นายพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (กลาง) ร่วมด้วย นายอภิชาติ์ หงษ์หิรัญเรือง กรรมการผู้จัดการ ทรูโฟร์ยู ช่อง 24 (ขวา) และ นายธีรศักดิ์ อรุณเริ่มวัฒนะ ผู้อำนวยการกลุ่ม ด้านคอนเทนต์และมีเดีย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (ซ้าย) เปิดตัวกลยุทธ์ ‘True for All, More for 4U สนุกเกินคาด มากกว่าที่คิด’ สำหรับการจัดทัพคอนเทนต์ในครึ่งปีแรกให้ตอบโจทย์ผู้ชมยุคดิจิทัลมากขึ้น โดยปรับผังรายการตรงตามความต้องการผู้ชมทุกกลุ่ม ให้ได้รับประสบการณ์ความบันเทิงระดับคุณภาพผ่านช่องทางแบบออมนิแชนแนล (OMNI-Channel) นอกเหนือจากรับชมผ่านช่องทีวี เสริมทัพด้วยคอนเทนต์คุณภาพจากพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง อาทิ ซีรีส์ รายการวาไรตี้ และเรียลลิตี้ เป็นต้น พร้อมชูจุดแข็งด้านช่องทางการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมเป้าหมายได้ตรงจุด ตอบโจทย์ด้านการตลาดสำหรับแบรนด์ต่างๆ

แผ่นรองพรมรักษ์โลกจากพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ย่อยสลาย ลดปัญหาขยะพลาสติก ผลงานนักศึกษาปริญญาโท นางสาวประภัสสร วันนิจ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด ดร.วีราภรณ์ ผิวสอาด คณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้าเหรียญทอง ในงาน “Seoul International Invention Fair 2018” ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

 

 

นางสาวประภัสสร วันนิจ เล่าว่า พรมปูพื้นในปัจจุบันทำจากพลาสติกจำพวกพอลิโพรไพลีน(Polypropylene, PP) หรือพอลิเอสเตอร์ (Polyester) ประเภทพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Poly(ethylene terephthalate), PET) ซึ่งพลาสติกเหล่านี้ไม่ย่อยสลาย และจากปริมาณการผลิตพรมในประเทศไทยมีมากกว่า 4,000 ตันต่อปี ดังนั้นปริมาณของขยะพลาสติกที่เกิดจากพรมในแต่ละปีจึงมีจำนวนไม่น้อยไปกว่าปริมาณการผลิต เนื่องจากอายุการใช้งานของพรมอยู่ระหว่าง 2-5 ปี ขยะพลาสติกจากพรมจึงเป็นปัญหาต่อการกำจัด ซึ่งการนำกลับมาใช้ใหม่ไม่เหมาะสมเนื่องจากคุณภาพและสมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์ที่ลดลง พอลิเมอร์เหล่านี้ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จึงเป็นแหล่งของปัญหาขยะพลาสติกที่ไม่สามารถกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงศึกษาหาวัสดุชนิดใหม่ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ทดแทน PP หรือ PET โดยศึกษาการใช้พอลิแลคติคแอซิด(Poly(lactic acid), PLA) เพื่อขึ้นรูปชิ้นส่วนของพรมและใช้ทดแทนพอลิเมอร์แบบเดิม

 

 

งานวิจัยได้ทำการศึกษาการประยุกต์เทคโนโลยีการใช้พอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เพื่อผลิตชิ้นส่วนของพรม และศึกษากระบวนการขึ้นรูปที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ากระบวนการแบบเดิมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติที่ดีกว่าเดิม โดยศึกษากระบวนการขึ้นรูปผ้าไม่ถักไม่ทอ (nonwoven) แบบใหม่คือ Melt jet spinning หรือ Cotton candy method เป็นกระบวนการขึ้นรูปผ้าไม่ถักไม่ทอที่สามารถผลิตเส้นใยที่มีขนาดเล็กได้ในระดับไมโครเมตร และสามารถผลิตเส้นใยได้ในประมาณที่มาก ไม่ต้องใช้แรงดันไฟฟ้าสูงในกระบวนการ ทำให้ประหยัดพลังงานและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความนุ่มมากขึ้นและมีสมบัติเชิงกลที่ดีขึ้น ลักษณะของพรมรักษ์โลกต้นแบบเป็นแผ่นผ้าที่มีลักษณะคล้ายสำลีหรือขนมสายไหม ฟูๆ นิ่ม สีขาว

 

 

ความแตกต่างของพรมรักษ์โลกต่างจากพรมในปัจจุบันเรื่องของการย่อยสลาย พรมส่วนใหญ่ที่ผลิตจากพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่า 400 ปี สำหรับแผ่นรองพรมที่คิดค้นจากพอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เมื่อทิ้งเป็นขยะจะสามารถเริ่มกระบวนการย่อยสลายได้ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป ทำให้ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก เป็นการพัฒนากระบวนการผลิตพรมโดยใช้พอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพเพื่อทดแทนพอลิเมอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมและไม่ย่อยสลาย การผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอจากกระบวนการ Melt jet spinning หรือกระบวนการ Cotton candy เป็นกระบวนการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิต เนื่องจากใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำ และยังสามารถผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอได้เป็นจำนวนมาก

รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติมากที่ได้รับรางวัลเหรียญทองในครั้งนี้ และภูมิใจที่งานวิจัยสามารถช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้คนทั่วไปตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากขยะพลาสติกมากขึ้น

ดร.น้องนุช เหล่ามณีรัตนาภรณ์ (ซ้าย) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) มอบเงินช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนจากพายุโซนร้อนปาบึก ให้แก่นายประสงค์ พูนธเนศ (กลาง) ปลัดกระทรวงการคลัง ในโครงการ “คลังรวมใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม” ในรายการพิเศษ “รวมน้ำใจไทย ช่วยวาตภัยใต้” ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT ณ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2562

เอสซีจี โดย นายธิเชษฐ ศรีสุริยนต์ Southern Business Director ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง(ที่ จากซ้าย) สนับสนุนกระเบื้องหลังคาลอนคู่ มูลค่า 1,000,000 บาท ปูนซีเมนต์ มูลค่า 280,000 บาท และหินคลุก จำนวน 500 ตัน ให้แก่ นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช (ที่ จากซ้าย) สำหรับนำไปใช้ซ่อมแซมอาคารบ้านเรือน และถนนที่ชำรุดใน จ.นครศรีธรรมราช และพื้นที่ใกล้เคียงที่ประสบภัย โดยมีพนักงานจิตอาสากว่า 40 ชีวิต ร่วมกับกลุ่มผู้รับเหมาและช่าง ลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำการซ่อมแซมและทำความสะอาดบ้านเรือน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และศาลาประชาชน บริเวณชุมชนรอบโรงงาน

นอกจากนี้ เอสซีจียังได้ร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราชบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบภัยในการซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยด้วยการลดราคากระเบื้องหลังคาลอนคู่สี รุ่นไฮบริดทุกสี ลอนคู่ซิเมนต์ และลอนคู่ตราร่ม สูงสุด 20% พี่น้องชาวใต้สามารถหาซื้อได้ที่ร้านผู้แทนจำหน่ายเอสซีจี หรือร้านค้าวัสดุก่อสร้างทั่วไป จำกัดจำนวนครอบครัวละไม่เกิน 300 แผ่น โดยต้องมีหนังสือรับรองจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดฯ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน ใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 15 มกราคม 2562 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด

เอปสัน ผู้นำตลาดโปรเจคเตอร์ ปลุกกระแสตลาดโปรเจคเตอร์ต้นปี 2562 ด้วยการเปิดตัวเลเซอร์โปรเจคเตอร์ 3LCD รุ่นใหม่พร้อมกันสองรุ่น ได้แก่ รุ่น EB-L12000Q เลเซอร์โปรเจคเตอร์ 4K แท้ ความสว่าง 12,000 ลูเมนส์ ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ระดับเดียวกัน และรุ่น EB-L20000U เลเซอร์ โปรเจคเตอร์ความสว่าง 20,000 ลูเมนส์ ที่มีความละเอียด WUXGA เป็นรุ่นแรกของเอปสัน

เลเซอร์โปรเจคเตอร์ 4K แท้ รุ่น EB-L12000Q ที่เอปสันพัฒนาขึ้นเองนั้น สามารถฉายภาพในระดับ 4K ที่มีความละเอียดสูงถึง 3,840 x 2,160 พิกเซล ซึ่งทำให้ภาพคมชัดเหนือ Ultra-HD

ด้วยอุปกรณ์แหล่งกำเนิดแสงที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของเอปสัน โปรเจคเตอร์ใหม่ทั้งสองรุ่นที่เปิดตัวในครั้งนี้  จึงมี ประสิทธิภาพสูง ช่วยให้เอปสันสามารถขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดธุรกิจบริการให้เช่าอุปกรณ์แสงเสียงไฮเอนด์ และ กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการใช้โปรเจคเตอร์คุณภาพสูงในสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้ความพิถีพิถันในการทำงาน เช่น เวทีในงานอีเว้นท์ ห้องประชุมขนาดใหญ่ หรือการใช้สำหรับป้ายโฆษณาดิจิทัล

ทั้ง EB-L12000Q และ EB-L20000U ได้ปฏิวัติวงการโปรเจคเตอร์ในระดับความสว่างเดียวกัน ทั้งในด้านขนาดเครื่องที่มีความกะทัดรัด น้ำหนักเบา ทำให้สามารถติดตั้งกับโครงสร้างได้ง่าย ที่สำคัญนอกจากทั้งสองรุ่นจะใช้อุปกรณ์แหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ที่เอปสันพัฒนาขึ้นเองแล้ว  ยังได้ใช้ชุดกรอง electrostatic ที่ทันสมัย ทำให้โปรเจคเตอร์มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 20,000 ชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาอีกด้วย

นอกจากนี้ โปรเจคเตอร์ทั้งสองรุ่นยังมีความทนทานสูง เพราะมีระบบป้องกันฝุ่นถึง 3 ชั้น ช่วยคุ้มครองอุปกรณ์แสง ที่ปิดผนึกอยู่ภายใน และได้รับการออกแบบให้ช่วยลดการหมุนเวียนของอากาศลงถึง 86% ซึ่งดีกว่าเครื่องรุ่นก่อน  จึงช่วยปกป้องตัวเครื่องจากฝุ่นละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยิ่งกว่านั้นยังมีระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวที่พัฒนาขึ้นใหม่  เพื่อรักษาอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอุปกรณ์ฉายภาพในตัวเครื่อง  รวมถึงยังมีกลไกปิด-เปิด ซึ่งจะช่วยปกป้องเลนส์จากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเพราะแสงเลเซอร์ได้

 

 

โปรเจคเตอร์รุ่นล่าสุดจากเอปสัน ยังมีความยืดหยุ่นในการติดตั้ง สามารถหมุนได้รอบ 360 องศาทั่วทุกทิศทางโดยที่ระดับความสว่างไม่ลดน้อยลง พร้อมมีกล้องติดที่ตัวเครื่องเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบการทำงานและการติดตั้งได้อย่างสะดวก ทั้งยังมี Professional Projector Tool ซอฟท์แวร์ล่าสุดของเอปสันที่จะช่วยให้การติดตั้งโปรเจคเตอร์หลายๆ เครื่อง สามารถทำงานพร้อมกันได้อย่างง่ายดาย  รวมถึงมีฟังก์ชั่นในการปรับแก้ภาพ  พิกัด และสีจากแต่ละเครื่องให้เข้ากันได้อย่างกลมกลืน  ในกรณีที่มีการฉายภาพพร้อมกันหลายเครื่องแบบไร้ขอบ หรือ Edge Blending หรือฉายภาพบนพื้นผิวโค้ง

ไม่เพียงเท่านั้น โปรเจคเตอร์ทั้งสองรุ่นยังใช้เลนส์แบบเดียวกันกับที่รองรับความละเอียดระดับ 4K ในโปรเจคเตอร์รุ่น EB-L1000 ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถนำเลนส์เดิมกลับมาใช้งานได้  รวมถึงยังสามารถใช้งานกับเลนส์ ELPLX02 ซึ่งมีคุณสมบัติ Zero Offset ที่มีระยะฉายสั้นพิเศษ แถมยังมีตัวเลื่อนปรับตำแหน่งเลนส์ที่กว้างกว่าเดิม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการใช้งานในสถานที่ที่ซึ่งมีระยะห่างระหว่างเลนส์และจุดฉายเพียงน้อยนิด จุดสำคัญอีกประการของโปรเจคเตอร์ทั้งสองรุ่นนี้ คือ ยังมีระบบรองรับระบบ Hybrid Log Gamma และ HDR10 อีกด้วย

“EB-L12000Q ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของเอปสัน เพราะนี่คือโปรเจคเตอร์ระบบ 4K แท้ ที่สามารถฉายภาพได้อย่างน่าทึ่ง  โดยโปรเจคเตอร์ที่เราเปิดตัวใหม่ทั้งสองรุ่นนี้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายและสะดวกต่อการใช้งาน  เหมาะสำหรับลูกค้ากลุ่มบริการให้เช่าอุปกรณ์และจัดเวทีอีเว้นท์  รวมถึงทั้งสองรุ่นสามารถใช้งานร่วมกับเลนส์ได้หลายแบบและเลือกพอร์ตการเชื่อมต่อได้หลากหลาย  จึงถือว่าเป็นนวัตกรรมที่มาเสริมไลน์ผลิตภัณฑ์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูงของเอปสันได้เป็นอย่างดี” นายอึ้ง หงี่ เกียง ผู้อำนวยการ ด้านอุปกรณ์ภาพ และพัฒนาหุ่นยนต์ (ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เอปสัน สิงคโปร์ กล่าว

โปรเจคเตอร์รุ่น EB-L12000Q ได้รับรางวัล Good Design Awards 2018 จากการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่าง โดดเด่น โดยรางวัลนี้จะมอบปีละครั้งให้แก่ผลงานออกแบบที่เป็นประโยชน์และเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของผู้คนและ สังคมโดยรวม  เอปสันจะเริ่มจำหน่ายโปรเจคเตอร์รุ่น EB-L12000Q และ EB-L20000U ในภูมิภาคในช่วงครึ่งปีหลังของปี  2019

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โดยชมรม CPF Running Club เผยผลการจัดงาน เดิน-วิ่ง เพื่อการกุศล Run For Charity 2018 ตลอดปี 2561 รวมทั้งหมด 11 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมวิ่ง 2.3 หมื่นคน และยอดเงินบริจาค มูลค่ารวม 7.1 ล้านบาท พร้อมสานต่อปีที่ 3 ชวนนักวิ่งใจอนุรักษ์ร่วมประเดิมสนามแรก กับ CPF RUN FOR CHARITY 2019 “One Home One Health วันนี้... ก้าวเพื่อบ้านของเรา” ณ เขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2562

 

 

นายวิโรจน์ คัมภีระ ประธานชมรม ซีพีเอฟ รันนิ่ง คลับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมล่าสุดส่งท้ายปี 2561 “ซีพีเอฟ ตอบแทนคุณแผ่นดิน เดิน-วิ่ง ถิ่นครูบา” ครั้งที่ 2 โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานเปิดงาน พร้อมนักวิ่งราว 1,500 คน ร่วมวิ่งการกุศลครั้งนี้ เพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจัดกิจกรรม จำนวน 167,396 บาท มอบให้แก่เหล่ากาชาดจังหวัดลำพูน สำหรับใช้พัฒนาชุมชนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส พร้อมนำรายได้อีก 41,000 บาท จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มอบให้กับโรงเรียนวัดป่าแดด จ.ลำพูน ใช้ส่งเสริมความรู้ ความสามารถให้แก่เยาวชนไทย นอกเหนือจากนั้นการวิ่งในครั้งนี้ยังได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการนำใบตองมาใช้ทำเป็นภาชนะอาหารสำหรับแจกให้นักวิ่ง เพื่อลดการใช้โฟมและพลาสติกอีกด้วย

 

 

CPF RUN FOR CHARITY เดิน-วิ่ง เพื่อการกุศล จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี 2560 ตามแนวคิดที่จะส่งเสริมให้พนักงานซีพีเอฟทั่วประเทศ และคนในชุมชนรอบสถานประกอบการ หันมาออกกำลังกาย ใส่ใจสุขภาพ เป็นการส่งเสริมให้พนักงานและคนในชุมชนได้มีกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งยังกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงการช่วยเหลือสังคมด้วยการทำความดี สร้างคุณประโยชน์ตอบแทนสังคม โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะถูกนำไปสมทบทุนแก่ มูลนิธิ โรงพยาบาล โรงเรียน และเหล่ากาชาด ในแต่ละจังหวัดที่จัดกิจกรรม

 

 

ในปี 2562 ชมรม CPF Running Club ยังคงสานต่อแนวคิดที่ให้คนไทยออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ พร้อมทำความดีตอบแทนคุณสังคม โดยการจัดเดิน-วิ่ง การกุศล ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ประเดิมสนามแรกกับ CPF RUN FOR CHARITY 2019 “One Home One Health วันนี้... ก้าวเพื่อบ้านของเรา” โดยใช้เส้นทางป่าเขาพระยาเดินธง ในโครงการ ‘ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง' ที่ ซีพีเอฟ ร่วมมือกับ กรมป่าไม้, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ริเริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2559 ฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม จำนวน 5,971 ไร่ ให้กลับมาเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2559 – 2563) โดยการเลือกเส้นทางป่าเขาพระยาเดินธงในครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกให้คนไทยหันมาใส่ใจอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ คืนความอุดมสมบูรณ์แก่ป่าต้นน้ำ อีกทั้งยังได้ในเรื่องของสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอีกด้วย

ผู้ที่สนใจร่วมสัมผัสธรรมชาติและชื่นชมทัศนียภาพอันสวยงามของป่าเขาพระยาเดินธง ในกิจกรรม เดิน-วิ่ง การกุศล ปี 3 CPF RUN FOR CHARITY 2019 “One Home One Health วันนี้... ก้าวเพื่อบ้านของเรา” ในวันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม 2562 ณ เขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี สามารถสมัครและติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่ เว็บไซต์ : https://cpfrunningclub.com/tkf/

เนื่องในโอกาสครบรอบการก่อตั้ง 100 ปี ของพานาโซนิคในประเทศญี่ปุ่น พานาโซนิคทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลอง และจัดกิจกรรมเพื่อตอกย้ำความเป็นแบรนด์คุณภาพ ภายใต้แนวคิด “A Century of Reliability หนึ่งร้อยปีแห่งความไว้วางใจ” โดยตลอดระยะเวลา 57 ปีที่กลุ่มบริษัทพานาโซนิคดำเนินงานในประเทศไทย มีการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดกับโครงการ “พานาโซนิค มอบ 10,000 หลอดไฟทั่วไทย ปันรอยยิ้มสู่ชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบหลอดไฟให้กับโรงเรียนและโรงพยาบาลที่ต้องการใช้หลอดไฟเพื่อสาธารณประโยชน์ ซ่อมแซมหลอดไฟเดิม หรือเพิ่มความสว่างให้กับสถานที่ โดยมีเป้าหมายในการมอบจำนวน 10,000 หลอดทั่วประเทศไทย ซึ่งเป็นหลอดประหยัดไฟแอลอีดีรุ่น LDAHV8DG4A ที่ประหยัดไฟมากกว่าหลอดไส้ทั่วไป ทนต่อการเปิด-ปิด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะปราศจากสารปรอท และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

โดย มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เริ่มต้นมอบหลอดไฟให้กับโรงเรียนและโรงพยาบาลแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านศาลา จ.เชียงใหม่ จำนวน 200 หลอด โรงเรียนบ้านชัยพร มิตรภาพ ที่ 67 จังหวัดอุดรธานี จำนวน 200 หลอด และโรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 500 หลอด

สำหรับโรงเรียนหรือโรงพยาบาลที่ต้องการหลอดไฟใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 0-2731 – 8888 #2911 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

 

มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด และนางรสชรินทร์ คำโพธิ์ ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านศาลา จังหวัดเชียงใหม่

 

บรรยากาศการรับมอบหลอดไฟพานาโซนิค โรงเรียนบ้านชัยพร มิตรภาพ ที่ 67 จังหวัดอุดรธานี

 

มร.ฮิเดคาสึ อิโตะ และ นายยืนยง อภิชนกิจ มอบหลอดไฟแก่โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยมีนพ. เกรียงศักดิ์ พิมพ์ดา รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ พร้อมด้วยเภสัชกรดำรงเกียรติตั้งเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมและรักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และพญ.ศศินี อภิชนกิจ หัวหน้ากลุ่มงานการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลอุดรธานี เป็นผู้รับมอบ

บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช ประกาศแต่งตั้งนายเอนก พนาอภิชน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer : CEO) สร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจของอินทัชให้มีความแข็งแกร่ง พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัล โดยรายงานตรงต่อ ประธานคณะกรรมการบริษัท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

นายเอนก พนาอภิชน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมงานกับกลุ่มบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2535 โดยดูแลสายงานด้านการเงินและบัญชี เริ่มจากตำแหน่งผู้จัดการบัญชี และได้รับการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มเติมเรื่อยมาจนดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการเงินและบัญชี และในปี 2560 ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่ง รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งนายเอนก ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และความมุ่งมั่นบริหารงานให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยด้วยดี ทางคณะกรรมการบริษัท จึงมีมติเห็นชอบแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ และสานต่อการดำเนินงานต่างๆ ของอินทัชให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง มุ่งสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ในการเป็น “ผู้นำการบริหารสินทรัพย์ที่ลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยีเพื่อสร้างมูลค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืน”

 

 

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แต่งตั้งนายคิมห์ สิริทวีชัย ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (Chief Financial Officer : CFO) โดยรายงานตรงต่อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562

เอสซีจี ร่วมนำเสนอแนวคิดและวิธีการจัดประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยนวัตกรรม “Green Meeting” ในการประชุม “ASEAN SUMMIT 2019” และทุกกิจกรรมตลอดทั้งปี 2562 ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นต้นแบบการจัดประชุมที่มุ่งใช้ทรัพยากรจัดงานอย่างคุ้มค่า ตั้งแต่การออกแบบการจัดงาน ลดการใช้เอกสาร การเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม ลดปริมาณขยะ และผลิตนิทรรศการจากกระดาษรีไซเคิลที่สามารถนำกลับไปใช้ซ้ำและใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระดาษได้อีกครั้ง เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเเละประเทศในอาเซียนบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีมี Passion และให้ความสำคัญด้าน การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนหรือการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาปรับใช้ในทุกกระบวนการดำเนินงานขององค์กร ตั้งแต่การคิดและออกแบบสินค้าให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงทน และคุ้มค่าที่สุด โดยใช้ทรัพยากรในการผลิตน้อยที่สุด และเมื่อสิ้นสุดการใช้งานแล้ว ยังสามารถนำกลับมาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตเดิม หรือกระบวนการที่ใกล้เคียงได้ ตลอดจนได้ขยายแนวปฏิบัตินี้ไปสู่นวัตกรรม “Green Meeting” หรือการจัดประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกโอกาสของเอสซีจี

สำหรับการประชุม ASEAN SUMMIT 2019 ในครั้งนี้ เอสซีจีรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสให้ร่วมนำเสนอนวัตกรรม “Green Meeting” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรณรงค์สร้างจิตสํานึก และชวนผู้ร่วมงานร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การแบ่งปันแนวคิดเรื่องการจัดเตรียมงาน การลดการใช้เอกสาร การเตรียมสถานที่จัดประชุม การเตรียมอาหารและเครื่องดื่มที่หาได้ในท้องถิ่น การลดปริมาณขยะภายในงาน รวมถึงการสนับสนุนวัสดุตกแต่ง เช่น การตกแต่งเวทีและป้ายชื่องาน และนิทรรศการจากกระดาษรีไซเคิลที่สามารถนำกลับไปใช้ซ้ำในการประชุม ASEAN SUMMIT ได้ตลอดทั้งปี 2562 และเมื่อสิ้นสุดการใช้งานจะสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตกระดาษรีไซเคิลได้อีกครั้ง ตลอดจนของที่ระลึกจากวัสดุรีไซเคิล หรือการนำของที่ไม่ใช้แล้วมาเพิ่มคุณค่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (Waste to Value Products) โดยเอสซีจีคาดหวังว่า ด้วยกระบวนการคิดที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการเริ่มต้นจากเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถร่วมกันปฏิบัติได้นี้ จะช่วยผลักดันและสนับสนุนให้ประเทศไทยและประเทศในอาเซียน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกได้ (Sustainable Development Goals : SDGs)”

ก้าวต่อไป เอสซีจีจะยังคงมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาต่อยอดความยั่งยืนโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ผสานกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยยกระดับกระบวนการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโตควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนเดินหน้าสร้างความร่วมมือ เพื่อขับเคลื่อนอาเซียนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก และพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบที่ช่วยถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ที่สนใจ ด้วยเชื่อมั่นว่าจะมีส่วนช่วยยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

เอสซีจี โดย นายฎายิน เกียรติกวานกุล Marketing Director – Roof Business บริษัท กระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด เป็นผู้แทนเข้ารับโล่รางวัลสร้างสรรค์สังคมไทย ด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัย จากคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม (E6) จาก พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะที่เอสซีจีได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสานพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ด้วยการผลักดันให้เกิดแบบบ้านมาตรฐานสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ จัดอบรมช่างชุมชนเพื่อสร้างเครือข่ายวิชาชีพสำหรับสร้างและปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ พร้อมทั้งร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดตั้งศูนย์ Universal Design Center (UDC) หรือศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน จำนวน 5 ศูนย์ทั่วประเทศ สำหรับเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถรับคำปรึกษาด้านที่อยู่อาศัยได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งเป็นศูนย์เพื่อการวิจัยและค้นคว้าเรื่องที่อยู่อาศัยอีกด้วย ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลและติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/universaldesigncenter

 

 

ทั้งนี้ โครงการสานพลังประชารัฐเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม (E6) มียุทธศาสตร์หลัก 5 โครงการเร่งด่วน ประกอบด้วย 1.การจ้างงานผู้พิการ 2.การจ้างงานผู้สูงอายุ 3.การส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณอายุ 4.ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัย และ 5.ความปลอดภัยบนท้องถนน

Page 1 of 8
X

Right Click

No right click