บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดทำอาหารปรุงพิเศษจากอาหารส่วนเกิน (Food Surplus) กว่า 7,600 ชุด ส่งถึงมือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ยากไร้และผู้ได้รับกระทบจากวิกฤตโควิด 19 สร้างความมั่นคงทางอาหารและโอกาสในการเข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียมกัน
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ ในฐานะบริษัทผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซีพีเอฟ มูลนิธิสโกลาร์ส ออฟ ซัสทีแนนซ์ หรือ SOS และบริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด หรือ GEPP ส่งมอบอาหารในโครงการ “Circular Meal...มื้อนี้เปลี่ยนโลก” กว่า 7,600 ชุด ให้กับมูลนิธิเด็ก ผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อยและผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิค 19 จำนวน 6 แห่ง มีสมาชิกกว่า 5,000 คน ประกอบด้วย ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ชุมชนคลองส้มป่อย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนมักกะสัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนสวนรื่น ศูนย์สร้างโอกาสพระราม 8 และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เพื่อส่งต่อให้กับชุมชนดวงแข ตรอกสลักหิน รวมทั้งชุมชนกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้น้อยอีก 7 ชุมชน ผ่านการปรุงอาหารจากครัวรักษ์อาหาร เพื่อมอบให้แก่ชุมชนบ้านครัวเหนือ ชุมชนคลองส้มป่อย ครัววัดแข ครัววัดโสม ครัววัดภาชี ชุมชนจักรพรรดิพงศ์ และชุมชนมาชิม ซึ่งเป็นการนำอาหารส่วนเกินไปสร้างสรรค์เมนูที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนต่อการบริโภค บนพื้นฐานมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร ถูกหลักอนามัย
นอกจากนี้ โครงการฯ ยังให้ความสำคัญกับการรณรงค์ให้องค์กรพันธมิตรและผู้บริโภคเก็บและคัดแยกบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติกจากการมอบอาหารของโครงการฯ แล้วกว่า 3,000 ชิ้น ซึ่ง GEPP เป็นผู้รับผิดชอบนำไปส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สู่การบริหารจัดการตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน อาทิ การนำไปสร้างประโยชน์ใหม่ (Upcycling) รวมทั้งการนำไปใช้เป็นพลังงาน เพื่อตัดวงจรขยะลงสู่หลุมฝังกลบ ตามเป้าหมายของโครงการฯ ที่มุ่งเน้นลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งโครงการฯสามารถลดขยะอาหารสู่หลุมฝังกลบได้มากกว่า 1.8 ตัน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 3,441 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
นายวุฒิชัย กล่าวว่า ซีพีเอฟ มุ่งมั่นสนับสนุนการนำอาหารส่วนเกินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน ด้วยการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน (Food Surplus Management)) สอดคล้องกับเป้าหมายของ ซีพีเอฟ ที่มุ่งมั่นลดขยะอาหารเป็นศูนย์ในปี 2573 (Zero Waste to Landfill) ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อความมั่นคงทางอาหารให้กับคนทุกกลุ่ม ซึ่งโครงการนี้ มีเป้าหมายส่งมอบอาหารตลอดปี 2564 จำนวน 10,000 ชุด ให้กับผู้ด้อยโอกาสและขาดแคลนอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
“ในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำ ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตที่ยั่งยืนและการบริโภคด้วยความรับผิดชอบ เพื่อร่วมมือกับประชาคมโลกในการขจัดความหิวโหย การขาดแคลนอาหาร และสร้างสมดุลธรรมชาติให้คืนกลับมา จากการบริโภคอย่างรู้คุณค่าโดยไม่เหลือเป็นขยะอาหารหรืออาหารส่วนเกิน” นายวุฒิชัย กล่าว
โครงการ “Circular Meal…มื้อนี้เปลี่ยนโลก” เป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน 3 เสาหลัก ประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงอาหารทุกสถานการณ์ สอดคล้องตามเป้าหมายการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 บริษัทฯมีการดำเนินงานควบคู่ไปกับกิจกรรมการส่งมอบอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัย ในโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ตามนโยบายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้โครงการ "ซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19" ร่วมรับผิดชอบสังคมและสนับสนุนการทำงานของบุคลากร อาทิ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐและภาคสนาม
ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ยังได้ส่งอาหารให้แก่ผู้กักตัว ผู้ป่วย กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง รวมส่งอาหารไปแล้วหลายล้านแพ็ค และทำโครงการ “ลดจริง..ไม่ทิ้งกัน” โดยร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ลดราคาสินค้าอาหารและจำหน่ายข้าวกล่องๆ ละ 20 บาท จำนวน 1 ล้านกล่อง โครงการ Food Truck นำข้าวกล่องไปแจกเป็นอาหารกลางวันให้กับชุมชนต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพ นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ดูแลส่งอาหารให้แก่โรงพยาบาลสนาม ศูนย์ฉีดวัคซีน กลุ่มเปราะบาง จุดตรวจโควิด และหน่วยงานต่างๆมากกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ
จากโจทย์ความต้องการให้เกษตรกรในทุกระดับ มีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีที่ดีเพื่อพัฒนาตัวเอง
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รับมอบไข่ไก่สด จำนวน 200,000 ฟอง จาก นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแรงงานในแคมป์ก่อสร้าง ผ่านสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมี นางสาวอำพันธ์ ธุววิทย์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน และนางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ ร่วมด้วย ณ กระทรวงแรงงาน
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลมีมติให้ปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง ทั่ว กทม. กว่า 500 แห่ง ซึ่งมีแรงงานอยู่ประมาณ 80,000 คน สิ่งหนึ่งที่ท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความเป็นห่วงและให้ความสำคัญกับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน คือ อาหารการกิน จึงกำชับกระทรวงฯ ให้ประสานผู้ประกอบการที่มีกำลัง อาทิ เครือซีพี-ซีพีเอฟ ซึ่งให้ความช่วยเหลือภาครัฐมาโดยตลอด ทั้งนี้ อยากให้กำลังใจผู้ใช้แรงงานทุกคน ทั้งคนไทยและต่างชาติ เราทำทุกอย่างตามแนวทางผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อ พร้อมให้คำมั่นว่า ปิดแล้วต้องจบ ซึ่งทุกท่านได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
กระทรวงฯ ขอขอบคุณซีพีเอฟเป็นอย่างมาก ที่ช่วยเหลือทุกครั้ง ตั้งแต่การมอบอาหารให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการฉีดวัคซีนแก่ผู้ประกันตน ม.33 ในศูนย์ฉีดวัคซีน ทั่ว กทม. และยังนำไข่ไก่มามอบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นขวัญกำลังใจแก่พี่น้องผู้ใช้แรงงานอีกครั้ง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดสรรอย่างเหมาะสม สู่แคมป์คนงานโดยตรง
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีและซีพีเอฟ ทราบว่า กระทรวงฯ ได้เข้าไปช่วยเหลือและดูแลทุกภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการ ครอบคลุมถึงแรงงานต่างชาติตามมาตรการล็อกดาวน์พื้นที่แคมป์ก่อสร้าง เนื่องจากเป็นจุดที่มีความเสี่ยง บริษัทฯ ต้องขอบคุณผู้บริหารแคมป์ก่อสร้างที่ยินดีร่วมมือกับรัฐบาลในการช่วยกันดูแลสังคมและประเทศไทยเพื่อลดการเพร่กระจายโรค
บริษัทฯ ยินดีเป็นอย่างยิ่งและพร้อมเคียงข้างสังคม โดยนำไข่ไก่สด จำนวน 200,000 ฟอง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง สะดวก และสามารถทานได้ทุกคน มามอบผ่านทางกระทรวงฯ เพื่อแจกจ่ายให้กับแรงงานต่อไป หวังว่ากิจกรรมของเราในครั้งนี้ จะช่วยแบ่งเบาสถานการณ์วิกฤตนี้ไปได้โดยเร็ว
ซีพีเอฟ ดำเนินโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ตามนโยบายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้โครงการ “ซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” นับจากวันแรก...ถึงวันนี้ ซีพีเอฟ มอบอาหารพร้อมทานแก่บุคลากรทางการแพทย์และพี่น้องคนไทยแล้วหลายล้านแพ็ค รวมถึงน้ำดื่มและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหลายล้านขวด ตลอดจนวัตถุดิบอาหารสดและเครื่องปรุงรส สำหรับนำไปปรุงอาหาร แก่โรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลสนาม กลุ่มเปราะบาง ศูนย์ฉีดวัคซีน และหน่วยงานต่างๆ กว่า 500 แห่งทั่วประเทศ เพื่อร่วมเคียงข้างคนไทยก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เดินหน้าโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19”
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ประกาศเปิดตัว “MEAT ZER0” ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช (Plant-based Meat) ที่ผลิตด้วยนวัตกรรม ‘PLANT-TEC’ ทำให้ได้เนื้อทางเลือกที่มีความเหมือนเนื้อสัตว์จริง ทั้งลักษณะชิ้นเนื้อ รสชาติ กลิ่นและเนื้อสัมผัส ตอบโจทย์เทร็นด์โลก เอาใจผู้บริโภคที่รักษ์สุขภาพ ในราคาที่จับต้องง่ายทั้งอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง (Ready to cook) และอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน (Ready to eat) เริ่มจำหน่ายแล้ววันนี้ที่เซเว่นอีเลฟเว่นและโมเดิร์นเทรดชั้นนำทั่วไทย ขณะเดียวกัน ยังใช้ศักยภาพของซีพีเอฟที่มีฐานลูกค้าอยู่ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ส่ง “MEAT ZER0” บุกตลาดต่างประเทศ ทั้งเอเชีย ยุโรป และสหรัฐ มั่นใจคว้าผู้นำตลาดเนื้อทางเลือกอันดับ 1 ของเอเชียและจะขึ้นแท่น Top 3 ผู้นำเนื้อทางเลือกของโลกภายใน 3-5 ปี
เนื้อจากพืช (Plant-based Meat) เป็นเทร็นด์อาหารของโลกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ซีพีเอฟในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารของไทยและของโลก จึงทุ่มเทการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อทางเลือกมาเป็นเวลากว่า 2 ปี โดยผสานความร่วมมือระหว่าง CPF RD Center กับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไต้หวัน รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ทางอาหารจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กระทั่งค้นพบนวัตกรรม ‘PLANT-TEC ที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ “MEAT ZER0” เนื้อทางเลือกที่สมบูรณ์แบบทั้งลักษณะ รสชาติ กลิ่น และเนื้อสัมผัส
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จากพืช แบรนด์ “MEAT ZER0” โดยผลการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างพบว่าให้ความรู้สึกเสมือนรับประทานเนื้อสัตว์จริงๆ
MEAT ZER0 เป็นพืชที่อร่อยอย่างเนื้อ ผู้บริโภคแทบจะแยกไม่ออกเลยว่ากำลังรับประทานพืชอยู่ ด้วยความโดดเด่นของทีมวิจัยพัฒนาอาหารจากซีพีเอฟที่ทำงานร่วมกับบริษัทวิจัยชั้นนำระดับโลก กระทั่งได้ผลิตภัณฑ์นี้ออกมา เราภูมิใจในนวัตกรรมชิ้นนี้อย่างมากและมั่นใจว่า จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผลิตภัณฑ์ MEAT ZER0 ประกอบด้วยสารอาหารอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งโปรตีนจากพืช ให้เส้นใยอาหารสูง ดีต่อลำไส้และกระเพาะอาหาร ทั้งยังไม่มีโคเลสเตอรอล ดีต่อระดับไขมันในเลือด ขณะเดียวกันยังดีต่อใจของผู้ที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ถูกใจผู้บริโภคทั้ง สายสุขภาพ-สาพฟิต-สายไดเอท และ สายบุญ
“ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจดูแลรักษาสุขภาพกันมากขึ้น หลายคนควบคุมอาหารหรือลดน้ำหนักด้วยการเว้นเนื้อสัตว์เป็นครั้งคราว หลายคนมีความเชื่อและเลือกเว้นเนื้อสัตว์ในวันเกิด เดือนเกิด หรือเมื่อโอกาสอำนวย เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Flexitarian หรือกลุ่มมังสวิรัติยืดหยุ่น จึงทำให้มีความต้องการอาหารทางเลือกที่ปราศจากเนื้อสัตว์มากขึ้น แต่ข้อจำกัดที่พบคือระดับราคาที่สูงของเนื้อเหล่านี้ ขณะเดียวกันก็ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อได้ง่ายนัก “MEAT ZER0” จึงเข้ามาตอบโจทย์ให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้นทั้งระดับราคาและจุดจำหน่าย เชื่อว่าจะสามารถสร้างรายได้แตะหนึ่งพันล้านบาทให้บริษัทได้ในเวลาไม่กี่ปี” นายประสิทธิ์กล่าว
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช “MEAT ZERO” วางจำหน่ายในระดับราคาที่ใกล้เคียงกับอาหารจากเนื้อสัตว์ปกติ โดยมีรูปแบบอาหารพร้อมรับประทาน ที่ประกอบด้วยเมนูยอดนิยม เช่น โบโลน่าจากพืช เบอร์เกอร์หมูจากพืช ข้าวกระเพราเนื้อจากพืช สปาเก็ตตี้เนื้อสับ จำหน่ายในราคาเพียง 35-45 บาท และในรูปแบบอาหารพร้อมปรุง สำหรับนำไปปรุงเป็นอาหารรับประทานกันในบ้าน อาทิ นักเกตไก่จากพืช เนื้อบดจากพืช และหมูกรอบจากพืช โดยวางจำหน่ายในราคาเพียง 69 บาท ที่สำคัญคือ ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้ง่ายจาก เซเว่นอีเลฟเว่น แมคโคร โลตัส และห้างโมเดิร์นเทรดชั้นนำทั่วประเทศ โดยมี “นาย ณภัทร เสียงสมบุญ” นักแสดงชื่อดังเป็นพรีเซ็นเตอร์คนแรกของ Meat Zero ที่จะมาพร้อมกับสโลแกน “แค่เริ่ม… โลกก็เปลี่ยน”
ผู้บริโภคกลุ่มวีแกนและกลุ่มมังสวิรัติยิดหยุ่น (Flexitarian) มีจำนวนราว 29% ของประชากรโลก ขณะที่ซีพีเอฟมีฐานลูกค้าอยู่ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก จึงจะใช้ศักยภาพนี้ในการกระจาย “MEAT ZER0” ออกสู่ตลาดโลกทั้งเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยในปี 2564 นี้ จะเริ่มส่งออกไปยังตลาดเอเชียก่อน และขยายสู่ยุโรป และอเมริกา โดยมั่นใจว่าจะก้าวสู่ผู้นำตลาดเนื้อทางเลือกอันดับ 1 ของเอเชีย จะขึ้นแท่น Top 3 ผู้นำเนื้อทางเลือกของโลกได้ภายในเวลา 3-5 ปี
“MEAT ZER0 จะกลายเป็น 1 ใน 3 ผู้นำตลาดเนื้อทางเลือกของโลกได้ภายใน 3-5 ปี และซีพีเอฟจะยังคงพัฒนาต่อไปสู่การเป็นบริษัทอาหารแห่งอนาคตหรือ Food Tech Company อย่างเต็มรูปแบบตอบโจทย์ความต้องการอาหารของผู้บริโภคทุกกลุ่ม” นายประสิทธิ์กล่าวทิ้งท้าย