ร่วมจับมือเปิดโครงการฝึกอบรมบุคลากรดิจิทัลด้านคลาวด์ ตามกลยุทธ์ Cloud Security First

เมื่อเรามองไปที่สภาพภูมิทัศน์ของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน เราจะเห็นความน่าตื่นเต้นจากการที่ได้เห็นว่าโลกได้เชื่อมต่อกันมากยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 2,700 ล้านคนในปี 2022 เหลือเพียงประมาณ 2,600 ล้านคนในปี 2023 ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยการเชื่อมต่อนี้ได้นำมาซึ่งโอกาสใสการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญที่มากขึ้น ซึ่งนอกจากการเชื่อมต่อขั้นพื้นฐานจะมีความสำคัญแก่ทุกคนแล้ว เทคโนโลยียังมีบทบาทสำคัญในการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติได้อีกด้วย

หัวเว่ย หนึ่งในผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำของโลก มุ่งมั่นที่จะสร้างโลกที่เชื่อมต่อกันอย่างเต็มรูปแบบ มีความยั่งยืน และชาญฉลาด โดยมีเป้าหมายที่จะเชื่อมต่อผู้คนกว่า 120 ล้านคนในพื้นที่ห่างไกลในกว่า 80 ประเทศให้สำเร็จภายในปี 2025 โดยในปี 2022 หัวเว่ยได้เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรดิจิทัล “Partner2Connect Digital Coalition” หรือ P2C ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เพื่อช่วยจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้กับพื้นที่ชนบททั่วโลก เพื่อให้ชุมชนที่ขาดแคลนสามารถเข้าถึงการศึกษาอัจฉริยะ การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ทางไกล และบริการด้านดิจิทัลอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำหรับความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในอนาคต

บนเวทีการสัมนาด้านความยั่งยืน Sustainability Forum ครั้งที่ 3 ของหัวเว่ย ณ เมืองตงกว่าน ประเทศจีน ภายใต้หัวข้อ “เติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยี ตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Thrive Together with Tech: Realizing Sustainable Development) หัวเว่ยได้รวบรวมผู้บริหารและตัวแทนจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือ ITU และเครือข่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN SDSN) มาร่วมหารือเกี่ยวกับความสำคัญและความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มการเชื่อมต่อโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ดร. เหลียง หัว ประธานกรรมการบริหารของหัวเว่ย ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในช่วงเปิดงานว่า “โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในยุคใหม่ เช่น การเชื่อมต่อและพลังการประมวลผล มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม เทียบเท่ากับโครงสร้างทางกายภาพอย่างท้องถนน โดยโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่นี้จะเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมในภาพรวม โดยการประมวลผลจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในแง่ประสิทธิภาพของการทำงานในเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้ การเร่งขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผลจะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในหลายภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการผสานระหว่างเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจจริงอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจโลกและการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

คุณดอรีน บ็อกแดน-มาร์ติน เลขาธิการ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้เน้นย้ำถึงบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการเร่งผลักดันการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ว่า “ในขณะนี้ มีเป้าหมาย SDGs เพียง 15% เท่านั้นที่น่าจะสำเร็จลุล่วงได้ภายในปี 2030 ซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลจะสามารถช่วยเร่งให้เป้าหมายเหล่านี้สำเร็จตามได้มากถึง 70% หากมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาปรับใช้อย่างเหมาะสม  เราไม่ควรจะต้องเลือกระหว่างเทคโนโลยีกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน  เราต้องการทั้งสองสิ่ง  ดังนั้น มาเติบโตไปพร้อมกับเทคโนโลยี  และร่วมสร้างอนาคตดิจิทัลที่ก้าวหน้าเพื่อประชาชนและโลกของเรากันเถอะ”

คุณเจฟฟ์ หวัง ประธานฝ่ายกิจการสาธารณะและสื่อสารของหัวเว่ย ได้กล่าวว่า “หัวเว่ยมีความภูมิใจที่ได้เป็นพันธมิตรกับ ITU ในโครงการสำคัญนี้  รวมถึงการได้เห็นคนรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ร่วมมือกันในการสร้างความเท่าเทียมทางด้านดิจิทัลทั่วโลก โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนรวมถึงเงินทุนสำหรับโครงการต่าง ๆ ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจาก ITU และหัวเว่ย รวมถึงโอกาสในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันด้วย"

ดร. คอสมาส ลัคกีซัน ซาวาซาว่า ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาโทรคมนาคมของ ITU กล่าวว่า “ด้วยความร่วมมือระหว่าง ITU และหัวเว่ย เยาวชนจะได้เรียนรู้ และได้มีส่วนร่วมเป็นผู้นำในโลกดิจิทัล โดยเทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็นความรู้เบื้องต้นที่จะช่วยเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เราต้องการให้เยาวชนช่วยกันผลักดันอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลที่กำลังพัฒนาอยู่ทั่วโลกและสร้างความเปลี่ยนแปลง ผมขอขอบคุณหัวเว่ยสำหรับความร่วมมืออันยิ่งใหญ่ครั้งนี้ และผมหวังว่าจะได้เห็นผลกระทบในระดับโลกจากโครงการที่มีนวัตกรรมนี้”

กลุ่มพันธมิตร P2C ที่ริเริ่มก่อตั้งโดย ITU มุ่งส่งเสริมการเชื่อมต่ออย่างมีคุณค่าและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลในระดับโลก โดยให้ความสำคัญกับชุมชนห่างไกลในประเทศและภูมิภาคที่ขาดการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระดับโลกเมื่อปีที่แล้ว โดยตั้งเป้าหมายที่จะเชื่อมต่อผู้คนประมาณ 120 ล้านคนในพื้นที่ห่างไกลในกว่า 80 ประเทศ ให้สำเร็จภายในปี 2025 จนถึงขณะนี้ หัวเว่ยได้จัดการฝึกอบรมไปแล้ว 2,066 ครั้งในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นพันธมิตร P2C รายแรกของ ITU โดยได้เข้าไปร่วมมือกับกระทรวงต่าง ๆ และมหาวิทยาลัยในพื้นที่

ในประเทศไทย หัวเว่ยมุ่งมั่นในการสร้างสังคมดิจิทัลที่มีความเท่าเทียมในระดับท้องถิ่น ดังจะเห็นได้ชัดจากโครงการ “รถดิจิทัลเพื่อสังคม” (Digital Bus) ซึ่งริเริ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2021 เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยการช่วยฝึกอบรมทักษะดิจิทัลให้ฟรีในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้คนท้องถิ่นใน 10 จังหวัด ในชุมชนห่างไกล 40 แห่ง ครอบคลุมกลุ่มเด็กในชนบท กลุ่มแรงงาน และกลุ่มเอสเอ็มอีกว่า 3,000 คน โดยในโครงการนี้ หัวเว่ยได้เข้าไปช่วยพัฒนาทักษะดิจิทัลและการศึกษาด้าน STEM สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีความเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในโครงการ USO 2.0 เพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบท ทั้งนี้ หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นในการส่งเสริมพันธกิจ “เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” (Grow in Thailand, Contribute to Thailand) และ “นำทุกคนไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” (Lead Everyone Forward, Leave No One Behind) โดยมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย

เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลาง AI แห่งอาเซียน  

ขับเคลื่อนแนวทางการรับมือกับงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานประชุมสำหรับพาร์ทเนอร์ “Huawei Thailand Supplier Convention 2023”

X

Right Click

No right click