×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

บมจ.ไทยคม ผู้นำธุรกิจดาวเทียมและบริการแฟลตฟอร์มดิจิทัลชั้นนำของไทย ประเดิมศักราชใหม่ของการมุ่งสู่การเป็นผู้นำการให้บริการด้านดิจิทัล ด้วยการเปิดตัว “นาวา (Nava)”

การตัดสินใจของมนุษย์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ที่สามารถแบ่งออกเป็นได้สามระดับ

ทิพยประกันภัย จัดโครงการ “ทิพยพัฒนาเยาวชนสืบสานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา” นำเด็กนักเรียนกว่า 4,000 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อปลูกฝังความรู้ ให้มีความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เรียนรู้ศาสตร์พระราชา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานโครงการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้กับพสกนิกรชาวไทย ณ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย จ.สุพรรณบุรี

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัยจำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการจัดโครงการฯ ครั้งนี้ ว่า เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานโครงการต่างๆ และแนวทางในการดำเนินชีวิตหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับพสกนิกรของพระองค์ โดยให้มีการจัดโครงการ “ทิพยพัฒนาเยาวชนสืบสานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา” นำเด็กนักเรียนตลอดโครงการกว่า 4,000 คน มาเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานโครงการต่างๆไว้มากมาย

ทั้งนี้เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เสริมประสบการณ์เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในพื้นที่จริง เรียนรู้เกี่ยวกับวิถีการทำนาปลูกข้าว การไถนา การคราดนา การดำนา การหว่านข้าว การนวดข้าวโดยการฟาดและใช้แรงควาย การสีข้าว การฝัดข้าว การแปรรูปข้าว การจับปลาโดยการใช้สุ่ม การทำปุ๋ยสูตรพระราชทาน การทำน้ำส้มควันไม้ ทดลองปลูกผักปลอดสารพิษ ทำฮอร์โมนไข่ไก่ และชมการแสดงการใช้แรงงานจากควายไทยในการทำการเกษตร ฯลฯ เพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต

ดร.สมพร กล่าวว่านอกจากการที่เด็กนักเรียนที่มาร่วมโครงการได้เรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆในโครงการแล้ว เด็กๆยังได้สำนึกในความเป็นคนไทย ในความโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงห่วงใยในพสกนิกรของพระองค์ ทรงอุทิศกำลังพระวรกายเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร และเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์ ทรงได้พระราชทานโครงการต่างๆนานัปการมากมาย เพื่อปวงชนชาวไทยตลอดมา โดยทิพยประกันภัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นจุดเล็กๆที่จะช่วยสืบสานศาสตร์พระราชา และองค์ความรู้ต่างๆ ที่พระองค์ได้ทรงพระราชทานไว้ให้กับประชาชนคนไทยให้คงอยู่ตลอดไป

มหาเศรษฐีของโลกยุคปัจจุบัน 4 ใน 10 อันดับแรก มาจากอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเว็บไซต์เริ่มจาก บิลล์ เกตส์ (Microsoft) เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้ง (amazon.com) มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (Facebook) และ แลร์รี เอลลิสัน (Oracle Inc.) ขณะที่มหาเศรษฐีในประเทศไทยยังมาจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อาหาร ค้าปลีก เป็นหลัก

ข้อมูลนี้สะท้อนเศรษฐกิจของประเทศไทยเทียบกับโลกแล้ว เราจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยยังขาดอุตสาหกรรมที่สร้างจากมันสมองและทักษะของผู้ประกอบการในการเขียนชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำงานเพื่อประโยชน์ต่างๆ เช่น การพิมพ์เอกสาร การตกแต่งรูปภาพ การบันทึกเสียง การช่วยจองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม ทำบัญชี และอีกมากมายที่คอมพิวเตอร์กำลังช่วยให้ชีวิตมนุษย์สะดวกสบายขึ้นในทุกวันนี้ ซึ่งหากคอมพิวเตอร์ไม่มีซอฟต์แวร์ก็ไม่ต่างอะไรกับก้อนหินก้อนหนึ่งที่เอาไว้ทับกระดาษ

โลกยุคสารสนเทศ ซอฟต์แวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญช่วยขับเคลื่อนโลกอยู่เบื้องหลังในแทบทุกวงการ เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยงานได้สารพัดอย่าง จากโทรศัพท์สมาร์ตโฟนในมือ แท็บเล็ตในกระเป๋า คอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน เปิดโอกาสให้เราสามารถสร้างสรรค์ผลงาน ติดต่อสื่อสาร และยังช่วยให้งานที่เคยซับซ้อนยุ่งยากในอดีตสะดวกรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมาในยุคก่อนคอมพิวเตอร์ การใช้ชีวิตโดยไม่มีคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่จินตนาการได้ยากมาก โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่อยู่ในเมืองใหญ่

จึงไม่น่าแปลกใจที่กลุ่มคนที่คิดสร้างสรรค์ซอฟต์แวร์จะกลายเป็นกลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งติดอันดับโลก การสร้างความมั่งคั่งจากมันสมองและทักษะด้านการเขียนซอฟต์แวร์กลายเป็นทางเลือกที่คนรุ่นใหม่สนใจเลือกเป็นหนทางสู่ความมั่งคั่งของตน

เรื่องราวของ สมบูรณ์ ศุขีวิริยะ ประธานและผู้ก่อตั้ง บริษัท โคแมนชี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ด้านโรงแรมรายใหญ่ของประเทศไทย คือตัวอย่างผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยแท้ที่สามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองได้อย่างน่าสนใจ เส้นทางความสำเร็จของสมบูรณ์และโคแมนชี่ สามารถเป็นกรณีศึกษาให้กับผู้ที่สนใจเลือกการเขียนซอฟต์แวร์เป็นหนทางสู่ความมั่งคั่ง เรื่องราวของพนักงานคีย์ข้อมูลในโรงแรมผู้ขยับสู่ตำแหน่ง ผู้บริหารด้านระบบคอมพิวเตอร์ในโรงแรมชั้นนำของประเทศไทย ก้าวสู่การเป็นเอ็มดีให้กับบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์โรงแรมรายใหญ่จากยุโรปก่อนออกมาก่อตั้งบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ไทยแท้ที่สามารถครองตลาดประเทศไทยและบุกไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ จนล่าสุดนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ระดมทุนเพื่อขยายกิจการทำตามความฝันที่จะบุกต่อไปของสมบูรณ์ คือเส้นทางที่คนรุ่นใหม่อีกหลายคนใฝ่ฝันอยากจะเดินตาม และสมบูรณ์ก็พร้อมจะแบ่งปันประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเอง

จากพนักงานสู่ผู้ประกอบการ
ขณะที่ทำงานประจำในโรงแรมอันดับต้นๆ ของประเทศสมบูรณ์เคยคิดกับตัวเองว่า คงจะเป็นมนุษย์เงินเดือนไปตลอดชีวิต เพราะงานที่ทำอยู่มีรายได้ที่มั่นคง แต่เมื่อมีโอกาสเข้ามาจากประสบการณ์ที่อยู่ในธุรกิจโรงแรมมากว่า 10 ปี ใช้งานซอฟต์แวร์มาหลายประเภท และรู้ระบบงานต่างๆ ของโรงแรม ทำให้เขาตัดสินใจออกจากงานประจำมารับตำแหน่งเอ็มดีบริษัท Fidelio Software (Thailand) โดยได้หุ้นมา 15 เปอร์เซ็นต์ จัดจำหน่ายและดูแลลูกค้าที่ซื้อซอฟต์แวร์ของบริษัทนี้ไปใช้ เป็นการก้าวขาออกจากงานประจำที่เปลี่ยนชีวิตของผู้ประกอบการรายนี้

ต่อมามีจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดบริษัทโคแมนชี่ขึ้นมาคือ Fidelio ถูกบริษัทจากสหรัฐอเมริกาซื้อกิจการไป ซึ่งทำให้สมบูรณ์ต้องมาคิดทางออกอยู่สองทาง คือ อยู่ต่อไป หรือ จะออกมาทำเอง

“ก็พบว่าไม่ไปต่อ มีเรื่องส่วนตัวด้วย และแนวคิดระยะยาวระยะสั้น ส่วนตัวผมคิดว่าผมทำกับ Fidelio เคมีผมเข้ากันกับคนที่เป็นประธานบริษัท ชอบเขาส่วนตัวเป็นเพื่อนกันได้ ทำงานสนุกไปด้วยกันได้ แต่พอเขาออกไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรยึดเหนี่ยวเท่าไรแล้ว สองคือเราคิดว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างเองได้แล้ว เรากลับมาดูตัวเราทำโรงแรมมาสิบปี เรารู้เทคโนโลยี เรารู้ว่าด้านไอทีโรงแรมเป็นอย่างไร และเราก็รู้วิธีการทำงานของซอฟต์แวร์ รู้วิธีการผลิตซอฟต์แวร์ที่ดี รู้กระบวนการ ก็จุดประกายว่า เมื่อก่อนโรงแรม 3-4 ดาวขึ้นไป ต้องใช้ซอฟต์แวร์เมืองนอกหมดเลย ทำไมเราไม่ทำซอฟต์แวร์ให้คนไทยใช้เอง นี่คือจุดเปลี่ยน เราทำซอฟต์แวร์เองดีกว่าไหม เราเห็นตลาด เรารู้ตลาดดี เรารู้วิธีการดี แล้วทำไมเราไม่ทำเสียเองเลย”

อยากจะรอดต้องมีกลยุทธ์
สมบูรณ์แนะว่า คนที่จะทำซอฟต์แวร์ให้คนไทยใช้ ต้องมีกระบวนการคิด คือ 1. ผลิตภัณฑ์ต้องสู้ได้ 2. ราคาต้องสู้ได้ และ 3. บริการต้องสู้ได้ หากไม่สามารถตอบ 3 ข้อนี้ได้ก็ไม่ควรออกมาทำ เพราะอาจถึงขั้นเจ๊งเอาง่ายๆ

ในช่วงก่อตั้งบริษัทโคแมนชี่ สมบูรณ์ย้อนให้ฟังว่า เห็นโอกาสทางการตลาดด้วยการเติบโตของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย โดยที่โรงแรมส่วนใหญ่ใช้ซอฟต์แวร์ของต่างประเทศยังไม่มีผู้ประกอบการชาวไทยที่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ หากตนเองสามารถทำราคาที่เหมาะสมก็น่าจะสู้ได้ ทางด้านการบริการเนื่องจากเป็นบริษัทในประเทศก็น่าจะได้เปรียบคู่แข่งจากต่างชาติ ส่วนตัวสินค้าที่จะออกมาดีกว่ารายอื่น เขาใช้หลักการว่า “ที่เขาบอกว่าดี ไม่ได้บอกว่าต้องมีให้หมดเหมือนที่เขามี เพราะที่เขามีไม่ได้หมายความว่าดีทั้งหมด”

คำอธิบายจากประสบการณ์ของเขา คือ ส่วนที่ได้ใช้งานจริงในโปรแกรมคือประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออีก 40 เปอร์เซ็นต์อาจจะมีประโยชน์กับตลาดอื่นที่ไม่ใช่ตลาดไทย “เราก็ง่ายๆ เอา 60 ที่น่าจะมี มีให้ได้ก่อน เขามี 100 เราไม่ต้องมี คราวนี้เราไปหาจุดที่เขาไม่มีแล้วบ้านเราอยากได้ เรื่องนี้ผมได้เปรียบเพราะผมอยู่ในวงการมาโดยตลอด เริ่มแค่ 10-20 เปอร์เซ็นต์พอ แค่นี้ผมก็เท่กว่าแล้ว นั่นแหละครับแข่งได้แล้ว คุณไม่ต้องมีมากเท่าที่เขามี สินค้าของเราจะมีสิ่งที่ควรจะมีและมีบางอย่างที่ดีกว่าคนอื่น ผมว่าจุดนี้ขายได้ทุกเรื่องไม่เฉพาะเรื่องการผลิตซอฟต์แวร์”

เนื่องจากโรงแรมเป็นธุรกิจบริการที่ค่อนข้างซับซ้อน ซอฟต์แวร์ที่มาสนับสนุนจึงมีระบบที่หลากหลาย โดยระบบที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดคือฟรอนต์ออฟฟิศ นอกจากนี้ยังมี ระบบห้องอาหาร ระบบค่าโทรศัพท์ที่ใช้กันมากในอดีต ระบบบัญชีลูกหนี้เจ้าหนี้ ระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น

“ผมไม่เลือกทำอะไรที่แพงเลย ฟรอนต์ออฟฟิศนี่แพงที่สุด สมมติระบบ 1 ล้านบาท ฟรอนต์ออฟฟิศนี่ไปเกือบครึ่งเลย เพราะซับซ้อนที่สุด เราไม่ทำเพราะรู้ว่าทำนาน แล้วก็ต้องไปเจอยักษ์ แข่งยาก ผมก็ต้องหาโมดูลที่ไม่ถูกมาก แต่คุ้มทุนในการผลิต คนไทยสมัยก่อนเรียกกันว่าเขียนสั้นรันเร็ว เขียนกันไม่นาน ออกแล้วได้เงินเร็ว เพื่อเอาเงินมาหมุนต่อ ดังนั้นโปรแกรมแรกผมทำโปรแกรมคำนวณค่าโทรศัพท์”

เพราะเขารู้ว่าโปรแกรมนี้เขียนไม่ยาก และมีความต้องการจากโปรแกรมฟรอนต์ออฟฟิศที่ใช้เก็บค่าใช้จ่ายกับแขกที่มาพักโดยมากไม่เชื่อมต่อกับตู้สาขาโทรศัพท์ เวลาที่แขกโทรไปต่างประเทศต้องใช้ให้โอเปอเรเตอร์ต่อสายให้และจับเวลาบันทึกให้แคชเชียร์อีกทอดหนึ่ง และขณะนั้นก็เริ่มมีโปรแกรมคำนวณค่าโทรศัพท์จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาขายในประเทศแต่สมบูรณ์มองว่าน่าจะสู้ได้

“ตอนนั้นคนอื่นขาย 3-4 แสนผมขาย 2 แสนกว่าบาท ปรากฏว่าไม่กี่เดือนก็ขายได้ 6-7 ที่แล้ว มาแล้ว 2 ล้าน คือคุณต้องหาให้เจอ คุณไปสู้ฟรอนต์ออฟฟิศหรือไม่รู้กี่ปีจะเขียนเสร็จ ต้องมองหาที่เราทำได้เร็วและเอาเงินมาต่อยอดได้เร็ว พอเริ่มติดตลาดก็เริ่มสบาย จุดแข็งของเราคือเรารู้ว่าโพรดักต์เราทำได้ไม่แพง สองเรามีคอนเน็กชัน ผมขายให้ Fidelio มาเป็นร้อยโรงแรมผมก็รู้เลยโรงแรมไหนบ้างที่ยังไม่มีระบบนี้ เราก็กลับไปหา แสดงว่าเรามีการตลาดในหัวแล้ว ไม่ใช่เราห่ามๆ ออกมา ตัวนี้ก็ได้มาหลายตังค์ เอาเงินนั้นมาจ้างโปรแกรมเมอร์ต่อ”

โคแมนชี่จ้างโปรแกรมเมอร์เพิ่มเติมมาช่วยผลิตโปรแกรมห้องอาหารที่ใช้งานกับพีซี ซึ่งคำนวณแล้วประหยัดกว่าการใช้งานแบบเดิม ขณะเดียวกันก็ซุ่มพัฒนาโปรแกรมฟรอนต์ออฟฟิศของตัวเอง เพื่อให้ภาพฝันที่วางคือมีโปรแกรมที่เกี่ยวกับโรงแรมครบวงจรสมบูรณ์

“คราวนี้จะมาแข่งกับเรายากแล้วเพราะเขาจะมีไม่ครบอย่างเรา คือบางเจ้าจะเก่งเรื่องฟรอนต์ไม่มีโปรแกรมห้องอาหาร บางเจ้าไม่มีโปรแกรมบัญชี บางเจ้าไม่มีคำนวณค่าโทรศัพท์ คือต้องมีการวางกลยุทธ์สักนิดหนึ่ง ก็คิดว่าเรามีกลยุทธ์พอสมควร”

ฝ่าไปทีละด่าน
หากเปรียบการทำธุรกิจกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เป้าหมายในแต่ละช่วงของธุรกิจก็คงเหมือนกับแต่ละสเตจในเกมที่ผู้เล่นต้องฝ่าไปให้ โดยที่เรายังไม่รู้ว่าด่านสุดท้ายอยู่ที่ใด โคแมนชี่ในช่วงแรกที่สามารถสร้างซอฟต์แวร์โรงแรมจนครบวงจรและเริ่มตีตลาดซอฟต์แวร์โรงแรมใประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นก็เปรียบเหมือนการผ่านสเตจ 1 มาได้แล้ว และเมื่อสามารถรักษาพื้นที่ในประเทศไว้ได้แล้ว ด่านต่อไปจึงเป็นตลาดต่างประเทศ เพราะเขามองว่า เมื่อสามารถสู้ภายในประเทศได้แล้ว ก็น่าจะสามารถออกไปสู้ในสนามอื่นได้เช่นกัน การรุกตลาดต่างประเทศของโคแมนชี่จึงเริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนปัจจุบันมีโรงแรมที่เลือกใช้ซอฟต์แวร์โคแมนชี่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยประมาณ 800 แห่ง

สมบูรณ์ฉายภาพการต่อสู้ของซอฟต์แวร์ไทยแท้ว่า ในภาพรวมเราอาจจะสู้กับซอฟต์แวร์ต่างประเทศได้ยาก แต่หากมองเห็นคลัสเตอร์ หรือในกลุ่มธุรกิจที่คนไทยมีศักยภาพแล้ว ซอฟต์แวร์ไทยก็สามารถไปแข่งขันได้ เช่นที่ซอฟต์แวร์โรงแรมของโคแมนชี่แข่งขันได้เพราะมาตรฐานของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสูง ช่วยให้สามารถผลิตซอฟต์แวร์ที่มีมาตรฐานดีแข่งกับคนอื่นได้ “ถ้าเรามาตรฐานไม่สูง ซอฟต์แวร์ก็ทำได้ไม่สูงเหมือนกัน ไปแข่งกับชาวบ้านยาก”

ขั้นตอนที่โคแมนชี่ทำจึงเป็นบททดสอบที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทยสามารถนำไปปรับใช้ได้ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู้ในประเทศให้ได้ก่อนแล้วจึงขยับออกไปภายนอก โดยอาจจะต้องมองหาอุตสาหกรรมที่ไทยมีความโดดเด่นอยู่แล้ว

เพราะคนไทยเขียนซอฟต์แวร์ได้ดี แต่ปัญหาที่สมบูรณ์มองคือไม่รู้ว่าจะเขียนซอฟต์แวร์อะไร “โคดดิงคนไทยเก่ง แต่ดีไซน์นี่อีกเรื่อง จะเก่งได้อย่างไรถ้าคุณไม่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้น เหมือนผมอยู่โรงแรมแล้วเขียนโปรแกรมได้ ยิ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เราเก่งอยู่แล้ว มันรังสรรค์ผลงานออกมาได้กระจาย”

ขณะเดียวกันการสร้างซอฟต์แวร์ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกก็สำคัญ โคแมนชี่จึงต้องทำมาตรฐาน CMMI (Capability Maturity Model Integration) ซึ่งเป็นเหมือน ISO ในวงการซอฟต์แวร์ จากสถาบันวิจัยซอฟต์แวร์ระดับโลก เพื่อยืนยันว่าโคแมนชี่สามารถผลิตซอฟต์แวร์ที่ดีมีมาตรฐาน โดยโคแมนชี่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตซอฟต์แวร์ระดับ 3 และมาตรฐานการให้บริการด้านซอฟต์แวร์ ระดับ 3 มาทั้งคู่ แม้จะต้องลงทุนเกือบ 2 ล้านบาท แต่ก็ยังมีโครงการสนับสนุนจากซอฟต์แวร์ปาร์คมาประมาณ 800,000 บาท

สมบูรณ์ให้ความเห็นว่า “โครงการนี้ห้ามยกเลิก คุณต้องช่วยให้คนไทยได้อย่างนี้เยอะๆ ได้มาตรฐาน แล้วจะดีเอง ผมไปเมืองนอก เขาถามคุณมีหรือเปล่า ผมมี คุณอยู่ตลาดหลักทรัพย์หรือเปล่า ผมอยู่ แล้วใครจะมาแข่งกับเรา”

การรุกตลาดต่างประเทศของโคแมนชี่จึงสามารถขยายไปได้อย่างเป็นขั้นตอน โดยวิธีเลือกตลาดที่จะรุกเข้าไปสร้างดีลเลอร์ในแต่ละประเทศ สมบูรณ์ใช้เกณฑ์ประกอบด้วย ต้องเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว และผู้ผลิตซอฟต์แวร์ภายในประเทศนั้นยังไม่แข็งแรง เพราะหากไม่ศึกษาตลาดให้ดีการรุกไปในตลาดที่มีการแข่งขันสูงจะทำให้เสียเวลาและทรัพยากร

ความมั่งคั่งจากสมอง

เป้าหมายหนึ่งของการทำธุรกิจคือสร้างความมั่งคั่ง บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ เช่นโคแมนชี่ก็เช่นกัน ด้วยความสามารถ การมองเห็นตลาดและโอกาส การวางกลยุทธ์ที่เหมาะสม ส่งผลให้ซอฟต์แวร์โรงแรมของบริษัทสร้างรายได้ให้กับสมบูรณ์มาอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ยังมีความท้าทายอื่นๆ เช่นการตอบสนองความฝันของผู้ประกอบการ สเตจ 3 สำหรับโคแมนชี่สมบูรณ์จึงมองไปที่การทำซอฟต์แวร์ท่องเที่ยวครบวงจร โดยมีสิ่งที่จุดประกายคือการมานั่งคิดถึงความมั่งคั่งของประเทศไทยคืออะไร ซึ่งคำตอบที่เขาได้คือ การท่องเที่ยว เรามีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม การทำการตลาดที่ยอดเยี่ยมของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และผู้ให้บริการงานบริการที่หาคู่แข่งได้ยาก

“ผมก็มอง ซอฟต์แวร์โรงแรมทำไมเราทำได้ดีกว่าเขา เพราะความต้องการของคนที่ทำงานด้านโรงแรมต้องการอะไรแปลกๆ ดีๆ ที่ช่วยให้เขาบริหารงานได้ดีขึ้น จะได้ทำงานเร็วขึ้น บริการดีขึ้น การท่องเที่ยวประเทศไทยมาตรฐานความต้องการสูง ผมก็ต้องทำโพรดักต์ให้สูงตามอัตโนมัติ ผมก็คิดว่าถ้าใครจะทำซอฟต์แวร์การท่องเที่ยวทั้งหมดในประเทศไทยได้ก็น่าจะเป็นเรานะ การท่องเที่ยวไม่ได้มีแค่โรงแรม ถ้าเรานึกตัวเราเองเป็นนักท่องเที่ยวต้องการอะไรบ้าง จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม เช่ารถ สปา ตีกอล์ฟ เที่ยวผับบาร์ กินอาหารร้านหรู ซื้อของกลับบ้าน และทุกขนาดน่าจะมีระบบรองรับ ก็คิดว่าทำไมเราไม่มีให้ครบเลย ถ้ารวมหมดได้จริงๆ คุณจะสร้างผลิตภัณฑ์มาต่อยอดได้อีกมากมาย เหมือนรวมขุนพลไว้เยอะๆ จะต่อยอดอะไรก็ง่ายและการต่อเข้ามาจะสามารถสร้างรายได้มหาศาลโดยไม่รู้ตัวก็ได้”

การจะทำงานใหญ่เช่นนี้สมบูรณ์มองว่า จะใช้รูปแบบเดิมๆ ที่เคยทำมาเมื่อแรกตั้งโคแมนชี่โดยค่อยๆ ทำไปทีละเรื่อง อาจจะต้องใช้เวลานาน จึงต้องปรับแนวคิดเป็นการหาพาร์ตเนอร์ที่มีผลิตภัณฑ์ที่เข้ากับแผนงานที่วางไว้ ด้วยการควบรวม ร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการรายอื่น

ตลาดทุนเป็นทางออกที่สมบูรณ์มองเห็น เขาตัดสินใจนำบริษัทโคแมนชี่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเขาบอกว่านี่คือ wealth ของจริงที่เกิดขึ้น จากบริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 67 ล้านบาทเมื่อเข้าสู่ตลาดแล้วมูลค่าบริษัทกลายเป็น 1,045 ล้านบาท

มูลค่าที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงนำทุนที่ระดมมาทำความฝันของบริษัทให้ก้าวสู่ความเป็นจริง แต่ยังสร้างความมั่งคั่งให้กับเจ้าของบริษัทคือสมบูรณ์ที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็นระดับร้อยล้านจากการนำหุ้นเข้าตลาด 

“wealth ผมยังอยู่ในนั้น 750 ล้านผมว่านี่คือ wealth ตัวจริง คุณทำได้ไหมถ้าไม่เข้าตลาดทุน สตาร์ตอัปก็ยังทำไม่ได้ เขาต้องรอให้ใครมาซื้อไปเรื่อยๆ”

สมบูรณ์เห็นความมั่งคั่งที่เขาได้มาแล้วมองต่อไปว่า อยากจะให้ตลาดหลักทรัพย์เป็นแหล่งระดมทุนเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย ให้สมกับยุคไทยแลนด์ 4.0 เพราะการสร้างนวัตกรรมจำเป็นต้องใช้ทุนจำนวนมาก และบริษัทซอฟต์แวร์ก็นับเป็นหนึ่งในบริษัทนวัตกรรมเช่นเดียวกัน เขาจึงอยากใช้เรื่องราวของเขานำมาเป็นกรณีตัวอย่างให้กับพี่น้องในวงการซอฟต์แวร์ไทยให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ต่อไป

Startup SME for IPO
อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างกำไรได้สูง เนื่องจากต้นทุนการคิดค้นจะหนักในช่วงต้น แต่ในเวลาขายยิ่งขายได้มากก็เท่ากับต้นทุนในการผลิตจะลดลง ต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่จะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นตามจำนวนสินค้าที่ผลิตขึ้นมา รายได้จากการขายซอฟต์แวร์จึงเป็นอีกหนึ่งรายได้ที่น่าสนใจสำหรับเศรษฐกิจประเทศไทย

สมบูรณ์ยกตัวอย่างโคแมนชี่ที่คิดจะสร้างซอฟต์แวร์ที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และในประเทศไทยยังมีบริษัทซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่มีความสามารถโดยหากเลือกตลาดอุตสาหกรรมที่จะทำซอฟต์แวร์เพื่อตอบสนองได้อย่างถูกต้องโอกาสในการแข่งขันระดับสากลก็ยังมีอยู่

สมบูรณ์เล่าว่า “คนอื่นเขาอาจจะคิด อย่างเกษตร โลจิสติกส์ แล้วถ้ามีสัก 10 บริษัทใน 3 ปี เรากำลังพูดถึงมาร์เก็ตแคป 10,000-20,000 ล้าน นี่คือเป้าหมายใหญ่ต่อไป ก็จะมีโครงการขึ้นมาโครงการหนึ่ง เป็นโครงการส่วนตัว ว่าจะทำอย่างไรให้ไอทีไทยที่เป็นซอฟต์แวร์พันธุ์แท้ ที่มี IP (intellectual property) ของตัวเอง เข้าตลาดให้เยอะๆ เพื่อวันหนึ่งเราจะกลายเป็น IP Hub ของเอเชียก็ได้ ผมอยากให้เพื่อนซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเจริญเติบโตด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์

ผมเรียกโพรเจ็กต์ว่า Startup SMEs for IPO จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เป็นกลุ่มอาสาสมัครไม่มีใครเป็นเจ้าของ จะมีผมเป็น moderator ตรงกลาง ผมไปเชิญที่ปรึกษาทางการเงินที่สนใจมา มาฟรีนะไม่ได้เงิน จะมีนักกฎหมาย ผู้ตรวจสอบภายใน ภายนอก และคนจากตลาดซึ่งน่าจะเป็น mai คนจากซอฟต์แวร์ปาร์คหรือซิป้า ซึ่งทุกฝ่ายตอบรับมาหมดแล้ว หากบริษัทฯ ที่สนใจเป็นสตาร์ตอัปก็ได้อาจจะใช้เวลาหลายปีหน่อย หรือถ้าเป็นเอสเอ็มอี 3 ปีก็เข้าได้แล้ว ก็ต้องมีการสรรหากัน เจ้าภาพอาจจะเป็นซอฟต์แวร์ปาร์คหรือซิป้า คัดคนมา คณะทำงานตรงนี้ก็เข้ามาดูบิสเนสโมเดล ที่น่าสนใจจะเป็นดาวรุ่งเข้าตลาดได้จริงก็แยกไปอีกกองหนึ่ง มีโปรแกรมให้ความรู้ ซีซัน 2 ก็อีกสัก 2 เดือนต่อไป เราเตรียมเขาไปเรื่อยๆ พอเขาจะเข้าจริงๆ เขาก็ต้องจ้างตัวจริงแล้ว จะจ้างคนที่อยู่ในนี้หรือจ้างคนอื่นก็แล้วแต่ พอถึงตรงนั้นก็หมดหน้าที่แล้ว ผมก็ทำไปเรื่อยๆ ผมมั่นใจว่า 3 ปีผมทำได้ 10 บริษัท”

สมบูรณ์มองว่าการนำบริษัทซอฟต์แวร์เข้าตลาดหลักทรัพย์ เป็นการช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ ช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยเขายกตัวอย่างตัวเองในสมัยที่ยังต้องแข่งกับซอฟต์แวร์ต่างประเทศโดยไม่มีอะไรการันตีซึ่งมีความยากลำบากมาก ขณะที่ปัจจุบันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดช่วยสร้างจุดขายเรื่องความเชื่อมั่นในองค์กรให้ทั้งภายในและภายนอก

“คุณขาดอะไรล่ะ แรงบันดาลใจ ผมเข้าไป (ตลาดหลักทรัพย์) ผมเปลี่ยนโฉมมหาศาลเลยนะ คนก็มอง บริษัทธรรมดาเข้าได้นี่ ผมก็บอกว่าคุณรู้ไหมเข้าไปแล้วดีแค่ไหน ผมก็ร่ายจะเป็นอย่างนี้ เงินเอามาทำอย่างนี้ได้ ส่วนมากตาลุกหมดเลย จะทำอย่างไร ลงทุนเอามาอย่างไร เจอผู้ตรวจสอบภายในภายนอกขนาดไหน ต้องใช้เงินก่อนเข้าตลาดเท่าไร เป็นสิบล้านนะครับ ความยุ่งยากในการเตรียมตัว ไม่มีใครบอก 360° ได้ ผมเป็นคนต้นๆ ที่รอดเข้าไปได้ ผมก็น่าจะเหมาะที่สุดที่จะเอาเรื่องพวกนี้มาเล่ามาชักจูงมาเสาะหา เพื่อให้มีคนสนใจเข้าตลาด” สมบูรณ์เล่าถึงการไปแบ่งปันเรื่องราวการสร้างความมั่งคั่งให้กับสมาชิกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (TSEP) ฟังเป็นกลุ่มแรกๆ

วันนี้โคแมนชี่ จึงเป็นตัวอย่างของคนไทยที่ใช้มันสมองของตนเอง ผสมกับทักษะความรู้ การมองโอกาสและการวางกลยุทธ์ สร้างธุรกิจบนพื้นฐานความสร้างสรรค์ และสร้างความมั่งคั่งไปพร้อมกัน

เรื่อง : วีระพงษ์ เจตน์พิพัฒนพงษ์  
ภาพ : ฐิติวุฒิ บางขาม

MBA เปรียบเสมือนพาสปอร์ตสู่ความสำเร็จทางธุรกิจในอนาคต หากยังไม่แน่ใจว่าอยากเรียน MBA หรือไม่ ลองเปิดโอกาสให้กับตัวเอง เข้าร่วมงาน The MBA Tour 2017 ในวันเสาร์ที่ 16 กันยายนนี้ โรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพ สุขุมวิท ในงานนี้คุณจะได้พบกับคณะตัวแทนรับสมัครจากสถาบันธุรกิจชั้นนำ ที่จะสามารถให้คำแนะนำดีๆ ที่ช่วยให้เราเข้าใจหลักสูตร MBA มากยิ่งขึ้น และจะช่วยให้คุณได้ทราบรายละเอียดต่างๆ รวมไปถึงข้อมูลของหลักสูตร โอกาสต่างๆระหว่างการเรียน รวมไปถึงโอกาสหลังการจบการศึกษาและนอกจากนี้ยังช่วยให้คุณได้เปิดโอกาสในการได้ติดต่อกับสถาบันที่คุณสนใจ แบบใกล้ชิด ทำให้คุณตัดสินใจได้ง่าย เพื่ออนาคตของคุณ

 

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ http://bit.ly/TMT-MBAmagazine

รายชื่อสถาบันธุรกิจที่เข้าร่วมงาน

  1. Arizona State University
  2. Asia School of Business
  3. Bentley University
  4. Boston University
  5. Central Queensland University
  6. Cheung Kong Graduate School of Business
  7. College of William & Mary
  8. Columbia University
  9. ESSEC Business School
  10. GLOBIS University
  11. Hong Kong University of Science and Technology
  12. Hult International Business School
  13. IE Business School
  14. Johns Hopkins University
  15. London Business School
  16. National University of Singapore
  17. Portland State University
  18. University of British Columbia
  19. University of California, Los Angeles
  20. University of Michigan
  21. University of Missouri-Kansas City
  22. University of Texas at Austin
  23. Washington University in St. Louis
  24. Yonsei University
  25. York University - Schulich School of Business

 

ทำไมถึงต้องเรียน MBA ?

  • เงินเดือนสูงขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วเงินเดือนสำหรับผู้จบ MBA นั้นสูงกว่าพนักงานที่จบวุฒิการศึกษาปริญญาโทปกติ โดยเฉพาะหากทำงานสายการเงิน หรือด้านการให้คำปรึกษา นับว่าเป็นงานที่ได้ค่าตอบแทนสูง  อย่างไรก็ตามงานด้านอื่นๆ ก็มีสัดส่วนเงินเดือนที่สูงเช่นกัน ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์ สายงาน และบริษัท
  • โอกาสเลือกงานที่ดีกว่า คนส่วนใหญ่เลือก เรียน MBA  เนื่องจากด้วยคุณสมบัติ โอกาสการได้รับบรรจุเข้าตำแหน่งงานด้านการบริหารจัดการในระดับสูงก็มีมากขึ้น  มีการประเมินว่า 70% ของผู้ที่จบ MBA ทั่วโลก มีตำแหน่งงานเป็น Senior Manager หรือ board directors  ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อตำแหน่งสูงขึ้น นั่นก็หมายความว่าคุณก็จะมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่สูงขึ้น และอาจมีจำนวนชั่วโมงทำงานที่ยาวนานกว่าตำแหน่งงานทั่วไป
  • มีเครือข่ายธุรกิจที่ดี การที่คุณเป็นนักศึกษา MBA นับเป็นโอกาสหนึ่งในการที่คุณจะมีเครือข่ายที่ดี เพราะได้มีปฏิสัมพันธ์ที่เน้นความสามารถในการจัดการในวงกว้างร่วมกับศาสตราจารย์ ผู้สอน (ผู้ซึ่งเคยเป็นหรือปัจจุบันเป็นผู้ที่ช่ำชองในโลกธุรกิจที่มากด้วยประสบการณ์)
  • ปรับทัศนคติในองค์รวมต่อโลกธุรกิจ อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการเรียน MBA จะทำให้คุณกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายระดับ professional รวมไปถึงบริษัท ซึ่งคุณจะได้สร้างความท้าทายใหม่ๆ ให้ตัวเองผสมผสานกับทักษะการแก้ปัญหาใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้จะสร้างมุมมองทางโลกธุรกิจที่ดีเยี่ยมให้แก่คุณ ซึ่งมุมมองและความไวต่อการรับรู้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนได้โดยปราศจากการใช้ระยะเวลาบ่มเพาะอันยาวนาน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่จัดอยู่ในประเภทสามารถรับความท้าทายใหม่ๆ ในตำแหน่งผู้นำ มีความรับผิดชอบมากมาย และชอบเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

ประโยชน์ของการเข้าร่วมงาน

  • มีความหลากหลายในทางเลือก ในงานนี้ คุณจะได้พบกับตัวแทนจากสถาบันธุรกิจชั้นนำมากมาย ได้เรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอน การสอบเข้า ขั้นตอนการสมัครเรียนค่าเล่าเรียน และโอกาสในการได้รับทุนการศึกษา ด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนนี้คุณจึงสามารถเลือกสถาบันและโปรแกรมที่เหมาะสมกับคุณได้ง่ายขึ้น
  • โอกาสในการปรับเปลี่ยนใบสมัครของคุณ ในการเตรียมใบสมัคร สำหรับหลักสูตร MBA นั้นไม่ง่ายเลย จดหมายแนะนําตัวและ Statement of Purpose คุณควรเตรียมตัวให้ดีเพื่อเพิ่มโอกาสในการในการตอบรับเข้าเรียนในสถาบันที่ต้องการ โดยในงานนี้ ตัวแทนของสถาบันจะให้คำปรึกษาที่จะทำให้ใบสมัครของคุณนั้นโดดเด่นและเข้าตากรรมการ
  • กำหนดการส่งใบสมัคร การส่งใบสมัครล่าช้านั้นสามารถทำลายความพยายามทั้งหมดของคุณที่มีก่อนหน้านี้ได้ การเข้าร่วมงานนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับกำหนดการเตรียมความพร้อมของคุณ เช่นเวลาที่จะทำการทดสอบภาษาอังกฤษหรือทดสอบ GMAT ฯลฯ
  • วีซ่า วีซ่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากหลังจากการได้รับการตอบรับเข้าเรียน หากคุณทำวีซ่าไม่ผ่าน คุณจะไม่สามารถเริ่มเรียนตามโปรแกรมได้ทันเวลา วิทยากรของเราที่ The MBA Tour จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการทำให้ผ่านการสัมภาษณ์วีซ่า

ติดตามข่าวสารจากเราได้ที่ Envision MBA Thailand อัพเดทข่าวสารกิจกรรมการศึกษา Education Event /  Event Information Session ( https://www.facebook.com/EnvisionMBA.Thailand/ )

บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นำโดยนายนพพร บุญลาโภ กรรมการผู้จัดการใหญ่ จัดงาน TIPlife เติมพลังใจให้น้องครั้งที่ 3  “พาน้องดูหนังแอนิเมชั่นเรื่อง Cars 3”  โดยเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนยากไร้ในถิ่นทุรกันดารจังหวัดลพบุรีจำนวนกว่า 250 คน ซึ่งอยู่ในความดูแลของมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีโอกาสร่วมชมภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดนิยมเรื่อง Cars 3 โดยมี ดร กรรณชฎา พิริยะรังสรรค์ ผู้อำนวยมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. และคณะผู้บริหารจากบริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมชมด้วย  เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2560  ณ โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 9

ซึ่งเด็กๆ กว่า 250 คน ที่มาจากโรงเรียนอนุบาลพระเพนียด, โรงเรียนบ้านเขาแหลม, โรงเรียนบ้านท่งตาแก้ว จังหวัดลพบุรี ต่างก็ดีใจและตื่นเต้นเป็นอย่างมากกับการชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เป็นครั้งแรก พร้อมกันนี้ทางบริษัทฯ ยังได้จัดเตรียมกระเป๋า อุปกรณ์การเรียน กระปุกออมสิน พร้อมทั้งทุนอาหารกลางวัน ตลอดจนถึงป๊อบคอน และน้ำดื่ม ไว้ให้น้องๆ อย่างเต็มที่

นายนพพร กล่าว“ในปัจจุบันโครงสร้างทางสังคมไทยยังคงมีช่องว่างและความเหลื่อมล้ำอยู่มาก เราในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจประกันชีวิต จึงมีความต้องการให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของบริษัทฯ จะให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลือสังคมในทุกมิติ โดยไม่เจาะจงหรือแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา อย่างงาน“TIPlife เติมพลังใจให้น้องก็เป็นโครงการช่วยเหลือสังคมที่บริษัทได้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริม สนับสนุนเด็กและเยาวชน  เพราะเราเห็นความสำคัญของเด็กในวันนี้ ต่อการขับเคลื่อนอนาคตของชาติ หากเราไม่สนับสนุน ไม่มอบโอกาสที่ดี หรือไม่ใส่ใจในเสียงเล็กๆ ของเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้  ผมเชื่อว่าพวกเราไม่เพียงแค่ละเลยฟันเฟืองสำคัญของสังคม แต่ยังอาจจะเป็นผู้ส่งเสริมให้เกิดปัญหากลับสู่สังคมอย่างไม่ตั้งใจ

การที่ทิพยประกันชีวิต ได้จัดฉายภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Cars 3 ให้เด็กๆ ด้อยโอกาสได้ชม ก็เพื่อเป็นการช่วยเปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้ เติมเต็มประสบการณ์นอกห้องเรียน สร้างสรรค์พัฒนาการ สร้างแรงบันดาลใจ พร้อมมอบความสุข รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ เป็นการเติมพลังใจให้น้องๆ และยังมีอีกนัยสำคัญคือเราต้องการบอกว่าเราเห็นคุณค่าในตัวพวกเขา  ผมหวังว่าเด็กๆ เหล่านี้จะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีตัวตน เห็นคุณค่าในตนเอง หากพวกเราที่ยังมีกำลัง ช่วยกันส่งเสริมก็จะเป็นการสนับสนุนให้เด็กๆ เหล่านี้ได้เติบโตขึ้นเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคม ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าน้องๆ ที่ได้มีโอกาสมาชมภาพยนตร์ในวันนี้ จะมีความสุข มีกำลังใจที่จะประพฤติตนเป็นเด็กดี และเมื่อมีโอกาสที่ดีในอนาคตก็หวังว่าเด็กเหล่านี้จะมอบโอกาสให้แก่ผู้อื่นต่อไปครับ”

ซึ่งกิจกรรม TIPlife เติมพลังใจให้น้อง  มีแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ในการสนับสนุนเด็กยากไร้ทั่วประเทศให้ได้รับโอกาสหลากหลายด้าน เพื่อความเป็นอยู่อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ในการสร้างสรรค์สังคมไทยให้มีความเข้มแข็งและก้าวหน้าไปอย่างยั่งยืน

“Advertising is only evil when it advertises evil things.” David Ogilvy

คริส หอวัง ดาราสาวผู้มากด้วยความสามารถและสติปัญญา ได้ให้สัมภาษณ์ไว้กับคุณวีระพงษ์ เจตน์พิพัฒนพงษ์ เพื่อตีพิมพ์ใน MBA ฉบับนี้อย่างน่าฟังว่า “โพรดักท์ของตัวคริสก็คือคริส ก็คงไม่ได้เหมือนน้ำเปล่าที่จะขายได้ตลอดปี...(...)...

จริงๆ ทุกคนต้องรู้อยู่แล้ว อาชีพนี้มีขึ้นมีลง ช่วงหนึ่งฮิตชาเขียว อีกช่วงก็ไม่ฮิตแล้ว ก็เป็นโพรดักท์หนึ่ง การรักษาโพรดักท์ให้นานที่สุดก็ไม่มีใครรู้ เพราะถ้ามีคนรู้ป่านนี้ดาราคงเต็มเมืองไปแล้ว คริสก็คิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรให้อยู่นานๆ ....” 

ฟังจากน้ำเสียงแล้ว นอกจากดูเหมือนเธอจะ “เข้าถึง” แก่นแท้ของการตลาดชั้นสูงแล้ว เธอยังไม่เสแสร้ง และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนในทีอีกด้วย คุณสมบัติอันหลังนี้แหละที่จะช่วยให้เธออยู่ได้นานในสัมคมแบบไทยๆ
 

 
เธอเป็นตัวอย่างของคนที่ “รู้ว่าตัวเองเป็นใคร” และ “มาทำอะไรที่นี่”
 
ความรู้เท่าทันตัวเองถือเป็น Key Success Facfor ของการตลาดแบบ Transformation Marketing ที่สินค้าและบริการคือ “ตัวเราเอง”
 
ดารา นักแสดง นักการเมือง ศิลปิน พิธีกร นักพูดนักบรรยาย ผู้นำม็อบ ฯลฯ ตลอดจนอาชีพที่ต้องอาศัย “ชื่อเสียง” และ “ภาพลักษณ์ในใจคน” หนุนช่วยหรือเกื้อกูลกับกระบวนการประกอบอาชีพ ย่อมต้องใช้การตลาดแบบนี้เป็นเครื่องมือบ้างไม่มากก็น้อย
 
ท่านเหล่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ย่อมต้องรู้จักและเชี่ยวชาญในการสร้างและรักษาแบรนด์ตัวเอง รู้จักวางตำแหน่งในใจคนอย่างเหมาะสม ว่าอยากให้ผู้คนและแฟนๆ มองหรือรู้สึกกับตัวเองอย่างไร รู้จักใช้สื่อหรือ Social Network ให้เป็นประโยชน์ และรู้จักตรวจสอบตำแหน่ง (ในใจคน) ของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ว่าคลาดเคลื่อนไปอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป เพราะ Product Life Cycle ย่อมมีอิทธิพลอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
 
คือนอกจากจะต้องรู้จัก “เอาใจเราไปอยู่ในใจเขา” แล้ว ยังต้อง “เอาใจเขามาใส่ในใจเรา” ด้วย เราถึงจะเห็นจุดอ่อนจุดแข็ง และข้อบกพร่องของเราได้ทะลุปรุโปร่งบนจุดยืนของแฟนๆ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า “Put yourself in a customer’s shoes”
 
 
 
Brand You to Power
ระยะหลังมานี้ เราจะเห็นนักการเมืองรุ่นใหม่ใช้การตลาดแนวนี้อย่างเปิดเผย คึกคัก ทะมัดทะแมง และบางทีก็โจ๋งครึ่มมากขึ้น
 
จะให้ดีก็ต้องมีหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊กบอกเล่าเรื่องราวแต่วัยเด็ก เสร็จแล้วก็มีหน้าเว็บเป็นของตัวเอง แล้วแตกลูกออกเป็น Facebook และ Twitter หลายๆ Account ที่ครอบคลุมทั้ง Account ส่วนตัวและหน้าม้า แต่ก็โพสต์โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านอินเทอร์เน็ตและ Social Media โดยเฉพาะ
 
ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมากคือของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (http://www.facebook.com/search/?q=&init=quick&sid=0.16768380571152902#!/pages/I-Support-PM-Abhisit/113378595341758?ref=ts)  และของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรณ์ จาติกวณิช (http://www.facebook.com/#!/pages/Korn-Chatikavanij/71254499739?v=wall&ref=ts)
 
หรืออย่างในกลุ่ม ส.ส. ประชาธิปัตย์หัวก้าวหน้าทั้งหลาย เช่นสรรเสริญ สะมะลาภา (http://www.facebook.com/search/?q=&init=quick&sid=0.16768380571152902#!/profile.php?id=100000203040961&ref=ts) และอภิรักษ์ โกษะโยธิน (http://www.facebook.com/search/?q=&init=quick&sid=0.16768380571152902#!/apiraksupporters?ref=ts) ก็ทำได้ไม่เลวเลย
 
เทรนด์แบบนี้กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ไล่มาตั้งแต่ทีมงานโอบามาของอเมริกา และคาเมรอนในอังกฤษ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ทำให้นักการเมืองรุ่นใหม่ทั่วโลกเอาอย่างมาใช้ในประเทศตน
 
  
ทั้งนี้เพราะคนรุ่นใหม่ที่ถือเป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการทางการเมือง หรือพูดภาษาราชการว่า “ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง” นั้น ยอมรับการใช้หลักการตลาดกับการเมืองมากขึ้น ไม่เหมือนกับคนรุ่นก่อนที่ออกจะเหยียดๆ นักการเมืองที่ใช้การตลาดนำอย่างโจ่งแจ้ง
 
ขนาดเดวิด โอกิลวี่ เจ้าพ่อโฆษณาผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ก่อตั้งบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่ของโลกตามชื่อตัวเอง ยังรังเกียจการใช้กลยุทธ์การตลาดกับการเมืองหรือการหาเสียงเลือกตั้ง
 
เขาเคยกล่าวไว้อย่างครึกโครมว่า “โฆษณาทางการเมืองทั้งหลายแหล่ควรจะเลิกได้แล้ว มันเป็นการโฆษณาที่หลอกลวงเพียงอย่างเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ ณ บัดนี้ มันหลอกลวงอย่างมาก” (“Political advertising ought to be stopped. It’s the only really dishonest kind of advertising that’s left. It’s totally dishonest.”)
 
อย่างว่าละ ยุคนี้ไม่ใช่ยุคของโอกิลวี่ แต่เป็นยุคของการสร้างแบรนด์ และเป็นยุคของการตลาด การค้าขาย อะไรๆ ก็เป็นการ “เซ็งลี้” ไปหมด
 
 
หลังจากทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายเมื่อสิบปีก่อน จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นนักการเมือง ทำตัวเองเป็นสินค้าให้คนเลือกหยิบ
 
โดยบ้างก็วางตัวเองเป็นสินค้าขึ้นหิ้ง บ้างก็เป็นสินค้าอินเตอร์ แต่ก็มีบ้างที่เป็นแบกะดิน
 
บางคนที่ใช้การตลาดไม่เก่ง ก็ต้องอาศัยพรรคที่ตัวเองสังกัดเป็น Umbrella Brand คอยคุ้มกะลาหัว เวลาหาเสียง ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน” บ้างละ “ปรองดอง” บ้างละ หรือไม่ก็ “กรุงเทพฯ ทราบแล้วเปลี่ยน” บ้างละ
 
ทว่า กลยุทธ์การแฝงตัวเองภายใต้แบรนด์พรรคโดยไม่มียุทธศาสตร์ Trans-formation Marketing ที่เป็นส่วนตัว ย่อมมีความเสี่ยงมาก เพราะการสร้าง Umbrella Brand เป็นเรื่องยาก ต้องอาศัยกระแสที่แรงจริงๆ และต้องทุ่มเททรัพยากร รวมทั้งเงินทองมากมายมหาศาล
 
จะอาศัยวิธีแทรกซึมนอกแบบหรือ Guerrilla Marketing อย่างที่ครั้งหนึ่ง พลตรีจำลอง ศรีเมือง เคยใช้สำเร็จมาแล้วกับพรรคพลังธรรมในยุคต้น ย่อมต้องเป็นกรณีพิเศษจริงๆ เพราะถ้าไม่เรียกว่าฟลุ๊ค ก็ต้องบอกว่าโชคดีจริงๆ
 
 
 
ความพ่ายแพ้ของพรรคการเมืองใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพฯ และสมาชิกสภาพเขตฯ ที่ผ่านมา ได้ตอกย้ำให้เห็นความยากเย็นแสนเข็ญอันนั้น
 
ถึงแม้ว่าผู้บริหารพรรคฯ จะออกมาวิเคราะห์ความพ่ายแพ้ของตนเองว่ามันเนื่องมาแต่การจัดตั้งหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่เมื่อมองในเชิง Marketing แล้ว ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ มันช่วยตอกย้ำหลักการทางการตลาดว่ายังคงใช้ได้ดี
 
สำหรับการเลือกตั้งทั่วประเทศครั้งหน้า แม้เราจะเห็นว่านโยบายหลายข้อของพรรคการเมืองใหม่เป็นประโยชน์และมีลักษณะมองการณ์ไกล อีกทั้งอุดมการณ์ของพรรคการเมืองนี้จะน่านับถือและน่าให้ความสนับสนุน แต่ถ้าขาดกลยุทธ์และการประยุกต์ใช้ Trans-formation Marketing ทั้งในระดับพรรคและในระดับผู้สมัคร อย่างเข้มข้น ในดีกรีที่ไม่น้อยไปกว่าพรรคการเมืองคู่แข่ง เพื่อสร้าง Competitive Advantage ในเชิงชื่อเสียง แบรนด์ และภาพลักษณ์ในใจคน ทว่าก็ต้องสมกับฐานะและภาพลักษณ์ซึ่งอยากให้ผุดขึ้นในใจคน
 
มิฉะนั้น มันจะเป็นการน่าเสียดายและเสี่ยง เพราะพวกเขาอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเพียงพอ จะไปเป็นตัวแปรอันมีน้ำหนักซึ่งสามารถชี้นำการเมืองใหม่ และขจัดความเลวร้ายของการเมืองเก่าอย่างที่หวังไว้
 
 
Brand You, Not Real You
 
แต่เนื่องจาก MBA ฉบับที่ท่านกำลังถืออยู่นี้ เป็นฉบับที่พวกเรา “จัดให้” กับบรรดาผู้ประกอบการน้อยใหญ่ทั้งหลายในเมืองไทย ตามสำนวนพาดหัวบนปกอันเก๋ไก๋ว่า “Devoted to Entrepreneurs”
 
เซ็กชั่น Marketing ของเราก็ขอสนองนโยบายของบรรณาธิการ ด้วยการ “จัดให้” ด้วยคน
 
ถือเป็นการทิ้งทวนทางปัญญาในสไตล์ของเรา
 
เพราะระยะหลังเราเห็นการ Extend ขยายขอบข่ายของ Transformation Mar-keting ไปสู่กิจการของบรรดา SMEsอย่างได้ผล
 
ผู้ประกอบการหลายคนอาศัยตัวเองและเรื่องราวของตัวเอง สร้างชื่อให้กับกิจการค้าของตน หรือที่ตนกุมบังเหียนอยู่ ตลอดจนสร้างฐานลูกค้าและผู้สนับสนุนสินค้าและบริการของตัวเองอย่างกว้างขวาง
 
ตัน ภาสกรนที และ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นและเราคิดออกทันที
 
พวกเขาเป็นนักการตลาดที่เก่ง พวกเขาสร้างเครือข่ายลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าในอนาคตอย่างกว้างขวาง ด้วยการใช้ตัวเองและเรื่องราวของตัวเองเป็นท้องเรื่อง และเป็นแบรนด์พร้อมไปในเวลาเดียวกัน
 
พวกเขารู้จักบริหารชื่อเสียงของตัวเอง มีจังหวะจะโคนที่ดี รู้จักเล่นกับสื่อ รู้จักใช้กลยุทธ์ Free PR และให้ความสำคัญกับการบอกต่อแบบ “ปากต่อปาก” หรือที่เรียกในภาษามาร์เก็ตติ้งว่า Buzz!
 
โดยผลตอบแทนที่พวกเขาได้รับก็คุ้มค่า
 
ทั้งคู่กลายเป็นเศรษฐี และธุรกิจที่พวกเขาสร้างก็ดำเนินไปได้ด้วยดี
 
นับเป็นความสำเร็จที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรเอาเยี่ยง กลยุทธ์และวิถีการตลาดแบบนี้ เหมาะกับ SMEs ในฐานะที่มีทรัพยากรน้อย จะหยิบฉวยอะไรก็ยาก จึงต้องอาศัยความเชื่อ และความน่าเชื่อถือของตัวเองเป็นต้นทุน
 
คีย์สำคัญของวิถีการตลาดแนวนี้คือการวางตำแหน่งในใจคนและการสร้างตัวเองเป็นแบรนด์ ซึ่งต้องอาศัย “Stories” และ “การเล่าเรื่อง” ที่ “ใช่” “แนบเนียน” และ “มีศิลปะ” หรือบางทีก็อาจเข้าขั้น “ดราม่า” และ “sensational” (สำหรับบางคน) แต่ที่สำคัญคือต้องไม่ “หลอกลวง” และเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะหน้า
 
ในต่างประเทศ ผู้ประกอบการที่เดินสายนี้และประสบความสำเร็จจนเติบใหญ่เป็นมหาเศรษฐีระดับโลกมีมากมาย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็มี Warren Buffet และ Steve Jobs หรือ Bill Gates หรือ Donald Trump หรือ Oprah Winfrey หรือ Martha Stewart เป็นอาทิ
 
แน่นอนว่าการเดินไปบนหนทางสายนี้ ย่อมมีคนหมั่นไส้ มีศัตรู มีคนไม่ชอบหน้า (พร้อมๆ กับมีแฟน มีสาวก มีคนชื่นชม) แต่เราก็ต้องไม่หวั่นไหว เพราะภาพลักษณ์ที่คนอื่นเห็นเรานั้น ย่อมไม่ใช่ตัวเราแท้ๆ เราเพียงเป็นสินค้าและบริการ ที่ย่อมต้องมีคนรัก ชอบ เกลียด กลัว หรือแม้แต่บูชา ขยะแขยง ฯลฯ เป็นธรรมดา
 
ก็บอกแล้วไงว่า Key Success Factor ของวิถีการตลาดเยี่ยงนี้คือความรู้เท่าทันตัวเอง คือต้องรู้ว่า “ตัวเราเป็นใคร” และ “มาทำอะไรที่นี่”
 
แต่อย่าเผลอไปยึดมั่นถือมั่นเสียเองละ!

แว่นตาเป็นส่วนหนึ่งของใบหน้าที่สามารถแสดงบุคลิกภาพของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี แว่นสายตาและแว่นตาดำนับเป็นผลิตภัณฑ์คู่กายที่เราๆ ท่านๆ ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งชิ้น หรือบางท่านอาจมีเป็นสิบๆ

Game Changing

August 11, 2017

อยากรู้ว่าทรัมป์จะหันเหโลกานุวัตรไปทางใด โดยจีนจะมีทางเลือกในการปรับตัวแบบไหน และจะกระทบตำแหน่งของไทยอย่างไรในรอบนี้ ต้องอ่าน!

หนังสืองามๆ เล่มใหม่ สดๆ ร้อนๆ Designed by Apple in California ที่ Apple เพิ่งนำออกจำหน่าย เพื่อให้บรรดาสาวกได้ซื้อหามาสะสม นับเป็นผลลัพธ์ของระบบ (ที่เรียกกันแบบคลุมๆ ว่า) Globalization ซึ่งเป็นตัวกำหนดเกมของโลกอยู่ในทุกวันนี้

หาก Donald J. Trump เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในกลางเดือนมกราคมที่กำลังจะถึงนี้ แล้วสามารถนำนโยบายที่เคยหาเสียงไว้มาปฏิบัติเป็นนโยบายรัฐบาลได้ตามนั้น โดยรัฐสภาสหรัฐฯ (Congress) ไม่คัดค้านหรือปรับเปลี่ยนแก้ไขในสาระสำคัญ แล้วละก็

ระบบ Globalization ที่กำลังเป็นอยู่เวลานี้ จะถูกปรับเปลี่ยนเสียใหม่ และ Players ทุกฝ่ายย่อมต้องได้รับผลกระทบ

ประเทศไทยเรา ก็เป็น Player หนึ่ง ที่แขวนผลประโยชน์ไว้กับระบบนี้ (อย่าลืมว่าเศรษฐกิจของเราพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก)

ถ้าระบบนี้เปลี่ยน ชะตาของเราย่อมเปลี่ยน

ดังนั้น ถ้าเรามองทะลุถึงการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะสามารถ Position ตัวเอง ให้อยู่ในจุดที่ไม่เสียประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น ก็ต้องสามารถเอาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงรอบนี้ ให้ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ทว่าก่อนอื่น เราต้องรู้ให้ได้เสียก่อนว่า ระบบมันจะเปลี่ยนหน้าเปลี่ยนตาไปเป็นแบบไหน และ Players สำคัญที่ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อชะตาของเราอย่างจีน จะมีทางเลือกในการปรับเปลี่ยนนโยบายของตัวเอง อย่างไรบ้าง

 

 

ผมจะลองฉายภาพการเปลี่ยนแปลงในอนาคตให้ท่านได้คิดตาม และในระหว่างนั้น ท่านก็จะรู้ได้เองว่า ไทยเราควรจะตั้งรับกับรอบนี้ยังไง

Globalization ที่ออกแบบโดยอเมริกัน แต่จีนได้ไปเต็มๆ

“This is a book with very few words.” Jonathan Ive ดีไซเนอร์ใหญ่ของ Apple เกริ่นไว้ในคำนำของหนังสือ Designed by Apple in California ของสะสมชิ้นล่าสุดที่ Apple พิมพ์ออกมาขายให้กับสาวกได้ซื้อเก็บกัน

หนังสืออันหนา 300 หน้าเล่มนี้ มีรูปผลิตภัณฑ์ของ Apple จำนวนมาก นับแต่ปี 1998 จนถึง 2015 แถมยังมีรูปของเครื่องไม้เครื่องมือสวยๆ เท่ๆ ที่ใช้ในการผลิตหรือออกแบบผลิตภัณฑ์เหล่านั้นอีกด้วย

แฟนๆ Apple ที่ได้มีโอกาสจับต้องเชยชมหนังสือเล่มนี้แล้ว คงเห็นตรงกันกับผมว่ามันเป็นงานซึ่งประณีตมาก ตั้งแต่รูปถ่าย ดีไซน์และจัดหน้าเลย์เอาท์ กระดาษที่ใช้พิมพ์ หน้าปกที่ผสมผสานด้วยวัสดุพิเศษ (ผ้าลินิน) ตลอดจนการจัดพิมพ์ และการเข้าเล่ม สมกับราคาที่ตั้งไว้ 199 เหรียญฯ สำหรับเล่มเล็ก และ 299 เหรียญฯ สำหรับเล่มใหญ่

ประเด็นสำคัญที่ผมอยากชี้ให้เห็น คือหนังสือเล่มนี้ สำเร็จมาได้ด้วยเครือข่ายการสร้างงานและสร้างความมั่งคั่ง (Wealth Creation Process) ในระดับโลก คือโครงสร้างของ Global Value Chain และ Global Supply Chainดังต่อไปนี้ :

1. Jonathan Ive นักออกแบบใหญ่ของ Apple และทีมงานฝ่ายออกแบบ ช่วยกันออกแบบรูปแบบของหนังสือแต่ละหน้า ตลอดจนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมด รวมถึงการเลือกใช้กระดาษ วัสดุ และพัฒนากระดาษและหมึกพิมพ์พิเศษสำหรับหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อให้รูปภาพในหนังสือสะท้อนความเป็นจริงของตัวผลิตภัณฑ์ได้อย่างใกล้เคียงที่สุด ทั้งในแง่ของสีสันและความเงางามของพื้นผิว

2. Andrew Zuckerman ช่างภาพฝีมือดีที่ร่วมงานกับ Steve Jobs และเป็นผู้ถ่ายรูปผลิตภัณฑ์ Apple มาช้านาน รับผิดชอบด้านรูปถ่ายทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ 

 

 

3. หนังสือเล่มนี้ พิมพ์ที่โรงพิมพ์ในประเทศจีน โดยกระบวนการพิมพ์ที่พวกเขาเรียกว่า “280 Line Screen Printing” และใช้หมึกพิมพ์ชนิดพิเศษซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ ที่พวกเขาเรียกว่า “Custom Low Ghost Epple Inks”

4. กระดาษพิเศษที่ใช้พิมพ์หนังสือเล่มนี้ ทีม Apple เป็นผู้พัฒนา Spec แต่ผลิตโดยผู้ผลิตกระดาษในประเทศเยอรมนี โดยพวกเขาเรียกชื่อกระดาษพิเศษล็อตนี้ว่า “Apple-Specific” Heaven 42 Paper

5. บริษัท James Cropper ซึ่งตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร (UK) เป็นผู้ร่วมวางแผนและพัฒนา (Contributor) สีพิเศษที่ใช้ในการพิมพ์ (“Color Plan, bespoke color.”

6. และสุดท้ายคือ ผ้าลินินที่ใช้สำหรับหุ้มปกหนังสือนั้น ผลิตโดย Bamberger Kaliko แห่งเยอรมนี โดยใช้กระบวนการย้อมพิเศษโดยเฉพาะ หรือ “bespoke dye” (ข้อมูลเชิงการผลิตที่ผมเรียบเรียง

มานี้ ผมอ้างอิงจากภาคผนวกหรือ Appendix ของหนังสือเล่มดังกล่าว)

โดยผมเองได้สั่งซื้อหนังสือเล่มนี้ (ตั้งแต่วันที่เปิดให้จอง) ผ่านเว็บไซต์ของ Apple Store ในเมือง Los Angelesแล้วจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตของ VISA (ซึ่งเป็นกิจการของสหรัฐฯ) โดยสั่งให้เขาส่งไปยังที่อยู่ของเพื่อนผมซึ่งอาศัยอยู่ที่นั่น (เพราะไม่มีบริการส่งนอกอเมริกา) เสร็จแล้วเพื่อนผมค่อยส่งผ่าน UPS (ซึ่งก็เป็นกิจการ Courier Service ของสหรัฐฯ เช่นกัน) มาให้ผมที่เมืองไทยอีกทอดหนึ่ง

สำหรับคนไทยทั่วไปซึ่งไม่มีที่อยู่ในสหรัฐฯ ให้จัดส่ง แต่อยากได้หนังสือเล่มนี้มาครอบครอง โดยไม่ต้องรอฟังว่า Apple Store เมืองไทยจะได้โควต้ามาจำหน่ายสักกี่เล่มนั้น ก็สามารถเข้าไปซื้อบนเว็บไซต์ eBay ได้ทันที (eBay เป็นกิจการของสหรัฐฯ) เพราะว่ามีคนหัวใสไปกว้านซื้อมาขายโก่งราคาอีกทอดหนึ่ง โดยท่านต้องจ่ายเงินผ่าน PayPal (ซึ่งก็เป็นกิจการในเครือของ eBay) และเลือกใช้สายส่งเป็น USPS (ไปรษณีย์สหรัฐฯ) หรือไม่ก็ UPS, FedEx (เป็นกิจการของสหรัฐฯ) หรือ DHL (เป็นกิจการในเครือของไปรษณีย์เยอรมันหรือ Deutsch Post)

เห็นหรือยังว่า เรื่องราวของหนังสือเพียงเล่มเดียวนี้ สะท้อนให้เห็นถึงหน้าตาของระบบ Globalization ที่กำลังเป็นอยู่ในโลกนี้ ได้อย่างไรบ้าง 

 

 

ว่าเฉพาะแต่สินค้าของ Apple ล้วนผลิตและวิภาคด้วยวิธีเดียวกันนี้ทั้งสิ้น จะมีผิดแผกบ้างก็เพียงรายละเอียดเล็กน้อยบางประการ เช่นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมอย่าง iPhone หรือ iPad นั้น Apple ออกแบบเอง (ภายใต้การคิดและบริหารงานของ Ive ซึ่งเป็นคนอังกฤษ) และออกแบบวงจรและซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานโดยวิศวกรอเมริกัน (ซึ่งในทีมประกอบด้วยวิศวกรเก่งๆ จากทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเดียและรัสเซีย) สั่งซื้อ RAM และหน้าจอจากเกาหลีใต้หรือญี่ปุ่น (www.bloomberg.com/news/articles/2016-12-21/apple-s-search-for-better-iphone-screens-leads-to-japan-s-rice-fields) ซื้อ Hard Disc จากบริษัทอเมริกันที่มีโรงงานตั้งอยู่ในภาคอีสานของไทย แล้วส่งไปผลิตในจีน เพื่ออาศัยแรงงานที่พร้อมจะรับค่าจ้างราคาถูก (ซึ่งจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของ Apple Inc. ต่ำและกำไรสูง) แต่ต้องสั่งซื้อวัสดุในการผลิตทั้งที่ผสมแล้วและเป็น Raw Material พื้นฐาน จากกิจการลูกของ Apple โดยเมื่อผลิตแล้วก็ขนส่งโดยสายส่งที่เป็นกิจการอเมริกัน ซึ่งมีกองคาราวานของสิงคโปร์หรือไต้หวันรับช่วงไปจัดการอีกทอดหนึ่ง เพื่อกระจายสินค้าไปตาม iStores ทั่วโลก ฯลฯ

หากท่านทำการบ้านอีกสักหน่อยและออกกำลังกายทางปัญญาอีกสักนิด ท่านผู้อ่านก็คงสามารถคำนวณได้คร่าวๆ ว่า ผลประโยชน์ของ Players แต่ละรายนั้น อยู่กันตรงไหนบ้าง ใครเป็นผู้กำหนดเกมนี้ และใครได้ใครเสียอย่างไร และใครน่าจะได้มากใครน่าจะได้น้อย หรือใครเหนื่อยน้อยแต่ได้มาก และใครเหนื่อยมากแต่ได้น้อย และใครได้มากได้น้อยเพราะอะไร ระหว่างความรู้ความชำนาญกับหยาดเหงื่อแรงงานนั้น ใครได้มากกว่ากัน และแบ่งกันไปอย่างไร โดยความรู้ความชำนาญนั้นเรียนทันกันได้หรือขโมยกันได้หรือไม่ และถ้าเรียนทันกันได้ ทั้งโดยการที่ผู้กุมความรู้นั้นเมตตาถ่ายทอดหรือยอมบอกความลับให้ (จะเป็นไปได้หรือไม่) หรือโดยการขโมย ครูพักลักจำ กอปรกับค้นคว้าวิจัยลองผิดลองถูกด้วยตัวเองแล้ว มันจะส่งผลอย่างไรต่อ Pattern ของการแข่งขัน และโครงสร้างของระบบโดยรวม... ฯลฯ 


และแล้วก็มาถึงคำถามสำคัญว่า “ไทยเราอยู่ตรงไหนในสมการนี้?” 

ใช่หรือไม่ ที่คนของเราเป็น “ผู้เสพ” / “ผู้บริโภค” ผลิตภัณฑ์ของ Apple ที่โดดเด่นไม่แพ้ชาติใด และได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างความมั่งคั่งอันนี้ของ Apple ด้วยบ้าง โดยในกระบวนการนี้ เราได้รับเพียง “เศษเนื้อ” เป็นผลตอบแทน แต่เมื่อหักกับที่ต้องเสียไปเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้แล้ว เห็นได้ชัดว่าเราคงติดลบ...ใช่หรือไม่/อย่างไร?

 

 

อย่าลืมว่า (นอกจากความเก่งกาจในเชิงความคิดสร้างสรรค์และการคิดค้นนวัตกรรมของ Apple เองแล้ว) กระบวนการที่ถูกออกแบบมา ดังผมได้ว่าให้ฟังแบบคร่าวๆ แล้วนี้ ได้สร้างให้ Apple กลายเป็นกิจการที่มั่งคั่งที่สุดบนโลกใบนี้ โดยมีมูลค่ากิจการ (Market Capitalization) สูงที่สุดในโลกอยู่ช่วงหนึ่ง ส่งผลให้ผู้ถือหุ้น พนักงาน ตลอดจน Stakeholders ทั้งเครือข่ายมั่งคั่งขึ้นอย่างคณานับในรอบสิบกว่าปีมานี้

เอาเป็นว่า ก่อนจะไปกันต่อ เราลองกลับไปดูว่าระบบแบบนี้มันเกิดขึ้นมายังไงกันแน่ และใครได้ใครเสีย อย่างไรกันบ้าง

ย้อนไปเมื่อตอนปลายทศวรรษ 1980s ต่อต้นทศวรรษ 1990s หลังจากเหตุการณ์เทียนอันเหมินไม่นานนัก ผมได้ข้ามผ่านด่านจากฝั่งฮ่องกงเข้าไปที่เมืองเซินเจิ้น (ถ้าจะพูดให้เคร่งครัดก็ต้องบอกว่าเป็นด่านมาเก๊า) จำได้ว่าช่วงนั้นเป็นช่วงเทศกาลซึ่งต้องรอคิวนานเป็นชั่วโมง และระหว่างต่อแถวอยู่นั้น ก็มีคนจีนมาติดต่อ ขอให้ช่วย “หิ้ว” มอเตอร์ไซค์เข้าไปให้ด้วย โดยไม่ต้องทำอะไร เพียงแต่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ “จ๊อบ” พาสปอร์ต โดยพวกเขาจะกรอกเอกสารเองทั้งหมดแล้วให้เราลงชื่อ โดยเราจะได้รับค่าตอบแทนพอสมควร 

ขณะนั้น เป็นเวลากว่าสิบปีแล้วที่จีนเริ่มเปิดประเทศ และเซินเจิ้น Take Off  แล้ว มองไปทางไหนมีแต่ไซต์ก่อสร้าง ทั้งเมืองมีฝุ่นคละคลุ้ง ถนนหนทางกำลังใหญ่โตกว้างขวาง เต็มไปด้วยดินโคลน โรงแรมใหญ่ๆ ยังมีไม่มาก และการบริการยังเป็นแบบบ้านๆ อัตราแลกเปลี่ยนยังมี 2 อัตรา ตลาดมืดสูงกว่าปกติกว่า 30% ผู้คนยังดูยากจนกว่าไทย แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าราคาถูก หรือถ้าเป็นผู้คนที่ทำงานในภาคธุรกิจก็มักสวมชุดสูทโหลที่วางขายตามตลาด แบบเหมือนๆ กันไปหมด ภาพวาดที่วางขายให้กับนักท่องเที่ยว ยังคงเป็นสไตล์การวาดแบบทื่อๆ ไก่ นก เสือ โขดหิน ภูเขา ต้นไม้ น้ำตก แม่น้ำ ทะเล เรือลำน้อย และการใช้สี ยังคงเป็นแบบ Traditional Chinese-Cum-Communist Taste

ผมยังจำได้แม่นว่า ราคาอพาร์ตเมนต์ (โฆษณาว่าเป็น Luxury Apartment) ที่กำลังเปิดโครงการ (แต่ยังไม่ได้ลงมือสร้าง) อยู่แถวๆ ตลาด ไม่ไกลจากด่านชายแดนนัก ขนาดห้องไม่เล็กไม่ใหญ่ เทียบราคาแล้ว คิดเป็นเงินไทยในขณะนั้นประมาณ 350,000 บาท

ปัจจุบัน ผมไม่ทราบว่าราคาอพาร์ตเมนต์นั้นขึ้นไปกี่สิบเท่าแล้ว แต่รู้ว่าด่านตรงนั้นหายไปนานแล้ว และเซินเจิ้นก็ได้กลายเป็นมหานครที่ทันสมัย มีประชากรกว่า 15 ล้านคน และมีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดในเมืองจีน เป็นฐานการผลิตสำคัญของโลก มีโรงงานที่ทันสมัยจำนวนมากมาย แถมยังเป็นที่ตั้งของตลาดหุ้นหนึ่งในสองของจีน ซึ่งเปรียบได้กับ NASDAQเพราะมีบริษัทเทคโนโลยีสำคัญๆ ของจีนจดทะเบียนอยู่แยะ และเมืองนี้ยังมีมหาเศรษฐีจีนอยู่ไม่น้อย ผู้คนสมัยนี้พูดจาด้วยความมั่นอกมั่นใจ จนบางครั้งออกจะ Arrogant อีกทั้งยังมีรายงานว่าได้บริโภค Luxury Brands ระดับโลก ปีนึงๆ ไม่น้อยเลย

 

 

เพียงสามสิบแปดปี ระบบ Globalization ช่วยให้เมืองที่เต็มไปด้วยแต่ทุ่งนา กระต๊อบ และชาวนา เฉอะแฉะ คมนาคมยากลำบาก ผู้คนส่วนใหญ่ยากจน กลายมาเป็นมหานครอันทันสมัย รุ่มรวย อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ได้อย่างไรกัน?

มิใช่แต่เพียงเซินเจิ้นเท่านั้นที่เจริญอย่างก้าวกระโดด ประเทศจีนโดยรวมเองก็เป็นแบบเดียวกัน จากประเทศยากจน กลับกลายเป็นประเทศร่ำรวย ที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นที่สองของโลก และครอบครองทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 3 ล้านล้านเหรียญฯ

“ความมั่งคั่ง” อันนี้ มันมาได้อย่างไรกัน?

คำตอบแบบคร่าวๆ ง่ายๆ ก็คือว่า ความมั่งคั่งอันนี้มันเป็นผลพวงของระบบที่ถูกออกแบบโดยฝรั่งกับผู้นำจีนที่นำโดยเติ้งเสี่ยวผิง

คือหลังจากที่เติ้งเสี่ยวผิงยึดอำนาจจากแก๊งสี่คนได้สำเร็จและขึ้นมาเป็นผู้นำจีนเต็มตัว เขาประกาศนโยบายสี่ทันสมัยทันที โดยจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ สนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ และเดินสายไปทั่วโลกเพื่อเชิญชวนให้เข้าไปลงทุนในจีน

เติ้งเสี่ยวผิงเป็นคนทันสมัย เขาเคยอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสเป็นเวลานาน และเข้าใจ Logic ของระบบทุนนิยม และผู้ผลิตสินค้าในระบบทุนนิยมดี

นั่นคือ “Maximize Profit” ซึ่งการจะทำกำไรให้สูงที่สุดในภาวะตลาดที่เต็มไปด้วยการแข่งขันได้นั้น ผู้ผลิตย่อมต้องหาทางลดต้นทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ในขณะที่ผู้ผลิตในโลกตะวันตก ก็ต้องการลดต้นทุนการผลิตลง หรือไม่ก็จัดหา Low Cost Producers มารับช่วงการผลิตของตนออกไป

และจีนภายใต้เติ้งเสี่ยวผิงก็ปวารณาตัวเองกับการนี้ ด้วยคนงานพันกว่าล้านคน ที่พร้อมจะรับค่าแรงต่อวันไม่ถึงร้อยบาท (แล้วใครจะไปแข่งด้วยได้ล่ะ? ใช่ไม่ใช่)

นับแต่นั้น ผู้ผลิตแห่งโลกตะวันตก (และผู้ที่เคยรับช่วงการผลิตจากโลกตะวันตก เช่น ญี่ปุ่น (ซึ่งนับตัวเองเป็นโลกตะวันตกด้วยคน) ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ฯลฯ) ก็ได้นำเงินเข้าไปลงทุนในจีน ทั้งโดยการตั้งโรงงานเอง และร่วมทุนกับจีน เพื่อผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคในโลกตะวันตกต้องการ แล้วรับซื้อสินค้าเหล่านั้นไว้ทั้งหมด

โดยต่อมา เมื่อคนจีนเริ่มรวยขึ้น มีเงินมีทองจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น สินค้าเหล่านั้น (และบริการที่ผู้ให้บริการแห่งโลกตะวันตกเข้าไปร่วมลงทุนเพิ่มเติมในระยะต่อมา) ก็ได้รับการบริโภคในประเทศจีนเองด้วย 

ผู้ผลิตในโลกตะวันตกที่ว่านี้ มีสหรัฐอเมริกาเป็นโต้โผ

พวกเราคงรู้แล้วว่า หลังปี 1971 เป็นต้นมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้มีภาระผูกพันว่าจะรับแลกเงินดอลลาร์กับทองคำอีกต่อไป นั่นหมายความว่าธนาคารกลางฯ สามารถพิมพ์เงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นใช้ได้เองได้โดยไม่ต้องมีทองคำหรือทุนสำรองหนุนหลัง ทำให้รัฐบาลและเอกชนสหรัฐฯ ใช้จ่ายสะดวกมือขึ้นโดยแทบจะไม่ต้องมีอะไรมาขวางกั้นอีกต่อไป

ตั้งแต่ทศวรรษ 1980s เป็นต้นมานั้น รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้นโยบายกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อดันให้เศรษฐกิจเติบโต โดยลดอัตราดอกเบี้ยลงเรื่อยๆ

ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ย่อมถูกกระตุ้นด้วยแคมเปญต่างๆ จำนวนมากอยู่ตลอดเวลา

“0% สิบเดือน” บ้าง “0% สิบสองเดือน” บ้าง “0% ยี่สิบเดือน” บ้าง ฯลฯ

เหล่านี้ล้วนชักจูงให้ผู้คนบริโภคในสิ่งที่ จริงๆ แล้ว ตัวเองยังไม่มีความต้องการใช้สักเท่าไหร่เลย

ในขณะเดียวกัน การก่อกำเนิดห้าง Discounted Stores อย่าง Walmart และ Dollar Stores ทั้งหลาย ย่อมทำให้ระบบ Globalization ที่ดีไซน์ขึ้นมานี้ “ครบวงจร”

 

 

กล่าวคือ รัฐบาลสหรัฐฯ ออกนโยบายกระตุ้นการใช้จ่าย และธนาคารกลางขยายเครดิตสู่ระบบการเงินพร้อมกับลดดอกเบี้ยลง (พิมพ์เงินเพิ่มนั่นเอง) ห้างสรรพสินค้าแบบใหม่ที่เน้นขายของราคาถูก ประเภท “Everyday Low Price” เกิดขึ้นทั่วสหรัฐฯ โดยห้างเหล่านี้นำเข้าสินค้าที่ผลิตจากเมืองจีน (โดยการลงทุนย้ายฐานการผลิตของกิจการในสหรัฐฯ นั่นเอง) (และกรณีแบบเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในยุโรปด้วยเช่นเดียวกัน ลองดู Tesco, Carrefour เป็นต้น) เสร็จแล้วก็ทำให้ผู้ผลิตในเมืองจีนได้รับเงินดอลลาร์จากการส่งออก แล้วก็เอาเงินดอลลาร์นั้นไปแลกเป็นเงินหยวนกับธนาคารกลางของจีน (ซึ่งตอนหลังนำเงินจำนวนนั้น ในรูปของทุนสำรองระหว่างประเทศ กลับไปลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อีกทอดหนึ่ง) เพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอย ซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าแรงและค่าจ้างให้กับพนักงาน และที่สำคัญคือนำไปลงทุนอย่างมโหฬาร ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนสร้างโรงงานขนาดยักษ์ สร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดยักษ์ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ทั่วประเทศ ฯลฯ...วนเวียนอยู่อย่างนี้เป็นเวลาหลายสิบปี นับแต่เติ้งเสี่ยวผิง ประกาศนโยบายเปิดประเทศ ซึ่งเงินดอลลาร์ที่ได้จากการส่งออกเหล่านี้แหละ ที่ช่วยทำให้เกิดเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจในเมืองจีนอย่างมโหฬาร (รวมทั้งภาวะฟองสบู่ด้วย)

เห็นรึยังว่าระบบนี้ ได้ช่วยสร้างฐานการผลิตและเครื่องจักรส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นมา คือจีน

จีนกลายเป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับโลกตะวันตก (และเมื่อจีนรวยขึ้น ก็ได้กลายเป็นผู้ซื้อวัตถุดิบและสินค้าบริการรายใหญ่ของโลกไปด้วยในตัว) ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีหรือความรู้ในการผลิตและควบคุมตลาดเอาไว้ในมือ

ระบบนี้สร้างกำไรให้กับผู้ผลิตของโลกตะวันตก เพราะจีนช่วยให้ต้นทุนต่ำลง ส่งผลให้ราคาหุ้นของกิจการเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อพวกเขาไม่ต้องเสียเวลากับการเอาคนไปเข้าโรงงาน พวกเขาก็หันมาเน้นในเรื่องพัฒนาความรู้และนวัตกรรมต่างๆ แล้วกุมความลับอันนั้นไว้ เพื่อต่อรอง ให้จีนคอยวิ่งไล่ตามเอาเอง

แต่ผู้ที่เสียประโยชน์คือแรงงานในโลกตะวันตก และในประเทศอื่นที่เคยเป็น Low Cost Producer ให้กับโลกตะวันตก (ซึ่งมีไทยรวมอยู่ด้วย) เพราะต้องสูญเสียงานและรายได้ไป เนื่องจากการย้ายฐานการผลิตของกิจการในประเทศตน (ไปสู่จีน) อีกทั้งค่าแรงในประเทศของตนก็ไม่สามารถขึ้นสูงได้ เพราะค่าแรงในจีนเป็นตัวเปรียบเทียบอยู่ ทำให้รายได้ของคนงานในประเทศเหล่านี้ เพิ่มขึ้นน้อยมากหรือแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลยในรอบหลายสิบปีมานี้

นั่นเป็นสาเหตุที่ Donald J. Trump ชนะใจคนเหล่านี้และลูกหลานของคนเหล่านี้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่ในเขต Rust Belt) 

ส่วนไทยก็ต้องสูญเสียเช่นเดียวกัน เพราะสมัยที่จีนยังไม่เข้ามาในสมการนี้ โลกตะวันตกได้ใช้ให้ญี่ปุ่น (รวมถึงเยอรมนีและต่อมาก็ประเทศในละตินอเมริกา) เป็น Low Cost Producer ให้กับตลาดของตัวเอง (ทำให้ญี่ปุ่นและเยอรมนีฟื้นตัวเร็วมากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) และญี่ปุ่นก็มาใช้เราเป็นฐานอีกทอดหนึ่ง ทำให้เราได้ประโยชน์ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังปี 1985 ที่ค่าเงินเยนแข็งค่า เพราะญี่ปุ่นถูกบังคับให้ขึ้นค่าเงินตามข้อตกลง Plaza Accord 

ด้วยระบบเดียวกัน (คือทำตัวเป็นฐานการผลิตให้กับญี่ปุ่น เพื่อส่งออกสู่ตลาดโลก แล้วได้เงินดอลลาร์อัดฉีดเข้ามาในประเทศ ก่อนแลกเป็นเงินบาทไปใช้จ่ายกันอย่างคึกคัก ฯลฯ) ถึงกับทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ยุคฟองสบู่ในช่วงนั้น

แต่เมื่อจีนเข้ามาแย่งบทบาทตรงนี้ไป ทำให้การส่งออกของเราลดลง และต้องปรับรูปแบบเศรษฐกิจ หันมาเน้นเศรษฐกิจภายในเพิ่มขึ้น และชดเชยโดยการส่งออกพืชผลและบริการ (เช่นท่องเที่ยว) ไปยังจีน (ที่รวยกว่าไทยแล้ว) ในขณะเดียวกันก็ต้องดิ้นรนหารูปแบบอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ๆ ที่ไม่ไปทับซ้อนกับจีน (เพราะแข่งขันเรื่องต้นทุนไม่ไหว) ซึ่งต้องอาศัยการยกระดับโดยความรู้ในเชิงการผลิต การตลาด และนวัตกรรม เป็นต้น

 

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา

30 กว่าปีมานี้ จีนยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ด้วยระบบนี้เอง การพิมพ์เงินเพิ่มอย่างมโหฬารของธนาคารกลางสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย และการออกแบบระบบการผลิต การค้า และการชำระเงิน แบบ Globalization นั้น นอกจากจะช่วย “หิ้ว” ระบบเศรษฐกิจอเมริกันแล้ว ยังช่วย “หิ้ว” จีน อีกด้วย 

แต่งานเลี้ยง ย่อมมีวันเลิกรา!

เมื่อจำเนียรกาลผ่านไป จนมาถึงวันนี้ วันที่หนี้สินภาคเอกชนและภาครัฐของสหรัฐฯ ถึงเขตอันตราย วันที่ราคาสินทรัพย์ทางการเงินทั้งหลายสูงขึ้นอย่างน่ากลัวเพราะปริมาณเงินที่ทะลักเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างมากและต่อเนื่องมานาน วันที่ชนชั้นกลางและล่างในประเทศตะวันตกที่เสียประโยชน์จากระบบนี้ (แต่ไม่ได้ประโยชน์จากการที่ราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น เพราะไม่ได้ถือหุ้นหรือเครื่องมือทางการเงินเหล่านั้นไว้ในจำนวนที่มากพอ) ทนไม่ไหวอีกต่อไป แสดงความไม่พอใจของตนออกมาโดยการ “โหวต” ทั้งในอังกฤษ สหรัฐฯ และอิตาลี

วันที่ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ บอกว่าจะปรับระบบนี้เสียใหม่ คืออาจตั้งกำแพงภาษีทำให้สินค้าส่งออกไปจากจีนเข้าสหรัฐฯ ยากขึ้น กดดันให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวน และแสดงเจตนารมณ์ชัดเจนว่าจะทำทุกวิถีทางให้ผู้ผลิตสหรัฐฯ ย้ายฐานจากจีนกลับเข้ามายังบ้านเกิดอีกครั้งหนึ่ง

ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริง ย่อมจะส่งผลให้วิถีการผลิต การค้า และการชำระเงิน ของโลกที่เคยออกแบบไว้นั้น เปลี่ยนแปลงไป

พวกคอมมิวนิสต์ที่มีความลึกซึ้งนั้น ย่อมตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตและการค้า ย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมมนุษย์ในขั้นรากฐาน ทฤษฎีของพวกเขาชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ตลอดช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ผ่านมานั้น การที่รูปแบบหรือธรรมชาติของสังคมมนุษย์ เปลี่ยนผ่านจากสังคมทาส มาสู่สังคมศักดินา มาสู่สังคมการค้า และมาสู่สังคมทุนนิยม แบบเป็นขั้นเป็นตอนได้นั้น ล้วนเกิดจากมูลเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงในเชิงวิถีการผลิตและการค้าทั้งสิ้น

 

 

คำกล่าวและ Analysis ของนายพล Qiao Liang นักคิดคนสำคัญและเสนาธิการของกองทัพประชาชน แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากจะสะท้อนให้เราได้เห็นว่าผู้นำคอมมิวนิสต์จีนในรุ่นปัจจุบัน ไม่ใช่ธรรมดาแล้ว มันยังเน้นย้ำให้เห็นอีกครั้ง ถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในเชิงการผลิตและการค้า ว่ามันจะทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปอีกขั้นหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ อีกด้วย

ท่านนายพลกล่าวไว้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ กรุงปักกิ่ง ตอนหนึ่งว่า “...เพราะมันเกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงการผลิตและในเชิงการค้า โลกจึงมุ่งหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงในขั้นโครงสร้างรากฐานกันเลยทีเดียว ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นมาแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงดังว่านั้น ย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงลักษณะธรรมชาติของสังคมมนุษย์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของสังคมมนุษย์ในระดับนี้ จะเกิดขึ้นได้ก็เพียงจากมูลเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งสองประการดังว่านี้เท่านั้น (คือการเปลี่ยนวิถีการผลิตและวิถีการค้า) หาได้เกิดจากมูลเหตุอื่นใดไม่ ในเมืองจีนนับแต่ยุคปลายราชวงศ์ชิงเป็นต้นมา ราษฏรก็เริ่มเป็นขบถต่อต้านรัฐบาล...ในรอบ 2,000 ปีของประวัติศาสตร์จีน การปฏิวัติและลุกฮือลุกขึ้นสู้เกิดขึ้นหลายครั้งหลายครา ถามว่า การกบฏ สงคราม และการปฏิวัติ ทั้งหมดทั้งมวลนั้นมันได้แก้ปัญหาหรือไม่? คำตอบคือทั้งหมดทั้งมวลนั้น ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย มันเพียงแต่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองจากชุดเก่าเป็นชุดใหม่เท่านั้นเอง วิถีชีวิตทุกอย่างยังคงเดิม กระบวนการเปลี่ยนผ่านเหล่านี้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรากฐานของสังคมเกษตรกรรมได้ และมันก็หาได้เปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตและวิถีการค้าไม่ มันเพียงแต่เปลี่ยนแปลงในระดับรัฐเท่านั้นเอง ในโลกตะวันตกเองก็เหมือนกัน ครั้งหนึ่งจักรพรรดินโปเลียนได้นำกองทัพฝรั่งเศสอันเกรียงไกรยึดครองไปทั่วยุโรป จนราชวงศ์ต่างๆ ที่ปกครองอยู่ในขณะนั้น ร่วงผล็อยไปทีละวงศ์ๆ แต่เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ที่ทุ่งวอเตอร์ลู จนจำต้องสละราชสมบัติ กษัตริย์ราชวงศ์ต่างๆ ของยุโรปต่างได้รับการฟื้นฟูและหวนคืนกลับไปปกครองกันแบบศักดินาดังเดิมทันที 

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรไอน้ำของอังกฤษ อนุญาตให้มนุษยชาติสามารถที่จะขยายการผลิตของสังคมตนได้อย่างขนานใหญ่ จนเกิดผลผลิตส่วนเกินจำนวนมหาศาล และส่วนเกินเหล่านี้ย่อมนำมาซึ่งมูลค่าส่วนเกิน ซึ่งเป็นที่มาของทุนและนายทุนนั่นเอง เมื่อนั้นเอง ที่สังคมทุนนิยมได้ก่อกำเนิดขึ้นบนโลก

ฉะนั้น ในเมื่อทุกวันนี้ ทุนอาจถูกทำให้หายไปจากการเลิกใช้เงิน และการผลิตก็กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาแต่การอุบัติขึ้นของ 3D Printer สังคมแห่งมนุษยชาติก็กำลังจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ขั้นตอนใหม่...” (อ้างจาก: “Heartland Eurasian Review of Geopolitics” อ่านฉบับเต็มได้ที่ www.temi.repubblica.it/limes-heartland/one-belt-one-road/2070?refresh_ce)

(สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านต้นฉบับของช่วงที่ผมแปลมา คือข้อความต่อไปนี้ : “...Because production is changing and trade is changing, the world is bound to change radically. But history has proven that real change can lead to changes in the social nature, which will be led by these two [changes in production and trade modes] and no other factors. In China from the period of the late Qin Emperor, people began to rebel: Chen Sheng Wu Guang rose a revolution and uprisings occurred many times during 2,000 years of history. Rebellions, wars, revolutions—do they solve the problem? They do not solve the problem; they just bring a change of rulers, a low-level water circulation. These movements could not change the nature of the farming community, nor did they change the modes of production or the ways of trade. They could only bring a regime change. In the West too, Napoleon brought the glory of the French Revolution and led a new army baptized in the revolution across Europe, throwing down one crown after the other, but when he failed at Waterloo, Napoleon stepped down. All European kings were restored and immediately they returned to feudal society. The Industrial Revolution came when the British steam engine allowed humanity to greatly enhance its production and a large number of surplus products appeared. With the remaining products there was surplus value, and thus capital and capitalists. Capitalist society had arrived.

So today when capital may disappear with the disappearance of money and when production will also change with the emergence of 3D printer, mankind is about to enter a new social stage....”)

 

 

ณ ขณะนี้ เรายังไม่สามารถฟันธงลงไปได้ว่า นโยบายใหม่ของอเมริกา จะส่งผลถึงขั้นทำลาย “เครื่องจักรส่งออกอันมหึมา” ที่ตัวเองมีส่วนสร้างมันขึ้นกับมือหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับการเมืองในอเมริกาเอง ว่าจะอำนวยให้ประธานาธิบดีคนใหม่นำนโยบายที่หาเสียงไว้ มาทำได้เต็มที่แค่ไหน

แต่เราก็พอคาดเดาได้ว่า เครื่องจักรส่งออกตัวนั้น ต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

กลยุทธ์ของจีน ที่จะต้องงัดขึ้นมาใช้รับมือกับผลกระทบรอบนี้ ย่อมส่งผลต่อโลกและต่อไทยด้วย อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น

เป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ความร่ำรวยย่อมมาพร้อมกับอำนาจการใช้จ่าย โดยถ้าไม่ระวัง ก็จะเกิดความล้นเกิน ที่เป็นสาเหตุของฟองสบู่

ทุกวันนี้ “ที่สุดในโลก” หลายอย่างอยู่ในเมืองจีน รถไฟความเร็วสูงที่ยาวที่สุด สะพานที่ยาวที่สุด เคเบิ้ลคาร์ที่ยาวที่สุด สะพานแก้วที่ยาวที่สุด ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มากที่สุด เกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกามากที่สุด ครอบครองส่วนแบ่งของมูลค่าการค้าโลก (world trade) มากที่สุด โรงงานปูนซีเมนต์ที่ใหญ่ที่สุด และกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ที่มากที่สุดในโลก ผู้นำเข้าทองแดง เหล็ก ถ่านหิน รายใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก อุตสาห-กรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุด จำนวน

นักลงทุนรายย่อยที่มากที่สุดในโลก ฯลฯ

หลายปีมาแล้วที่จีนพยายามแก้ไขปัญหาความล้นเกินของตน ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ประกาศนโยบายปฏิรูปแทบทุกด้าน ลดการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ลดการสร้างโรงงานประเภทที่ทำให้เกิดมลพิษ ลดกำลังการผลิตในหลายอุตสาหกรรม ที่สำคัญคือ พยายามปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจจากที่เคยพึ่งพิงการส่งออก ให้มาพึ่งพิงการบริโภคภายในประเทศ

สิ่งเหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจจีนในรอบหลายปีมานี้ชะลอตัว

จีนหันมาเน้นไปที่การสร้างเครื่องจักรเศรษฐกิจภายในของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจบริการ ไม่ว่าจะเป็น ค้าปลีก ท่องเที่ยว การศึกษา การรักษาพยาบาล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ Data Processing ร้านอาหาร ตลอดจนภัตตาคาร การบิน การขนส่ง Logistic Supply Chains ฯลฯ

รัฐบาลจีนเวลานี้ประกาศ สนับสนุนการสร้างกองทัพผู้ประกอบการรายเล็กและกลาง และ Start-ups เพื่อขึ้นมารองรับกลยุทธ์ใหม่นี้ให้ทันการณ์

ในขณะเดียวกัน จีนก็สนับสนุนให้ผู้ผลิตของเขาย้ายฐานการผลิตไปนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในเขตอาเซียน หรือในเขตอื่น ทั้งเพื่อลดต้นทุนการผลิตที่ตอนหลังสูงขึ้นมากในจีน และเพื่อรับมือกับการกีดกันทางการค้าที่สหรัฐฯ จะรุกหนักขึ้น

ถ้าโชคดี จีนอาจสามารถ Shift เศรษฐกิจขนาดมหึมาของตัวเอง ได้โดยราบรื่น ปราศจากวิกฤตการณ์

แต่โอกาสที่เป็นเช่นนั้น มีไม่มากนัก 

ไทยเอง คงจะไม่ได้อะไรจากการขยับปรับเปลี่ยนของระบบโลกครั้งนี้มากนัก นอกเสียจากว่าจะหาโอกาสเข้าไปลงทุนและค้าขายกับธุรกิจบริการในจีน หรือต้องหันไปกระชับสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนกับอเมริกาให้แน่นแฟ้นขึ้น โดยเฉพาะการขอให้มีการถ่ายทอดความรู้ในการผลิต (ที่เรียกว่าเทคโนโลยี) และนวัตกรรมในระดับลึก ในระดับ 0-1-2-3-4-5 (อ่านว่า ศูนย์หนึ่งสองสามสี่ห้า) ที่อเมริกากุมไว้แยะที่สุด มิใช่ความรู้ในระดับ 6-7-8-9-10 หรือ “หางความรู้” ซึ่งมีประโยชน์น้อย และยังทำให้เราต้องอยู่ในสถานะ “รับจ้างทำของ” หรือต้องพึ่งพิงการนำเข้าเทคโนโลยีและเครื่องจักรราคาแพง ตลอดจนสารตั้งต้น หรือวัสดุที่ผสมแล้ว อยู่ตลอดมาและ (อาจจะ) ตลอดไป

 

ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว

23 ธันวาคม 2559

ระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมที่เรียนรู้ผ่านครู ตำรากับห้องเรียนถูกสร้างขึ้นมาเมื่อกว่า 500 ปีและยังคงเป็นรูปแบบหลักเพราะเป้าหมายคือการเพิ่มคุณวุฒิให้กับผู้เรียนด้วยการถ่ายทอดข้อมูลต่อๆ ไปจากผู้สอนสู่ผู้เรียนจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนเราไปแล้วว่า การที่จะสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาด้านใด

ก็เป็นเพราะบุคคลนั้นได้เรียนผ่านวิชาแกน วิชาบังคับ หรือวิชาเลือกอะไรมาบ้างตามหลักสูตรที่กำหนดตายตัวไว้ล่วงหน้าแล้วสถาบันใดไม่สามารถทำให้ผู้ควบคุมคุณภาพการศึกษารับรองโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตรอย่างที่ว่าได้ก็จะถือว่า ไม่ได้มาตรฐาน พิจารณาโดยผิวเผิน ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นสูตรสำเร็จที่ลงตัวทางการศึกษา

อย่างไรก็ตาม หลักสูตรที่แม้จะได้การรับรองจากหน่วยงานของรัฐแล้ว ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้บัณฑิตเสมอว่าบัณฑิตที่ผ่านหลักสูตรต่างๆ จำนวนมากไม่มีความรู้ความสามารถและทักษะตามที่ผู้ทรงศักดิ์และสิทธิ์แห่งปริญญาบัตรนั้นๆ พึงจะมี ปริญญาจึงเป็นเพียงจุด เริ่มต้นที่ผู้ได้รับปริญญาต้องใช้เวลาอีก ชั่วชีวิตพิสูจน์ว่าตนเป็นผู้มีการศึกษา แน่แล้ว ฝรั่งจึงเรียกวันรับปริญญาว่า Commencement Day หรือวันแห่งการเริ่มต้น

เสียงเรียกร้องของสังคมมักแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ ฟากฝั่งตลาดแรงงาน ก็ต้องการบุคลากรที่พร้อมใช้งานได้อย่างมืออาชีพ สามารถทำงานที่ไม่เคยเจอมาก่อน มีความภักดีต่อองค์กร และมีความใส่ใจผูกพันต่อผลประโยชน์ของกิจการ และ มิติในฟากอุปสงค์ของผู้เรียนก็คาดหวังว่าจะมีระบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จริง หลากหลายรูปแบบ เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำกัดการเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียน (Any Time Anywhere Education) ตลอดจนคาดหวังว่าผลสัมฤทธิ์จากการเข้าศึกษาจะทำให้สามารถไปทำงานที่ตนชอบได้หลากหลาย (Protean Career) อย่างมีสมดุลระหว่างความสำเร็จในอาชีพและความสุขในชีวิต (Balance of Work Life) ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วแห่งศตวรรษที่ 21

เมื่อนำสภาพการจัดการศึกษามาทาบทับกับเสียงเรียกร้อง ก็จะเกิดปรากฏการณ์อันท้าทายกับทุกสถาบัน เพราะการจัดการเรียนการสอนแบบหลักสูตรภายใต้บริบททางสังคมเมื่อ 500 ปีที่แล้ว ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของศตวรรษนี้ได้อีกแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ ที่ต้องรองรับผลกระทบของเทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Disruptive Tech-nology) ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นศตวรรษนี้ สถาบันการศึกษาจำนวนไม่น้อยกำลังวิ่งตามกระแสของนวัตกรรมต่างๆ ให้ทัน ด้วยการทำหลักสูตรของตัวเองให้ทันสมัย สร้างจุดขายของหลักสูตรด้วยการเสนอวิชาใหม่ๆ ชื่อแปลกๆ บ้างก็นำเอาเทคโนโลยี Multimedia และ Social Media มาใช้จัดการการศึกษา แต่คำถามคือ การวิ่งตามเทคโนโลยีเป็นกลยุทธ์ที่ถูกต้องจริงหรือ? ประการแรก การวิ่งตามกระแสของเทคโนโลยีอุบัติใหม่เป็นกลยุทธ์ที่แพง ในขณะที่สถาบันการศึกษาจำนวนมากอยู่ในสถานะทางการเงินที่จะเพิ่มต้นทุนการผลิตบัณฑิตไม่ได้อีกแล้ว เพราะต้นทุนจมสูงแต่ประชากรที่กำลังเดินเข้าสู่รั้วสถาบันกลับมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ ประการที่สอง การสอนให้นักศึกษามีความคล่องแคล่วในเทคโนโลยีล่าสุดของวันนี้เป็นความน่าตื่นเต้นเพียงระยะสั้นเท่านั้นหรือไม่ เพราะไม่ทันที่นักศึกษาคนนั้นๆ จะสำเร็จการศึกษา  เทคโนโลยีที่เคยคุ้นเคยและคล่องแคล่ว ก็อาจพลันล้าสมัยไปเสียแล้ว

ดังนั้น สถาบันการศึกษาจึงควรทำหน้าที่ในระดับการสร้างรากฐานอันจำเป็นที่ทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ได้เองในอนาคต บวกกับ การพัฒนาทักษะในฐานะผู้ใช้งานที่จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีได้เสมอ ตัวอย่างเล็กๆ ที่หลายคนอาจไม่เคยตั้งหลักคิดก็ได้คือ ทำไมเราจึงสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่ต้องกดหลายปุ่มมาสู่การใช้จอสัมผัสทั้ง Android และ iOS ได้โดยไม่ยากลำบาก นั่นแสดงว่าที่ผ่านมาเราต้องสะสมทักษะอะไรบางอย่างมาพอสมควรจนสามารถปรับตัวได้ หรือในอีกด้านหนึ่ง ผู้สร้างเทคโนโลยีก็ต้องได้เรียนรู้ทักษะอะไรบางอย่างในโลกเก่า จนสามารถออกแบบเทคโนโลยีใหม่ที่สอดคล้องกับการใช้งาน แก้ปัญหา หรือเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้สมัยใหม่ได้

คำถามคือ จะจัดการศึกษาอย่างไรเพื่อพัฒนารากฐานอันมั่นคงและปีกอันแกร่งกล้า รากฐานที่จะต่อยอดความรู้ไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสังคม และปีกที่สามารถนำพาตนเองและโลกโบยบินไปสู่ระดับที่สูงขึ้นได้อย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ บทความนี้กำลังจะอธิบายว่า การศึกษาที่จะสามารถลงลึกได้ถึงการสร้าง Roots and Wings ขนาดนั้นเป็นอย่างไร ปัจจุบันนี้ มีนักการศึกษาได้สร้างกลยุทธ์การสอน (Teaching Strategy) ไว้มากมายนอกเหนือจากการบรรยาย (Lecture) บ้างเกิดในห้องเรียน เช่น การระดมสมอง (Brainstorming) การถกแถลง (Discussion) กรณีศึกษา (Case Study) การเรียนที่เน้นการแก้ปัญหา (Problem-Based) สถานการณ์จำลอง (Simulation) เกม (Game) การสมมุติบทบาท (Role Play) การทำแบบประเมินเพื่อเข้าใจตนเอง (Self-Awareness Test) เป็นต้น บ้างก็เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ  เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) สหกิจศึกษา (Cooperative Education) การฝึกงาน (Internship/ Externship) การเรียนผ่านการทำโครงงาน (Project-Based) การเรียนรู้จากการลงมือทำ (Action Learning) การทำกิจกรรมเพื่อสังคม (Social Work Activity) จนพัฒนามาเป็นการเรียนแบบผสมผสานระหว่างกิจกรรมในกับนอกห้องเรียน เช่น Flipped Classroom ไปถึงการเรียนรู้บนโลกออนไลน์ เป็นต้น ในช่วงกว่าสอง
ทศวรรษที่ผ่านมาเริ่มกล่าวถึงการนำเรื่องสติ (Mindfulness) มาผสมผสานกับการพัฒนาปัญญา เช่น จิตปัญญาศึกษา (Contemplative Education) การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยปัญญาของผู้เรียน (Constructionism) เป็นต้น

กลยุทธ์การเรียนการสอนดังกล่าว มีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป เช่นการระดมสมองเป็นกลยุทธ์พัฒนาทักษะการรู้คิดจากหลายมุมมองและการยอมรับความแตกต่างทางความคิดของคนที่เห็นไม่ตรงกับตนเอง แต่ก็มีข้อจำกัดที่ว่าหากโจทย์ปัญหามีคำตอบที่จำกัดโดยตัวมันเอง ก็ไม่เหมาะที่จะใช้วิธีดังกล่าว การบรรยายมีประสิทธิผลมากในการนำเสนอข้อมูลและทฤษฎีใหม่ แต่ก็ไม่สามารถให้หลักประกันได้ว่าผู้เรียนจะสามารถนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้ ส่วนการเรียนรู้จากการลงมือแก้ปัญหาเป็นทีมก็ทำให้เกิดทักษะการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ อีกทั้งพัฒนาภาวะผู้นำในตัวผู้เรียนได้ แต่โอกาสที่ผู้เรียนอาจจะไม่ได้พบเจอปัญหาเดิมอีกครั้งในชีวิต จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการถอดความรู้ (Reflection) ที่มีประสิทธิผลซึ่งต้องการครูที่ได้รับการอบรมมาเป็นพิเศษเพื่อมาอำนวยการสอนในลักษณะนี้ หรือการจัดหลักสูตรที่มีสหกิจศึกษาตามนโยบายของรัฐ แม้จะเป็นความพยายามตอบสนองข้อเรียกร้องของนายจ้างโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิต แต่ส่วนมากล้มเหลว เพราะไม่ได้เตรียมความพร้อมในด้านการปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพ การบ่มเพาะทัศนคติแห่งวิชาชีพของผู้เรียนก่อนเข้าสู่ช่วงเวลาสหกิจศึกษา หลายหลักสูตรสอนด้วยการบรรยาย (Lecture) เกือบตลอดเวลาแล้วก็ส่งผ่านนักศึกษาเข้าสู่สหกิจศึกษาเลย โดยไปฝากความหวังไว้ว่าสหกิจศึกษาจะทำให้บัณฑิตครบเครื่องไปเอง เป็นต้น

ดังนั้น การจัดการศึกษาที่ดีจึงควรมีการออกแบบกลยุทธ์การสอนแบบ ผสมผสาน โดยยึดเอาจุดเด่น คุณลักษณะ คุณสมบัติ ความรู้และทักษะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนเป็นที่ตั้ง

เวทีเพื่อการเรียนรู้ (Platform) คืออะไร
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำเอาจุดเด่นของกลยุทธ์การสอนทั้งหมดดังกล่าว มาจัดกระบวนการเรียนรู้เสียใหม่ เพื่อทำให้แน่ใจว่าการจัดการศึกษาจะสามารถลงลึกได้ถึงการสร้างรากฐานอันมั่นคงและปีกอันแกร่งกล้าในตัวผู้เรียน โดยเรียกการศึกษาแบบนี้ว่า เวทีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Platform) แทนการเรียกว่าหลักสูตร (Program หรือ Curriculum)

คำว่า Platform หมายถึง การจัดการระบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นพอที่จะรองรับกลยุทธ์การจัดการการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยที่ไม่ได้ตั้งหลักว่านักศึกษาต้องผ่านการเรียนวิชาอะไรบ้างจึงจะครบหลักสูตร แต่ตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนควรมีความรู้และทักษะอะไรบ้าง จึงจะสามารถประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Skills) และความรู้กับทักษะเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยกลยุทธ์การสอนแบบใด ถึงจุดนี้ หลายคนโดยเฉพาะนักการศึกษาอาจตั้งคำถามว่า ทุกหลักสูตรก็มีการตั้งเป้าหมายเพื่อศตวรรษที่ 21 กันทั้งสิ้น แล้วเวทีเพื่อการเรียนรู้ที่ว่านี้มีอะไรที่แตกต่าง? ตอบอย่างสั้นที่สุดคือ Platform เป็นการประมวลกลยุทธ์การสอนที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความชอบหรือความสามารถส่วนตัวของผู้สอนแบบในระบบหลักสูตร แต่เป็นการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดกระบวนการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นพร้อมที่จะปรับไปสู่กลยุทธ์การสอนใหม่ใดๆ ที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่มากขึ้นตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฏในตัวผู้เรียน ส่วนคำตอบอย่างละเอียด เป็นดังที่จะได้กล่าวต่อไป

ตัวอย่างเวทีเพื่อการเรียนรู้
ประสบการณ์อันยาวนานที่ใช้กลยุทธ์การสอนที่หลากหลายดังกล่าวข้างต้น คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค้นพบว่าปัจจัยความสำเร็จประการหนึ่งของการใช้กลยุทธ์เหล่านั้นอยู่ที่ผู้เรียนต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Learning Capability) ไม่ใช่รอการป้อนความรู้จากผู้สอนแบบที่ตนเองอาจคุ้นเคยมาก่อน (โปรดดูภาพโครงสร้าง Learning Platform)

ดังนั้น ขั้นตอนแรกของเวทีเพื่อการเรียนรู้ คณะฯ จึงทุ่มไปที่การใช้กลยุทธ์การสอนที่จะทำให้ผู้เรียนกระหายใคร่รู้อีกทั้งยังถูกฝึกให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา คณะฯ เลือกใช้การทำ Flipped Classroom กล่าวคือกิจกรรมการเรียนความรู้พื้นฐานถูกนำไปไว้นอกห้องเรียนด้วยการจัดทำบทเรียนความรู้พื้นฐานให้มีลักษณะที่นักศึกษาสามารถศึกษาด้วยตนเองนอกห้องเรียน จากสื่อการสอนที่จัดเตรียมไว้ให้และที่ต้องค้นคว้าตามความสงสัยใคร่รู้ของผู้เรียนเอง โดยอาจารย์มีหน้าที่ติดตามว่าผู้เรียนมีวินัยในการเรียนหรือไม่ มีปัญหาในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้อะไร เรียนได้เร็วหรือช้ากว่ากลุ่มอย่างไร หากมีใครที่เรียนช้าหรือมีปัญหาอาจารย์จะคอยจัดให้เกิดพื้นที่สำหรับเพื่อนสอนเพื่อน พี่สอนน้อง เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการสอนผู้อื่น นอกจากนี้ ผู้เรียนยังจะได้รู้จักการมีน้ำใจช่วยเหลือกันและกัน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของส่วนที่สองของเวทีการเรียนรู้ในขั้นแรกนี้ กล่าวคือ การสร้างคุณลักษณะ (Character Building) ซึ่งคือสิ่งที่ถูกนำมาไว้ในห้องเรียนแทนการฟังบรรยายความรู้พื้นฐานเช่นที่เกิดขึ้นในระบบหลักสูตรทั่วไป คุณลักษณะที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาในขั้นนี้ ได้แก่ การคิดดีพูดดีมีวินัย การค้นพบเป้าหมายชีวิตและอาชีพในฝันของตนเอง การรู้จักแข่งขันกับตนเอง การทำตนให้ผู้อื่นรัก และการรักผู้อื่นให้เป็น นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาทักษะที่จะแสดงคุณลักษณะของตนเองอย่างสร้างสรรค์ เช่น ทักษะการสื่อสารอย่างมืออาชีพ ความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี ภาวะผู้นำ เป็นต้น กลยุทธ์การสอนพัฒนาคุณลักษณะ ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การแสดงบทบาท การจำลองสถานการณ์ การฝึกใช้เทคโนโลยีในห้องปฏิบัติการ การนำเสนอและถกแถลง ฯลฯ บทบาทของอาจารย์ในเวทีส่วนนี้คือการเป็นครูฝึก (Coaching) การประเมินผลสำหรับด่านแรกของเวทีเพื่อการเรียนรู้ขั้นนี้ ได้แก่ การสอบวัดความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการวัดสมรรถภาพทักษะต่างๆ ข้างต้น ส่วนคุณลักษณะนั้นไม่เพียงแต่จะมีการประเมินผลจากการสะท้อนบทเรียน (Reflection) แล้ว ยังมีการติดตามผลทาง Line การทำ Focus Group และการสัมภาษณ์รายบุคคลหลังจากที่ผู้เรียนได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่าสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองจนผ่านการสอบวัดความรู้พื้นฐาน พร้อมกับได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะอันมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว  เขาก็พร้อมที่จะเข้าสู่ขั้นตอนที่สองของเวทีเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ การพัฒนาความกว้างของฐานความรู้จากสหสาขาวิชา (Breadth of Interdisciplinary) ตลอดจนการเรียนรู้เชิงลึกในวิชาชีพของตน (Depth of Core Discipline) ในขั้นนี้ บทบาทของอาจารย์ส่วนใหญ่จะใช้กลยุทธ์การสอน ด้วยการบรรยาย การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้าแบบอิสระ และการเรียนแบบ Problem-Based เป็นต้น

ในขั้นตอนที่สาม ผู้เรียนก็พร้อมที่จะเรียนรู้แบบ Action Learning ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านโครงการซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาจริงที่สามารถทำสำเร็จได้ภายใน 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน จากประสบการณ์ของคณะฯ สามารถแบ่งโครงการ (Projects) ที่ผู้เรียนต้องผ่านการฝึกฝนออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

• โครงการเพื่อการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม (Team Effectiveness Project) โครงการประเภทนี้จะมีความท้าทายสูง ผู้ร่วมทีมจะมีปัญหาความขัดแย้ง (Conflict) เพราะความยากและแรงกดดันของเวลา แต่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้เห็นว่า ความขัดแย้งเป็นบ่อเกิดแห่งการพัฒนา ที่ใดไม่มีความขัดแย้งสิ่งต่างๆ มักจะกลายเป็นวงจรประจำ (Routine) จนยากจะยกระดับได้ ผู้เรียนต้องพยายามทำงานให้ลุล่วงตามกรอบเวลา ก้าวข้ามความขัดแย้งเพื่อการบรรลุเป้าหมายร่วมของทีม

• โครงการเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ (Analytical Skill Project) เป็นโครงการที่ผู้เรียนถูกกำหนดให้ใช้กรอบแนวคิดเหมือนกันทั้งหมดทุกกลุ่มเพื่อเข้าไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์กร เช่น โครงการประยุกต์ใช้ QCC เพื่อพัฒนาคุณภาพการดำเนินการในจุดต่างๆ ขององค์กรจริง เป็นต้น โครงการประเภทนี้มุ่งเป้าหมายที่การพัฒนาทักษะการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ

• โครงการเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation Project) โครงการประเภทนี้อาศัยจุดแข็งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เป็นจำนวนมาก ผู้เรียนจะต้องนำเทคโนโลยีมาพัฒนาอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในรูปของแผนธุรกิจที่ตอบโจทย์ทั้งมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ เป็นมิตรต่อสิ่ง-แวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม (Triple Bottom Line) เรียกได้ว่าตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 เพื่อสังคมไทย 5.0 กล่าวคือเป็นสังคมที่สามารถจัดหาสินค้าและบริการให้กับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่สมเหตุผลภายในเวลาที่เหมาะสม (Provide goods and services to the people in need at the appropriate amount within a reasonable time.)

• โครงการเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Project) ภายใต้โครงการประเภทนี้ ผู้เรียนต้องประกอบธุรกิจจริงและบรรลุเป้าหมายทางการตลาดและการเงินภายในเวลาที่กำหนด โครงการนี้ทำให้ผู้เรียนเห็นกระบวนการพัฒนาธุรกิจจากจุดเริ่มต้นการคิดจนถึงการทำกำไร/ขาดทุนอย่างครบวงจร

บทบาทของอาจารย์ผู้สอนในขั้นที่ 3 ของเวทีเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ เป็นผู้อำนวยการส่งเสริมการเรียนรู้ (Facilitator) ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดขอบเขตของโครงการร่วมกับผู้บริหารองค์กรเจ้าภาพที่เป็นผู้มอบโจทย์สำหรับทำโครงการ กำหนดตัวบุคลากรขององค์กรเจ้าภาพที่จะร่วมกระบวนเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาพร้อมกับทีมนักศึกษา จัดหาที่ปรึกษาเพิ่มเติมในกรณีที่โครงการเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อน เป็นต้น นอกจากนี้ อาจารย์ยังต้องเป็นที่ปรึกษาโครงการ (Project Advisor) ให้กับผู้เรียนตลอดโครงการ ซึ่งต้องทำหน้าที่ตั้งแต่การร่วมกับผู้เรียนในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ กรอบทฤษฎีที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาของโครงการ ติดตามความก้าวหน้า และประเมินผลการเรียนรู้เนื่องจากเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนการแก้ปัญหาสำเร็จหรือไม่เป็นปัจจัยรอง เพราะแม้อาจแก้ปัญหาในกรอบเวลาไม่สำเร็จก็มิได้หมายความว่าการเรียนรู้ล้มเหลว ดังนั้นการวัดผลของขั้นนี้ ได้แก่การถอดบทเรียนผ่านกระบวนการสะท้อนความคิด (Reflection) 4 ด้าน ดังนี้

• การสะท้อนบทเรียนด้านทฤษฎี (Reflection on Theory vs. Practice) ได้แก่ การถอดบทเรียนว่ากรอบแนวคิด ทฤษฎีที่วางแผนไว้ก่อนลงมือทำสามารถใช้ได้ในการทำงานจริงๆ หรือไม่ เพราะเหตุใด บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการนำทฤษฎีเชิงวิชาการหนึ่งๆ ไปใช้คืออะไร เหตุใดโลกของทฤษฎีกับโลกของความเป็นจริงจึงอาจต่างกัน

• การสะท้อนบทเรียนด้านการแก้ปัญหา (Reflection on Problem Solving) ได้แก่ การถอดบทเรียนว่าผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด การตั้งโจทย์/ คำถามมีผลต่อการแสวงหาคำตอบอย่างไร

• การสะท้อนบทเรียนด้านการทำงานเป็นทีม (Reflection on Team Process) ได้แก่ การถอดบทเรียนเกี่ยวกับที่มาของประสิทธิผลของการทำงานเป็นทีม (Team Effectiveness) การสะท้อนบทเรียนด้านนี้อาจไม่ต้องรอให้จบสิ้นโครงการ แต่สามารถทำได้ทันทีเมื่อทีมประสบปัญหาความขัดแย้ง เพื่อการเรียนรู้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน การลดความขัดแย้ง ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งเพื่อการพัฒนา เป็นต้น

• การสะท้อนบทเรียนด้านกระบวนการเรียนรู้ (Reflection on Learning Process) ได้แก่ การถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ (Learning about Learning) ได้แก่การสะท้อนความคิดเห็นจากคำถามที่ว่า หากต้องทำโครงการนี้ใหม่อีกครั้ง มีสิ่งใดจะยังคงทำเหมือนเดิม มีสิ่งใดจะทำ
แตกต่าง เพราะเหตุใด 

เมื่อผู้เรียนผ่านเวทีเพื่อการเรียนรู้ทั้งสามขั้นตอนมาแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายได้แก่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำงานจริง ได้แก่ การทำสหกิจศึกษา หรือแม้แต่การเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง (Startup) คณาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองอีกครั้งมาเป็นผู้นิเทศงาน และผู้ให้คำปรึกษาหารือ (Counselling) การวัดผลมุ่งที่ความพร้อมในการประกอบวิชาชีพอย่างมืออาชีพ (Professionalism) และความสมดุลที่จะประสบความสำเร็จในการงานและชีวิตส่วนตัว (Work Life Balance)

ปัจฉิมบทสู่การนำแนวคิดเวทีเพื่อการเรียนรู้ไปใช้
สถาบันการศึกษาใดที่เห็นประโยชน์ของการสร้าง Learning Platform ดังที่ยกตัวอย่างของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาข้างต้นนั้น ไม่จำเป็นต้องลอกเลียนแบบรูปแบบและขั้นตอนที่กล่าวไปเสียทั้งหมด   แต่ควรที่จะออกแบบเวทีสั่งสมประสบการณ์การเรียนรู้ที่สามารถตอบเป้าหมายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสถาบัน โดยหัวใจของความสำเร็จอยู่ที่ความสมดุลของพื้นที่ที่เป็นเวทีของการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน เวทีของการสั่งสมความรู้เชิงวิชาการ กับเวทีของการลงมือปฏิบัติ กระบวนการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่ไม่ใช่เพียงการสอบ และการนำผลลัพธ์มาปรับปรุงกลยุทธ์การสอน อย่างต่อเนื่อง โดยในที่สุดสถาบันอาจจะเรียกเวทีเพื่อการเรียนรู้ของท่านว่า “หลักสูตร” เหมือนเดิมก็ได้ ตราบที่ท่านทำให้แน่ใจได้ว่า ผลสัมฤทธิ์แห่งการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนจะเกิดขึ้นได้จริงจากการออกแบบไม่ใช่เพราะความบังเอิญ (By Design Not By Chance)

 

เรื่อง : รศ.ดร.สิริวุฒ  บูรณพิร

          คณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Page 7 of 9
X

Right Click

No right click