อรินแคร์ (ARINCARE) สตาร์ทอัพผู้ให้บริการแพลตฟอร์มร้านขายยาออนไลน์สำหรับเภสัชกรและร้านขายยา ประกาศปิดดีล Series B มูลค่า 4,000,000 ดอลล่าสหรัฐฯ เดินหน้ายกระดับและต่อยอดระบบนิเวศ Health Tech ไทย คว้ากลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG) เชื่อมต่อบริการดูแลสุขภาพผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเป็นหนึ่งเดียว และ บมจ. พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) ร่วมผนึกกำลังลงทุนใน Health Tech แตกไลน์ต่อยอดธุรกิจและบริการครบวงจร ชี้ 2 ทุนช่วยเติมเต็มระบบนิเวศ อุดช่องโหว่การดูแลสุขภาพในระดับชุมชน เพิ่มโอกาสเข้าถึงยาและบริการดูแลสุขภาพ เผยปี 2565 เติบโต 100% เตรียมเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งเป้า IPO ในปี 2569 ปัจจุบันมีร้านขายยาใช้บริการกว่า 3,000 รายทั่วประเทศ ย้ำ ARINCARE มุ่งมั่นดำเนินงานภายใต้แนวคิด ‘Make Healthcare Affordable’ หรือ ทำให้บริการดูแลสุขภาพมีราคาที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน เสริมแกร่งให้เภสัชกรและร้านขายยาชุมชนที่เป็นด่านหน้าสามารถดูแลผู้ป่วยได้รวดเร็วในราคาที่ประหยัดกว่า ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่สังคมไทยที่ยั่งยืน

 

นายธีระ กนกกาญจนรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อรินแคร์ จำกัด เผย การร่วมระดมทุนปิดดีล Series B ผนึกกำลังครั้งสำคัญจาก 2 พาร์ทเนอร์ใหญ่ ด้วยเงินทุนมูลค่า 4,000,000 ดอลล่าสหรัฐฯ โดยมีกลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG) เป็นผู้ร่วมลงทุนหลัก รวมทั้งได้เงินทุนสนับสนุนจาก PTG ในครั้งนี้ นับเป็นแรงอัดฉีดเสริมแกร่ง เพิ่มแรงขับเคลื่อนสู่การเดินหน้ายกระดับและต่อยอดระบบนิเวศ Health Tech ไทยตามโรดแมปที่ตั้งไว้ โดยปีที่ผ่านมาจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งโรคอุบัติใหม่ในยุคโควิด-19 การแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บอื่น ๆ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมและรับมือกับยุคการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทยในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวเพิ่มมากขึ้น บวกกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตยุคดิจิทัล กระตุ้นการพัฒนาบริการแพลตฟอร์ม ARINCARE มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์และเกิดประโยชน์สำหรับร้านขายยาและเภสัชกร รวมถึงผู้บริโภคอย่างสูงสุด ทำให้ ARINCARE สามารถขยายตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ด้วยภาพรวมปี 2565 ที่ผ่านมา มีการเติบโตกว่า 100%

ทั้งนี้ จากภาพรวมปีที่ผ่านมาทำให้เห็นพฤติกรรมและความต้องการผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยวางกลยุทธ์ปี 2566 เดินหน้าขยายตลาดไปพร้อมกับความร่วมมือครั้งสำคัญกับกลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG) บนทิศทางการมุ่งสร้าง Healthcare ecosystem ที่สมบูรณ์ระหว่างโรงพยาบาลและหน่วยบริการสุขภาพท้องถิ่น เชื่อมโยงไปถึงเภสัชกร

ในร้านยาชุมชนบนเครือข่าย ARINCARE มากกว่า 3,000 ราย เข้ากับทีมการแพทย์ของ CHG เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลสุขภาพคนในชุมชนได้อย่างครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ยังร่วมจับมือกับ MaxCard ของ PTG ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เข้าถึงผู้บริโภคคนไทยได้มากที่สุด เสริมแกร่งให้กับเภสัชกรและร้านยาชุมชนที่เป็น SME ท้องถิ่นให้เข้มแข็ง เพิ่มการดูแลและบริการด้านสุขภาพให้กับคนไทยผ่าน MaxCard พร้อมเดินเกมรุก เป้าหมายเตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ IPO ในปี 2569

ปัจจุบันประเทศไทยมีร้านขายยากว่า 20,000 ร้านทั่วประเทศ โดย 80% เป็น SME และมีเพียง 20 % เป็นของแฟรนไชส์หรือผู้ประกอบการรายใหญ่ ในปี 2562 มีมูลค่า 35,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 7% แต่มูลค่าตลาดที่เกี่ยวกับเทรนด์สุขภาพเติบโตอย่างมากหลังการระบาดของโควิด-19 และเชื่อว่าจะยังเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 13-17% ในปี 2565 มีมูลค่าราว 40,000 ล้านบาท เพราะคนไทยให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ช่องว่างบริการสาธารณสุขไทยจึงเป็นโอกาสของธุรกิจ Health Tech ในประเทศไทย ประกอบกับระบบบริการสาธารณะสุขของรัฐฯ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ในขณะที่บริการสาธารณสุขของเอกชน คลินิก และโรงพยาบาลกระจุกตัวในเมืองหรือชุมชนขนาดใหญ่ และมาพร้อมค่าบริการที่สูง ร้านขายยาและเภสัชกรชุมชนคือประตูเปิดให้คนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ดีขึ้น และเมื่อเกิดการเชื่อมโยงระบบนิเวศเกี่ยวกับบริการสาธารณสุขบนแพลตฟอร์มก็จะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขด้วยเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น” นายธีระกล่าว

การร่วมผนึกกำลังครั้งสำคัญนี้ เป็นอีกหนึ่งก้าวของการสร้างระบบนิเวศสาธารณสุขไทย เพราะนอกจากการปิดดีลด้านธุรกิจแล้ว ทุกฝ่ายยังมีเป้าหมายและความตั้งใจในทิศทางเดียวกัน โดยมุ่งมั่นสร้างโอกาสการมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีของคนไทย โดยยึดชุมชน ผู้บริโภค และผู้ป่วยเป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการดูแลรักษาครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบแนวคิดของ ARINCARE ที่มุ่งมั่นพัฒนาบริการด้วยแนวคิด ‘Make Healthcare Affordable’ ให้ทุกคนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่ายในราคาที่สมเหตุสมผลมาอย่างต่อเนื่อง มุ่งยกระดับ Supply Chain ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงระบบสาธารณสุข การดูแลรักษาสุขภาพ รวมถึงอุปกรณ์การแพทย์ และยารักษาในราคาที่ยุติธรรม นอกจากนี้ ยังมุ่งเสริมแกร่งให้ผู้ประกอบการเจ้าของร้านยา ทั้งร้านขายยาขนาดกลาง ถึงขนาดเล็ก ที่เป็น SME รวมทั้งเภสัชกร ได้มีเครื่องมือที่ช่วยบริหารธุรกิจและบริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยระหว่างแพทย์ และเภสัชกร เพื่อยกระดับบริการสาธารณสุขประเทศ สอดรับกับเทรนด์ใหม่ในการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน และพร้อมรับมือกับการแข่งขันทางธุรกิจ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว

 

นพ.กำพล พลัสสินทร์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG) กล่าวว่า ด้วยแนวคิดและทิศทางธุรกิจของ ARINCARE ที่สอดรับกับวิสัยทัศน์ของทาง CHG ทำให้เล็งเห็นถึงโอกาสของการต่อยอดธุรกิจ ที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน ในการร่วมสนับสนุนธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพให้เข้าถึงในระดับชุมชน ต่อยอดการเติบโตระบบนิเวศของ Health Tech ยกระดับปรับโครงสร้างระบบสาธารณสุข ให้มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เพื่อโอกาสการเข้าถึงในการดูแลผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) เข้าด้วยกัน ยกระดับบริการแบบไร้รอยต่อ สู่คุณภาพชีวิตที่ดี โดยการนำเทคโนโลยีที่อยู่บนแพลตฟอร์ม ARINCARE โดยเฉพาะระบบ e-prescription ซึ่งเป็นการแชร์ข้อมูลของผู้ป่วยให้กับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อการดูแลรักษาที่ต่อเนื่อง โดยการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยประมวลผลการวินิจฉัยให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยให้การดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลให้สามารถเข้าถึงการรักษาและรับยาได้สะดวกขึ้น ลดปัญหาการใช้ใบสั่งยาที่คลาดเคลื่อน ใบสั่งยาปลอม การแอบนำไปใช้ซ้ำ รวมถึงสามารถติดตามตรวจสอบผลการดูแลรักษาผู้ป่วย ดูประวัติใบสั่งยา ข้อมูลยาที่ผู้ป่วยได้รับใช้งานง่ายและไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม

 

นายพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (PTG) เผยว่า การร่วมลงทุนกับ ARINCARE นับเป็นโอกาสดีในการร่วมต่อยอดและเติมเต็ม Health Tech Ecosystem ของไทย และหนึ่งในเป้าหมายของ PTG ในการร่วมลงทุนครั้งนี้ นับเป็นการเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพสูง โดยผ่าน MAX Ventures ผูกพันธมิตรทางธุรกิจ สร้างโอกาสเป็น New S-Curve รวมถึงการสร้างความแข็งแกร่งและต่อยอดธุรกิจในเครือข่ายของ PTG เพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ซึ่งจากภาพรวมตลาดในไทยหลายปีที่ผ่าน พบหนึ่งเทรนด์ธุรกิจที่มาแรงและเติบโตแบบก้าวกระโดด คือ Healthcare ปัจจุบันขึ้นแท่นอุตสาหกรรมอนาคตที่มีโอกาสสร้าง New S-curve ให้กับผู้ลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การแพทย์ เวชภัณฑ์ และยา ขณะเดียวกันพบพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่เน้นให้ความสำคัญด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดเทรนด์ใหม่ในการมีสุขภาพดีที่ยั่งยืนในยุคดิจิทัล ทำให้ PTG มองเห็นโอกาสแตกไลน์ต่อยอดธุรกิจและบริการ เสริมศักยภาพให้สถานี PT ทั่วประเทศ ที่จากเดิมมุ่งมั่นเป็นมากกว่าสถานีให้บริการน้ำมัน แต่คาดหวังเป็นสถานีบริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการรอบด้าน ทั้งร้านค้า และร้านขายยาโดย NEXX Pharma ที่บริการทั้งจำหน่ายยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์การแพทย์ โดยเภสัชกรผู้มีประสบการณ์ วางแผนให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ

อย่างไรก็ดี การร่วมผนึกกำลังครั้งใหญ่ร่วมกับกลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ (CHG) เชื่อมต่อบริการดูแลสุขภาพผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเป็นหนึ่งเดียว และกับ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (PTG) เพื่อแตกไลน์ต่อยอดธุรกิจและบริการครบวงจรยิ่งขึ้นในครั้งนี้ นับเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินงานของ ARINCARE

ภายใต้แนวคิด ‘Make Healthcare Affordable’ หรือ ทำให้บริการดูแลสุขภาพมีราคาที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน ให้เภสัชกรและร้านขายยาในชุมชนที่เป็นด่านหน้าสามารถดูแลผู้ป่วยได้รวดเร็วในราคาที่ประหยัดกว่า ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมไทยที่ยั่งยืน

บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) หรือ MASTER โรงพยาบาลด้านศัลยกรรมเสริมความงาม

นางสาวบุษบา กุลศิริธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ SGC หุ้นสินเชื่อที่ครองใจลูกค้าทั่วประเทศ นำทีมผู้บริหารจัดงาน “SGC IPO Press Conference & Retail Investor Roadshow” เดินหน้านำเสนอข้อมูลธุรกิจ ตามแผนการระดมทุนเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 820 ล้านหุ้น มุ่งสู่เป้าหมายการเติบโตด้วยมูลค่าลูกหนี้พอร์ตสินเชื่อทะยานสู่ 50,000 ล้านบาท ภายในปี 2569 โดยมี นายประเสริฐ ตันตยาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด นางยอดฤดี สันตติกุล กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด นางวันทนา เพชรฤกษ์วงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัท หลักทรัพย์เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมย้ำความเชื่อมั่น SGC ประกาศเคาะราคาขาย IPO หุ้นละ 3.90 บาท/หุ้น และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเดิมของ บมจ. ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) ที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรตามสัดส่วนการถือหุ้น ร่วมเติบโตไปด้วยกัน กำหนดเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 21 – 25 พฤศจิกายนนี้ ก่อนที่จะเปิดจองซื้อให้ประชาชนทั่วไป วันที่ 29 – 30 พฤศจิกายน และวันที่ 1 – 2 ธันวาคม 2565 ผ่าน 6 โบรกเกอร์ชั้นนำ

เนื่องจากการซื้อขายหุ้นไอพีโอมีการชะลอตัวลงจากปี 2564 ส่งผลให้เงินทุนจากการเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณะชน (IPO) มีมูลค่าลดลงทั่วทั้งตลาดทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง 10.5 เดือนแรกของปีนี้ แม้ว่าจำนวนหุ้นไอพีโอและมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของหุ้นไอพีโอคาดการณ์ว่าจะยังมีการทรงตัวจากปีก่อนหน้า

ข้อมูลจากดีลอยท์ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 แสดงให้เห็นว่า บริษัทต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถระดมทุนได้เป็นจำนวน 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากหุ้นไอพีโอของบริษัทจำนวน 136 บริษัท ในปีนี้ ซึ่งลดลง ร้อยละ 52 จากสถิติ 13.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากหุ้นไอพีโอของบริษัทจำนวน 152 บริษัท ในปี 2564

จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ามีหุ้นไอพีโอรายย่อยจำนวนมากขึ้นในปีนี้ ส่วนใหญ่มาจากบริษัทขนาดเล็กที่ต้องการแพลตฟอร์มเพื่อระดมทุนในสภาพแวดล้อมของตลาดที่ท้าทายในปัจจุบัน

ในปีนี้มี PT, GoTo, Gojek, Tokopedia, Tbk และ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เป็นหุ้นไอพีโอรายใหญ่เพียง 2 บริษัทเท่านั้น ซึ่งอาจหมายความว่าบริษัทขนาดใหญ่ ต่างรอเวลาและเลื่อนการเข้าจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ออกไปเพื่อรอช่วงเวลาที่สภาวะตลาดที่ดีขึ้น

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้กระตุ้นให้นักลงทุนรายย่อยรายใหม่หลั่งไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น และส่งผลให้ตลาดหุ้นไอพีโอคึกคักทั่วโลกในปี 2564 โดยสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรมีจำนวนเงินทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ ตลาดทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็ประสบความสำเร็จในปีที่ผ่านมาเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การซื้อขายหุ้นไอพีโอกลับชะลอตัวลงในปีนี้ แม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ดีขึ้นเล็กน้อย โดยมูลค่าการระดมทุนลดลง ร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับหุ้นไอพีโอในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรที่ลดลง ร้อยละ 95 และ ร้อยละ 91 ตามลำดับ

นางสาว เท ฮวี ลิง Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ เซาท์อีสท์ เอเชีย และสิงค์โปร์ กล่าวถึงตลาดหุ้นไอพีโอในภูมิภาคนี้ว่า “ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การซื้อขายหุ้นไอพีโอมีความเคลื่อนไหวตามการเติบโตของเศรษฐกิจและจีดีพี แต่สองปีที่ผ่านมาสถานการณ์กลับเป็นตรงกันข้าม เช่นเดียวกับที่โลกกำลังเอาชนะการแพร่ระบาด การเปิดกว้างทางเศรษฐกิจโลกและเปิดพรมแดนใหม่อีกครั้งได้กระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 8.8 ในปี 2565 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของรัฐบาลกลางเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 4 ตลอดทั้งปีเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น เมื่อพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคเหล่านี้ ตลาดหุ้นไอพีโอในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเติบโตได้ดี ในขณะที่เรายังคงเห็นศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาค”

ภาพรวมตลาดในประเทศไทย

ประเทศไทยยังคงรั้งตำแหน่งผู้นำที่สามารถระดมทุนจากไอพีโอได้สูงสุดในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยระดมทุนได้ทั้งหมด 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากหุ้นไอพีโอของบริษัท 28 บริษัท จำนวนเงินที่ระดมทุนได้ในปีนี้ค่อนข้างใกล้เคียงกับจำนวนเงินจากการระดมทุนในปี 2017 - 2019 (มากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี) เป็นสัญญาณว่าสิ่งต่างๆ กลับสู่สภาวะเดิมก่อนเกิดโรคระบาด ส่วนในปี 2020 และ 2021 เงินจากการระดมทุนในแต่ละปี มีมูลค่ามากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ นักลงทุนต่างชาติ ที่ส่วนใหญ่หายไปในช่วงปีที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้กลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง

เรายังคงเห็นการเสนอขายหุ้นไอพีโอจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตั้งแต่ สินค้าอุปโภคบริโภค บริการทางการเงิน และธุรกิจก่อสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ เราได้เห็น REIT ที่มีการลงทุนในการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ในระยะยาวของท่าอากาศยานเป็นครั้งแรก และมีบริษัท 39 แห่งที่คาดว่าจะเข้าจดทะเบียนภายในปี 2566” นางวิลาสินี กฤษณามระ Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าว

ภาพรวมตลาดประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย รั้งอันดับสองของภูมิภาคฯ ด้วยจำนวนเงินทุนที่ระดมทุนได้ถึง 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการเสนอขายหุ้นไอพีโอ 54 บริษัทในปี 2565 โดย PT GoTo Gojek Tokopedia Tbk เพียงบริษัทเดียวสามารถระดมทุนหุ้นไอพีโอได้ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และครองตำแหน่งสูงสุดในกระดานผู้นำหุ้นไอพีโอของภูมิภาคในปีนี้ และ PT Global Digital Niagra

Tbk หรือที่รู้จักกันในชื่อ “BliBli” ตามมาเป็นอันดับสองด้วยการระดมทุนจำนวน 516 ล้านเหรียญสหรัฐ GoTo และ Blibli ได้เข้าร่วมกับกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีในอินโดนีเซียที่กำลังเติบโต ซึ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

นางสาว อิเมลดา ออร์บิโต Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ อินโดนีเซีย กล่าวว่า "ตลาดทุนหุ้นไอพีโอของอินโดนีเซียเริ่มต้นได้ดีในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 และถึงแม้จะมีการชะลอตัวในไตรมาสที่ 3 แต่อินโดนีเซียยังคงเป็นหนึ่งในผู้นำตลาดไอพีโอในภูมิภาค การที่ GoTo และ BliBl สามารถระดมเงินทุนได้สูงเช่นนี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดี ท่ามกลางภาวะตกต่ำของตลาดโลกอันเนื่องมาจากความกังวลทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น เรายังคงมองในแง่ดีว่าหุ้นไอพีโอจากบริษัทด้านเทคโนโลยีจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีบริษัทเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในอีกสองเดือนข้างหน้า เช่นเดียวกับบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐาน(Consumer non-cyclicals industry).

ภาพรวมตลาดประเทศมาเลเซีย

ตลาดหุ้นไอพีโอของมาเลเซียได้ผ่านพ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีจำนวนเงินที่ระดมทุนได้เพิ่มขึ้น 102% อยู่ที่ 681 ล้านเหรียญสหรัฐ การระดุมทุนที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการที่นักลงทุนมีความต้องการลงทุนในบริษัทที่มีพื้นฐานที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำนวนของบริษัทจดทะเบียน ACE เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า จากเดิม 11 บริษัทในปี 2564 เพิ่มเป็น 22 บริษัทในปี 2565 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี เมื่อพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจผลักดันให้บริษัทพื้นฐานที่ดีเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทเหล่านี้ต้องการใช้ประโยชน์จากตลาดตราสารทุนเพื่อให้มีฐานเงินทุนที่มีความหลากหลายและถูกกว่า

แม้ตลาดหุ้นไอพีโอจะได้รับผลกระทบจากการเลือกตั้ง แต่ก็ยังมีบริษัทต่างๆ ที่มองหาตลาดทุนอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานที่ดีในปี 2565 ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าตลาดทุนมาเลเซียมีการปรับตัวและฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว” นายหว่อง การ์ ชุน Disruptive Events Advisory Leader ดีลอยท์ มาเลเซีย กล่าว

ภาพรวมตลาดประเทศสิงคโปร์

สิงคโปร์มีการเสนอขายหุ้นไอพีโอ จำนวน 9 บริษัท โดยสามารถระดมทุนได้ 421 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 10.5 เดือนแรกของปีนี้ ในจำนวนนี้ ประกอบด้วยบริษัทที่จดทะเบียนเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ (Special Purpose Acquisition Companies – “SPAC”) 3 บริษัท ซึ่งระดมทุนได้ 389 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และหุ้นไอพีโอในกระดาน Catalist 6 บริษัท โดยระดมทุนได้เป็นจำนวน 32 ล้านดอลลาร์ นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับการระดมทุนแบบ SPAC ที่เปิดตัวในประเทศสิงคโปร์ในเดือนกันยายน 2021 SPAC ในสิงคโปร์มีกำหนดระยะเวลาให้บริษัทระดมทุนได้ภายใน 24 เดือน โดยสามารถขยายระยะเวลาต่อได้อีก 12 เดือน จึงคาดการณ์ว่า บริษัทที่ผ่านการระดมทุนแบบ SPAC แล้ว (de-SPACs) จะสนับสนุนให้บริษัทอื่นๆ เข้ามาระดมุทนแบบ SPAC เพิ่มขึ้น

ตั้งแต่ปี 2010 มี REIT หรือ Business Trust อย่างน้อยหนึ่งรายการในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) อย่างไรก็ตาม เราพบว่าไม่มี REIT ในช่วง 10.5 เดือนแรกของปีนี้ ถ้ามองในแง่ดี มีการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินทุนและการย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังประเทศสิงคโปร์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการขยายโอกาสเพิ่มมากยิ่งขึ้นในตลาดหุ้นไอพีโอของสิงคโปร์ หากตลาดของเราสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ อีกสองถึงห้าปีข้างหน้าอาจเป็นปีทองสำหรับตลาดหุ้นไอพีโอของเรา นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ เช่น เสถียรภาพทางการเมืองของสิงคโปร์ การจัดการกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ประสบผลสำเร็จ และการเปิดประเทศอย่างราบรื่นจะช่วยให้สิงคโปร์ยังคงดึงดูดความสนใจให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาจัดตั้งสำนักงาน” นายดาร์เรน อึ้ง Disruptive Events Advisory Deputy Leader Deloitte Singapore กล่าว

คาดการณ์แนวโน้มภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับการคาดการณ์ในช่วงเวลาที่เหลือจนถึงปี 2566 นางสาวเทให้ความเห็นว่า “ยังคงมีช่องว่างให้ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเติบโตได้อีกมาก เมื่อภูมิภาคผ่านพ้นวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เราคาดว่าการซื้อขายหุ้นไอพีโอจะผ่านพ้นช่วงเวลาที่มีความผันผวน เนื่องจากตลาดปรับโหมดจากสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลับสู่ “สภาวะปกติ” แม้ว่าบริษัทเทคโนโลยีอาจได้รับการประเมินมูลค่าต่ำกว่าปกติในปัจจุบัน แต่บริษัทที่มีพื้นฐานทางธุรกิจที่มั่นคงและความสามารถที่พิสูจน์ได้ว่าธุรกิจสามารถสร้างผลกำไรได้ จะยังคงได้รับการประเมินมูลค่าตลาดที่ดีที่สุดและยังคงได้รับประโยชน์จากตลาดทุนได้”

ข้อมูลทั้งหมดมีความถูกต้อง ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และไม่รวมการเสนอซื้อขายหุ้นไอพีโอ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 รายงานการซื้อขายหุ้นไอพีโอ ประจำปี 2565 จะเผยแพร่ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566

บทความ : ดีลอยท์

นายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เปิดเผยผ่าน “Finnovate Update” รายการใหม่ล่าสุดของกรุงศรี ฟินโนเวต ที่จะมาอัปเดตผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท แผนงานในอนาคต และเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการบรรลุให้สำเร็จ

· Krungsri Finnovate ทำให้กรุงศรีเป็นธนาคารที่ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำงานกับสตาร์ทอัพกว่า 72 บริษัท กว่า 122 โปรเจกต์ และส่งเสริมการทำงานด้านดิจิทัลของกรุงศรีและบริษัทในเครือถึง 38 หน่วยธุรกิจ

· ปัจจุบัน Krungsri Finnovate ลงทุนไปแล้ว 18 บริษัท โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5,000 ล้านบาท

· บริษัทฯ ได้ตั้ง Finnoventure Private Equity Trust 1 กองทุนมูลค่า 3,000 ล้านบาท กองแรกในไทยที่มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพและเปิดให้นักลงทุนรายบุคคล (UI) ได้ร่วมลงทุน

· Krungsri Finnovate ได้ทุ่มกว่า 1,000 ล้านบาท ลงทุนในสตาร์ทอัพไทยด้าน DeFi ผ่านกองทุน Finnoverse

· และ Krungsri Finnovate จะมุ่งสู่เป้าหมายในการผลักดัน FinTech Startup ให้เติบโตสู่ยูนิคอร์น

แซม ตันสกุล เริ่มต้นในรายการ โดยเปิดเผยว่า ‘Krungsri Finnovate ได้ลงทุนในสตาร์ทอัพมาได้ 5 ปีแล้ว จนหลายๆ คนเริ่มถามว่า ในพอร์ตการลงทุนของเรามียูนิคอร์นอยู่แล้วถึง 2 บริษัท ไม่ว่าจะเป็น Flash Express และ Grab ซึ่งมีความน่าสนใจมาก และนำมาสู่คำถามที่นักลงทุนหลายๆ คนเริ่มถามว่า ถ้าอยากจะร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพเหล่านั้นด้วยต้องทำอย่างไร นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Krungsri Finnovate กลับมาพิจารณาถึงรูปแบบและความเป็นไปได้ว่า จริงๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องลงทุนเองรายเดียว แต่สามารถสร้างการลงทุนร่วมได้ ซึ่งนำมาสู่การสร้างโมเดลการลงทุนในรูปแบบ Private Equity ที่

เป็นการรวบรวมเงินทุนจากลูกค้าสถาบันรายใหญ่และลูกค้า Private Banking ของธนาคารมาร่วมลงทุนด้วยกัน โดยมีมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านบาท โดยในมูลค่าดังกล่าวมีส่วนที่ Krungsri Finnovate ร่วมลงทุนอยู่ด้วยที่ 500 ล้านบาท และบริษัทยังได้พันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่าง OR ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สยามราชธานี ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ซึ่งเป็นกลุ่มของมาม่า และยังมี NTT Data ที่เป็น Global Tech จากทางญี่ปุ่นมาร่วมลงทุน เราเรียกกลุ่มนักลงทุนเหล่านั้นว่าเป็น Avengers รวมกับเงินลงทุนจากนักลงทุนในกลุ่ม Private Banking ซึ่งรวมกันทั้งหมดเป็น 3,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในกิจการสตาร์ทอัพทั้งไทยและอาเซียน โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้สตาร์ทอัพที่มีศักยภาพเหล่านั้นโตไปเป็นยูนิคอร์นไปด้วยกัน สำหรับกองทุน Private Equity นี้หลักๆ จะเลือกลงทุนใน 3 ด้านคือ 1) FinTech 2) E-Commerce Tech และ 3) Automative Tech ซึ่งกองทุนนี้จะถูกรู้จักในชื่อ “Finnoventure Fund’

แซม เล่าต่อว่า ‘นอกจากเรื่องของการจัดตั้งกองทุนแล้ว ยังมีในส่วนของการทำโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างกรุงศรีกรุ๊ป กับสตาร์ทอัพด้วย ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานในกรุงศรีกรุ๊ปถึง 38 หน่วยงานแล้วที่ได้ร่วมทำงานกับสตาร์ทอัพ โดยมีทีมกรุงศรี ฟินโนเวต เป็นผู้นำเสนอและจับคู่ให้ ในปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ เองเล็งเห็นว่าการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้น หากจะกระโดดมาลงมือทำเองต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนที่สูงมาก ซึ่งกลับกันหากเลือกทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ ก็จะช่วยลดทอนในเรื่องของทั้งต้นทุนและเวลา ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพียง 3-6 เดือน ก็สามารถเริ่มโปรเจ็คใหม่ หรือโซลูชั่นใหม่ได้แล้ว ขณะที่สตาร์ทอัพเองก็มี Mindset พร้อมลุย พร้อมที่จะต่อยอด ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นที่มาของความสำเร็จในวันนี้ ที่เราได้ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากมายกว่า 72 บริษัท กับอีก 122 โปรเจกต์ เรียกได้ว่าเราทำงานกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของทีมงาน Krungsri Finnovate’

แซม เผยเพิ่มเติมถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้และต้องการบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จว่า “ปัจจุบันจากทั้งหมด 18 กิจการสตาร์ทอัพที่กรุงศรี ฟินโนเวตได้ลงทุนไปนั้น มีสตาร์ทอัพที่เป็นยูนิคอร์นแล้ว 2 ราย ขณะที่อีก 5 สตาร์ทอัพไทยกำลังเตรียมตัวทำ IPO สิ่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเรามี Track record ที่ดี เราดูแลสตาร์ทอัพในพอร์ตของเราอย่างดี โดยไม่ใช่แค่เพียงเข้าไปลงทุนอย่างเดียวแต่ยังพร้อมสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างจริงใจ และคิดเสมอว่าจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาธุรกิจให้สตาร์ทอัพเหล่านั้นได้อย่างไร ดังนั้นเราจึงไม่ได้เป็น Passive investor แต่เราเป็น Active investor นั่นเอง นอกจากนี้เรายังพยายามหาทางต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพกับกรุงศรีกรุ๊ป และ Investor ในกลุ่ม Avengers ของเราด้วย ดังนั้น Krungsri Finnovate และ Avengers พร้อมที่จะผลักดันให้สตาร์ทอัพเหล่านั้นเติบโต โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า

เราจะมี 5 ยูนิคอร์นที่เราสร้างเอง เหมือนกับ Flash ที่เราเลือกลงทุนตั้งแต่ยังไม่เป็นยูนิคอร์น และในที่สุดก็สามารถขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นได้ นี่คือเป้าหลักสำคัญของเราครับ”

Page 3 of 7
X

Right Click

No right click