×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

นายแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด เปิดเผยผ่าน “Finnovate Update” รายการใหม่ล่าสุดของกรุงศรี ฟินโนเวต ที่จะมาอัปเดตผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัท แผนงานในอนาคต และเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการบรรลุให้สำเร็จ

· Krungsri Finnovate ทำให้กรุงศรีเป็นธนาคารที่ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำงานกับสตาร์ทอัพกว่า 72 บริษัท กว่า 122 โปรเจกต์ และส่งเสริมการทำงานด้านดิจิทัลของกรุงศรีและบริษัทในเครือถึง 38 หน่วยธุรกิจ

· ปัจจุบัน Krungsri Finnovate ลงทุนไปแล้ว 18 บริษัท โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 5,000 ล้านบาท

· บริษัทฯ ได้ตั้ง Finnoventure Private Equity Trust 1 กองทุนมูลค่า 3,000 ล้านบาท กองแรกในไทยที่มุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพและเปิดให้นักลงทุนรายบุคคล (UI) ได้ร่วมลงทุน

· Krungsri Finnovate ได้ทุ่มกว่า 1,000 ล้านบาท ลงทุนในสตาร์ทอัพไทยด้าน DeFi ผ่านกองทุน Finnoverse

· และ Krungsri Finnovate จะมุ่งสู่เป้าหมายในการผลักดัน FinTech Startup ให้เติบโตสู่ยูนิคอร์น

แซม ตันสกุล เริ่มต้นในรายการ โดยเปิดเผยว่า ‘Krungsri Finnovate ได้ลงทุนในสตาร์ทอัพมาได้ 5 ปีแล้ว จนหลายๆ คนเริ่มถามว่า ในพอร์ตการลงทุนของเรามียูนิคอร์นอยู่แล้วถึง 2 บริษัท ไม่ว่าจะเป็น Flash Express และ Grab ซึ่งมีความน่าสนใจมาก และนำมาสู่คำถามที่นักลงทุนหลายๆ คนเริ่มถามว่า ถ้าอยากจะร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพเหล่านั้นด้วยต้องทำอย่างไร นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Krungsri Finnovate กลับมาพิจารณาถึงรูปแบบและความเป็นไปได้ว่า จริงๆ แล้ว เราไม่จำเป็นต้องลงทุนเองรายเดียว แต่สามารถสร้างการลงทุนร่วมได้ ซึ่งนำมาสู่การสร้างโมเดลการลงทุนในรูปแบบ Private Equity ที่

เป็นการรวบรวมเงินทุนจากลูกค้าสถาบันรายใหญ่และลูกค้า Private Banking ของธนาคารมาร่วมลงทุนด้วยกัน โดยมีมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านบาท โดยในมูลค่าดังกล่าวมีส่วนที่ Krungsri Finnovate ร่วมลงทุนอยู่ด้วยที่ 500 ล้านบาท และบริษัทยังได้พันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่าง OR ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สยามราชธานี ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ ซึ่งเป็นกลุ่มของมาม่า และยังมี NTT Data ที่เป็น Global Tech จากทางญี่ปุ่นมาร่วมลงทุน เราเรียกกลุ่มนักลงทุนเหล่านั้นว่าเป็น Avengers รวมกับเงินลงทุนจากนักลงทุนในกลุ่ม Private Banking ซึ่งรวมกันทั้งหมดเป็น 3,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในกิจการสตาร์ทอัพทั้งไทยและอาเซียน โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้สตาร์ทอัพที่มีศักยภาพเหล่านั้นโตไปเป็นยูนิคอร์นไปด้วยกัน สำหรับกองทุน Private Equity นี้หลักๆ จะเลือกลงทุนใน 3 ด้านคือ 1) FinTech 2) E-Commerce Tech และ 3) Automative Tech ซึ่งกองทุนนี้จะถูกรู้จักในชื่อ “Finnoventure Fund’

แซม เล่าต่อว่า ‘นอกจากเรื่องของการจัดตั้งกองทุนแล้ว ยังมีในส่วนของการทำโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างกรุงศรีกรุ๊ป กับสตาร์ทอัพด้วย ซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานในกรุงศรีกรุ๊ปถึง 38 หน่วยงานแล้วที่ได้ร่วมทำงานกับสตาร์ทอัพ โดยมีทีมกรุงศรี ฟินโนเวต เป็นผู้นำเสนอและจับคู่ให้ ในปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ เองเล็งเห็นว่าการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้น หากจะกระโดดมาลงมือทำเองต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนที่สูงมาก ซึ่งกลับกันหากเลือกทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพ ก็จะช่วยลดทอนในเรื่องของทั้งต้นทุนและเวลา ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพียง 3-6 เดือน ก็สามารถเริ่มโปรเจ็คใหม่ หรือโซลูชั่นใหม่ได้แล้ว ขณะที่สตาร์ทอัพเองก็มี Mindset พร้อมลุย พร้อมที่จะต่อยอด ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นที่มาของความสำเร็จในวันนี้ ที่เราได้ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากมายกว่า 72 บริษัท กับอีก 122 โปรเจกต์ เรียกได้ว่าเราทำงานกับสตาร์ทอัพมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของทีมงาน Krungsri Finnovate’

แซม เผยเพิ่มเติมถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้และต้องการบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จว่า “ปัจจุบันจากทั้งหมด 18 กิจการสตาร์ทอัพที่กรุงศรี ฟินโนเวตได้ลงทุนไปนั้น มีสตาร์ทอัพที่เป็นยูนิคอร์นแล้ว 2 ราย ขณะที่อีก 5 สตาร์ทอัพไทยกำลังเตรียมตัวทำ IPO สิ่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเรามี Track record ที่ดี เราดูแลสตาร์ทอัพในพอร์ตของเราอย่างดี โดยไม่ใช่แค่เพียงเข้าไปลงทุนอย่างเดียวแต่ยังพร้อมสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างจริงใจ และคิดเสมอว่าจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาธุรกิจให้สตาร์ทอัพเหล่านั้นได้อย่างไร ดังนั้นเราจึงไม่ได้เป็น Passive investor แต่เราเป็น Active investor นั่นเอง นอกจากนี้เรายังพยายามหาทางต่อยอดธุรกิจสตาร์ทอัพกับกรุงศรีกรุ๊ป และ Investor ในกลุ่ม Avengers ของเราด้วย ดังนั้น Krungsri Finnovate และ Avengers พร้อมที่จะผลักดันให้สตาร์ทอัพเหล่านั้นเติบโต โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า

เราจะมี 5 ยูนิคอร์นที่เราสร้างเอง เหมือนกับ Flash ที่เราเลือกลงทุนตั้งแต่ยังไม่เป็นยูนิคอร์น และในที่สุดก็สามารถขึ้นมาเป็นยูนิคอร์นได้ นี่คือเป้าหลักสำคัญของเราครับ”

การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) เป็นขายหุ้นของบริษัทเอกชนต่อสาธารณชนในการออกหุ้นใหม่ ซึ่งหลายองค์กรมองว่า IPO เป็นหลักชัยในเติบโตและยั่งยืนขององค์กร สถานการณ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ณ ปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มของจำนวนของบริษัทที่จดทะเบียน IPO และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2564 โดยในปี พ.ศ. 2564 เป็นปีที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดเป็นประวัติการณ์[1]

เมื่อดูสถานการณ์ IPO ในประเทศไทยพบว่า บริษัทที่เข้าสู่ IPO ในประเทศไทยได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก เพราะสามารถระดมทุนได้สูงกว่าหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน เหตุผลก็คือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยมีความหลากหลายมากกว่าทำให้นักลงทุนมีทางเลือก ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2563 สินค้าอุปโภคบริโภคและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นกลุ่มที่ระดมทุนได้มากที่สุด[2] (ร้อยละ 91 ของมูลค่าตลาดรวม) และในปี พ.ศ. 2564 ได้เปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมกลุ่มพลังงาน (ร้อยละ 76 ของมูลค่าตลาดโดยรวม) เป็นต้น อย่างไรก็ดีกลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยีเป็นกลุ่มที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา[3]

จากการที่บริษัทเอกชนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น คำถามจึงเกิดขึ้นจริง ๆ แล้วประโยชน์ของการเข้า IPO มีอะไรบ้าง?

ข้อดีที่บริษัทจะได้รับประโยชน์จากการเสนอขายหุ้น IPO 4 ประการ คือ

การเงิน: บริษัทเอกชนที่สามารถเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้จะสามารถเข้าถึงเงินลงทุนในเรือนหุ้นปริมาณมาก ๆ อย่างเป็นระบบ ทั้งจากการระดมทุนที่ IPO และการระดมทุนเพิ่มเติมในภายหลัง ซึ่งทำให้บริษัทเหล่านั้นจะได้รับการสนับสนุน โอกาสในการเติบโต และ การเข้าซื้อกิจการ

สภาพคล่อง: บริษัทที่เสนอขายหุ้นจะทำให้ผู้ถือหุ้นมีสภาพคล่อง ซึ่งช่วยให้ผู้ก่อตั้งและนักลงทุนเริ่มต้นสามารถถอนการถือหุ้นบางส่วนหรือทั้งหมดของตนออกจากบริษัทได้ โดยหุ้นของบริษัทสามารถซื้อขายได้ด้วยราคาเสนอซื้อซึ่งสามารถขยายปริมาณและความหลากหลายของผู้ถือหุ้นได้

ภาพลักษณ์: กระบวนการ IPO ต้องผ่านข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เข้มงวด ซึ่งช่วยสะท้อนถึงศักยภาพการบริหารจัดการของบริษัทรวมถึงการรักษาความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ยังทำให้สื่อและโปรไฟล์สาธารณะมีศักยภาพที่จะเอื้อประโยชน์ทางการค้า ประเด็นสุดท้ายคือ ก.ล.ต. จะรับรู้ว่าบริษัทนั้น ๆ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

การสร้างแรงจูงใจ: การเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นโอกาสที่ดีในการกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนพนักงานและผู้บริหาร เสนอสิ่งจูงใจ สวัสดิการ และ ผลตอบแทนที่สะท้อนการทำงานของพนักงานอย่างความโปร่งใส ซึ่งจะช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยากทำงานกับบริษัทต่อไป

อย่างไรก็ตาม จะมีความท้าทายหลายประการที่ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับข้อดี

ความท้าทายของการเสนอขายหุ้น IPO แบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก ๆ ดังนี้

การตรวจสอบ: บริษัทที่ผ่าน IPO จะได้รับความสนใจจากสาธารณชน เพิ่มการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการมีส่วนร่วมซึ่งรวมถึงผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ และ หน่วยงานกำกับดูแล ดังนั้น ฝ่ายบริหารของบริษัทจึงต้องเพิ่มความรับผิดชอบทั้งทางตรงและทางอ้อมในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และ ประมวลกฎหมายของการกำกับดูแลกิจการ ตั้งแต่การกำหนดนโยบายไปถึงกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลและปฏิบัติข้อกำหนดที่เข้มงวดขึ้นให้ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของการเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์

ค่าใช้จ่าย: นอกจากค่าธรรมเนียมในการเข้า IPO แล้ว บริษัทจะต้องเตรียมงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตลอดระยะเวลาของการเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงการสำรองเวลาของฝ่ายบริหารและการเงินเพื่อดำเนินการตามข้อกำหนด

เปลี่ยนการควบคุม: เจ้าของเดิมบางคนอาจกังวลเกี่ยวกับประเด็นนี้ เพราะการเข้าตลาดหลักทรัพย์จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่ตนเองไม่ได้ต้องการเข้ามาถือหุ้นบริษัท ซึ่งอาจจะเป็นคนที่เข้ามาแย่งสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหรืออำนาจในการควบคุมก็ได้ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นภายนอกที่ต้องการการให้ความสำคัญมากขึ้นอีกด้วย

ข้อสุดท้าย บริษัทเราเหมาะจริง ๆ หรือไม่: มีเงื่อนไขอื่น ๆ อีกมากที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเข้าสู่ตลาดหุ้น นับตั้งแต่การกำหนดให้สัดส่วนหุ้นขั้นต่ำร้อยละ 25 ไปอยู่ในมือประชาชน การตรวจสอบข้อมูลทางการเงินย้อนหลังเป็นเวลาสามปี และ ขั้นตอนการรายงานทางการเงินที่เหมาะสมสำหรับการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

ความท้าทายอาจเกิดขึ้นได้หากบริษัทมีความรู้ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาอิสระ ลองดูที่ส่วนสุดท้ายด้านล่าง

ที่ปรึกษาอิสระทำอะไร? มีบทบาทสำคัญ 4 ด้านดังนี้

ตรวจสอบทางเลือก: ที่ปรึกษาจะช่วยประเมินความเป็นไปได้ ค้นหาเส้นทางที่สำคัญ พิจารณาโครงสร้างและกำหนดเนื้อหาสาระสำคัญที่จะสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การเตรียมการก่อน IPO: ที่ปรึกษาจะช่วยในการระบุและจัดการทั้งด้านธุรกิจและด้านเทคนิคที่จำเป็น ช่วยผู้บริหารการพยากรณ์ตัวเลขทางการเงินและข้อกำหนดด้านเงินทุน รวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการและการวางแผนฉุกเฉินในการทำธุรกิจ

การดำเนินการ IPO: ที่ปรึกษาจะดูแลโครงการเสนอขายหุ้น IPO และกำหนดตารางเวลาการทำธุรกรรม ช่วยในการเลือกทีมที่ปรึกษาที่กว้างขึ้น ยอมรับเงื่อนไขที่สำคัญของการมีส่วนร่วม และให้คำแนะนำเกี่ยวกับเอกสารประกอบการเสนอขายหุ้น

หลัง IPO: หลังจากขั้นตอนการเสนอขายหุ้น IPO ที่ปรึกษายังสามารถให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับคำแนะนำด้านกลยุทธ์ การเงิน และการควบรวมกิจการอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน รวมถึงการให้คำปรึกษาจากธนาคาร/นายหน้าและการให้ความรู้แก่กรรมการและผู้บริหารในหัวข้อที่สำคัญได้อีกด้วย

การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป เป็นการเดินทางที่ต่อเนื่องตั้งแต่การจัดเตรียม การยื่น การดูแลระบบ ไปจนถึงการที่บริษัทได้เปลี่ยนเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้บริษัทสามารถระดมทุนจากประชาชนทั่วไปได้ เส้นทางการเปลี่ยนแปลงแต่ละก้าวเต็มไปด้วยความท้าทาย ดังนั้นการเข้าใจปัญหาล่วงหน้าอย่างชัดเจนจึงเป็นข้อได้เปรียบ สามารถใช้ประโยชน์จากการเสนอขายหุ้นได้อย่างเต็มที่เพื่อให้บริษัทสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

บทความโดย :

วิลาสินี กฤษณามระ   Disruptive Event Advisory Country Leader

ดีลอยท์ ประเทศไทย

ชูศักยภาพธุรกิจคอนซัลต์ด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันแข็งแกร่ง ช่วยลูกค้าปลดล็อกศักยภาพองค์กรรับเศรษฐกิจดิจิทัล

กระแสตอบรับหุ้น IPO น้องใหม่สุดร้อนแรง สำหรับ "บมจ.สยามเทคนิคคอนกรีต" หรือ STECH

Page 4 of 7
X

Right Click

No right click