นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมจ่ายปันผลกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จากผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ก.ค. 2565 – 30 ก.ย 2565 จำนวน 4 กองทุน และจ่ายเงินลดทุนจำนวน 1 กองทุน โดยกำหนดจ่ายให้นักลงทุนในวันที่ 19 และ 28 ธันวาคม 2565 นี้

สำหรับกองทุนที่จะจ่ายเงินปันผลในวันที่ 19 ธ.ค. 2565 ประกอบด้วย กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซี.พี.ทาวน์เวอร์โกรท (CPTGF) ลงทุนในสิทธิการเช่าในที่ดิน และอาคารสำนักงานและศูนย์การค้า รวมถึงส่วนควบงานระบบที่จำเป็น เป็นระยะเวลา 30 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนการเช่า ใน 3 ทำเล ได้แก่ อาคาร ซี.พี ทาวเวอร์ 1 (สีลม) อาคารซีพีทาวเวอร์ 2 (ฟอร์จูน ทาวน์) และอาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ 3 (พญาไท) กำหนดจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 35 ในอัตรา 0.1660 บาทต่อหน่วย กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตลาดไท (TTLPF) เป็นการลงทุนในสิทธิการเช่า สิ่งปลูกสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (บางส่วน) ในโครงการตลาดไท มีพื้นที่ใช้สอยรวมประมาณ 170,033.54 ตารางเมตร กำหนดจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 48 ในอัตรา 0.4220 บาทต่อหน่วย

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้ากลุ่มน้ำตาลครบุรี (KBSPIF) ลงทุนในผลประโยชน์จากการประกอบกิจการไฟฟ้าของบริษัทผลิตไฟฟ้าครบุรี จำกัด ในอัตราร้อยละ 62 ของรายได้ค่าไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กำหนดจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 9 ในอัตรา 0.2410 บาทต่อหน่วย และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGATIF) ลงทุนในรายได้ค่าความพร้อมจ่ายในอนาคตของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 กำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 670 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 20 ปี โดยกำหนดจ่ายเงินปันผล ครั้งที่ 27 ในอัตรา 0.0850 บาทต่อหน่วย พร้อมทั้งจ่ายเงินลดเงินทุนจดทะเบียน ครั้งที่ 7 ในอัตรา 0.1200 บาทต่อหน่วย

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดจ่ายเงินปันผลเพิ่มเติมอีก 1 กองทุน ในวันที่ 28 ธันวาคม 2565 นี้ ได้แก่ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) ที่ลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐาน อันได้แก่ สิทธิที่จะได้รับรายได้ร้อยละ 45 ของรายได้ค่าผ่านทางรวมสุทธิที่จัดเก็บได้จากเส้นทางในปัจจุบันของโครงการทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2 โครงการ ได้แก่ ทางพิเศษฉลองรัช และรทางพิเศษบูรพาวิถี โดยกำหนดจ่ายปันผลเป็นครั้งที่ 16 ในอัตรา 0.1003 บาทต่อหน่วย

คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจในลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย (KTAM) เสนอขายกองทุนเปิดเคแทม Inverse Floater Complex Return 2 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย ช่วยจัดการความเสี่ยงในภาวะดอกเบี้ยผันผวน

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า _แม้ภายใต้ภาวะความผัวผวนของอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยและหาโอกาสจากการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ KTAM จึงเปิดตัวกองทุนเปิดเคแทม Inverse Floater Complex Return2 ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KTIF2) เพื่อเปิดโอกาสช่วยให้นักลงทุนหาโอกาสการการลงทุนจากแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยที่กองทุนจะนำมาอ้างอิง ปรับตัวสูงขึ้น แต่จะไม่ได้ปรับสูงเกินกว่าที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกองทุนดังกล่าวจะเสนอขายระหว่างวันที่ 5 – 10 ตุลาคม 2565 นี้ ด้วยเงินลงทุนครั้งแรกขั้นตํ่า 500,000 บาท

สำหรับกองทุน KTIF2 เป็นกองทุนมีลักษณะพิเศษที่มีความซับซ้อน เหมาะสำหรับนักลงทุนที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ย ในตลาดหรืออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะปรับขึ้นไม่มากหรือไม่ปรับขึ้น หรือมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในอนาคต และยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือทางการเงินเพื่อควบคุมความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยได้ โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารหนี้ ที่ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมทั้งทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทสัญญาสวอป (Inverse Floater Swap) โดยกองทุนจะแบ่งเงินลงทุนเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย

ส่วนที่ 1 กองทุนจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ และ/หรือเงินฝาก และ/หรือตราสารการเงิน ที่มีอันดับของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (investment grade) ประมาณร้อยละ 100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

ส่วนที่ 2 กองทุนจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าประเภทสัญญาสวอป (Inverse Floater Swap) ซึ่งอายุของสัญญาจะมีประมาณ 2 ปี โดยไม่ตํ่ากว่า 1 ปี 11 เดือน และไม่เกิน 2 ปี 1 เดือน นับตั้งแต่วันถัดจากวันจดทะเบียน ทั้งนี้กองทุนจะเป็นฝ่ายจ่ายดอกเบี้ยคงที่และเป็นผู้รับดอกเบี้ยลอยตัว โดยใช้ THOR (Thai Overnight Repurchase Rate) ซึ่งคืออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนระยะข้ามคืนระหว่างธนาคาร เผยแพร่โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง

สำหรับเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนตามส่วนที่ 2 จากการเข้าทำสัญญาสวอปในแต่ละงวด เกิดจากส่วนต่างระหว่างกระแสเงินสดจ่าย (ดอกเบี้ยคงที่) และกระแสเงินสดรับ (ดอกเบี้ยลอยตัว) โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของ THOR ซึ่งมีลักษณะผกผันกับอัตราผลตอบแทนของกองทุน แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 เมื่อนำ THOR มาแทนค่าในสูตรคำนวณแต่ละงวด และได้ผลลัพท์น้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่กองทุนจะได้รับ ดังนั้นผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละงวด คือ อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่กองทุนจะได้รับจากสัญญาสวอป และกรณีที่ 2 เมื่อนำ THOR มาแทนค่าในสูตรคำนวณแต่ละงวด และได้ผลลัพท์มากกว่าอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่กองทุนจะได้รับ ดังนั้น ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละงวด คือ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวตามสัญญาสวอป ทั้งนี้ กองทุนจะพิจารณาผลตอบแทนของสัญญาสวอป ณ วันที่พิจารณาทรัพย์สินอ้างอิง

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทยและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn

ทั้งนี้ กองทุนมีแผนจะทำธุรกรรม Inverse Floater Swap Forward กับธนาคารกรุงไทย (KTB) ในฐานะคู่สัญญาฯ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ KTAM จึงถือเป็นธุรกรรมที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งผลประโยชน์

ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนที่สำคัญ : ความเสี่ยงด้านราคาและผลตอบแทน / ความเสี่ยงด้านเครดิต / ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง / ความเสี่ยงด้านกฎหมาย / ความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน / ความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ / ความเสี่ยงทางตลาด และความเสี่ยงในเรื่องคู่สัญญาในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนนี้ในช่วงเวลา 2 ปี ได้ และกองทุนนี้อาจลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกและหมวดอุตสาหกรรม ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมากหรืออาจขาดทุนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน ซึ่งมีปัจจัยอ้างอิงมีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง จึงอาจทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน และควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แนะนำการลงทุนก่อนทำการลงทุน

Image preview

KTAM แนะปรับแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เหมาะสม รับเทรนด์ และสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

KTAM แนะลงทุนกลุ่มสินทรัพย์โภคภัณฑ์ หลังแนวโน้มพลังงานยังคงทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click