ตอกย้ำความเป็นพันธมิตร สนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตอย่างยั่งยืน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมฉลองการเปิดตัวของ The EM District อย่างเต็มรูปแบบ ด้วย 2 แคมเปญที่มอบสิทธิพิเศษสำหรับผู้ถือบัตรเครดิต ttb เมื่อจับจ่ายที่ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2566 – 21 มกราคม 2567 ดังนี้ 

แคมเปญ 7 Days Countdown : เมื่อมียอดใช้จ่ายสะสมครบ 19,000 บาทขึ้นไปในหมวดช้อปปิ้ง และรวม ยอดใช้จ่ายสะสมครบ 1,000 บาทขึ้นไปในหมวดร้านอาหาร ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2566  – 31 ธันวาคม 2566 รับบัตรกำนัลศูนย์การค้า มูลค่า 4,800 บาท รับสิทธิ์ด้วยการนำบัตรประชาชนและบัตรเครดิตที่มีชื่อสกุลตรงกัน ณ EM Privilege Counter ชั้น M ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์  จำกัด 1 สิทธิ์ / หมายเลขบัตรตลอดรายการ และจำกัดรวม 50 สิทธิ์ตลอดรายการ

แคมเปญ Mission Possible : เมื่อใช้จ่ายที่ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ ระหว่างวันที่ 11 มกราคม 2567 - 21 มกราคม 2567 ช้อปครบตามเงื่อนไข

  • มียอดใช้จ่ายตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป รับบัตรกำนัลศูนย์การค้า มูลค่า 1,000 บาท
  • มียอดใช้จ่ายตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป รับบัตรกำนัลศูนย์การค้า มูลค่า 5,000 บาท

จำกัด 1 สิทธิ์ / หมายเลขบัตร / วัน และจำกัดรับบัตรกำนัล สูงสุด 6,000 บาท จำกัดรวม 50 สิทธิ์ตลอดรายการรับบัตรกำนัลโดยนำเซลล์สลิปพร้อมบัตรเครดิต ลงทะเบียน ณ EM Privilege Counter ชั้น M ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์

การวางแผน “ภาษี” เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนวัยทำงานต้องไม่ลืม เมื่อใกล้สิ้นปีแล้ว! ควรรีบคำนวณรายได้ปี 2566 ว่าต้องเสียภาษีเท่าไหร่ และควรใช้ตัวช่วยอะไรมาลดหย่อนภาษีให้ได้คุ้มค่า สำหรับใครที่นิยมซื้อกองทุน อย่าลืมว่านอกจาก SSF และ RMF ตัวช่วยที่คุ้ม 2 ต่อ ทั้งลดหย่อนค่าภาษีเซฟเงินในกระเป๋า และต่อยอดเงินลงทุนแล้ว ในปีนี้ยังมีตัวช่วยใหม่เพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างยั่งยืนกองทุน “ThaiESG” เพิ่มมาอีกด้วย

วันนี้ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะชวนมาทำความรู้จักกองทุนใหม่ ThaiESG พร้อมวิธีช่วยคำนวณในการซื้อกองทุนต่าง ๆ เพื่อลดหย่อนภาษีปลายปีกัน

รู้จักกองทุน ThaiESG

กองทุน ThaiESG หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thailand ESG Fund) มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ไทยที่เป็น ESG ประกอบด้วย ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) ​และบรรษัทภิบาล (Governance) เป็นกองทุนลดหย่อนภาษีเช่นเดียวกับ SSF และ RMF แต่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน โดยการลงทุนในกองทุน ThaiESG จะต้องลงทุนระยะยาว 8 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ หรือ 10 ปีปฏิทิน ซื้อปีไหน ลดหย่อนได้ปีนั้น และไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี สามารถลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุด 100,000 บาท ซึ่งจะเป็นการแยกวงเงินออกจากกองทุน SSF และ RMF

ในขณะที่กองทุน SSF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท และกองทุน RMF ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท แต่เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ประกันชีวิตบำนาญแล้ว ต้องรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

พูดง่าย ๆ ก็คือ จะสามารถใช้ กองทุน ThaiESG ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ จะสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 600,000 บาท

คำนวณดี ๆ รายได้เท่านี้ ควรซื้อกองทุนเท่าไหร่?

STEP 1 : คำนวณหาเงินได้สุทธิ

อันดับแรกต้องคำนวณหาเงินได้สุทธิเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณภาษีก่อน โดยคำนวณจากการนำเงินได้ทั้งปี 2566 มารวมกัน แล้วหักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน

รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

หากมีเงินเดือน 100,000 บาท รวมรายได้ทั้งปี 1,200,000 บาท จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท เมื่อคิดเงินได้สุทธิแล้วจะอยู่ที่ 1,031,000 บาท

STEP 2 : คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย

หลังจากคำนวณเงินได้สุทธิแล้วให้นำมาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได โดยนำเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีแต่ละขั้น เพื่อหาว่าต้องจ่ายภาษีท่าไหร่

[(เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี ]

+ ภาษีสะสมสูงสุดของขั้นก่อนหน้า = ภาษีที่ต้องจ่าย

จากจำนวนเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท จะอยู่ระหว่างฐาน 1,000,001 -  2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% ทำให้จะต้องเสียภาษี (1,031,000 - 1,000,000) x 25% + 115,000 เท่ากับภาษีที่ต้องจ่าย 122,750 บาท

STEP 3 : คำนวณเงินที่ควรซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี

หากต้องการเปลี่ยนเงินที่ต้องจ่ายภาษีมาเป็นเงินออมไว้ใช้ในอนาคต สามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมลดหย่อนภาษีอย่าง SSF RMF และ ThaiESG ได้ ซึ่งจะคำนวณจาก

เงินได้สุทธิ – เงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น = เงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้สูงสุด

ดังนั้น จำนวนเงินที่สามารถนำไปซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีให้พอดี จะคิดจากเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท หักเงินได้สุทธิที่ได้รับการยกเว้น 150,000 บาท จะได้เท่ากับ 881,000 บาท แต่เนื่องจากเงื่อนไขของกองทุน SSF และ RMF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้น เมื่อรวมกับกองทุน ThaiESG อีก 100,000 บาท จะเท่ากับว่าสามารถซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 600,000 บาทเท่านั้น

แล้วควรซื้อกองทุนไหนดี จำนวนเท่าไหร่บ้างนั้น ก็ให้ดูตามความเหมาะสม ได้แก่ เป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่รับได้ เช่น หากต้องการลงทุนระยะยาว 10 ปี ก็สามารถลงน้ำหนักไปที่กองทุน SSF จำนวน 200,000 บาท และกองทุน RMF อีก 300,000 บาท หรือหากต้องการลงทุนเพื่อเกษียณอายุก็สามารถลงน้ำหนักไปที่กองทุน RMF จำนวน 360,000 บาท แล้วที่เหลืออีก 140,000 บาท จึงนำไปซื้อ SSF ก็ได้เช่นกัน

สรุป หากซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี 600,000 บาท จะทำให้เหลือเงินได้สุทธิ (1,031,000 – 600,000) เท่ากับ 431,000 บาท ซึ่งจากเดิมจะเสียภาษีฐาน 25% มาเหลือเพียงฐาน 10% เท่านั้น และเมื่อคำนวณภาษีใหม่ จะเสียภาษี (431,000 - 300,000) x 10% + 7,500 เท่ากับ 20,600 บาท ซึ่งประหยัดได้ถึง 102,150 บาท เลยทีเดียว

จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากไม่มีตัวช่วยลดหย่อนภาษี จะทำให้มนุษย์เงินเดือนเสียภาษีหลักพันไปจนถึงหลักแสน แต่ถ้าย้ายเงินไปลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี นอกจากจะช่วยเซฟเงินในกระเป๋าแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีอีกด้วย

หากยังเลือกไม่ได้ ไม่รู้จะซื้อกองทุนไหนดี ทีทีบีคัดกองทุนลดหย่อนภาษีเด่น สร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาให้แล้ว โดยมีให้เลือกหลากหลายทั้ง SSF และ RMF กับกองเด่นลดหย่อนภาษี ปี 2566 และยังมีกองทุน ThaiESG ตัวใหม่เพื่อการลดหย่อนภาษีอย่างยั่งยืน ที่คัดมาให้แล้ว คลิกดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/personal-invest

มาวางแผนลดหย่อนภาษีกันแต่เนิ่น ๆ ไปกับ “fintips by ttb” เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ เพื่อการเงินที่ดีขึ้นกัน!

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มั่นใจมาถูกทางกับการสร้างโซลูชันทางการเงินเพื่อคนรักบ้าน หลังยอดสมัครบัตรเครดิต ttb Global House เติบโตทะลุเป้าที่ตั้งไว้เกือบเท่าตัว ตอกย้ำการขับเคลื่อนธุรกิจที่มุ่งสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้านให้กับคนไทย มั่นใจสามารถบรรลุเป้าหมายการขึ้นเป็น Top 4 ผู้นำตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลได้ภายใน 3 ปี

จากที่ ทีทีบี มุ่งมั่นขับเคลื่อนพันธกิจให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านกลยุทธ์หลัก Ecosystem Play ต่อยอดจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าสู่โซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์สำหรับลูกค้า หลังจากเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทีทีบีได้จับมือกับสยามโกลบอลเฮ้าส์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสดร่วม ttb Global House เพื่อส่งมอบสิ่งดี ๆ และสิทธิประโยชน์ให้กับทั้งลูกค้าของทั้งสองฝ่าย พร้อมเพิ่มกำลังซื้อให้กับลูกค้าโกลบอลเฮ้าส์ผ่านบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด ด้วยข้อเสนอที่คุ้มค่าและตรงใจ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งได้ช่วยสร้าง Brand Loyalty ให้กับทั้งโกลบอลเฮ้าส์ และทีทีบี จนถึงปัจจุบัน พบว่า มีจำนวนผู้สมัครบัตรเครดิต ttb Global House มากกว่า 50,000 ราย สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 40,000 บัตร

การตอบรับที่ดีจากตลาดต่อบัตรเครดิตร่วม ttb Global House สะท้อนว่า ทีทีบี สร้างสรรค์โซลูชันการเงินได้ตอบโจทย์และตรงใจกลุ่มคนรักบ้านอย่างแท้จริง ส่งผลให้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในหมวดบ้านเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับหมวดอื่น ๆ ผู้ที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์ดี ๆ เพื่อบ้านที่รักควรสมัครบัตรเครดิต ttb Global House เพื่อรับสิทธิประโยชน์เหนือระดับที่ให้ความคุ้มค่ายิ่งกว่า ซึ่งบัตรเครดิต ttb Global House นี้ ยังถือเป็นหนึ่งในโซลูชันการเงินหลักที่จะช่วยให้ ทีทีบี ขับเคลื่อนกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Top 4 ผู้นำตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลได้ภายใน 3 ปี

บัตรเครดิต ttb Global House เป็นบัตรเครดิตที่ผนวกจุดแข็งระหว่าง ทีทีบี และโกลบอลเฮ้าส์ เพื่อสร้าง Home Owner Ecosystem ส่งมอบโซลูชันการเงินที่ตอบโจทย์และตรงใจ ช่วยสร้างประสบการณ์การช้อปเพื่อบ้านที่คุ้มค่าที่สุดให้กับลูกค้า รวมถึงสิทธิประโยชน์อีกมากมายที่ผู้ถือบัตรจะได้รับจากโกลบอลเฮ้าส์ ทั้งส่วนลดพิเศษ สิทธิประโยชน์จากรายการส่งเสริมการขาย หรือจากรายการแบ่งชำระค่าซื้อสินค้า เพื่อให้ลูกค้าที่มีบ้านมีชีวิตที่ดีขึ้นรอบด้าน

สำหรับสิทธิประโยชน์ที่โดดเด่น บัตรเครดิต ttb Global House มอบส่วนลดเพิ่ม 3% เมื่อช้อปผลิตภัณฑ์ใด ๆ ยกเว้นวัสดุก่อสร้าง ส่วนลด 5% เมื่อใช้บริการใดๆ ที่โกลบอลเฮ้าส์ สิทธิประโยชน์จากการผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน ที่โกลบอลเฮ้าส์ และยังทำรายการแบ่งจ่าย 0% นาน 3 เดือน ได้ด้วยตัวเองผ่านแอป ttb touch ได้ทุกรายการใช้จ่ายที่มียอดตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไป / เซลล์สลิป กับบริการ ttb so goood สิทธิประโยชน์จากการสะสมคะแนน ทุก 25 บาท รับ 1 คะแนน รวมถึงวัสดุก่อสร้าง และรับสิทธิประโยชน์จากการใช้จ่ายที่ร้านค้าอื่น ๆ อีกมากมาย

ผู้สนใจสามารถสมัครบัตรได้ 3 ช่องทาง คือสมัครที่สยามโกลบอลเฮ้าส์ หรือทีทีบี ทุกสาขา สมัครทางแอป ttb touch และสมัครทางเว็บไซต์ ttbbank.com ผู้สมัครบัตรใหม่ทั้งลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ รับฟรี กระเป๋าเดินทางมูลค่า 3,990 บาท และคูปองส่วนลด สยามโกลบอลเฮ้าส์ มูลค่า 500 บาท เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร  5,000 บาทขึ้นไป ภายใน 30 วันหลังบัตรอนุมัติ นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชันต้อนรับลูกค้าใหม่ ให้ใช้จ่ายที่โกลบอลเฮ้าส์ได้คุ้มที่สุด คุ้ม 1 ทุกยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ttb Global House ที่สยามโกลบอลเฮ้าส์ จนถึง 31 ธันวาคม 2566 นี้ รับคะแนนสะสมเพิ่ม 3 เท่า และคุ้ม 2 รับเครดิตเงินคืนเพิ่ม 5,000 บาท / เดือน เพียงมียอดใช้จ่ายสะสมที่โกลบอลเฮ้าส์ผ่านบัตรเครดิต หรือ บัตรกดเงินสด ttb Global House ครบ 200,000 บาทขึ้นไป / เดือน จำกัดเครดิตเงินคืนสำหรับบัตรเครดิต 5,000 บาท / บัญชีบัตรหลัก / เดือน  สูงสุด 30,000 บาทตลอดรายการ และสำหรับบัตรกดเงินสด 5,000 บาท / เดือน สูงสุด 30,000 บาทตลอดรายการ

ปัจจุบันผู้ประกอบการจะสนใจแต่การทำกำไรและทำการตลาดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย โดยโฟกัสไปที่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งในวันนี้ได้อัปเกรดความรุนแรงจาก “ภาวะโลกรวน” ไปเป็น “ภาวะโลกเดือด” เรียบร้อยแล้ว

finbiz by ttb จึงหยิบยกประเด็นสำคัญจากการจัดงานสัมมนา Sustainable Growth - The Way to Business of the Future ซึ่งได้เชิญ คุณธาดา วรุณโชติกุล ผู้จัดการ สำนักรับรองธุรกิจคาร์บอนต่ำ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO มาให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย Net Zero ของประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อก้าวเดินสู่เส้นทางแห่งความยั่งยืนอย่างมั่นใจ

นโยบายและเป้าหมายต่อสู้กับ Climate Change

เทรนด์โลกที่ผ่านมาเราได้เห็นประเทศต่าง ๆ จริงจังกับการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศตนให้ลดลง โดยมี 97 ประเทศที่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ตามปีเป้าหมายที่กำหนด เช่น เป้าหมายของสหรัฐอเมริกาคือปี 2050 ส่วน Net Zero ของจีนคือปี 2060  ส่วนประเทศไทย นอกจากจะตั้งใจบรรลุ Net Zero ในปี 2065 เราก็ยังต้องการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 แต่เป้าหมายที่ใกล้กว่านั้น คือปี 2530 ต้องลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 30-40%

สถานการณ์ปัจจุบันของไทย

  • ปี 2023 นี้ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 350-360 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คือ หน่วยที่ใช้ชี้วัดก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดว่าเทียบเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณเท่าไหร่ เพราะก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด) และหากปล่อยโดยที่ไม่มีการควบคุมไปจนถึงปี 2025 คาดว่าเราจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดคือ 380 กว่าล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หลังจากนั้นก๊าซเรือนกระจกจะต้องถูกควบคุมให้ลดลงมาเรื่อย ๆ
  • ในระดับประเทศ ภาคที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคือ ภาคพลังงาน ขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคการจัดการของเสีย โดยคาดว่าประเทศไทยจะสามารถควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเต็มที่ไม่เกิน 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ส่วนภาคการดูดกลับหรือภาคป่าไม้ เราดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ 80 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  • โจทย์คือทำอย่างไรให้ “ปล่อย” น้อยลง และ “ดูดกลับ” เพิ่มขึ้น ภาครัฐได้ออกนโยบายและประกาศใช้มาตรการสำคัญต่าง ๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง เช่น เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้าอย่างน้อย 68% ในปี 2040 และ 74% ในปี 2050 รวมทั้งสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้ได้ 69% ในปี 2035 เป็นต้น
  • ภาคเอกชนมีการตื่นตัว นำนโยบายของภาครัฐไปตั้งเป็นเป้าหมาย Net Zero ให้กับธุรกิจของตน ทั้งยังนำนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาใช้ เช่น เทคโนโลยี CCUS (Carbon Capture Utilization Storage) เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อขยับตัวเลขการดูดกลับจาก 80 เป็น 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  • คาดการณ์ว่าปี 2065 ก๊าซเรือนกระจกจะถูกลดปริมาณลงเหลือต่ำกว่า 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และถูกดูดกลับ 120 ล้านตันล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน

ผู้ประกอบการสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองนโยบายดังกล่าวของภาครัฐได้ โดยช่วยกันประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกแบบ Bottom-up ขึ้นไป เพื่อช่วยชาติบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และยังสามารถขยายผลนำไปสู่การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กรของเราได้ 

สรุป 6 แนวทางขับเคลื่อนภายในประเทศ

  1. ด้านนโยบาย

มีการบูรณาการและกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) เข้าสู่แผนระดับประเทศ รวมทั้งขับเคลื่อน BCG Model โดยมองเรื่อง Bio-Economy เน้นสร้างมูลค่าเพิ่ม, Circular Economy ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดการสูญเสีย และ Green Economy เน้นดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมภาคการเกษตรในการลดก๊าซเรือนกระจก ชาวนาต้องปรับตัวมาทำนาวิถีใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้อนี้สำคัญมากเพราะข้าวของไทยมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าข้าวของญี่ปุ่นถึง 4 เท่า หากมีการคิดภาษีคาร์บอนในสินค้าการเกษตร จะทำให้ราคาข้าวของเราสูงกว่า การแข่งขันทางการค้าก็จะยากลำบากยิ่งขึ้น จึงได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการปรับค่าปุ๋ยให้เหมาะกับสภาพดิน การปลูกเปียกสลับแห้ง ซึ่งข่าวดี คือ ทาง TGO ได้พัฒนาระเบียบวิธีการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซมีเทนในนาข้าว หากลดมีเทนได้เท่าไร ก็นำมาขอขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตได้ จึงอาจเห็นชาวนาขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต

  1. ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี

ธุรกิจใดที่มีการเผาไหม้อยู่ จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโดยตรงไม่ได้อีก โดยอาจพิจารณาติดตั้งเทคโนโลยี CCUS ไว้ดักจับคาร์บอน นำมาอัดลงดินหรือหลุมอย่างถาวร แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน หากมีการใช้งานมากขึ้น และนำมาขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศในรูปของคาร์บอนเครดิต บวกกับแรงสนับสนุนจากภาครัฐ คาดว่าค่าใช้จ่ายอาจจะต่ำลงได้

  1. ด้านการค้า/การลงทุน

ปัจจุบัน BOI ส่งเสริมเรื่องการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น กรณีโรงงานแยกก๊าซธรรมชาติ ถ้าใช้เทคโนโลยี CCUS จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี กิจการห้องเย็นและขนส่งห้องเย็นที่หันมาเปลี่ยนใช้สารทำความเย็นลดก๊าซเรือนกระจกต่ำ หรือกลุ่มปิโตรเคมีใช้เทคโนโลยี CCUS จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และ 8 ปี ตามลำดับ อีกมาตรการที่มีผู้ยื่นใช้สิทธิจำนวนมากคือ มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ถ้าผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ร้อยละ 50 ของเงินลงทุน หากต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันสามารถบริจาค e-Donation เพื่อสนับสนุนป่าชุมชน ใบเสร็จนำไปยกเว้นภาษีเงินได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2023 – 31 ธันวาคม 2027

  1. ด้านการพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิต

TGO มีการพัฒนาแพลตฟอร์มให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถทำการซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ โดย “ผู้ซื้อ” เป็นภาคที่มีการรายงานข้อมูลและต้องการจะชดเชย ส่วน “ผู้ขาย” คือผู้ที่พัฒนาโครงการการลดก๊าซเรือนกระจก

  1. ด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

เป้าหมายคือเพิ่มพื้นที่กักเก็บให้ได้ 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ปัจจุบันมีหลายบริษัทเข้าร่วมปลูกและดูแลรักษาป่าในพื้นที่ของรัฐภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย T-VER เพื่อช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตได้เท่าไร บริษัทผู้พัฒนาโครงการรับไป 90% และแบ่งปันเครดิตให้กับภาครัฐ 10%  

  1. ด้านกฎหมาย

ผลักดัน (ร่าง) พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฉบับแรกของไทย ในเบื้องต้นจะบังคับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูงก่อน โดยให้มีการรายงานข้อมูล เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าจะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. นี้ในปี 2024 นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อดูแลด้าน Climate Change โดยตรง

ดังนั้น หากเราจะเดินทางไปถึงเป้าหมายได้ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เช่น ภาคเอกชนนำนโยบายของภาครัฐและเรื่องที่เกี่ยวกับ Climate Change เช่น แนวคิด ESG เข้าไปอยู่ในนโยบายขององค์กร ตั้งเป้าหมายระยะยาวและพยายามลดก๊าซเรือนกระจกด้วยตัวเอง เช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรม ส่วนที่ลดไม่ได้ก็ชดเชยจากคาร์บอนเครดิตที่ TGO ให้การรับรอง เพื่อมุ่งสู่ Carbon Neutrality และ Net Zero ตามเป้าหมาย

X

Right Click

No right click