ล่าสุด เปิดตัวบรรจุภัณฑ์รุ่นน้ำหนักเบาพิเศษของ ไลปอน เอฟ  โปร และ โชกุบุสซึ ลดการใช้วัสดุ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด (Kao) รุกตลาดผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจความยั่งยืน จับมือสองผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ระดับโลก ได้แก่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC และ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) การพัฒนาวัสดุบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เพิ่มทางเลือกแก่ผู้บริโภคเพื่อความยั่งยืน เน้นบรรจุภัณฑ์คุณภาพที่ปลดปล่อยคาร์บอนต่ำลงและรีไซเคิลได้ เตรียมนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของคาโอในประเทศไทยในอนาคต

ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566  บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้สินค้าแบรนด์ดัง คู่ครัวเรือนคนไทยต่าง ๆ อาทิ แอทแทค บิโอเร ไฮเตอร์ มาจิคลีน ลอรีเอะ ฯลฯ ได้ปักหมุดพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจความยั่งยืน โดยเข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ เอสซีจีซี และ ดาว พร้อมเปิดโอกาสพัฒนานวัตกรรมร่วมกับพันธมิตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ณ อาคารทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์ สำนักงานใหญ่กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย โดยมีนายยูจิ ชิมิซึ ประธานกรรมการ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด นายพิสันติ์ เอื้อวิทยา ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC และ นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ร่วมลงนามในครั้งนี้

นายยูจิ ชิมิซึ ประธานกรรมการ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "คาโอ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำทางด้านอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อย่าง เอสซีจีซี และ ดาว ในการร่วมมือกันพัฒนานวัตกรรมสำหรับสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ตามหลัก 4R: Reduce, Reuse, Recycle และ Replace สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางด้าน ESG หรือ "Kirei Lifestyle Plan" (คิเรอิ ไลฟ์สไตล์ แพลน)

คาโอมีเป้าหมายที่จะบรรลุ Net Zero ในปี ค.ศ. 2040 เพื่อลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการดำเนินธุรกิจของคาโอ เราจึงใส่ใจในการจัดการพลังงานภายในโรงงานผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตลอดวงจรอายุ เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน และตั้งเป้าหมายลดขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2040 หมายความว่าปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เราจำหน่ายออกไปจะต้องเท่ากับปริมาณบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่นำกลับมารีไซเคิล นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คาโอต้องมีพันธมิตรที่เข้มแข็ง เชี่ยวชาญ และมีเป้าหมายร่วมกัน อย่าง เอสซีจีซี และ ดาว เพื่อสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางที่ยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริง”

นายพิสันติ์ เอื้อวิทยา ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวว่า “แนวทางเพื่อความยั่งยืนที่ SCGC ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง คือ การดำเนินธุรกิจภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยพัฒนากรีนโซลูชัน (Green Solutions) ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของเจ้าของแบรนด์สินค้า และผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อความยั่งยืน สำหรับความร่วมมือกับคาโอในครั้งนี้ SCGC พร้อมนำความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาขวดและถุงบรรจุภัณฑ์ ด้วยนวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก จาก SCGC GREEN POLYMERTM  ซึ่งมี 4 โซลูชันหลัก ได้แก่ การลดใช้ทรัพยากร (Reduce) การออกแบบเพื่อให้รีไซเคิลได้ (Recyclable) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน (Renewable) เพื่อสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนให้กับผลิตภัณฑ์ภายใต้คาโอ รวมทั้งส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม”

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า "ดาวมุ่งมั่นในการสนับสนุนลูกค้าของเราในการลดการปลดปล่อยคาร์บอน และลดขยะพลาสติกตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เราพร้อมสนับสนุนคาโอ ในการออกแบบและพัฒนาถุงบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ด้วยความเชี่ยวชาญจากดาวทั้งในประเทศไทย และ ดาว แพค สตูดิโอ (Dow Pack Studio) สิงคโปร์ ผสานกับนวัตกรรมเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษของ ดาว เช่น INNATE, ELITE, DOWLEX และ Dow PCR  เพื่อให้ถุงบรรจุภัณฑ์ของคาโอสามารถรีไซเคิลได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น และยังคงตอบโจทย์การใช้งานได้เป็นอย่างดี"

ข้อตกลงนี้จะนำไปสู่การออกแบบพัฒนาวัสดุใหม่ ๆ และการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ให้กับสินค้าต่างภายใต้คาโอ ให้มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ต่ำลง และสามารถนำไปรีไซเคิลได้ ทั้งบรรจุภัณฑ์ชนิดขวด และชนิดถุง โดยยังคงคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่ดีในการปกป้องผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในและให้ความสะดวกกับผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของคาโอในการเดินหน้าสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัท ที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2593 สอดคล้องกับแนวทางของ เอสซีจีซี และ ดาว ที่มุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างทางเลือกที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภคชาวไทย

เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วเป็นถุงพลาสติกรักษ์โลก ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ท่ามกลางกระแสรักษ์โลก ที่ทุกภาคส่วนในสังคมกำลังมุ่งมั่นเดินหน้าไปสู่การสร้าง “สังคมคาร์บอนต่ำ” มีหลายธุรกิจชั้นนำระดับโลกที่พัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นจริงแล้ว และนำมาแบ่งปันแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมาร่วมก้าวไปพร้อมกัน ในงาน ESG Symposium 2023: ร่วม เร่ง เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เมื่อไม่นานนี้

ขนส่งและเดินทางด้วย “รถประหยัดพลังงาน (Green Logistic)”

ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคของความเป็นกลางทางคาร์บอน และมีความต้องการที่ต้องเปลี่ยนยานยนต์ทุกคันเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ BEV และพลังงานสะอาด ซึ่งในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของภาครัฐ 

มร.ฮิโรกิ นาคาจิม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนไม่ใช่สิ่งที่บริษัทเดียวจะทำได้โดยลำพัง จึงได้มีการริเริ่มความร่วมมือกับระหว่างบริษัทรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศญี่ปุ่นและได้ก่อตั้งบริษัทภายใต้ชื่อ “Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPT”  เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้รถที่มีเทคโนโลยีหลากหลาย รวมถึงรถจากพลังงานสะอาด และรถที่มีคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการขนส่ง  โดยได้ขยายความร่วมมือดังกล่าวมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับโลก “Detroit of Asia” สำหรับรถยนต์เชิงพาณิชย์

นอกจากนี้ มร.นาคาจิม่ายังได้เปิดเผยถึงความร่วมมือที่บริษัท CJPT มีความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และเอสซีจี เพื่อผลักดันให้ไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมรักษ์โลก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ทั้งการผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากชีวมวล และอาหารเหลือทิ้ง รวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ด้านการใช้ข้อมูล (Big Data) และโครงสร้างพื้นฐานด้านการโทรคมนาคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ และด้านการเดินทาง โดยการนำเสนอยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ได้แก่ รถพลังงานไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) รวมถึงยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับด้านพลังงาน ลูกค้า รวมทั้งรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้งาน

โดยในความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บริษัท CJPT ได้ร่วมมือในการผลิตพลังงานไฮโดรเจนที่มาจากพลังงานไบโอก๊าซ หรือ “ก๊าซชีวภาพ” ซึ่งหมักโดยใช้มูลไก่จากฟาร์มของ CP และนำไปใช้ในภาคขนส่ง ซึ่งเป็นการนำของเสียจากการผลิตภาคการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า และใช้ประโยชน์ให้เป็นพลังงานสะอาดสำหรับรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) ซึ่งถือเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดโลกร้อนได้ด้วย

ส่วนกรณีศึกษาในประเทศญี่ปุ่น มร.นาคาจิม่าเล่าว่า กรณีแรกคือ CJPT ได้ริเริ่มให้มีการใช้ “ไฮโดรเจน” ในเมืองฟุกุชิมะ ในรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ซึ่งใช้เป็นร้านสะดวกซื้อและการขนส่ง สำหรับประชากรกว่า 300,000 คน โดยสามารถขยายไปสู่เมืองอื่น ๆ ได้ในอนาคต

กรณีที่สองคือ ในกรุงโตเกียว ที่ CJPT ร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ในการส่งเสริมการสร้างสถานีชาร์จสำหรับรถ BEV และไฮโดรเจนสำหรับรถ FCEVs เพื่อขยายการใช้รถยนต์พลังงานสะอาด ขณะเดียวกันกระจายการใช้พลังงาน

เร่งเครื่อง “พลังงานสะอาด”

จากการที่ภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้พลังงานความร้อนในการผลิต แต่ในยุคที่ทั่วโลกเริ่มปรับตัวมาใช้พลังงานสะอาดแทน จอห์น โอดอนเนลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Rondo Energy กล่าวว่า ถึงแม้การเปลี่ยนผ่านนี้ถือเป็น “โจทย์ยาก” แต่สามารถเป็นไปได้

โอดอนเนลล์ อธิบายว่า ไทยเป็นตลาดสำคัญของบริษัทในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานพลังงานใหญ่ระดับโลกเพื่อนำไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งบริษัทกำลังทำงานกับเอสซีจีเพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมในไทยใช้พลังงานสะอาดและต้นทุนต่ำ ที่สำคัญ “เมื่อรักษ์โลกแล้ว ต้องทำเงินได้ด้วย”

“การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานนั้นแม้เป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นโอกาสเช่นกัน เพราะปัจจัยพื้นฐานในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว” โอดอนเนลล์กล่าว “แหล่งพลังงานสะอาดทั้งจากแสงแดดและลมขณะนี้ถือว่าต้นทุนต่ำมาก ๆ อยู่ที่ใครจะกล้าลงทุนหรือไม่”

อีกทั้งยังเป็นโอกาสครั้งใหญ่สุดแห่งยุค “ขณะนี้พลังงานสะอาดกำลังขับเคลื่อนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม และจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกใน 50 ปีข้างหน้า”

โอดอนเนลล์ เปิดเผยด้วยว่า บริษัทได้ร่วมกับเอสซีจีในการผลิตอิฐแบบพิเศษที่เก็บความร้อนได้กว่า 1,500 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ความร้อนซึ่งสามารถแปลงพลังงานสะอาดจาก “ลม” และ “แสงแดด” ให้เป็นพลังงานความร้อนที่สามารถใช้ได้ในภาคอุตสาหกรรม

ขณะเดียวกัน เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมและแสงแดดสูง และต้นทุนพลังงานสะอาดกำลังมีต้นทุนที่ถูกลงเรื่อย ๆ จนขณะนี้มีต้นทุนถูกกว่าพลังงานฟอสซิล ดังนั้น พลังงานเหล่านี้จึงสามารถตอบโจทย์การใช้พลังงานความร้อนในภาคอุตสาหกรรมได้

“นวัตกรรมแบตเตอรี่เก็บความร้อนจากพลังงานสะอาดสำหรับภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่” โอดอนเนลล์ระบุ

“ไบโอพลาสติก” ลดคาร์บอน

ในขณะนี้ จำนวนประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความต้องการใช้ทรัพยากรโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากบราซิล บริษัท Braskem จึงได้ริเริ่มนำประโยชน์ที่ได้จากการผลิตเอทานอลจากอ้อย มาผลิตเป็น “ไบโอพลาสติก” ที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

โรเจอร์ มาร์คิโอนี ผู้อำนวยการเอเชีย ฝ่ายโอเลฟินส์และโพลีโอเลฟินส์ บริษัท Braskem กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทสามารถผลิตไบโอพลาสติกจากอ้อยซึ่งสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก สอดรับกับความต้องการพลาสติกชีวภาพในตลาด 

ล่าสุด จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่กับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล ซึ่งมีกำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปี  ภายใต้แบรนด์ I’m green™ (แอมกรีน) และยังสามารถนำไปผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ดูแลบ้าน ของเล่น เครื่องใช้ในบ้าน ถุงพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Mechanical recycling และ Advanced recycling เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผสมผสานความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพของ Braskem เข้ากับความเชี่ยวชาญของ SCGC ในด้านการผลิตพอลิเอทิลีน รวมทั้งศักยภาพของ SCGC ที่เป็นผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาคโดยโรงงานของบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทย และถือเป็นโรงงานผลิต   I’m green™  แห่งแรกนอกประเทศบราซิล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) ผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ระดับภูมิภาคที่มุ่งเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการสร้างความยั่งยืน

X

Right Click

No right click