดีขึ้น ส่วนโอกาสการเกิดเศรษฐกิจถดถอยใน 1 ปีข้างหน้า ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) ในเอเชีย อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศไทย แม้มีความน่าจะเป็นสูงที่สุดในกลุ่ม Emerging Market ในเอเชีย แต่ก็ยังอยู่ในระดับ 30% เท่านั้น และเมื่อพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจไทยแล้ว ก็ยังเติบโตล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับ Emerging Market ในเอเชียอื่นๆ

ส่วนของนโยบายการเงิน SCB CIO มองว่า Fed ไม่จำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ย โดยอาจเริ่มลดในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ช้ากว่าที่ตลาดมอง เพราะข้อมูล Fed Dot Plot สะท้อนว่า แม้ปีนี้ Fed จะลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง จนไปอยู่ที่ 4.625% แต่ Fed ได้ปรับคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยในปี 2568-2569 และในระยะยาว น้อยลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน จากการที่เงินเฟ้ออาจไม่ได้ลดลงเร็ว ขณะที่ สภาพคล่องในระบบยังมีค่อนข้างมาก ส่วนตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง สนับสนุนให้ Fed ไม่ต้องรีบลดดอกเบี้ย

สำหรับ ธนาคารกลางอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นนำร่องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสวนทางธนาคารกลางอื่นๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ในไตรมาสแรก เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารกลางอื่นๆ ในโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ทั้งสิ้น โดยมีธนาคารกลางหลักที่คาดว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 นี้ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. ประมาณ 25 bps และ ธนาคารกลางจีน ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เช่นกัน

SCB CIO มองว่า กลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุนไตรมาส 2 ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแบบจัดการได้ ส่วนดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง และลดลงช้า ในพอร์ตลงทุนหลัก (Core Portfolio) ควรเน้นลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ ให้เน้นในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพดี มีอันดับเครดิตอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) โดยเน้นเลือกตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุคงเหลือ (Duration) เฉลี่ย 2-3 ปี เพื่อเก็บอัตราผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่าย (Carry Yield) ที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ ก่อนที่ Fed จะตัดสินใจลดดอกเบี้ย และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ผู้ถือตราสารหนี้กลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสได้รับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วย

ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น สำหรับพอร์ตระยะยาว แนะนำลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อินเดีย และไทย โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ผ่านมาดัชนีปรับขึ้นมามากตั้งแต่ปี 2566 และจากข้อมูลของ Bloomberg ณ วันที่ 29 มี.ค. 2567 การปรับขึ้นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มหุ้น 7 บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, META, Tesla และ Nvidia อีกทั้งสถิติหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้นเกิน 10% ติดต่อกัน 2 ไตรมาสแล้ว ใน 1 เดือนถัดมาดัชนีมักจะปรับลดลง และหลังจากนั้น 3 เดือน ดัชนีจะปรับขึ้นได้ไม่มาก จึงแนะนำให้รอจังหวะที่หุ้นปรับตัวลดลง แล้วทยอยเข้าไปลงทุน เน้นคัดเลือกหุ้นกลุ่มคุณภาพ หรือ Quality Growth เป็นหลัก

ขณะที่ ตลาดหุ้นอินเดีย กำลังจะมีการเลือกตั้ง คาดว่านายนเรนทรา โมดี น่าจะยังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และนโยบายรัฐบาลก็คงเป็นการสานต่อนโยบายเดิม เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิรูประบบแรงงาน เน้นสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าไปลงทุนโดยตรงในอินเดียมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสถิติในอดีต 3 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นอินเดียมักจะปรับขึ้น แต่ในช่วง 1 เดือนก่อนการเลือกตั้งตลาดหุ้นมักจะพักฐาน เพราะนักลงทุนรอให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงขานรับนโยบายรัฐบาลใหม่ แล้วจึงปรับขึ้นต่อ อีกทั้งตลาดหุ้นอินเดียปรับขึ้นมามาก ทำให้มูลค่าค่อนข้างแพงแล้ว จึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ส่วนตลาดหุ้นไทย ยังปรับขึ้นล่าช้ากว่าตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย แต่มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การท่องเที่ยวฟื้นตัว งบประมาณภาครัฐที่เบิกจ่ายเร็วขึ้น และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในปีนี้ จึงลงทุนในพอร์ตระยะยาวได้

ส่วนการลงทุนในพอร์ตลงทุนเพื่อโอกาสระยะสั้น (Opportunistic Portfolio) ซึ่งผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง ควรลงทุนไม่เกิน 10-20% ของเงินลงทุนโดยรวม เรามองว่า ตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย มีความน่าสนใจมากกว่า ตลาดหุ้น Developed Market ที่ปรับขึ้นมาค่อนข้างมาก และเป็นการปรับขึ้นกระจุกตัวในหุ้นมาร์เก็ตแคปสูงในตลาดไม่กี่ตัว เนื่องจากตลาด Emerging Market ในเอเชีย มีการกระจุกตัวของหุ้นที่ปรับขึ้นน้อยกว่า ราคาหุ้นยังไม่ได้ปรับขึ้นมากนัก ทำให้มูลค่าหุ้นยังถูกกว่า Developed Market ยกเว้นตลาดหุ้นอินเดีย ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ตลาดคาดการณ์ 12 เดือนข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างมาก อีกทั้งเงินลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นที่โดดเด่น คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market) อย่างเช่น ตลาดหุ้นเวียดนาม

“ช่วงที่ผ่านมา เงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้น Emerging Market เอเชียต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 และเพิ่งจะเริ่มไหลกลับเข้ามาในปี 2566 ต่อเนื่องถึง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 โดยเมื่อนำเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าและไหลออกหักลบกัน พบว่า ยอดเงินลงทุนจากต่างชาติยังไหลออกสุทธิ อยู่ที่ 78,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง สัดส่วนเงินที่ไหลกลับมาลงทุนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ นับตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน ยังอยู่เพียง 38% ของยอดเงินที่ไหลออกทั้งหมด ดังนั้น จึงมีช่องว่างที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนใน Emerging Market เอเชียต่อ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่เงินไหลออกไปมากในช่วงที่ผ่านมา” น.ส.เกษรี กล่าว

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ได้อานิสงส์การส่งออกที่ดี โดยเฉพาะสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ในวงจรต้นน้ำ เช่น DRAM ชิปหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ และ NAND ชิปประมวลผลในการ์ดความจำ ซึ่งจะไปสนับสนุนหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสัดส่วน 39% ของมูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ให้เติบโตได้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตขึ้นมาก อีกทั้งตลาดหุ้นเกาหลีใต้พยายามให้บริษัทจดทะเบียนเพิ่มมูลค่าบริษัทโดยสมัครใจ ด้วยการเพิ่มการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น และการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทสูงขึ้น ซึ่งหุ้นที่มีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ระดับต่ำ จะได้ประโยชน์จากปัจจัยนี้

ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม เรามองว่า เศรษฐกิจเวียดนาม ในปี 2567 ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออก และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การยกระดับสถานะตลาดหุ้นเวียดนาม จากตลาด Frontier Market ไปสู่ตลาด Emerging Market มีแนวโน้มส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ หุ้นกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะครบกำหนดนัดชำระหนี้ในไตรมาสที่ 2-3 ปี 2567 นี้มีค่อนข้างมาก อาจส่งผลให้นักลงทุนกังวลและขายทำกำไรกลุ่มอสังหาฯ ในระยะสั้น ดังนั้นควรเน้นคัดเลือกกองทุนที่มีนโยบายการบริหารเชิงรุก มีผู้จัดการกองทุนคัดเลือกหุ้นรายตัว หลีกเลี่ยงหุ้นที่อ่อนไหวกับประเด็นในภาคอสังหาฯ

ด้านนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกล่าวว่า ในส่วนของการลงทุน นักลงทุนควรลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ โดยการลงทุนในพอร์ตหลักนั้น ตราสารหนี้ ยังเป็นคำตอบที่น่าสนใจในช่วงก่อนดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเราแนะนำให้เลือกพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ส่วนหุ้นกู้ให้หลีกเลี่ยงการเลือกหุ้นกู้ที่ มีความเสี่ยงจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากระดับ Investment Grade ไปอยู่ในกลุ่มตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง (High Yield) โดยควรเลือกลงทุนหุ้นกู้ Investment Grade ระดับ A ขึ้นไป ซึ่งกองทุนที่ตอบโจทย์ได้ค่อนข้างดีคือ SCBDBOND(A) ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ธปท.รัฐวิสาหกิจในไทยเป็นส่วนใหญ่ และลงทุนในตราสารหนี้เอกชนในประเทศ

กรณีที่รับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายขึ้นในพอร์ตลงทุนหลัก แต่ยังเน้นลงทุนในประเทศเป็นหลัก แนะนำเลือกกองทุนผสม KFYENJAI-A ซึ่งมีการลงทุนในหุ้น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

(REITs) และพันธบัตรรัฐบาล กรณีที่พร้อมรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มีกองทุนผสมน่าสนใจ 2 กองทุน ได้แก่ SCBCIO(A) ซึ่งมุ่งเน้นการปรับสัดส่วนเงินลงทุนได้ยืดหยุ่น เพิ่มหรือลดสินทรัพย์เสี่ยงได้ 0-100% เพื่อรับมือทุกสภาวะตลาด ที่บริหารพอร์ตกองทุนโดย SCB CIO Office และ กองทุน SCBGA(A) ที่เงินลงทุนหลัก 70% บริหารโดยสะท้อนมุมมองการลงทุนจากจูเลียส แบร์ อีก 30% คัดเลือกลงทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยทั้ง 2 กองทุน มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และกรณีที่ต้องการเลือกลงทุนกองทุนหุ้นไทยในพอร์ตหลัก แนะนำกองทุน SCBDV(A) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สามารถลงทุนได้ในระยะยาว ขณะที่ กองทุนที่น่าสนใจสำหรับ Opportunistic Portfolio ได้แก่ SCBKEQTG ซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และกองทุน PRINCIPLE VNEQ-A ที่ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม

นอกจากนี้ หากผู้ลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง ประสบการณ์ลงทุนสูง รับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกลงทุนเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Product) ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน เพื่อลดโอกาสการสูญเสียเงินต้น เช่น Double Sharkfin ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้แบบมีกำหนดอายุและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคงที่ อีกส่วนหนึ่งไปลงทุนในสัญญาวอแรนท์ ที่อ้างอิงกับดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า หากดัชนีเคลื่อนไหวปรับขึ้นหรือลดลงในกรอบที่กำหนด มีโอกาสได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ แต่กรณีดัชนีเคลื่อนไหวหลุดจากกรอบที่กำหนด จะได้รับผลตอบแทนน้อยลง หรือไม่ได้เลย แต่โอกาสขาดทุนก็น้อยลงเช่นกัน

SCB WEALTH เปิด 3 สินทรัพย์ผลงานโดดเด่นในไตรมาสแรก ได้แก่ น้ำมัน ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และทองคำ พร้อมแนะกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส2  จัดพอร์ตระยะยาว มองตราสารหนี้ Investment grade  อายุ 2-3 ปี  เพื่อเก็บผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่ายที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ยังมีโอกาสรับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้น  ด้านหุ้นสหรัฐ  อินเดีย และไทย รอจังหวะปรับตัวลดลง ค่อยเข้าลงทุน  ส่วนการลงทุนระยะสั้น แนะนำตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และเวียดนาม จากอานิสงส์ ผลประกอบการแนวโน้มดี มูลค่าหุ้นถูก เงินลงทุนต่างชาติไหลเข้า

SCB WEATLH เดินหน้าจัดสัมมนาตลอดปี ตอบรับการตื่นตัวในการอัพเดทข้อมูลการลงทุนของกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคารที่ต้องการรับคำปรึกษาการลงทุน จากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน โดยตรงแบบตัวต่อตัว  โดยเริ่มที่งานแรกExclusive Investment Talk  ในหัวข้อ “ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและไทย ปรับกลยุทธ์ลงทุนไตรมาส 2” โดยมี 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก SCB CIO  ได้แก่ น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO)  และนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์  เป็นวิทยากร เพื่อเปิดมุมมองวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์เศรษฐกิจ การลงทุน พร้อมแนะนำกลยุทธ์ และผลิตภัณฑ์ลงทุนที่เหมาะสำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในไตรมาส 2 ให้กับกลุ่มลูกค้า Wealth ของธนาคาร  เมื่อเร็วๆ นี้  ณ  SCB  Investment  Center เซ็นทรัลเวิลด์

น.ส.เกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์  เปิดเผยว่า การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลก ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา พบว่า น้ำมัน เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม (Total Return) สูงสุด โดย 3 เดือนแรกของปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 16.5% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากอุปทานน้ำมันตึงตัว ท่ามกลางการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมัน ประกอบกับมีความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่มีการโจมตีโรงกลั่นในบริเวณที่ผลิตน้ำมัน 

รองลงมาได้แก่ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทน ประมาณ 10.6% ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากกระแสปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่ทำให้บริษัทหลายแห่ง เช่น NVIDIA มีผลประกอบการเติบโตค่อนข้างโดดเด่น ประกอบกับนักลงทุนคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ออกมาดี   และ ทองคำ เป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนรวม เป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 9.8% ส่วนหนึ่งมาจากประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทำให้นักลงทุนต้องการถือครองทองคำมากขึ้น เนื่องจากมองว่า เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่ ธนาคารกลางต่างๆ ก็สะสมทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย      

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุน ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นว่า จะชะลอตัวแบบจัดการได้ (Soft Landing) ทำให้นักลงทุนมองว่า เศรษฐกิจโลกไม่น่าจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรง แต่ก็ทำให้ ความหวังที่ Fed จะลดดอกเบี้ยรวดเร็วและรุนแรง มีน้อยลง  ด้านความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอีก 1 ปีข้างหน้า ในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว (Developed Market) มีแนวโน้มลดลงเกือบทุกประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลายรายการปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ Fed ก็มีการปรับคาดการณ์ตัวเลขต่างๆ ดีขึ้น ส่วนโอกาสการเกิดเศรษฐกิจถดถอยใน 1 ปีข้างหน้า ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) ในเอเชีย อยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้ว โดยประเทศไทย แม้มีความน่าจะเป็นสูงที่สุดในกลุ่ม Emerging Market ในเอเชีย แต่ก็ยังอยู่ในระดับ 30% เท่านั้น และเมื่อพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจไทยแล้ว ก็ยังเติบโตล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับ Emerging Market ในเอเชียอื่นๆ

ส่วนของนโยบายการเงิน SCB CIO มองว่า Fed ไม่จำเป็นต้องรีบลดดอกเบี้ย โดยอาจเริ่มลดในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ช้ากว่าที่ตลาดมอง เพราะข้อมูล Fed Dot Plot สะท้อนว่า แม้ปีนี้ Fed จะลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง จนไปอยู่ที่ 4.625% แต่ Fed ได้ปรับคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยในปี 2568-2569 และในระยะยาว น้อยลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน จากการที่เงินเฟ้ออาจไม่ได้ลดลงเร็ว ขณะที่ สภาพคล่องในระบบยังมีค่อนข้างมาก ส่วนตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง สนับสนุนให้ Fed ไม่ต้องรีบลดดอกเบี้ย  

สำหรับ ธนาคารกลางอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารกลางญี่ปุ่นนำร่องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสวนทางธนาคารกลางอื่นๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ในไตรมาสแรก เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารกลางอื่นๆ ในโลกส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ทั้งสิ้น โดยมีธนาคารกลางหลักที่คาดว่าจะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 นี้ ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. ประมาณ 25 bps และ ธนาคารกลางจีน ที่คาดว่าจะลดดอกเบี้ยในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 เช่นกัน

SCB CIO  มองว่า กลยุทธ์การจัดพอร์ตลงทุนไตรมาส 2  ช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวแบบจัดการได้ ส่วนดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง และลดลงช้า ในพอร์ตลงทุนหลัก (Core Portfolio) ควรเน้นลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น การลงทุนในตราสารหนี้ ให้เน้นในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพดี มีอันดับเครดิตอยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) โดยเน้นเลือกตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุคงเหลือ (Duration) เฉลี่ย 2-3 ปี เพื่อเก็บอัตราผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยจ่าย (Carry Yield) ที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าตราสารหนี้ระยะยาวไว้ ก่อนที่ Fed จะตัดสินใจลดดอกเบี้ย และเมื่อ Fed ลดดอกเบี้ยแล้ว ผู้ถือตราสารหนี้กลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสได้รับ Capital gain จากราคาตราสารหนี้ที่ปรับเพิ่มขึ้นด้วย

ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้น สำหรับพอร์ตระยะยาว แนะนำลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ อินเดีย และไทย โดยในส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ผ่านมาดัชนีปรับขึ้นมามากตั้งแต่ปี 2566 และจากข้อมูลของ Bloomberg ณ วันที่ 29 มี.ค. 2567 การปรับขึ้นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มหุ้น 7 บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ Apple, Microsoft, Alphabet, Amazon, META, Tesla และ Nvidia อีกทั้งสถิติหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับขึ้นเกิน 10% ติดต่อกัน 2 ไตรมาสแล้ว ใน 1 เดือนถัดมาดัชนีมักจะปรับลดลง และหลังจากนั้น 3 เดือน ดัชนีจะปรับขึ้นได้ไม่มาก จึงแนะนำให้รอจังหวะที่หุ้นปรับตัวลดลง แล้วทยอยเข้าไปลงทุน เน้นคัดเลือกหุ้นกลุ่มคุณภาพ หรือ Quality Growth เป็นหลัก

ขณะที่ ตลาดหุ้นอินเดีย กำลังจะมีการเลือกตั้ง คาดว่านายนเรนทรา โมดี น่าจะยังได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และนโยบายรัฐบาลก็คงเป็นการสานต่อนโยบายเดิม เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิรูประบบแรงงาน เน้นสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าไปลงทุนโดยตรงในอินเดียมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสถิติในอดีต 3 เดือนก่อนการเลือกตั้ง ตลาดหุ้นอินเดียมักจะปรับขึ้น แต่ในช่วง 1 เดือนก่อนการเลือกตั้งตลาดหุ้นมักจะพักฐาน เพราะนักลงทุนรอให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงขานรับนโยบายรัฐบาลใหม่ แล้วจึงปรับขึ้นต่อ อีกทั้งตลาดหุ้นอินเดียปรับขึ้นมามาก ทำให้มูลค่าค่อนข้างแพงแล้ว จึงเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ส่วนตลาดหุ้นไทย ยังปรับขึ้นล่าช้ากว่าตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย แต่มีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การท่องเที่ยวฟื้นตัว งบประมาณภาครัฐที่เบิกจ่ายเร็วขึ้น และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในปีนี้ จึงลงทุนในพอร์ตระยะยาวได้

ส่วนการลงทุนในพอร์ตลงทุนเพื่อโอกาสระยะสั้น (Opportunistic Portfolio) ซึ่งผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง ควรลงทุนไม่เกิน 10-20% ของเงินลงทุนโดยรวม เรามองว่า ตลาดหุ้น Emerging Market ในเอเชีย มีความน่าสนใจมากกว่า ตลาดหุ้น Developed Market ที่ปรับขึ้นมาค่อนข้างมาก และเป็นการปรับขึ้นกระจุกตัวในหุ้นมาร์เก็ตแคปสูงในตลาดไม่กี่ตัว เนื่องจากตลาด Emerging Market ในเอเชีย มีการกระจุกตัวของหุ้นที่ปรับขึ้นน้อยกว่า ราคาหุ้นยังไม่ได้ปรับขึ้นมากนัก ทำให้มูลค่าหุ้นยังถูกกว่า Developed Market ยกเว้นตลาดหุ้นอินเดีย ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ตลาดคาดการณ์ 12 เดือนข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตค่อนข้างมาก อีกทั้งเงินลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นที่โดดเด่น คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market) อย่างเช่น ตลาดหุ้นเวียดนาม

“ช่วงที่ผ่านมา เงินลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้น Emerging Market เอเชียต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2563-2565 และเพิ่งจะเริ่มไหลกลับเข้ามาในปี 2566 ต่อเนื่องถึง ไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 โดยเมื่อนำเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าและไหลออกหักลบกัน พบว่า ยอดเงินลงทุนจากต่างชาติยังไหลออกสุทธิ อยู่ที่ 78,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง สัดส่วนเงินที่ไหลกลับมาลงทุนที่เป็นของนักลงทุนต่างชาติ นับตั้งแต่ปี 2566 จนถึงปัจจุบัน ยังอยู่เพียง 38% ของยอดเงินที่ไหลออกทั้งหมด ดังนั้น จึงมีช่องว่างที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาลงทุนใน Emerging Market เอเชียต่อ โดยเฉพาะในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่เงินไหลออกไปมากในช่วงที่ผ่านมา” น.ส.เกษรี กล่าว

ทั้งนี้ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่ได้อานิสงส์การส่งออกที่ดี โดยเฉพาะสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ในวงจรต้นน้ำ เช่น DRAM ชิปหน่วยความจำในคอมพิวเตอร์ และ NAND ชิปประมวลผลในการ์ดความจำ ซึ่งจะไปสนับสนุนหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสัดส่วน 39% ของมูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ให้เติบโตได้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เติบโตขึ้นมาก อีกทั้งตลาดหุ้นเกาหลีใต้พยายามให้บริษัทจดทะเบียนเพิ่มมูลค่าบริษัทโดยสมัครใจ ด้วยการเพิ่มการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น และการซื้อหุ้นคืน เพื่อให้ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (ROE) ของบริษัทสูงขึ้น ซึ่งหุ้นที่มีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ระดับต่ำ จะได้ประโยชน์จากปัจจัยนี้

ส่วนตลาดหุ้นเวียดนาม เรามองว่า เศรษฐกิจเวียดนาม ในปี 2567 ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากภาคการส่งออก และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ การยกระดับสถานะตลาดหุ้นเวียดนาม จากตลาด Frontier Market ไปสู่ตลาด Emerging Market มีแนวโน้มส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ หุ้นกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะครบกำหนดนัดชำระหนี้ในไตรมาสที่ 2-3 ปี 2567 นี้มีค่อนข้างมาก อาจส่งผลให้นักลงทุนกังวลและขายทำกำไรกลุ่มอสังหาฯ ในระยะสั้น ดังนั้นควรเน้นคัดเลือกกองทุนที่มีนโยบายการบริหารเชิงรุก มีผู้จัดการกองทุนคัดเลือกหุ้นรายตัว หลีกเลี่ยงหุ้นที่อ่อนไหวกับประเด็นในภาคอสังหาฯ

ด้านนายธนกฤต ศรันกิตติภัทร CFP® ผู้อำนวยการที่ปรึกษาการลงทุน SCB CIO ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกล่าวว่า ในส่วนของการลงทุน นักลงทุนควรลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ โดยการลงทุนในพอร์ตหลักนั้น ตราสารหนี้ ยังเป็นคำตอบที่น่าสนใจในช่วงก่อนดอกเบี้ยปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเราแนะนำให้เลือกพันธบัตรรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ส่วนหุ้นกู้ให้หลีกเลี่ยงการเลือกหุ้นกู้ที่ มีความเสี่ยงจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากระดับ Investment Grade ไปอยู่ในกลุ่มตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง (High Yield) โดยควรเลือกลงทุนหุ้นกู้ Investment Grade ระดับ A ขึ้นไป ซึ่งกองทุนที่ตอบโจทย์ได้ค่อนข้างดีคือ SCBDBOND(A) ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ธปท.รัฐวิสาหกิจในไทยเป็นส่วนใหญ่ และลงทุนในตราสารหนี้เอกชนในประเทศ

กรณีที่รับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายขึ้นในพอร์ตลงทุนหลัก แต่ยังเน้นลงทุนในประเทศเป็นหลัก แนะนำเลือกกองทุนผสม KFYENJAI-A ซึ่งมีการลงทุนในหุ้น ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และพันธบัตรรัฐบาล กรณีที่พร้อมรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน มีกองทุนผสมน่าสนใจ 2  กองทุน ได้แก่ SCBCIO(A) ซึ่งมุ่งเน้นการปรับสัดส่วนเงินลงทุนได้ยืดหยุ่น เพิ่มหรือลดสินทรัพย์เสี่ยงได้ 0-100% เพื่อรับมือทุกสภาวะตลาด ที่บริหารพอร์ตกองทุนโดย SCB CIO Office และ กองทุน SCBGA(A) ที่เงินลงทุนหลัก 70% บริหารโดยสะท้อนมุมมองการลงทุนจากจูเลียส แบร์ อีก 30% คัดเลือกลงทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ โดยทั้ง 2 กองทุน มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และกรณีที่ต้องการเลือกลงทุนกองทุนหุ้นไทยในพอร์ตหลัก แนะนำกองทุน SCBDV(A) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มีการจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี สามารถลงทุนได้ในระยะยาว  ขณะที่ กองทุนที่น่าสนใจสำหรับ Opportunistic Portfolio ได้แก่ SCBKEQTG ซึ่งลงทุนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้  และกองทุน PRINCIPLE VNEQ-A ที่ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม

นอกจากนี้ หากผู้ลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง ประสบการณ์ลงทุนสูง รับความเสี่ยงได้สูง อาจเลือกลงทุนเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Product) ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในภาวะตลาดผันผวน เพื่อลดโอกาสการสูญเสียเงินต้น เช่น Double Sharkfin ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้แบบมีกำหนดอายุและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนคงที่ อีกส่วนหนึ่งไปลงทุนในสัญญาวอแรนท์ ที่อ้างอิงกับดัชนีตลาดหุ้นต่างๆ โดยกำหนดเงื่อนไขว่า หากดัชนีเคลื่อนไหวปรับขึ้นหรือลดลงในกรอบที่กำหนด มีโอกาสได้ผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ แต่กรณีดัชนีเคลื่อนไหวหลุดจากกรอบที่กำหนด จะได้รับผลตอบแทนน้อยลง หรือไม่ได้เลย แต่โอกาสขาดทุนก็น้อยลงเช่นกัน

ธนาคารไทยพาณิชย์ จับมือ วีซ่า ผู้นำด้านการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก และผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการมหกรรมกีฬาโอลิมปิก จัดแคมเปญยิ่งใหญ่แห่งปี “เดินหน้าช้อป ลุ้นบินฟรียกทริป” มอบประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับลูกค้าผู้ถือบัตรวีซ่า PLANET SCB เพียงสมัครบัตร PLANET SCB หรือมียอดการใช้จ่ายครบทุก 5,000 บาท (สกุลเงินใดก็ได้) รับสิทธิ์ลุ้นบินลัดฟ้าชมมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ โอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 พร้อมตั๋วเครื่องบินไปกลับกรุงเทพฯ – ปารีส และที่พัก 5 วัน 4 คืน จำนวน 4 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 4.4 ล้านบาท โดยวีซ่า ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 – 15 พฤษภาคม 2567

นายธนวัฒน์ กิตติสุวรรณ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงาน Digital Juristic & Payment ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “มหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติที่คนทั่วโลกเฝ้ารอคอย โอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเพื่อเป็นการตอบแทนคำขอบคุณของลูกค้าที่ให้การสนับสนุนบัตรวีซ่า PLANET SCB เป็นอย่างดีเสมอมา ธนาคารจึงได้ร่วมกับ วีซ่า มอบประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับลูกค้าผู้ถือบัตรวีซ่า PLANET SCB ให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก พร้อมเชียร์นักกีฬาไทยแบบติดขอบสนาม ผ่านแคมเปญ เดินหน้าช้อป ลุ้นบินฟรียกทริป” ลุ้นรับสิทธิ์ชมโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 โดยวีซ่า พร้อมตั๋วเครื่องบินไปกลับกรุงเทพฯ – ปารีส และที่พัก 5 วัน 4 คืน จำนวน 4 รางวัล รวมมูลค่ากว่า 4.4 ล้านบาท โดยวีซ่า

นายปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในฐานะพันธมิตรด้านบริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก และผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิก เกมส์ ปารีส 2024 เรายินดีที่ได้ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ ในการต่อยอดและใช้ประโยชน์จากการเป็นพาร์ทเนอร์ระดับโลกของกีฬาโอลิมปิกในการจัดแคมเปญมอบประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตสำหรับผู้ถือบัตรวีซ่า PLANET SCB วีซ่ามุ่งมั่นมากกว่าการนำเสนอโซลูชันการชำระเงินที่ทั้งสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยสำหรับผู้ถือบัตรเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสนับสนุนให้ลูกค้าชาวไทยได้ใกล้ชิดกับมหกรรมกีฬาโอลิมปิกยิ่งขึ้น สนับสนุนนักกีฬาความหวังของชาติ และสร้างแรงบรรดาลใจอย่างยั่งยืนให้กับแฟนกีฬาชาวไทยในรุ่นต่อๆ ไป”

รายละเอียดแคมเปญ เดินหน้าช้อป ลุ้นบินฟรียกทริป”

  • สำหรับลูกค้าใหม่ สมัครบัตรวีซ่า PLANET SCB รับสิทธิ์ลุ้นรางวัล 1 สิทธิ์
  • สำหรับลูกค้าที่มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรวีซ่า PLANET SCB ครบทุก 5,000 บาท (สกุลเงินใดก็ได้) รับสิทธิ์ลุ้นรางวัล 1 สิทธิ์

บัตรวีซ่า PLANET SCB โลกเสรีแห่งการแลกเงิน บัตรเดียวใช้จ่ายคุ้มทั่วโลก แลกเงินเรทดีเก็บไว้ก่อนได้ เรทดีเท่าร้านแลกเงินชั้นนำ แลกได้มากถึง 13 สกุลเงินยอดนิยมในบัตรเดียว และรองรับสกุลเงินบาท ใช้จ่ายได้ทุกสกุลเงินทั่วโลกไม่ชาร์จ 2.5% ค่าธรรมเนียมแปลงสกุลเงินต่างประเทศ สะดวก รวดเร็ว แลกเงินง่ายได้ทุกที่ 24 ชั่วโมงผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY

สมัครบัตรวีซ่า PLANET SCB ได้ที่แอปพลิเคชัน SCB EASY หรือธนาคารไทยพาณิชย์ทั่วประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร SCB Call Center 02-777-7777 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/promotions/prepaid-card/planet-olympic.html

SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2567 ตามการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งจะสนับสนุนให้อุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้นผ่านการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในระยะปานกลางเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจข้ามชาติออกไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ “China +1” เพื่อลดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในระยะต่อไป ในปีนี้ SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวต่อเนื่อง 6.0% (จาก 5.6% ในปี 2566) สปป.ลาว 4.7% (จาก 4.5%) เมียนมา 3.0% (จาก 2.5%) และเวียดนาม 6.3% (จาก 5.1%)

 

อัตราการขยายตัวของแต่ละประเทศใน CLMV ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อน COVID-19 จากปัจจัยกดดันต่าง ๆ อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเศรษฐกิจภูมิภาค CLMV มีความสัมพันธ์สูงทั้งด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวและภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะเดียวกัน บางประเทศ เช่น กัมพูชาและเวียดนามมีอัตราส่วนหนี้เสีย (Non-performing loans ratio) สูงขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือในช่วง COVID-19 สิ้นสุดลง ประกอบกับภาวะการเงินในประเทศที่ตึงตัวขึ้น อาจกระทบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและการเข้าถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้ นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาต่อเนื่อง ในระยะสั้นการค้าโลกอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการขนส่งบริเวณทะเลแดงและคลองปานามาที่แห้งแล้งและอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าส่งออกของภูมิภาค CLMV ได้ ในระยะยาวเศรษฐกิจ CLMV จะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับโลกที่มีแนวโน้มจะกีดกันการค้าและตั้งกำแพงภาษีมากขึ้น

ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยเฉพาะประเทศ โดยเฉพาะในสปป.ลาวที่เผชิญความเสี่ยงจากระดับหนี้สาธารณะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงเทียบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ท่ามกลางภาวะการเงินโลกตึงตัว ทำให้เงินกีบอ่อนค่ารวดเร็ว ซ้ำเติมภาระการชำระหนี้ต่างประเทศ และทำให้เงินเฟ้อในประเทศพุ่งสูงขึ้นมากและปรับตัวลดลงได้ช้าในปีนี้ ปัจจัยเหล่านี้กดดันศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง โดยสปป.ลาวกำลังดำเนินการรัดเข็มขัดทางการคลัง ควบคู่กับการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และการหาแหล่งระดมทุนใหม่เพื่อรักษาเสถียรภาพการคลังไว้ ขณะที่เมียนมาเป็นอีกประเทศที่กำลังเผชิญปัจจัยกดดันเชิงโครงสร้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี 2564 และทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2566 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศซบเซา ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกมีส่วนทำให้อุปสงค์ต่างประเทศอ่อนแอลงมาก ประกอบกับปัญหาอื่น ๆ เช่น การขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เงินจัตอ่อนค่าและเงินเฟ้อเร่งตัว ตลอดจนปัญหาระบบขนส่งและโครงข่ายไฟฟ้าหยุดชะงัก การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังดูเป็นไปได้ยากในระยะสั้น เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ

 

ค่าเงินของกลุ่มประเทศ CLMV จะเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าลดลง ตามธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักที่มีแนวโน้มเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่กลางปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้าประเทศกำลังพัฒนา รวมถึง CLMV มากขึ้น และจะกระตุ้นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศตามต้นทุนการระดมทุนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเฉพาะประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อแนวโน้มค่าเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบางประเทศอาจยังอ่อนค่าต่อ

การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV มีแนวโน้มดีขึ้นในปีนี้ หลังจากค่อนข้างซบเซาในปี 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการค้าโลกที่ปรับดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคการผลิต และเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาคที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ ภาวะการเงินโลกและไทยที่คาดว่าจะผ่อนคลายลงบ้างในปีนี้จะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้บริษัทไทยลงทุนใน CLMV ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจของ CLMV บางประเทศที่ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนมากนัก ทั้งนี้ในระยะยาว SCB EIC ยังมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจ CLMV และคาดว่าจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคของโลกที่เติบโตสูง และยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ จากปัจจัยประชากรที่มีอายุเฉลี่ยน้อย การมีข้อตกลงสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ และแหล่งที่ตั้งที่มีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ติดตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย

Page 1 of 27
X

Right Click

No right click