January 22, 2025

Management Coach

September 16, 2019 4879

การเมืองโดยเฉพาะเรื่องนโยบายรัฐ นับวันมีความสำคัญมากมากขึ้นเรื่อยๆ การเลือกของสหรัฐอเมริกาในปลายปี 2559 ด้วยชัยชนะของ โรนัลด์ ทรัมป์ ยังทำให้นโยบายทั้งภาครัฐและเอกชนในเมืองไทย

Globalization Effects  แรงกระทบพบทั้งโลก

ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องหันมาทบทวนศึกษากันอย่างลึกซึ้ง ทั้งแนวโน้ม ทิศทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่สังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ ว่าอะไรคือปัจจัยในความนิยมของคนในยุคปัจจุบัน ในขณะที่กำลังวิจารณ์ และวิเคราะห์กันยังไม่ทันจะตกผลึก ก็ต้องทึ่งกับการสวนกระแส ของผลการเลือกตั้งของประธานาธิบดี ฝรั่งเศส นายแอมานุแอล มาครง ที่มองโลกใบเดียวกัน แต่คนละภาพ โดยมีคนรุ่นใหม่และองค์กรข้ามชาติส่วนใหญ่ให้การสนับสนุน นโยบาย “รวมกันเราอยู่” ในยุโรปอย่างเห็นได้ชัด

ไหนจะเรื่อง การโหวตอย่างเป็นเอกฉันท์ของชาวอังกฤษ ในการออกจากสหภาพยุโรป ที่สร้างความผันผวนให้วงการตลาดหุ้น และอีกหลายภาคส่วน สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงแบบคาดเดาได้ยากเหล่านี้ ล้วนเป็นผลจากเหตุการณ์ที่สั่งสมต่อเนื่องมาก่อน

ทั้งในภาคเศรษฐกิจ การตลาด สู่การบริหารจัดการองค์กร และทรัพยากรมนุษย์ ทั่วทุกภูมิภาค ด้วยความจริงที่องค์กรข้ามชาติหลายแห่ง กำลังมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างงาน โครงสร้างองค์กร และนโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้สอดคล้องกับการผลิต การตลาด (อันรวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ) และการเงินขององค์กร ดังนั้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ทั่วโลกจำนวนมาก จึงมีการปรับ ยุบ ควบรวม โยกย้าย องค์กรหรือฐานการผลิต และแม้แต่การประหยัดงบประมาณด้านทรัพยากรมนุษย์ ลดจำนวนผู้บริหารชาวต่างชาติ อันมีผลถึงแนวทางการบริหารจัดการองค์กรในประเทศไทยอยู่ไม่น้อย

ไทยในความเปลี่ยนแปลง

กลับมาที่ประเทศไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยม และความคิด โดยมีวิวัฒน์ และพัฒนาการจากอิทธิพล จากทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประมวลสถานการณ์ได้เป็นยุคๆ จากแรกเริ่มดั้งเดิมจนถึงช่วงกลางรัตนโกสินทร์ ที่คนไทยคุ้นเคยกับงานและวิถีชีวิต ระเบียบปฎิบัติแบบเกษตรกร

จนยุคต่อมาได้รับอิทธิพลของสถานการณ์การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ของโลก ในช่วงรัชกาลที่ 5 ซึ่งนับว่าได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในด้านค่านิยม และทักษะงานของคนไทย จากการรับความเจริญที่ถาโถมเข้ามาจากนานาชาติแบบไม่ทันตั้งตัว ทั้งสิ่งที่น่าต้อนรับและที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนกลายเป็นพื้นฐานสำคัญของสถานการณ์แรงงานไทยจนทุกวันนี้ ที่มีอยู่ทั่วทุกนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย ที่มาจากการทิ้งไร่ นา การโยกย้ายถิ่นอาศัยทันที ทั้งที่ขาดความรู้และประสบการณ์ ดังนั้นการพัฒนาทักษะงานในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ จึงมีความจำเป็น แต่อย่างไรก็ดี ได้มีกระบวนการพัฒนาทักษะและเติมความรู้ซึ่งสามารถพัฒนาได้ดีมาอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่าการปรับทัศนคติของบุคลากรไทย ให้สอดคล้องกับการบริหารในอย่างสากลยังคงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ และท้าทายมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน จากการผ่านไทยแลนด์ 3.0 อย่างรวดเร็ว ประหนึ่งการปล่อยจรวดแซทเทิร์น 5 ในโครงการอะพอลโล

ด้วยยุคของดิจิตอล เราทุกคนกำลังวิ่งขาขวิดเข้าสู่ไทยแลนด์4.0 พิชิตองค์ความรู้ ทักษะและเทคโนโลยี ที่เคลื่อนตัวราวกับปรอท ให้บุคลากรไทยได้รู้จัก 3 DOMAINS ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง BIO DOMAIN เช่น Bioprint, Genetic Transformation ซึ่งในต่างประเทศกำลังสนใจศึกษาเรื่อง STEM (Science, Technology, Engineering and Mathematic) กันอย่างมาก แต่เรายังแทบไม่ได้ยินในขณะนี้ นอกจากนี้ ไทยแลนด์4.0 ยังจะครอบคลุมถึง PHYSICAL DOMAIN เช่น Autonomous Vehicle (รถที่ขับเองได้) วัสดุศาสตร์ นาโน เทคโนโลยี และ 3D/4D Printing และ DIGITAL DOMAIN เช่น Internet of Thing (IoT) , Digital Manufacturing เป็นต้น

โค้ชชิ่ง 4.0

ดังจะเห็นว่า การพัฒนาจากยุคที่มือถือต้นกล้า ดำนา สู่ยุคการจับชิ้นส่วน ประกอบอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ จนถึงยุคการกดแป้นคอมพิวเตอร์ แตะจอ จนเริ่มถนัด Chitchat บน Line กันได้คล่องตัวแล้ว เรากำลังจะเริ่มเรียนรู้สู่ ยุคการควบคุม นามธรรม

ยุคที่หลายสิ่งสามารถเปลี่ยนแปลงรวดเร็วราวกับอารมณ์มนุษย์ หรือดังที่เปรียบเทียบให้เห็นภาพ การสัมผัสปรอท ลื่นไหล ไร้รูปทรง ซึ่งเป็นเรื่องที่การพัฒนาบุคลากร มีความสำคัญเกินกว่าคำจะบรรยาย การโค้ชชิ่ง4.0 จึงกลายเป็นเรื่องที่พึงตอบโจทย์ เสริมสร้างทัศนะสู่การพัฒนาไทยแลนด์4.0 ให้หมุนทันพลวัต สถานการณ์ของโลกาภิวัตน์

ชีวิตย่อมมีทางเลือกเสมอ เฉกเช่นทุกมุมโลก การพัฒนาแบบ4.0 สามารถเลือกนำไปใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของแต่ละคนแต่ละภาคส่วน อาทิเช่นภาคเกษตร หากต้องการเป็นเกษตร แบบเลี้ยงตนเอง ขายในท้องถิ่น ความสำคัญของการพัฒนาแบบ4.0 อาจไม่จำเป็นมากนัก แต่เมื่อไหร่ที่มีเป้าหมายการผลิตเพื่อการตลาด ซึ่งหมายถึงการแข่งขัน โสตสัมผัส4.0 เริ่มมีความสำคัญทันที อย่างทุกวันนี้ Smart Farm ใช้ IOT (Internet of Thing) เป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการทำงาน ดังนั้นในภาคอุตสาหกรรมและบริการ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากร4.0 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสถานการณ์แรงงานที่จำกัด เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ การเชื่อมโยง ควบคุม แลกเปลี่ยน ข้อมูล องค์ความรู้ข้ามโลก ทำให้กระบวนการผลิตในเมืองไทยหรือที่ใดในโลกสามารถเชื่อมโยงถึงกัน

ภาพองค์กรและบุคลากรในฝัน เกิดขึ้นในมโนของผู้บริหาร แต่ใครเล่าจะช่วยจัดการสานฝันให้เป็นจริงได้ ปัจจุบันนี้มีหลายองค์กรพยายามผลักดัน ส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้ และรับการฝึกอบรมด้วยระบบออนไลน์ภายในองค์กร ซึ่งสอดคล้องกับ 4.0 ในขณะที่ความเป็นจริงมีอยู่ว่า องค์กรส่วนใหญ่ ยังคงหาแนวทาง “การพัฒนาภาวะผู้นำ และ ความรับผิดชอบ” ให้บุคลากร ซึ่งยังไม่ต้องกล่าวถึง การพัฒนาทักษะการทำงาน การรักษาเวลา การทำงานเป็นทีม การดูแลรักษาอุปกรณ์การใช้งาน การรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ต่างๆ อันเป็นพื้นฐานทักษะและทัศนคติของสามัญชนสากล

การโค้ชชิ่ง 4.0 จึงมีความสำคัญอย่างมากเช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรป ที่ให้ความสำคัญ กับการโค้ชชิ่ง ในการเรียนการสอนนักเรียน ตั้งแต่แรกเข้า เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ เสริมสร้างทัศนคติ แบบมีนัยยะประจักษ์แจ้งจริงระหว่างการโค้ชชิ่ง ผู้เรียนจึงสามารถคิด เชิงรูปธรรม และสามารถพัฒนาตนเอง ทักษะ และองค์ความรู้ ตามแนวทางที่ปรารถนาได้ สร้างทัศนคติที่ดี และที่สำคัญคือ การรู้ความต้องการของตนเอง และเป้าหมายงาน หรือสิ่งตนต้องการได้อย่างชัดเจน


เรื่อง : โค้ช สิริษา แสงไชย 

โค้ชด้านงานบริหารจัดการ, SCH Coaching Program

 

Last modified on Friday, 03 April 2020 16:56
X

Right Click

No right click