เคทีซีแจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 ธุรกิจเติบโตตามแผน โดยงบการเงินรวมมีกำไร 1,872 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากการบริหารรายได้กับค่าใช้จ่ายอย่างสมดุล และการสร้างพอร์ตที่มีระดับความเสี่ยงสอดคล้องกับรายได้รับ โดยพอร์ตสินเชื่อทุกผลิตภัณฑ์ขยายตัว ทั้งบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลและลูกหนี้ตามสัญญาเช่า ด้วยมูลค่าพอร์ตรวม 103,312 ล้านบาท ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 22.5% เท่ากับ 63,989 ล้านบาท ในขณะที่ NPL อยู่ในอัตราต่ำที่ 1.9% พร้อมเดินหน้ากลยุทธ์ จับมือพันธมิตรรักษาฐานสมาชิกเดิมและขยายฐานสมาชิกใหม่ที่มีคุณภาพเข้าพอร์ต

 

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ดีขึ้น ส่งผลให้เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ อีกทั้งมาตรการภาษี “ช้อปดีมีคืน” ล้วนนำไปสู่การใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น และเป็นผลให้ภาพรวมของตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2566 เติบโตดีต่อเนื่อง โดยเคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตและลูกหนี้สินเชื่อบุคคล เทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 14.6% และ 3.7% ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของเคทีซีขยายตัว 24.3% สูงกว่าอุตสาหกรรมที่เติบโต 18.6% ทำให้เคทีซีมีส่วนแบ่งการตลาดของปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรเท่ากับ 12.2%

สำหรับไตรมาสแรก ผลการดำเนินงานของเคทีซีเป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนและเป้าหมายที่วางไว้ โดยข้อมูลสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2566 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 เคทีซีมีกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการและงบการเงินรวมเท่ากับ 1,843 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 5.2%) และ 1,872 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 7.1%) ตามลำดับ ผลจากพอร์ตสินเชื่อรวมขยายตัวสร้างรายได้เติบโตดี และมีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งสามารถรักษาคุณภาพพอร์ตได้อย่างเหมาะสมกับความเสี่ยงที่มีในแต่ละธุรกิจ โดยมีฐานสมาชิกรวม 3,333,227 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 103,312 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 14.5%) อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL) 1.9% (เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 4/2565 ที่ 1.8%) แบ่งเป็นสมาชิกบัตรเครดิต 2,591,404 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 67,640 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 16.8%) NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 1.1% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรมูลค่า 63,989 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 22.5%) สมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 741,823 บัญชี (ลดลง 1.6%) เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม 32,371 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 11.1%) NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 2.8% และลูกหนี้ตามสัญญาเช่ามูลค่า 3,301 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 4.6%) NPL สินเชื่อตามสัญญาเช่าอยู่ที่ 8.8% โดยที่ยอดลูกหนี้ใหม่ (New Booking) ของสินเชื่อ “เคทีซี พี่เบิ้ม รถแลกเงิน” เท่ากับ 334 ล้านบาท ขยายตัว 42% และสินเชื่อรถขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม (Commercial Loan) เท่ากับ 944 ล้านบาท”

ในส่วนของรายได้รวมไตรมาส 1/2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เท่ากับ 6,055 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 13.0%) จากรายได้ดอกเบี้ย (รวมค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน) และรายได้ค่าธรรมเนียม (ไม่รวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) ที่เพิ่มขึ้น 14.7% และ 21.8% ตามลำดับ และมีหนี้สูญได้รับคืน 822 ล้านบาท (ลดลง 4.1%) ค่าใช้จ่ายรวม 3,742 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 17.6%) จากผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 1,367 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 30.8%) ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการตัดหนี้สูญ และต้นทุนทางการเงิน 390 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 15.8%) จากดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นตามสภาวะตลาดการเงิน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารเท่ากับ 1,985 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 10.4%) จากค่าใช้จ่ายด้านบุคคลและค่าธรรมเนียมจ่ายที่เพิ่มขึ้น 14.6% และ 30.9% ตามลำดับ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทางการตลาดลดลง 5.6% โดยมีอัตราค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานรวมต่อรายได้ (Cost to Income Ratio) ที่ 32.8%”

“ทั้งนี้ วันที่ 31 มีนาคม 2566 เคทีซีมีเงินกู้ยืมทั้งสิ้น 59,252 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.6% จากไตรมาส 1/2565 ที่ 50,367 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.6% เท่ากับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีโครงสร้างแหล่งเงินทุนมาจากเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว คิดเป็นสัดส่วน 28% ต่อ 72% อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับต่ำที่ 2.0 เท่า ไม่เกินกว่าภาระผูกพัน (Debt Covenants) ที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า และมีวงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) 23,670 ล้านบาท”

“สืบเนื่องจากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ ธปท.ฝคง.ว. 951/2564 เรื่อง การยกระดับการกำกับดูแลการบริหารจัดการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) กลุ่มบริษัทของเคทีซีได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามแนวทางการบริหารจัดการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม โดยให้ความสำคัญและส่งเสริมการช่วยเหลือ ติดตามแก้ไขปัญหาหนี้สิน เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ รายย่อยที่ประสบปัญหาหนี้สินอย่างตรงจุดและทันท่วงที รวมถึงการพัฒนากระบวนการให้สินเชื่อตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ (End-to End process) อย่างยั่งยืน ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความเสี่ยง การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการจ่ายชำระคืน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Debt Restructuring) การไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สิน (Debt Mediation) เพื่อบรรเทาภาระหนี้ให้แก่ประชาชน โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 เคทีซีได้ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในทุกสถานะเป็นจำนวน 1,995 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.0% ของพอร์ตลูกหนี้รวม”

“เคทีซีจะยังคงเน้นการรักษาพอร์ตคุณภาพลูกหนี้ โดยใช้เกณฑ์อนุมัติสินเชื่อที่สอดคล้องกับความเสี่ยง และบริหารจัดการติดตามหนี้อย่างเป็นธรรมต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับขยายฐานลูกค้าใหม่ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และปิดบัญชีลูกค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวใช้งานตามเงื่อนไขที่กำหนด ตลอดจนบริหารรายได้และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับที่สมดุล รวมทั้งตั้งสำรองและตัดหนี้สูญเพิ่มหรือลด ตามลักษณะของพอร์ตที่ควรจะเป็น โดยคาดว่าสิ้นปีพอร์ตสินเชื่อจะมีอัตราเติบโตตามเป้าหมาย พร้อมประมาณการกำไรของปี 2566 ที่สูงกว่าเดิม ส่วนปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรยังมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ”

พร้อมเปิดคลินิก EXIM เพื่อคนตัวเล็ก แก้หนี้ เติมทุน สร้างธุรกิจไทยเติบโตยั่งยืน

 นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (Mr. Aphinant Klewpatinond, Chief Executive Officer, Kiatnakin Phatra Financial Group) เปิดเผยว่าคณะกรรมการ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ได้มีมติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 3.25 บาทให้แก่ผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2565 ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นไปแล้วในอัตราหุ้นละ 1.75 บาท จะมีอัตราเงินปันผลคงเหลือในงวดนี้เท่ากับหุ้นละ 1.5 บาท นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้มีมติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการออกและจัดสรร ‘วอร์แรนท์’ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 5 (KKP-W5) และครั้งที่ 6 (KKP-W6) อายุ 10 เดือนและ 2 ปี 10 เดือน ตามลำดับ ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น ในอัตราการจัดสรร 12 หุ้นเดิมต่อใบสำคัญแสดงสิทธิ KKP-W5 และ KKP-W6 อย่างละ 1 หน่วย โดยใบสำคัญแสดงสิทธิแต่ละหน่วยมีสิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารได้ 1 หุ้น ที่ราคาการใช้สิทธิ 70 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ เพื่อรองรับกลยุทธ์การขยายธุรกิจในอนาคตของธนาคาร ตั้งเป้าขยายพอร์ตสินเชื่อร้อยละ 13 ในปีนี้

ผลประกอบการในระยะที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ของกลุ่มธุรกิจฯ ที่มุ่งเติบโตโดยระมัดระวัง (Smart Growth) โดยให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง การจัดกลุ่มลูกค้าและคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Segmentation) ตลอดจนการขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้อง (Cross-Selling) โดยใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งในธุรกิจตลาดทุนของบริษัทภายในกลุ่มธุรกิจฯ ส่งผลให้สินเชื่อในภาพรวมของธนาคารเติบโตอย่างน่าพึงพอใจ เช่น ปี 2565 ที่สินเชื่อของธนาคารขยายตัวถึงร้อยละ 21.4 จากปีก่อนหน้า ด้วยเหตุนี้ กลุ่มธุรกิจฯ จึงมุ่งเตรียมความพร้อมในด้านทุน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการขยายธุรกิจ รองรับการขยายสินเชื่อให้เติบโตได้เต็มศักยภาพ อีกทั้งยังสามารถรักษาการปันผลในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ตั้งเป้าโตสินเชื่ออีกร้อยละ 13” นายอภินันท์ กล่าว

ทั้งนี้ ธนาคารมีแผนการลงทุนเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของธนาคาร โดยเฉพาะการรุกหน้าบริการดิจิทัลเต็มรูปแบบ ไม่ว่าผ่านแอป KKP Mobile ของธนาคาร หรือบริการ Edge (เอดจ์) และ Dime (ไดม์) ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยขยายฐานลูกค้าของธนาคารไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยอีกเป็นจำนวนมากที่มองหาเงินฝากดอกเบี้ยสูง ควบคู่ไปกับบริการด้านการลงทุนที่สะดวก ตอบโจทย์ และมีชื่อเสียงได้รับการยอมรับของเกียรตินาคินภัทร โดยบริการเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็น New S-Curve หรือหน่วยธุรกิจที่จะสร้างการเติบโตใหม่ให้กับกลุ่มธุรกิจฯ

ในโอกาสเดียวกัน คณะกรรมการธนาคารยังได้มติเห็นชอบเพื่อให้นำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ เรื่องการออกและจัดสรร KKP ESOP Warrants หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของธนาคาร และบริษัทย่อยที่กำหนดโดยไม่คิดมูลค่าจำนวนไม่เกิน 60,000,000 หน่วย ซึ่งมีราคาการใช้สิทธิ 72 บาทต่อหุ้น และมีอายุ 4 ปี นับจากวันที่ได้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ เพื่อเป็นแรงจูงใจสำหรับบุคลากรในการสร้างการเติบโตและผลกำไรที่ดี ตลอดจนสร้างความผูกพันกับองค์กรในระยะยาวอีกด้วย

 

นายวิทัย รัตนากร ผู้อ่านวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ได้ผ่อนคลายลง ส่งผลให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจดีขึ้นและกลับมามีกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว มี จ านวนนักท ่องเที ่ยวต ่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยเพิ ่มขึ้นอย ่างต ่อเนื ่อง ดังนั้น เพื ่อเป็นการกระตุ้น เศรษฐกิจและเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการธุรกิจท ่องเที ่ยว สามารถด าเนินกิจการและให้บริการ อย่างราบรื่น คล่องตัว ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทุนหรือสภาพคล่อง ธนาคารออมสินจึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ธุรกิจโรงแรม และ Supply Chain ของโรงแรม ร้านอาหาร และกลุ่มผู้ประกอบการที่มีเอกลักษณ์หรืออัตลักษณ์ ของท้องถิ่น ใช้บริการสินเชื่อ Soft Loan Re-Open อัตราดอกเบี้ยต่ ามาก 1.99% คงที่ 2 ปีแรก และสวนกระแส ของภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นในขณะนี้ โดยสามารถรับข้อเสนอและเงื่อนไขพิเศษได้ที่เว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th หรือที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 นี้เท่านั้น สินเชื่อ Soft Loan Re-Open เปิดให้กู้เพื ่อน าเงินไปปรับปรุง ซ่อมแซมสถานประกอบการ จัดซื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการกลับมาเปิดกิจการอีกครั้ง โดยผู้กู้ต้องเป็นผู้ประกอบการที่เป็น บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน วงเงินกู้ต่อรายสูงสุด ถึง 5 ล้านบาท และมีระยะเวลากู้ได้นาน 10 ปี สามารถใช้หลักทรัพย์ หรือ บสย. อย่างใดอย่างหนึ่งในการค้ าประกัน ได้เต็มวงเงินกู้ หรือจะเลือกใช้ทั้งหลักทรัพย์และ บสย. ร่วมกันค้ าประกันก็ได้ คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก เพียง 1.99% ต่อปี โดยปีที่ 3-10 คิดอัตราดอกเบี้ยตามประเภทหลักทรัพย์ที่ใช้ค้ าประกัน และได้รับสิทธิพิเศษ ปลอดช าระเงินต้นเป็นเวลานานสูงสุดถึง 2 ปี ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GSB SME Call Center โทร. 02-2998899, GSB Contact Center โทร. 1115 และที่ facebook : GSB Society โดยธนาคารออมสินไม่มีนโยบายเชิญชวนให้ยื่นกู้ทางโซเชียล มีเดียหรือลิงก์ส่งทาง SMS แต่อย่างใด

สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก สนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ปรับตัว ผ่าน “มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว” ภายใต้พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ มุ่งเสริมศักยภาพการแข่งขันผู้ประกอบการ รับ 3 เมกะเทรนด์ธุรกิจโลกยุคใหม่“เทคโนโลยีดิจิทัล ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต” หนุนธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยาวนาน เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดบริบทโลกใหม่ (New Normal) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและทิศทางการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ เพื่อรับกับทิศทางธุรกิจในอนาคต จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนออกมาตรการ“สินเชื่อเพื่อการปรับตัว” ต่อยอดจากสินเชื่อฟื้นฟู ภายใต้ พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 (พ.ร.ก.ฟื้นฟูฯ) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ สำหรับการลงทุนปรับปรุง พัฒนาและเสริมศักยภาพธุรกิจให้สอดรับกับ New Normal ใน 3 รูปแบบ คือ 1.กระแสเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital) 2.การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green) 3.นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต (Innovation) ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ธุรกิจของโลก

มาตรการ “สินเชื่อเพื่อการปรับตัว” เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อการลงทุนสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในช่วงที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและทิศทางอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยธปท. ได้ปรับหลักเกณฑ์ขยายวงเงินกู้สูงสุด 150 ล้านบาท ภายใต้เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรก ไม่เกิน 2% ต่อปี และเฉลี่ย 5 ปี ไม่เกิน 5% ต่อปี ขณะที่เงื่อนไขการค้ำประกันยืดหยุ่นขึ้น เพื่อเอื้อต่อการเข้าถึงสินเชื่อและส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทย สำหรับ SMEs ที่ไม่มีความประสงค์ในการกู้เพื่อลงทุนใหม่ สามารถขอสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อหมุนเวียนทั่วไป ผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่ยังดำเนินการควบคู่กันได้

สมาคมธนาคารไทย และ ธนาคารสมาชิก พร้อมสนับสนุนมาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัวอย่างเต็มกำลัง ปัจจุบันมีสถาบันการเงินที่ได้จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการปรับตัวแล้วจำนวน 16 แห่ง โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ประสงค์ขอสินเชื่อเพื่อการปรับตัวสามารถติดต่อสถาบันการเงินได้โดยตรง สามารถดูรายชื่อสถาบันการเงินและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. ได้ที่ มาตรการสินเชื่อเพื่อการปรับตัว ภายใต้ พ.ร.ก. ฟื้นฟูฯ (bot.or.th)

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สมาคมธนาคารไทยได้ประสานความร่วมมือกับธปท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการในระยะสั้น โดยสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้ถึง 7.7 หมื่นราย วงเงินรวม 1.4 แสนล้านบาท มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ให้ความช่วยเหลือ 5.9 หมื่นราย คิดเป็นยอดอนุมัติสินเชื่อกว่า 2.1 แสนล้านบาท มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ให้ความช่วยเหลือ 413 ราย คิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอนราว 5.8 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือลูกค้าแก้ไขปัญหาหนี้ได้ตรงจุด ทันการณ์ และยั่งยืน เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ผ่านวิกฤต มีความพร้อมกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน

Page 3 of 8
X

Right Click

No right click