ปัจจุบันเทคโนโลยีคลาวด์ กลายเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่แทบทุกองค์กรในประเทศไทยหันมาปรับใช้ในกระบวนการทำงานของตนเองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน เพราะคลาวด์ถือเป็นตัวแปรหลักที่สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน พัฒนาประสิทธิภาพของการทำงานในองค์กร และที่สำคัญคือสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจจากการลดต้นทุนและส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า จุดแข็งที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้องค์กรต่างๆ ในบ้านเรา ตั้งแต่ธุรกิจขนาดใหญ่มาจนถึงขนาดเล็กอย่างเอสเอ็มอี ต่างปรับตัวมาใช้งานคลาวด์กันอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมที่ต่างกันก็มีความต้องการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป และการเกิดขึ้นของรูปแบบธุรกิจหรือบริการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งทำให้ภาคองค์กรไทยมีความต้องการที่จะติดตั้งและใช้บริการคลาวด์ที่หลากหลายยิ่งขึ้นตามไปด้วย บริการของเทคโนโลยีคลาวด์ในอนาคตจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้มีความยืดหยุ่น ไร้ขอบเขต รองรับฟีเจอร์ทุกรูปแบบที่องค์กรไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่างมองหา

นายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับทิศทางของเทคโนโลยีคลาวด์สำหรับองค์กรในอนาคตว่า หัวเว่ยเชื่อว่าเสาหลักสำคัญของคลาวด์แห่งอนาคตคือการมีสถาปัตยกรรมที่สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับแต่งให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ รองรับข้อจำกัดของการประกอบกิจการที่แตกต่างกันไป โดยหัวใจสำคัญคือเทคโนโลยีคลาวด์ในยุคใหม่ต้องสามารถปรับแต่งบริการสำหรับลูกค้าให้ตอบสนองเทรนด์ของการดำเนินธุรกิจได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยมีฟีเจอร์สำคัญ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้:

  1. สถาปัตยกรรมแบบไร้ขอบเขต (Regionless Architecture) ฟีเจอร์ที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้บริการเทคโนโลยีคลาวด์ได้แม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี อีกทั้งยังสามารถใช้บริการคลาวด์ได้จากพื้นที่ทั้งภายในประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยเราเรียกเทคโนโลยีคลาวด์นี้ว่า Global Cloud Resource Orchestration & Scheduling (GOS) ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ล้ำสมัยกว่าเดิมและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หากองค์กรต้องการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือเน้นเรื่องความยั่งยืน (Go Green) หัวเว่ยก็สามารถช่วยกำหนดได้ว่าเราควรจะใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการใดที่จะมาช่วยลดผลกระทบกับทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องโครงข่าย และยังช่วยจัดระเบียบศูนย์ข้อมูล (Data Center) ให้ลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนหรือโยกย้ายได้ตามต้องการ ในส่วนของแอปพลิเคชัน หัวเว่ยยังมีฟีเจอร์ Ubiquitous Cloud Native Service (UCS) ที่จะช่วยจัดการระบบคลาวด์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) คลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) หรือไฮบริดคลาวด์ (Hybrid Cloud) โดยมีจุดเด่นในเรื่องที่สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกได้โดยใช้เวลาไม่ถึงนาที มอบอิสระในการกระจายบริการไปยังประเทศต่าง ๆ ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วจากที่ไหนก็ได้ อีกทั้งยังมีค่าความหน่วง (Latency) ที่ต่ำอีกด้วย
  2. การประมวลผลผ่านเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Computing) คลาวด์ของหัวเว่ยมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานสอดประสานกันได้เป็นอย่างดี ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว และที่สำคัญคือมีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้เพื่อกระจายกำลังการทำงาน ดึงทรัพยากรส่วนที่ยังไม่ถูกใช้งานมาเสริมส่วนที่กำลังใช้งาน เพื่อส่งมอบประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุดและราบรื่นที่สุดให้แก่ลูกค้า

ทั้งนี้ เทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยยังสามารถนำไปใช้งานเป็นโครงส้รางพื้นฐานร่วมกับเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในปัจจุบันอย่างเทคโนโลยี AI ได้ด้วยเช่นกัน โดย ดร. กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร ตัวแทนจากสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทยได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ส่วนตัวผมใช้งานคลาวด์ของหัวเว่ยแล้วรู้สึกประทับใจมาก เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงจนเรียกได้ว่า Zero Downtime ตั้งแต่ผมใช้งานมายังไม่เคยมีช่วงไหนที่ระบบขัดข้องสักครั้ง นอกจากนี้ การรับส่งข้อมูลก็มีความรวดเร็ว มีค่าความหน่วง (Latency) ต่ำ ทำให้เราสามารถใช้ในการตรวจจับวัตถุด้วยเทคโนโลยี AI ผ่านการสตรีมภาพวิดีโอจากสถานที่จริง ช่วยให้พนักงานไม่ต้องเดินทางไปที่หน้าไซต์งาน โดยระหว่างการใช้บริการก็จะมีเจ้าหน้าที่จากหัวเว่ยคอยให้คำปรึกษาตลอด ทำให้เหมาะกับคนที่ต้องการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ประสิทธิภาพสูง ที่มาพร้อมกับการบริการที่ดีในราคาที่ย่อมเยา”

  1. การบริหารจัดการการทำงานของแอปพลิเคชันบนคลาวด์ (Cloud Application Operation) ฟีเจอร์ดังกล่าวจะช่วยส่งมอบคุณภาพด้านเครือข่าย (Network) ที่ดีขึ้นและสามารถทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากทุกแห่งทั่วโลก เช่น หากต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลไปที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ระบบจะค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดในภูมิภาคนั้น เพื่อให้ส่งต่อข้อมูลได้ไว ลดค่าความหน่วง (Latency) ให้น้อยที่สุด ทำให้บริการคลาวด์นั้น ๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าในหลายภูมิภาค (Multiple Region) ได้รวดเร็วกว่าเดิมและมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง

หัวเว่ยยังได้ชูวิสัยทัศน์ที่ต้องการสร้างซุปเปอร์คลาวด์คอมพิวติ้ง (Super Cloud Computing) ให้เป็นเสมือนคลาวด์หนึ่งเดียวทั่วโลก เพื่อให้เกิดเป็นการใช้เทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟแบบไร้ขอบเขตและไร้รอยต่อ (Regionless) อย่างแท้จริง ลดข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ที่เกิดจากการให้บริการคลาวด์ที่ยังคงยึดติดกับพื้นที่ในการให้บริการ ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือใช้เวลายาวนานเกินความจำเป็น และอาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเป็นแต้มต่อในการแข่งขัน รวมทั้งองค์กรอาจต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้คลาวด์เนทีฟแบบไร้ขอบเขตจะช่วยให้การเชื่อมต่อใช้งานระหว่างประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว มีความเสี่ยงที่ข้อมูลจะเสียหายต่ำ เนื่องจากระบบอัจฉริยะจะช่วยเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูล โดยทั้งหมดนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้บริการคลาวด์ให้แก่องค์กรได้อีกด้วย

การก้าวข้ามขีดจำกัดเกี่ยวกับขอบเขตของการให้บริการคลาวด์ตามหลักของหัวเว่ยคือ การนำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์ที่ใช้งานได้แบบไร้ขอบเขต ใช้ได้จากทุกที่ทั่วโลก ใช้งานง่าย และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยตอบรับเทรนด์ของการดำเนินธุรกิจในอนาคต และยังสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น มีโอกาสขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้หลากหลายรูปแบบจากความยืดหยุ่นทางธุรกิจที่มากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคก็จะได้ประโยชน์จากการได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหนก็สามารถได้รับการให้บริการที่ได้มาตรฐานระดับโลก

ทั้งนี้ หัวเว่ย คลาวด์ สนับสนุนการขับเคลื่อนกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับอีโคซิสเต็มของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสนับสนุนพาร์ทเนอร์สำคัญทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ทั้งแบบคลาวด์ส่วนตัว คลาวด์สาธารณะ หรือไฮบริดคลาวด์ รวมถึงกลยุทธ์การให้บริการคลาวด์ในรูปแบบ Everything as a Service สอดคล้องกับพันธกิจของหัวเว่ยในการ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” และการผลักดันประเทศไทยในการก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลแห่งภูมิภาคอาเซียนในอนาคตอันใกล้

จาก “พลเมืองดิจิทัล” สู่ “บุคลากรดิจิทัล” เปี่ยมคุณภาพ ร่วมสร้างอีโคซิสเต็มไอซีทีที่สมบูรณ์แก่ประเทศ

นอกจากเทคโนโลยีอัจฉริยะอย่าง 5G คลาวด์ หรือพลังงานดิจิทัล เทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์ก็ถือเป็นเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในหลายภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิต การเงิน ไปจนถึงการสื่อสาร ทุกภาคส่วนล้วนนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในกระบวนการทำงานเพื่อ การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนทั้งสิ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีพื้นฐานที่จำเป็นต่อการรองรับการใช้ AI อย่างแพร่หลายได้ถูกสร้างขึ้นจนพร้อมใช้งานแล้วในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญคือเหล่าผู้ประกอบการในไทย พร้อมแล้วหรือยังที่จะนำนวัตกรรมเหล่านี้มาใช้ในการทำธุรกิจที่จับต้องได้จริง และเทคโนโลยี AI จะผลักดันประเทศไทยไปในทิศทางใด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีคลาวด์และ AI เป็นหนึ่งในกลุ่มเทคโนโลยีที่ช่วยผลักดันและสร้างประโยชน์ให้ทั้งฝั่งภาครัฐและภาคเอกชน ธุรกิจส่วนตัวและองค์กรต่างล้วนมองหาเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้ โดยปัจจุบัน หัวเว่ย ประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในผู้นำที่ผลักดันให้เทคโนโลยีคลาวด์และ AI มาประยุกต์ใช้ในกลุ่มธุรกิจและองค์กรในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย

โดยภายในงาน “HACKaTHAILAND 2023: DIGITAL INFINITY” ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ร่วมมือกันจัดขี้นในปีนี้ และดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้าร่วมงานและเผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้โดยกลุ่มธุรกิจในประเทศไทยไว้ว่า

“การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของเทคโนโลยี AI ที่นำมาใช้จะสามารถสร้างความแตกต่างอย่างชัดเจนให้กับองค์กรของได้อย่างไร ซึ่งความสามารถและความรวดเร็วของแต่ละองค์กรในการเปิดรับเทคโนโลยี AI ขึ้นอยู่กับว่าเทคโนโลยี AI นั้นสามารถใช้งานได้จริงแค่ไหน ประเทศไทยเองถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีแนวทางและกลยุทธ์ ที่ชัดเจนในการสนับสนุนแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งหัวเว่ยเชื่อว่าสามารถนำเทคโนโลยี AIสร้างความแตกต่าง ที่เห็นได้จริงในหลากหลายอุตสาหกรรมของไทย อย่างไรก็ตาม การจะทำให้สำเร็จได้นั้น เทคโนโลยีพื้นฐาน ทักษะของผู้ใช้งานความสามารถในการพัฒนาเชื่อมต่อและการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อนโยบายด้านเทคโนโลยี AI ของประเทศ”

ดร. ชวพล เสริมว่า หัวใจสำคัญของการนำเทคโนโลยี AI มาใช้นอกจากจะขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการประมวลผลของแต่ละอัลกอริทึมหรือระบบที่แตกต่างกันแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจในอุุตสาหกรรมนั้น ๆ ของตนเองด้วย ซึ่งจุดนี้เองที่อาจจะเป็นส่วนที่ประเทศไทยยังขาด เพราะปัจจุบันยังมีการขาดความรู้ความเข้าใจตลอดจนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสากรรมนั้น ๆ ดังนั้น และหนึ่งในพันธกิจสำคัญของหัวเว่ยคือเป็นการเติมเต็มช่องว่างเหล่านั้น ผ่านโครงการ Cloud Developer หรือโปรแกรม Spark เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศไทย

“ยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี AI Pangu มาใช้ในอุตสาหกรรมการทำเหมืองที่มีความเสี่ยงสูงในด้านอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดร้ายแรง ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ได้ การนำ AI มาใช้ช่วยลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานที่มีความอันตรายได้ ด้วยการระบบการจัดการปฏิบัติงาน รวมถึงช่วยตรวจสอบความผิดพลาดได้ทันที และอีกตัวอย่างคือ โมเดลการพยากรณ์อากาศ ซึ่งเหมาะกับประเทศที่พึ่งอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นหลักอย่างประเทศไทย เพราะการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำส่งผลให้เกษตรกร ธุรกิจในภาคเกษตรกรรม เข้าถึงข้อมูลที่มีประโยชน์ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งทาง หน่วยงานการพยากรณ์อากาศแห่งทวีปยุโรป (European Weather Forecasting Agency) ได้มีการนำโมเดลการพยากรณ์อากาศของ Pangu ไปใช้งาน และสามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำที่สุดเท่าที่เคยทำมา โดย Pangu สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำ ภายในเวลาเพียง 10 วินาที ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ทำให้ผู้คนสามารถทราบสภาพอากาศ ที่แม่นยำได้แทบจะทันที” ดร.ชวพล กล่าวเพิ่มเติม

นอกจากนี้ นายสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ยกอีกตัวอย่างที่น่าสนใจของการนำเทคโนโลยี AI ไปใช้ในองค์กรภาคเภสัชกรรม ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาประมวลเพื่อพัฒนาแนวทางการ และประมวลผลข้อมูลยาเพื่อการรักษารักษาผู้ป่วย ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ในธุรกิจแฟชั่นของประเทศจีน ยังได้นำ AI ของ Pangu มาใช้ เพื่อวิเคราะห์เทรนด์แฟชั่นในอนาคต รวมถึงการช่วยตรวจสอบและป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในชิ้นงานออกแบบใหม่ๆ ในธุรกิจการเงินก็ได้นำ Pangu AIมาใช้เพื่อคาดการณ์ สถานการณ์ในอนาคต โดยมีความแม่นยำถึงร้อยละ 90 เทียบกับการคำนวณด้วยเครื่องมือของบริษัทฯ ที่มีความแม่นยำเฉลี่ยเพียงร้อยละ 70-80 เท่านั้น ซึ่งการใช้งาน AI ของ Pangu สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจในประเทศไทยได้ เพื่อช่วยให้เหล่าอุตสาหกรรมและองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐหรือเอกชนได้เดินหน้าไปสู่ความสำเร็จและการเพิ่มประสิทธิผลขององค์กรในทุกมิติ

“ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้เห็นองค์กรส่วนใหญ่นำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ โดยในปี พ.ศ. 2567 Pangu AI จะสนับสนุนการใช้งานภาษาไทย เพื่อมอบความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งาน” คุณสุรศักดิ์กล่าวปิดท้าย

ในด้านการเสริมสร้างอีโคซิสเต็มทางดิจิทัล ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และหัวเว่ย ได้ร่วมกันลงนาม ในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อเดินหน้าร่วมขับเคลื่อนศูนย์นวัตกรรมประเทศไทย (Thailand Innovation Center) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อผสานความร่วมมือ ของทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการบริการทางด้านดิจิทัลผ่านการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ AI และบิ๊กดาต้า รวมถึงการบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัลรุ่นใหม่ ผ่าน Huawei Spark Incubator Program และ Huawei Developer Program นอกจากนี้ หัวเว่ยประเทศไทยยังได้จัดบูธภายในงาน HACKaTHAILAND 2023: DIGITAL INFINITY เพื่อยกระดับ ความเข้าใจและทักษะทางเทคโนโลยีให้กับคนรุ่นใหม่และผู้คนที่สนใจ เพื่อเตรียมความพร้อมกับโลกในอนาคต ที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทในทุกแง่มุมของชีวิต

หัวเว่ย ประเทศไทย ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะตอบแทนสังคม เดินหน้าสร้างผู้นำทางเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้าง ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ บนเส้นทางการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีคลาวด์ และ AI มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือ ส่งเสริมให้ผู้คนได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หัวเว่ยเชื่อมั่นและเดินหน้าลงทุนในประเทศไทย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อการสร้างประเทศไทยอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้พันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย”

ในยุคแห่งดิจิทัลที่ธุรกิจ ภาคองค์กร รวมไปถึงหน่วยงานระดับประเทศ ต่างต้องการขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ องค์ประกอบสำคัญอย่าง “บุคลากร” ด้านเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทรัพยากรบุคคลเหล่านี้จะต้องเป็นผู้เข้ามาเตรียมความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนของทุกองค์กรในการมาถึงของเทคโนโลยี และอาจจะรวมไปถึงกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในระดับประเทศอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยเอง แม้รัฐบาลไทยจะมีแผนระดับชาติที่รองรับด้านเทคโนโลยีและทักษะดิจิทัลอยู่บ้างแล้ว แต่ก็อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการบุคลากรไอซีทีจำนวนมากจากทุกภาคอุตสาหกรรม ในอนาคตอันใกล้ภาคเทคโนโลยีเอกชนจึงกลายเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่สามารถช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรไทยรุ่นใหม่ของตลาดเทคโนโลยี

หัวเว่ย ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีไอซีทีระดับโลก ได้มีส่วนช่วยผลักดันบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องผ่านความร่วมมือต่าง ๆ กับเหล่าพาร์ทเนอร์ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีโครงการ “Seeds for the Future” เป็นหนึ่งในโครงการหลักที่ช่วยฝึกอบรมเด็กไทยในระดับอุดมศึกษาให้เป็นบุคลากรด้านไอซีที และเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในไทยมาเป็นเวลานานถึง 15 ปี และใน Seeds for The Future 2023 ประจำปีนี้ ได้ฝึกอบรมทั้งเยาวชนรุ่นใหม่ที่มาจากสายวิศวะกรหรือสายเทคโนโลยีโดยตรง และเยาวชนที่มาจากภาควิชาอื่นแต่มีความสนใจด้านเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากการฝึกอบรมกับผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรจากหัวเว่ยทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ น้อง ๆ เยาวชนที่แสดงศักยภาพได้โดดเด่นทั้งด้านเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรม หลังการฝึกอบรมเป็นระยะเวลา 8 วัน เราจะคัดเลือกนักเรียนที่มีศักยภาพโดดเด่นเพื่อร่วมเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ช่วงระหว่างวันที่ 15-20 กันยายนที่จะถึงนี้

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงโครงการ Seeds for the Future 2023 ว่า “นี่เป็นโครงการ 15 ปี ที่หัวเว่ยลงทุนด้วยความเชื่อว่าอนาคตของยุคนี้อยู่ในมือของคนรุ่นใหม่ เราต้องการพัฒนาทักษะให้กับเยาวชน หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับทั้งภาครัฐบาล ลูกค้า และพันธมิตรของเรา เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน ซึ่งเราเชื่อว่ามีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ในการช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล แพลตฟอร์มดิจิทัลและระบบนิเวศ ความยั่งยืน รวมถึงบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัล ซึ่งนักศึกษาทั้ง 20 คนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ จะได้รับประสบการณ์จากภาคปฏิบัติและความรู้มากมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมไอซีที รวมไปถึงแแนวคิดของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน วัฒนธรรมจีน และค่านิยมหลักของหัวเว่ยอีกด้วย”

ด้านศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ MDES ได้กล่าวถึงความร่วมมือกับหัวเว่ยในปีนี้ว่า “ในนามของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผมขอขอบคุณหัวเว่ย สำหรับความร่วมมือที่มีอย่างต่อเนื่องยาวนานกับกระทรวงมาโดยตลอด สำหรับโครงการ Seeds for the Future ผมมองว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้กับประเทศ และการให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีกับคนรุ่นใหม่ เราต้องมองเห็นเป็นภาพใหญ่ให้ได้ในแง่ของการลงทุนทำวิจัยและการสร้างรากฐานทางการศึกษาที่แข็งแกร่ง เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีความรู้และได้รับโอกาสอย่างเพียงพอต่อการเติบโตต่อไปในอนาคต สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งในภารกิจสำคัญของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผมต้องขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมครั้งนี้ และขอแสดงความยินดีกับผู้ที่จะได้เดินทางไปประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อเรียนรู้และเปิดรับองค์ความรู้ใหม่ ๆ นี่อาจจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนรู้ว่า ชีวิตของเรายังมีอะไรให้เรียนรู้อีกมาก โอกาสนี้มาถึงแล้ว ขอให้สิ่งนี้เป็นรางวัลที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน”

ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะการแข่งขันจากโครงการฝึกอบรม Seeds for the Future 2023 จำนวน 5 คน ไปเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งจะได้รับสิทธิ์ไปศึกษาดูงานต่อที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ ศักดิ์ชัย แซ่เฮ่ย จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, วินิธา ภู่ชัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ จีนธุรกิจ, ปทิตตา  ทิมทอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร, พุฒิพงศ์ เหล่าบัณฑิตเจริญ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และกฤชวิชช์ ทิพยจินดากุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทั้ง 5 คน จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชั้นนำจากหัวเว่ย รวมทั้งเรียนรู้วิธีการเป็นสตาร์ทอัพ จากศูนย์อบรมที่เซินเจิ้น ประเทศจีน ซึ่งผู้เข้าร่วมงานจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการแข่งขันครั้งต่อ ๆ ไปในระดับโลกหรือประยุกต์ใช้กับสายอาชีพของตัวเองในอนาคต

X

Right Click

No right click