บล.ไทยพาณิชย์ มองวัฏจักรเศรษฐกิจกำลังจะเปลี่ยนจากภาวะ Reflation เข้าสู่ Stagflation (เศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น) โดยประเมินระดับเหมาะสมของ SET Index ปี 2565 อิงกับปัจจัยพื้นฐานอยู่ที่ 1,600 จุด แนะนำกลยุทธ์การลงทุน ถือครองหุ้นขนาดใหญ่และกลุ่มหุ้นเชิงรับที่กำไรมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งและงบดุลแข็งแรงเพื่อลดความผันผวนและป้องกันผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หุ้นแนะนำใน 4Q21 คือ BEM KCE OSP SECURE และ ZEN

 

นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ Chief Research Officer บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) กล่าวว่าวัฏจักรเศรษฐกิจกำลังจะเปลี่ยนจากภาวะ Reflation สู่ภาวะ Stagflation (เศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น) ตลาดปรับลดมุมมองเกี่ยวกับการเติบโตลงโดยมีสาเหตุมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และการเติบโตของจีน ในขณะที่ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสืบเนื่องมาจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานองค์ประกอบความกังวลที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง คือ ความเสี่ยงจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้าและบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของจีนรวมถึงการปรับลดวงเงิน QE ของเฟด ทั้งนี้คาดเฟดจะประกาศลด QE จริงใน 4Q21 การปรับลดวงเงินมาตรการซื้อสินทรัพย์ (QE tapering) อาจจะส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงและเพิ่มความเสี่ยงให้กับสินทรัพย์ทางการเงิน เมื่อสินทรัพย์รวมของธนาคารกลางปรับตัวลดลง ผลตอบแทนของตลาดจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ส่วนความกังวลจากประเทศจีน คือ กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นของสถาบันการเงินส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ตัวอย่างเช่น กรณีของบริษัท Evergrande ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่อันดับสองในจีนมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ นอกจากนี้เมื่อ yield curve เปลี่ยนเป็น Bear หรือ Bull flattening ผลตอบแทนโดยรวมของสินทรัพย์เสี่ยง (รวมถึง SET) ยังคงเป็นบวกแต่จะลดลงสู่ตัวเลขหลักเดียว

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ตัวเลขเศรษฐกิจไทยล่าสุดแสดงถึงการปรับตัวดีขึ้นบ้างหลังจากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เริ่มปรับตัวลดลงตามลำดับ ในขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ระดับมากกว่า 500,000 คนต่อวัน ส่งผลทำให้รัฐบาลประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในจังหวัดพื้นที่สีแดง อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนก.ค. ส่งสัญญาณถึงการปรับตัวแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ ดังนั้นเราจึงยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยไว้ที่ ประมาณ 1% ในปีนี้ ลดลงจากที่ คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 2% โดยมีสาเหตุมาจากมาตรการล็อกดาวน์รอบล่าสุด เราเชื่อว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 และการทยอยกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกับโมเดลของSCBS

 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทยไตรมาสที่ 4/64 โดยปกติแล้วไตรมาส 4 เป็นไตรมาสที่แข็งแกร่งและผลตอบแทนเป็นบวก โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ย4% และปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 60%ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่ออิงกับข้อมูลในอดีต นอกจากนี้ไตรมาส 4 ยังเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดสาหรับหุ้นที่มี beta สูง เช่น หุ้นขนาดเล็ก หุ้นคุณค่า และหุ้นวัฏจักร แต่ครั้งนี้อาจจะแตกต่างออกไป โดยมีสาเหตุมาจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะ stagflation แรงกดดันด้านมาร์จิ้น QE tapering และความเสี่ยงด้านการเมืองที่สูงขึ้นซึ่งอาจทำให้ตลาดเกิดความผันผวนในไตรมาสนี้ ดังนั้น เพื่อเตรียมรับมือกับความผันผวนที่เพิ่มขึ้น จึงแนะนำให้คงการถือครองหุ้นขนาดใหญ่และกลุ่มหุ้นเชิงรับที่กำไรมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งและงบดุลแข็งแรงเพื่อลดความผันผวนและป้องกันผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

 

หุ้นเด่นไตรมาสที่ 4/64 แนะนำหุ้นที่มีลักษณะเฉพาะ 1) เป็นหุ้นเชิงรับ 2) ได้ประโยชน์จากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 3) เป็นหุ้นที่มีอำนาจในการกำหนดราคาสูง และ 4) เป็นหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค หุ้นแนะนำคือ BEM, KCE, OSP, SECURE และ ZEN

 

 

· BEM : เป็นหุ้นที่อิงกับปัจจัยภายนอกประเทศน้อย คาดว่าจำนวนผู้โดยสารจะมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตามการคลายมาตรการ COVID-19 หลังจากกรุงเทพมีการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นและจำนวนผู้ป่วยลดลง ส่วนปริมาณจราจรบนทางด่วนมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังมีความน่าจะเป็นในการชนะการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

· KCE : กำไรของบริษัทมีแนวโน้มเติบโต HoH และ YoY ในครึ่งปีหลังของปี 2564 ภาพอุตสาหกรรมมีการเติบโตในระดับสูง บริษัทสามารถส่งผ่านต้นทุนไปยังลูกค้าได้ เนื่องจากความต้องการสินค้าของบริษัทอยู่ในระดับที่สูงและมีปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนค่อนข้างจำกัด ค่าเงินบาทจะเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนการเพิ่มขึ้นของกำไร

· OSP : เป็นหุ้นที่มีลักษณะเชิงรับและมีความผันผวนต่ำ เป็นบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งการฟื้นตัวของตลาดภายในประเทศของสินค้าจำเป็นและเครื่องดื่มจะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดพม่าที่คิดเป็น 10% ของรายได้

· SECURE : เป็นหุ้นขนาดเล็กที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีอย่าง Cybersecurity (ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์) ที่คาดว่าจะมีความต้องการและลงทุนในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูงในอีก 3 ปีข้างหน้า และเป็นหุ้นที่เข้าในธีมธุรกิจใหม่ที่มี S-curve ในระยะยาว

· ZEN : การทยอยผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ช่วยสนับสนุนให้ผลประกอบการเริ่มฟื้นตัวและผ่านจุดต่ำสุด กลยุทธ์ในการเร่งขยายธุรกิจแฟรนไซส์มากกว่า 30 สาขาในครึ่งหลังของปี 2564 จะส่งผลให้อัตราการทำกำไรเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง โดยเราประเมินว่าผลประกอบการจะมีกำไรในปี 2565

ฟอร์ติเน็ตและบริษัท ทาทา คอมมิวนิเคชั่นส์ ทรานสฟอร์เมชั่นส์ เซอร์วิสเซส จำกัด (Tata Communications Transformation Services Limited หรือ TCTS) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ทาทา คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัดจับมือกับไมโครซอฟท์อาชัวร์ (Microsoft Azure) เพื่อเปิดตัวบริการเอสดีแวนที่มีการจัดการ (Managed SD-WAN) ให้กับเครือข่ายอาชัวร์เวอร์ชวลแวน (Azure Virtual WAN)

บริการเอสดีแวนจาก TCTS จะช่วยให้ผู้ให้บริการทั่วโลกสามารถสร้างโซลูชันในการช่วยให้องค์กรต่างๆ ย้ายไปยังแพลทฟอร์มอาชัวร์ได้อย่างราบรื่น ซึ่งเป็นการช่วยเร่งสร้างรายได้แก่ผู้ให้บริการในการช่วยย้ายระบบไอทีไปสู่คลาวด์สาธารณะ ทั้งนี้ โซลูชั่นครั้งนี้เป็นการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างสาขาให้กับลูกค้าที่ใช้ไมโครซอฟท์เป็นแพลทฟอร์มหลัก และยังช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันที่ทำงานบนอาชัวร์ได้อย่างปลอดภัยและรักษาระดับบริการ SLA ได้ตามต้องการ  โซลูชั่นนี้นับเป็นหนึ่งในโซลูชั่นอุตสาหกรรมแรกๆ ที่เสนอเอสดีแวนพร้อมกับระบบความปลอดภัยให้แก่ทราฟฟิคที่ทำงานบนแพลทฟอร์มคลาวด์ของอาชัวร์

ทั้งนี้ TCTS ได้ยกระดับเครือข่ายอาชัวร์เวอร์ชวลแวนให้สูงขึ้นได้ จากศักยภาพในการกำหนดค่าบริหารนโยบายของแอปพลิเคชันได้จากส่วนกลางโดยใช้เทคโนโลยีเอสดีแวนของฟอร์ติเน็ตเข้ากับเทคโนโลยีเครือข่ายเอจ (Network Edge) ของอิควินิกซ์ เพื่อสร้างบริการเครือข่ายเสมือนจริงที่มีประสิทธิภาพการทำงานและปลอดภัยระดับสูง นอกจากนี้ บริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ (Cloud Networking-as-a-Service: CNaaS) ของ TCTS ถือเป็นส่วนหนึ่งของบริการคลาวด์ที่มีนวัตกรรมมากที่สุดและได้รับรางวัลของ TCTS จึงส่งให้บริการนี้ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมจากคู่ค้าของ TCTS จากการยอมรับเป็นอย่างดีในธุรกิจให้คำปรึกษา การติดตั้งและการบริหารงานด้านเวอร์ชวลไลเซชั่น

มาดุสุดาน ไมซอร์ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TCTS กล่าวว่า “TCTS พัฒนาบริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการโยกย้ายระบบไอทีขององค์กรที่ซับซ้อนที่สุด สามารถให้ผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกนำไปเปิดบริการประเภทแมนเน็จเซอร์วิสที่มีการจัดการ (MSP) ที่ดีที่สุดให้กับฐานลูกค้าองค์กรของไมโครซอฟต์ที่มึอยู่ทั่วโลกได้ทันที จึงเป็นวิธีการสร้างกระแสรายได้สูงสำหรับผู้ให้บริการ  ทั้งนี้ TCTS มีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาทางเทคนิคที่เกี่ยวกับโซลูชั่นบริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์นี้ จึงช่วยให้ผู้ให้บริการทั่วโลกสามารถเปิดบริการรองรับอาชัวร์ของตนเองได้อย่างรวดเร็ว”

ในขณะที่ระบบคลาวด์มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์กรต่างยิ่งต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของอุปกรณ์ที่หลากหลาย อุปกรณ์เกตเวย์ การกำหนดค่า การจัดเซ็คเม้นต์ และการตรวจสอบระบบ Virtual Private Clouds (VPCs) ที่ทำงานอยู่ในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้บริการโครงข่าย Infrastructure-as-a-Service (IaaS) ในระดับภูมิภาคและทั่วโลก จึงทำให้การกำหนดค่าของเอสดีแวน วีพีเอ็น ตารางเร้าติ้ง ระบบความปลอดภัย เกตเวย์และการเชื่อมต่อแบบไฮบริดภายในพับลิคคลาวด์ยังคงเป็นปัญหาสำหรับองค์กรส่วนใหญ่ นอกจากนี้ เมื่อคลาวด์ขยายไปถึงส่วนเอจ ซึ่งรวมถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีการจัดการระหว่างคลาวด์และผู้ให้บริการ (เช่น Azure ExpressRoute และอื่นๆ ) แล้ว คลาวด์จึงมีความซับซ้อนในขั้นตอนการกำหนดค่าและใช้งานมาก

รอส โอเตก้า ผู้จัดการ ฝ่ายโปรแกรมสำหรับพันธมิตร หน่วยธุรกิจเครือข่ายไมโครซอฟต์อาชัวร์  แห่งไมโครซอฟต์ ได้กล่าวว่า “ความต้องการใช้งานเครือข่ายแวน (WAN) โน้มไปทางคลาวด์มากขึ้น ซึ่ง Microsoft Azure Virtual WAN (VWAN) สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ดี เนื่องจากเป็นเครือข่ายที่เอื้อให้อุปกรณ์และไซต์ต่างๆ เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์สาธารณะของอาชัวร์ทั่วโลกได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ บริการเอสดีแวนที่มีการจัดการของ TCTS บนเครือข่าย VWAN ของอาชัวร์จะช่วยให้ผู้ให้บริการทั่วโลกสามารถส่งให้บริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ที่มีการจัดการได้”

ด้วยความร่วมมือกันนี้ จึงทำให้องค์กรที่ไซต์ใดๆ สามารถสลับใช้สื่อประเภท MPLS และอินเทอร์เน็ต เพื่อหลีกเลี่ยงการรับส่งข้อมูลระหว่างภารกิจสำคัญในการรับส่งข้อมูล (ผ่านสื่อ MPLS และ Carrier Ethernet) และภารกิจที่ไม่สำคัญ (ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต) ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับอาชัวร์ผ่าน Azure ExpressRoute ได้  ทั้งนี้ การเชื่อมต่อเหล่านี้สามารถสร้างได้จากศูนย์ 'Virtual Cloud exchange' ของ TCTS ที่ใช้สร้างสภาพแวดล้อมของผู้ให้บริการเดิมหรือสร้างบริการใหม่โดยทำงานร่วมกับศูนย์ Equinix' Cloud Exchange Fabric™ (ECX Fabric™) และโซลูชั่น Network Edge ในดาต้าเซ็นเตอร์ของอิควินิกซ์ที่มีอยู่ทั่วโลก

จอห์น แมดดิสัน รองประธานอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์และซีเอ็มโอแห่งฟอร์ติเน็ตกล่าวว่า “การที่องค์กรปรับใช้คลาวด์กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายแวนขึ้นทั่วโลกโดยจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเอสดีแวนมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์มากขึ้นด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตได้นำเสนอโซลูชั่นซีเคียวเอสดีแวน (Secure SD-WAN) ซึ่งมาพร้อมกับเอสดีแวนที่ดีที่สุด ไฟร์วอลล์ประเภทเน็กซ์เจเนอเรชั่นอันทรงประสิทธิภาพ คุณสมบัติด้านการจัดเร้าติ้งขั้นสูงและการเพิ่มประสิทธิภาพแวนรวมอยู่ในโซลูชั่นเดียว จึงส่งให้บริการเอสดีแวนที่มีการจัดการของ TCTS สามารถช่วยผู้ให้บริการด้านการสื่อสารมีโซลูชั่นแบบเบ็ดเสร็จในการมอบบริการเชื่อมต่อที่มีความปลอดภัยเชื่อถือได้และมีความหน่วงต่ำได้"

ศูนย์ Virtual Cloud exchange ของ TCTS (อยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา) ทำการเชื่อมต่อและการจัดการกับอาชัวร์และระบบคลาวด์สาธารณะอื่นๆ ได้โดยอัตโนมัติผ่านทางโซลูชันที่ใช้เปิดบริการใหม่สำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสารทั่วโลก ซึ่งบริการจาก TCTS ส่งให้ผู้ให้บริการสามารถให้ลูกค้าองค์กรของอาชัวร์สามารถเลือกข้อเสนอมาตรฐานที่ไม่ต้องการฟังก์ชั่นเครือข่ายเอสดีแวนเสมือน (SD-WAN Virtual Network Function: VNF) ในอาชัวร์ หรือเลือกการทำงานขั้นสูง SD-WAN VNF ในอาชัวร์ที่ป้องกันทราฟฟิคของแอพลิเคชั่นให้ปลอดภัย

ทั้งนี้ TCTS จะให้บริการระดับมืออาชีพสำหรับโซลูชั่นบริการเชื่อมโยงเครือข่ายคลาวด์ แก่ลูกค้า ดังนี้:

การวางแผน – ความต้องการทางธุรกิจ การให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์คลาวด์ การประเมินการรับประกันคลาวด์ การวางแผนการย้ายระบบคลาวด์ และการวางแผนความปลอดภัยของคลาวด์ การกำกับดูแลข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความเสี่ยง

การเริ่มใช้งาน - พิสูจน์แนวคิด การทดสอบใช้งานของ Cloud SaaS, IaaS และ PaaS การกำหนดค่า VPC บนคลาวด์ การฝึกอบรมด้านคลาวด์ การย้ายระบบคลาวด์ การเพิ่มประสิทธิภาพและนโยบายสำหรับคลาวด์

การดำเนินงาน - การดำเนินงานด้วยนโยบาย 365X7X24 การสนับสนุนด้านเทคนิค การแก้ไขปัญหา การบริหารการเปลี่ยนแปลง การจัดการสิทธิ์การเข้าถึง การตรวจสอบระบบคลาวด์ การจัดการกับอุปกรณ์ การรวมผลิตภัณฑ์และบริการใหม่

หมายเหตุ: TATA COMMUNICATIONS และ TATA เป็นเครื่องหมายการค้าของ Tata Sons Private Limited ในบางประเทศ

 

X

Right Click

No right click