มงคล สมผล Automotive Sector Leader

ดร. โชดก ปัญญาวรานันท์ ผู้จัดการ Clients & Markets

ดีลอยท์ ประเทศไทย

การที่ยักษ์ใหญ่ในวงการยานยนต์มุ่งนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) และเครื่องยนต์สันดาปภายในเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (HICEV) อาจดูเป็นศึกครั้งสำคัญในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่การแข่งขันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ในสนามที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นคือการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบดั้งเดิมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เรากำลังพูดถึงปัญหาที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบดั้งเดิม และรถยนต์ไฟฟ้า BEV และ HICEV อาจเป็นทางออกที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตการคมนาคมที่ยั่งยืน

ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกได้ให้พันธสัญญาที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 90% ภายในปี 2593 เมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซที่ปล่อยในปี 2563 โดยมีเป้าหมายไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero emissions) แต่การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้นั้น การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ที่ช่วยลดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาจไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

จากรายงานของดีลอยท์เรื่อง "Pathway to net-zero: Mastering the twofold goal of Decarbonization and Profitability" เน้นย้ำถึงประเด็นข้างต้นเช่นกัน โดยกล่าวถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตยานยนต์ที่มีเทคโนโลยีที่สะอาดยิ่งขึ้น จำเป็นต้องอาศัยการลงทุนอย่างมากในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการสร้างศักยภาพการผลิตที่แข็งแกร่งสำหรับแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว

สำหรับทิศทางของการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) การสร้างความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทานของแบตเตอรี่กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด สถาบันเฟราน์โฮเฟอร์ ด้านระบบและวิจัยนวัตกรรม (Fraunhofer Institute for Systems and Innovation Research ISI) รายงานว่า ประเทศจีนเกือบจะผูกขาดกำลังการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน ฟอสเฟต (LFP) โดยครองส่วนแบ่งตลาดถึง 99% ทั่วโลกในปี 2565 แม้จะมีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนที่จีนครองตลาดจะ

ลดลงเหลือ 69% ในปี 2573 แต่จีนก็ยังคงเป็นผู้นำในตลาดเช่นเดิม ประเด็นการผูกขาดตลาดนี้ทำให้เกิดความท้าทายอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแบตเตอรี่ คิดเป็นประมาณ 40% ของต้นทุนรวมรถยนต์ไฟฟ้า BEV

ทั้งนี้จากการศึกษาของดีลอยท์ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมดังกล่าวต้องปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตแบตเตอรี่ ตั้งแต่การสกัด การแปรรูป การผลิต การรีไซเคิล จนถึงการกำจัดแบตเตอรี่

ในทางตรงกันข้าม การส่งเสริมรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (HICEV) และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานีเติมไฮโดรเจน แต่ประเด็นนี้กลับเต็มไปด้วยความท้าทาย เนื่องจากการสร้างสถานีไฮโดรเจนแต่ละแห่งล้วนมีต้นทุนที่สูงกว่าสถานีบริการน้ำมันแบบดั้งเดิมอย่างมาก

นอกจากนี้ กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen) จะต้องอาศัยไฟฟ้าในกระบวนการผลิตที่เรียกว่า กระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง(FCV) ยังมีความท้าทายในการเข้าถึงเครือข่ายการจำหน่ายและสถานีบริการสำหรับเติมก๊าซไฮโดรเจนที่ไม่สามารถให้บริการได้อย่างแพร่หลาย

นอกเหนือจากเทคโนโลยีเฉพาะทางแล้ว อีกปัจจัยหลักที่สำคัญคือ การบูรณาการแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนในทุกด้านของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งการลดการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิต ส่งเสริมการรีไซเคิลวัสดุอย่างมีความรับผิดชอบ และการใช้วิธีการแยกชิ้นส่วนรถยนต์เมื่อหมดอายุการใช้งานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การเปิดรับเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนมีความท้าทาย เช่น ข้อกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรระยะสั้นจากการลงทุนล่วงหน้าในเทคโนโลยีที่สะอาดและโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์ในระยะยาวมีความสำคัญมกว่าอุปสรรคในช่วงเริ่มต้น เมื่อองค์กรในอุตสาหกรรมกำหนดความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ก็จะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อมที่สะอาดขึ้น คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น และรวมไปถึงการประหยัดต้นทุนผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน

อย่างไรก็ตาม เส้นทางสู่ความยั่งยืนล้วนมีแนวทางอื่นนอกเหนือจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การลงทุนเพื่อยกระดับฝีมือแรงงานก็มีความสำคัญเช่นกัน การยกระดับและเสริมทักษะให้กับพนักงานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าพนักงานมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง การส่งเสริมความหลากหลายและการมีส่วนร่วมในกลุ่มพนักงานจะนำมาซึ่งมุมมองและประสบการณ์ที่กว้างขึ้น และเปิดทางไปสู่นวัตกรรมที่ยั่งยืนมากขึ้นในที่สุด

สำหรับประเทศไทย มีการออกมาตรการอุดหนุนผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ที่ให้การสนับสนุนด้านราคาเพื่อเร่งให้นำรถไฟฟ้ามาใช้งาน และดึงดูดการลงุทนจากต่างชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเป็น

ศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับภูมิภาค ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังทำการศึกษาการใช้ไฮโดรเจนเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมการคมนาคม

ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ไฮโดรเจนถือเป็นส่วนหนึ่งของ“เชื้อเพลิงทางเลือก” โดยมีเป้าหมายในการใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานเทียบเท่ากับน้ำมัน (KTOE) 10 กิโลตัน ภายในปี 2579 เป้าหมายดังกล่าวได้รับการส่งเสริมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นจากการโครงการนำร่อง ด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการสร้างสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจนแห่งแรกของประเทศไทยด้วย โครงการต่างๆ นี้ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีแนวทางที่หลากหลายเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการคมนาคมในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงนี้จำเป็นต้องมีแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ การสร้างความเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนผ่านจะราบรื่นสำหรับทุกภาคส่วน เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามเป้าหมายสู่อนาคตที่ยั่งยืนประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ท้ายที่สุด อุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดต้องปรับเปลี่ยนกุลยุทธ์นอกเหนือจากการพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะ และดำเนินธุรกิจด้วยแนวทางแบบองค์รวม โดยบูรณาการส่งเสริมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมในกิจการทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเดินหน้าสู่อนาคตที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้แม้จะเผชิญกับความท้าทาย แต่จะสร้างคุณค่ามหาศาลในอนาคต ทั้งสภาพแวดล้อมที่สะอาดขึ้น คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น และการประหยัดต้นทุนในระยะยาว ด้วยเลือกแนวทางปฏิบัติที่ส่งเสริมความยั่งยืนในทุกๆ ด้าน อุตสาหกรรมสามารถมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับพวกเราทุกคน

พญ.พิมพ์สิริ เทียมศักดิ์ (ขวา) กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท ไทยประเสริฐโฆษณา จำกัด หรือ ไทยประเสริฐ กรุ๊ป หนึ่งในผู้นำธุรกิจป้ายโฆษณาแบบครบวงจร รวมทั้ง ดำเนินธุรกิจรับเหมาตกแต่งภายใน และรับเหมาก่อสร้าง ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 55 ปี ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับ นายรองเพชร บุญช่วยดี (ซ้าย) รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ในโอกาสเข้าร่วมโครงการทดสอบแพลตฟอร์มคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เพื่อมุ่งสู่ Net Zoro ณ ห้องราชพฤกษ์บอลรูม สโมสรราชพฤกษ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยบริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญของสภาวะโลกร้อนและมีการจัดทำ Carbon footprint ที่ได้รับการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก TGO ตั้งแต่ปี 2564 ครั้งนี้บริษัทฯ ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 45 องค์กรนำร่องที่ใช้ Carbon footprint platform นำมาประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อตั้งเป้าหมาย Net zero

 

จับมือชุมชนขยายผลฟื้นน้ำ สร้างป่า ลดฝุ่น PM 2.5 ลดเหลื่อมล้ำสร้างอาชีพ เติบโตยั่งยืนร่วมกัน

ธนาคารกสิกรไทยเดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจกทุกมิติมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ปรับการดำเนินงานภายในองค์กรสู่การผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการลดคาร์บอน ล่าสุดเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือรถ EV Currency Exchange นำร่องใช้งานจริงแล้วในกรุงเทพฯ และภูเก็ต นอกจากนี้ ยังช่วยให้ลูกค้าของธนาคารได้มีส่วนร่วมในการรักษ์โลกได้ง่ายขึ้น ด้วยการจัดทำบัตรเครดิต/เดบิตที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล พร้อมทยอยเปลี่ยนบัตรกว่า 20 ล้านใบให้ครบทั้งหมดภายใน 7 ปี ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ 770 ตันคาร์บอนฯ หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 51,333 ต้น

นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ปัญหาโลกร้อน จึงเดินหน้านโยบายและปรับการดำเนินงานต่างๆ ภายในองค์กร รวมถึงส่งเสริมให้คนไทยเข้าถึงไลฟ์สไตล์กรีนเพื่อมุ่งสู่ Net Zero Commitment ตามที่ธนาคารได้ประกาศไว้เมื่อปี 2564 โดยด้านการดำเนินงานเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรเมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนรถยนต์ของธนาคารจากรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าไปแล้วจำนวน 175 คัน และจะทยอยเปลี่ยนจนครบทั้งหมดภายในปี 2573 มีการทยอยติดตั้งแผงโซลาร์ในอาคารสำนักงานหลักและสาขา โดยตั้งเป้าติดตั้งให้ครบทุกสาขาที่มีศักยภาพในการติดตั้งจำนวน 278 แห่ง ภายใน 2 ปี การปรับเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปรับกระบวนการทำงานและการให้บริการของธนาคารไปสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น และให้ความสำคัญกับการจัดการขยะในอาคารสำนักงานหลักเพื่อลดปริมาณขยะที่ไปสู่หลุมฝังกลบเป็นศูนย์ รวมทั้งส่งเสริมพนักงานและบุคลากรของธนาคารให้มีความรู้และเกิดพฤติกรรมที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ธนาคารยังมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการรักษ์โลกได้ง่ายขึ้น ผ่านการใช้บริการของธนาคารที่ใส่ใจเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ล่าสุด ธนาคารกสิกรไทยได้เปิดตัวนวัตกรรมบริการที่มีเป้าหมายช่วยลดก๊าซเรือนกระจก 2 โครงการ เป็นธนาคารแรกในไทย ได้แก่ การพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือรถ EV Currency Exchange และการจัดทำและเปลี่ยนบัตรเครดิตและบัตรเดบิตเป็นบัตรที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งทั้งสองโครงการได้พัฒนาสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย และมีการนำไปให้บริการจริงแล้ว

สำหรับรถ EV Currency Exchange เป็นรถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ขับเคลื่อนได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง และใช้แบตเตอรี่ที่ได้พลังงานจากแผงโซลาร์ที่ติดตั้งบริเวณหลังคารถสำหรับการให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราในรถได้ต่อเนื่องสูงสุด 10 ชั่วโมงโดยไม่ต้องเสียบปลั๊กไฟ ปัจจุบันนำร่องเพิ่มความสะดวกสบายในการให้บริการแลกเงินแก่นักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเริ่มที่ จ.ภูเก็ต เป็นจังหวัดแรก และมีแผนขยายจำนวนรถให้ครอบคลุมมากขึ้นในอนาคต

ด้านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตธนาคารกสิกรไทย มีการเปลี่ยนมาใช้บัตรที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งช่วยลดการผลิตเม็ดพลาสติกใหม่ สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ใบละ 42 กรัมคาร์บอนฯ หรือลดลง 62% จากการใช้วัสดุแบบเดิม โดยเริ่มมีการทยอยนำบัตรแบบใหม่นี้มาใช้ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2566 ให้แก่ลูกค้าที่ออกบัตรใหม่ บัตรทดแทน และบัตรต่ออายุ ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปลี่ยนบัตรกว่า 20 ล้านใบได้ครบทั้งหมดภายใน 7 ปี ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 770 ตันคาร์บอนฯ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 51,333 ต้น

นายพิพิธกล่าวตอนท้ายว่า ในปี 2567 ธนาคารยังคงเดินหน้าผลักดันลูกค้าให้ร่วม GO GREEN Together อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสนับสนุนเงินทุน องค์ความรู้ และการพัฒนา Innovation ใหม่ๆ รวมถึงการจับมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้าง Green Ecosystem ให้เกิดขึ้นจริง และร่วมกันพาประเทศสู่ Net Zero อย่างยั่งยืนต่อไป

ผู้ที่สนใจร่วมรักษ์โลกไปกับธนาคารสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครใช้บริการ ได้ที่

 

ปัจจุบันผู้ประกอบการจะสนใจแต่การทำกำไรและทำการตลาดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย โดยโฟกัสไปที่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งในวันนี้ได้อัปเกรดความรุนแรงจาก “ภาวะโลกรวน” ไปเป็น “ภาวะโลกเดือด” เรียบร้อยแล้ว

finbiz by ttb จึงหยิบยกประเด็นสำคัญจากการจัดงานสัมมนา Sustainable Growth - The Way to Business of the Future ซึ่งได้เชิญ คุณธาดา วรุณโชติกุล ผู้จัดการ สำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO มาให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย Net Zero ของประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อก้าวเดินสู่เส้นทางแห่งความยั่งยืนอย่างมั่นใจ

นโยบายและเป้าหมายต่อสู้กับ Climate Change

เทรนด์โลกที่ผ่านมาเราได้เห็นประเทศต่าง ๆ จริงจังกับการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศตนให้ลดลง โดยมี 97 ประเทศที่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ตามปีเป้าหมายที่กำหนด เช่น เป้าหมายของสหรัฐอเมริกาคือปี 2050 ส่วน Net Zero ของจีนคือปี 2060  ส่วนประเทศไทย นอกจากจะตั้งใจบรรลุ Net Zero ในปี 2065 เราก็ยังต้องการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 แต่เป้าหมายที่ใกล้กว่านั้น คือปี 2530 ต้องลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 30-40%

สถานการณ์ปัจจุบันของไทย

  • ปี 2023 นี้ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 350-360 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คือ หน่วยที่ใช้ชี้วัดก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดว่าเทียบเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณเท่าไหร่ เพราะก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด) และหากปล่อยโดยที่ไม่มีการควบคุมไปจนถึงปี 2025 คาดว่าเราจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดคือ 380 กว่าล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หลังจากนั้นก๊าซเรือนกระจกจะต้องถูกควบคุมให้ลดลงมาเรื่อย ๆ
  • ในระดับประเทศ ภาคที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือ ภาคพลังงาน ขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคการจัดการของเสีย โดยคาดว่าประเทศไทยจะสามารถควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเต็มที่ไม่เกิน 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ส่วนภาคการดูดกลับหรือภาคป่าไม้ เราดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ 80 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  • โจทย์คือทำอย่างไรให้ “ปล่อย” น้อยลง และ “ดูดกลับ” เพิ่มขึ้น ภาครัฐได้ออกนโยบายและประกาศใช้มาตรการสำคัญต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง เช่น เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้าอย่างน้อย 68% ในปี 2040 และ 74% ในปี 2050 รวมทั้งสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้ได้ 69% ในปี 2035 เป็นต้น
  • ภาคเอกชนมีการตื่นตัว นำนโยบายของภาครัฐไปตั้งเป็นเป้าหมาย Net Zero ให้กับธุรกิจของตน ทั้งยังนำนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาใช้ เช่น เทคโนโลยี CCUS (Carbon Capture Utilization Storage) เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อขยับตัวเลขการดูดกลับจาก 80 เป็น 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  • คาดการณ์ว่าปี 2065 ก๊าซเรือนกระจกจะถูกลดปริมาณลงเหลือต่ำกว่า 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และถูกดูดกลับ 120 ล้านตันล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน

ผู้ประกอบการสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายดังกล่าวของภาครัฐได้ โดยช่วยกันประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกแบบ Bottom-up ขึ้นไป เพื่อช่วยชาติบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และยังสามารถขยายผลนำไปสู่การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กรของเราได้ 

สรุป 6 แนวทางขับเคลื่อนภายในประเทศ

  1. ด้านนโยบาย

มีการบูรณาการและกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) เข้าสู่แผนระดับประเทศ รวมทั้งขับเคลื่อน BCG Model โดยมองเรื่อง Bio-Economy เน้นสร้างมูลค่าเพิ่ม, Circular Economy ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสูญเสีย และ Green Economy เน้นดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมภาคการเกษตรในการลดก๊าซเรือนกระจก ชาวนาต้องปรับตัวมาทำนาวิถีใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อนี้สำคัญมากเพราะข้าวของไทยมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าข้าวของญี่ปุ่นถึง 4 เท่า หากมีการคิดภาษีคาร์บอนในสินค้าการเกษตร จะทำให้ราคาข้าวของเราสูงกว่า การแข่งขันทางการค้าก็จะยากลำบากยิ่งขึ้น จึงได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการปรับค่าปุ๋ยให้เหมาะกับสภาพดิน การปลูกเปียกสลับแห้ง ซึ่งข่าวดี คือ ทาง TGO ได้พัฒนาระเบียบวิธีการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซมีเทนในนาข้าว หากลดมีเทนได้เท่าไร ก็นำมาขอขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตได้ จึงอาจเห็นชาวนาขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต

  1. ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

ธุรกิจใดที่มีการเผาไหม้อยู่ จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโดยตรงไม่ได้อีก โดยอาจพิจารณาติดตั้งเทคโนโลยี CCUS ไว้ดักจับคาร์บอน นำมาอัดลงดินหรือหลุมอย่างถาวร แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน หากมีการใช้งานมากขึ้น และนำมาขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศในรูปของคาร์บอนเครดิต บวกกับแรงสนับสนุนจากภาครัฐ คาดว่าค่าใช้จ่ายอาจจะต่ำลงได้

  1. ด้านการค้า/การลงทุน

ปัจจุบัน BOI ส่งเสริมเรื่องการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น กรณีโรงงานแยกก๊าซธรรมชาติ ถ้าใช้เทคโนโลยี CCUS จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี กิจการห้องเย็นและขนส่งห้องเย็นที่หันมาเปลี่ยนใช้สารทำความเย็นลดก๊าซเรือนกระจกต่ำ หรือกลุ่มปิโตรเคมีใช้เทคโนโลยี CCUS จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และ 8 ปี ตามลำดับ อีกมาตรการที่มีผู้ยื่นใช้สิทธิจำนวนมากคือ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ถ้าผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ร้อยละ 50 ของเงินลงทุน หากต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันสามารถบริจาค e-Donation เพื่อสนับสนุนป่าชุมชน ใบเสร็จนำไปยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2023 – 31 ธันวาคม 2027

  1. ด้านการพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิต

TGO มีการพัฒนาแพลตฟอร์มให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถทำการซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ โดย “ผู้ซื้อ” เป็นภาคที่มีการรายงานข้อมูลและต้องการจะชดเชย ส่วน “ผู้ขาย” คือผู้ที่พัฒนาโครงการการลดก๊าซเรือนกระจก

  1. ด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

เป้าหมายคือเพิ่มพื้นที่กักเก็บให้ได้ 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ปัจจุบันมีหลายบริษัทเข้าร่วมปลูกและดูแลรักษาป่าในพื้นที่ของรัฐภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย T-VER เพื่อช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตได้เท่าไร บริษัทผู้พัฒนาโครงการรับไป 90% และแบ่งปันเครดิตให้กับภาครัฐ 10%  

  1. ด้านกฎหมาย

ผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฉบับแรกของไทย ในเบื้องต้นจะบังคับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูงก่อน โดยให้มีการรายงานข้อมูล เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. นี้ในปี 2024 นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อดูแลด้าน Climate Change โดยตรง

ดังนั้น หากเราจะเดินทางไปถึงเป้าหมายได้ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เช่น ภาคเอกชนนำนโยบายของภาครัฐและเรื่องที่เกี่ยวกับ Climate Change เช่น แนวคิด ESG เข้าไปอยู่ในนโยบายขององค์กร ตั้งเป้าหมายระยะยาวและพยายามลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตัวเอง เช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรม ส่วนที่ลดไม่ได้ก็ชดเชยจากคาร์บอนเครดิตที่ TGO ให้การรับรอง เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality และ Net Zero ตามเป้าหมาย

Page 1 of 5
X

Right Click

No right click