×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

สถานการณ์ในยุคดิจิทัลที่โลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และจากภาพรวมดังกล่าวส่งผลให้องค์กรต้องเร่งพัฒนาบุคลากร ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “การพัฒนาคน” เป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุด ยากกว่าการพัฒนาระบบโครงสร้าง (Infrastructure) หรือ ทรัพยากรที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ในองค์กร

อาจารย์วรัญญา เข็มทอง หรืออาจารย์ตุ้ม ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาองค์กรและบุคลากร และการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง ของ บริษัท แอคคอม แอนด์ อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (แอคคอมฯ) กล่าวถึง แนวทางการรับมือขององค์กร เพื่อให้ทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปว่า “เห็นได้ชัดว่าเรื่องคน เป็นอุปสรรคสำคัญของการเปลี่ยนแปลงให้ทันกาล ดังนั้นการมีพนักงานที่มีความสามารถ มีทักษะพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และมีทัศนคติที่ดี เป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก ต่อให้องค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางใดก็ตาม พนักงานเหล่านั้นก็จะสามารถไปต่อได้ด้วยกัน”

จากประสบการณ์ของอาจารย์ตุ้มได้พบว่า การเพิ่มเสริมสมรรถนะต่างๆ ให้บุคลากรทันที โดยในใจของเขายังไม่เปิดรับการเปลี่ยนแปลง จะทำให้องค์กรยิ่งเสียเวลา และเงินทุน แต่ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ที่แอคคอมฯ จึงมีกระบวนการพัฒนาให้กับทุกกลุ่มในองค์กร เช่นพัฒนาผู้นำและผู้บริหารในองค์กรให้มีกระบวนการ และเทคนิคในการช่วยปรับทัศนคติของบุคลากร มีขั้นตอนในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง สำหรับบุคลากรเราก็มีกระบวนการที่ใช้กิจกรรมเข้าช่วยในการทำให้คนละลายความเชื่อเดิมๆ และเปิดรับการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญเรื่องแบบนี้ต้องทำต่อเนื่อง เพราะคู่แข่งองค์กรไม่ได้หยุดนิ่ง ความต้องการของลูกค้าก็ไม่ได้หยุดนิ่ง ถ้าคนพร้อม องค์กร
ก็จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ทุกรูปแบบ

 

คนหลายเจนฯ ในองค์กร มีปัญหาไหม และแก้อย่างไร

อาจารย์ตุ้มเล่าถึงวิธีการแก้ปัญหาว่า เรา มีเครื่องมือที่จะเข้ามาทำการวิเคราะห์ก่อน เช่น ในกรณีที่บุคคลขาดแรงจูงใจในการทำงาน เราก็มีเครื่องมือประเมินแรงจูงใจ ที่จะช่วยบอกหัวหน้าของเขาให้เข้าใจความแตกต่างของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละเจนฯ หรือแต่ละคน และเข้าไปช่วยพัฒนาทักษะการบริหารคน โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับจากการวิเคราะห์ให้เป็นประโยชน์

 

ด้านการพัฒนาระดับบริหาร

มีตั้งแต่การโค้ชให้กับผู้บริหารระดับสูง (Executive Coaching) เพื่อช่วยให้ผู้บริหารปรับตัวได้กับการบริหารคนหลากหลาย หรือเป็นการให้คำปรึกษา (Consulting) เช่นการวางระบบพัฒนาคน ซึ่งเป็นการมองภาพใหญ่ (Macro View) ทั้งทีม ทั้งองค์กร เมื่อมีการวางกลยุทธ์และเป้าหมายแล้วว่าจะเป็นอย่างไร หรือถ้าเน้นการบริหารจัดการ การเปลี่ยนแปลง ก็จะมาถึงโจทย์ว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างไร นั่นคือกระบวนการ Leading Change ซึ่งต้องทำในแกน 4S คือ 

1. Strategy (กลยุทธ์) 

2. System & Process (ระบบและการบริหารภายใน) 

3. Structure & Culture (โครงสร้างและวัฒนธรรม) และ 

4. Staff (บุคลากร)

“การเปลี่ยนแปลงในวันนี้ถึงแม้จะมีความรวดเร็วอย่างมาก แต่ก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพ ตามคำที่ว่า Speed with Change และ Speed with Quality ในอดีตองค์กรที่ไม่ได้พัฒนาเรื่องแบบนี้ก็พบอุปสรรคเยอะหน่อย”

 

จากประสบการณ์เข้าไปช่วยในระดับใดบ้าง และอะไรที่ยากในการพัฒนา

มีทุกระดับ ตัวอย่างเช่น ตั้งแต่ระดับ Head of Department หรือสูงกว่านั้น ไปจนถึงระดับปฏิบัติการ (Operations) กรณีที่อาจใช้เวลาหน่อย ก็จะเป็นเพราะคนมักติดกับความสำเร็จเดิมๆ จากประสบการณ์ เช่น มีธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน จึงยึดติดกับรูปแบบเดิม เมื่อต้องมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความพึงพอใจของลูกค้าลดลง สภาวะการแข่งขันสูงขึ้น ก็เกิดการต่อต้านจากภายในและคู่ค้า ซึ่งในกรณีนี้ การโค้ชจะเข้าไปช่วยได้ ทั้งเจ้าของกิจการและตัวแทนจำหน่าย ให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารใหม่ ช่วยกระตุ้นให้ปรับวิธีการคิด นำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยในการจัดการ

ในอีกกรณีที่เป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมบริการ ที่แข็งแรงอย่างมาก เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงจากความสามารถที่เหนือกว่าของคู่แข่ง และอัตราการออกของพนักงานสูง ทำให้มาตรฐานการให้บริการไม่ตรงตามกำหนด จึงต้องใช้เทคนิคการโค้ชเข้าไปช่วย เช่น เรื่องของงานบริการ พัฒนาแนวความคิด

“ในมุมมองของตุ้ม บางครั้งผู้บริหารทราบถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง แต่อาจเป็นเพราะข้อจำกัดต่างๆ เช่นเรื่องของงบประมาณ ทำให้คิดว่าจะทยอยใช้งบประมาณเปลี่ยนทีละนิด ขยับทีละหน่อย ดูจะเป็นทางออกที่ดี แต่การใช้งบจำกัด ค่อยๆ ขยับ จะทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่เกิด และไม่ทันการณ์ วันนี้เราต้องตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงของทุกภาคส่วน จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน และต้องพร้อมรับมืออย่างเป็นขั้นตอน การเตรียมตัวรับแต่เพียงบางมุมนั้นไม่ทำให้ประสบความสำเร็จ”

อาจารย์ตุ้ม เน้นว่า “ทักษะของผู้บริหารด้านการสนทนากับทีมให้ร่วมมือ ร่วมใจในการเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องที่ท้าทาย และต้องเริ่มที่ความคิดของผู้บริหารเองก่อนด้วย เพราะนั่นหมายถึงท่านผู้บริหารเหล่านั้นจะไปส่งเสริมให้ลูกทีมพร้อมเปิดใจ ยอมรับ และสนุกกับการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ที่ต้องใช้คำว่าสนุก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบเปลี่ยน จะคิดว่าอยู่แบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องเปลี่ยน การจะทำให้สนุก ที่แอคคอมฯ เรามีหลักสูตรที่ช่วยผู้บริหาร “ Leading in the age of disruption” ก่อนมาร่วมงานกับแอคคอมฯ ตุ้มทำงานในองค์กรที่มีพลวัตรสูงมากในกลุ่ม Telecommunication ทำมานานกว่าสิบห้าปี ตุ้มยังรู้สึกว่า หลักสูตรนี้ดีจริงและตอบโจทย์ยุคนี้ที่สุดแล้ว”

 

อาจารย์ตุ้มปรับตัวอย่างไร จากการทำงานในองค์กรมาเป็นวิทยากร โค้ช และที่ปรึกษา

เมื่อมาอยู่ในบทบาทวิทยากร โค้ช และที่ปรึกษาเต็มตัว มี 2 เรื่องใหญ่ๆ สำหรับตุ้มเองในการปรับตัว คือ

1. ด้านความรู้ความสามารถ คือ ต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ให้รู้ลึก รู้เร็ว รู้รอบ ในแง่มุมต่างๆ ทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการบริหารคน และบริหารงานในยุคดิจิทัล

2. ความแตกต่างด้านคน และวัฒนธรรม คือ ตอนนี้ตุ้มต้องเจอกับคนในองค์กรต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงลงมาจนถึงระดับปฏิบัติการ ซึ่งแน่นอนย่อมมีความหลากหลาย ทั้งวัฒนธรรมองค์กร กระบวนการทำงานที่แต่ละองค์กรหล่อหลอมมาแตกต่างกัน ซึ่งต้องใช้จิตวิทยาในการเข้าใจ เข้าถึงพฤติกรรมมนุษย์อย่างมาก แล้วค่อยปรับๆ ตัวเองไปหาเขาด้วยความเข้าใจ 

เจียมจิต จิวะสิทธิกุล Vice President , Executive Coach and Instructor ของ บริษัท แอคคอม แอนด์ อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ แอคคอมฯ

หนึ่งในโค้ชมากฝีมือของ แอคคอมฯ ผู้เคยผ่านงานประจำในอุตสาหกรรมต่างๆ มาหลากหลายในสายงานด้านทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาองค์กร หรือ HR & OD มาจนอยู่ในระดับผู้บริหารสูงสุดของสายงาน HR ประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการบุคลากรจึงมีอยู่เต็มเปี่ยม ขณะเดียวกันด้วยใจที่รักด้านการ ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร พัฒนาองค์กร ทำให้เธอตัดสินใจหันมาทำอาชีพวิทยากรและเป็นโค้ชอย่างเต็มตัว

อาจารย์เจียมจิตมองว่าการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนต้องมาจากการพัฒนาคนหรือพนักงานในองค์กร เพราะฉะนั้นการพัฒนาบุคลากรจึงเป็นหัวใจสำคัญของทุกๆ องค์กร ซึ่งไม่หยุดเพียงแค่การพัฒนาธุรกิจ แต่ยังต้องพัฒนาทีมงานและพัฒนาองค์กรไปพร้อมๆ กัน

อาจารย์เจียมจิตเล่ากระบวนการทำงานของแอคคอมฯ ว่า ลูกค้าจะมี 2 แบบ คือลูกค้าที่มีโจทย์ของตัวเองว่าต้องการอะไรและ แอคคอมฯ สามารถเข้าไปช่วยจัดเตรียมโปรแกรมการพัฒนาที่มีให้เหมาะสมกับความต้องการนั้น

และอีกประเภทหนึ่งคือลูกค้ากลุ่มที่ให้ แอคคอมฯ เข้าไปช่วยเป็นที่ปรึกษาองค์กร เช่นให้ไปช่วยวิเคราะห์องค์กรว่าปัญหาอยู่ที่ใด และควรจะแก้ไขปัญหาและพัฒนาในด้านใดอย่างไรก็ตามเป้าหมายคือการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ที่ต้องการพัฒนาองค์กรไปตามที่เขาต้องการ

อาจารย์เจียมจิต ยกตัวอย่างกรณีหากลูกค้ามีปัญหาพนักงานลาออกจำนวนมาก แต่ไม่ทราบสาเหตุ ทางทีมงานก็จะเข้าไปช่วยวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ก็เสนอว่าควรจะทำ Exit Interview หรือการสัมภาษณ์พนักงานที่ยังทำงานอยู่ด้วย คือ Stay Interview แทนการสัมภาษณ์พนักงานที่ลาออกหรือ Exit Interview อย่างเดียว เพื่อทำให้องค์กรได้รับทราบข้อมูล เพื่อนำไปพัฒนาออกแบบโปรแกรมที่เหมาะกับองค์กรของเขามากยิ่งขึ้น

โดยปัจจัยที่ทำพนักงานลาออกมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องหัวหน้างานซึ่งอาจมาจากภาวะผู้นำ ดังนั้นแอคคอมฯ สามารถเข้าไปช่วยได้ โดยมีโปรแกรมยอดนิยมคือ Leadership Development Program เป็นหนึ่งในโปรแกรมที่แอคคอมฯ ภูมิใจมาก เนื่องจากเพิ่งได้รับรางวัล “Best Leadership Development”

สาเหตุที่รองลงมาคือ เรื่องที่มาจากโครงสร้างองค์กรหรือโครงการการบริหารต่างๆ เช่น สายการบังคับบัญชา โครงสร้างเงินเดือนซึ่งเรื่องนี้สามารถช่วยได้โดยให้คำปรึกษากับทีม HR ขององค์กรเพื่อแก้ไข และปัจจัยที่3 อาจจะมาจากปัญหาในระดับบุคคลเช่นทีมขาย ทีมการตลาด ทีมการผลิต ซึ่งแอคคอมฯ เข้าไปช่วยดูว่ามีโปรแกรมอะไรที่สามารถช่วยเหลือได้บ้าง เช่นโปรแกรมการสื่อสาร และการสร้างแรงจูงใจต่างๆ

“เราไปช่วยเขาตั้งแต่ ออกแบบโปรแกรมพัฒนาเสร็จ เรามีโปรแกรมติดตามผลของเขา ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แบบทางการคือเรามีจัด Follow-up Sessions ด้วย แบบไม่เป็นทางการคือเขาจะมีเบอร์อาจารย์ มีไลน์อาจารย์ด้วยเขาอยากให้ช่วยเหลืออะไรก็สามารถติดต่อได้ เราไม่ได้ธุรกิจจ๋า
นี่คือเสน่ห์ของ แอคคอมฯ ”

 

 3 โจทย์ใหญ่ขององค์กร

 อาจารย์เจียมจิต เล่าถึงโจทย์ขององค์กรที่มักจะพบว่าประกอบด้วย 3 เรื่อง คือ

1. องค์กรเปลี่ยนแปลงไม่ทันกับโลกปัจจุบัน เราก็จะทำเรื่อง Change Management อาจจะเพราะองค์กรเปลี่ยนไม่ทันหรือผู้นำไม่รู้สึกว่าต้องเปลี่ยน เราจะใช้โปรแกรม ที่ดีมากคือ Navigating in times of change คือสร้างผู้นำให้สามารถพัฒนาและนำพาทีมไปสู่การเปลี่ยนแปลงให้ถูกเรื่อง ถูกที่ ถูกเวลา

2. การพัฒนาภาวะผู้นำ เช่น มีผู้นำโตมาจากระดับ Supervisor แล้วมาเป็นระดับ Manager ระดับ Director เรามีโปรแกรมเตรียมความพร้อมให้พวกเขา เหมือนเตรียมความพร้อมให้เขาพร้อมเป็นผู้นำ เราก็จะมี 3 โปรแกรมคือ

• Leading yourself พัฒนาตัวเองก่อนเพื่อเตรียมตัวเป็นผู้นำ

• Leading your team เป็นผู้นำแล้วก็เตรียมให้เขาพัฒนา เป็นผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารเป็นผู้นำทีม

• Leading for success เป็นการนำทีม นำองค์กรใปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร

 3. คือปัญหาเรื่องการสื่อสาร สื่อสารในองค์กรอย่างไร สื่อสารต่างสไตล์สื่อสารอย่างไร สื่อสารต่าง Generation สื่อสารอย่างไร สื่อสารข้าม Fuction ทำอย่างไร บางทีทีมวิศวกรคุยกับเซลล์ไม่รู้เรื่อง ทีมเซลล์คุยกับบัญชีไม่รู้เรื่อง เรามีโปรแกรมการพัฒนาเรื่องทักษะการสื่อสารให้ประสบความสำเร็จ

 

 เมื่อก่อนนี้ หนึ่งในความท้าทายที่เผชิญอยู่คือ การที่คนไม่รู้ว่าตนเองต้องพัฒนา (Self-Awareness) คนจะไม่เรียนรู้ ไม่เปลี่ยนแปลง หากเขาไม่รู้ว่าเขาจำเป็นต้องพัฒนา ซึ่งเป็นความท้าทายที่สุดในทำงาน เมื่อมาร่วมงานกับแอคคอมฯ จึงได้คำตอบ เพราะเรามีเทคนิคและเครื่องมือเยอะมาก จึงไม่เป็นอุปสรรคอีกต่อไป

 

ในฐานะวิทยากรและโค้ช อาจารย์เจียมจิตเห็นความเปลี่ยนแปลงจากผลงานที่ได้ทำไป โดยวัดจาก 3 ระดับ คือ

• ระดับที่หนึ่งคือ ตัวผู้เรียนที่บอกมาเองว่าได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียนไปอย่างไร บางครั้งบอกในห้องเรียน บางครั้งไลน์มาคุยหรือบางครั้งโทรมาเล่าให้ฟัง ว่านำไปใช้แล้วได้ผล

• ระดับที่สองคือ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กรที่มาบอกฟีดแบ็ก ว่าผลการเรียนทำให้เป้าหมายดีขึ้นหรือการลาออกลดลง

• ระดับที่สามคือ ได้เห็นด้วยตนเองจากการเข้าไปใช้บริการในองค์กรที่เรียนกับเราไป ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการกลับมาเรียกใช้บริการ แอคคอมฯ ซ้ำ

 

อาจารย์เจียมจิต ปิดท้ายด้วยการเล่าถึงความภูมิใจในบทบาทที่ทำอยู่ในปัจจุบันว่า กับบทบาทวิทยากรกรได้ทำให้คนได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เปิดโลกทัศน์ ได้รับคำถาม เสียงปรบมือ การตอบรับจากผู้เรียน การโทรศัพท์มาพูดคุยด้วย คือสิ่งที่ทำให้ตัวเธอภาคภูมิใจในทุกวันที่ทำงาน

ด้านการเป็นโค้ช เธอบอกว่า การทำให้โค้ชชี่ หาทางออกได้ด้วยตัวเอง มีวิธีคิดที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถเข้าใจสถานการณ์ของตัวเอง มีแรงบันดาลใจ นอกจากความภูมิใจแล้วยังถือว่าได้บุญด้วยในตัว

กับบทบาทที่ปรึกษา การเข้าไปช่วยวิเคราะห์องค์กร ออกแบบพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ให้ ทำให้เกิดความภูมิใจว่าได้ช่วยฝ่ายทรัพยากรบุคคลขององค์กร ได้ใช้ความรู้ที่มีไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้งตัวเองและองค์กรลูกค้า

อาจารย์เจียมจิตบอกว่า “บางวันกลับบ้านสลบนะ แต่มีความสุขทุกวัน ไม่เคยเบื่อที่จะสอนและไม่เบื่อที่จะโค้ช เป็นอาชีพที่มีความสุขที่สุดในทุกวัน” 

การก้าวเข้าสู่โลกยุค 4.0 ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับบุคคลและองค์กรที่จะปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อรุกและรับมือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้จะมีบางคนและบางองค์กรยังคงมองว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นยังมาไม่ถึงตนเองหรือองค์กร แต่เราก็สัมผัสได้ถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้าสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้

​เคลาส์ ชวาบ ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารสภาเศรษฐกิจโลก เขียนไว้ในหนังสือ “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่” แปลโดย “ศรรวริศา เมฆไพบูลย์” ถึงเหตุผลที่ทำให้เขาเชื่อว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ได้เริ่มขึ้นแล้ว ว่าประกอบด้วย การวิวัฒน์ในครั้งนี้มีจังหวะที่เร็วแบบทวีคูณ อันเป็นผลจากโลกที่เชื่อมโยงกันในหลากหลายมิติ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีใหม่กว่าและมีความสามารถมากยิ่งขึ้น

​การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้เป็นผลจากการปฏิวัติดิจิทัลและผสานเทคโนโลยีหลากหลาย นำไปสู่การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนทั้งในแง่เศรษฐกิจ ธุรกิจ สังคม และบุคคล

​และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆทั้งในลักษณะข้ามประเทศ และภายในประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมต่างๆ

คลื่นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้หลายอุตสาหกรรมเริ่มสูญหายไป ขณะเดียวกันก็มีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมา รวมถึงองค์กรที่มีอยู่ ปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น

​การจะปรับเปลี่ยนองค์กร ไม่ใช่เพียงซีอีโอหรือผู้บริหารองค์กรเท่านั้นที่จะบรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวังได้ หากต้องใช้สรรพกำลังของทั้งองค์กร การมีทัศนคติมีความมุ่งมั่นในการมองหาหนทางแก้ไขปัญหา มองหาโอกาสใหม่ๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจเดิมที่มีอยู่ ให้มีความสามารถในการแข่งขันในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วนี้ได้

บุคลากรในแต่ละองค์กรทั้งหมดจึงเป็นทั้งกลไกและหัวใจสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าไปได้อย่างมีกำลังวังชา มีความคล่องตัว สามารถร่วมมือกันจัดการปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นและมองหาหนทางใหม่ๆ ให้กับองค์กรได้ การพัฒนาองค์กรในยุคปัจจุบันจึงเน้นที่การเสริมสร้างพัฒนาทักษะคนในองค์กรให้มีความพร้อมกับโลกยุคใหม่ ซึ่งบางครั้งการพัฒนาคนในองค์กรจำเป็นต้องใช้มืออาชีพมาช่วยพัฒนาบุคลากรตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานระดับต่างๆ ขององค์กร

ผู้ช่วยที่จะมาร่วมพัฒนาองค์กร พัฒนาบุคลากร จึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในโลกยุคนี้ และหนึ่งในบริษัทที่ปรึกษา
ด้านการพัฒนาองค์กรและพัฒนาบุคลากรที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย เป็นที่ยอมรับของวงการอุตสาหกรรมต่างๆ คือ บริษัท แอคคอม แอนด์ อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ ACCOMM (แอคคอมฯ)

 

Passion Drives Company

 ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ Chief Learning Officer และ Managing Director บริษัท แอคคอม แอนด์ อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เล่าย้อนถึงเบื้องหลังแนวคิดการเปลี่ยนตัวเองจากการทำงานที่สายการบินต่างประเทศขนาดใหญ่กว่า 15 ปี มาเป็น
ผู้ประกอบธุรกิจเองว่า “เกิดจากความชอบเรื่องการพัฒนาองค์กรและพัฒนาคน และด้วยประสบการณ์ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลทั้งงานด้านบริหาร และด้านการพัฒนาภาวะผู้นำและบุคลากร ทำให้ได้เรียนรู้ ได้พบกับที่ปรึกษาเก่งๆ จำนวนมาก และตนเองก็เป็นคนชอบเรียนรู้เรื่องใหม่ๆอยู่เสมอ หน้าที่ของเราตอนนั้นคือ ต้องนำเทคนิคต่างๆ มาปรับ (Customize) ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของบุคลากรในเอเชียด้วย จึงต้องศึกษาลึกซึ้งในทุกด้าน เมื่อคิดจะมาทำธุรกิจของตัวเองจึงอยากทำงานด้านการพัฒนาต่อไป และมองว่าหลากหลายเทคนิคดีๆ อยากให้องค์กรในประเทศไทยได้รับด้วย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกได้”

ดร.อัจฉราบอกว่า “ตอนเริ่มทำธุรกิจแรกๆ ก็หวั่นๆ อยู่เหมือนกัน ว่าเราจะไปรอดไหม เพราะในธุรกิจนี้คนที่เข้ามาทำก่อนแล้วไม่สำเร็จก็มี แต่ถือได้ว่าเราโชคดีมาก ลูกค้าสะท้อนกลับมาว่า โพรดักส์ที่เราจับมีเอกลักษณ์ ใช้ได้จริงในการทำงาน และด้วยประสบการณ์ที่เราทำงานในองค์กรมาหลายบทบาท เราเข้าใจลูกค้าได้เร็ว ที่สำคัญเรามีเทคนิคการถ่ายทอดที่ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ลูกค้าก็ติดใจเราอย่างรวดเร็ว และบอกต่อๆ กันไป” 

​แอคคอมฯ ช่วยสร้างความสำเร็จให้ลูกค้าผ่านวิธีการต่างๆเช่น Organization Development, Team Development และ People Development ด้านการพัฒนาคน ลูกค้ามีตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง ถึงพนักงานที่ติดต่อกับลูกค้า โดยมีรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ มีทั้งในห้องอบรม และบางส่วนเป็น on-line  กลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็ก และการโค้ชตัวต่อตัว รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาช่วยองค์กรออกแบบในสิ่งที่องค์กรต้องการ เช่น การออกแบบการเรียนรู้ การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์และการพัฒนาการบริการลูกค้ายุคใหม่ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ไปจนถึงการประเมินผล เป็นต้น

ดร.อัจฉรา บอกว่า “ปัจจุบันถึงแม้ลูกค้าจะมีตัวเลือกมากมาย แต่ลูกค้าจะฟังเสียงจากผู้ที่ใช้บริการมาแล้ว ลูกค้ามองหาความคุ้มค่าของการลงทุนไป เราเคยทำงานในองค์กรมาก่อน เราเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร คุยภาษาเดียวกัน ทำให้ลูกค้ามีความสุขเวลาทำงานกับเรา เราอยู่ในตลาดมา 12 ปี ลูกค้ายังใช้บริการของเราอย่างต่อเนื่อง”

ในประเทศไทย แอคคอมฯ เข้าไปทำงานกับแทบทุกอุตสาหกรรม ทั้งด้านการสื่อสาร การเงิน ธุรกิจสุขภาพ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเคมิคอล ด้านการท่องเที่ยว หรืออาจจะเรียกได้ว่า แอคคอมฯ เข้าไปให้บริการมาแล้วแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

 

 

 

Idea. Inspire. Implement 

 ​Idea. Inspire. Implement คือ สิ่งที่ทำให้ลูกค้าเดินมาหา แอคคอมฯ เพราะแอคคอมฯ ไม่เคยหยุดพัฒนาเครื่องมือที่ก้าวนำต่างๆ ในการพัฒนา ซึ่งลูกค้ามองว่าสำคัญในการที่จะช่วยให้เขาเติบโตไปกับการเปลี่ยนแปลงแบบเชิงรุก

​ดร.อัจฉรา อธิบาย 3 I ของ แอคคอมฯ ว่า

​“Idea เรามีแนวคิดใหม่ๆ ช่วยให้ลูกค้าปรับตัวเชิงรุกกับ VUCA World (Volatility (V), Uncertainty (U), Complexity (C), Ambiguity (A) ได้ทัน

Inspire เวลาเราพูดถึงองค์กร ก็ประกอบไปด้วยคนที่มีความหลากหลาย ส่วนใหญ่คนไม่ได้เปลี่ยนด้วยเหตุและผลเท่านั้น คนเปลี่ยนเพราะความรู้สึก เรื่องของอารมณ์ การที่ที่ปรึกษาและโค้ช หรือวิทยากรของเรา Inspire คนให้พัฒนาและปรับเปลี่ยนได้ จะช่วยองค์กรได้เยอะมาก เวลาดิฉันคัดเลือกคนเข้ามาทำงานจะมองหาคนที่ Inspire ผู้อื่นได้ดี

​Implement สำหรับเรา คือการช่วยให้ลูกค้านำไปปฏิบัติ เครื่องไม้เครื่องมือของเราช่วยให้องค์กรนำไปใช้ได้ทันทีไม่ต้องยุ่งยาก เป็นเหตุผลว่าทำไมบาง Process เราลงทุนซื้อลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องจากเมืองนอกมาเลย เพราะเขาตกผลึกมาเรียบร้อยแล้ว เรานำมาปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ของแต่ละองค์กร เพื่อให้ลูกค้านำไปใช้ได้ทันที”

ดร.อัจฉรา ยกตัวอย่างว่า ช่วงนี้ เรื่องที่องค์กรให้ความสนใจใช้บริการจาก แอคคอมฯ จำนวนมาก คือการสร้าง Mindset และ Enabler รวมถึงการสร้างความคล่องตัว (Agility) ในการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผล

​ดร.อัจฉราอธิบายว่า เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลง ทุกคนในองค์กรต้องร่วมด้วยช่วยกัน องค์กรจึงจะเปลี่ยนไปตามเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ปัญหาที่พบบ่อยคือ การสื่อสารเพื่อให้ทั้งองค์กรเห็นภาพเดียวกันจากระดับบริหารลงมา มักเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือมีการสะดุด เหมือนพายเรือวนไป วนมา ไม่ไปถึงจุดหมายปลายทางสักที เพราะพายกันไปคนละทิศทาง

“ในการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารที่เรียบเรียงได้ดี จะทำให้คนเข้าใจเหตุผล เป็นการสร้างความเข้าใจ แต่นั่นไม่เพียงพอในการสื่อสารทางเดียว หากต้องการสร้างการยอมรับด้วย คนรับสารจำเป็นต้องมีอารมณ์ร่วม (Emotional Engagement) จึงจะสร้างการจดจำ และลงมือทำ”

“ส่วนการโค้ช เป็นการสนทนาแบบสองทาง เป็นกระบวนการที่จำเป็น หากต้องการให้คนในองค์กรมี Growth Mindset และพร้อมที่เรียนรู้ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และหากต้องการความสำเร็จที่ยั่งยืน”

  

Lifetime Partner

คำนี้เป็นคำที่ลูกค้ามอบให้ แอคคอมฯ ซึ่งเป็นมุมมองว่าลูกค้ามอง แอคคอมฯ เป็นดั่งหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ของเขา ซึ่งกว่าที่เราจะได้รับคำชื่นชมเช่นนี้ได้ เบื้องหลังคือคุณภาพและบริการ 

เคล็ดลับสำคัญที่ ดร.อัจฉรา เปิดเผยคือ “เราจะพัฒนาตัวเราเองให้ทันสมัยตลอดเวลา เราจะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ให้อาจารย์ในบริษัทเสมอ นอกจากนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ก็สำคัญ ตัวอย่างเช่น เราปรับเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาให้เหมาะสมกับคนรุ่นต่างๆ ในองค์กร เช่น นำเทคโนโลยี Blended Learning เข้ามาใช้ เพื่อให้ทางเลือกในการเรียนรู้กับลูกค้าทุกกลุ่มได้”​

“เพราะลูกค้าต้องการนำไปใช้งานเลย เขาต้องการฝึกด้วยสถานการณ์จริง ไม่ใช่แค่ในห้องสัมมนาเท่านั้น ในบางกลุ่ม เราพยายามใช้การเรียนรู้ในห้องเรียนให้น้อยที่สุด เพราะเขาต้องการอิสระในการเรียนมากขึ้น เขาจะชอบให้หั่นเป็นย่อยๆ น้อยลง ต่อครั้ง แต่ได้มาฝึกปฏิบัติบ่อยๆ หรืออยากจะเข้ามาเรียนใน Web-based Learning ที่เราจัดให้ ตอนไหนก็ได้ที่สะดวก เราก็สนุกนะในการเปลี่ยนไปตามกลุ่มและเวลา โชคดีที่คนของเราไม่ติดรูปแบบเดิมๆ และเข้าใจว่างานของเราคือการช่วยให้คนทุกกลุ่มรักการเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติได้” 

การทำความเข้าใจเป้าหมายของลูกค้าและช่วยให้ลูกค้าได้รับความคุ้มค่ามากที่สุด เป็นอีกเรื่องที่ แอคคอมฯ เน้น ดร.อัจฉราเล่าว่า “บางทีลูกค้ามาติดต่อเรา ต้องการทำหลายอย่าง เรามักจะสอบถามก่อนว่า ตอนนี้อะไรที่เป็น Priority ของเขา เขาอยากจะเปลี่ยนแปลงแล้วได้ผลลัพธ์อะไร อยากเห็นอะไร ตัวอย่างเช่น บอกว่าอยากจะพัฒนาภาวะผู้นำ ก็ต้องถามก่อนว่า อีก 2-5 ปีข้างหน้าอยากให้ผู้นำสร้างความสำเร็จอะไร เขาต้องการ Performance และ Behavior ด้านไหน ต้องเอาตัวนี้ตั้ง แล้วเราจะช่วยออกแบบหรือแนะนำเขาได้ ไม่อย่างนั้นลูกค้าจะเสียเงินมากเกินไป แล้วไม่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง”

เมื่อกล่าวถึงอุปสรรคในธุรกิจ ดร.อัจฉรา เล่าให้ฟังว่า อยากจะมีทีมที่ใหญ่กว่านี้ เพื่อที่จะสามารถช่วยลูกค้าได้ครอบคลุมมากขึ้น บางทีลูกค้ารอข้ามปีก็มี เพราะอยากให้ แอคคอมฯ ทำให้จริงๆ แต่ติดที่ที่นี่ให้ความสำคัญและใช้เวลาในการคัดเลือกและพัฒนาคนที่มาร่วมงานด้วยอย่างมาก เพราะอยากให้ลูกค้าได้งานที่มีคุณภาพ

ดร.อัจฉราอธิบายคุณสมบัติคนที่ แอคคอมฯ เลือกเช่น “มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นสูง เวลาเขาไปสอนต้องให้เกียรติลูกค้า รู้จักวิธีการบริหารอารมณ์ตนเอง ควบคุมไดนามิกของคลาสได้ ซึ่งบางทีอาจจะต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเก่ง”

​จึงไม่น่าแปลกใจที่องค์กรทุกขนาดให้ความสนใจติดต่อมาที่ แอคคอมฯ เมื่อต้องการพัฒนาองค์กร พัฒนาผู้บริหาร และบุคลากร การเตรียมความพร้อมองค์กรเชิงรุกเพื่อก้าวและเติบโตไปกับความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่สำคัญของโลกยุค 4.0 ที่หากองค์กรใดเตรียมตัวไม่ทันก็อาจพลาดเป้าหมายที่คิดวางไว้ได้

มุมมองเรื่องการเปลี่ยนแปลง

“ต้องเตือนตนเองบ่อยๆ ว่าโลกใบนี้ ไม่เหมือนในอดีตแล้ว มีทางเลือกให้เราเยอะขึ้น มีตัวช่วยมากขึ้น มีวิธีการและเทคโนโลยีมากขึ้น อย่าปล่อยให้ตนเองตัดสินใจ โดยยังไม่ได้สำรวจความเป็นไปได้ต่างๆ เพราะจะทำให้เสียโอกาสดีๆ ไป”

“เมื่อตั้งคำถามให้ตัวเองบ่อยๆ จะพบว่า ข้อจำกัดที่ตนเองสร้างขึ้นมาในใจ มักยิ่งใหญ่กว่าข้อจำกัดจากภายนอกเสมอ สำรวจใจและนิสัยตนเองบ่อยๆ ทั้งความคิดและนิสัยที่ไม่ดี ไม่ทันสมัย ทิ้งไป อย่าไปเสียดาย เปรียบเหมือนคนที่ชอบเก็บของเดิมๆไว้เต็มตู้ แล้วของใหม่จะมีที่วางได้อย่างไร”

“ในการเปลี่ยนแปลง พยายามให้พนักงานมีส่วนร่วมเยอะๆ เพราะคนที่อยู่หน้างานและใกล้ชิดกับลูกค้าที่สุด คือคนที่มีข้อมูลที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือข้อมูลด้านความคาดหวังและพฤติกรรมของลูกค้า ถ้าการเปลี่ยนแปลงของเราไม่สร้างคุณค่า (Value) หรือแก้ปัญหาให้ลูกค้าของเรา จะทำให้เสียเวลา และทำให้เกิดการต่อต้านโดยไม่จำเป็น”

 

 

 รางวัลที่แอคคอมฯ ได้รับ

​การได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆ เป็นเหมือนเครื่องยืนยันถึงความสามารถขององค์กร ที่ แอคคอมฯ ก็เช่นเดียวกันที่ได้รับรางวัลต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ดร.อัจฉรา ได้รับรางวัล Woman Leadership Award จาก CMO Asia ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน ก็ได้รางวัลจากงานประกาศรางวัล Golden Globe Tigers Award - Excellence in Training and Development 2018 จัดโดย CHRO Asia, Thought Leaders, World CSR Day ณ ประเทศมาเลเซีย 3 รางวัลประกอบด้วย

 • Excellence Award Training and Development Company of the Year (บริษัทอบรมและพัฒนายอดเยี่ยมแห่งปี)

 • Best Leadership Development Programme รางวัลโปรแกรมภาวะผู้นำที่ดีที่สุด

 • Best Coaching Programme รางวัลโปรแกรมการโค้ชที่ดีที่สุด

 

เรื่ิองโดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอคคอมแอนด์อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และโค้ชผู้บริหารที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ 

ในยุคดิจิทัล องค์กรเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วขึ้น Ray Kurzweil ผู้อำนวยการด้านวิศวกรรมของ Google ซึ่งเป็นทั้งนักประพันธ์ นักประดิษฐ์ และเป็น Futurist ที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง การทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่เขาทำนายไว้ ได้เกิดขึ้นจริงหลายประการ เขาได้เคยกล่าวทำนายไว้ว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เราเคยเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในอีกสองหมื่นปีข้างหน้า อาจจะมารุมกันเกิดขึ้นภายในร้อยปีข้างหน้านี้ก็เป็นได้

ย้อนกลับไปในอดีต เราคงไม่คาดคิดว่าร้านขายหนังสือที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น Barnes & Noble จะปิดสาขาต่างๆ ลงอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเราอยากอ่านหนังสือจากต่างประเทศเล่มใด ก็สั่งซื้อได้ทันทีเพียงปลายนิ้ว อีกทั้งในอดีตเราคงไม่คาดคิดว่า Blackberry ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย จะถูกกลืนหายไปด้วย “WhatsApp” และ “Line” อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงรอบๆ ตัวเรา ไม่ใช่เพียงเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีทั้งธุรกิจที่หายไป และมีธุรกิจที่เกิดใหม่ ในด้านการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แหล่งเงินทุน เข้าถึงเทคโนโลยี และความสามารถ ต่างๆ ได้มากกว่า CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกเมื่อ 20 ปี ที่แล้ว ที่สำคัญเข้าถึงด้วยความรวดเร็วกว่าอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็แล้วแต่ หากเราคิดเชิงรุกเพื่อก้าวไปกับการเปลี่ยนแปลง หรือปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้เร็ว เราก็จะยืนหยัดได้อย่างเป็นสุข ดังที่มีคำพูดว่า “ถึงแม้เราจะเปลี่ยนทิศทางลมไม่ได้ แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนใบเรือและการเดินเรือของเราได้”

ในการนำ การเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผล มีขั้นตอนต่างๆ เช่น ทำให้บุคลากรเข้าใจและเห็นภาพของความจำเป็นเร่งด่วน การสร้างวิสัยทัศน์ของความสำเร็จ เป็นต้น ที่สำคัญ การคิดเชิงรุก เช่น ระบุอุปสรรคที่กีดขวางการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้เราปรับตัวและจัดการกับอุปสรรคนั้นได้ง่ายขึ้น อุปสรรคที่องค์กรต่างๆ มักเผชิญเมื่อพยายามที่จะบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์กรให้ทันกาลคือ

1. ตกหลุมพรางในการใช้เวลามากไปกับผู้ที่ต่อต้านและมองการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงด้านลบ

2. ผู้นำทีมขาดทักษะในการโค้ชบุคคลให้ออกจาก Comfort Zone และมุ่งมั่นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

3. ผู้นำทีมขาดทักษะในการโค้ชทีมให้ยืดหยุ่นและคล่องตัวต่อการ เปลี่ยนแปลง

4. องค์กรเผชิญกับความยากลำบากในการปรับ Mindset ของผู้บริหาร และผู้จัดการจากการควบคุม (Control) มาเป็นการโค้ชและสนับสนุนให้บุคลากรเรียนรู้อย่างรวดเร็ว (Coaching and Facilitation)

5. การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) ในองค์กรยังเป็นรูปแบบเดิม ที่ไม่ได้ส่งเสริมกระบวนการที่ยืดหยุ่น คล่องตัว (Agility)

คำ ว่า “Agile” เป็นคำที่เริ่มใช้กันในกลุ่มงานเทคโนโลยี ซึ่งหมายถึงคล่องแคล่ว ว่องไว แต่ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่แทบทุกหน่วยงานมองหา ไม่ว่าใน การพัฒนาสินค้าและบริการ ในด้านพัฒนาองค์กร และการบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ นั่นเป็นเพราะความรวดเร็ว (Speed) ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา ทีมหรือองค์กรที่ขาด “Agility” หรือโครงสร้างและ กระบวนการการทำงานที่มีความคล่องตัว จะเสี่ยงในการถูกคลื่นของการเปลี่ยนแปลงกลืนหายไป

เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทันกาล ผู้นำทีมต้องปรับตนเองและทีมได้เร็ว ลักษณะการทำงานจึงจำ เป็นต้องเปลี่ยนจากทีมใหญ่อุ้ยอ้ายให้เป็นทีมเล็กๆ เพื่อให้ขับเคลื่อนได้เร็ว มีการปรับเปลี่ยนบทบาทความรับผิดชอบบ่อยขึ้น เป้าหมายเปลี่ยนไปตามความต้องการของลูกค้า แต่เราจะเห็นว่าการบริหารคน ยังคงใช้รูปแบบเดิม เช่น ประเมินผลงานปีละสองครั้งคือกลางปีและปลายปกว่าลูกน้องจะได้รับ Feedback ในการปฏิบัติงาน ว่าจะต้องปรับปรุงอะไร บางทีก็สายเกินไป อีกทั้งการขึ้นเงินเดือน ไม่ได้สะท้อนผลงานที่ได้ ทุ่มเทต่อเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง เช่น ทีมที่สร้างความสามารถให้องค์กรปรับเปลี่ยนได้อย่างราบรื่น กลับไม่ได้รับผลตอบแทนที่เห็นได้ชัด เพราะ KPI ที่ใช้ในการประเมินผลงานยังเป็นหัวข้อเดิมที่ตั้งไว้เมื่อตอนต้นปี ในขณะที่งานจริงๆ เปลี่ยนแปลงไประหว่างปี

จะเห็นได้ว่า องค์กรที่สามารถสร้างความคล่องแคล่วต่อการเปลี่ยนแปลงได้ จะลงทุนในการพัฒนาทักษะการโค้ชให้กับผู้บริหาร และผู้จัดการ มีองค์กรที่เริ่มใช้การโค้ชเข้ามาแทนที่การประเมินผลงานแบบดั้งเดิม โดยให้ผู้บริหารและผู้จัดการใช้เวลาในการโค้ชเพื่อพัฒนาบุคลากรในทีมและทีมงาน และประเมินบุคลากรในด้านความคืบหน้าของการเรียนรู้ โดยเริ่มจากช่วยให้บุคลากรจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายและงาน ให้ Feedback ในการปฏิบัติ ใช้การสนทนาแบบโค้ชเพื่อดึงศักยภาพในตัวบุคลากรด้านที่สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ และสอดคล้องกับแผนการเรียนรู้เพื่อสร้างสมรรถนะที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และสร้างให้เขาเป็นผู้นำที่ดี

ไม่ว่าจะเราจะชอบการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ตาม ท่ามกลาง VUCA World เราต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว คาดเดายาก ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคลุมเครืออย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ (VUCA: Volatility พลิกผัน, Uncertainty ความ ไม่แน่นอน, Complexity ความซับซ้อน และ Ambiguity ความคลุมเครือ)

เพื่อเสริมความพร้อมให้กับองค์กรในการเปลี่ยนแปลงได้ทันกาลและมีประสิทธิภาพ การสร้างทักษะการโค้ชให้กับผู้นำทั้งทักษะ การโค้ชบุคคล และการโค้ชทีมให้มีความ คล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นหนึ่งใน กลไกที่สำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อความ พร้อมในการเปลี่ยนแปลง ให้มีทั้งความยืดหยุ่น คล่องตัว (Agility) และศักยภาพในการก้าวไปกับ การเปลี่ยนแปลงเชิงรุกได้ทั้งสามระดับ คือระดับ กระบวนการในองค์กร (Process) ระดับทีม (Team) และระดับบุคคล (Individual) อีกด้วย

Page 3 of 3
X

Right Click

No right click