×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 805

ในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน จากมุมมองภราดาบัญชา แสงหิรัญ

August 23, 2017 4945

การเปลี่ยนแปลงของโลกในแง่มุมต่างๆ ทั้งการเข้ามาของเทคโนโลยี ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ สังคม  เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

หรือเอแบค มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังอันดับ1 ของเมืองไทย ต้องยอมเดินช้าลงกว่าเดิม เพียงเพราะต้องการจะใช้เวลาในการปรับกระบวนทัศน์ขององค์กรให้ทันยุคสมัยนี้ ที่สิ่งต่างๆรอบตัวนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในทุกวินาที

 

ภราดาบัญชา แสงหิรัญ อธิการบดี มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ให้สัมภาษณ์นิตยสาร MBA ในโอกาสที่นักศึกษาทีม Chemerical จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย คว้ารางวัลชนะเลิศ “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2017” ระดับโลก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยกล่าวว่า ครั้งนี้เป็นรางวัลที่เด็กได้มา แต่สำหรับเอแบคเองต้องนำมาทบทวนว่า การทำงานของเราไม่มุ่งหวังรางวัล แต่เพื่อให้นักศึกษามีแนวคิดของการคิดงานที่มีอินโนเวชั่นให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องมีการแข่งขันของเราเองด้วยภายในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมาร์เก็ตติ้ง โพรดัคส์ เด็กของเราต้องพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมา และใน จังหวะเมื่อมีการประกาศมีการแข่งขันที่ไหน เราก็ส่งไปแข่ง เพราะเราไม่ได้ทำเพื่อการแข่งขันโดยตรงแต่เพื่อเด็กของเราให้เกิดความคิดที่แตกต่าง ในแง่ของการทำงานประจำวัน

 

มีการต่อยอดมาที่หลักสูตรสาขาด้านมาร์เก็ตติ้งของ ABAC ?

ในเรื่องนี้มีหลักสูตรอยู่แล้ว และไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย เพราะเป็นหลักสูตรสากล เพียงแต่ว่าต้องมีการ MIX Marketing เพราะอย่าลืมว่าต้องใช้ไอทีเข้ามาช่วย อย่างตอนนี้มีแฟชั่นมาร์เก็ตติ้ง ลักษณะอย่างนี้คล้ายๆกัน เป็นการผสม เดี๋ยวนี้วิชาโดดๆ คนไม่ค่อยนิยมแล้ว ต้องมีการผสมผสาน หรือดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง เราก็มีการจัดอบรมอยู่ด้วยเช่นกัน เป็นครั้งที่ 3 แล้ว ซึ่งวิธีคิดต้องมีการดูว่าในโลกไปกันอย่างไร ในต่างประเทศเด็กจะมาเล่าให้ฟังกันว่า ไปเจออะไรมาบ้าง แล้วนำมาต่อยอดต่อว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะฉะนั้นต้องมาดูว่ามาร์เก็ตติ้งสมัยใหม่ หลักสูตรควรต้องผสมอะไรเข้าไปบ้าง คอมมูนิเคชั่นเป็นตัวสำคัญ ถ้าเราทำโพรดักส์ออกมาแล้วอธิบายไม่ได้คนก็ไม่ซื้อ เพราะไม่เข้าใจ เดี๋ยวนี้คอมมูนิเคชั่นกลายเป็นเรื่องหลักๆแล้ว ต้องสามารถสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจได้ว่าทำไมอินโนเวชั่นของสินค้าเรามีอะไรบ้าง 

 

ในปัจจุบันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่ได้พูดถึงการพัฒนาโลกในแบบธรรมดา แต่พูดถึง Disruptive Technology หรือ Disruptive Innovation ซึ่ง Disruptive เกิดมาจากไหนก็บอกที่มาไม่ได้ ตัวอย่างเช่นอีเบย์, มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก, บิลเกตส์ ไมโครซอฟเป็นต้น ของแบบนี้ต้องปลูกฝัง ปล่อยให้เป็นอิสระให้เด็กคิด
ได้เอง ทำมากขึ้น ส่วนหน้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย คือ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมตัวทฤษฏี ให้เด็กได้คิดสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตัวเอง เพราะเห็นได้จากเบื้องหลังของการค้นพบของงานอินโนเวชั่นที่โด่งดังได้รับความนิยมทั้งหลายนั้น เกิดขึ้นมาโดยไม่มีใครสอน แต่เกิดจากมุมมองของตัวเค้าเอง นี่เป็นสิ่งที่จะเพิ่มเติมขึ้นในหลักสูตรของเรา เพราะบางทีอาจารย์ในยุคเก่าสอนมาอย่างไร ก็ท่องไปแบบนั้น แต่เดี๋ยวนี้อย่าไปมองว่าเรียนแบบนี้แล้วจบได้คะแนนมาแล้วคือสำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ต้องทำให้เด็กคิดเป็น เป็นสิ่งที่เราต้องมองให้ไกลว่า นอกห้องจะต้องเปิดอะไรบ้าง ไม่เช่นนั้นเด็กก็จะอยู่ในกรอบแบบนี้ไป

 

 

ขณะนี้มีการดำเนินการเพื่อนำร่องการปรับหลักสูตรใหม่อย่างไรบ้าง ?

มีการเริ่มต้นแล้ว แต่อย่าลืมว่าประเทศไทยจะทำอะไรนอกกรอบมากไม่ได้ เราต้องอยู่ในกรอบของหลักสูตรที่ขออนุญาตกระทรวงฯ และการคิดเรื่องใหม่ๆก็ต้องให้ความสำคัญกับกฎระเบียบด้วย ไม่เช่นนั้นจะเป็นการคิดที่สูญเปล่า และประเทศไทย 4.0 ที่เพิ่งเริ่มก็ต้องหาความหมายและจุดลงตัวว่า และที่ว่าการปรับเปลี่ยนระบบราชการให้ทันสมัย ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนตรงนี้ ไทยแลนด์ 4.0ไปยาก นับตั้งแต่ Disruptive คือต้องให้เกิดสิ่งที่ไม่เคยคิดขึ้นมาก่อนเลย ซึ่งอันที่จริงแล้วใครจะคิดได้ ถ้าอยู่ในระบบราชการ ทุกวันนี้ทุกคนกลัวหมด ไม่มีใครกล้าคิดนอกกรอบหรอก ไม่มีเลย “เราเป็นเอกชนยังทำไม่ได้ เพราะต้องอยู่ในกรอบ” แต่ในแง่ของกระบวนการเราทำได้ เช่น หลักสูตรอยู่ในห้องเรียนครึ่งหนึ่ง และออกมานอกห้องครึ่งหนึ่ง เราต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการให้ได้ พูดง่ายๆ ว่า Teaching Methodology เทคนิคการสอนต้องปรับเปลี่ยน

 

แต่อย่าลืมว่า อาจารย์มีหลายเจเนอเรชั่น มีทั้งปรับได้ง่ายและปรับได้แต่ต้องใช้เวลา คนใหม่ที่เพิ่งเข้ามามีข้อดีคือใช้เทคโนโลยีเก่ง ส่วนคนเก่าต้องค่อยๆ ปรับ การ implement อะไรก็ตาม ต้องค่อยๆ ปรับ “ใครทำได้ทำ ใครทำไม่ได้ก็ว่ากันแบบเก่า” กระบวนการของเราตรงนี้ต้องมี Flexibility สูง ซึ่งอาจารย์เก่าเราก็ทิ้งเค้าไม่ได้ เพราะว่าไม่งั้นของดีๆจะหายไปหมด อย่าใหม่มาทั้งหมด คนเก่าประมาณ 30% คนกลางเก่ากลางใหม่ 45% คนใหม่ประมาณ 25% ซึ่งกลางเก่ากลางใหม่มีมาก ก็มีเข้ามากันหลายระยะ จะค่อยๆ ปรับเปลี่ยน เพราะฉะนั้นในจุดนี้ ไม่ได้เปลี่ยนง่ายอย่างที่คิด ไม่ได้ต่อต้าน แต่เค้าไปไม่ได้ ทำให้ไม่อยากทำ ซึ่งการทำลักษณะแบบนี้ต้องใช้หลายๆ อย่างเข้ามาช่วย เพราะในยุคใหม่นี้การนำมาดิจิทัลเข้ามาจะช่วยได้มาก ซึ่งคนที่จะปรับสายตาดี คิดไว สมองไว 

 

ตอนนี้เอแบคอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่าน และเมื่อก่อนเราเป็นผู้นำ มาถึงจุดนี้ชะงักนิดหน่อย เพราะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ต้องตั้งหลักมาคิด ในการนำดิจิทัลไอทีมาใช้ให้เหมาะสมอย่างไร ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาล 10 ล้านยังไม่ได้ 30 ล้านพอไปไหว ถ้าระดับ 120 กว่าล้านนั่นก็มากมาย ซึ่งเราเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ใช่รัฐ ได้เงินค่าเทอมมาก็ต้องมองชักหน้าให้ถึงหลัง อีกประเด็นที่สำคัญ คือ อย่าลืมว่าในเวลานี้มหาวิทยาลัยรัฐรับสมัครเด็ก 5 ครั้งต่อปี เพราะฉะนั้นเอกชนจึงไม่มีทางเลือก นักศึกษาลดลงไปจำนวนมากทีเดียว เราต้องมานั่งดูว่าจะทำอย่างไรให้มั่นคงได้ ต้องมีการปรับเปลี่ยน แต่จะโทษใครไม่ได้เพราะนักศึกษาลดลงไปเอง โดยการคุมกำเนิดที่มาตามสภาวะการณ์ที่เกิดขึ้นเอง ขณะที่มหาวิทยาลัยรัฐยังคงอัตราการเปิดรับสมัครนักศึกษาไว้ตามเดิม ไม่มีการลดลง เอแบคเจอภาวะแบบนี้มาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ลดลงเพราะอะไร ถึงแม้ช่วงแรกคลื่นของการคุมกำเนิดยังมาไม่ถึง แต่มหาวิทยาลัยมี 2 ระบบ คือระบบเก่าก็ขยายสาขา ระบบที่ขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ที่ขึ้นมาจากราชภัฏและราชมงคลก็ขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการแตกวิชาสาขาต่างๆออกมา คิดว่ามีเด็กนักศึกษาตรงนี้อีกมาก เพราะฉะนั้นถ้าขยายเป็นแคมปัส เช่นมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีสาขาอยู่ที่ภาคใต้ ก็จะทำไปทำไม เพราะเป็นการกินตลาดกันเอง และต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งเป็นความพยายามให้เป็น Autonomy 

 

 

ABAC ในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ?

เรายังพอพยุงได้อยู่ แต่จากนี้ไปจะไปได้เท่าไหร่ก็ต้องดูการเมืองในประเทศไทย สิ่งที่ทำให้เอแบคยังอยู่ได้ คือ เอกลักษณ์ของตัวเราเอง คือ การสร้างเด็กให้จบออกไปเป็นผู้ประกอบการ คือ มี 1.Passion 2.รู้จักวิธีการแก้ปัญหา เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้ 3.มี Innovation สังเกตดูว่าใครมีตรงนี้ไปได้ไกล ซึ่ง 3 ข้อที่กล่าวมา เป็นคีย์หลักที่หากมีแล้วจะทำให้องค์กรไปได้ เพราะในยุคใหม่เราจะพูดกันถึง Innovation เป็นหลัก ถ้าไม่มีก็จะทำกันในแบบอย่างเดิมๆ ตรงนี้ต้องมีการคุยกันกับผู้เชี่ยวชาญให้มาชี้แนะให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นมา

 

นอกจากนั้นยังมีจุดเด่นด้านภาษาอังกฤษ ที่ทำให้เอแบคยืนหยัดอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญอย่างยิ่งสำหรับในยุคของการเปิดเออีซี อีกเรื่องคือ จริยธรรม ไม่ว่าทำอะไร องค์กรไหนก็พัง ประเทศก็พัง เพราะจริยธรรมเป็นการรู้ว่าอะไรดี อะไรช่วย ควบคุมความประพฤติ ทั้งตัวเราเอง ขององค์กร นี่คือจุดแข็งที่เอแบคต้องรักษาให้ยั่งยืน ส่วนวิชาการที่ไหนก็พอๆ กันหมด เรียนวิศวะตรงนั้นตรงนี้ ถามว่าไม่ใช่วิชาเดียวกันหรือ แต่แนวความคิดเป็นสิ่งที่แตกต่างกัน แต่ละแห่งเวลาสอนอยู่ที่ Process กระบวนการว่าชี้แนะให้นักศึกษาคิดอย่างไร ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาสาระ

 

อีกเรื่องที่ต้องติดตาม คือ ธุรกิจการศึกษามีการแข่งขันกันมากขึ้น และมีการกินตลาดกันเองด้วย มหาวิทยาลัยรัฐก็ต้องแข่งขันกันเอง ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ต้องพูดถึงเลย จากที่มีการเติบโตถึง 2 หลักแต่เดี๋ยวนี้เหลืออยู่หลักเดียว ซึ่งการที่เอแบค อยู่ได้มาถึงวันนี้มาจากวิสัยทัศน์ตั้งแต่ต้นเลยเป็น International มีอาจารย์จาก 40 ชาติ และนักศึกษาจาก 85 ชาติ ที่อยู่กับเราทำงานกับเรา และเข้าใจว่าจุดแข็งนี้ยังดี เพราะเราเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1969 ตั้งแต่คนไทยไม่สนใจภาษา เดี๋ยวนี้พอคนสนใจก็ทำต่อเนื่องมา ส่วนต่างชาติมีโครงการทำมาตลอดเป็นปรกติเช่นกัน

 

นี่ก็พยายามให้อาจารย์ทุกคณะมีอินโนเวชั่น และสร้างห้องแล็บให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน โลกจะไปทิศทางไหนก็ต้องรู้ด้วย โดยการวางแผนเรื่องนี้อธิการบดีดูนโยบายกว้างๆ แต่ให้คณบดีวางแผนลงลึกในรายละเอียด เป็นคนคิดยุทธศาสตร์ ส่วนด้านอื่นๆตอนนี้ยังไม่มีนโยบายขยาย เพราะเศรษฐกิจไม่ดีเลย บางแห่งได้ยินมาว่ามีโครงการสร้างอาคารเรียนก็ต้องหยุดชะงักไว้ก่อน เพราะจำนวนนักศึกษาก็ลดลง เห็นได้ว่าเราต้องมองทิศทางว่าประเทศจะไปอย่างไรต้องมานั่งดู เพราะอย่าลืมว่า นโยบายการศึกษาของประเทศเป็นตัวชี้นำ เริ่มจากแผนยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติ 20 ปีก่อนว่าไปทางไหน เอแบคก็วางนโยบายไปตามทิศทางนั้น ในขณะเดียวกันก็ต้องมีกลยุทธ์ของเราเอง 

 

 

การวางยุทธศาสตร์ของเอแบคมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง?

มีการจัดตั้งทีมงานขึ้นมา และเริ่มเดินหน้าวางแผนแล้ว ตามแนวทางของเอแบคเองและตามกระแสโลกที่เปลี่ยนไป หลักๆสำคัญคือ Innovation ต้องทำ Internalization ต้องทำ Management ทำอยู่แล้ว ภาษาเราก็ใช้อยู่ เพียงแต่ว่าเราต้องแข่งกับคนอื่นในแง่ของตัวอย่าง เช่น อาจารย์จะอยู่กับเอแบค จะมีการเปรียบเทียบกันเงินเดือนเป็นอย่างไร นี่เรื่องเงินอีกแล้ว เราจะขยับตรงไหนเงินทั้งนั้นเลย ทำวิจัยก็ต้องให้เงินเค้า นี่แบบนี้ทำให้เราต้องมานั่งดูตัวเองว่า จะอยู่อย่างไร และต้องพยายามหามา ในเวลานี้ Industry กับสถาบันการศึกษาต้องร่วมมือกัน ถ้าช่วยตรงไหนได้ต้องช่วย ไม่เช่นนั้นไม่มีทาง ซึ่งที่ผ่านมาเราต้องพยายามไปจีบ ต้องให้เวลากับเรื่องนี้ ซึ่งอุตสาหกรรมในประเทศไทยไม่เหมือนกับต่างประเทศ จะช่วยกันเพราะเห็นว่าทำแล้วมีประโยชน์ต่อเด็ก ตรงกันข้ามที่นี่มองว่าได้ประโยชน์อะไร ประชาสัมพันธ์แล้วมีชื่อเสียงหรือไม่ หากเป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆไม่ต้องพูดถึงเลย ลำบาก ของเอแบคยังดีหน่อยที่เด็กๆที่เรียนที่นี่พ่อแม่มีฐานะมีธุรกิจที่จะช่วยสนับสนุนให้ได้บ้าง มีกิจกรรมไปขอเพิ่มอีกเล็กๆน้อยๆ แต่ไม่ได้เป็นก้อนใหญ่ที่จะช่วยทำให้เกิด Impact หรืออินโนเวชั่น

 

การวางรากฐานเอแบคให้มั่นคง ตรงไหนที่เรายังไม่ขยายก็จับตาดูให้ดี บางอย่างเพิ่งเริ่มอย่าง ดนตรี ที่ต้องเปิดเพราะเด็กบางคนเรียนคณิตศาสตร์ไม่ได้ แต่หัวดีเก่งทางด้านดนตรี ซึ่งถ้ามาเรียนที่เอแบคก็ไม่ผ่าน ทำให้ต้องมีการเปิดคณะสาขาวิชาใหม่ๆ ขึ้นมารองรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ นี่คือทางที่เราจะช่วยประเทศชาติในสิ่งที่เราทำได้สิ่งที่อยากฝากไว้ คือ สถาบันการศึกษาเห็นใจภาครัฐที่ต้องดูแลเรา เพราะมีสถาบันบางแห่งมีทุนไม่มาก ก็พยายามเอาตัวรอดทำสิ่งที่ไม่ดี และท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงทำให้ต้องแข่งกัน บางแห่งรีบสอนๆ แต่ว่าในตัวของมันเองก็อย่าไปทึกทักเอาว่า ต้องทำเหมือนกันทุกคน ทำให้คนที่อยากไปให้ได้ ไปยากขึ้น เพราะอันที่จริงแล้ว มหาวิทยาลัยต้องมีอิสระในตัวเอง ที่เหมาะสมตามสมควร ไม่ใช่การควบคุม ตัวอย่างระบบในอเมริกา รัฐไม่ได้ให้เงินสนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชนก็ไม่ต้องคุม แต่วัดกันที่เป้าหมายที่ต้องการ ใครได้ไม่ได้สุดท้ายตายด้วยตัวเอง ซึ่งเปรียบเสมือน Product ไปไม่ไหวเพราะดีมานด์กับซัพพลาย แต่ของไทยไม่ใช่ทั้งประเทศยังเป็นระบบพี่น้องเครือข่ายต่างๆเหล่านี้ เดี๋ยว Product ของเราไม่ดียังทำไม่ได้ เมื่อเกิดปัญหาก็จะไปไม่ได้ ก็เห็นใจรัฐบาลเพราะมีหลาย Factor ที่ต้องดูแล

 

ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ก็ยังไปได้ดีอยู่ แต่ก็เหนื่อย เพราะเอแบคเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่รับนักศึกษาเฉพาะในระบบ และเงินที่มาเป็นต้นทุนต่อไปไม่ได้มาจากเงินถัง ก็มาจากค่าเทอม และตัวเราเองก็พยายามดูว่าเราจะบริหารจัดการมาจากที่ไหนได้ Income ของเรามาจากสิ่งที่มีอยู่บ้างเล็กๆน้อย จากภายใน คือ ต้องบริหารจัดการให้ดีที่สุด ในส่วนนี้ถ้าทำไม่ดีไม่ละเอียดถี่ถ้วนก็ผ่านไปได้ยาก ถึงได้บอกว่า ต้องดิ้นรนกันด้วยตัวเราเอง ภาครัฐดูภาพรวมมหาวิทยาลัยทั้งหมด ซึ่งการสร้างกฎระเบียบควบคุมทั้งหมด ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปไม่ได้ เพราะนี่คือระบบราชการ แต่นี่ของเอกชน ซึ่งตรงนี้เองเป็นเรื่องที่ต้องคิดกันต่อไป

 

เรื่องและภาพ : กองบรรณาธิการ 

Last modified on Tuesday, 19 November 2019 07:01
X

Right Click

No right click