September 08, 2024

บริษัท ดาว (Dow) ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้ายของรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับโลก หรือ Packaging Innovation Awards (PIA) ครั้งที่ 35 โดยมีบรรจุภัณฑ์จากบริษัท สตาร์ปริ๊นท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้เข้ารอบสุดท้าย และจะประกาศผลผู้ชนะที่งานโตเกียว แพ็ค (Tokyo Pack) ในวันที่ 24 ตุลาคมนี้

รางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับโลกนี้ เป็นหนึ่งในการแข่งขันที่สำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกมานานกว่า 30 ปี โดยเป็นรางวัลที่มีการตัดสินอย่างอิสระเนื่องจากผู้สนับสนุนการประกวดไม่ได้เข้าร่วมการตัดสินและไม่มีอิทธิพลต่อคณะกรรมการแต่อย่างใด

ผู้เข้ารอบสุดท้ายได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วโลก 18 ท่านจากสาขาวิชาต่างๆ เช่น การวางแผนธุรกิจและกลยุทธ์ การออกแบบ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา ความยั่งยืน และการศึกษา นอกจากนี้คณะกรรมการยังมีความรู้กว้างขวางในหลากหลายด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การตลาดและการสร้างแบรนด์ การค้าปลีก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ วิศวกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยในปีนี้การตัดสินผู้เข้ารอบเกิดขึ้นในเอเชียเป็นครั้งแรกที่กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ที่กรุงเทพฯ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีเกณฑ์ที่สำคัญประกอบด้วย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความรับผิดชอบและส่งเสริมความยั่งยืน และ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค

“ปีนี้ รางวัล Packaging Innovation Awards มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมมากเป็นประวัติการณ์ถึง 300 ชิ้นงานจากทั่วโลก ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าเกือบสองเท่าจากครั้งก่อน โดยผู้เข้าร่วมได้ยกระดับมาตรฐานการแข่งขันโดยเน้นการใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรม” นางดาเนียลล่า ซูซา มิรันดา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดระดับโลก บริษัท Dow กล่าว

รายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้ายมีดังนี้

  • AmPrima® PE Plus for Coffee จาก Amcor with Kjeldsberg
  • BarrierFlex NutVault – Plastic Packaging Bag for Nuts จาก Packaging Industries Limited
  • Bom Ar Spray de Ambientes จาก Reckitt Industrial
  • Cioccoriso Perugina – Plastic Bottle for Chocolate จาก Nestlé Italiana Spa
  • EcoLamHighPlus – Polyethylene-based Fully Recyclable Pouches for Breakfast Cereals จาก SB-Constantia Flexibles India
  • Fiama Handwash Recyclable Standup Pouch – First in India จาก ITC Limited
  • Figmint Paper-based Packaging for Kitchen Products จาก Target Corporation
  • First-of-its-kind Biscuits Outer Paper Bag จาก ITC Limited
  • Flat-shaped Multipurpose Repair Tape จาก 3M
  • Graphene-enhanced Packaging – Gerdau Graphene's Sustainable Innovation จาก Gerdau Graphene
  • Heat-shrink Labels from Recycled Light-blocking PET Bottles จาก Inner Mongolia Yili Industrial Group Co., Ltd
  • Hetbahn® with Bio-Circular Packaging จาก CJ CheilJedang Corp
  • Ice-cream Packaging Box to Create a DIY "Pino Gacha" จาก MORINAGA MILK INDUSTRY CO., LTD with TOPPAN Inc.
  • Inikin Brew-on-demand Tea Beverage Packaging with Freshness Retaining Cap จาก Inner Mongolia Yili Industrial Group Co., Ltd (Yili Group)
  • Macada – Paper Box for Macadamia จาก Starprint Public Company Limited (ตัวแทนจากไทย)
  • Magmark SS จาก Magnomer
  • Neo Dropper Autoload Design จาก Aptar (China) Investment Co., Ltd
  • Paper-based Bag for Dry Batteries จาก Panasonic Energy Co., Ltd with TOPPAN INFOMEDIA CO., LTD
  • Paper Based Packaging for Spreads จาก Upfield
  • PET Film for Cold Blister Forming จาก UFlex Limited Film Division
  • PharmaGuard® Recyclable Blister Packaging for Pharmaceutical Products จาก SÜDPACK MEDICA AG
  • Reciplus – Cafe Sello Rojo Mono-Material Coffee Packaging จาก Alico SAS BIC
  • Reusable Transport Packaging for Large Household Appliances จาก Free Pack Net Holding Sagl
  • Star Drop – Squeeze Bottle for Liquid Cosmetic Products จาก Aptar (China) Investment Co., Ltd
  • 'Tube Pouch' Plastic Tube Container for Food and Cosmetics จาก TOPPAN Inc.
  • Versafiller Paper-based Honeycomb Structure จาก P&G China
  • 100% Recyclable Stand-up Pouch for Detergent Liquid จาก Henkel Guatemala (Henkel La Luz, S.A.)
  • 26mm Lightweight Water Closure Beverage Cap จาก Alltrista

การประกาศผลนวัตกรรมรอบชิงชนะเลิศจะเกิดขึ้นวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ในงาน Tokyo Pack ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยผลงานทั้งหมดจะถูกจัดแสดงในงานตั้งแต่วันที่ 23-25 ตุลาคม ปีนี้ หรือติดตามผลการตัดสินได้ที่เฟสบุ๊ค Dow Thailand

นับเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย แปซิฟิกที่มีการประกาศใช้ฟิล์มรัดสินค้าที่ผลิตจากพลาสติกใช้แล้ว อย่างเต็มรูปแบบ โดย บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด เจ้าของแบรนด์เครื่องมือไฟฟ้าชั้นนำระดับโลก “MAKITA” ในประเทศไทย ได้ประกาศใช้ฟิล์มยืดรัดสินค้านวัตกรรมใหม่ที่มีส่วนผสมของพลาสติกใช้แล้ว (Post- Consumer- Recycled resin: PCR) ในการขนส่งสินค้าของบริษัท ด้วยเทคโนโลยีใหม่จากความร่วมมือของกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ระดับโลก และ MMP ผู้ผลิตฟิล์มยืดอันดับ 1 ในประเทศไทย ซึ่งทำให้ได้ฟิล์มที่มีคุณภาพเทียบเท่าฟิล์มจากพลาสติกใหม่ แต่ช่วยลดขยะได้กว่า 5 ตันต่อปี พร้อมชูไทยเป็นต้นแบบ เพื่อวางแผนขยายการใช้งานไปยังประเทศอื่นๆ

ฟิล์มยืดรัดสินค้านวัตกรรมใหม่ดังกล่าว มีส่วนผสมของพลาสติกใช้แล้วถึง 30% แต่ยังคงความใสและประสิทธิภาพเทียบเท่าฟิล์มยืดชนิดเดิม ไม่ว่าจะเป็นด้านความแข็งแรง ความเหนียว ความยืดหยุ่น ซึ่งสามารถใช้พันลังสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้าได้ทั้งแบบพันด้วยมือและพันด้วยเครื่องจักร ช่วยลดขยะพลาสติกได้มากกว่า 5 ตันต่อปี อีกทั้งยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลซ้ำได้อีก

นายฮิเดอากิ คูโรโนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า "ความกังวลเกี่ยวกับมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลกที่เกิดจากขยะพลาสติกรั่วไหลลงสู่มหาสมุทร ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในสังคมในการพยายามที่จะลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว MAKITAมีการดำเนินการเพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ของเรา ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมที่ยั่งยืนและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ นอกเหนือไปจากความพยายามที่ดำเนินการอยู่แล้ว MAKITAได้เริ่มใช้ฟิล์มยืดพันสินค้าที่ผสมพลาสติกใช้แล้วที่มีการนำเสนอมาจากDOW ซึ่งหากได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า โดยไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการโลจิสติกส์ เราก็มีแผนที่จะขยายการใช้ฟิล์มใหม่นี้ต่อไปอย่างมุ่งมั่น"

นายเอนก จงเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็มเอ็มพี คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “MMP ในฐานะผู้นำด้านการผลิตฟิล์มยืดที่ยั่งยืนในประเทศไทย เราคัดสรรแต่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้แก่ลูกค้าของเรา เราจึงเลือกใช้เม็ดพลาสติกผสมพลาสติกใช้แล้วนวัตกรรมใหม่ของ Dow ซึ่งผลการทดสอบยืนยันว่าแม้จะมีส่วนผสมของพลาสติกใช้แล้วถึง 30% ฟิล์มยืด PCR ที่เราผลิตนี้ก็สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่กำหนด โดยฟิล์มนี้ยังได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลกในการรีไซเคิลจาก Global Recycled Standard (GRS) เพื่อยืนยันว่าเราผ่านเกณฑ์ที่เข้มงวดทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม จึงเรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมให้อุตสาหกรรมในประเทศไทย ได้ใช้ฟิล์มที่มีความยั่งยืนในการขนส่ง ช่วยลดโลกร้อน ลดขยะได้อย่างเป็นรูปธรรม”

นายเอกสิทธิ์ ลัคนานิธิพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจและพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “Dow ขอแสดงความยินดีกับมาคิตะ ประเทศไทยที่เป็นบริษัทแรกในเอเชีย ที่ประกาศใช้ฟิล์มนวัตกรรมใหม่นี้ โดยต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ MAKITA และ MMP ให้ความไว้วางใจใช้ นวัตกรรมเม็ดพลาสติกผสมพลาสติกใช้แล้ว REVOLOOP™ ของ Dow ในการพัฒนาฟิล์มยืดรัดสินค้าที่มีประสิทธิภาพไม่แพ้ฟิล์มจากพลาสติกใหม่ 100% โดยเม็ด PCR นี้ของ Dow ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลกจาก Global Recycled Standard (GRS) เช่นกัน ทั้งในด้านแหล่งวัตถุดิบต้นทางที่ตรวจสอบได้ และคุณภาพของพลาสติกใช้แล้วที่เป็นไปตามข้อกำหนด ซึ่ง Dow มุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ลูกค้าของเราลดการปลดปล่อยคาร์บอน และลดขยะพลาสติกตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม และเติบโตอย่างยั่งยืน”

มาคิตะ ประเทศไทย ได้เริ่มใช้ฟิล์มที่มีส่วนผสมของพลาสติกใช้แล้วนี้ในการพันลังสินค้าเพื่อขนส่งภายในประเทศ รวมทั้งใช้กับสินค้าที่มีการส่งออกจากประเทศไทยแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567 และจะมีการประเมินเพื่อวางแผนการขยายผลไปยังประเทศอื่นๆ ต่อไป

โครงการห้องเรียนเคมีดาว (Dow Chemistry Classroom) โดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) เดินหน้าขจัดข้อจำกัดการเรียนวิชาเคมี เพิ่มโอกาสการเรียนรู้สู่คุณครูวิทยาศาสตร์และนักเรียนทั่วประเทศด้วยเว็บไซต์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปฏิบัติการเคมีที่ ‘ย่อส่วน’ อุปกรณ์ชุดการทดลองเพื่อ ‘ขยาย’ โอกาสในการศึกษา ให้เด็กๆ ทั่วไทยได้สนุกกับการเรียนรู้ด้วยเทคนิคที่ได้รับการยอมรับจากยูเนสโก ในเว็บไซต์ www.DowChemistryClassroom.com ที่รวบรวมเกร็ดความรู้และเทคนิคการเรียนการสอนจากกูรูชั้นนำของประเทศแบบจัดเต็ม เพิ่มช่องทางการเรียนรู้ที่รวดเร็ว สนุก และสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงได้ฟรีทุกที่ทุกเวลา เพื่อนำไปต่อยอดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์เครื่องแก้ว และสารเคมี ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้โรงเรียนจำนวนมากไม่สามารถทำการสอนวิชาเคมีในภาคปฏิบัติจริงได้ครบถ้วนทำให้นักเรียนขาดโอกาสในการทดลองด้วยตนเอง กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) จึงได้ร่วมมือกับสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จัดตั้งโครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” ขึ้นในปี พ.ศ. 2556 เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิชาเคมีในประเทศไทย ผ่านการทดลองเคมีด้วยเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) โดยเป็นครั้งแรกที่ภาคเอกชนได้สนับสนุนหลักสูตรนี้ในระบบการศึกษาไทยอย่างเป็นรูปธรรม และยังได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.) เข้าร่วมเป็นพันธมิตรโครงการ

นอกจากการอบรมครูและการประกวดการทดลองปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนที่จัดเป็นประจำทุกปีแล้ว เพื่อขยายโอกาสให้กับคุณครูและนักเรียนทั่วประเทศ โครงการฯ จึงได้จัดทำเว็บไซต์ “ห้องเรียนเคมีดาว” ที่มาพร้อมข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน และยังมีเมนูน่ารู้ต่าง ๆ ที่สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ได้แก่

  • การทดลองเคมีแบบย่อส่วน (Small-scale Lab) แนะนำให้เข้าใจหลักการและประโยชน์ของเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนที่ปลอดภัย ประหยัด และประสิทธิภาพดี และแชร์ไอเดียการทดลองด้วยวัสดุในชีวิตประจำวัน เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบทเรียนจริงในห้องเรียน รวมทั้งรวบรวมทำเนียบครูต้นแบบวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศที่มีความรู้ความสามารถด้านปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน
  • เรื่องเคมีสุด FUN ถ่ายทอดประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนเคมีให้สนุก จดจำง่าย ได้ประสบการณ์ตรง เกิดแรงบันดาลใจจากนักเคมีไทยชั้นนำของประเทศ พร้อมเกร็ดความรู้ที่ย่อยง่ายได้สาระฉับไว
  • ข่าวสารและกิจกรรม อัปเดตข่าวสารและแผนกิจกรรมต่างๆ ที่เปิดให้คุณครูและนักเรียนสามารถเข้าร่วมได้ เช่น การอบรมเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ การประกวดการทดลองเคมีแบบย่อส่วนประจำปีชิงทุนการศึกษาและโล่เกียรติยศ (DOW-CST Award) เป็นต้น
  • ลิงก์นี้มีประโยชน์ (Useful Links) แนะนำช่องทางการสั่งซื้ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์และเคมีแบบย่อส่วน และรวบรวมทุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญซึ่งจะมีการเพิ่มข้อมูลเป็นระยะๆ

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า "Dow ให้ความสำคัญกับการสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจเรียนวิชาเคมี เพราะวิชาเคมีกระตุ้นให้เด็กเกิดความสงสัย อยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล รู้จักการตั้งคำถาม รวมทั้งหาคำตอบจากการทดลองและสังเกตด้วยตัวเอง เป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนวิทยาศาสตร์และช่วยพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรที่จะเติบโตไปพัฒนาประเทศต่อไป"

เว็บไซต์ “ห้องเรียนเคมีดาว” ที่จะช่วยเปลี่ยนการอ่านข้อมูลการทดลองในตำรา หรือ Lab แห้ง ให้น่าสนใจยิ่งว่าเดิมด้วยการลงมือทดลองตามแนวทางปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน เปิดให้เข้าชมได้ฟรีแล้ววันนี้ที่ www.DowChemistryClassroom.com และจะมีการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องในอนาคต

บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC และกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเตรียมพร้อมสู่ “พันธมิตรทางธุรกิจเพื่อพลาสติกหมุนเวียนอย่างยั่งยืนในเอเชีย (Partnership to Accelerate the Circular Plastic Ecosystem in Asia)” เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการรีไซเคิลพลาสติกตลอดห่วงโซ่คุณค่าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตั้งเป้าเร่งพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่อเปลี่ยนขยะพลาสติกปริมาณกว่า 200,000 ตันต่อปีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นผลิตภัณฑ์หมุนเวียนที่มีมูลค่าด้วยกระบวนการรีไซเคิลเชิงกล (Mechanical Recycling) และการรีไซเคิลขั้นสูง (Advanced Recycling) ภายในปี 2573

เอสซีจีซี (SCGC) และ ดาว (Dow) มีแผนจะเร่งพัฒนาและยกระดับการรีไซเคิลขยะพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง สำหรับความร่วมมือในขั้นแรกนั้นครอบคลุมถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อนำพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (PCR) โดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งบูรณาการการลงทุนและการเข้าซื้อกิจการที่มีเทคโนโลยีรีไซเคิลขั้นสูงที่เกี่ยวเนื่องกับการรีไซเคิลเชิงกลและการรีไซเคิลขั้นสูงในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อสร้างระบบนิเวศห่วงโซ่คุณค่าที่แข็งแกร่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งบริหารจัดการและรีไซเคิลเพื่อหมุนเวียนพลาสติกใช้แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับในระยะถัดไป ทั้งสองบริษัทคาดการณ์ว่าจะร่วมกันจัดหาพลาสติกใช้แล้วจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตพลาสติกรีไซเคิลชนิดต่าง ๆ และขยายไปยังส่วนอื่น ๆ ของภูมิภาค เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่าง SCGC และ Dow ในครั้งนี้ นับเป็นครั้งสำคัญที่สององค์กรชั้นนำด้านพลาสติกเพื่อความยั่งยืน จะมาร่วมมือกันขับเคลื่อนและยกระดับระบบนิเวศให้กับพลาสติกหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดย SCGC พร้อมนำความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก Green Polymer และเทคโนโลยีคอมพาวนด์ (Compound) ในการเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดพลาสติก เพื่อคืนคุณค่าพลาสติกใช้แล้วตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกระบวนการรีไซเคิลเชิงกล (Mechanical Recycling) และการรีไซเคิลขั้นสูง (Advanced Recycling) โดยยังคงคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและรองรับความต้องการของตลาดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ทั้งในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า สะท้อนกลยุทธ์ Low Waste, Low Carbon ของ SCGC อย่างเป็นรูปธรรม”

นายบัมบัง จันดรา​ รองประธานฝ่ายธุรกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของ Dow เปิดเผยว่า “เอเชียเป็นหนึ่งในแหล่งขนาดใหญ่ของพลาสติกใช้แล้วที่สามารถแปรรูปได้ เราต้องการพลิกโฉมวิธีการจัดการกับขยะในภูมิภาค โดยสร้างโมเดลใหม่ที่ให้คุณค่ากับพลาสติกใช้แล้วและวัสดุรีไซเคิลต่าง ๆ เพื่อเก็บรวบรวมสิ่งเหล่านี้และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกโดยพัฒนาเทคโนโลยีในการคัดแยกขยะ การรีไซเคิลเชิงกล และการรีไซเคิลขั้นสูง ความร่วมมือกับ SCGC จะทำให้ทั้งสองบริษัทมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ที่เรามีจำหน่าย ความสามารถในการวิจัยและพัฒนา และลิขสิทธิ์ทางเทคโนโลยีของเรา เมื่อรวมกับความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในการผลิตเม็ดพลาสติกประสิทธิภาพสูงแล้ว ลูกค้าของเราจะได้รับความคุ้มค่าทั้งในด้านต้นทุน ความพร้อม รวมไปถึงคุณภาพของพลาสติกและวัสดุหมุนเวียน”

“Dow ได้ดำเนินกิจการในประเทศไทยมานานถึง 57 ปี เรามีความภาคภูมิใจที่จะได้เริ่มต้นก้าวต่อไปด้วยการพัฒนาพันธมิตรเพื่อธุรกิจพลาสติกหมุนเวียนร่วมกับ SCGC ซึ่งเป็นคู่ค้าที่เราไว้วางใจ โดยตลอดระยะเวลา 37 ปีที่ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนด้วยกันในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า ทั้งสององค์กรมีความมุ่งมั่นที่เหมือนกันในด้านความเป็นเลิศและความยั่งยืน SCGC จึงเป็นพันธมิตรในอุดมคติของเราที่จะสำรวจโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ร่วมกันในครั้งนี้ โดยเราตั้งใจที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่องให้กับลูกค้าควบคู่ไปกับการสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนของภูมิภาคนี้” นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวเสริม

ความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการทำงานด้านความยั่งยืนในการ “เปลี่ยนขยะเป็นผลิตภัณฑ์ (Transform the Waste)” ของ Dow ทั่วโลก ซึ่งมุ่งมั่นจะเปลี่ยนขยะพลาสติกและนำวัตถุดิบทางเลือกรูปแบบอื่น ๆ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ ให้ได้ 3 ล้านตันต่อปีภายในปี พ.ศ. 2573 รวมทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของ SCGC ตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon ที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% และมีเป้าหมายขยายสินค้าในกลุ่มพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 อีกด้วย

 

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) มอบผลิตภัณฑ์โพลิยูรีเทนให้กับมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนขาเทียมจำนวนทั้งสิ้น 920 กิโลกรัม มูลค่า 85,400 บาท โดยมีคณะผู้บริหารขอมูลนิธิขาเทียมเป็นผู้รับมอบ โดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยให้การสนับสนุนมูลนิธิขาเทียมฯ อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 บริจาคผลิตภัณฑ์โพลิยูรีเทนสำหรับการทำขาเทียมแล้วกว่า 40,000 ขา รวมถึงจัดการอบรมต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตเพื่อเพิ่มมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย

Page 1 of 8
X

Right Click

No right click