บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ รับ “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2566”

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่ายทั้งภาคการศึกษาและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จัดเสวนาวิชาการหัวข้อ วิทยาศาสตร์บูรณาการสำหรับอาหารดูแลสุขภาพเชิงรุก : นวัตกรรมเนื้อหมูชีวา มีโอเมก้า 3 จากธรรมชาติ ตอกย้ำความพรีเมียม ยกระดับมาตรฐานอาหารสุขภาพของไทย

รองศาสตราจารย์ ดร.พัชราณี ภวัตกุล หัวหน้าภาคโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปัจจุบันเวชศาสตร์การป้องกันเป็นที่แพร่หลายในทางการแพทย์ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโรค NCDs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการวิจัยและศึกษานวัตกรรมอาหารที่ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพเชิงรุก ซึ่งโอเมก้า 3 เป็นอีกสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายของคนทุกวัย มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง สายตา ระบบหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี รวมถึงลดการอักเสบ เป็นสาเหตุสำคัญของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ

 

ดร.อนันตวัฒน์ กุลธนเตชานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักวิชาการอาหารสัตว์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า หมูชีวา ถือเป็นนวัตกรรมที่ยกระดับอาหารไทยไปอีกขั้น เริ่มจากการศึกษาและวิจัย ทำให้สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุด เลี้ยงด้วยสูตรอาหารธรรมชาติที่เลือกสรรพิเศษที่อุดมด้วยโอเมก้า 3 สูง อาทิ เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) น้ำมันปลาทะเลลึก และสาหร่ายทะเลลึก เป็นต้น รวมถึงมีส่วนผสมของโปรไบโอติก (Probiotic) อยู่ภายในฟาร์มระบบปิดที่มีการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด ลักษณะคอกขังรวม (Group Pen Gestation) ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ส่งผลให้หมูชีวาอยู่สบาย แข็งแรง ไม่ป่วย ได้การรับรองมาตรฐานการเลี้ยงจาก NSF จากประเทศสหรัฐอเมริกา รับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ จึงไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ 100% ตลอดการเลี้ยงดู สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า หมูชีวาเป็นแหล่งโอเมก้า 3 สูง สามารถรับประทานได้ทุกวัน และช่วยดูแลสุขภาพเชิงรุก

ด้าน นางสาวอนรรฆวี ชูรัตน์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานการตลาดกลาง ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ มุ่งมั่นส่งเสริมให้ประชากรโลกมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการวิจัยและพัฒนาอาหารที่ช่วยดูแลสุขภาพเชิงรุก โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัย ได้แก่  นวัตกรรม (Innovation) สุขภาพ (Wellness) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Planet) อย่าง หมูชีวา ถือเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่พัฒนาตั้งแต่สายพันธุ์ อาหารที่เลี้ยง ตลอดจนวิธีการเลี้ยง เพื่อให้มีโอเมก้า 3 สูง โดยได้รับการรับรองจากงานวิจัยต่างๆ รวมถึงมาตรฐานระดับนานาชาติ  เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงความปลอดภัยทางอาหาร พร้อมกับสร้างความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืน

ผลิตภัณฑ์ 'หมูชีวา' เป็นเนื้อหมูคุณภาพพรีเมียม เลี้ยงดูอย่างพิถีพิถัน การันตีด้วยรางวัลสุดยอดรสชาติอาหารระดับโลก ประจำปี 2023 หรือ Superior Taste Award 2023 ระดับ 1 ดาว โดยเชฟชั้นนำกว่า 200 คน จาก International Taste Institute รางวัล SET Awards 2021 ในกลุ่ม Business Excellence ด้านนวัตกรรมดีเด่น (Outstanding Innovative Company Awards) โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับวารสารการเงินธนาคาร และรางวัลชนะเลิศสุดยอดนวัตกรรมระดับโลก จากงาน THAIFEX – Anuga Asia 2020 วางจำหน่ายแล้วใน ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ อาทิ The Mall, Tops, Villa Market, Foodland, MaxValu หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ufarmthailand.com/cheeva_pork 

สำหรับ งานสัมมนาวิชาการ The International Conference for Public Health, Environment, and Education for Sustainable Development Goals and Lifelong Learning มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300 คน เป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และส่งเสริมนวัตกรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ภายในปี 2573 ด้านสาธารณสุข สุขภาพ การส่งเสริมและความเป็นอยู่ที่ดี โภชนาการและวิทยาศาสตร์การอาหาร อนามัยสิ่งแวดล้อม สร้างอนาคตที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรายุทธ สุภาพรรณชาติ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารสินทรัพย์ เป็นประธานในพิธีเปิด และ รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมด้วย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง

การขาดแคลนน้ำและต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นับเป็นปัญหาใหญ่ที่พี่น้องเกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชต้องแบกรับ เนื่องจากต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีคิดเป็น 19-20% ของต้นทุนการเพาะปลูกพืชทั้งหมด ขณะที่น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ที่ผ่านมาภาครัฐต่างผลักดันแนวทางการบริหารจัดการน้ำ และสนับสนุนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการดินและปุ๋ยมาโดยตลอด

ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนหลายแห่งก็จัดโครงการเพื่อสนับสนุนแนวทางที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรควบคู่ไปด้วย เช่นเดียวกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่ดำเนินโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร จากความสำเร็จของฟาร์มสุกรที่ดำเนินการมากว่า 20 ปี ต่อยอดสู่ธุรกิจไก่ไข่ ที่เดินหน้าทั้งโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร และโครงการปุ๋ยมูลไก่ รวมถึงธุรกิจไก่เนื้อ ดำเนินโครงการปุ๋ยเปลือกไข่สู่ชุมชนและเกษตรกร ที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และลดความเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้งแก่เกษตรกรในพื้นที่รอบข้างสถานประกอบการของบริษัทได้อย่างเป็นรูปธรรม

นายเกษม ลาดสันเที๊ยะ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย 20 ไร่ ที่อยู่ตรงข้าม Complex ไก่ไข่จักราช อ.จักราช จ.นครราชสีมา เล่าว่า ตนเองเป็นเกษตรกรรายแรกๆที่รับมูลไก่จากฟาร์มมาใช้กับต้นอ้อย พื้นที่ 20 ไร่ ซึ่งมูลไก่มีธาตุไนโตรเจนสูง ช่วยให้ผลผลิตดี เมื่อเพื่อนเกษตรกรรายอื่นเห็นว่าดีก็ใช้ตาม จากนั้นจึงปรึกษากับทีมงานซีพีเอฟเรื่องการรับน้ำปุ๋ยมาใช้ เพื่อทดลองว่าจะช่วยให้ต้นอ้อยได้ผลผลิตดีขึ้นหรือไม่ โดยบริษัทใช้รถแบคโฮตัวเล็กมาขุดร่องเหมืองเล็กๆเพื่อดึงน้ำมาใช้ โดยเริ่มให้น้ำปุ๋ยเมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ตอนอ้อยรัดตอสูงประมาณ 75 เซนติเมตร - 1 เมตร พออ้อยตั้งลำได้ 3-4 ข้อ จึงเริ่มปล่อยน้ำให้ เมื่อเทียบการให้ปุ๋ยเคมี กับการใช้มูลขี้ไก่และน้ำปุ๋ย พบว่าอ้อยรากเดินดี ขยายกอใหญ่ ให้ลำเยอะ ลำใหญ่ ข้อยาว

“รอบที่ผ่านมาใช้น้ำปุ๋ยและมูลไก่ทำให้ได้ผลผลิตอ้อยสูงถึง 20-25 ตันต่อไร่ จากที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวได้ผลผลิตไร่ละ 18 ตัน รายได้จึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และยังช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยจากเมื่อก่อนตลอดการปลูก 1 ปี ใช้ปุ๋ยเคมี 20 กระสอบ ตอนนี้ลดปุ๋ยเคมีได้ 50% หรือใช้เพียง 10 กระสอบเท่านั้น ขอบคุณซีพีเอฟที่จัดโครงการนี้ดีๆแบบนี้ ทำให้ชุมชนและฟาร์มอยู่อย่างเกื้อกูลกัน ช่วยทั้งลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต แก้ปัญหาภัยแล้ง และเกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น” นายเกษม กล่าว

ส่วน นายหล๊ะ ดุไหน เกษตรกรชาว ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา ต้นแบบเกษตรกรที่รับน้ำปุ๋ยจากฟาร์มไก่ไข่จะนะ บอกว่า ใช้น้ำปุ๋ยสำหรับรดแปลงปลูกหญ้าเนเปีย พื้นที่ 10 กว่าไร่ ใช้รดสวนปาล์มอีก 10 ไร่ และล่าสุดใช้กับแปลงปลูกฟักทอง 10 ไร่ รอบการปลูกที่ผ่านมาได้ผลผลิตฝักทองมากถึง 20,000 กิโลกรัม ได้กำไรประมาณ 200,000 บาท เพราะได้น้ำปุ๋ย ซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี ที่มีแร่ธาตุที่ต้นพืชต้องการครบถ้วน ทำให้เถาฟักทองแข็งแรง ให้ดอกมาก ติดผลดก ลูกฟักทองใหญ่ น้ำหนักดี ผิวสวยขายได้ราคาดี ช่วยสร้างรายได้ที่ดี และวางแผนขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีก 10 ไร่ ในรุ่นต่อไป

ทางด้าน  นายสิงห์คำ เป็งเรือน เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในพื้นที่ ต.ห้วยทราย อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า เริ่มรับปุ๋ยเปลือกไข่ จากฟาร์มไก่ไข่สันกำแพง มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อทดลองว่าจะใช้ได้ดีกับการปลูกข้าวหรือไม่ โดยพื้นที่นาข้าว 2.5 ไร่ ใช้ปุ๋ยเปลือกไข่ปริมาณ 1 ตันต่อไร่ นำมาโรยแล้วไถกลบ ช่วยปรับสภาพดินก่อนการเพาะปลูก ตอนนี้ข้าวอายุ 2 เดือน เห็นความแตกต่างจากแต่ก่อน เพราะได้ข้าวกอใหญ่ ลำใหญ่ เขียวดี เนื่องจากเปลือกไข่มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ที่ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของต้นพืช คาดว่ารอบนี้จะได้ผลผลิตดีขึ้น และสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง จากปกติหนึ่งรอบใช้ 20 กิโลกรัมต่อไร่ รอบนี้น่าจะลดลงเหลือ 15 กิโลกรัมต่อไร่

“โครงการนี้ดีมาก ช่วยลดค่าปุ๋ย ช่วยประหยัดต้นทุน คาดว่าผลผลิตข้าวน่าจะเพิ่มมากขึ้นแน่นอน เพราะข้าวกอใหญ่ ตอนนี้เตรียมปุ๋ยเปลือกไข่สำหรับใส่นาปรังไว้แล้ว ขอบคุณที่บริษัทช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรมาตลอด” นายสิงห์คำ กล่าว

สำหรับ ธุรกิจไก่ปู่-ย่าพันธุ์เนื้อของซีพีเอฟ โดยโรงฟักชัยภูมิ ดำเนินโครงการ “ปุ๋ยเปลือกไข่ สู่ชุมชน และเกษตรกร” โดยสนับสนุนเปลือกไข่และมูลไก่แก่ “โครงการสร้าง สาน สุข วิถีชุมชน ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง บ้านซับรวงไทร จ.ชัยภูมิ” ที่เกษตรกร 62 คน รวมตัวกันผลิตปุ๋ยหมักเปลือกไข่ใช้เอง สามารถผลิตปุ๋ยหมักเปลือกไข่ได้ปีละ 10,000 กระสอบ เพื่อแจกจ่ายให้สมาชิกฯ เกษตรกรได้นำไปใช้กับไร่ นา สวน และมอบแก่ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งทุกคนที่นำปุ๋ยหมักเปลือกไข่ไปใช้ พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าปุ๋ยที่ได้ช่วยปรับปรุงคุณภาพดินให้ร่วนซุย เหมาะแก่การเพาะปลูกและการเติบโตของพืช ได้ผลผลิตดีขึ้น ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ต้นทุนการเพาะปลูกจึงลดลง สภาพแวดล้อมในพื้นที่ดีขึ้น คนในชุมชนได้บริโภคผักปลอดสารเคมีที่ตัวเองปลูก นับเป็นการบริหารจัดการของเสียแบบบูรณาการด้วยการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างความมุ่งมั่นของซีพีเอฟ ในการดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงสถานประกอบการ ได้พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน ก้าวผ่านวิกฤติภัยแล้ง และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีจากการลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิต สอดรับตามกลยุทธ์สู่ความยั่งยืน 3 เสาหลักของบริษัท คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และ ดินน้ำป่าคงอยู่.

อนาคตทางการศึกษาที่ดีคือสิ่งที่เด็กและเยาวชนควรได้รับ แต่ถ้าระหว่างทางของการศึกษานั้นเด็กๆได้เรียนรู้พื้นฐานอาชีพและปูพื้นฐานการใช้ชีวิตด้วยแล้ว การศึกษานั้นย่อมก่อประโยชน์สูงสุดกับเยาวชนยิ่งขึ้น นี่คือนโยบายที่ผู้บริหารของโรงเรียนประชาพัฒนาบ้านแฮด ต.บ้านแฮด อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น คิดและดำเนินอย่างเป็นรูปธรรม

หนึ่งความมุ่งมั่นในการนำเอาพื้นฐานอาชีพมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ให้กับเด็กๆบ้านแฮดทุกคน คือ “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” จากความร่วมมือของโรงเรียน มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ และหอการค้าญี่ปุ่น (JCC) ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องถึง 11 ปี

“จุดเริ่มต้นของความร่วมมือในโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ เกิดจากการที่ท่านนายอำเภอมาแนะนำ เพราะเคยทำโครงการนี้มาก่อนจะย้ายมาประจำที่นี่ เมื่อเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี จึงอยากให้ขยายมาในอำเภอบ้านแฮดด้วย เด็กๆจะได้มีไข่ไก่โปรตีนชั้นเยี่ยมมาทำเป็นอาหารกลางวัน ได้รับประทานไข่ที่สดใหม่ นักเรียนได้เรียนรู้การเลี้ยงไก่ จากนั้นมูลนิธิฯ เข้ามาสำรวจภาวะทุพโภชนาการของเด็กที่โรงเรียน ซึ่งตอนนั้นพบภาวะดังกล่าวแม้จะไม่มาก แต่ถ้าได้รับการสนับสนุนให้ได้บริโภคอาหารโปรตีนมากขึ้น ย่อมแก้ปัญหานี้ได้ เมื่อดูข้อมูลโรงเรียน ดูจำนวนนักเรียน และผ่านการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา จึงตกลงร่วมกันว่าจะทำโครงการฯนี้ในปี 2555 เริ่มเลี้ยงไก่ไข่ 150 ตัว สำหรับนักเรียน อนุบาล 1 – ประถม 6 ทั้ง 130 คน จากนั้นผู้อำนวยการและครูก็ได้เข้าร่วมอบรมการเลี้ยง และมีสัตวบาลซีพีเอฟเข้าดูแลมาตลอด” นางสาวกุลชญา สงวนศิลป์ หรือครูแหม่ม ครูผู้ดูแลโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ กล่าว

ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นเจ้าหน้าที่ของบริษัทมาช่วยแนะนำ โดยมีครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ และนักการภารโรง นายหาญชัย ปาณา และ นายสงวนศักดิ์ แผงตัน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก ดูแลร่วมกับเด็กนักเรียนมาตลอด ในช่วงที่อากาศร้อนอาจมีปัญหาบ้าง ทางมูลนิธิฯและซีพีเอฟแนะนำให้ติดสปริงเกอร์บนหลังคา ติดพัดลมระบายอากาศในโรงเรือน และมีการจัดการของเสียในโรงเรือนด้วยการใช้ผ้าใบและปูแกลบไว้ใต้กรงเลี้ยง ที่ช่วยลดทั้งกลิ่นและทำให้จัดการง่ายขึ้น มูลไก่และแกลบยังเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับแปลงผักที่นักเรียนแต่ละชั้นเรียนรับผิดชอบ ในกิจกรรมเสริมการเรียน ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลา(เรียน)รู้ อีกด้วย

สำหรับกิจกรรมในแต่ละวัน ครูแหม่มบอกว่า จะมีเด็กนักเรียนชั้นประถม 4-5-6 จัดเวรเข้ามาดูแลไก่ โดยมีพี่ประถม 6 เป็นหลัก 1-2 คน และน้องๆ ประถม 4-5 มาช่วยอีก 2 คน โดยนักเรียนทั้ง 3 ชั้นปี ทุกคนจะได้มีโอกาสหมุนเวียนเข้ามารับผิดชอบ เพื่อให้พวกเขาได้ฝึกความรับผิดชอบ เรียนรู้การมีส่วนร่วมทำงานเป็นทีม และเป็นการปูพื้นฐานด้านเศรษฐกิจพอเพียง น้องๆยังได้เรียนรู้เรื่องโภชนาการควบคู่ไปด้วย ที่สำคัญยังได้รู้ว่าอาหารที่รับประทานทุกวันมีแหล่งที่มาอย่างไร มีความปลอดภัยในอาหารจากฝีมือการเลี้ยงของพวกเขา นอกจากนี้ ยังได้ฝึกเรื่องบัญชีและการออม จากการทำบันทึกจำนวนไข่ไก่และการขายไข่ไก่เข้าโครงการอาหารกลางวัน ซึ่งปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียนในโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯถึง 2 แสนกว่าบาทแล้ว

ด.ช.ธนวัฒน์ วงศ์ษา หรือน้องโน๊ต นักเรียนชั้นป.6 ที่รับผิดชอบโครงการฯ บอกว่า ชอบมากที่ได้มาเลี้ยงไก่ไข่ เพราะทำให้ได้ฝึกความรับผิดชอบ ฝึกการทำงานกันเป็นทีม คุณครูจะแบ่งเวรให้นักเรียนมาทำกิจกรรม ทั้งการเก็บไข่ไก่ นับและบันทึกจำนวนไข่ คิดราคาไข่ไก่ แล้วลงบัญชีที่คุณครูทำไว้ให้ และรวบรวมไข่ไก่ส่งเข้าโรงครัวทุกวัน ไข่ส่วนที่เหลือจะนำไปขายในชุมชน คุณยายของผมเคยมาซื้อไข่ไก่ที่โรงเรียนด้วย เพราะสด ใหม่ สะอาด ราคาถูกกว่าในตลาด บางครั้งต้องสั่งจองล่วงหน้าเพราะขายดีมาก ผมและเพื่อนๆชอบมากและตื่นเต้นทุกครั้งที่เก็บไข่ได้เยอะๆ เราภูมิใจทุกครั้งที่มีคุณครูจากโรงเรียนอื่นมาดูงานการเลี้ยงไก่ของโรงเรียนเรา มาดูวิธีการให้น้ำ ให้อาหาร และการดูแลไก่ โรงเรียนของเราได้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนอื่นๆ    

ส่วน ด.ญ.พลอยพิชชา เสโส หรืออองฟอง นักเรียนชั้นป.6 บอกว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้มีส่วนร่วมกับโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ พอถึงเวลาชั่วโมงสุดท้ายก่อนเลิกเรียน ก็จะมาเก็บไข่กับเพื่อนๆและน้องๆห้องอื่น ทุกคนตื่นเต้นมากเพราะลุ้นว่าวันนี้จะเก็บไข่ได้กี่ฟอง น้องอองฟองทำหน้าที่ลงบัญชี ทำให้ได้ฝึกเรื่องการคิดคำนวณ ซึ่งเป็นเรื่องที่เธอชอบมาก และยังได้สอนน้องๆลงบัญชีให้ถูกต้องด้วย สำคัญที่สุดคือ ทุกคนได้รับประทานไข่ไก่เป็นอาหารกลางวัน แต่ละสัปดาห์ที่โรงครัวจะมีเมนูไข่ประมาณ 3 วัน เมนูที่ทุกคนชอบที่สุดคือ ไข่พะโล้ ทุกครั้งที่มีเมนูไข่ก็จะภูมิใจว่าเป็นไข่ที่มาจากไก่ของเราเอง ดูแลเอง เก็บเอง ขอขอบคุณ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และซีพีเอฟมากๆ ที่สนับสนุนโครงการดีๆแบบนี้ ทำให้เราได้บริโภคไข่ไก่ที่สด สะอาด ปลอดภัย อยากให้มีโครงการดีๆแบบนี้ตลอดไป

“ตลอด 11 ปีที่ผ่านมา ที่โรงเรียนประชาพัฒนาบ้านแฮด ได้ร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เราบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจสร้างความมั่นคงอาหารในโรงเรียน โดยมีโรงเรือนเลี้ยงไก่เป็นแหล่งฝึกสอนทักษะอาชีพ ให้นักเรียนมีประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง ที่จะกลายเป็นทักษะติดตัวพวกเขาไปใช้ในอนาคต และยังได้ภูมิใจว่าเขาคือคนสร้างคลังอาหารที่มั่นคงให้กับทั้งเพื่อนนักเรียนและชุมชน ที่ได้รับประทานไข่สดใหม่ทุกวัน โรงเรียนได้กลายเป็นแหล่งอาหารชุมชน และเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนหรือชุมชนอื่นๆเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง” ครูแหม่มกล่าว

ความสำเร็จของโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน โรงเรียนประชาพัฒนาบ้านแฮด สะท้อนความมุ่งมั่นของมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ซีพีเอฟ และองค์กรพันธมิตร ที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในชนบทห่างไกลทั่วประเทศมาตลอด 35 ปี โครงการฯนี้ได้สร้างคลังอาหารในโรงเรียนไปแล้ว 959 โรงเรียน ทำให้เด็กและเยาวชนมากกว่า 188,000 คน เข้าถึงโปรตีนที่ดี ช่วยบรรเทาปัญหาทุพโภชนาการ สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ และเป็นพื้นฐานอาชีพให้กับเด็กๆอย่างเป็นรูปธรรม

X

Right Click

No right click