December 27, 2024

Coaching for Change โดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ

October 30, 2018 3834

ท่ามกลางกระแสและความเป็นจริงที่สังคมและธุรกิจกำลังก้าวย่างอยู่ในความเปลี่ยนแปลง สิ่งที่องค์กรและธุรกิจกำลังมองหาคือวิธีการที่จะทำอย่างไร? ให้องค์กรสามารถที่จะDisrupt ตนเองโดยไม่ต้องรอให้คนอื่นมา Disrupt  

 และองค์กรยังต้องการแนวทางตลอดจนวิธีที่จะทำให้ผู้บริหารในทีมงานขององค์กร มีเทคนิคและวิธีในการปรับเปลี่ยนทีมงานเพื่อให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง การโค้ช หรือ โค้ชชิ่ง หากนำมาใช้อย่างถูกต้องในองค์กรจะเป็นเครื่องมือสำคัญ เพราะนั่นคือความปราดเปรียว คล่องแคล่ว เพื่อจะเตรียมทีมงานให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องใหม่ๆ   การโค้ชสามารถจะช่วยทำให้ทีมงานมี Growth mindset และไม่ยึดติดอยู่กับความสำเร็จเดิมๆ  และยังช่วยให้ทีมงานมีความกล้าที่จะก้าวออกมาจากcomfort zone   การโค้ชจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยองค์กรในการขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ  บทเปิด MBA Talk  ของ ดร.อัจฉรา  จุ้ยเจริญ  Chief Learning Officer & Managing Director /  AcComm & Image International ในงาน Thailand MBA Forum 2018  

Impact of Coach in Transformation

ในสถานการณ์และบรรยากาศในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความผันผวนและเปลี่ยนแปลง ทั้งรูปแบบการใช้ชีวิต การเรียนรู้ และการทำงานล้วนต่างออกจากไปในอดีต มุมมองต่อประสบการณ์ที่มีมาและใช้ได้ในอดีต อาจใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ทั้งหมดในยุคนี้ ไปจนถึงยุคหน้าซึ่งล้วนเป็นความท้าทายของทุกผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่า “ ผู้บริหาร” จำนวนมาก ต้องเผชิญหน้ากับภาวะผันผวนและเปลี่ยนตลอดเวลา แต่ยังต้องดำรงคงไว้ซึ่งเป้าหมายที่จะต้องขับเคลื่อนการทำงานและทีมงานไปสู่ความสำเร็จให้จงได้ และภายใต้รูปการเช่นนี้ สิ่งที่เป็นความต้องการคือ ”มือที่เป็นมืออาชีพ” ที่จะมาเกาะกุมและสนับสนุนให้ ผู้บริหารและทีมงานสามารถก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้ไปให้ได้ “ การโค้ช” จึงเป็นเรื่องที่เป็นความต้องการอย่างมากที่สุด เนื่องจาก Speed of Change มันเร็ว และเร่งเข้ามา โค้ชชิ่งจึงยิ่งกลายเป็นความต้องการอย่างเร่งด่วน

Coaching and Change  

ดร.อัจฉรา  ได้บรรยายพื้นฐานไปสู่การทำความรู้จักกับคำว่า “โค้ชชิ่ง” ว่าเป็น Soft skill ที่สำคัญ โดยเฉพาะในยุคที่หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์เริ่มเป็นที่เรียกขานและถูกนำมาใช้ในระบบและสายงานมากขึ้น และยิ่งเทคโนโลยีถูกนำมาใช้มากขึ้นเพียงใด Soft skill ก็จะยิ่งมีความสำคัญยิ่งๆ ขึ้นไปเพราะนั่นคือจุดที่คนแตกต่างจากโรบอท  และยิ่ง Change มากขึ้น Soft skill ก็จะยิ่งมีความหมายและความสำคัญขึ้นตามลำดับ และนั่นคือสิ่งที่ตอกย้ำว่า โค้ชชิ่งจึงยิ่งมีความสำคัญ          

“ผู้บริหารบางท่านยังมีความเข้าใจในเรื่อง”การโค้ช” ที่คลาดเคลื่อน  เช่นว่า การโค้ชทำให้เสียเวลา นั่นแปลว่าการโค้ชนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะการโค้ชที่ประสบความสำเร็จจะต้องใช้เวลาไม่มาก กระชับและตรงประเด็น และเน้นประสิทธิภาพ นอกจากนั้น “การโค้ช” ไม่ใช่การบอก ไม่ใช่การสั่ง และไม่ใช่การสอน และยิ่งไม่ใช่ในรูปแบบการให้คำปรึกษา แต่การโค้ชมีเป้าหมายสำคัญเพื่อการพัฒนา”

การโค้ช’  เป็น habit ต้องจริงใจและต้องให้เนียน ต้องผ่านการฝึกฝน และต้องแน่วแน่ในเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการโค้ช เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งหากจะนิยามความหมายของ โค้ชชิ่ง ( Coaching ) โดย สหพันธ์การโค้ชสากล ( ICF : International Coach Federation ) คือ การเป็นคู่คิดให้กับผู้ได้รับการโค้ช ในกระบวนการสนทนาที่กระตุ้นความคิดและเป็นไปในทางสร้างสรรค์ที่ทำให้ผู้ได้รับการโค้ชมีแรงบันดาลใจ ในการนำศักยภาพในตนเองทั้งในด้านส่วนตัวและด้านการงานอาชีพออกมาใช้สูงสุด

การเปลี่ยนแปลง’ / Change  

ในแง่ขององค์กรเวลาเกิดการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบที่สำคัญมักเป็นเรื่องของ Value ซึ่งต่างออกไปจากในอดีต นำมาซึ่งโจทย์เรื่องการปรับตัว แม้แต่ในแง่ของ”ผู้นำ” หรือ”ผู้บริหาร” คือผู้ที่ต้องรับทั้งภาระและหน้าที่ในการผลักดันเรื่องการปรับตัว  เพื่อให้งาน ธุรกิจและองค์กรสามารถก้าวข้ามอุปสรรคและประสบความสำเร็จในการแข่งขัน และการบริหารจัดการ ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว  ผู้นำเองก็เป็นผู้ที่ต้องการการโค้ชและความช่วยเหลือเพื่อที่จะติดอาวุธแบบใหม่ๆ เพื่อใช้รับมือกับการสร้างความสำเร็จให้กับเป้าหมายและทีมงานด้วยเช่นกัน ดังนั้น Step ของการดูแลภาวะผู้นำในยุคนี้เรียกว่า “ Leading in Time of  Change” ทักษะนี้เราต้องเริ่มที่ผู้บริหาร หรือผู้นำก่อน เพราะผู้นำที่ดีต้องการ ระบบนำร่อง Navigation หรือเข็มทิศเพื่อที่จะ Navigate ตัวเองและทีมให้ได้

Impact of Coaching on Change

คนทั่วไปไม่ค่อยชอบความเปลี่ยนแปลง ถ้า ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้สอดคล้องหรือ Align กับความต้องการของตนเอง  หรือ Value ของตนเอง เพราะเวลาเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง มักหมายถึงความไม่แน่นอน พอหลายสิ่งที่เปลี่ยนไปและไม่เป็นไปดั่งคาด ในศาสตร์ด้าน Neuroscience จะพบว่าสมองมักจะสั่งว่า something might be wrong และสิ่งที่ตามมาคือมักไม่อยากทำหรือเดินต่อไปในทางที่ไม่เหมือนเดิม หรือเกิด resistance ขึ้น  ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงอาจจะนำมาซึ่งการก่อเกิดนวัตกรรม หรือสิ่งดีๆที่สร้างสรรค์ ใหม่ๆ ขึ้นมาก็ได้ ซึ่งปัญหาแบบนี้ การโค้ช จะช่วยลด resistanceที่เกิดขึ้นได้   


ติดตามเนื้อหาแบบสมบูรณ์ได้ที่ วิดิทัศน์ การบรรยาย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ  Coaching for Change  ได้ที่นี่

X

Right Click

No right click