September 19, 2024

"วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง" ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด จากชุมชนทางผ่านสู่เกาะช้าง สู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง โดยการสนับสนุนของ CPF ทั้งการช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และดูแลคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมาย "สร้างคุณค่าร่วมทางสังคม" สร้างประโยชน์ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

กระทั่งเป็น "โมเดลต้นแบบการเติบโตอย่างยั่งยืน" กลายเป็นชุมชนแห่งรอยยิ้ม ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง...

คลิกชมคลิป >>

 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าหนุนเกษตรกรรายย่อย มากกว่า 5,500 รายทั่วประเทศ รับหน้าที่เป็นตลาดรับผลผลิตแทน ลดความเสี่ยงตลาดผันผวน เกษตรกรมีรายได้แน่นอน มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้-เทคโนโลยีสู่เกษตรกรรายย่อย-รายกลาง สร้างความมั่นคงในอาชีพ ร่วมสร้างอาหารมั่นคง ส่งมอบอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภค

 

นายสมพร เจิมพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ มุ่งยกระดับการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย ทั่วประเทศมากกว่า 5,500 ราย ในรูปแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเลี้ยงสัตว์ที่ดี ภายใต้การบริหารจัดการด้านการเลี้ยงสัตว์ที่มีมาตรฐาน ด้วยการนำขีดความสามารถของบริษัทฯ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการเลี้ยงแก่เกษตรกร ที่สำคัญเกษตรกรต้องมีตลาดรองรับผลผลิต บริษัทฯจึงทำหน้าที่เป็นตลาดรับซื้อผลผลิตคืนจากเกษตรกร เพื่อให้มีอาชีพที่ไร้ความเสี่ยงด้านราคาและการตลาด และมีหลักประกันรายได้ที่มั่นคง โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาที่ราคาสุกรผันผวนมาก จากการเข้ามาของขบวนการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรเถื่อน หากแต่เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสุกรกับซีพีเอฟ ไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีการทำสัญญาตกลงราคากันไว้ล่วงหน้า และบริษัทฯ รับซื้อผลผลิตของเกษตรกรไว้ทั้งหมด

“นอกจากการส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยได้รับทั้งความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทำให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือเกษตรกรไม่ได้รับความเสี่ยงตลาดผันผวน โดยสินค้าที่ซีพีเอฟผลิตส่งจำหน่ายในตลาดและห้างโมเดิร์นเทรดต่างๆ ก็มาจากเกษตรกรรายย่อยที่บริษัทฯรับความเสี่ยงโดยตรง และยังมีเกษตรกรรายกลางอีกร่วม 500 ราย ที่ซีพีเอฟ เข้าไปช่วยสนับสนุนองค์ความรู้ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในอาหาร เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปด้วยกัน” นายสมพร กล่าว

 

ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ปี 2518 ที่ซีพีเอฟ นำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบพันธสัญญาแก่เกษตรกรรายย่อย ภายใต้หลักคิด “เกษตรกรคือคู่ชีวิต” ร่วมสนับสนุนความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยของไทย มีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน พึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับชุมชนและประเทศ ควบคู่กับการผลิตเนื้อสัตว์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันผลิตและส่งมอบสินค้าอาหารคุณภาพมาตรฐานสูง สร้างความมั่นคงด้านอาหารให้คนไทย

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธี ส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ที่เครือซีพี โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ หรือ JCC ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 36 หนุนโภชนาการที่ดี สร้างคลังอาหารในโรงเรียน-ชุมชน มุ่งถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เยาวชน ปูพื้นฐานอาชีพนำองค์ความรู้ไปใช้ในอนาคต ณ โรงเรียนบ้านนาคำ (โพนสวรรค์) อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

 

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า  รู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่งที่ JCC ให้ความสำคัญในการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดีแก่เด็กและเยาวชนไทย ด้วยการสนับสนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน โดยโครงการฯ นี้เป็นตัวอย่างของการบูรณาการงานร่วมกับภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมี มูลนิธิฯ เป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโรงเรียนทั้ง 4 แห่งในพื้นที่จังหวัดนครพนม ที่ได้รับโอกาสนี้ จะดำเนินโครงการด้วยความตั้งใจ บริหารจัดการไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน และขอขอบคุณ JCC มูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ที่เดินหน้าโครงการฯ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักเรียน โรงเรียน และชุมชน

ด้าน นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และผู้ช่วยบริหารสำนักประธานคณะกรรมการบริหาร ซีพีเอฟ ในฐานะกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท กล่าวว่า มูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ก้าวเข้าสู่ปีที่ 36 โดยในปี 2543 มูลนิธิฯผนึกกำลังกับ JCC ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายสนับสนุนโครงการฯ จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 24 ปี โดยเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการฯ ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงโภชนาการที่ดี ให้แก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลและชุมชนในถิ่นทุรกันดาร สำหรับปีนี้ JCC สนับสนุนงบประมาณ แก่ 4 โรงเรียนในจังหวัดนครพนม ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านนาคำ โรงเรียนบ้านนาเต่า โรงเรียนบ้านค้อ และโรงเรียนพระซองวิทยาคาร

 

ส่วน นายวราราชย์  เรืองศรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ผู้แทนรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ร่วมสนับสนุนมูลนิธิ ทั้งงบประมาณและบุคลากร อย่างเต็มกำลัง ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำด้านการเลี้ยงไก่ไข่ และการจัดการผลผลิตไข่ไก่สด แก่ครูและนักเรียนในโรงเรียนที่ร่วมโครงการฯอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถบริหารโครงการได้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมสุขภาพของเด็กเยาวชนไทย ที่เป็นอนาคตของประเทศ จากการบริโภคไข่ไก่อาหารโปรตีนคุณภาพดีอย่างเพียงพอ อิ่มท้อง สมองแจ่มใส และหวังว่าโรงเรียนจะสามารถดำเนินการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน เป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป

ทางด้าน นายโคโซ โท รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ กล่าวว่า JCC ตระหนักถึงความสำคัญของโภชนาการในเด็กวัยเรียน และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้สนับสนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งผ่านความช่วยเหลือและส่งเสริมในด้านอาหารและโภชนาการแก่เยาวชนไทยในพื้นที่ห่างไกล ด้วยการสนับสนุนงบประมาณสำหรับก่อสร้างโรงเรือน การติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง พันธุ์ไก่ไข่ อาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์ในการเลี้ยงไก่ไข่รุ่นแรก ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน ครู ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารโปรตีนคุณภาพดี ตลอดระยะเวลา  24 ปีที่ผ่านมา มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ภายใต้ความร่วมมือของ JCC รวม 146 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยนำรายได้จากการเลี้ยงไก่ไข่รุ่นที่ 1 มาเป็นกองทุนบริหารจัดการในรุ่นต่อไป ส่งผลให้สามารถขยายผลสู่กิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับโรงเรียนได้อย่างแท้จริง

ปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน 959 โรงเรียนทั่วประเทศ มีนักเรียนกว่า 180,000 คน คุณครูและบุคลากรทางการศึกษากว่า 1,300 คน ตลอดจนชุมชน ได้เรียนรู้ทักษะการเลี้ยงไก่ไข่ การจัดการบริหารฟาร์มขนาดเล็ก และประยุกต์กิจกรรมสู่การเรียนการสอน เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญด้านการจัดการอาชีพเกษตรเชิงธุรกิจให้กับครู นักเรียน ได้เรียนรู้การบริหารจัดการธุรกิจเกษตร สามารถบริหารจัดการผลผลิตไข่ไก่จำหน่ายให้แก่ชุมชน ทำให้ชาวชุมชนได้บริโภคไข่ไก่สดในราคาที่เหมาะสม สร้างรายได้หมุนเวียน ต่อยอดขยายผล เกิดเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นฐานรากของ “ความมั่นคงทางอาหาร”

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด  (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้คะแนนสูงสุดจากดัชนีความยั่งยืน Dow Jones Sustainability Indices(DJSI) ปี 2023 ในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร  (Food Products) จากการประเมินของ S&P Global และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ประเภทตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) สะท้อนการรักษามาตรฐานความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร และให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน บนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ผลการประเมินดังกล่าว สะท้อนการรักษามาตรฐานของความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่เกษตรกร คู่ค้าธุรกิจ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน พนักงาน  ชุมชน   เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (Innovation Management) ที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการที่ดี (Health & Nutrition)สำหรับผู้บริโภค โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้  ตลอดจนใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Resource Efficiency and Circularity) ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ CPF คือ Climate People และ Food Security ที่มีพันธกิจสร้างความมั่นคงทางอาหาร ทั้งในภาวะปกติและวิกฤติ

"ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์เป็นครัวของโลกที่ยั่งยืน ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและยึดมั่นในปรัชญาสามประโยชน์สู่ความยั่งยืน ตามดำริของประธานอาวุโส ธนินท์ เจียรวนนท์ คือ มองประโยชน์ของประเทศ ประชาชน และบริษัท เป็นแนวทางขับเคลื่อนองค์กร   มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร   ส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีโภชนาการ และรสชาติอร่อย  ให้แก่ผู้บริโภคทั่วโลก "นายประสิทธิ์ กล่าว          

บริษัท ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตั้งแต่กระบวนการ ผลิตอาหารสัตว์ (Feed) การเลี้ยงสัตว์ (Farm) และการแปรรูปอาหาร (Food)อาทิ นำนวัตกรรมโปรไบโอติกมาใช้ในอาหารสัตว์ ทั้งสุกร ไก่ กุ้ง ช่วยสร้างสมดุลลำไส้ เสริมภูมิคุ้มกันให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง  ไม่ป่วย  จึงไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และมุ่งมั่นยกระดับเนื้อไก่ไทยสู่มาตรฐานความปลอดภัยระดับอวกาศ (Space Food Safety Standard)ในโครงการ"ไก่ไทยจะไปอวกาศ" เป็นครั้งแรกที่ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยก้าวสู่มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงที่ไม่ใช่แค่ระดับโลก แต่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับเดียวกับที่นักบินอวกาศสามารถรับประทานได้  ตามหลักเกณฑ์ของ Space Food Lab อีกถึงมากกว่า 40 การตรวจสอบ  

นอกจากนี้ ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ปัจจัยเสี่ยงและความท้าทาย บริษัทฯ เตรียมความพร้อมรับมือสู่การเปลี่ยนผ่านในทุกมิติ อาทิ การบริหารความเสี่ยงองค์กรรอบด้าน กำกับดูแลด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ สร้างความมั่นคงและความปลอดภัยด้านข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัล  จัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ  ตลอดจนการส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศที่ดีให้แก่โลก การบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีความผูกพันที่ดีกับองค์กร ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในงานที่รับผิดชอบ เสริมสร้างทักษะที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งเสริมวัฒนธรรมการเป็นคนดีของสังคม  ปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ยอมรับความหลากหลายและแตกต่างโดยไม่เลือกปฏิบัติ       

ซีพีเอฟกิจการในประเทศไทยและกิจการต่างประเทศ  ได้ประกาศเจตนารมณ์เป็นองค์กรที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net-Zero) ภายในปี 2050 และเป็นผู้ผลิตอาหารรายแรกของโลกที่ได้รับการอนุมัติเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์  สอดคล้องตามมาตรฐาน Forest, Land and Agriculture Guidance (FLAG) ซึ่งเป็นมาตรฐานเฉพาะสำหรับภาคเกษตรและอาหารจากองค์กร The Science Based Targets initiative (SBTi) องค์กรไม่แสวงหากำไรระดับโลกที่สนับสนุนและให้การรับรองอย่างอิสระในการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแก่ภาคธุรกิจเพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ

ปัจจุบัน ซีพีเอฟมีการลงทุนและร่วมลงทุนใน 17 ประเทศ  ส่งออกไปมากกว่า 40 ประเทศ ครอบคลุมประชากรมากกว่า 4,000 ล้านคน  บริษัทฯ ได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ เป็นปีที่ 9 ติดต่อกัน จากการประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทชั้นนำระดับโลก ทั้งในด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ตอกย้ำการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนในระยะยาว และเติบโตอย่างมั่นคงพร้อมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ภายใต้วิสัยทัศน์ "ครัวของโลกที่ยั่งยืน"

X

Right Click

No right click