×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

เมื่อพูดถึงนักการตลาดชั้นนำของประเทศไทย ชื่อของ สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ที่ปัจจุบันมาเป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ต้องติดอยู่ในลำดับต้นๆ เสมอ

จากอาจารย์มหาวิทยาลัย ก้าวสู่ธุรกิจข้ามชาติทำหน้าที่ต่างๆ ตั้งแต่เบื้องหลังในฐานะนักกลยุทธ์ ไปอยู่เบื้องหน้าในฝ่ายการตลาด ได้รับการโปรโมทจนได้ไปทำงานในต่างแดน ดูแลธุรกิจของยูนิลิเวอร์ในภูมิภาค และระดับสากล เธอบอกว่าถ้ามองย้อนกลับไป เธอกล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ความหลากหลาย ถือเป็นความสนุกในชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งของเธอ และที่สำคัญการเปลี่ยนแปลงช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ และไม่หลงไปกับความสำเร็จที่เข้ามาได้ดี

หลังจากตอบรับคำเชิญชวนของ ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ กลุ่มพฤกษาให้เข้ามาช่วยทำงาน ในตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม เธอก็เริ่มต้นการเปลี่ยนครั้งใหม่ของตัวเอง กับการเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมใหม่สำหรับตัวเธอเองโดยเธอเล่าบทบาทในปัจจุบันว่า

หน้าที่คือการช่วยทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย และสร้างแบรนด์พฤกษา เพื่อให้ธุรกิจนี้มีความยั่งยืนและแตกต่าง รวมถึงการดูพอร์ตโฟลิโอของธุรกิจ สร้างธุรกิจใหม่ให้กับกลุ่ม ซึ่งเริ่มต้นด้วย ‘โรงพยาบาลวิมุต’ ธุรกิจใหม่ของกลุ่มพฤกษาที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างตัวอาคาร รวมถึงการช่วยบริหารจัดการด้านอื่นๆ เพื่อสร้างพฤกษาที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในอนาคต ตามเป้าหมายของผู้ก่อตั้งที่อยากจะให้คนไทยได้มีบ้านคุณภาพดีในราคาที่เข้าถึงได้ และได้รับบริการที่เป็นเลิศจากพฤกษา

เธอเล่าว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ มีทั้งส่วนที่ต่างและที่คล้ายคลึงกัน ที่ต่างอย่างแน่นอนคือตัวผลิตภัณฑ์ จากเดิมที่เป็นสินค้า FMCG (Fast Moving Consumer Goods) สู่อสังหาริมทรัพย์ที่ผู้บริโภคถือว่าเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ของชีวิต แต่จุดที่เหมือนกันคือ ตัวผู้บริโภค ที่หากเข้าใจตัวผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง ก็จะสามารถทำการตลาดได้

“FMCG บทบาทของ Product Brand จะเด่นชัดกว่า Corporate Brand แต่สำหรับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Corporate Brand มีบทบาทมากกว่า ดังนั้นต้องใช้ศิลปะและความเข้าใจเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคและการแข่งขันในท้องตลาด เราต้องคิดแบบผู้นำ คิดแบบก้าวหน้า”

ในด้านการบริหารจัดการอื่นๆ สุพัตรา
มองว่า ไม่แตกต่างกันที่ต้องมีเป้าหมาย มีวิสัยทัศน์ มีกลยุทธ์ เพียงแต่จะต้องปรับแผนและวิธีการดำเนินธุรกิจให้เหมาะสมกับธุรกิจและวัฒนธรรมขององค์กรแต่ละองค์กร โดยการนำเอาข้อดีและจุดแข็งขององค์กรที่มีอยู่มาผสมผสานกัน ทั้งการทำทุกอย่างด้วยใจ มีความมุ่งมั่น และรวดเร็ว รวมถึงประสบการณ์ในองค์กรสากล 

“การย้ายข้ามมาองค์กรใหม่ หรือทำสิ่งใหม่ๆ ต้องระวังว่า เราควรจะเปลี่ยนอะไรของที่นั่น จับให้ถูกว่าอะไรที่เราควรปรับตัวเองเข้าด้วย แต่ถ้าเราปรับหมด ถูกกลืนไปหมด เราก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้” 

โดยเธอบอกแนวคิดในการทำงานว่า มองไกล มองกว้าง รู้ว่าต้องขยายในจุดใด และส่วนใดที่ต้องลงมือทำ “ยิ่งเป็นผู้นำระดับสูง สิ่งที่เรียนรู้มากที่สุดคือว่า เราจะทำให้สำเร็จโดยที่ไม่ต้องลงมือทำได้อย่างไร คือการวางโครงสร้าง วางคน วางงาน และให้มั่นใจว่าเป้าหมาย วิสัยทัศน์ขององค์กรชัดเจน กลยุทธ์ชัดเจน และมองไกลเพื่อให้เห็นว่าเราจะไปอย่างไร และรู้ว่าเราจะมีเรดาห์อย่างไรที่จะสแกนทั้งองค์กรแล้วเห็นว่าจุดไหนที่เราต้องเข้าไปเจาะ จุดไหนที่ต้องขยายพอร์ตโฟลิโอ จุดไหนที่ทีมต้องการให้เราไปช่วย เราก็เจาะลงไปเพื่อที่จะทำให้สำเร็จ พอเขาทำเป็นก็ปล่อยเขา” 

 

ส่งต่อพลังบวก 

เมื่อถามสุพัตราถึงเรื่องราวที่เธอรู้สึกประทับใจ เรื่องราวต่างๆ ที่เธอเล่าให้ฟังล้วนมีภาพของผู้คนรายล้อมมีความสุขใจอยู่ในนั้นด้วย เริ่มจากเมื่อครั้งกลับจากประเทศจีนมารับดูแลธุรกิจไอศกรีมและอาหาร ที่เธอสามารถ Turn Around ธุรกิจที่ไม่มีกำไรให้กลับมาทำกำไรได้ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งพร้อมเผชิญกับโอกาสและอุปสรรคต่างๆ 

“ทำไอศกรีมแล้วเป็นความสุขอย่างยิ่ง ทุกคนรักกันไม่ใช่แค่ทีมไอศกรีมของยูนิลิเวอร์ แม้กระทั่งศูนย์จัดจำหน่าย พาร์ตเนอร์ เป็นพลังมหาศาลจริงๆ ก็เป็นที่ประทับใจ ทุกวันนี้เราก็รักกัน ไอศกรีมความท้าทายเยอะมาก เข้าไปมีปัญหาหมดทุกอย่าง แต่เราก็ไปจับจุดและไปแก้ทีละอย่าง คือตอนเราไปนั่งเราก็คิดว่าปัญหาทั้งประเทศจะทำอย่างไรให้คนทั้งประเทศเขาทำงานเหนือกว่าความคาดคิดของเรา ทำอย่างไรให้เขาตากฝนตากแดดไม่เหนื่อยและมีพลังที่จะทำให้ถึง ก็เป็นอะไรที่ภาคภูมิใจมาก และวันนี้กลับมามอง ทำไอศกรีมนี่สนุกและไม่ได้ยากอย่างที่คิด” 

อีกเรื่องราวประทับใจคือช่วงน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2554 กับโครงการรับขวัญคนไทยกลับบ้านในช่วงน้ำลด ด้วยการระดมกำลังจากจิตอาสารวมถึงดารานักแสดงมาช่วยกันแพ็กสิ่งของใส่ถุงให้กับครัวเรือนไทยกว่า 300,000 ครัวเรือน “ทำให้รู้สึกว่า สามารถทำอะไรเล็กๆ แล้วรวมเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ ทุกคนช่วยกันจริงๆ เราได้ทำแคมเปญนี้ก็รู้สึกว่า ประทับใจ คือในธุรกิจเราก็ต้องรัน แต่เราเอาไอเดียมา แล้วคนมารวมกันช่วยมหาศาล ก็ชื่นใจ คือบางครั้งการช่วยผู้อื่น ถ้าไอเดียดี ก็สามารถรวมพลังคนให้เกิดขนาดได้ แต่ไม่ได้ทำคนเดียวนะ ทุกเรื่องต้องขอบคุณน้องๆ และทีมงานที่ช่วยกัน งานที่ยิ่งใหญ่ทำคนเดียวไม่ได้ แต่เราเป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อน ให้เขาคิดและทำออกมาได้”

นอกจากนี้เธอยังมีโครงการที่ทำร่วมกับเพื่อนๆ กับโครงการผ่าตัดตาต้อกระจกฟรี ที่ร่วมกับทีมแพทย์อาสาสมัครจากประเทศไทย สิงคโปร์ และเนปาล รวมถึงท่านเจ้าอาวาสวัดไทยลุมพินี ผ่าตัดตาต้อกระจกที่เนปาลไป 773 ดวง และกลับมาทำที่ประเทศไทยอีก 162 ดวง เมื่อปีที่ผ่านมา โดยเป็นกิจกรรมที่ยังทำต่อเนื่อง

“จากคนที่มองไม่เห็นให้มองเห็น ตัวอย่างคนหนึ่งเป็นต้อกระจกมองไม่เห็นอะไรสองข้าง มา 6 ปี แล้วเราไปช่วยเขา เปิดตามาเขามองเห็น มันให้ชีวิตใหม่กับเขา และครอบครัวเขา เป็นอะไรที่มีความสุข”

สุพัตราปิดท้ายด้วยเรื่องราวในอาชีพการงาน ในช่วงที่เป็นผู้บริหารหญิงชาวไทยเพียงคนเดียวในทีมระดับโลก ที่เข้าร่วมเวทีประชุมใหญ่ของบริษัท เธอเล่าว่า “มีน้องคนหนึ่งที่เป็นจูเนียร์คนไทยวิ่งมาหาตอนเราลงจากเวทีมากอดเรา พี่หนูภูมิใจมากเลย พี่เป็นผู้หญิงไทยคนเดียว เป็นตัวแทนของพวกเรา ทำให้จำตรงนั้นได้ และรู้สึกว่า การที่เราได้เป็น CEO ของยูนิลิเวอร์ที่เป็นผู้หญิงคนแรกในรอบประวัติศาสตร์ 80 กว่าปี และเป็นหนึ่งในท็อปคนไทยในเอเชีย ไม่ใช่แค่ในประเทศ เอาความเป็นผู้หญิงไทยไปตรงนั้นได้ ก็เป็นความสำเร็จที่เราภูมิใจ เหมือนเราเปิดช่องให้เขารู้ว่าคนไทย ผู้หญิงไทยก็ทำได้ เป็นอะไรที่อยากจะบอกว่า ไม่มีอะไรขวางกั้น เพราะโลกแข่งขันไม่ได้แข่งแค่ในประเทศไทย เป็นภูมิภาคเป็นระดับโลกหมดแล้ว ดังนั้นเราต้องพัฒนาและเวทีเปิดกว้าง อยากเห็นคนไทย ไม่ว่าผู้หญิงผู้ชายทั้งหลายเอาตัวเองออกไปนอกประเทศ เป็นผู้นำ จะได้เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศเรากับประเทศอื่นๆ และทำให้เราภาคภูมิใจได้”

ความสำเร็จและความประทับใจกับเรื่องราวที่ผ่านมาของเธอในการทำงานและกิจกรรมต่างๆ จึงเป็นการทำให้ผู้ที่อยู่รายล้อมมีความสุข เธอบอกว่า “ผลทางธุรกิจก็มาอัตโนมัติ ถ้าเห็นคนอยากทำงาน ทำงานแล้วมีความสุข มีเป้าหมายเดียวกัน รักกันไม่ว่าปัญหาขนาดไหน เดี๋ยวก็แก้กลับมาได้ และมีความสุขที่ได้เห็นเขาทำงานมีพลัง พลังบวกในบริษัทในองค์กรในทีม สำคัญ และพลังบวกทำให้พลังเพิ่มขึ้นจริงๆ” 

ดังนั้นผู้นำองค์กรจึงต้องพยายามผลักดันสร้างสรรค์พลังบวกให้เกิดขึ้นในองค์กร ให้พนักงานในองค์กรมีความอยากจะทำงานด้วยตัวเอง “เพราะถ้าบอกเขาทำ เขาก็ทำตามที่เราบอก แต่ถ้าเรากระตุ้นให้เขาคิด มีทิศทางมีเป้าหมาย เขาจะทำได้ดีกว่าที่เราไปบอกให้ทำ”

ซึ่งเธอก็นำวิธีการเช่นนี้มาปรับใช้กับการบริหารจัดการงานที่พฤกษาด้วย เธอบอกว่า “อยากให้บริษัทนี้ เติบโตอย่างยั่งยืน ให้ทุกคนมีความสุขในการให้ผู้อื่น ใส่ใจทำสิ่งดีๆ และเมื่อทั้งหมดรวมกันคิดว่าทุกอย่างจะดีเอง ด้วยความเชื่อว่าถ้าเราใส่ใจรักในสิ่งที่เราทำ และเรารู้ว่าเราทำเพื่อผู้อื่นมีความสุข ความสำเร็จก็จะตามมา แต่คนเราส่วนใหญ่ก็จะคิดว่า จะทำอย่างไรให้ตัวเองสำเร็จ ตรงนั้นคิดเท่ากับผลลัพธ์มากกว่า ถ้าคิดถึงลูกค้าก่อน เราอยากให้เขามีบ้านคุณภาพดี ราคาที่เข้าถึงได้ ส่งมอบให้ประทับใจ บริการให้ดี กำไรก็มาอยู่ดี เหมือนศาสนาพุทธ เป็นเหตุและผล เราต้องทำเหตุให้ดี ผลก็ต้องดีแน่นอน ถ้าไปเน้นที่ผลอย่างเดียวแต่ไม่ได้ทำอะไรเลย อย่างไรผลก็ไม่มา” 

 

คำแนะนำสำหรับคนรุ่นใหม่

ในฐานะผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง สุพัตราให้คำแนะนำคนทำงานรุ่นใหม่จากประสบการณ์การทำงานของตนเองว่า “ดิฉันก็สังเกตตัวเองว่าเราทำอะไร พอเราเก่ง ทุกคนเหมือนกันโดยธรรมชาติ ถ้าเก่งแล้ว ความมีตัวตนสูง ฉันแน่ ฉันเก่ง ดังนั้นจะปิดไม่ได้เรียนรู้ เพราะคำพูดเราก็ประกาศิต เป็นคนชี้ จะคิด Solution ให้ตลอดเวลา ถ้าเราได้ย้ายข้ามไป อย่างน้อย 6 เดือนแรกเราต้อง Humble แล้ว เท้าติดดิน เปิดหูฟัง 2 หู พูดน้อยลง ก็ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ แทนที่จะคอยบอกแต่คำตอบ เราจะหัดตั้งคำถามมากขึ้น ดังนั้นทุกครั้งที่เราเปลี่ยนแปลง ทำให้เรารู้สึกว่า จากที่เราจะลอยไปอยู่บนหอคอยเราก็ลงมาติดดิน ได้เห็นอะไรในสิ่งที่ไม่เคยเห็น ได้ปรับตัวเอง เพราะบางทีมนุษย์สติไม่มี รู้เยอะ ฉันทำมาเท่านี้ปีเท่านั้นปี เก่งที่สุด แต่ถ้าเราเปลี่ยนจะทำให้เรารู้สึกว่าเราอ่อนน้อมถ่อมตนขึ้น เป็นมนุษย์มากขึ้น คุยกับคนมากขึ้น การไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่จะทำให้เราเปลี่ยนตัวเราเอง เราก็ต้องอยากรู้อยากเห็น คนที่จะทำงานได้สำเร็จ ต้องขี้สงสัย ต้องช่างซักช่างถาม เพื่อจะได้มีมุมมองใหม่ๆ 

“ดังนั้น ก็จะแนะนำสำหรับผู้บริหารที่ยังอายุน้อย หรือคนที่ยังทำงานที่อายุยังไม่มากว่า อย่าอยู่ในกรอบเดิม เราต้องกล้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ไม่ได้หมายความว่าต้องย้ายบริษัท แต่หมายความว่าต้องกล้าทำสิ่งใหม่ๆ เอาตัวเองออกไป ไม่สำเร็จก็ไม่เป็นไร เราก็ได้เรียนรู้ จะกลับมาที่เดิมก็เป็นของตายอยู่แล้ว อยากให้ลองอะไรใหม่ๆ ดู ตื่นเช้ามาจะได้มีพลังในการทำอะไรที่ไม่เคยทำมาก่อนให้สำเร็จได้ จะเป็นการบรรลุเป้าหมายในระดับหนึ่ง”

 

สังคมในอุดมคติ

เมื่อถามถึงสังคมในอุดมคติของเธอ สุพัตราหยุดคิดเล็กน้อยก่อนบอกว่า “คิดว่าอยากให้คนแยกแยะได้ว่าอะไรคือผิดอะไรคือถูก อะไรดีอะไรไม่ดี โดยใช้หลักธรรมะและกฎหมาย คือต้องใช้หลักศีลเข้ามา ทุกวันนี้ทำผิดแล้วก็ไม่ผิด ไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดศีลธรรมก็เอาตัวรอดกันไปได้ ไม่อยากให้คนเคารพวัตถุ เงิน ตำแหน่ง เพียงอย่างเดียว ทำอย่างไรให้คนเคารพหลักธรรม ความดี คนดี ไม่ยึดติดเกินไป สังคมวันนี้ ความเจริญทางวัตถุและเศรษฐกิจทำให้เกิดการแข่งขัน ความอยากมีอยากได้จนบางครั้งลืมหลักศีลธรรมจริยธรรมไป 

“ธรรมชาติทุกอย่างเป็น bell curve (กราฟระฆังคว่ำ) คนเปรียบดังบัว 4 เหล่าตามที่พระพุทธเจ้าแบ่งมา จะทำอย่างไรให้บัวที่พ้นน้ำหรือที่เก่งๆ ที่เป็นยอดคนทั้งดีและเก่งมาเป็นผู้นำขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง” 

อาจารย์จิรวรรณ กาญจนานันท์ ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาบุคลากร ในบทบาทวิทยากรและโค้ช ของบริษัท แอคคอม แอนด์ อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นโค้ชที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ วันนี้อาจารย์จิรวรรณ หรือ อาจารย์กวางมาคุยกับเราถึงการเตรียมตัวอย่างไร เพื่อการเป็นผู้นำให้กับเด็กในเจนเนอเรชั่นใหม่ๆ ที่เดินเข้ามาทำงานกับเรามากขึ้นทุกๆ วัน

หัวหน้าที่ดีของคนรุ่นใหม่ ใช้การบังคับและสั่งการอย่างเดียวไม่ได้แล้วในยุคนี้ คนรุ่นใหม่มองหาผู้นำและหัวหน้าที่มีความเป็นโค้ชในตัวด้วย

“หลักสูตรที่แอคคอมฯ ช่วยลูกค้าจึงมีทั้งระดับบริหาร คือช่วยให้ผู้นำสามารถไปโค้ชผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีความหลากหลายทั้งวัยและค่านิยมได้ เรียกว่าจะบนลงล่าง และเพื่อให้การโค้ชประสบความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้น เราไม่เพียงแค่มุ่งเน้นการให้ความรู้ แบบบนลงล่าง คือ เตรียมผู้บริหารเพื่อการโค้ชพนักงาน” แต่ต้องให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ “แบบล่างขึ้นบน คือ เตรียมพนักงานเพื่อความเข้าใจ และพร้อมตอบรับการโค้ชของผู้บริหารด้วย”

เนื่องจากการโค้ชเป็นการพูดคุยโดยใช้การตั้งคำถาม การขอความคิดเห็น ถ้าหากพนักงานไม่เข้าใจเรื่องการโค้ชหรือไม่เคยได้รับการโค้ชมาก่อน ก็จะเกิดความไม่มั่นใจที่จะพูดคุย และมีแนวโน้มที่จะปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นและการค้นหาคำตอบจึงทำให้การโค้ชไม่ประสบความสำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้นอาจจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างกันได้ มีพนักงานหลายท่านที่ผ่านหลักสูตรและกลับมาเล่าให้ฟังว่าจากอดีตที่เคยไม่เข้าใจว่าการโค้ชคืออะไร และเพื่ออะไร มาถึงวันนี้เมื่อไรก็ตามที่ได้รับการโค้ชจากหัวหน้า เขาจะรู้สึกภูมิใจมาก เพราะมันแสดงให้เห็นว่าหัวหน้ามองเห็นศักยภาพในตัวเขา

“ทุกวันนี้ การโค้ชมีหลายรูปแบบนะคะ แต่ที่กวางสอนเน้นๆ เลย คือการโค้ชในองค์กร เป็นการช่วยให้ผู้จัดการ นำพาทีมไปสู่เป้าหมายได้อย่างสำเร็จ และมีการบริหารที่ดีเหมาะกับคนในยุคนี้”

เนื่องจากบริษัทแอคคอมฯ ได้รับการคัดเลือกจาก ดร.มาแชล โกลด์สมิท โค้ชอันดับหนึ่งของโลก ให้เป็นผู้แทนด้าน การพัฒนาภาวะผู้นำอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ประกอบกับหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนของเราก็ได้รับการรับรองจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ (International Coach Federation) จึงมั่นใจได้ว่าหลักสูตรจากบริษัทของเราเป็นหลักสูตรที่เป็นสากล ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเหมาะสม ถูกต้อง และได้ผลลัพธ์

 

ผู้นำในยุคปลาเร็วกินปลาช้า

เมื่อโลกเปลี่ยนไป นั่นก็หมายถึงโจทย์ต่างๆ ก็เปลี่ยนไปเช่นกัน และถ้าเรานำคำตอบเดิมหรือทักษะเดิมมาใช้กับโลกที่เปลี่ยนไป เราอาจจะได้คำตอบที่ไม่ตรงกับคำถาม เทคนิคที่แอคคอมฯ ใช้ ช่วยให้ท่านผู้นำได้พบวิธีการใหม่ๆ ในการทำงานให้เหมาะสมกับโลกปัจจุบันและคนในเจนเนอเรชันปัจจุบัน เปรียบเสมือนการค้นหาคำตอบได้ตรงกับคำถาม ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาบุคคลในทีมและองค์กรเท่านั้น แต่เป็นทักษะที่สามารถนำมาช่วยพัฒนาตนเองได้ด้วย

อาจารย์กวางมองว่า ความท้าทายของการเป็นโค้ชและวิทยากรอยู่ตรงที่การโค้ชไม่ใช่สิ่งที่คนไทยคุ้นเคย ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การปรับความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่าการโค้ชคืออะไร อะไรไม่ใช่การโค้ช ซึ่งตรงนี้สำคัญมากจำเป็นต้องเข้าใจก่อน จึงจะไปเรียนรู้เรื่อง Skill หรือทักษะการโค้ช ผู้เรียนจะได้เรียนและฝึกฝนในห้องเรียนพร้อมแลกเปลี่ยนและรับ Feedback จากอาจารย์จนเข้าใจกระบวนการ วิธีการ เพื่อนำกลับไปปรับใช้กับสถานการณ์จริงในการทำงาน แล้วกลับมาติดตามผล โดยการแชร์ประสบการณ์การโค้ชเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาทางปรับปรุง และพัฒนาร่วมกัน จุดเด่นของการเรียนโค้ชกับบริษัทแอคคอมฯ คือ การได้ฝึกปฏิบัติและได้รับ Feedback มีการพูดคุยให้คำปรึกษาการนำไปใช้งานจริง

อาจารย์จิรวรรณ พูดถึงการเป็นผู้นำแบบโค้ชให้ฟังว่า เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าบทบาทในการเป็นผู้นำของเราไม่ใช่แค่ผู้จัดการ หรือ ผู้บริหาร แต่เรายังมีอีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญยิ่ง คือมีหน้าที่ในการพัฒนาและส่งเสริมให้ลูกน้องเก่งขึ้น ลูกน้องเราไม่ใช่เครื่องจักร เครื่องกลที่ต้องป้อนโปรแกรมในการทำงานตลอดเวลา แต่เขาเป็นมนุษย์ที่มีความสามารถ ในฐานะผู้นำ เราจะทำอย่างไรที่จะช่วยดึงศักยภาพของเขาออกมาและสนับสนุนให้เขาได้ใช้ความสามารถ ทั้งด้านความคิด ความสร้างสรรค์ และการลงมือปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผล มากกว่าแค่การปฏิบัติตามคำสั่ง

 “ที่ผ่านมาเรามีการประเมินผลจากองค์กรที่เข้าร่วมอบรม และสิ่งที่กวางได้รับเสียงสะท้อนกลับมาคือ หลายท่านบอกว่า ยิ่งนั่งเรียนยิ่งเหมือนมีกระจกเงามาสะท้อนให้มองเห็นตัวเองในองค์กรชัดเจนขึ้น ได้ประเมินการบริหารงานที่ผ่านมาของตนเอง ได้มุมมองและแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาภาวะผู้นำของตนเอง ทีมงานและองค์กร” ซึ่งนี่เองคือความสุขในการเป็นโค้ชและวิทยากรของอาจารย์กวาง “ถ้าย้อนมองกลับมาที่ตัวเราเอง กวางมองว่าการเป็นโค้ช ช่วยให้ตัวเองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีด้วย อย่างน้อยที่สุดก็คือการเข้าใจคนอื่นมากขึ้น รับฟังและใจเย็น ถ้าในแง่ของการทำงาน กวางภูมิใจต่อทุกผลตอบรับของผู้เรียนและผู้ที่ได้รับการโค้ชจากกวาง แต่ที่ภูมิใจที่สุดเมื่อผู้เรียนเห็นความสำคัญของการโค้ช และมุ่งมั่นที่จะนำการโค้ชไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับทั้งตนเองและคนรอบข้าง”

 

การทำงานกับแอคคอมฯ

 “ทุกคนในแอคคอมฯ เป็นเหมือนครอบครัว คำว่าครอบครัว ใครๆ ก็พูดได้นะคะ แต่กวางว่าที่นี่ ไม่ได้พูดออกมา และไม่จำเป็นต้องพูดเลย แต่เป็นสิ่งที่เราสัมผัสได้จากการปฏิบัติต่อกัน เหมือนที่บอกว่า Actions speak louder than words งานเราเยอะตลอดปี ซึ่งต่างจาก Life Style ที่ผ่านมาของกวางคือ เป็น ดีเจ แต่กลับไม่รู้สึกว่า ขาดอิสระใดๆ ในชีวิต ยังมีความสุขเหมือนเดิมกับงาน”

 

ในด้านชีวิตส่วนตัว

อาจารย์กวางรักการท่องเที่ยว มักจะใช้เวลาว่างกับการพาครอบครัวไปเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ “กวางชอบท่องเที่ยวค่ะ เป็นคนสนุกง่าย เห็นอะไรก็ตื่นเต้น พบเจอกับอะไรก็สนุกได้ทุกอย่าง เวลามีใครถามว่าอยากไปเที่ยวที่ไหน จึงเป็นคำถามที่ตอบได้โดยไม่ต้องคิดเลยค่ะว่า “ทุกที่” เพราะคำว่าไปเที่ยวของกวางหมายถึงที่ไหนก็ได้ ที่ได้เห็นสถานที่แปลกใหม่ ผู้คน วิถีชีวิต แต่ที่สำคัญต้องถ่ายรูปกวางเยอะๆ นะคะ”  

ในการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานทุกๆ วัน การสื่อสารเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากสื่อสารได้ดี ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม ทั้งๆ ที่การสื่อสารที่ชัดเจนและโน้มน้าวใจได้มีความสำคัญมาก แต่คนทำงานกลับมีเวลาน้อยลงในการเตรียมการ จะเห็นได้ว่า 90% ของการสื่อสารในแต่ละวัน เป็นการคิดสด พูดสด ทักษะ Think on Your Feet® จึงได้รับความนิยมมากขึ้นในทุกๆ องค์กรทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ

อาจารย์ดลล์กร มงคล (หญิง) โค้ชและวิทยากรด้านการสื่อสาร (Communication) ด้านภาพลักษณ์มืออาชีพ (Profession Image & Business Etiquette) และการบริการลูกค้า (Customer Service) จากบริษัทแอคคอม แอนด์อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล (แอคคอมฯ) กล่าวถึง Think on your Feet ® ว่า “Think on Your Feet® เป็นทักษะที่ลูกค้าชอบเป็นพิเศษ เพราะเรียนแล้ว ใช้ได้ทันที และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด” หลักสูตร Think on Your Feet® เป็นหลักสูตรที่แอคคอมฯ ได้รับลิขสิทธิ์การสอนจากเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

อาจารย์หญิงยังเล่าให้เราฟังเพิ่มเติมอีกว่า “ศาสตร์ด้านการสื่อสาร” มีความสำคัญและเป็นส่วนขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในโลกของการสื่อสารยุคดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง How to ของการสื่อสารที่มีคุณลักษณะเด่น เช่น การสื่อสารที่กระชับ ได้เนื้อหาใจความที่ตรงกัน และโน้มน้าวให้คล้อยตามได้ทั้งเหตุผลและความรู้สึก

ทักษะ Think on your Feet ® จะช่วยให้เราสามารถเรียบเรียงความคิดได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจนและสื่อสารออกไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะมีเวลาเตรียมตัวในการสื่อสารครั้งนั้นๆ หรือ ไม่มีโอกาสได้เตรียมตัวมาก่อนเลย

ระหว่างอบรม เน้นให้ผู้เรียน ได้ฝึกปฏิบัติเยอะมาก เช่นการจัดระเบียบความคิดของตนเอง (Organize) ได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะมีการสื่อสารออกไป เน้นให้ใช้สถานการณ์ในงานจริงๆ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ประโยชน์สูงสุด และมีความมั่นใจไม่กลัวต่อการสื่อสารในสถานการณ์ที่ท้าทายอีกต่อไป

“ระหว่างการฝึกปฏิบัติ หญิงจะให้ Feedback ที่สร้างแรงบันดาลใจอีกด้วย โค้ชและวิทยากรของเราได้รับการพัฒนาและบ่มเพาะเทคนิคการใช้ Feedback ให้เป็นประโยชน์อย่างเข้มข้น ซึ่งลูกค้าจะชอบเรามากในการมาเรียนรู้กับเรา”

หลักสูตรนี้อบรมโดยใช้เวลาสองวัน บรรยายเกี่ยวกับแนวทางและให้ทฤษฎีเพียง 20% ภาคปฏิบัติ 60% และวิทยากรให้ Feedback หรือเปิดโอกาสให้มีการ Feedback กันอีกประมาณ 20% เพื่อให้เข้าถึงหัวใจของ Think on your Feet® อย่างแท้จริง อีกอย่างที่เป็นข้อดีของหลักสูตรนี้คือ เรียนครั้งเดียวสามารถนำไปใช้ทั้ง พูด อ่าน เขียน ทั้งตอนมีเวลา และไม่มีเวลา ทั้งในสถานการณ์ปกติและภายใต้ความกดดัน เมื่อได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปและต้องใช้การสื่อสารมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องมาเรียนใหม่ เพราะทักษะใช้ได้จนกระทั่งเติบโตไปเป็นผู้นำและผู้บริหารระดับสูงในองค์กร อาจารย์หญิงบอกว่า “คุ้มยิ่งกว่าคุ้มเลยค่ะ” (หัวเราะ) “ที่แอคคอมฯ จะเป็นแบบนี้ จะนำหลักสูตรอะไรมาใช้ จะเน้นให้ผู้เรียนนำไปใช้ได้จริง และใช้เวลาน้อยๆ แต่ได้ผลลัพธ์มหาศาล”

 

การสื่อสารที่ดีเป็นอย่างไร?

“ประการแรก การสื่อสารที่ดีควรเข้าใจตรงกัน ในการเป็นผู้สื่อสารที่ดีเราต้องรู้อย่างแน่ชัดก่อนว่าจะพูดอะไร พูดกับใคร ใช้เวลาเท่าไร ต้องการผลลัพธ์อะไร ซึ่งหลักการนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการสื่อสารทุกประเภท หลักสูตรนี้ให้เทคนิคการวิเคราะห์ผู้รับสารของเราอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองาน การเตรียมสุนทรพจน์ การพูดในที่ประชุม การพูดในชุมนุมชน (Public Speaking) การประชุมแบบอยู่ในห้องประชุมด้วยกัน หรือประชุมแบบ Conference Call การพูดคุยกับหัวหน้าหรือลูกน้อง การประกาศนโยบาย การเปลี่ยนแปลง การเล่าเรื่อง (Storytelling) การต่อรอง การอภิปรายเพื่อตัดสินใจร่วมกัน และอีกมากมาย”

“ผู้เข้าอบรม มักจะสะท้อนกลับมาว่า ทักษะนี้เหมือนรากฐานของบ้าน ซึ่งต้องแข็งแรงและยั่งยืน จะเรียนทักษะอะไรก็แล้วแต่ เปรียบเหมือนการเพิ่มเติมบ้านขึ้นไปชั้นสองชั้นสาม ถ้ารากฐานไม่แข็งแรง เราก็ไม่สามารถใช้งานชั้นสองและชั้นสามได้เต็มที่ หรืออาจไม่ได้ใช้เลย”

“ประการที่สอง การสื่อสารที่ดี หญิงเชื่อว่า เราควรคำนึงถึงการรักษาความสัมพันธ์ด้วย เพราะในธุรกิจ ชื่อเสียงของบุคคลและองค์กรในการสื่อสารจะส่งผลต่อความไว้วางใจกันในวันข้างหน้า และภาพลักษณ์องค์กร ถึงแม้ว่าเราจะกำลังขัดแย้ง คิดต่างกัน คนที่พูดเป็น ไม่จำเป็นต้องเก็บซ่อนความเห็นที่คิดต่างของตนเองไว้ ในการอบรม Think on Your Feet® เราจะเน้นและกระตุ้นให้คนแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างแบบที่อีกฝ่ายฟังแล้ว อยากกระโดดมาให้ความร่วมมือทันที”

 

 ผู้บริหารระดับใดเรียนหลักสูตรนี้บ้าง?

 “มีทุกระดับค่ะ เท่าที่หญิงเห็น มีองค์กรลูกค้าของเราใช้เป็นหลักสูตรบังคับก่อนบุคคลจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บริหารก็มี หรือเป็นผู้บริหารมาสักพัก ต้องพัฒนาทักษะเพิ่มเติมก็มี ยิ่งมีทีมงานต้องดูแล การสื่อสารคือเครื่องมือในการบริหารเลยก็ว่าได้ สำหรับผู้บริหารระดับสูงก็เรียนเยอะค่ะ ตัวอย่างของความจำเป็นเช่น เมื่อองค์กรเผชิญสถานการณ์วิกฤตบางอย่าง ผู้บริหารระดับสูงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีบทบาทความรับผิดชอบในการสื่อสารข้อมูลออกไปสู่สาธารณชน ดังนั้นการคำนึงถึงความเหมาะสมในสารที่จะส่งไปยังผู้ฟังเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน อีกทั้งยังต้องเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ในการถาม-ตอบแบบที่ไม่ได้คาดคิด ซึ่งการอบรมจะช่วยให้ผู้บริหารสื่อสารอย่างมั่นใจภายใต้ภาวะที่กดดันได้อย่างราบรื่น แต่ทั้งนี้ผู้เรียนที่ยังไม่ได้เป็นผู้บริหาร และจำเป็นต้องใช้การสื่อสารเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของงาน ก็เรียนเยอะเช่นกันค่ะ”

 

 เทคนิคการสอนของอาจารย์หญิงคืออะไร

 อาจารย์หญิง กล่าวว่า “หัวใจสำคัญของThink on your Feet® คือเป็นการอบรมที่ไม่ใช่การให้ความรู้ How to เท่านั้นแต่ยังช่วยปรับ Mindset ของผู้สื่อสารให้คำนึงถึงความต้องการและบริบทของผู้ฟัง “ในหลักสูตรมีเทคนิคหลากหลายแต่เรามีวิธีการสอนให้จำได้ง่ายๆ ซึ่งผู้เรียนชื่นชอบมาก เมื่อเร็วๆ นี้ ได้สอนพนักงานขายหลายกลุ่มมาก เขาสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ลูกค้าและปรับกลยุทธ์ในการขาย รวมถึงสามารถปรับการสื่อสารหน้างานได้อย่างทันที ลื่นไหล มีลูกเล่น และทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ว่าเป็นคนสำคัญ”

อาจารย์หญิง เน้นว่า การสื่อสารที่ดีต้องผสมผสานระหว่างสาระและลีลา ในด้านหนึ่งการให้แต่ข้อมูลเนื้อหาแบบมีหลักการ มีโครงสร้างในการพูดที่ชัดเจนนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้เกิดความเข้าใจ (สาระ) อย่างไรก็ตามภาษาที่เข้าใจง่ายเหมาะกับกลุ่มผู้ฟัง การยกตัวอย่างประกอบ และท่าทางในการพูด (ลีลา) จะช่วยสร้างความน่าสนใจในการสื่อสารและช่วยผู้ฟังให้สามารถจดจำเนื้อหาได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ผู้พูดจึงควรฝึกฝนผสมผสานทั้งสองเรื่องนี้เข้าด้วยกัน และสำคัญที่สุดคือ เมื่อก่อนเราอาจจะเคย “พูดแล้วจึงค่อยคิด” แต่หากฝึกสักนิด เราจะเป็นคนที่ “คิดแล้วจึงค่อยพูด” “การคิดให้เร็ว ไม่ใช่การไม่คิดเลย อย่างไรก็ควรคิดก่อน แต่จะทำอย่างไร ทักษะ Think on Your Feet® ช่วยเราได้ค่ะ”

 

 อาจารย์หญิงมีเคล็ดลับการดูแลตนเองอย่างไร

 หลักๆ เลยก็จะออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะ โดยดาวน์โหลดวิดีโอจากเว็บไซต์ที่สมัครเป็นสมาชิกเอาไว้ ทำให้สามารถเล่นเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ การเล่นโยคะทำให้ร่างกายทั้งแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังฝึกสมาธิ โดยในวันที่ว่างจะนั่งสมาธิที่บ้านวันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถมีจิตใจที่แจ่มใส ซึ่งทั้งสองสิ่งช่วยให้หญิงมีร่างกายและจิตใจสดใสสมบูรณ์ พร้อมที่จะส่งมอบการเรียนรู้ที่มีพลังและสนุกสนานให้ลูกค้าของแอคคอมฯ อีกทั้งใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขค่ะ 

สถานการณ์ในยุคดิจิทัลที่โลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และจากภาพรวมดังกล่าวส่งผลให้องค์กรต้องเร่งพัฒนาบุคลากร ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “การพัฒนาคน” เป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุด ยากกว่าการพัฒนาระบบโครงสร้าง (Infrastructure) หรือ ทรัพยากรที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ในองค์กร

อาจารย์วรัญญา เข็มทอง หรืออาจารย์ตุ้ม ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาองค์กรและบุคลากร และการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง ของ บริษัท แอคคอม แอนด์ อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (แอคคอมฯ) กล่าวถึง แนวทางการรับมือขององค์กร เพื่อให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปว่า “เห็นได้ชัดว่าเรื่องคน เป็นอุปสรรคสำคัญของการเปลี่ยนแปลงให้ทันกาล ดังนั้นการมีพนักงานที่มีความสามารถ มีทักษะพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และมีทัศนคติที่ดี เป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก ต่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางใดก็ตาม พนักงานเหล่านั้นก็จะสามารถไปต่อได้ด้วยกัน”

จากประสบการณ์ของอาจารย์ตุ้มได้พบว่า การเพิ่มเสริมสมรรถนะต่างๆ ให้บุคลากรทันที โดยในใจของเขายังไม่เปิดรับการเปลี่ยนแปลง จะทำให้องค์กรยิ่งเสียเวลา และเงินทุน แต่ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ที่แอคคอมฯ จึงมีกระบวนการพัฒนาให้กับทุกกลุ่มในองค์กร เช่นพัฒนาผู้นำและผู้บริหารในองค์กรให้มีกระบวนการ และเทคนิคในการช่วยปรับทัศนคติของบุคลากร มีขั้นตอนในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง สำหรับบุคลากรเราก็มีกระบวนการที่ใช้กิจกรรมเข้าช่วยในการทำให้คนละลายความเชื่อเดิมๆ และเปิดรับการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญเรื่องแบบนี้ต้องทำต่อเนื่อง เพราะคู่แข่งองค์กรไม่ได้หยุดนิ่ง ความต้องการของลูกค้าก็ไม่ได้หยุดนิ่ง ถ้าคนพร้อม องค์กร
ก็จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ทุกรูปแบบ

 

คนหลายเจนฯ ในองค์กร มีปัญหาไหม และแก้อย่างไร

อาจารย์ตุ้มเล่าถึงวิธีการแก้ปัญหาว่า เรา มีเครื่องมือที่จะเข้ามาทำการวิเคราะห์ก่อน เช่น ในกรณีที่บุคคลขาดแรงจูงใจในการทำงาน เราก็มีเครื่องมือประเมินแรงจูงใจ ที่จะช่วยบอกหัวหน้าของเขาให้เข้าใจความแตกต่างของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละเจนฯ หรือแต่ละคน และเข้าไปช่วยพัฒนาทักษะการบริหารคน โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับจากการวิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์

 

ด้านการพัฒนาระดับบริหาร

มีตั้งแต่การโค้ชให้กับผู้บริหารระดับสูง (Executive Coaching) เพื่อช่วยให้ผู้บริหารปรับตัวได้กับการบริหารคนหลากหลาย หรือเป็นการให้คำปรึกษา (Consulting) เช่นการวางระบบพัฒนาคน ซึ่งเป็นการมองภาพใหญ่ (Macro View) ทั้งทีม ทั้งองค์กร เมื่อมีการวางกลยุทธ์และเป้าหมายแล้วว่าจะเป็นอย่างไร หรือถ้าเน้นการบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง ก็จะมาถึงโจทย์ว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างไร นั่นคือกระบวนการ Leading Change ซึ่งต้องทำในแกน 4S คือ 

1. Strategy (กลยุทธ์) 

2. System & Process (ระบบและการบริหารภายใน) 

3. Structure & Culture (โครงสร้างและวัฒนธรรม) และ 

4. Staff (บุคลากร)

“การเปลี่ยนแปลงในวันนี้ถึงแม้จะมีความรวดเร็วอย่างมาก แต่ก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพ ตามคำที่ว่า Speed with Change และ Speed with Quality ในอดีตองค์กรที่ไม่ได้พัฒนาเรื่องแบบนี้ก็พบอุปสรรคเยอะหน่อย”

 

จากประสบการณ์เข้าไปช่วยในระดับใดบ้าง และอะไรที่ยากในการพัฒนา

มีทุกระดับ ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่ระดับ Head of Department หรือสูงกว่านั้น ไปจนถึงระดับปฏิบัติการ (Operations) กรณีที่อาจใช้เวลาหน่อย ก็จะเป็นเพราะคนมักติดกับความสำเร็จเดิมๆ จากประสบการณ์ เช่น มีธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน จึงยึดติดกับรูปแบบเดิม เมื่อต้องมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความพึงพอใจของลูกค้าลดลง สภาวะการแข่งขันสูงขึ้น ก็เกิดการต่อต้านจากภายในและคู่ค้า ซึ่งในกรณีนี้ การโค้ชจะเข้าไปช่วยได้ ทั้งเจ้าของกิจการและตัวแทนจำหน่าย ให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารใหม่ ช่วยกระตุ้นให้ปรับวิธีการคิด นำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยในการจัดการ

ในอีกกรณีที่เป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมบริการ ที่แข็งแรงอย่างมาก เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงจากความสามารถที่เหนือกว่าของคู่แข่ง และอัตราการออกของพนักงานสูง ทำให้มาตรฐานการให้บริการไม่ตรงตามกำหนด จึงต้องใช้เทคนิคการโค้ชเข้าไปช่วย เช่น เรื่องของงานบริการ พัฒนาแนวความคิด

“ในมุมมองของตุ้ม บางครั้งผู้บริหารทราบถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง แต่อาจเป็นเพราะข้อจำกัดต่างๆ เช่นเรื่องของงบประมาณ ทำให้คิดว่าจะทยอยใช้งบประมาณเปลี่ยนทีละนิด ขยับทีละหน่อย ดูจะเป็นทางออกที่ดี แต่การใช้งบจำกัด ค่อยๆ ขยับ จะทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่เกิด และไม่ทันการณ์ วันนี้เราต้องตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงของทุกภาคส่วน จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และต้องพร้อมรับมืออย่างเป็นขั้นตอน การเตรียมตัวรับแต่เพียงบางมุมนั้นไม่ทำให้ประสบความสำเร็จ”

อาจารย์ตุ้ม เน้นว่า “ทักษะของผู้บริหารด้านการสนทนากับทีมให้ร่วมมือ ร่วมใจในการเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องที่ท้าทาย และต้องเริ่มที่ความคิดของผู้บริหารเองก่อนด้วย เพราะนั่นหมายถึงท่านผู้บริหารเหล่านั้นจะไปส่งเสริมให้ลูกทีมพร้อมเปิดใจ ยอมรับ และสนุกกับการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ที่ต้องใช้คำว่าสนุก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบเปลี่ยน จะคิดว่าอยู่แบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องเปลี่ยน การจะทำให้สนุก ที่แอคคอมฯ เรามีหลักสูตรที่ช่วยผู้บริหาร “ Leading in the age of disruption” ก่อนมาร่วมงานกับแอคคอมฯ ตุ้มทำงานในองค์กรที่มีพลวัตรสูงมากในกลุ่ม Telecommunication ทำมานานกว่าสิบห้าปี ตุ้มยังรู้สึกว่า หลักสูตรนี้ดีจริงและตอบโจทย์ยุคนี้ที่สุดแล้ว”

 

อาจารย์ตุ้มปรับตัวอย่างไร จากการทำงานในองค์กรมาเป็นวิทยากร โค้ช และที่ปรึกษา

เมื่อมาอยู่ในบทบาทวิทยากร โค้ช และที่ปรึกษาเต็มตัว มี 2 เรื่องใหญ่ๆ สำหรับตุ้มเองในการปรับตัว คือ

1. ด้านความรู้ความสามารถ คือ ต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ให้รู้ลึก รู้เร็ว รู้รอบ ในแง่มุมต่างๆ ทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการบริหารคน และบริหารงานในยุคดิจิทัล

2. ความแตกต่างด้านคน และวัฒนธรรม คือ ตอนนี้ตุ้มต้องเจอกับคนในองค์กรต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงระดับปฏิบัติการ ซึ่งแน่นอนย่อมมีความหลากหลาย ทั้งวัฒนธรรมองค์กร กระบวนการทำงานที่แต่ละองค์กรหล่อหลอมมาแตกต่างกัน ซึ่งต้องใช้จิตวิทยาในการเข้าใจ เข้าถึงพฤติกรรมมนุษย์อย่างมาก แล้วค่อยปรับๆ ตัวเองไปหาเขาด้วยความเข้าใจ 

เจียมจิต จิวะสิทธิกุล Vice President , Executive Coach and Instructor ของ บริษัท แอคคอม แอนด์ อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ แอคคอมฯ

หนึ่งในโค้ชมากฝีมือของ แอคคอมฯ ผู้เคยผ่านงานประจำในอุตสาหกรรมต่างๆ มาหลากหลายในสายงานด้านทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาองค์กร หรือ HR & OD มาจนอยู่ในระดับผู้บริหารสูงสุดของสายงาน HR ประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการบุคลากรจึงมีอยู่เต็มเปี่ยม ขณะเดียวกันด้วยใจที่รักด้านการ ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร พัฒนาองค์กร ทำให้เธอตัดสินใจหันมาทำอาชีพวิทยากรและเป็นโค้ชอย่างเต็มตัว

อาจารย์เจียมจิตมองว่าการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนต้องมาจากการพัฒนาคนหรือพนักงานในองค์กร เพราะฉะนั้นการพัฒนาบุคลากรจึงเป็นหัวใจสำคัญของทุกๆ องค์กร ซึ่งไม่หยุดเพียงแค่การพัฒนาธุรกิจ แต่ยังต้องพัฒนาทีมงานและพัฒนาองค์กรไปพร้อมๆ กัน

อาจารย์เจียมจิตเล่ากระบวนการทำงานของแอคคอมฯ ว่า ลูกค้าจะมี 2 แบบ คือลูกค้าที่มีโจทย์ของตัวเองว่าต้องการอะไรและ แอคคอมฯ สามารถเข้าไปช่วยจัดเตรียมโปรแกรมการพัฒนาที่มีให้เหมาะสมกับความต้องการนั้น

และอีกประเภทหนึ่งคือลูกค้ากลุ่มที่ให้ แอคคอมฯ เข้าไปช่วยเป็นที่ปรึกษาองค์กร เช่นให้ไปช่วยวิเคราะห์องค์กรว่าปัญหาอยู่ที่ใด และควรจะแก้ไขปัญหาและพัฒนาในด้านใดอย่างไรก็ตามเป้าหมายคือการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ที่ต้องการพัฒนาองค์กรไปตามที่เขาต้องการ

อาจารย์เจียมจิต ยกตัวอย่างกรณีหากลูกค้ามีปัญหาพนักงานลาออกจำนวนมาก แต่ไม่ทราบสาเหตุ ทางทีมงานก็จะเข้าไปช่วยวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ก็เสนอว่าควรจะทำ Exit Interview หรือการสัมภาษณ์พนักงานที่ยังทำงานอยู่ด้วย คือ Stay Interview แทนการสัมภาษณ์พนักงานที่ลาออกหรือ Exit Interview อย่างเดียว เพื่อทำให้องค์กรได้รับทราบข้อมูล เพื่อนำไปพัฒนาออกแบบโปรแกรมที่เหมาะกับองค์กรของเขามากยิ่งขึ้น

โดยปัจจัยที่ทำพนักงานลาออกมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องหัวหน้างานซึ่งอาจมาจากภาวะผู้นำ ดังนั้นแอคคอมฯ สามารถเข้าไปช่วยได้ โดยมีโปรแกรมยอดนิยมคือ Leadership Development Program เป็นหนึ่งในโปรแกรมที่แอคคอมฯ ภูมิใจมาก เนื่องจากเพิ่งได้รับรางวัล “Best Leadership Development”

สาเหตุที่รองลงมาคือ เรื่องที่มาจากโครงสร้างองค์กรหรือโครงการการบริหารต่างๆ เช่น สายการบังคับบัญชา โครงสร้างเงินเดือนซึ่งเรื่องนี้สามารถช่วยได้โดยให้คำปรึกษากับทีม HR ขององค์กรเพื่อแก้ไข และปัจจัยที่3 อาจจะมาจากปัญหาในระดับบุคคลเช่นทีมขาย ทีมการตลาด ทีมการผลิต ซึ่งแอคคอมฯ เข้าไปช่วยดูว่ามีโปรแกรมอะไรที่สามารถช่วยเหลือได้บ้าง เช่นโปรแกรมการสื่อสาร และการสร้างแรงจูงใจต่างๆ

“เราไปช่วยเขาตั้งแต่ ออกแบบโปรแกรมพัฒนาเสร็จ เรามีโปรแกรมติดตามผลของเขา ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แบบทางการคือเรามีจัด Follow-up Sessions ด้วย แบบไม่เป็นทางการคือเขาจะมีเบอร์อาจารย์ มีไลน์อาจารย์ด้วยเขาอยากให้ช่วยเหลืออะไรก็สามารถติดต่อได้ เราไม่ได้ธุรกิจจ๋า
นี่คือเสน่ห์ของ แอคคอมฯ ”

 

 3 โจทย์ใหญ่ขององค์กร

 อาจารย์เจียมจิต เล่าถึงโจทย์ขององค์กรที่มักจะพบว่าประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ

1. องค์กรเปลี่ยนแปลงไม่ทันกับโลกปัจจุบัน เราก็จะทำเรื่อง Change Management อาจจะเพราะองค์กรเปลี่ยนไม่ทันหรือผู้นำไม่รู้สึกว่าต้องเปลี่ยน เราจะใช้โปรแกรม ที่ดีมากคือ Navigating in times of change คือสร้างผู้นำให้สามารถพัฒนาและนำพาทีมไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้ถูกเรื่อง ถูกที่ ถูกเวลา

2. การพัฒนาภาวะผู้นำ เช่น มีผู้นำโตมาจากระดับ Supervisor แล้วมาเป็นระดับ Manager ระดับ Director เรามีโปรแกรมเตรียมความพร้อมให้พวกเขา เหมือนเตรียมความพร้อมให้เขาพร้อมเป็นผู้นำ เราก็จะมี 3 โปรแกรมคือ

• Leading yourself พัฒนาตัวเองก่อนเพื่อเตรียมตัวเป็นผู้นำ

• Leading your team เป็นผู้นำแล้วก็เตรียมให้เขาพัฒนา เป็นผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารเป็นผู้นำทีม

• Leading for success เป็นการนำทีม นำองค์กรใปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร

 3. คือปัญหาเรื่องการสื่อสาร สื่อสารในองค์กรอย่างไร สื่อสารต่างสไตล์สื่อสารอย่างไร สื่อสารต่าง Generation สื่อสารอย่างไร สื่อสารข้าม Fuction ทำอย่างไร บางทีทีมวิศวกรคุยกับเซลล์ไม่รู้เรื่อง ทีมเซลล์คุยกับบัญชีไม่รู้เรื่อง เรามีโปรแกรมการพัฒนาเรื่องทักษะการสื่อสารให้ประสบความสำเร็จ

 

 เมื่อก่อนนี้ หนึ่งในความท้าทายที่เผชิญอยู่คือ การที่คนไม่รู้ว่าตนเองต้องพัฒนา (Self-Awareness) คนจะไม่เรียนรู้ ไม่เปลี่ยนแปลง หากเขาไม่รู้ว่าเขาจำเป็นต้องพัฒนา ซึ่งเป็นความท้าทายที่สุดในทำงาน เมื่อมาร่วมงานกับแอคคอมฯ จึงได้คำตอบ เพราะเรามีเทคนิคและเครื่องมือเยอะมาก จึงไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป

 

ในฐานะวิทยากรและโค้ช อาจารย์เจียมจิตเห็นความเปลี่ยนแปลงจากผลงานที่ได้ทำไป โดยวัดจาก 3 ระดับ คือ

• ระดับที่หนึ่งคือ ตัวผู้เรียนที่บอกมาเองว่าได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียนไปอย่างไร บางครั้งบอกในห้องเรียน บางครั้งไลน์มาคุยหรือบางครั้งโทรมาเล่าให้ฟัง ว่านำไปใช้แล้วได้ผล

• ระดับที่สองคือ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรที่มาบอกฟีดแบ็ก ว่าผลการเรียนทำให้เป้าหมายดีขึ้นหรือการลาออกลดลง

• ระดับที่สามคือ ได้เห็นด้วยตนเองจากการเข้าไปใช้บริการในองค์กรที่เรียนกับเราไป ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการกลับมาเรียกใช้บริการ แอคคอมฯ ซ้ำ

 

อาจารย์เจียมจิต ปิดท้ายด้วยการเล่าถึงความภูมิใจในบทบาทที่ทำอยู่ในปัจจุบันว่า กับบทบาทวิทยากรกรได้ทำให้คนได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ ได้รับคำถาม เสียงปรบมือ การตอบรับจากผู้เรียน การโทรศัพท์มาพูดคุยด้วย คือสิ่งที่ทำให้ตัวเธอภาคภูมิใจในทุกวันที่ทำงาน

ด้านการเป็นโค้ช เธอบอกว่า การทำให้โค้ชชี่ หาทางออกได้ด้วยตัวเอง มีวิธีคิดที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถเข้าใจสถานการณ์ของตัวเอง มีแรงบันดาลใจ นอกจากความภูมิใจแล้วยังถือว่าได้บุญด้วยในตัว

กับบทบาทที่ปรึกษา การเข้าไปช่วยวิเคราะห์องค์กร ออกแบบพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ให้ ทำให้เกิดความภูมิใจว่าได้ช่วยฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กร ได้ใช้ความรู้ที่มีไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้งตัวเองและองค์กรลูกค้า

อาจารย์เจียมจิตบอกว่า “บางวันกลับบ้านสลบนะ แต่มีความสุขทุกวัน ไม่เคยเบื่อที่จะสอนและไม่เบื่อที่จะโค้ช เป็นอาชีพที่มีความสุขที่สุดในทุกวัน” 

การก้าวเข้าสู่โลกยุค 4.0 ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับบุคคลและองค์กรที่จะปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อรุกและรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้จะมีบางคนและบางองค์กรยังคงมองว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นยังมาไม่ถึงตนเองหรือองค์กร แต่เราก็สัมผัสได้ถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้าสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้

​เคลาส์ ชวาบ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารสภาเศรษฐกิจโลก เขียนไว้ในหนังสือ “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่” แปลโดย “ศรรวริศา เมฆไพบูลย์” ถึงเหตุผลที่ทำให้เขาเชื่อว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ได้เริ่มขึ้นแล้ว ว่าประกอบด้วย การวิวัฒน์ในครั้งนี้มีจังหวะที่เร็วแบบทวีคูณ อันเป็นผลจากโลกที่เชื่อมโยงกันในหลากหลายมิติ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่กว่าและมีความสามารถมากยิ่งขึ้น

​การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้เป็นผลจากการปฏิวัติดิจิทัลและผสานเทคโนโลยีหลากหลาย นำไปสู่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนทั้งในแง่เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม และบุคคล

​และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆทั้งในลักษณะข้ามประเทศ และภายในประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมต่างๆ

คลื่นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้หลายอุตสาหกรรมเริ่มสูญหายไป ขณะเดียวกันก็มีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมา รวมถึงองค์กรที่มีอยู่ ปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น

​การจะปรับเปลี่ยนองค์กร ไม่ใช่เพียงซีอีโอหรือผู้บริหารองค์กรเท่านั้นที่จะบรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวังได้ หากต้องใช้สรรพกำลังของทั้งองค์กร การมีทัศนคติมีความมุ่งมั่นในการมองหาหนทางแก้ไขปัญหา มองหาโอกาสใหม่ๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจเดิมที่มีอยู่ ให้มีความสามารถในการแข่งขันในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วนี้ได้

บุคลากรในแต่ละองค์กรทั้งหมดจึงเป็นทั้งกลไกและหัวใจสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าไปได้อย่างมีกำลังวังชา มีความคล่องตัว สามารถร่วมมือกันจัดการปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นและมองหาหนทางใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ การพัฒนาองค์กรในยุคปัจจุบันจึงเน้นที่การเสริมสร้างพัฒนาทักษะคนในองค์กรให้มีความพร้อมกับโลกยุคใหม่ ซึ่งบางครั้งการพัฒนาคนในองค์กรจำเป็นต้องใช้มืออาชีพมาช่วยพัฒนาบุคลากรตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานระดับต่างๆ ขององค์กร

ผู้ช่วยที่จะมาร่วมพัฒนาองค์กร พัฒนาบุคลากร จึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในโลกยุคนี้ และหนึ่งในบริษัทที่ปรึกษา
ด้านการพัฒนาองค์กรและพัฒนาบุคลากรที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย เป็นที่ยอมรับของวงการอุตสาหกรรมต่างๆ คือ บริษัท แอคคอม แอนด์ อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ ACCOMM (แอคคอมฯ)

 

Passion Drives Company

 ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ Chief Learning Officer และ Managing Director บริษัท แอคคอม แอนด์ อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เล่าย้อนถึงเบื้องหลังแนวคิดการเปลี่ยนตัวเองจากการทำงานที่สายการบินต่างประเทศขนาดใหญ่กว่า 15 ปี มาเป็น
ผู้ประกอบธุรกิจเองว่า “เกิดจากความชอบเรื่องการพัฒนาองค์กรและพัฒนาคน และด้วยประสบการณ์ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลทั้งงานด้านบริหาร และด้านการพัฒนาภาวะผู้นำและบุคลากร ทำให้ได้เรียนรู้ ได้พบกับที่ปรึกษาเก่งๆ จำนวนมาก และตนเองก็เป็นคนชอบเรียนรู้เรื่องใหม่ๆอยู่เสมอ หน้าที่ของเราตอนนั้นคือ ต้องนำเทคนิคต่างๆ มาปรับ (Customize) ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของบุคลากรในเอเชียด้วย จึงต้องศึกษาลึกซึ้งในทุกด้าน เมื่อคิดจะมาทำธุรกิจของตัวเองจึงอยากทำงานด้านการพัฒนาต่อไป และมองว่าหลากหลายเทคนิคดีๆ อยากให้องค์กรในประเทศไทยได้รับด้วย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกได้”

ดร.อัจฉราบอกว่า “ตอนเริ่มทำธุรกิจแรกๆ ก็หวั่นๆ อยู่เหมือนกัน ว่าเราจะไปรอดไหม เพราะในธุรกิจนี้คนที่เข้ามาทำก่อนแล้วไม่สำเร็จก็มี แต่ถือได้ว่าเราโชคดีมาก ลูกค้าสะท้อนกลับมาว่า โพรดักส์ที่เราจับมีเอกลักษณ์ ใช้ได้จริงในการทำงาน และด้วยประสบการณ์ที่เราทำงานในองค์กรมาหลายบทบาท เราเข้าใจลูกค้าได้เร็ว ที่สำคัญเรามีเทคนิคการถ่ายทอดที่ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ลูกค้าก็ติดใจเราอย่างรวดเร็ว และบอกต่อๆ กันไป” 

​แอคคอมฯ ช่วยสร้างความสำเร็จให้ลูกค้าผ่านวิธีการต่างๆเช่น Organization Development, Team Development และ People Development ด้านการพัฒนาคน ลูกค้ามีตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ถึงพนักงานที่ติดต่อกับลูกค้า โดยมีรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ มีทั้งในห้องอบรม และบางส่วนเป็น on-line  กลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็ก และการโค้ชตัวต่อตัว รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาช่วยองค์กรออกแบบในสิ่งที่องค์กรต้องการ เช่น การออกแบบการเรียนรู้ การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์และการพัฒนาการบริการลูกค้ายุคใหม่ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ไปจนถึงการประเมินผล เป็นต้น

ดร.อัจฉรา บอกว่า “ปัจจุบันถึงแม้ลูกค้าจะมีตัวเลือกมากมาย แต่ลูกค้าจะฟังเสียงจากผู้ที่ใช้บริการมาแล้ว ลูกค้ามองหาความคุ้มค่าของการลงทุนไป เราเคยทำงานในองค์กรมาก่อน เราเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร คุยภาษาเดียวกัน ทำให้ลูกค้ามีความสุขเวลาทำงานกับเรา เราอยู่ในตลาดมา 12 ปี ลูกค้ายังใช้บริการของเราอย่างต่อเนื่อง”

ในประเทศไทย แอคคอมฯ เข้าไปทำงานกับแทบทุกอุตสาหกรรม ทั้งด้านการสื่อสาร การเงิน ธุรกิจสุขภาพ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเคมิคอล ด้านการท่องเที่ยว หรืออาจจะเรียกได้ว่า แอคคอมฯ เข้าไปให้บริการมาแล้วแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

 

 

 

Idea. Inspire. Implement 

 ​Idea. Inspire. Implement คือ สิ่งที่ทำให้ลูกค้าเดินมาหา แอคคอมฯ เพราะแอคคอมฯ ไม่เคยหยุดพัฒนาเครื่องมือที่ก้าวนำต่างๆ ในการพัฒนา ซึ่งลูกค้ามองว่าสำคัญในการที่จะช่วยให้เขาเติบโตไปกับการเปลี่ยนแปลงแบบเชิงรุก

​ดร.อัจฉรา อธิบาย 3 I ของ แอคคอมฯ ว่า

​“Idea เรามีแนวคิดใหม่ๆ ช่วยให้ลูกค้าปรับตัวเชิงรุกกับ VUCA World (Volatility (V), Uncertainty (U), Complexity (C), Ambiguity (A) ได้ทัน

Inspire เวลาเราพูดถึงองค์กร ก็ประกอบไปด้วยคนที่มีความหลากหลาย ส่วนใหญ่คนไม่ได้เปลี่ยนด้วยเหตุและผลเท่านั้น คนเปลี่ยนเพราะความรู้สึก เรื่องของอารมณ์ การที่ที่ปรึกษาและโค้ช หรือวิทยากรของเรา Inspire คนให้พัฒนาและปรับเปลี่ยนได้ จะช่วยองค์กรได้เยอะมาก เวลาดิฉันคัดเลือกคนเข้ามาทำงานจะมองหาคนที่ Inspire ผู้อื่นได้ดี

​Implement สำหรับเรา คือการช่วยให้ลูกค้านำไปปฏิบัติ เครื่องไม้เครื่องมือของเราช่วยให้องค์กรนำไปใช้ได้ทันทีไม่ต้องยุ่งยาก เป็นเหตุผลว่าทำไมบาง Process เราลงทุนซื้อลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องจากเมืองนอกมาเลย เพราะเขาตกผลึกมาเรียบร้อยแล้ว เรานำมาปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ของแต่ละองค์กร เพื่อให้ลูกค้านำไปใช้ได้ทันที”

ดร.อัจฉรา ยกตัวอย่างว่า ช่วงนี้ เรื่องที่องค์กรให้ความสนใจใช้บริการจาก แอคคอมฯ จำนวนมาก คือการสร้าง Mindset และ Enabler รวมถึงการสร้างความคล่องตัว (Agility) ในการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผล

​ดร.อัจฉราอธิบายว่า เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลง ทุกคนในองค์กรต้องร่วมด้วยช่วยกัน องค์กรจึงจะเปลี่ยนไปตามเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ปัญหาที่พบบ่อยคือ การสื่อสารเพื่อให้ทั้งองค์กรเห็นภาพเดียวกันจากระดับบริหารลงมา มักเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือมีการสะดุด เหมือนพายเรือวนไป วนมา ไม่ไปถึงจุดหมายปลายทางสักที เพราะพายกันไปคนละทิศทาง

“ในการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารที่เรียบเรียงได้ดี จะทำให้คนเข้าใจเหตุผล เป็นการสร้างความเข้าใจ แต่นั่นไม่เพียงพอในการสื่อสารทางเดียว หากต้องการสร้างการยอมรับด้วย คนรับสารจำเป็นต้องมีอารมณ์ร่วม (Emotional Engagement) จึงจะสร้างการจดจำ และลงมือทำ”

“ส่วนการโค้ช เป็นการสนทนาแบบสองทาง เป็นกระบวนการที่จำเป็น หากต้องการให้คนในองค์กรมี Growth Mindset และพร้อมที่เรียนรู้ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และหากต้องการความสำเร็จที่ยั่งยืน”

  

Lifetime Partner

คำนี้เป็นคำที่ลูกค้ามอบให้ แอคคอมฯ ซึ่งเป็นมุมมองว่าลูกค้ามอง แอคคอมฯ เป็นดั่งหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ของเขา ซึ่งกว่าที่เราจะได้รับคำชื่นชมเช่นนี้ได้ เบื้องหลังคือคุณภาพและบริการ 

เคล็ดลับสำคัญที่ ดร.อัจฉรา เปิดเผยคือ “เราจะพัฒนาตัวเราเองให้ทันสมัยตลอดเวลา เราจะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ให้อาจารย์ในบริษัทเสมอ นอกจากนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ก็สำคัญ ตัวอย่างเช่น เราปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาให้เหมาะสมกับคนรุ่นต่างๆ ในองค์กร เช่น นำเทคโนโลยี Blended Learning เข้ามาใช้ เพื่อให้ทางเลือกในการเรียนรู้กับลูกค้าทุกกลุ่มได้”​

“เพราะลูกค้าต้องการนำไปใช้งานเลย เขาต้องการฝึกด้วยสถานการณ์จริง ไม่ใช่แค่ในห้องสัมมนาเท่านั้น ในบางกลุ่ม เราพยายามใช้การเรียนรู้ในห้องเรียนให้น้อยที่สุด เพราะเขาต้องการอิสระในการเรียนมากขึ้น เขาจะชอบให้หั่นเป็นย่อยๆ น้อยลง ต่อครั้ง แต่ได้มาฝึกปฏิบัติบ่อยๆ หรืออยากจะเข้ามาเรียนใน Web-based Learning ที่เราจัดให้ ตอนไหนก็ได้ที่สะดวก เราก็สนุกนะในการเปลี่ยนไปตามกลุ่มและเวลา โชคดีที่คนของเราไม่ติดรูปแบบเดิมๆ และเข้าใจว่างานของเราคือการช่วยให้คนทุกกลุ่มรักการเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติได้” 

การทำความเข้าใจเป้าหมายของลูกค้าและช่วยให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด เป็นอีกเรื่องที่ แอคคอมฯ เน้น ดร.อัจฉราเล่าว่า “บางทีลูกค้ามาติดต่อเรา ต้องการทำหลายอย่าง เรามักจะสอบถามก่อนว่า ตอนนี้อะไรที่เป็น Priority ของเขา เขาอยากจะเปลี่ยนแปลงแล้วได้ผลลัพธ์อะไร อยากเห็นอะไร ตัวอย่างเช่น บอกว่าอยากจะพัฒนาภาวะผู้นำ ก็ต้องถามก่อนว่า อีก 2-5 ปีข้างหน้าอยากให้ผู้นำสร้างความสำเร็จอะไร เขาต้องการ Performance และ Behavior ด้านไหน ต้องเอาตัวนี้ตั้ง แล้วเราจะช่วยออกแบบหรือแนะนำเขาได้ ไม่อย่างนั้นลูกค้าจะเสียเงินมากเกินไป แล้วไม่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง”

เมื่อกล่าวถึงอุปสรรคในธุรกิจ ดร.อัจฉรา เล่าให้ฟังว่า อยากจะมีทีมที่ใหญ่กว่านี้ เพื่อที่จะสามารถช่วยลูกค้าได้ครอบคลุมมากขึ้น บางทีลูกค้ารอข้ามปีก็มี เพราะอยากให้ แอคคอมฯ ทำให้จริงๆ แต่ติดที่ที่นี่ให้ความสำคัญและใช้เวลาในการคัดเลือกและพัฒนาคนที่มาร่วมงานด้วยอย่างมาก เพราะอยากให้ลูกค้าได้งานที่มีคุณภาพ

ดร.อัจฉราอธิบายคุณสมบัติคนที่ แอคคอมฯ เลือกเช่น “มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นสูง เวลาเขาไปสอนต้องให้เกียรติลูกค้า รู้จักวิธีการบริหารอารมณ์ตนเอง ควบคุมไดนามิกของคลาสได้ ซึ่งบางทีอาจจะต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเก่ง”

​จึงไม่น่าแปลกใจที่องค์กรทุกขนาดให้ความสนใจติดต่อมาที่ แอคคอมฯ เมื่อต้องการพัฒนาองค์กร พัฒนาผู้บริหาร และบุคลากร การเตรียมความพร้อมองค์กรเชิงรุกเพื่อก้าวและเติบโตไปกับความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่สำคัญของโลกยุค 4.0 ที่หากองค์กรใดเตรียมตัวไม่ทันก็อาจพลาดเป้าหมายที่คิดวางไว้ได้

มุมมองเรื่องการเปลี่ยนแปลง

“ต้องเตือนตนเองบ่อยๆ ว่าโลกใบนี้ ไม่เหมือนในอดีตแล้ว มีทางเลือกให้เราเยอะขึ้น มีตัวช่วยมากขึ้น มีวิธีการและเทคโนโลยีมากขึ้น อย่าปล่อยให้ตนเองตัดสินใจ โดยยังไม่ได้สำรวจความเป็นไปได้ต่างๆ เพราะจะทำให้เสียโอกาสดีๆ ไป”

“เมื่อตั้งคำถามให้ตัวเองบ่อยๆ จะพบว่า ข้อจำกัดที่ตนเองสร้างขึ้นมาในใจ มักยิ่งใหญ่กว่าข้อจำกัดจากภายนอกเสมอ สำรวจใจและนิสัยตนเองบ่อยๆ ทั้งความคิดและนิสัยที่ไม่ดี ไม่ทันสมัย ทิ้งไป อย่าไปเสียดาย เปรียบเหมือนคนที่ชอบเก็บของเดิมๆไว้เต็มตู้ แล้วของใหม่จะมีที่วางได้อย่างไร”

“ในการเปลี่ยนแปลง พยายามให้พนักงานมีส่วนร่วมเยอะๆ เพราะคนที่อยู่หน้างานและใกล้ชิดกับลูกค้าที่สุด คือคนที่มีข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือข้อมูลด้านความคาดหวังและพฤติกรรมของลูกค้า ถ้าการเปลี่ยนแปลงของเราไม่สร้างคุณค่า (Value) หรือแก้ปัญหาให้ลูกค้าของเรา จะทำให้เสียเวลา และทำให้เกิดการต่อต้านโดยไม่จำเป็น”

 

 

 รางวัลที่แอคคอมฯ ได้รับ

​การได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ เป็นเหมือนเครื่องยืนยันถึงความสามารถขององค์กร ที่ แอคคอมฯ ก็เช่นเดียวกันที่ได้รับรางวัลต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ดร.อัจฉรา ได้รับรางวัล Woman Leadership Award จาก CMO Asia ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน ก็ได้รางวัลจากงานประกาศรางวัล Golden Globe Tigers Award - Excellence in Training and Development 2018 จัดโดย CHRO Asia, Thought Leaders, World CSR Day ณ ประเทศมาเลเซีย 3 รางวัลประกอบด้วย

 • Excellence Award Training and Development Company of the Year (บริษัทอบรมและพัฒนายอดเยี่ยมแห่งปี)

 • Best Leadership Development Programme รางวัลโปรแกรมภาวะผู้นำที่ดีที่สุด

 • Best Coaching Programme รางวัลโปรแกรมการโค้ชที่ดีที่สุด

 

ในยุคแห่งการเติบโตทางด้านธุรกิจและการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะในกลุ่ม Startup ที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในยุคดิจิทัลนี้ จึงเกิดธุรกิจบริการให้เช่าสถานที่เพื่อการจัดประชุม สัมมนา จัดเลี้ยงขึ้นหลายแห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกและความทันสมัยในการเติบโตธุรกิจโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ออฟฟิศขนาดใหญ่ สำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท

วิคเตอร์คลับ (Victor Club) สาขาเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ (FYI Center) จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ให้บริการเช่าพื้นที่เพื่อการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งการจัดการประชุม การสัมมนา จัดเลี้ยง และปาร์ตี้ เพื่อตอบโจทย์ของคนทำงานวัย Gen Y และผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจ โดยชูจุดเด่นทั้งในด้านการออกแบบที่มีความสดใส สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย และมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการพื้นที่ รวมทั้งมีการให้บริการมาตรฐานเดียวกับโรงแรม โดยเกิดจากความสำเร็จของสาขาก่อนหน้าที่สาทรสแควร์

ปิยะวัลย์ สร้อยน้อย ผู้อำนวยการ วิคเตอร์คลับ ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของวิคเตอร์คลับว่า

"วิคเตอร์คลับ เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ โกลเด้นแลนด์อย่างที่ทราบว่าโกลเด้นแลนด์ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนโครงการเชิงพาณิชยกรรม (Commercial Project) และส่วนโครงการที่พักอาศัย (Residential Project) กล่าวคือ Residential Project ก็จะเป็นกลุ่มบ้านแนวราบ รวมทั้งในรูปแบบของอาคารพาณิชย์ ส่วนโครงการเชิงพาณิชยกรรม ก็ได้แก่ สาทรสแควร์, เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ และที่กำลังจะเปิดอีกแห่งคือ สามย่านมิตรทาวน์ โดยวิคเตอร์คลับ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของส่วนโครงการเชิงพาณิชยกรรม ซึ่งเรียกว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจของโกลเด้นแลนด์ จึงมีแนวความคิดในการใส่ความมีชีวิตชีวาให้กับอาคารเหล่านั้น ซึ่งเราออกแบบให้มีความยืดหยุ่นทั้งด้านสถานที่ และพื้นที่ที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบที่เป็นทางการเดิมๆ

และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร, ร้านสะดวกซื้อ รวมถึงสถานที่จัดกิจกรรม อีเวนต์ เวิร์กช็อป ปาร์ตี้ต่างๆ ซึ่งเรามองว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นของทุกบริษัท เพื่อทำให้ผู้เช่าอาคารสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางออกไปข้างนอกเพื่อจัดกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ เพราะว่าเดินทางออกไปก็เสียเวลา นอกเหนือจากกลุ่มผู้เช่า เรามองว่า อยากให้ที่นี่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับคนภายนอก เช่นกลุ่ม Startup ที่กำลังมองหาสถานที่ในการจัดกิจกรรมลักษณะแบบนี้ด้วยเช่นกัน และด้วยทำเลที่ตั้งที่สะดวกต่อการเดินทาง อย่างที่สาขาเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ นี้ก็อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ อยู่ใจกลางเมือง และยังสะดวกสำหรับกลุ่มคนที่มาเป็นกรุ๊ป มาจากต่างประเทศหรือต่างจังหวัดที่ต้องการหาที่พัก ก็สามารถพักที่โรงแรมโมเดนา บาย เฟรเซอร์ กรุงเทพฯ ที่อยู่ด้านข้าง และเดินมาประชุมที่นี่ได้เลย

"สำหรับวิคเตอร์คลับของเรามี 2 สาขา คือ สาขา สาทรสแควร์ เปิดไปเมื่อ 2015 ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีอย่างสม่ำเสมอทั้งจากผู้เช่าและคนภายนอก และสาขา เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ซึ่งเปิดเมื่อปี 2017 ก็จะมีกลุ่มลูกค้าในโซนถนนพระรามสี่ อโศก หรือย่านรัชดานี้ เพราะมีออฟฟิศอยู่บริเวณนี้เป็นจำนวน จึงมองเห็นว่าบริเวณนี้มีศักยภาพในการให้บริการ

"โดยวิคเตอร์คลับสาขาเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ นี้จะออกแบบตามคอนเซปต์ของอาคาร เช่นเดียวกับในสาขาสาทรสแควร์จะเน้นในแนว Neo Vibrant ที่มีสีสันใหม่สดใสสะดุดตา แต่สำหรับที่เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ซึ่งมีคอนเซปต์ของอาคารเป็น Business Creativity กลุ่มวัยรุ่น คนทำงานยุคใหม่ ดังนั้นก็จะไม่ปิดกั้นรูปแบบออฟฟิศทำงานเดิมๆ จึงกลายมาเป็นปัจจัยในการออกแบบวิคเตอร์คลับตั้งแต่เดินเข้ามาในบริเวณภายในก็จะเห็นว่ามีสีสันสดใส ที่รู้สึกได้ว่า เป็นกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลงมา อย่างภาพวาดน้องแมว ก็จะเป็นกิมมิกที่ทำให้ดูสดใสขึ้น หรืออย่างดีไซน์ของสันหนังสือ ดินสอ ซึ่งหมายถึงการแชร์ความรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ในส่วนของพื้นที่ก็ยังสามารถแชร์ใช้ร่วมกันได้ และมีจุดถ่ายรูปได้หลายจุดตั้งแต่เดินเข้ามา

ในส่วนห้อง Meeting Room จะมีความโปร่งกว้างสบาย สามารถมองเห็นวิวด้านนอก ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับคนที่มาใช้ที่ตอบโจทย์ให้กับคนที่มาเทรนนิ่งทั้งวัน ต่อกันหลายๆ วัน นอกจากนี้ก็ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีสีสันเพื่อเพิ่มความรู้สึกกันเองด้วย ในส่วนของสิ่งอำนวยความสะดวกก็มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ ระบบปรับอากาศอัจฉริยะ (VAV) กระจกกันความร้อนประสิทธิภาพสูง ช่วยลดการนำความร้อนเข้ามายังพื้นที่ เครื่องเสียงระบบไร้สาย (Wireless) รองรับการใช้ไมค์พร้อมกันของผู้ใช้บริการถึง 20 ท่าน และยังออกแบบเพื่อรองรับการประชุมทางโทรศัพท์ (Conference Call) กับต่างประเทศได้ รวมทั้งมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รองรับการใช้งานสูงสุดถึง 100 Mbps/100 Mbps ด้วย"

จากความเป็นมาของวิคเตอร์คลับจึงเห็นว่าเป็นการตอบสนองความต้องการของคนกลุ่ม Size M ที่มีขนาดตั้งแต่ 10 – 300 คน ที่ต้องการจัดกิจกรรมกลุ่มย่อยๆ เพื่อที่จะดูแลผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างทั่วถึง โดยจะเป็นกลุ่ม Start-up 40% กลุ่ม Smart Technology 30% และกลุ่ม Financial Advisor 20% จากเทรนด์นี้ก็จะเห็นได้ว่า ลักษณะของวิคเตอร์คลับจะไม่ได้เป็น Corporate Training เพียงอย่างเดียว แต่จะมีทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการที่แต่ละกลุ่มจัดกิจกรรมขึ้น

นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นที่นอกเหนือจากเรื่องทำเล ดีไซน์ที่แปลกตาไปจากเดิมบนพื้นที่ 950 ตารางเมตรแล้ว ก็คือ ในเรื่องของความยืดหยุ่นการบริหารพื้นที่ของสถานที่ ซึ่งประกอบด้วยในส่วนของห้องพักผ่อน Refreshment Area, ห้อง Victor 1 และ Victor 2 ซึ่งสามารถเปิดทะลุถึงกันได้ ทำให้ได้ห้องขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถรวมเอาในส่วนของ Refreshment Area เข้าไปในแต่ละส่วนได้ด้วย และในส่วนอีกด้านหนึ่งก็ยังมีห้อง Victor 3 และ Victor 4 ซึ่งสามารถเปิดทะลุถึงกันได้เช่นเดียวกัน ทำให้เลย์เอาต์สามารถดีไซน์ห้องได้ถึง 7 แบบ เพื่อตอบโจทย์ความยืดหยุ่นของการใช้งาน โดยในส่วนของพื้นที่พักผ่อน Refreshment ได้ออกแบบให้มีถึง 2 จุด พร้อมบริการน้ำดื่ม ชากาแฟ และน้ำอัดลม แบบบริการตนเอง (Self-service) และยังสามารถลงไปพักผ่อนในสวนสีเขียวที่ตั้งของ Mr. & Mrs. Spark ประติมากรรมอันโดดเด่นของอาคารได้อีกด้วย

อีกทั้งยังยืดหยุ่นในเรื่องของอาหาร ที่สามารถจัดบริการให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ ทั้งในแบบ Catering Food, Street Food หรือซุ้มอาหาร และบาร์ได้อีกด้วย โดยอัตราค่าบริการในการเช่าพื้นที่ยังต่ำกว่าโรงแรม 15 - 20% ซึ่งจะมีทั้งแบบแพ็กเกจที่รวมอาหารและไม่รวม โดยทุกบริการเทียบเท่ามาตรฐานเดียวกับโรงแรมเลยทีเดียวทั้งพนักงานและการบริการต่างๆ

จากความสำเร็จที่ผ่านวิคเตอร์คลับมีอัตรายอดใช้บริการถึง 60% จึงเป็นเครื่องการันตีได้ถึงการให้บริการอย่างดีเยี่ยมในทุกด้านที่กล่าวมาข้างต้น หากท่านใดสนใจการใช้บริการ สามารถชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.victor-club.com

 

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดตัว การจ่ายเงินอุดหนุนให้กับผู้ประสบปัญหาทางสังคม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ Krungthai Corporate Online โดยมี สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง นภา  เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และ ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมในพิธีเปิด ณ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

ผยง กล่าวว่า ความร่วมมือกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมบัญชีกลางในครั้งนี้ นอกจากสนองนโยบายภาครัฐในเรื่องธรรมาภิบาลแล้ว ยังช่วยเพิ่มความรวดเร็ว มั่นใจ โปร่งใส และสะดวกสบายให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยระบบ Krungthai Corporate Online จะดำเนินการโอนเงินโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ประสบภัยทางสังคมที่มีบัญชีธนาคารกรุงไทยจะได้รับเงินในทันที ส่วนผู้ที่มีบัญชีของธนาคารอื่นจะได้รับเงินภายใน 2 วัน

ทั้งนี้ ระบบดังกล่าว ผู้ทำรายการสามารถดูสถานะการทำรายการต่างๆ รวมถึงมีหลักฐานแสดงข้อมูลการทำรายการทั้งแบบสรุป และแบบมีรายละเอียดอย่างครบถ้วน  รวมทั้งมีระบบตรวจสอบข้อมูลของผู้รับเงินก่อนจะดำเนินการโอนเงินด้วย

อย่างไรก็ตาม เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ธนาคารกรุงไทยได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชีสำหรับผู้รับเงินอุดหนุนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ค่ารักษาบัญชีสำหรับผู้มีบัญชีธนาคารกรุงไทย ซึ่งเมื่อโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว ผู้รับเงินจะได้รับ SMS แจ้งเตือนเงินเข้าบัญชี ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้รับเงินอุดหนุนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือไม่สะดวกในการไปเปิดบัญชี ในอนาคต จะสามารถรับเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือใช้บัตร E-​​​​​Money ได้อีกด้วย

บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) สนับสนุนมหกรรมการแข่งขัน “เดิน-วิ่ง การกุศลสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน ไทย-กัมพูชา” ครั้งที่ 1 เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-กัมพูชาและเพื่อหารายได้จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ให้กับโรงพยาบาลน้ำยืน จ.อุบลราชธานี โดยมีคุณพีรพล ประเสริฐศรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการลงทุน บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561 ณ เอสพลานาส แคราย กรุงเทพฯ

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดตัว Sustainability Store หรือ ร้านค้าความยั่งยืน โดยเสนอ 3 แนวทางการพัฒนาบทบาททางธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนที่ตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียและการยอมรับจากสังคมอย่างยั่งยืน

สถาบันไทยพัฒน์ เป็นสถาบันที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมความยั่งยืนของกิจการ และการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการวิจัย (Research) การฝึกอบรม (Training) และการให้คำปรึกษา (Consulting) แก่ภาคเอกชน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน

จากการสำรวจของสถาบันไทยพัฒน์ ต่อการนำ GRI Standards มาใช้ในการจัดทำรายงานความยั่งยืนของกิจการ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561 กับผู้ตอบแบบสอบถาม 87 ท่าน พบว่า ร้อยละ 67 จะนำมาตรฐาน GRI มาใช้ในรอบการดำเนินงานปี 2561 นี้ ร้อยละ 6 จะนำมาใช้ในรอบการดำเนินงานปี 2562 และร้อยละ 18 ต้องใช้เวลาเตรียมการอีกระยะหนึ่ง โดยผู้ตอบแบบสอบถาม อีกร้อยละ 8 ยังไม่แน่ใจ และร้อยละ 1 ไม่มีแผนนำมาใช้

ขณะที่ผลการสำรวจเรื่องการสนองตอบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในการดำเนินงานขององค์กร พบว่า ร้อยละ 50 มีการบรรจุ SDGs ไว้เป็นวาระการดำเนินงานขององค์กร ร้อยละ 34 มีการตอบสนองในรูปโครงการและกิจกรรมที่อยู่นอกกระบวนหลักทางธุรกิจ และร้อยละ 12 ได้เข้าร่วมในเครือข่ายธุรกิจที่เอื้อต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG-Friendly Biz) ที่สถาบันไทยพัฒน์ริเริ่ม ส่วนอีกร้อยละ 4 ยังไม่มีแผนในการตอบสนอง โดยอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อริเริ่มแนวทางการพัฒนาสู่ความยั่งยืน และอยู่ระหว่างการพิจารณาขององค์กร

ฉะนั้นจากการที่สถาบันไทยพัฒน์ได้มีประสบการณ์จากการมีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับองค์กรธุรกิจมานานกว่า 17 ปีนี้เอง ในปี 2561 นี้ทางสถาบันจึงได้เปิดตัว Sustainability Store โดยนำเอาเครื่องมือ และมาบรรจุไว้ในสามหมวดบริการหลัก ภายใต้ร้านค้าความยั่งยืนนี้ ได้แก่ การจัดทำกรอบความยั่งยืน (S-Framework) การประเมินระดับความยั่งยืน (S-Score) และการวางกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งรายงานความยั่งยืน (S-Report) ซึ่งทั้งสามหมวดบริการหลัก องค์กรธุรกิจสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับสถานะของกิจการของตนเอง

S-Framework เป็นการศึกษาและทบทวนข้อมูลสถานภาพด้านความยั่งยืนในปัจจุบันของกิจการ เพื่อค้นหาประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร แนวการบริหารจัดการ และตัวบ่งชี้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนที่สำคัญ สำหรับใช้ขับเคลื่อนองค์กรให้เข้าสู่วิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน และใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการจัดทำยุทธศาสตร์องค์กรภายใต้บริบทความยั่งยืน

S-Score เป็นบริการที่ช่วยสอบทานสถานะความยั่งยืนของกิจการ โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มที่องค์กรเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งมีความคาดหวังและความสนใจในเรื่องที่กิจการดำเนินการแตกต่างกัน รวมทั้งการวิเคราะห์เพื่อระบุถึงสิ่งที่องค์กรควรดำเนินการ (Gap Analysis) ในแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้เกิดเป็นผลการดำเนินงานที่นำไปสู่การยอมรับของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ

S-Report เป็นการวางกระบวนการรายงานที่ประกอบด้วยงาน 5 ระยะ (Prepare -> Connect -> Define -> Monitor -> Report) ตามข้อแนะนำขององค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (GRI) ซึ่งเน้นการบูรณาการความยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์องค์กร เพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนของกิจการจากกระบวนการรายงาน มิใช่เพื่อการมุ่งหวังเพียงแค่เอกสารหรือเล่มรายงาน

โดยวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ได้ตอบข้อซักถามในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืนกับ CSV ว่ามีนัยสำคัญอย่างไรไว้ว่า

“CSV จะเป็นส่วนหนึ่งของ S-Score คือ ถ้าเราดูในส่วนของ S-Score ก็จะมีการประเมินในหลายๆ เรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคม และคุณค่าร่วม ซึ่ง CSV ก็จะอยู่ในหมวดนี้ ในเรื่องของการประเมิน Benchmark ว่าองค์กรมีการทำ CSV ได้ในระดับใดแล้ว”

นอกเหนือจากนี้ยังได้อธิบายการวัดระดับความยั่งยืนขององค์กรไว้อย่างน่าสนใจ

“เรื่องของตัววัดความยั่งยืน อาจจะไม่ได้มีพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่ง เพียงแต่ว่าในหนึ่งองค์กรก็จะมีผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องอย่างหลากหลาย ซึ่งภายใต้ความหลากหลายตรงนี้เองอาจจะต้องไปดูว่า ผู้มีส่วนได้เสียของเขามีความคาดหวังในแต่ละเรื่องที่จะต้องมีการดำเนินงานมากน้อยแตกต่างกันอย่างไร โดยที่เราอาจจะต้องมีข้อบังคับหรือข้อปฏิบัติอะไรบางอย่างที่เหมาะสมกับเขา ซึ่งอาจจะเป็นค่า Benchmark ของอุตสาหกรรมนั้น หรือเป็นค่า Best Capacity เอามาเป็นตัวเปรียบเทียบ และอาจจะต้องวัดกับข้อปฏิบัติของเขาที่ทำได้จริงว่าระดับไหน ซึ่งตรงนี้อาจจะประเมินออกมาเป็น Gap ได้ แต่ก็อาจจะยังไม่ได้บอกว่า ถ้าเขาทำได้ดี เขาคือธุรกิจที่ยั่งยืนแล้ว ตรงนั้นอาจจะพูดไม่ได้ เพราะเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่องของวิถีและช่วงระยะเวลา”

ทั้งนี้นอกจากทางสถาบันไทยพัฒน์จะมีเป้าหมายในเรื่องของตัวเลขทางธุรกิจแล้ว ก็ยังมีความมุ่งหวังด้านอื่นๆ ด้วย โดยวรณัฐ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า

“เป้าหมายของเรามุ่งหวังให้ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบมากขึ้น ทั้งในเชิงบวกและลบ ในส่วนของเชิงลบ เราคาดหวังว่า ให้ธุรกิจมีการบรรเทาผลกระทบเชิงลบในประเด็นความยั่งยืนต่างๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงผลกระทบเชิงบวกที่จะเอามาต่อยอด ซึ่งอาจจะไม่ใช่แค่เชิงธุรกิจเท่านั้น แต่รวมถึงสังคมด้วย ให้มีการพัฒนาไปร่วมกัน ซึ่งเป็นความมุ่งหวังของเราจากการให้บริการหลากหลายเหล่านี้ เพื่อให้ธุรกิจและสังคมเดินไปด้วยกันได้” 

หากหน่วยงานและองค์กรธุรกิจใดที่สนใจพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืนทั้งทางด้านธุรกิจและสังคม สามารถเยี่ยมชม Sustainability Store ได้ทางเว็บไซต์ http://thaipat.org หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2930-5227

 

Page 4 of 9
X

Right Click

No right click