×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

หาก ‘ดิจิทัล’ คือ ‘สมอง’ และ ‘การโค้ช’ คือ ‘หัวใจ’ แวดวงบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงต้องปรับตัว สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้! 3 ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรชื่อดัง มาเปิดเผยกุญแจ ‘การพัฒนาคน’ สู่ ‘ความสำเร็จ’ ผ่านเวทีเสวนา THAILAND MBA FORUM 2018 ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ : Leading in the Time of Change ที่จะช่วยให้องค์กรรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิผลมากขึ้น

ดารากร พิพัฒนกุล ผู้อำนวยการ Future Leader Development - SCB Academy

ดารากร พิพัฒนกุล ผู้อำนวยการ Future Leader Development - SCB Academy กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วว่ามีส่วนทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ขณะที่บทบาทของภาคธุรกิจหรือผู้นำ ย่อมต้องมีการปรับตัวเพื่อสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยเช่นกัน 

“องค์กรจึงต้องพัฒนาคนในทุกส่วนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทาง SCB เน้นย้ำเสมอว่าการโค้ชชิ่งเป็นเรื่องของคนทุกระดับ (Coaching is for everyone) ไม่ใช่บทบาทของผู้นำแต่เพียงอย่างเดียว ไทยพาณิชย์มองเรื่องของ ‘ทักษะ’ และ ‘วิธีการคิด’ สำหรับคนทั้งองค์กร โดยให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างวิธีการคิดในระดับจูเนียร์ไปจนถึงซีเนียร์ ทักษะเรื่องการโค้ชชิ่งจึงต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เข้ามาในองค์กร” 

ขณะที่ ประสิทธิ์ องอาจตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารกสิกรไทย สะท้อนภาพใหญ่ของการโค้ชชิ่งในองค์กรว่าเป็นการปูทักษะการโค้ชให้กับบุคลากรทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ไปจนถึงระดับพนักงาน รวมถึงการโค้ชชิ่งไปสู่สาขาต่างๆ ของธนาคารอีกด้วย

“ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากเทคโนโลยี ซึ่งทาง KBank ได้ทำ 2 ส่วนหลัก คือ Kbank Digital Academy ในเชิงดิจิทัล ประกอบไปด้วยการสร้างผู้นำให้มีวิธีคิดแบบยุคดิจิทัล (Lead Digital) การใช้ดิจิทัลในการทำธุรกิจ (Execute Digital) และ การใช้ชีวิตแบบยุคดิจิทัล (Life Digital) 

ส่วนที่สอง K-Coaching Academy คือ การปูทักษะการโค้ชให้ผู้บริหารทุกระดับ (Build Executive Coach) การเรียนรู้วิธีการโค้ชในระดับพนักงาน (Bank-Wide Program) และ การโค้ชไปยังสาขา (Branch Program) ผมมองว่าหากเปรียบดิจิทัลคือ ‘สมอง’ การโค้ชนั่นหมายถึง ‘หัวใจ’ งานทุกอย่างจะเดินต่อไปได้ ต้องมาจากสมองและหัวใจ” 

สอดคล้องกับมุมมองจากองค์กรคนรุ่นใหม่ รัฐวุฒิ สุวรรณลิลา People Manager, SEA Thailand มีวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผ่านทักษะการบริหารซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับการโค้ชชิ่งด้วยเช่นกัน โดยอาศัยทักษะสำคัญด้าน ‘การฟัง’ และ ‘การตั้งคำถาม’ เป็นหลัก

รัฐวุฒิ สุวรรณลิลา People Manager, SEA Thailand

“ด้วยความที่บริษัทของผมเป็นบริษัทรุ่นใหม่ เราประกอบไปด้วยน้องๆ รุ่นใหม่หลากหลายเจเนอเรชัน ข้อดีคือมีความพร้อมในการเปลี่ยนวิธีคิด (Change Mindset) โดยธรรมชาติ ขณะที่ทักษะที่ใช้ในการบริหาร Transformation มีความเกี่ยวข้องกับการโค้ชชิ่งทั้งสิ้น 

ทั้งเรื่องของ ‘การฟังเชิงรุก’ (Active Listening) ‘คำถามที่เปลี่ยนความคิด’ (Power Question) แม้สิ่งเหล่านี้หลายองค์กรมีแนวคิดเช่นนี้อยู่แล้ว แต่อาจต้องตระหนักรู้ว่าจะนำไปใช้ได้อย่างไรต่อไป ซึ่งการทำให้เกิดขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการฟังและการถาม รวมถึงการใช้เครื่องมือในการเทรนนิ่ง และนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ได้ต่อไปในอนาคต” 

 

How to Success

แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหลังการโค้ชชิ่งในแต่ละองค์กร ย่อมมีผลตอบรับที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่บวกและแง่ที่ต้องระวัง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขให้เกิดประสิทธิผลที่ดีในอนาคต

“ทาง SCB เริ่มปูพื้นเรื่องวิธีคิด นั่นหมายความว่าคนที่เข้ามาเรียนโค้ชชิ่ง เมื่อเข้าใจว่าโค้ชชิ่งคืออะไรและสามารถนำตรงนี้ไปใช้ได้ แต่คำว่า ‘ประสบความสำเร็จ’ ที่องค์กรอยากเห็น คือการโค้ชที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องค่อยๆ เกิดขึ้น เราไม่สามารถทำได้อย่างทันท่วงที

สิ่งที่ทาง SCB ทำมาตลอดและได้รวบรวมเคสดีๆ ที่เกิดขึ้น ว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ทำให้เกิดความสำเร็จ สิ่งแรก คือ คนที่เป็นโค้ชและถูกโค้ชมีกระบวนการคิดที่ถูกต้อง ซึ่งคนโค้ชต้องมีความเชื่อในศักยภาพของตนและคนอื่น ต้องมีความเชื่อในการพัฒนาคนเสียก่อน

คำว่า การมีใจรัก (Passion) ไม่ใช่ทุกคนจะรู้ตัวทันทีเลยว่าเกิดมาเพื่อพัฒนาผู้อื่น แต่มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่เขาได้มาเข้าหลักสูตร ได้เรียนรู้ และฝึกฝน การโค้ชที่ดีนั้นเราไม่ได้ทำเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหา แต่การโค้ชคือการทำให้คนคนนั้น ค้นพบการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง” 

ขณะที่ประสิทธิ์ถอดบทเรียนการโค้ชชิ่งที่ผ่านมา ว่าค่อนข้างเป็นสิ่งที่ท้าทาย อีกทั้งยังต้องอาศัยการเปลี่ยนวิธีการคิดอย่างถูกต้อง การสื่อสารที่ดี และการสร้างบรรยากาศเชิงบวกภายในองค์กร

ประสิทธิ์ องอาจตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารกสิกรไทย

“ผมว่าเรื่องโค้ชชิ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก การโค้ชชิ่งต้องใช้เวลา ไม่ใช่โค้ชแล้วจะได้เป้าตรงตามความต้องการในทันที สิ่งที่ได้เรียนรู้ (Lesson Learn) คือ อย่าทำโค้ชชิ่งเป็นโปรเจกต์ เพราะโปรเจกต์คือมีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด ที่สำคัญต้องไม่เกิดจากการบังคับ แต่ต้องทำให้สร้างสรรค์ 

ส่วนที่สองต้องมี ‘ความอดทน’ โดยเฉพาะในด้านการเปลี่ยนวิธีคิด (Mindset) ของคนเป็นโค้ชและผู้รับการโค้ช ยกตัวอย่างการโค้ชในสมัยก่อน จะโค้ชต่อเมื่อลูกน้องทำงานผิดพลาด ขณะที่ปัจจุบันเราต้องเปลี่ยนวิธีคิดว่าการโค้ชไม่ใช่เรื่องของการตำหนิ ไม่ใช่เรื่องของการตามงาน และไม่ใช่เรื่องของการทำไม่ได้เป้า แต่โค้ชคือการพัฒนาคน

ส่วนที่สาม กุญแจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี คือ ‘การสื่อสาร’ ต้องมีการสื่อสารตลอด ที่สำคัญต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการโค้ชชิ่งอยู่ตลอด ทางธนาคารกสิกรเองได้มีการสร้างโปรแกรมการโค้ชชิ่งผ่านรายการ ‘Coach Me Please’ ด้วยเช่นกัน” 

สอดรับกับด้าน รัฐวุฒิ ที่มองว่าการใช้ประสบการณ์ร่วมระหว่างผู้โค้ชและผู้ได้รับการโค้ชเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งสิ่งสำคัญคือการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและได้พิสูจน์การโค้ชชิ่งที่เหมาะสมกับตนด้วยตัวเอง

“ลองหาโค้ชที่ดี ซึ่งเมื่อเราได้รับประสบการณ์ดีๆ เราจะมีพลังในการทำต่อ สิ่งที่ผมทำ ผมพยายามทำให้น้องๆ ในบริษัทได้ประสบการณ์แบบเดียวกันก่อน เช่น เมื่อเรารู้ว่าเขามีปัญหา เราใช้เวลาที่จะพูดคุยกับเขา ใช้เวลาในการเริ่มแชร์ประสบการณ์ รวมถึงค่อยๆ ถามคำถามให้เขาค่อยๆ คิด 

ส่วนบางอย่างที่เราต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง บางปัญหาเรามีคำตอบอยู่ในใจ แต่เราต้องการให้เขาเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาหรือตอบคำถามได้ด้วยตัวเขาเอง หลังจากนั้นจะเกิดความเชื่อใจและเขาจะกล้าเปิดใจกับเราในครั้งต่อๆ ไป” 

 

Coaching Culture

การสร้างวัฒนธรรมการสอนและให้ความเข้าใจ (Coaching Culture) มีบริบทที่ต่างกันในแต่ละองค์กร ในฐานะผู้อำนวยการ Future Leader Development ธนาคารไทยพาณิชย์ได้สะท้อนวัฒนธรรมองค์กรของตนว่า

“ทาง SCB มองว่าการวัฒนธรรม (Culture) ไม่ใช่เรื่องของการรับผิดชอบ ไม่ใช่การที่หัวหน้าต้องโค้ชลูกน้อง แต่เราต้องเชื่อว่าสิ่งนี้ คือสิ่งที่ดีต่อองค์กรและดีต่อชีวิต เรากำลังสื่อสารกับคน ซึ่งคุณค่าของคนไม่ใช่แค่การทำงานร่วมกันเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น Culture มันค่อนข้างใหญ่มาก 

เมื่อทำสำเร็จจะเห็นว่าทุกคนได้ใช้โค้ชชิ่งอยู่ในชีวิตประจำวัน รวมถึงนำกลับไปใช้ที่บ้านด้วย สำหรับสิ่งที่ Coaching Culture จำเป็นต้องมีคือการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง ยิ่งไปกว่านั้นผู้นำต้องมีพฤติกรรมที่ดีให้พนักงานเห็น แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานของผู้บริหาร คือ การสร้างคน เราจึงมีหลักสูตรของการพัฒนาคนแทรกอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ทาง SCB เอง ไม่ได้จบแค่การให้ ‘ความรู้’ แต่ต้องหา ‘โอกาส’ ให้ได้ใช้จริงอย่างต่อเนื่อง การทำให้คนในองค์กรนำไปใช้ ซึ่งส่งผลให้คนในองค์กรของเรามีชีวิตที่ดีขึ้น” 

สำหรับฟากฝั่งของประสิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่าสิ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่ตัดสินใจเข้าทำงาน มีผลมาจากวัฒนธรรมภายในองค์กร รวมไปถึงการสร้าง Coaching Culture ที่ทำให้บุคลากรรู้สึกก้าวหน้าและมีคุณค่า

“ล่าสุด มีงานวิจัยยืนยันว่ากว่า 20% วัฒนธรรมองค์กร ถือเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ในการตัดสินใจเข้าทำงานในองค์กร ขณะที่ความมั่นคงอยู่ในอันดับสุดท้าย เพียง 5% เท่านั้น ซึ่ง Coaching Culture คือ การไม่เน้นเรื่องงานและดัชนีชี้วัด (KPI) เพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับ ‘คน’ มากกว่า 

ดังนั้น การสร้าง Coaching Culture ต้องทำให้คนรู้สึกว่าอยู่ที่นี่แล้วมีความเติบโตและมีคุณค่า สิ่งแรกที่ควรมี คือ ‘ต้องเอาจริง’ อย่าทำเป็นแฟชั่นแต่ต้องทำเป็นมิสชัน ส่วนต่อมา ต้องทำให้เป็น ‘รูปธรรม’ การโค้ชเป็นทักษะ ถ้าไม่ฝึกก็ไม่คล่อง 

เราจึงสร้างโครงการ ‘พี่อยากโค้ช น้องอยากคุย’ ซึ่งสิ่งที่ได้รับคือ โค้ชที่เรียนได้ฝึกทักษะ ส่วนพนักงานเองได้ปลดปล่อยศักยภาพของตัวเอง แถมยังสร้างกระแสโค้ชให้เกิดขึ้นในองค์กร อย่างสุดท้าย ทำให้การโค้ชชิ่งเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งทักษะการโค้ช หรือการสื่อสารแบบโค้ชชิ่ง ประกอบไปด้วย ฟัง - สะท้อน - ถาม - ชม” 

เช่นเดียวกับ รัฐวุฒิสะท้อนภาพวัฒนธรรมในองค์กรว่า การพัฒนาบุคลากรให้มีความก้าวหน้าเติบโต ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดองค์กร ทั้งยังมีการสร้างโครงการ ‘พัฒนาเด็กรุ่นใหม่’ เพื่อปูเส้นทางไปสู่การ Coaching Culture ด้วยเช่นเดียวกัน

“อย่างแรกเราจะต้องเชื่อในเรื่องของการพัฒนาคน และเชื่อในเรื่องของการฟัง เราไม่จำเป็นต้องเก่งในทุกเรื่อง ส่วนที่สองเรื่องของความเชื่อ เราอยากให้บุคลากรในองค์กรเราพัฒนาและเติบโต ซึ่งจุดมุ่งหมายของการพัฒนาบุคคล คือ การที่อยากให้คนที่เข้ามาทำงานกับเราเก่งขึ้นและเติบโตขึ้น

ซึ่งทางเรามีโครงการ ‘การพัฒนาเด็กรุ่นใหม่’ คือ การมีพี่เลี้ยง (Mentor) เข้ามาแชร์ประสบการณ์ บอกเล่าในสิ่งที่เขาต้องการหรือสิ่งที่อยากรับรู้ในการทำงาน อีกส่วนคือ Buddy เข้ามาช่วยในเรื่องของจิตใจ เหมือนมีเพื่อนคนหนึ่งที่คอยรับฟัง นี่คือโครงการง่ายๆ ที่ริเริ่มขึ้นมาเพื่อนำไปสู่การ Coaching Culture ในที่สุด” 

 

Coaching Tips

อย่างไรก็ตาม แม้การโค้ชชิ่งจะมีประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาคนและขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางที่ดี แต่ต้องยอมรับว่าช่วงวัยที่แตกต่างกันในแต่ละเจเนอเรชัน ย่อมมีผลต่อการโค้ชชิ่งด้วยเช่นกัน 

“เนื่องจากว่าเราไม่ได้ต้องหาวิธีการแก้ปัญหาให้ใคร แต่เราทำหน้าที่ในส่วนของการดึงศักยภาพออกมามากกว่า ฉะนั้น ความสำคัญอยู่ที่ว่าเราเข้าใจวิธีการสื่อสารของคนต่างเจเนอเรชันแค่ไหนมากกว่า สิ่งที่อยากแนะนำ เนื่องจากว่าการโค้ชชิ่งเป็นเรื่องของการสร้างความเชื่อใจ-ความเข้าใจ

สิ่งนี้จะทำให้ช่องว่างระหว่างเจเนอเรชัน หันหน้าเข้าหากันได้อย่างลงตัว อีกส่วนคือวิธีการสื่อสาร ต้องอย่ามองความแตกต่างของเจเนอเรชันเป็นสำคัญ แต่ให้มองที่การหาวิธีสื่อสารกับผู้ที่ได้รับการโค้ชอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ” ดารากร กล่าว

ขณะที่ประสิทธิ์มองว่า ด้วยเจเนอเรชันที่แตกต่าง สิ่งสำคัญของการโค้ชชิ่งคือการเรียนรู้ในการสื่อสารกับคนแต่ละกลุ่มให้ถูกต้องเหมาะสม

“ปัจจุบันในองค์กรทั่วไปจะมีอยู่หลักๆ 4 เจเนอเรชันด้วยกัน นั่นคือ กลุ่ม BB, Gen-X, Gen-Y และ Gen-Z ถ้าเราเข้าใจแรงกระตุ้นของคนแต่ละเจเนอเรชัน เราก็จะมีวิธีการโค้ชที่ดีและมีประสิทธิผล” 

สอดคล้องกับรัฐวุฒิที่มองว่าการหาพื้นที่ จังหวะเวลาที่เหมาะสม รวมไปถึงการเข้าในใจสิ่งที่ผู้ถูกโค้ชต้องการ ล้วนมีส่วนในการทำให้การโค้ชชิ่งประสบความสำเร็จได้

“ผมคิดว่าแต่ละคนมีความเป็นปัจเจกบุคคล ยิ่งการโค้ชชิ่งที่ต่างเจเนอเรชัน อย่างแรกต้องหา ‘พื้นที่’ ต่อมาคือการหา ‘เวลา’ ซึ่งแต่ละคนจะมีช่วงเวลาที่สามารถเปิดรับความเห็นที่แตกต่างกันได้ในเวลาที่ไม่เหมือนกัน

สิ่งสุดท้าย การรู้ว่าสิ่งใดที่สำคัญกับเขา เช่น นำการพัฒนาตัวตนหรือการพัฒนาในด้านต่างๆ เข้าไปเสริมในส่วนนี้ ผมคิดว่าทั้งหมดนี้จะช่วยในการส่งเสริมและพัฒนาคนในเจเนอเรชันต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” 

โลกของเราประกอบไปด้วยก๊าซหลากหลายชนิด อาทิ ก๊าซไนโตรเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 78 รองลงมา คือ ก๊าซออกซิเจนประมาณร้อยละ 20 ขณะที่อีกร้อยละ 2 ที่เหลือปะปนไปด้วยก๊าซชนิดอื่น

หลักสูตรบริหารธุรกิจ นานาชาติ ลาดกระบัง เป้าหมายของหลักสูตร คือการสร้างบัณฑิตเพื่อเตรียมความพร้อมกับการเข้าสู่โลกธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าการเป็นผู้ประกอบการเองหรือการเป็นมืออาชีพในสถานประกอบการ โดยเฉพาะองค์การแบบนานาชาติ (Multinational Organization : MNC’ s) และเตรียมความพร้อมกับก้าวไปสู่นักบริหารในอนาคตที่มีความเป็น World Citizen ที่มีองค์ความรู้ด้านบริหารธุรกิจ (Business Acumen) มีทักษะในการบริหารจัดการ (Management Concepts) ความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) การคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking Process) มีความรู้ความเข้าใจต่อการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการให้สอดรับกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตามพลวัตของดิจิทัล

หลักสูตรได้จัดให้มีการเรียนการสอนสอดแทรกรายวิชาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในหลักสูตร และทุกวิชาจะมีการเชื่อมความสำคัญหรือความสัมพันธ์เทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกธุรกิจในปัจจุบันกับ Functions และกิจกรรมทางธุรกิจ (Business Acitivities) เช่น Digital Online Marketing, Innovation Entrepreneurships, Technology Start Up, Digital Disruptiveกับ แนวความคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปอื่นๆ และตอกย้ำกับวิสัยทัศน์และพันธะกิจความเป็นผู้นำของสถาบัน ในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดรวมถึงอัตลักษณ์ของสถาบันที่ว่า “ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ สู้งาน”

แม้โลกธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นใด สิ่งสำคัญที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นนักศึกษาที่จบจากหลักสูตรนี้ต้องมี Competencies & Soft Skills ที่สำคัญในการทำงาน ได้แก่การมีภาวะผู้นำที่ดี (Leadership) ทักษะในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นๆ ในทุกระดับ (Interpersonal Skills) ที่สำคัญมากที่ตอกย้ำความเป็นนานาชาติ คือการมี Global Mindset ที่เข้าใจความแตกต่างในวัฒนธรรมข้ามชาติ (Cross Cultural) เข้าใจความหลากหลายในสถานที่ทำงาน (Diversity) แบบบริบทนานาชาติ แต่ต้องไม่ลืมรากเหง้าความเป็นไทย หรือหากเป็นนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนในหลักสูตรนักศึกษาต่างชาติต้องได้รับการถ่ายทอดในกลิ่นอายความเป็นไทย เข้าใจในวัฒนธรรม ความมีเสน่ห์ของความเป็นไทย (Thai Culture & Traditional) ทางหลักสูตรจะมีกิจกรรมที่เสริมสร้างความเป็นนานาชาติให้กับนักศึกษาไทย และความเป็นไทยให้กับนักศึกษาจากหลากหลายประเทศในอนาคต เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติในหลากหลายรูปแบบ การให้นักศึกษาไปมีส่วนร่วมในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ การจัดให้มีการเยี่ยมชมสถานประกอบการต่างชาติทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

แน่นอนการจะผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติดังที่กล่าวคงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด้วยความตั้งใจของอาจารย์ในหลักสูตรทุกท่าน เราจึงได้ข้อสรุปต่างๆ ในระบบการเรียนการสอนต้องเชื่อมโยงอย่างชัดเจนจึงเป็นความจำเป็น เราเชื่อในหลักการของทฤษฎีระบบ (System Theory) ที่องค์ประกอบต้องเชื่อมต่อกันอย่างมีคุณภาพ ทั้ง Input, Process and Output

คุณภาพนักศึกษา

หลักสูตรตระหนักดีว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนของนักศึกษาคือสิ่งสำคัญที่สุด เพราะองค์ประกอบนี้จะเป็นตัวชี้วัดที่จะทำให้หลักสูตรมีคุณภาพและประสบผลสำเร็จหรือไม่ตั้งแต่แรก แม้ว่าเราจะเป็นหลักสูตรใหม่ แต่เราก็เข้มงวดกับระบบการคัดเลือก สรรหานักศึกษาเข้ามาในระบบ สิ่งที่เน้นเป็นอันดับแรก คือพื้นฐานและทักษะภาษาอังกฤษ เพราะคือทักษะจำเป็นของกระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตร อันดับต่อมาคือบุคลิกลักษณะเหมาะสมกับหลักสูตรบริหารธุรกิจนานาชาติที่ต้องการนักศึกษาที่มุ่งมั่นในการเข้าสู่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม บุคลิกที่ว่าคือการมีภาวะผู้นำ (Leadership) กล้าแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ใช่ และถูกต้องอย่างสร้างสรรค์ (Assertiveness) ความกระตือรือร้น คล่องแคล่ว (Alert and Agility) การเปิดใจรับกับความคิดเห็นที่แตกต่าง (Open Minded) การทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่าง (Interpersonal Skills) ทักษะการสื่อสารและ ความคิดรวบยอด (Communication and Conceptual Skill)

กระบวนการและวิธีการเรียนการสอน

คณาจารย์ทุกท่านในหลักสูตร รวมทั้งคณาจารย์ที่ได้รับเชิญมาสอนต้องกำหนดวิธีการเรียนการสอนที่เน้นให้นักศึกษาได้ใช้ทักษะครบเครื่อง เช่น ทักษะการค้นคว้าความรู้จากสื่อประเภทต่างๆ ในโลกอินเทอร์เน็ต ออนไลน์ การระดมสมองเพื่อค้นหาคำตอบกรณีศึกษาในเชิงธุรกิจ การแชร์ประสบการณ์ การเสนอแนะความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ดังนั้น กระบวนการหรือวิธีการเรียนการสอนของคณาจารย์ อาจเป็นไปในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้แก่ Active Learning, Problem Base learning, Best Practices, Case Study, Phenomenon-Based Learning (PBL) วิธีการอื่นๆ ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ

คณาจารย์ อาจารย์พิเศษ ผู้ทรงคุณวุฒิ

นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากคณาจารย์ อาจารย์พิเศษผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวต่างชาติ และชาวไทยที่จบการศึกษาในสายการศึกษาที่ตรงกับวิชาที่เรียน มีตำแหน่งทางวิชาการที่สอดคล้อง มีความเชี่ยวชาญในวิชาที่สอน ทั้งหมดจบจากสถาบันในต่างประเทศ และหรือจบหลักสูตรนานาชาติในประเทศ และคณาจารย์ส่วนใหญ่ในหลักสูตรมีประสบการณ์ตรงในภาคธุรกิจ เอกชน โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เช่น General Electric (GE), Ford Motor, Electronic Industry, Oil & Gas industry และส่วนหนึ่งเป็นที่ปรึกษาและทำงานวิจัยร่วมกับกับบริษัท อุตสาหกรรมต่างๆ ด้วย

กระบวนการดูแลนักศึกษาตลอดหลักสูตรการเรียน การสอน

อาจารย์ผู้รับผิดชอบในหลักสูตรมีจิตวิญญาณของความเป็นครูสูง ทุกคนมีแนวทางที่ชัดเจนที่เหมือนกันคือต้องการให้ศิษย์ได้ดี ดังนั้น คณาจารย์ในหลักสูตรนานาชาติที่นี่จึงตั้งใจมากต่อการดูแล เอาใจใส่ลูกศิษย์ของตนเองเปรียบเสมือนลูกหลานตนเองตั้งแต่การเรียนการสอน การแนะนำการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง การเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ เราอยากเรียกกระบวนการนี้ว่า “Student Engagement”

การเรียนรู้จากโลกธุรกิจจริง

หลักสูตรออกแบบเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ จากโลกธุรกิจจริง ได้แก่ การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ บุคคลในโลกธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียง เราออกแบบให้คณาจารย์เชิญผู้มีประสบการณ์ภายนอกมาแชร์ประสบการณ์ให้กันักศึกษา หรือออก Field Trips ไปดูงานในอุตสาหกรรม ตลอดรวมทั้งการฝึกงาน (Internship) โครงการสหกิจศึกษา (Co-Operative Program) หรือ การเข้าร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนระหว่างสถาบันระหว่างประเทศ (Student Exchanges Programs) อื่นๆ

ดร.สรศักดิ์ ในฐานะประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจ นานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง มีประสบการณ์โดยตรงจากภาคธุรกิจมากกว่า 25 ปีโดยเฉพาะกับบริษัทต่างชาติทั้งในฐานะทีมผู้บริหารระดับสูงที่มีมูลค่าขององค์การหลายหมื่นล้าน มีพนักงานในองค์การแบบหลากหลายชาติ พนักงานในองค์การมากกว่า 1,000 คน ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ค่ายอเมริกา อุตสาหกรรมรองเท้าค่ายยุโรป อุตสาหกรรมค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสีและท่ออุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ การเป็นผู้ประกอบการด้านที่ปรึกษาองค์กรธุรกิจ (Business Consultant) และธุรกิจการสรรหาผู้บริหาร (Head Hunter and Recruitment Agency) ในทุกระดับให้กับบริษัทต่างชาติจำนวนมาก ประสบการณ์ทั้งหมดเป็นทั้งหนึ่งในฐานะผู้ริเริ่มก่อตั้งธุรกิจ (Pioneer Green Field Start Up Management Team) หรือเป็นผู้ก่อตั้งหลัก (Founder) ก่อนที่จะมาเป็นอาจารย์ และเป็นประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจนานาชาติ ลาดกระบัง และผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการต่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ ของคณะการบริหารและจัดการ จึงเข้าใจความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมว่าบัณฑิตแบบไหนที่ตอบโจทย์ธุรกิจ จึงมุ่งมั่นขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบัณฑิตเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติความยั่งยืนต่อไปในอนาคต 


บทความ โดย : ดร สรศักดิ์ แตงทอง
ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

ภาพ โดย : ฐิติวุฒิ บางขาม /  MBA magazine


 สามารถรับชมคลิปวิดีโอ "Faculty of Administration and Management King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang" ได้ที่นี่

ดร.ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึง จุดเด่นของการเรียนเศรษฐศาสตร์ที่นี่ว่า เราไม่ได้มุ่งหวังผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์เชิงทฤษฎีเท่านั้น แต่ต้องสามารถนำความรู้และเครื่องมือต่างๆ ทางด้านเศรษฐศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ นั่นจึงเป็นที่มาของการพัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ให้มีศาสตร์ทางด้านธุรกิจและการจัดการเข้ามาเกี่ยวข้อง

การพัฒนาปรับหลักสูตรให้ทันยุคสมัย ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อปรับภาพของการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ให้เห็นถึงการนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้นและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นสาขาวิชาที่เรียนยากหรือเรียนแล้วเอาไปทำอะไร และการพัฒนาหลักสูตรก็ไม่ตีวงแคบแค่เพียงการใช้ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ไปจัดการกับธุรกิจเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงเรื่องของเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศและโลกในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เมื่อพัฒนาหลักสูตรแล้วจะอยู่เฉยหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์และกระแสการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจากเดิมรอบของการปรับหลักสูตรจะเกิดขึ้นทุก 5 ปีขึ้นไป วันนี้เพียง 2-3 ปีก็ต้องปรับหลักสูตรและเนื้อหาใหม่ให้ทันสมัย และตอบโจทย์เทคโนโลยีที่มีการเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็ว

ให้สมกับชื่อภาควิชา “เศรษฐศาสตร์ประยุกต์” ที่ต้องสามารถประยุกต์ศาสตร์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ไปใช้กับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที ให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลที่มีแอปพลิเคชันเกิดขึ้นมาให้เลือกใช้งานมากมาย รวมถึงการมีข้อมูลปริมาณมหาศาลที่หลั่งไหลมาไม่หยุด ดังนั้นเราจะสามารถตัดสินใจเลือกหรือจัดสรรการใช้งานเทคโนโลยีหรือข้อมูลต่างๆ ที่มีมากมายเหล่านั้นได้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้การสร้างนักเศรษฐศาสตร์ให้มีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือต่างๆ มาจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ ให้ได้โซลูชันที่ตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือแม้แต่สังคม เหล่านี้เป็นธงหลักๆ ที่ใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้เป็นที่ต้องการของดีมานด์ตลาดที่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ

หลักการปรับหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับโลกในยุคนี้ ดร.ปรเมศร์ เล่าว่า ได้อาศัยมุมมองหรือความคิดเห็นจาก Stakeholder หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตทางด้านเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่ผู้ประกอบการ นักวิชาการ รวมไปถึงคณาจารย์ โดยนำความเห็นเหล่านี้มาประมวลหาทิศทางของหลักสูตร เพื่อกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่า บัณฑิตเมื่อจบการศึกษาไป ควรจะมีศักยภาพอย่างไร ทำอะไรได้ ทำอะไรเป็น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ บัณฑิตจะต้องมีความรู้ในการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม และเมื่อนำแนวทางดังกล่าวไปสำรวจตลาดพบผลการตอบรับหลักสูตรเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ดีมาก เรียกว่ามีโอกาสในตลาดแรงงานสูง สังเกตได้จากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องมีฝ่ายวิเคราะห์และวางแผน และส่วนที่สำคัญในฝ่ายฯ คือนักเศรษฐศาสตร์ที่มีทักษะการประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางการพัฒนาให้แก่องค์กร

ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนจึงเน้นภาคปฏิบัติมากขึ้น โดยส่งนักศึกษาไปในโครงการสหกิจที่มีความร่วมมือกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสนำความรู้ในด้านเศรษฐศาสตร์มาทดลองใช้กับภาคธุรกิจ ได้นำสิ่งที่ศึกษามาช่วยเมื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง

ภาพรวมหลักสูตร

ดร.ปรเมศร์ กล่าวว่าหลักสูตร ระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ มีแนวโน้มการตอบรับที่ดีมาก จากจำนวนนักศึกษาปีแรก 120 คน และในปี 2561 นี้การรับยังไม่เสร็จสิ้น อยู่ที่ประมาณ 200 คน โดยแบ่งเป็นวิชาเอก 3 กลุ่มคือ 1.เศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและอาหาร ที่เนื้อหาหลักสูตรไม่ได้เลือกโฟกัสเกษตรขั้นปฐมภูมิเท่านั้น แต่มองเห็นถึงการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจและอุตสาหกรรมอาหาร 2.เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ของกระแสหลักในปัจจุบันที่เข้าสู่ยุคดิจิทัล และเสริมความสามารถในการประเมินและการเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.เศรษฐศาสตร์ธุรกิจระหว่างประเทศ ตอบโจทย์การค้าเสรีที่เป็นกระแสหลักของโลกการค้าปัจจุบัน เราต้องเข้าใจเงื่อนไขทางธุรกิจในแต่ละประเทศ และแต่ละภูมิภาคที่แตกต่างกัน โดยวิชาทั้งหมดล้วนแล้วแต่ทันสมัยและอยู่ในกระแสของโลก

นอกจากนี้ ยังมีโครงการจะพัฒนาไปสู่ระดับปริญญาโทในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่คาดว่าจะเปิดรับสมัครนักศึกษาในปี 2562 มีแผนจะเปิดรับประมาณ 20 -30 คน ต่อรุ่น เป็นหลักสูตรที่เรียนเพียง 1 ปีเท่านั้น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1.การวิเคราะห์ข้อมูล เน้นพัฒนานักศึกษาที่เป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ ที่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ พัฒนาแบบจำลองสำหรับการแก้ปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจได้ 2. การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ทำการศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนเพื่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มีความยั่งยืน ต่อยอดไปถึงการพัฒนาประเทศ 3.เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ที่ตอบโจทย์กับกระแสหรือทิศทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและอนาคตที่ใช้ความสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างมูลค่าและความได้เปรียบทางการแข่งขัน และ 4.ฟินเทค (Fin Tech) ที่จะทำให้นักศึกษาสามารถเลือกและพัฒนาการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบการสื่อสารออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และการลงทุนได้อย่างเหมาะสม

ส่วนระดับปริญญาเอกมีแผนจะเปิดรับสมัครในปีการศึกษา 2562 หรือ 2563 ที่มีทิศทางของหลักสูตรต่อยอดจากระดับปริญญาโท ที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความสามารถในการบริหารและจัดการในระดับมหภาค (Macro)

นอกจากนี้ทางภาควิชายังมีการพัฒนาหลักสูตรที่เรียกว่า Sandwich Program (ที่มีการเรียนการสอนบางส่วนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ) และ Dual Degree (โปรแกรมนี้นักศึกษาจะได้ 2 ปริญญา) ที่จะมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก และคาดว่าจะเปิดรับนักศึกษาได้ในปี 2563

สถานการณ์โลกกับการนำเศรษฐศาสตร์มาใช้

ดร.ปรเมศร์ กล่าวว่าไม่ว่าจะเป็นสาขาหรือวิชาชีพใดๆ ก็จะหนีไม่พ้นการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับศาสตร์ในสาขาของตน ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นในปัจจุบัน ประเด็นนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนเศรษฐศาสตร์ต้องมีทักษะทางด้านเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์โลก สอดคล้องกับตัวตนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำทางด้านเทคโนโลยี ที่จะทำให้หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ต่างๆ ที่นี่มีความเข้มแข็ง

ดังนั้นสำหรับคนที่สนใจจะศึกษาต่อในวันนี้ แต่ยังกล้าๆ กลัวๆ กับวิชาเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ รวมถึงหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ของ สจล. จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการศึกษาในยุคปัจจุบันต่อไปยังอนาคต เพราะไม่ได้เน้นหนักในเชิงทฤษฎี แต่เน้นในเชิงคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ด้านการประยุกต์ใช้ความรู้และเครื่องมือต่างๆ ทางเศรษฐศาสตร์กับสถานการณ์ และการแก้ปัญหา ทั้งภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี การเงิน และก็ไม่ทิ้งภาคการเกษตร

“จากการบูรณาการศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ จนกระทั่งเป็นเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ เราจะมุ่งมั่นพัฒนานักศึกษาในระดับปริญญาตรีให้เป็นนักปฏิบัติงานที่เก่ง สถานประกอบการใช้งานได้ทันที สำหรับระดับปริญญาโท เรามุ่งที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนก้าวไปสู่การเป็นผู้บริหารที่มีศักยภาพด้วยความมั่นใจ และในระดับปริญญาเอก เราจะสร้างผู้บริหารระดับสูง ที่เน้นทักษะการวิเคราะห์และกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ ในระดับชาติและสากล”   


 

บริหารธุรกิจและการจัดการ สจล. เป็นหลักสูตรที่มีอยู่เดิม และในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยขึ้น เพื่อรับกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ผศ.ดร.วอนชนก ไชยสุนทร รองคณบดีคณะการบริหารและจัดการ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาควิชาบริหารธุรกิจและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. กล่าวถึง ภาควิชาบริหารธุรกิจและการจัดการว่า มีหลักสูตรครอบคลุมทุกระดับ เริ่มจากในระดับปริญญาตรี คือหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ซึ่ง สจล. เปิดการเรียนการสอนมานานเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี มีการบ่มเพาะองค์ความรู้ที่เป็นจุดเด่นของ สจล. ในด้านการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี เนื่องจากเป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจที่อยู่ในสถาบันเทคโนโลยี จึงมีจุดเด่นในด้านการผนวก 2 ศาสตร์ คือ ศาสตร์การบริหารธุรกิจและศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีเข้ารวมกัน ครอบคลุมถึงการบริหารธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ และแน่นอนว่าศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจเป็นศาสตร์ที่ไม่มีการหยุดนิ่ง การดำเนินงานของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงให้สอดคล้องต่อสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะการบริหารและจัดการมีจุดเด่นที่แตกต่างคือมีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งกว่า จึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับกระแสสังคมในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ผนวกรวมกับคุณลักษณะเด่นของบัณฑิตของสถาบัน “ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ สู้งาน” บัณฑิตของคณะ จึงมีลักษณะของการเป็นนักบริหารธุรกิจที่ไม่นั่งติดโต๊ะ พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและสามารถปรับตัวได้หลากหลายสายงาน ทั้งในสายการเงิน หรือเทคโนโลยี รวมถึงสายงานที่ทันสมัยในปัจจุบัน เช่น Data Scientist, Digital Marketing เป็นต้น รวมถึงการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรมีส่วนสนับสนุนการประอาชีพเป็นอย่างแน่นอน จึงนับว่าเป็นจุดแข็งและความได้เปรียบของหลักสูตร เพราะมีโอกาสเติบโตชัดเจน สอดคล้องกับทิศทางตลาดแรงงานวันนี้ ยิ่งไปกว่านั้นในอนาคตอันใกล้จะมีการเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาเฉพาะทางมากยิ่งขึ้น ทั้งสาขาการบริหารเทคโนโลยี และสาขาการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม อีกด้วย

ส่วนระดับปริญญาโท คือ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หรือ MBA ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผลิตมหาบัณฑิตมาอย่างยาวนานกว่า 20 รุ่น แต่จุดสำคัญของปีการศึกษา 2561 นี้ สามารถเรียกได้ว่าเป็นหลักสูตร MBA ฉบับปรับปรุงใหม่แกะกล่อง โดยการปรับปรุงครั้งนี้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนก้าวทันกระแส Industrial 4.0 โดยการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทของคณะการบริหารและจัดการ สจล. ถึงแม้จะเป็นเสมือนสาขาบริหารธุรกิจทั่วไป แต่มีรายวิชาให้ผู้เรียนได้เลือกอย่างหลากหลายตามความสนใจ อาทิ นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ การจัดการธุรกิจบริการและเทคนิคการบริการลูกค้า การจัดการทางการเงินขั้นสูง การจัดการผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ทุนมนุษย์ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 รวมถึงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบันคณะการบริหารและจัดการยังมีหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการกีฬา สื่อและบันเทิง อีกด้วย

ผศ.ดร.วอนชนก เล่าถึงจุดเด่นของหลักสูตร MBA ว่า มีความโดดเด่นและมีชื่อเสียงด้านการบริหารเทคโนโลยีและการบริหารอุตสาหกรรม เนื่องจากมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนาน รวมถึงการเปิดกว้างให้แก่ผู้เรียนที่จบมาจากทุกสาขา และไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่จบในสาขาบริหารธุรกิจเท่านั้น เนื่องจากหลักสูตรมีรายวิชาปรับพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการเป็นมหาบัณฑิต MBA ได้อย่างแน่นอน ซึ่งการเปิดกว้างในลักษณะนี้จะสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนบริหารธุรกิจ ไปต่อยอดจากความรู้เดิมที่แต่ละคนมี ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตลอดจนสายการแพทย์การพยาบาล เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นหลักสูตร MBA ของลาดกระบัง ยังเป็นหลักสูตรที่รองรับบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ทางกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก บางนา สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมใกล้เคียง เนื่องจากนักศึกษาสามารถเดินทางมาเรียนที่ สจล.ได้อย่างสะดวกสบาย

“นักศึกษาระดับปริญญาโทจำนวนกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนที่มีประสบการณ์ทำงานมาอย่างน้อย 1-2 ปี และทำงานเป็นผู้บริหารระดับต้นถึงระดับกลาง เป็นบุคคลที่ต้องการพัฒนาความรู้และประสิทธิภาพในการทำงานให้เพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ที่ต้องการปรับเปลี่ยนสายงานไปสู่งานด้านการบริหารองค์กร ดังนั้นความแข็งแกร่งทางวิชาการ ความน่าเชื่อถือและความมีชื่อเสียงของสถาบัน ผนวกกับความสะดวกในการเดินทางมาเรียน จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้นักศึกษาจำนวนมากตัดสินใจเลือกเรียนที่นี่มาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ยิ่งไปกว่านั้นการที่ผู้เรียนมีจบมาจากสาขาวิชาที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บูรณาการมุมมองอย่างหลากหลาย พร้อมทั้งมีคณาจารย์จำนวนมากที่สามารถให้การดูแลและเอาใส่ใจ เพื่อให้นักศึกษาที่จบออกไปมีคุณภาพที่ดีที่สุด”

ในส่วนของการศึกษาระดับปริญญาเอก หรือหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม ของภาควิชาบริหารธุรกิจและการจัดการ เป็นหลักสูตรที่ได้รับการตอบรับจากผู้ที่สนใจเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก แต่เพื่อให้การดูแลการจัดการเรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ในปัจจุบันจึงชะลอการรับนักศึกษาใหม่ แต่ ผศ.ดร.วอนชนก บอกว่าในภาคเรียนต่อไป จะเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่อย่างแน่นอน เนื่องจากในปี 2562 จะถือว่าเป็นปีแห่งความพร้อมของคณะ ที่มีแผนจะเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งแน่นอนว่าครอบคลุมอุตสาหกรรมทุกด้าน ไม่ว่าเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการนำเข้า-ส่งออก ธุรกิจระหว่างประเทศ ท่องเที่ยว และอื่นๆ โดยนักศึกษาระดับปริญญาเอกของคณะส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจหรือเป็นบุคคลที่ตำแหน่งทางการบริหารระดับสูง ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายในแต่ละสายงาน เมื่อเข้ามาศึกษาต่อ จึงเป็นเน้นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และประสบการณ์ที่มีผนวกเข้ากับการค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลตามความสนใจ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ที่จะนำไปสู่การประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน

พิจารณาได้จากผลงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น ในวงการอสังหาริมทรัพย์ สิ่งทอ แฟชั่น เนื่องจากการเรียนการสอนจะมุ่งเน้นให้นักศึกษามีคุณลักษณะเป็นนักวิจัย ที่พร้อมแก่การวิเคราะห์ เจาะลึกถึงข้อมูลและพฤติกรรมของผู้บริโภค ผ่านการใช้สถิติและโปรแกรมการวิเคราะห์ขั้นสูง ทั้งนี้เนื่องจากงานวิจัยในศาสตร์ด้านการบริหาร ผลลัพธ์ที่ได้ แม้จะไม่เป็นนวัตกรรมหรือชิ้นงาน แต่จะได้เป็นโมเดลหรือแผนงานทางธุรกิจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างแน่นอน

“การเรียนการสอนของคณะ มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งในการวิจัย เพื่อนำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาติ ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้เวลาและใช้พลังของทั้งนักศึกษาและอาจารย์เป็นอย่างมาก ทำให้การเรียนปริญญาเอกของที่นี่ อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 4-5 ปีเพื่อจบการศึกษา แต่มั่นใจได้ว่าเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพอย่างแน่นอน”

จากที่กล่าวไป แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของหลักสูตรของคณะการบริหารและจัดการ ที่มีตั้งแต่หลักสูตรระดับปริญญาตรี โท และเอก ที่เรียกได้ว่าเป็นโครงสร้างเดียวกัน อีกทั้งคณาจารย์ในสังกัดของคณะเกือบทั้งหมดสามารถดูแลนักศึกษาได้ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยมีคุณสมบัติครบตามมาตรฐานการจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา รวมถึงยังมีอาจารย์ที่ได้รับการรับรองความรู้ความสามารถในฐานะ Trainer จากภาคธุรกิจระดับโลก เช่น Alibaba ผนวกกับจุดเด่นของคณะบริหารและจัดการ คือความแตกต่างและโดดเด่นทางด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของนักศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจ จึงทำให้เชื่อมั่นได้ว่าบัณฑิตของคณะจะอยู่ในกระแสของโลกได้อย่างมีศักยภาพ 


 

นวัตกรรมและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ ไปจนถึงระบบเศรษฐกิจของโลก มีตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าการอยู่นิ่งเฉยไม่ปรับตัวเองให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทำให้มีหลายองค์กรที่ต้องล้มหายตายจากไป แม้จะเคยเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกก็ตาม

ภาคการศึกษาก็เช่นกัน การปรับตัวเพื่อเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เช่นเดียวกับที่คณะการบริหารและจัดการ (FAM) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เตรียมตัวพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้มีทักษะสามารถออกไปทำงานในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ได้

รศ.ดร.อำนวย แสงโนรี คณบดี คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บอกว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ส่งผลต่อเนื่องมาถึงสถาบันการศึกษา ที่ต้องผลิตคนที่มีความเท่าทันต่อโลกสามารถนำความรู้ที่ได้จากสถาบันการศึกษาไปปรับใช้กับโลกธุรกิจในห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงเช่นยุคนี้ได้

“สังเกตว่าเด็กรุ่นใหม่จะไม่มานั่งเรียนแบบเดิม มาเปิดตำรา นั่งฟังอาจารย์นานๆ ไม่โต้ตอบ เด็กสมัยใหม่เขาจะพยายามมองประโยชน์ที่เขามาเรียนในห้องเรียน การมาเรียนรู้ เพื่อรู้เรื่องและเข้าใจไม่เพียงพอแล้ว เขาต้องรู้ว่าจะใช้ประโยชน์อะไรกับเขาได้บ้าง โดยเฉพาะเอาไปทำงานได้อย่างไร เป็นคำถามที่เราจะเจอเสมอในชั้นเรียน คณะของเราจึงพยายามปรับตัวเอง”

การปรับตัวของคณะการบริหารและจัดการจึงทำพร้อมกันในหลายด้านพร้อมกัน

เศรษฐศาสตร์ สำหรับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

จากจุดเน้นของคณะการบริหารและจัดการที่เริ่มต้นจากการอยู่ในสถาบันที่มีชื่อเสียงในเรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ จึงเปิดหลักสูตรด้านบริหารธุรกิจที่เน้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐที่กำลังต้องการขับเคลื่อนประเทศไทยไปในทิศทางดังกล่าว หลังจากดูแนวโน้มความต้องการใช้งานบัณฑิตในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมแล้ว คณะจึงเน้นการเรียนการสอนเพิ่มอีกศาสตร์หนึ่งคือ “เศรษฐศาสตร์” ซึ่งอยู่ในภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์

“เราไม่ได้เปิดเพื่อมุ่งเน้นเป็นเชิงทฤษฎีหลักทางเศรษฐศาสตร์ แต่จะเป็นเชิงที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์ประยุกต์ และจะเน้นอุตสาหกรรม นวัตกรรม พวกนี้เขาสามารถคิดวิเคราะห์วางแผนเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการโดยนำนวัตกรรมมาใช้เป็นประโยชน์ได้ คือลักษณะธุรกิจแค่บริหารจัดการภายใต้นวัตกรรมไม่พอ จะต้องวางแผนด้วย ไม่อย่างนั้นจะแข่งขันไม่ได้ คนที่จะมาทำเรื่องเหล่านี้ได้ดี น่าจะเป็นคนที่วิเคราะห์เรื่องรายละเอียดตัวเลข เศรษฐกิจ ผลกระทบในนโยบายหรือทางเลือกต่างๆ ได้ดี ในภาวะที่เราต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดในธุรกิจให้แข่งขันได้ จะต้องมีการใช้สิ่งเหล่านี้มาช่วยออกแบบ”

เศรษฐศาสตร์ประยุกต์เป็นการขยายตัวของคณะการบริหารและจัดการ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ สามารถเข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รวมถึงเศรษฐกิจดิจิทัล โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวโน้มที่โลกกำลังให้ความสนใจ

รศ.ดร.อำนวยเพิ่มเติมว่า ในด้านการบริหารจัดการก็ต้องเปลี่ยนแปลง เช่นจากที่เคยซื้อขายกันด้วยเงินสดเปลี่ยนสู่สังคมไร้เงินสด แนวโน้มผู้ใช้บริการที่สาขาธนาคารลดลง รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่จะซื้อขายสินค้าผ่านออนไลน์ ธุรกิจและภาครัฐก็ต้องปรับตัวรองรับเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ เพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ หากไม่สามารถวางแผนได้ดีโดยเกาะกระแสเหล่านี้ไปได้ ก็จะเสียโอกาสในทางธุรกิจไป

 

ฝึกนักวิเคราะห์

คณบดีคณะการบริหารและจัดการมองว่า ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดิมหรือธุรกิจเดิมๆ ไม่ได้ถูกฝึกให้คิดในกรอบของบริบทความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จึงยังเลือกทำงานแบบเดิมๆ อยู่ แต่บัณฑิตที่คณะจะผลิตออกสู่ตลาดแรงงานจะถูกฝึกให้มีวิธีมองปัญหา วิธีคิดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้

“เราให้เขาเรียนเรื่องเทคโนโลยีที่อยู่ในธุรกิจ ดังนั้นเวลาเขาทำงานเขาจะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงพวกนี้มากกว่า และสามารถเอาข้อมูลที่มีในระบบต่างๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้มากกว่า”

รูปแบบการเรียนการสอนและหลักสูตรจึงเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างนักคิดนักวิเคราะห์ เช่น ในภาควิชาเศรษฐศาสตร์มีการเรียนเรื่อง Big Data และ Data Anylysis

“เขาจะเอาเรื่องพวกนี้มาเป็นประโยชน์ในการเอาทฤษฎีไปจับ และพวกนี้เวลาคิดอะไรคิดเป็นตัวเลข จะทำให้การทำงานของเขา มีพื้นฐานภายใต้การตัดสินใจที่มีข้อมูลที่ดี เราฝึกให้เขาเป็นอย่างนั้น เราไม่ได้สอนให้เขาพอเห็นตัวเลขแล้วเอามาใช้ประโยชน์ไม่เป็น หรือเกิดเหตุการณ์ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลเขาจะมองออกว่า ลักษณะแบบนี้เขามีทฤษฎีที่จะเอาไปจับเพื่อมองทางออกอย่างไรดี”

สำหรับภาควิชาบริหารธุรกิจ ก็จะผลิตคนที่ออกไปช่วยแก้ปัญหาด้านการบริหารโดยใช้ความได้เปรียบเรื่องความเข้าใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีของตนเองไปช่วยในการทำธุรกิจเมื่อพบปัญหาในกระบวนการทำงาน ก็สามารถเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยได้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค เป็นเรื่องการแข่งขันที่ธุรกิจต้องมองว่าตัวเองจะดึงอะไรเข้ามาเพื่อประโยชน์ของการแข่งขันของตัวเองหรือบริการให้ลูกค้า

รศ.ดร.อำนวยอธิบายว่า ในบางครั้งนักบริหารหากไม่มีความคุ้นเคยกับเรื่องเทคโนโลยีก็จะมองไม่ออกว่าปัญหาที่มีควรใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใดมาจัดการ แต่หากมีประสบการณ์ในแวดวงเทคโนโลยีมาบ้าง ก็จะพอมองออก หรือได้เห็นตัวอย่างจากที่คนอื่นทำ จึงสามารถทำความเข้าใจเรื่องราวที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น เพราะทุกวันนี้การทำธุรกิจจำเป็นต้องใช้มุมมองเหล่านี้ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คนที่มุมมองแบบนี้จะเข้าใจธุรกิจที่ตัวเองอยู่ว่าควรนำอะไรมาใช้ให้เกิดประโยชน์

“เพราะเราทำเรื่องพวกนี้มานานแล้ว นักศึกษาของเราเขาจะสามารถประยุกต์ เช่น ข้อมูลในคอมพิวเตอร์มาเป็นประโยชน์ แล้วเราสอนในเชิงปริมาณ เราไม่ได้สอนเชิงทฤษฎีพื้นฐานอย่างเดียว ซอฟต์แวร์เป็น เอาตัวเลขจากฐานข้อมูลไปเขียนโปรแกรม เอาหลักไปวิเคราะห์ เขาชินกับเรื่องพวกนี้ ขณะเดียวกันเราก็มีเรื่องเทคโนโลยีให้เขาเรียนรู้ สภาพแวดล้อมเขาก็อยู่กับเรื่องเทคโนโลยี และส่วนใหญ่เด็กของเราจะออกไปในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม อย่างน้อยเขาสามารถไปช่วยเรื่องการนำนวัตกรรมใหม่ๆ วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ที่ไม่เคยวิเคราะห์เอามาใช้ให้เป็นประโยชน์”

หลักสูตรที่คล่องตัว

การจัดการเรียนการสอนในยุคใหม่นอกจากสภาพแวดล้อมที่เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีการอภิปราย ฝึกปฏิบัติทฤษฎีที่เรียนไป การให้งานนักศึกษาจะต้องออกมานำเสนอหน้าชั้นทั้งในแบบกลุ่มและแบบเดี่ยว รวมถึงการทำรายงานส่งเป็นการฝึกบุคลิกภาพและทักษะการเขียนและนำเสนอ

ที่คณะการบริหารและจัดการยังออกแบบหลักสูตรให้มีความคล่องตัว เพราะตระหนักดีว่ามีเรื่องที่ต้องเรียนรู้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถเปิดหัวข้อวิชาใหม่ได้ทันที ดร.อำนวยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

“เป็นการออกแบบหลักสูตรที่ปรับตัวได้ มีอย่างนี้อยู่ 2-3 วิชา เรียกว่า หัวข้อพิเศษ (Special Topics) เพื่อรองรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง อย่างปีนี้เรื่องบล็อกเชน บิตคอยน์ต้องเชิญอาจารย์มาบรรยายแล้ว คุณจะจบออกไปต้องรู้เรื่องนี้แล้ว ต้องเข้าใจ ต้องหาคนที่ทำให้เขาเห็นด้วย เพราะของเรา จะให้เขาได้เห็นตัวอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ทฤษฎี อาจจะต้องให้เขาปฏิบัติ ให้เขาลองเข้าไปหรือเห็นตัวอย่างที่คนอื่นทำ ปีนี้เราเตรียมแล้วว่าต่อไปเรื่องพวกนี้เด็กจะต้องเรียน เรื่องเอไอ บิ๊กเดต้า เราต้องให้เขามีพื้นความรู้ที่ดี เราโชคดีที่เราอยู่สถาบันนี้ เราหาคนไม่ยาก นี่คือข้อได้เปรียบของเรา อย่างบิ๊กเดต้าเราจะเชิญอาจารย์มาสอน เราก็ขอจากคณะวิทยาศาสตร์ เพราะเราจับมือร่วมมือกันหมด เราไม่ได้เป็นสถาบันที่ใหญ่มากเกินไป เด็กเราไม่รู้เรื่องนี้ดีเราเตรียมเด็กโดยการใช้ความร่วมมือระหว่างคณะในสถาบัน ไม่ต้องไปควานหาข้างนอก เพราะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเราก็เด่นอยู่แล้ว ก็ตรงกันพอดี หรืออย่างเศรษฐศาสตร์จะไปร่วมกับคณิตศาสตร์สถิติคอมพิวเตอร์ จะจับมือกันทำเศรษฐศาสตร์ในแนวที่เป็นลักษณะของการใช้สถิติใช้ตัวเลขวิเคราะห์”

 

เติมความเป็นนานาชาติ

เพิ่มเติมจากจุดเด่นของคณะการบริหารและจัดการ ที่ผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้ในสาขาที่เรียน มีความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมถึงนวัตกรรมต่างๆ อีกสิ่งหนึ่งที่คณบดีมุ่งเน้นคือเรื่องความเป็นนานาชาติ หลังจากที่คณะเปิดภาควิชาบริหารธุรกิจนานาชาติมาแล้วระยะหนึ่ง

รศ.ดร.อำนวยกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า สำหรับคนที่จะออกไปทำงานในโลกต่อไปเรื่องภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษจะช่วยทำให้บัณฑิตของคณะสามารถออกไปทำงานได้ในอีกระดับหนึ่ง โดยขณะนี้กำลังมองต่อไปว่าจะเปิดเศรษฐศาสตร์ที่เป็นนานาชาติเพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มเติมความรู้ทางภาษาให้กับนักศึกษาในหลักสูตรปกติ

“ถ้าเขาเก่งภาษาอย่างอังกฤษจะทำงานได้มากขึ้น เดี๋ยวนี้บริษัทข้ามชาติมีจำนวนมาก แล้วก็ไม่ใช่แค่พูด เขียน อ่าน ในศาสตร์ตัวเอง ภาษาอังกฤษก็ต้องรู้เรื่องด้วย ดังนั้นการเรียนการสอนแบบใช้ภาษาก็จะช่วยให้เด็กมีโอกาสที่ดีในการทำงานและการไปเรียนต่ออีกมาก นี่คืออีกจุดที่เราพยายามสร้าง”

เพิ่มประสบการณ์

รศ.ดร.อำนวยกล่าวถึงอีกเรื่องที่คณะกำลังทำ คือการเสริมประสบการณ์ให้กับผู้เรียน ด้วยการพาไปดูงานไม่ว่าจะเป็นในโรงงานอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจ ว่าการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เห็นได้เรียนรู้สิ่งใหม่จากสถานที่จริง นอกจากเป็นการเพิ่มประสบการณ์ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นภาพการทำงาน สามารถ
นำสิ่งต่างๆ ที่ได้เจอมาเป็นประสบการณ์ในการทำงานต่อไป

“ได้ในเรื่องภาพที่เขาเจอ หลายๆ อุตสาหกรรมให้เขาดู แล้วเขาก็จะปะติดปะต่อเขาเอง เราหวังให้เขาได้เห็นอะไร เด็กบริหารเห็นแต่ร้านค้าธุรกิจไม่พอ เพราะเราบริหารอุตสาหกรรม เขาจะได้เห็นว่า โลกเปลี่ยน ใช้แขนกล หุ่นยนต์ แล้วเรามีเครือข่ายอยู่แล้วทำไมไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ ผมจะพยายามให้เขาทำเพราะไม่ได้ลงทุนอะไรมาก แต่เด็กก็ชอบ ได้ไป ได้คุยกัน เหมือนคนไปต่างประเทศกลับมาก็คิดโน่นคิดนี่คิดนั่น เพราะเห็นอะไรมา ก็แบบเดียวกัน ผมมองว่า ถ้าเด็กไม่เคยเห็นอะไรเลย จะไปจินตนาการก็ไม่รู้เรื่องเพราะไม่เคยเห็น”

 การจัดการศึกษาของคณะการบริหารและจัดการที่กำลังปรับปรุงในรอบนี้ จึงเป็นการเสริมจุดแข็งของคณะในการผลิตนักบริหารที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันเป็นจุดเด่นของสถาบันด้วยการเสริมศาสตร์และทักษะที่จะช่วยให้บัณฑิตที่จบออกไปสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากมหาวิทยาลัยไปมีส่วนช่วยให้องค์กรพัฒนาแข่งขันได้ในช่วงเวลาที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นในอัตราเร่งเช่นทุกวันนี้

การจะไปพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังกล่าว ต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มเพาะพอสมควรดังที่ รศ.ดร.อำนวยบอกไว้ว่า วิชาเศรษฐศาสตร์กับบริหาร เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ เพื่อนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ แปลผล และวางแนวทางแก้ไข จึงต้องใช้เวลาและประสบการณ์ในการเลือกใช้ความรู้และข้อมูลต่างๆ นำมาประยุกต์ใช้ตามบริบทที่มีอยู่ 

ท่ามกลางโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด! นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญชื่อดัง เปิดนิยามคำว่า ‘Good Life’ ครบทุกมิติ สะท้อนทัศนะ “คุณภาพชีวิตดี-สมดุล-ยั่งยืน” ผ่านเวทีเสวนา THAILAND MBA FORUM 2018 ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ: The Next Chapter of Technology for Sustainable & Good Life 

Good Life

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงนิยามคำว่า Good Life ผ่านเวทีเสวนาครั้งนี้ว่า ระบบน้ำที่ดีมีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ได้ ขณะที่ปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่เห็นได้ชัดเจน ยังคงเป็นเรื่องของภัยน้ำท่วม-น้ำแล้ง 

ทว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำและสิ่งแวดล้อม ต้องมีการยึดหลักความพอเพียง ทั้งด้านการอุปโภค-บริโภค รวมถึงการแบ่งปันให้กับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ให้สามารถดำเนินการพัฒนาได้อย่างครอบคลุม

"นิยามคำว่า Good Life ของประเทศไทย ผมเน้นไปที่เรื่องการแก้ปัญหาความยากจน น้ำ-สิ่งแวดล้อม และ สภาพเศรษฐกิจสังคม ‘น้ำ’ ถือเป็นทรัพยากรที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ทุกคนจะต้องใช้น้ำ ซึ่งสาธารณูปโภค (Utility) ตามนิยามมีอยู่ 2 อย่าง นั่นคือ น้ำ กับ ไฟฟ้า นี่คือสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ 

ด้วยความที่ประเทศไทยมีน้ำมากอยู่พอสมควร แต่ในอนาคตอาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ในเรื่องของประชากร อาจส่งผลไปสู่การแย่งชิงน้ำเพิ่มขึ้น รวมไปถึงเรื่องความยั่งยืน ทั้งความมั่งคงทางด้านน้ำ (Water Security) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ
ความสามารถในการผลิต (Water Productivity) 

นั่นคือ การทำอย่างไรให้น้ำ 1 หน่วย มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งในเรื่องของ มหันต์ภัย (Water Disaster) เพราะประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งอยู่ตลอด หลักๆ ควรมีน้ำอย่างพอเพียง ทั้งในเรื่องอุปโภค-บริโภค มีการแบ่งปันให้กับภาคเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาในเรื่องของเศรษฐกิจและสังคม เมื่อเศรษฐกิจดี สังคมก็จะดี" 

ด้าน ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขยายความถึงคำว่า Good Life ว่ามีความหมายในแง่ของความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร ที่สำคัญคือการมีสิทธิ์ในการได้รับการศึกษาอย่างถูกต้องเหมาะสม

“ผมคิดว่า Good Life อาจหมายถึงการที่มนุษย์สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ รวมไปถึงการมีสิทธิ์ที่จะได้รับการศึกษาที่เหมาะสมตรงตามความต้องการ มีสิทธิ์เข้าถึงอาหาร น้ำดื่ม และทรัพยากรอื่นๆ ที่เหมาะสมกับเรา 

แต่ส่วนสำคัญที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประเด็นใหญ่ คือ ข้อจำกัดของเศรษฐกิจครอบครัวที่กลายเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถเลือกสาขาอาชีพที่อยากทำในอนาคตได้ ผมคิดว่านี่ไม่ใช่ Good Life ที่ดีนัก เพราะข้อจำกัดอันเกิดขึ้นจาก ตัวเศรษฐกิจทางบ้าน ข้อจำกัดอันเกิดจากการที่เราไม่ได้เกิดมาในถิ่นฐานที่มีทรัพยากรสมบูรณ์ 

นั่นหมายความว่าระบบของภาครัฐที่จะลงมาช่วยดูแลและสร้างองค์ประกอบภาพรวม ซึ่งทำให้คนทุกคนที่เกิดอยู่ในประเทศของเรา หรือในทุกๆ ที่ในโลก น่าจะมีสิทธิ์เลือกการศึกษา รวมไปถึงมีสิทธิ์ในการเลือกประกอบอาชีพที่ตัวเองอยากทำ เพราะการที่ได้เลือกทำในสิ่งที่รัก มันจะนำมาซึ่งอิสระและความสุข” 

สอดคล้องกับผู้อำนวยการ Enterprise Brand Management Office SCG วีนัส อัศวสิทธิถาวร ได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผ่านมุมมองของภาคเอกชนด้วยว่าการมีชีวิตที่ดีนั่นหมายถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด อีกทั้งยังต้องมีความร่วมมือช่วยเหลือกันในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน

“ในมุมของภาคเอกชน SCG เรามีเรื่องของการผลิตเป็นหลัก ฉะนั้น เรามองไปในมุมของลูกค้าว่าสิ่งที่เราผลิตและมอบให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดีขึ้นหรือไม่ (Better Life) แน่นอนว่าเมื่อเรามองในมุมของคนทำธุรกิจ เป้าหมายของธุรกิจ คือ การสร้างรายได้ตอบแทนผู้ถือหุ้น 

เห็นว่าทฤษฎีห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) ของคนทำธุรกิจมีความเกี่ยวเนื่องกัน แต่มุมมองของ SCG อาจแตกต่าง เรามองว่าหากลูกค้าได้ Good Life ผู้ถือหุ้นได้ Good Life อาจยังไม่พอ เรามองทั้ง Value Chain ยกตัวอย่างเช่น ซัพพลายเออร์ที่ส่งของมาให้เราผลิต ชุมชนที่อยู่รอบโรงงานเรา หรือพนักงานเราเอง 

อีกมุมที่มองเพิ่มเติม ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตที่ใช้ทรัพยากรต่างๆ ด้วยเรื่องของการผลิตในอดีต เรามองเรื่องของการนำทรัพยากรมาผลิต หลังจากนั้นก็กลายเป็นขยะที่ไม่มีคุณค่า แต่สิ่งที่พูดถึงในวันนี้ในปี 2050 มีการประเมินว่า ประชากรจะเยอะขึ้น ขณะเดียวกันได้สวนทางกับทรัพยากรที่ลดน้อยลง

คนรุ่นลูก-รุ่นหลานจะไม่มีทรัพยากรใช้ หากเราไม่เตรียมการตั้งแต่วันนี้ ในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด แน่นอนว่าคนรุ่นหลังต้องลำบาก ดังนั้น ทั้งภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนวิธีการมองให้เป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มากขึ้น 

นั่นคือการทำอย่างไรให้ใช้ทรัพยากรคุ้มค่ามากที่สุด ไม่ใช่แค่เพื่อให้เรามี Good Life แต่เจเนอเรชันต่อๆ ไปจะได้รับ Good Life ที่พอเพียงด้วยเช่นกัน ตอนนี้ SCG ลุกขึ้นมาเผยแพร่ Circular Economy ให้กับภาคธุรกิจด้วยกันได้รับทราบ เพื่อที่เปลี่ยนวิธีคิดว่าทำอย่างไรให้การทำอุตสาหกรรมมีการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด” 

ด้าน ดร.พีระพงษ์ กลิ่นละออ Managing Director, 3P Consulting Co., Ltd. ฉายภาพใหญ่ของการพัฒนาชุมชนไว้ว่าแก่นสำคัญที่ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี คือ การเปลี่ยนกระบวนการความคิดและทำให้เกิดความสมดุล ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาต่อไปได้

“ในมุมมองของการพัฒนาชุมชน เราพยายามทำให้เกิด “โอกาส” ของการรับรู้ ซึ่งการรับรู้อาจมาจากสิ่งที่เขารับมาจากการอ่าน จากการใช้ชีวิตประจำวัน ฉะนั้น การเข้าใจคือการเปิดโอกาสให้ได้รับรู้และเกิดการกระทำด้วย หลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว เขาจะต้องมีสิ่งที่รัก และได้เลือกสิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้ดี

การที่มนุษย์อยู่อาศัยอย่างมีเครือข่าย หรือเป็นสังคม-ชุมชน โอกาสที่จะทำให้เกิดการพัฒนาต่อไปได้ คือ สามารถทำงานได้เป็นหมู่คณะ ดังนั้น Good Life เกิดขึ้นได้จากการที่เขาเปลี่ยนวิธีคิดที่เขาได้เรียนรู้มา จากนั้นสามารถดึงเอาพลังของตัวเองออกมาได้

ถ้าพลังเหล่านั้นสามารถเชื่อมต่อและก่อให้เกิดการรวมกลุ่ม เกิดเป็นชุมชนได้ พลังสามัคคีจะทำให้ Good Life เกิดขึ้นได้อย่างมีความมั่นคง ท้ายที่สุดสิ่งสำคัญของเครือข่าย คือ เรื่องของจรรยาบรรณและศีลธรรม ในการอยู่ร่วมกันอย่างแบ่งปัน รวมถึงความสมดุลจะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงการเดินก้าวต่อไป” ดร.พีระพงษ์ กล่าว

ปิดท้ายด้วย รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกเล่าแนวคิดเกี่ยวกับนิยามของคำว่า Good Life ว่ามีทั้งเชิงปัจเจกบุคคลและในส่วนภาพรวมของประเทศ โดยมีแกนหลัก 3 ส่วนที่สำคัญ นั่นคือ ความสุข ครอบครัว และ สังคม

“Good Life ในความคิดผม ผมแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ฝั่งแรกคือในชีวิตของคนทั่วไป ต้องการ 3 องค์ประกอบให้เกิดความสมดุล ส่วนที่หนึ่ง ‘ความสุข’ ส่วนที่สองคือ ‘ครอบครัว’ และ ส่วนสุดท้ายคือ ‘สังคม’

ดังนั้น ถ้าเราจะมี Good Life ในฝั่งที่เป็นปัจเจกบุคคล ผมคิดว่าเราต้องสร้าง ‘ความสมดุล’ ระหว่าง 3 ส่วนนี้ นั่นคือต้องมีชีวิตที่ดี ต้องทำงานอย่างมีความสุข และอยู่ในสังคมที่ดี

ส่วนอีกฝั่งหนึ่งที่เป็นภาพที่ใหญ่ขึ้น ถ้าเป็น Good Life ของคนทั้งประเทศหรือประชากรของโลก ในฐานะที่ผมเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติทางด้านการเจริญเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราใส่คำว่า Good Life เข้าไปในความเติบโต ความสมดุล และความยั่งยืนด้วย

ถ้าเราอยากมี Good Life ในฝั่งภาพใหญ่ เราต้องมาร่วมกันนิยามคำว่า Good Life ไปด้วยกันว่าจะเติบโตอย่างไรให้สมดุลและยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น Circular Economy, Sustainable Development Goals, เศรษฐกิจพอเพียง, การปรับตัวทางด้านการศึกษา ล้วนมีความสำคัญในการทำให้เกิด Good Life ได้” 

Sustainable 

ผศ.ดร.อนุรักษ์ มองเรื่อง ‘ความยั่งยืน’ ผ่านสายตาของผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรน้ำ โดยต้องเริ่มจากการพัฒนาก่อน รวมไปถึงการสื่อสารระหว่างกันและกัน

“ความยั่งยืนจริงๆ แล้ว ต้องเริ่มจากการพัฒนาก่อน ถ้าไม่มีการพัฒนาก็จะไม่มีการยั่งยืนต่อไป ในทางกลับกันถ้าการพัฒนาไม่มีความสมดุล หรือไม่มีการบูรณาการ ก็จะไม่เกิดความยั่งยืน ดังนั้น ความสมดุลในที่นี้ไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเรา แต่รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม โลก สังคม ในทุกๆ มิติ วิธีการที่จะไปรอดมีทางเดียว คือ การพูดคุยกันระหว่างทุกฝ่ายที่อยู่ในองค์รวมของระบบ ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกัน” 

ขณะที่ ดร.ประมวล เสนอมุมมองเพิ่มเติมในฐานะนักวิศวกรอุตสาหการ โดยมีแนวคิดว่าการเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจที่ดี ผ่านกลไกการทำงานของเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนร่วมด้วยเช่นกัน

“ผมเชื่อว่า เป้าหมาย (Goals) และ วิธีการ (Means) มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือพัฒนาอุตสาหกรรม โดยมุ่งไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเครื่องมือที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น คือการพัฒนาสภาพเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจดี คุณภาพชีวิตก็จะดี ซึ่งสิ่งที่เป็นกลไกทำให้เศรษฐกิจดีในมุมมองของวิศวกร คือ การพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้วงจรนี้ขับเคลื่อนได้ ผมคิดว่าถ้าทำให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการศึกษา มีทางเลือก มีอิสระที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก รวมถึงใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” 

ทางด้าน วีนัส ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ทาง SCG ดำเนินการในขณะนี้ คือ การอนุรักษ์น้ำ ซึ่งมีการน้อมนำแนวคิดจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 มาเป็นแรงบันดาลใจ

“ทาง SCG ทำในเรื่องของการอนุรักษ์น้ำ ตั้งแต่ภูผาสู่มหานที ตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ที่โรงงานปูนซีเมนต์ไทย จ.ลำปาง แรกเริ่มเราได้สัมปทานป่าบริเวณนั้นเป็นป่าอนุรักษ์ในพื้นที่ 5,000 ไร่ ขณะที่เราเริ่มสร้างโรงงานก็พบว่ามีปัญหาไฟไหม้ป่าทุกวัน รวมกว่า 300 ครั้งต่อปี 

เราจึงคิดว่าจะมีวิธีใดที่สามารถดับไฟป่าได้อย่างยั่งยืน จึงได้พบแนวทางที่สามารถแก้ปัญหา น้ำขาด น้ำเกิน น้ำเสีย ไฟป่า นั่นคือ พระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวราชการที่ 9 ซึ่งท่านได้ทำการทดลองไว้ที่ห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ ด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ หลังจากได้ลงมือสร้างฝายชะลอน้ำ พบว่าปัญหาไฟไหม้ป่าลดลง ซึ่งภารกิจของเราคงไม่สำเร็จ หากไม่มีการทำงานร่วมกันของชุมชน สิ่งสำคัญคือการสร้างชุมชนให้เป็นนักวิจัย โดยการการสร้างกระบวนการเรียนรู้” 

ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงหลังการสร้างฝายชะลอน้ำ พบว่า รายได้จากของป่าและการทำเกษตรเพิ่มขึ้น 9,025 บาท ต่อครอบครัว/เดือน สำหรับรายได้จากอาชีพประจำเฉลี่ย 8,000 บาทต่อครอบครัว/เดือน ปัจจุบันสร้างฝายชะลอน้ำไปแล้วกว่า 79,330 ฝาย ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด โดยมีเป้าหมายสร้างฝายชะลอน้ำทั้งสิ้น 100,000 ฝาย ในปี 2563 

สอดคล้องกับด้าน รศ.ดร.พิสุทธิ์ ได้ฝากแนวคิดความยั่งยืนไว้ว่า ควรตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ที่สำคัญต้องสร้างจิตสำนึกให้เกิดความหวงแหนร่วมกันด้วยว่า ทุกคนคือเจ้าของแหล่งทรัพยากรและธรรมชาติ

“ผมอยากฝากคำว่า ‘ยั่งยืน’ เพราะว่าถึงเราพัฒนาขั้นตอนอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าไม่ยั่งยืน ผมคิดว่านั่นคงไม่ใช่คำตอบของประเทศ ผมว่ามีอยู่ 3 คำ นั่นคือ การคิดถึงคนรุ่นหลัง (For Next Generation) การตระหนักถึงปัญหา (Engagement) และสุดท้าย การทำให้รู้สึกว่าเขาคือเจ้าของ (Owner Ship)” 

สุดท้าย ดร.พีระพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงเรื่องการศึกษา รวมถึงเทคโนโลยีที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว คือสิ่งสำคัญที่นำไปสู่ความก้าวหน้าของคุณภาพชีวิตได้ในมิติต่อไปของประเทศไทย

“ผมคิดว่าส่วนที่เป็น The next Chapter ได้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา หรือเทคโนโลยีที่เป็นทางด้านอุตสาหการต่างๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันของชุมชน ทั้งด้านการประกอบอาชีพ หรือส่วนที่ทำให้ร่างกายหรือชีวิตก้าวขึ้นสู่สภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่แข็งแรงยั่งยืน” ดร.พีระพงษ์ กล่าว 


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ The Next Chapter of Technology for Sustainable & Good Life จากงาน Thailand MBA Forum 2018  ได้ที่นี่


 

 

 

รศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ได้บรรยายถึงประเด็นสำคัญบนเวทีใหญ่งาน Thailand MBA Forum 2018

“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีมีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก ผลสืบเนื่องคือพฤติกรรมของผู้บริโภคถูกเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เมื่อพฤติกรรมคนเปลี่ยน สิ่งที่ตามมาคือ ผลกระทบทางสภาพสังคมก็เปลี่ยนแปลงไป นั่นหมายถึงสภาพการแข่งขัน และแรงกดดันของการแข่งขันก็มีการเปลี่ยนแปลงเฉกเช่นกัน สิ่งสำคัญในฐานะผู้บริหาร คือการเตรียมแผนและการตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีให้เท่าทัน ในด้านของนักศึกษา ทั้งบัณฑิตและมหาบัณฑิตที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ตลาดงาน ต้องตระหนักให้ได้ว่า ทักษะและความรู้ที่จะทำงานในยุคดิจิทัลต้องเป็นอย่างไร” 

รศ.ดร. จงสวัสดิ์ ได้สรุปความโดยอ้างอิงข้อมูลของ Oliver Ratzesburger ที่ชี้ให้เห็นว่า ทุกวันนี้การยอมรับและการนำเทคโนโลยีมาใช้อยู่ในอัตราตอบรับที่เร่งมากขึ้น อย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การใช้เทคโนโลยีประเภทอินเทอร์เน็ต ถือเป็นเรื่องปกติ 

นอกจากนั้น ยังได้เผยถึงตัวเลขมูลค่าการตลาดของโมไบล์แอปพลิเคชัน ของปี 2017 ที่อเมริกามีมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีการลงเม็ดเงินในโซเชียลมีเดียอย่างมหาศาล รูปแบบการเก็บข้อมูลเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปสู่การเก็บ-ใช้ข้อมูลใน คลาวน์ มีการนำ Big Data ที่เป็นการใช้ข้อมูลต่างๆ เพื่อการออกแบบกลยุทธ์ เรื่อง Neuroscience เป็นเทรนด์ที่กำลังเติบโต ผลิตภัณฑ์และการบริการเริ่มประยุกต์นำ Sensor มาติดวัดเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายข้อมูล เพื่อศึกษาและพัฒนาการเข้าถึงแนวคิดและการรับรู้ของลูกค้าต่อคุณภาพสินค้าและบริการอย่างเป็นตรรกะและเชื่อถือได้ และต่อไปเรื่อง AI และ Deep Learning เป็นสิ่งที่ยุค 5G จะมีการหยิบยกมาใช้อย่างเป็นเรื่องปกติสามัญ

ทั้งนี้ รศ.ดร.จงสวัสดิ์ ได้เน้นย้ำว่า “ประเด็นสำคัญที่อยากให้ดูคือ การทำงานทุกอย่างนับแต่นี้จะเป็น Real-Time มากขึ้น ลูกค้าต้องสามารถทำทุกอย่างได้เอง เทคโนโลยีได้เปิดโอกาสและอนุญาตให้หลายสิ่งเป็นไปได้ แต่คำถามคือ “องค์กรปรับตัวตามได้มากน้อยแค่ไหน” มีกรณีศึกษาของหลายองค์กรที่ตามไม่ทันเทคโนฯ หรือการตัดสินใจไม่ยอมรับในการเปลี่ยนแปลง อาทิ บริษัท โกดัก ผู้ผลิตฟิล์มที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต หรือ กรณี Blockbuster ที่ปฏิเสธการลงทุนใน Netflix ร้านของเล่น Toyrus ที่ปิดตัวลง เพราะพฤติกรรมการเล่นของเด็กเปลี่ยนไปอยู่ในออนไลน์ในที่สุด”

ทุกวันนี้ องค์กรธุรกิจชั้นนำล้วนปรับนำ Algorithm มาใช้ในการบริหารงาน ซึ่งสามารถทำงานแทนคนจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถจัดการข้อมูล เพื่อคาดการณ์ เพื่อการวางแผนทั้งในด้าน Operation และการวางกลยุทธ์ในการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ทุกองค์กรต้องปรับตัวแทบทั้งหมด เหตุผลสำคัญคือ เพื่อการลด Uncertainty หรือความไม่แน่นอน บนข้อมูลที่จะสามารถรวบรวมและประมวลมาได้ ทั้งข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการเงิน ข้อมูลอุตสาหกรรม และข้อมูลต่างๆ เพื่อค้นหา Trend หา Spotting Trend เพื่อค้นหาว่าจะมี signal หรือสัญญาณใดที่จะบอกให้รู้ว่า สิ่งไหนคือเทรนด์ที่ถ้าองค์กรไม่ปรับ คือ ตายแน่นอน! และนอกเหนือจากนั้น คือการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่สำคัญ” รศ.ดร.จงสวัสดิ์ 

6 กลยุทธ์ดิจิทัล เพื่อองค์กร : 6 Types of Digital Strategy (HBR) 

รศ.ดร จงสวัสดิ์ ได้อ้างอิงถึง 6 กลยุทธ์เพื่อการปรับตัวขององค์กรและธุรกิจ ในยุคดิจิทัล ของ Harvard Business Review เพื่อเป็นแนวคิดและแนวทาง อาทิ การปรับเปลี่ยน Platform Play ที่ต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป หรือการสร้างแนวทางกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ ให้กับลูกค้า เช่น H&M หรือ IKEA ที่ใช้กลยุทธ์ New Marginal Supply เช่นการเปิดช่องทางขายสินค้ามือสองให้กับลูกค้าชั้นดี เพื่อเป็นทางเลือก และที่น่าสนใจและจับตาคือ ใช้กลยุทธ์ Digital-
Enabled Products and Services ที่ปรับสินค้าและบริการให้เชื่อมต่อกับความเป็นดิจิทัล โดยมีการนำ Sensor มาติดกับผลิตภัณฑ์ เช่น ผ้าอ้อมเด็ก ที่ปั๊มนม และกรณีศึกษาที่โด่งดังคือ แปรงสีฟัน Oral B โดย Sensors เหล่านั้นจะส่งผ่านข้อมูลของการใช้งาน อาทิ ความชื้นของผ้าอ้อม แรงดันและปริมาณน้ำนมจากการปั๊ม และคุณภาพของการแปรงฟัน ซึ่งทั้งหมดจะถูกส่งเข้าสู่แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นข้อมูลกับผู้ใช้งาน

นอกจากนั้น Digital Strategy ยังมีในเรื่อง Rebunding and Customizing, Digital Distribution Channel และ Cost Efficency ที่ HBR ได้เสนอแนวคิดและแนวทางไว้ แต่ประเด็นสำคัญที่ รศ.ดร.จงสวัสดิ์ ต้องการชี้ให้ตระหนักและเล็งเห็นคือ “เมื่อเรารู้ว่า เทคโนโลยีเปลี่ยน เราจะ adopt เทคโนโลยี หรือนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ได้อย่างไร นั่นคือประเด็นที่สำคัญกว่า”

สำหรับนักศึกษาในสาขา MBA ในยุคนี้ รศ.ดร. จงสวัสดิ์ กล่าวว่า 

“เป้าหมายของการเรียน MBA ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว เมื่อ 10 ปีก่อน เป้าหมายสำคัญของการเรียน MBA จะกำหนดเป้าหมายไปที่เรื่อง Logical Thinking, Critical Thinking, Analytical Thinking และ Strategic Thinking หมายความว่า นักศึกษาที่จบ MBA จะต้องมีความรู้ มีแนวคิด กระบวนการคิดจนไปสู่กระบวนการสร้างกลยุทธ์ธุรกิจ การบริหารและการตลาดได้ ซึ่งภายใต้เป้าหมายและความคาดหวังใหม่ รศ.ดร. จงสวัสดิ์ ได้เสนอการ+ เพิ่มเรื่อง Technological Data Driven IT-Background เข้าไปด้วย เพราะทุกวันนี้และต่อไปจะไม่มีองค์กรใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องไอที หมายความว่า นักศึกษา MBA จะต้องสื่อสารและทำงานร่วมได้กับนักจัดการ IT เพื่อธุรกิจและองค์กร” 

“ในปัจจุบัน การตลาดประเภท Traditional Marketing ไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป จากอดีตที่เคยเป็น Top-Down Approach ที่รู้ทฤษฎีด้านการตลาดแล้วสามารถแปลงทฤษฎีมาเป็นกลยุทธ์ แต่คำตอบของยุคปัจจุบันคือ Bottom-Up Policy ที่จะเป็นการใช้ดาต้า ใช้ข้อมูลจากทั้งลูกค้า พฤติกรรมต่างๆ มาสร้างกลยุทธ์” 


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ Technology Effects & Management Transformation โดย รศ.ดร.จงสวัสดิ์ จงวัฒน์ผล รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่

 

MBA in “Smart” Era

August 13, 2018

"MBA เป็นหลักสูตรที่มีคนต้องการเรียนมากที่สุดในโลก เพราะเป็นหลักสูตรที่สอนทักษะจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจหรือต้องการเป็นส่วนหนึ่งในสังคมธุรกิจความรู้ MBA เป็นหัวใจของการทำธุรกิจ ใครก็ตามที่คิดจะเป็นผู้บริหารหรือทำธุรกิจส่วนตัวไม่ว่าจะเรียนจบสาขาอะไรมาก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ MBA" 

ในวันนี้คำว่า “Smart Farming” หรือ “เกษตรอัจฉริยะ” ได้ถูกหลายๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย หยิบยกขึ้นพูดถึงว่าเป็นอนาคตและความอยู่รอดและสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ของภาคการเกษตรของประเทศ โดยเฉพาะยุค 5G ในขณะเดียวกัน ก็ยังเป็นเสมือนภาพลักษณ์ของความเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ พร้อมกันนี้ Smart Farming ยังมาพร้อมกับการลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีอีกด้วย 

คำถามคือ Smart Farming จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของเกษตรกรไทยได้จริงหรือ ทำได้อย่างไร อะไรคือช่องว่างที่ทำให้เกษตรกรไทยยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี Smart Farming และจะปิดช่องว่างนี้ได้อย่างไร 

เพื่อหาคำตอบ แสวงแนวทางเพื่อปิดช่องว่าง และสร้างความเชื่อมโยงเทคโนโลยีสู่การทำเกษตรกรรมแบบสมาร์ต ภายในงาน Thailand MBA Forum 2018 : The Next Chapter of Tech & Management จึงได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง Advance Technology for “Smart Farming” ขึ้น โดยได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรโดยตรง ประกอบด้วย ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.นฤทัย วรสถิตย์ รักษาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร, เรืองชัย เจริญกิจสุพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม SMEs เกษตรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ณัฐ มั่นคง ผู้ประกอบการเกษตร “โคโค่ เมล่อน ฟาร์ม” มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในประเด็นดังกล่าว

อะไรคือช่องว่างในการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกรไทย

ดร.นฤทัย วรสถิตย์ : ช่องว่างในระบบผลิตภาคการเกษตรของเรามีเยอะมาก ย้อนไป 30-40 ปีที่แล้ว ประเทศไทยนับว่าเป็นผู้นำด้านการเกษตร เราผลิตได้ดี เป็นเบอร์ 1 ของการส่งออกสินค้าการเกษตรในหลายๆ ประเภท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่มีสภาพ-แวดล้อมที่เอื้ออำนวยกว่าหลายๆ ประเทศ เกษตรกรบ้านเราก็มีประสบการณ์สูง แต่ก็ยังมีพื้นที่ทางการเกษตรกรอีกหลายๆ พื้นที่ ที่มีสภาพแวดล้อมไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไรนัก ยกตัวอย่าง ทางภาคอีสาน ซึ่งดินมีสภาพเป็นดินปนทราย ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ ไม่มีระบบชลประทานที่ดีมากพอ ต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติอย่างเดียว เกษตรกรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อการบริโภคเหลือก็ขายบ้าง เพียงพอต่อการใช้ยังชีพ เพราะในขณะนั้นต้นทุนในการผลิตยังไม่สูงมากนัก 

แต่เมื่อเกษตรกรมีการใช้ดินใช้ทรัพยากรไปเรื่อยๆ ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติในดินก็ลดลง ในขณะเดียวกันการเติมความสมบูรณ์กลับลงไปในดินก็ไม่ได้มากพอ บวกกับบางปีเจอกับฝนแล้ง ดินขาดน้ำเมื่อเกษตรกรเริ่มมีการลงทุนใส่ปุ๋ยต่างๆ เพื่อเติมลงไปในดินหวังจะให้เป็นอาหารของพืชผล แต่เมื่อไม่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย ปุ๋ยก็ไม่สามารถเติมความสมบูรณ์กลับเข้าไปในดินได้ การลงทุนจึงไม่คุ้มและไม่เกิดประโยชน์ เมื่อได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่าจึงทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งต้องออกไปนอกทำงานนอกภาคการเกษตร ลูกหลานก็ไปอยู่ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่การเกษตรเช่นกันและไม่ได้มองว่าการเกษตรเป็นรายได้หลักอีกต่อไป ในสถานการณ์เช่นนี้หากจะให้เกษตรกรกลุ่มนี้ต้องมาลงทุนเทคโนโลยี ก็จะไม่มีใครกล้าลงทุน หากต้องลงทุนด้วยตัวเอง ซึ่งนี่ก็คือหนึ่งในช่องว่างที่เกิดกับเกษตรรายย่อยของไทย

ช่องว่างต่อมาคือ รูปแบบการรายงานผลผลิตสินค้าเกษตรหรืออะไรก็ตามของประเทศ ส่วนใหญ่มักจะเป็นการรายงานภาพรวมเป็นค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ เราแทบจะไม่เคยมีการแยกแยะหรือโฟกัสออกมาเป็นส่วนๆ ทำให้ข้อมูลไม่เอื้อต่อการที่จะให้ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ใช้ทักษะหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมหรือการพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสม หรือคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงกับปัญหาพืชผลทางการเกษตรได้มากเท่าที่ควรเพราะขาดข้อมูล

อีกหนึ่งช่องว่างที่ทำให้เกษตรกรไทยไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้มากเท่าที่ควรทั้งที่ประเทศไทยมีหน่วยงานที่สนับสนุนการพัฒนาการเกษตรกรอยู่มากมายก็คือ หน่วยงานของภาครัฐมีการแบ่งงานกันออกเป็นส่วนๆ เป็นกรม กอง ไม่เอื้อต่อการเชื่อมโยงในการทำงาน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันภาครัฐจะมีการสนับสนุนให้แต่ละหน่วยงานมาทำงานมาระดมความคิดทำโครงการร่วมกัน แต่เมื่อจบโครงการก็จบไม่ได้มีระบบที่จะสร้างให้เกิดการทำงานต่อเนื่อง ไม่มีระบบที่จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องจะสามารถเห็นภาพได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ 

ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ : ช่องว่างของการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกรคือ ต้องสามารถตอบคำถาม 2 ข้อนี้ให้ได้ คำถามแรกคือ เกษตรกรได้อะไรจาก Smart Farming คำถามที่สองคือผู้บริโภคได้อะไรจากการบริโภคพืชผลจาก Smart Farming 

ตอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้วางธีมเกี่ยวกับเรื่องของนวัตกรรม (Innovation) เรื่องของ Disruption (สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล) ภาคการเกษตรก็เป็นด้านหนึ่งของการทำงานครั้งนี้ ด้วยคำถามแรกว่า เกษตรกรได้อะไรจาก Smart Farming คือเรื่องของซัพพลาย (Supply) คำถามถัดมาผู้บริโภคได้อะไรจาก Smart Farming นั่นคือเรื่องของดีมานด์ (Demand) การที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมากขึ้นจากการซื้อสินค้าที่ได้ชื่อว่าเป็น Smart Farming จะได้อะไรที่เพิ่มเติมขึ้นหรือมีอะไรที่ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

ผมได้พยายามหาคำตอบ ซึ่งก็ยังไม่พบ จนได้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ที่นี่มีการทำ Smart Farming มีการทำโรงเรือนโดยการควบคุมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอากาศ ความชื้น อุณหภูมิ ธาตุอาหารในดิน แสง จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานทำด้านนี้ในประเทศญี่ปุ่นพบว่า ผู้ประกอบการที่ทำแบบนี้อยู่รอดแค่ 25% เรียกได้ว่า ทำ 4 ราย เจ๊งไป 3 ราย เหลือรอด 1 ราย

ผมได้สอบถามเกษตรกรว่ามีการดำเนินงานต่างจากรายอื่นตรงไหน ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า ผู้ประกอบการรายนี้มองตั้งแต่การผลิตไปจนถึงมือลูกค้าเลย การเกษตรของญี่ปุ่นรายนี้ได้ตอบได้ว่า สิ่งที่เขาได้รับจากการทำ Smart Farming คือ ความสามารถในการควบคุมคุณภาพของผลผลิตภายในฟาร์มได้ทั้งหมด และสามารถป้อนสิ่งที่พืชผลต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งหมดนี้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นติดตามมา เกษตรกรรายนี้ยังได้ตอบถึงสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับจากการที่จ่ายแพงขึ้นเพื่อซื้อพืชผลทางการเกษตรจาก Smart Farming ของเขาว่าลูกค้าจะได้ผักของเขามีวิตามินสูงกว่าฟาร์มทั่วไป และนอกจากนี้หากลูกค้าที่ต้องการผักที่มีกากใยอาหารเพิ่มขึ้นในขณะที่บริโภคเท่าเดิม หรือต้องการให้ผักอร่อย กรอบขึ้น หวานขึ้น เขาก็สามารถทำตรงนี้ให้ได้ โดยทั้งหมดนี้ต้องมีการทำวิจัย 

และนี่เป็นบทเรียนที่มักพบอยู่เสมอเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ว่าต้องมีงานวิจัยเป็นพื้นฐาน ซึ่งสุดท้ายงานวิจัยก็จะไปตอบโจทย์ของการตลาดในที่สุด ผมมองว่าการที่เราจะทำอะไรก็จะมี 2 แกนเสมอ แกนแรกคือ โนว์ฮาว แกนที่สองคือ ดิจิทัล แต่ไม่ได้หมายความว่าการใส่ดิจิทัลเข้าไปแล้วเกษตรกรจะประสบความสำเร็จ เพราะเกษตรกรต้องมี โนว์ฮาว อยู่ก่อนแล้ว ส่วนดิจิทัล นั้น จะเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เกษตรกรติดปีก มูลค่าเพิ่มหรือโอกาสของความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นจะมาจากการใช้อุปกรณ์ 

“ช่องว่าใหญ่ที่สุดของการทำ Smart Farming คือเรื่องของราคา ต้องตอบคำถามให้ได้ว่าทำไมลูกค้าต้องจ่ายแพงขึ้นจากการบริโภคพืชผลจากฟาร์มแห่งนี้” 

แนวทางเพื่อปิดช่องว่าง และสร้างความเชื่อมโยงเทคโนโลยีสู่การทำเกษตรกรรมแบบสมาร์ต

เรืองชัย เจริญกิจสุพัฒน์ : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เราดำเนินงานมาแล้วเป็นปีที่ 51 และสิ่งที่เห็นคือ ภาคเกษตรของประเทศไทยก็ยังไม่ไปถึงไหน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีกว่า การทำการเกษตรบ้านเราต้องพึ่งพิงดิน น้ำ อากาศ จากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมักเผชิญกับภาวะน้ำท่วม ฝนแล้ง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อปริมาณพืชผลทางการเกษตรที่ออกสู่ตลาดในแทบจะทุกประเภท 

ด้วยบทบาทของ ธกส. เป็นสถาบันทางการเงินที่มีหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกร มีเงินทุนพร้อมที่จะเติมให้เกษตรในการทำการเกษตร แต่การเติมนั้นต้องให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด ภายใต้สถานการณ์ของเกษตรกรที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบันนอกจากการผลิตที่ยากต่อการควบคุมแล้ว ยังมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปิด AEC ต้องเจอกับคู่แข่งขันจากเพื่อนบ้านรอบๆ ประเทศไทยที่มีการผลิตสินค้าทำการเกษตรที่เหมือนๆ กันออกมา

โจทย์ของ ธกส. คือ ทำอย่างไรให้เกษตรกรสามารถแข่งขันทางการตลาดได้ ให้มีการคิดในเรื่องของธุรกิจมากขึ้นคิดในเรื่องของต้นทุนกำไรมากขึ้น มีการเข้าถึงนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตและจำหน่าย ไม่ใช่การผลิตและขายตามยถากรรมอย่างที่ผ่านๆ มา 

และนี่คือที่มาของการปรับโครงสร้างการดำเนินงานของธกส. โดยเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหน่วยงาน ภายใต้ชื่อ บ่มเพาะและพัฒนานวัตกรรม SMEs เกษตรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อเข้ามาช่วยดูแลเรื่องของการเชื่อมนำเอาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ รวมถึงการดูแลในเรื่องของการบริหารจัดการ บริหารต้นทุนกำไร การตลาด ให้กับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าของ ธกส. เพื่อให้เกษตรกรอยู่อย่างเข้มแข็ง จนถึงทำให้เกษตรกรสามารถกำหนดราคาขายสินค้าทางการเกษตรได้

การที่จะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ ก็ต้องดูแลในเรื่องของคุณภาพ โดยการเติมเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือเรื่องของดิจิทัลเข้าไปให้เกษตรกร จนถึงการออกไปบอกกับตลาด บอกกับผู้บริโภคเกิดการรับรู้ว่าผลผลิตที่เกิดขึ้นนั้นดีกว่าสินค้าที่อยู่ในตลาดทั่วไปอย่างไรพร้อมกับทำในเรื่องของการจัดการ และการลดต้นทุนให้กับเกษตรกรไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยพัฒนาผลผลิตให้ดีขึ้น มีการให้ความรู้เรื่องปุ๋ย การพัฒนาคุณภาพของดิน มีการส่งเสริมเรื่องปุ๋ยสั่งตัด มีการคัดเกรดสินค้าก่อนส่งขาย การนำเอาสินค้าที่ตกเกรดมาแปรรูปสินค้า การส่งเสริมให้ลดในเรื่องของการใช้เคมีและเพิ่มความรู้และส่งเสริมการใช้สารชีวพันธุ์มากขึ้น ไปจนถึงการออกใบรับรองพืชผลทางการเกษตรเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค และที่สำคัญมีการดูแลควบคุมพื้นที่การผลิตเพื่อไม่ให้เกิดภาวะผลิตทางการเกษตรล้นตลาดอีกต่อไป

ณัฐ มั่นคง : ในฐานะของเกษตรกร เจ้าของฟาร์มเมล่อนที่มีการดำเนินงานภายใต้ในระบบที่เรียกว่า Smart Farming มองว่าเรื่องของการเกษตรไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้ผลิตพืชผลทางการเกษตรอย่างเดียว แต่ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นด้วย เช่นเรื่องของการเงิน การลงทุน การบริหารจัดการ และการตลาด 

การทำการเกษตรในรุ่นพ่อรุ่นแม่จะใช้ประสบการณ์ และความชำนาญที่เกิดจากการทำซ้ำจนเกิดความแม่นยำ แต่ในยุคของผมเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่มีความรู้มาจากการลงมือปฏิบัติ สังเกต เก็บข้อมูล ศึกษาทฤษฎี และเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการ การตลาด ในยุคนี้มีผู้ที่คิดค้นเทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลพืชผล จึงทำให้การดูแลฟาร์มสามารถทำได้อย่างแม่นยำมากขึ้นบนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพืชที่ปลูกอย่างแท้จริง 

“โรงเรือนของผมสามารถควบคุมได้ทั้งหมดทั้งความชื้นของดิน คุณภาพ โรคแมลง เช่น ต้นเมล่อนในฟาร์มเหี่ยว ถ้าคิดแบบทั่วไปก็ต้องมองว่าขาดน้ำ แต่เซนเซอร์ของผมแจ้งว่า ความชื้นในดินยังอยู่ในค่าที่เหมาะสมอยู่ในค่าเดิม ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่ผมจะให้น้ำกับต้นเมล่อน ด้วยความรู้เกี่ยวกับการปลูกเมล่อนทำให้ผมทราบว่าต้นเมล่อนของผมขาดน้ำจริง แต่สาเหตุของการขาดน้ำมาจากการมีนำในดินเยอะเกินจนรากเน่าซึ่งผมก็รักษาตามอาการจนต้นเมล่อนออกรากฝอยขึ้นมาใหม่ และให้ผลผลิตได้ที่มีคุณภาพระดับ 60-70%”

นอกจากการวิจัยในเรื่องของการผลิตซึ่งผมได้เคยทดลองปลูกเมล่อนมาราว 20-30 สายพันธุ์ ทั้งพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ เทียม หรือสายพันธุ์ใหม่ แต่แล้วก็จะต้องไปจบตรงผู้บริโภค ต้องมีการทำวิจัยไปจนถึงลูกค้าด้วยว่าชอบเมล่อนสายพันธุ์อะไร รสชาติแบบไหน ซึ่งคนไทยนิยมเมล่อนที่หวาน กรอบ เนื้อแน่น ถ้าปลูกพันธุ์ญี่ปุ่นแท้ที่เน้นความหวานและนุ่มละลายในปาก ก็อาจจะขายไม่ได้

ความเป็นเกษตรกรของบรรพบุรุษเราในอดีตล้วนเกิดจากประสบการณ์และการทำซ้ำ และการบอกต่อๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น แต่ท้ายที่สุดส่วนใหญ่อาจจะไม่เคยรู้เกี่ยวกับทฤษฎีที่ถูกต้องในพืชผลทางการเกษตรที่ตนเองปลูกอยู่เลย แต่หากเรามีความรู้เชิงทฤษฎี บวกกับประสบการณ์จากการสังเกตการณ์ทำซ้ำครั้งแล้วครั้งเล่า และนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ การผลิตของเราก็จะเกิดความแม่นยำ ตรงจุดและไปได้ไวกว่า 

เกษตรกรไทยมีการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างไร

ณัฐ มั่นคง : ถึงแม้ว่าโคโค่เมล่อนฟาร์มจะได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีจากบริษัทดีแทค แต่ก็เคยตอบคำถามหลายๆ ฝ่ายไปว่าหากต้องลงทุนอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้เองตัวเองก็ยินดีที่จะลงทุน แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การศึกษาด้วยว่า พืชผลทางการเกษตรที่ปลูกนั้นคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่ จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน และเทคโนโลยีแบบไหนที่จำเป็น เช่นการปลูกเมล่อนต้องให้ความสำคัญเรื่องน้ำ ก็ต้องลงทุนระบบเกี่ยวกับการจัดการน้ำ แต่ถ้าเป็นฟาร์มกล้วยไม้ที่ต้องใส่ใจเรื่องของแสงก็ต้องลงทุนเกี่ยวกับการควบคุมแสงสว่างในฟาร์มเป็นต้น

“ผมมีความเชื่อว่าเทคโนโลยีของ Smart Farming จะเข้าสู่เกษตรกรไทยให้เกิดการใช้อย่างแพร่หลายในเร็วๆ นี้ เพราะเทคโนโลยีจะมีต้นทุนที่ถูกลงใช้ง่ายขึ้นต่อไปตัวเซนเซอร์อาจจะมีวางขายในร้านขายวัสดุทางการเกษตรทั่วๆ ไปอย่างแน่นอน” 

ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ : กฎของดีมานด์ และซัพลาย จะทำให้เทคโนโลยีทางการเกษตรหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับ Smart Farming ลดต่ำลง และสร้างโอกาสในการเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านั้นให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น ข้อดีของนวัตกรรมคือไม่มีขนาดเข้ามาเกี่ยวข้อง ใครเร็วกว่าย่อมได้เปรียบเป็นเรื่องของปลาเร็วกินปลาช้าไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาช้าอีกต่อไปแล้ว หากเกษตรกรในบ้านเราเริ่มมีทำการเกษตรบนพื้นฐานของความรู้ และรู้จักที่จะใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือ จะส่งผลให้ประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นการเติบโตที่อยู่บนพื้นฐานความรู้ที่คนในประเทศของเราถนัดคือการเกษตร 

ดร.นฤทัย วรสถิตย์ : กลไกด้านราคาจะทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีของ Smart Farming ในทุกวันนี้มีบริษัทคอมพิวเตอร์ใหญ่ๆ หันมาพัฒนาในเรื่องเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางด้านการเกษตรและอาหารเพิ่มมากขึ้น เพราะตามที่มีการคาดการณ์ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและทั้งคนที่ต้องการจ่ายเพื่อสุขภาพ ซึ่งพอเกษตรกรสามารถควบคุมต้นทุนต่างๆ ได้ บวกกับอุปกรณ์มีราคาลดต่ำลงคุณภาพดีขึ้น จะช่วยให้สามารถควบคุมคุณภาพในการผลิตและลดการสูญเสียไปได้ รวมทั้งในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้นในทุกวันนี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเร่งรัดให้เกษตรไทยเข้าสู่ Smart Farming 


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ Advance Technology for “Smart Farming” จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่

Page 2 of 9
X

Right Click

No right click