กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets: SCB FM) เปิดเผยว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วตามราคาทองคำที่ปรับสูงขึ้นหลังสงครามอิสราเอลกลับมาปะทุ อีกทั้ง เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นหลัง BOJ ขึ้นดอกเบี้ยตามตลาดคาดก็เป็นปัจจัยหนุนการแข็งค่าของเงินบาท นอกจากนี้ ตัวเลขตลาดแรงงานและเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่อ่อนแอกว่าคาดเป็นปัจจัยที่ทำให้บาทแข็งค่าขึ้นมาก่อนหน้านี้ด้วย ในระยะต่อไป ต้องจับตาผลการประชุม Fed คืนนี้ และการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่อาจทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น กดดันให้บาทกลับมาอ่อนได้ มองกรอบเงินบาทราว 35.50-36.00 ในช่วง 1 เดือนจากนี้
นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เงินบาทในเดือนที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นเร็วเป็นผลจากหลายสาเหตุ คือ 1) ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอกว่าคาด ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ที่ออกมาต่ำกว่าคาด 3 เดือนติดต่อกัน 2) เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องหนุนให้เงินบาทแข็งค่าตาม โดยเงินเยนแข็งค่าจากที่ตลาดมองว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะขึ้นดอกเบี้ยได้ ขณะที่ดอกเบี้ยในสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลง ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยแคบลง ซึ่งล่าสุด BOJ ก็ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไป 15 bps มาอยู่ที่ 0.25% ทำให้เงินเยนแข็งค่าต่อ และ 3) ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์โลกที่กลับมาปะทุขึ้น หลังอิสราเอลโจมตีเบรุต ทำให้ราคาทองคำสูงขึ้น หนุนให้บาทแข็งค่าขึ้นในช่วงข้ามคืน
สำหรับมุมมองในระยะข้างหน้า มองว่าเงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าได้ในระยะสั้นนี้ หากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยดังที่ตลาดคาด ซึ่งจะทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Treasury yields) สูงขึ้น และกดดันให้บาทอ่อนค่าได้ นอกจากนี้ การเลือกตั้งสหรัฐฯ อาจทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์ยังแข็งค่าต่อ และความไม่แน่นอนการเมืองไทยอาจส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายอาจยังไม่ไหลกลับไทยได้เร็วนัก จึงมองเงินบาทราว 35.50-36.00 ในช่วง 1 เดือนนี้
ในระยะกลาง-ยาว การเลือกตั้งสหรัฐฯ มีแนวโน้มทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐและ Treasury yields สูงขึ้น โดยหากโอกาสที่ Trump จะชนะการเลือกตั้งมีสูงขึ้น อาจส่งผลให้สกุลเงินภูมิภาคและเงินบาทอ่อนค่า และเป็นความเสี่ยง Tail-risk ต่อเงินบาท โดย SCB FM พบว่า เงินบาทจะได้รับผลกระทบจากนโยบายขึ้น Tariffs ทางอ้อม ผ่านแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่จะแย่ลง และ Correlation ระหว่างบาท-หยวนที่สูง ทำให้บาทอ่อนค่าตามเงินหยวน ทั้งนี้ ในวันที่มีการประกาศขึ้นภาษีนำเข้า (Tariffs) ต่อสินค้าจีนในปี 2019 ที่ทำให้สกุลเงิน EM และเอเชียอ่อนค่าลง พบว่าเงินบาทไม่ได้อ่อนค่าชัดเจนนัก (Direct impact ต่ำ) นายแพททริกประเมินว่า หาก Trump ชนะการเลือกตั้งและขึ้น Tariffs ดังที่ประกาศไว้ เงินบาทจะมีความเสี่ยง (Tail-risk) ที่อาจอ่อนค่าไปสู่ระดับ 38.10 บาทได้ (โดยให้ปัจจัยอื่นคงที่ และให้เงินหยวนอ่อนค่าไปที่ 8 หยวนต่อดอลลาร์)
สำหรับมุมมองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล นายวชิรวัฒน์ บานชื่น นักกลยุทธ์ตลาดการเงินอาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (US Treasury yields) ที่ผ่านมาปรับลดลงเร็วจากเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอลง ทำให้ตลาดคาดการณ์ลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ และให้โอกาสการลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ราว 70% โดยนายวชิรวัฒน์ มองว่า Fed อาจลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. และ ธ.ค. ส่วนการประชุม Fed ในคืนวันพุธนี้ คาดว่าน่าจะยังไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. ชัดเจนนัก จึงเป็นความเสี่ยงให้ Treasury yields อาจมี Correction และปรับสูงขึ้นได้เล็กน้อย นอกจากนี้ มองว่าการ price-in ลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 มีมากเกินไป สะท้อนจาก GDP ไตรมาสที่ 2 ของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าตลาดคาด และล่าสุดมีการปรับเลข PCE เดือนก่อนขึ้น จึงมีสัญญาณว่าเงินเฟ้ออาจไม่ลดลงเร็วดังที่ตลาดบางส่วนกังวล ทำให้โอกาสที่ Fed จะลดดอกเบี้ยเร็วและแรงมีน้อยลง ดังนั้น Yields จึงอาจปรับสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันเล็กน้อยได้ อีกประเด็นที่ต้องจับตาคือ ประกาศของกระทรวงคลังสหรัฐฯ ที่จะออกแผนการออกพันธบัตรในระยะต่อไป ซึ่งนายวชิรวัฒน์ คาดว่าจะคงการออกพันธบัตรในไตรมาส 3 เท่าเดิม แต่มีโอกาสที่จะออกพันธบัตรมากขึ้นในไตรมาสสุดท้าย
สำหรับมุมมองอัตราดอกเบี้ยไทยนั้น ยังมองว่า กนง. อาจลดดอกเบี้ย 1 ครั้งปลายปีนี้ เนื่องจากความเปราะบางในภาคครัวเรือนอาจเริ่มส่งผลมายังอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งจะทำให้ความจำเป็นในการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายมีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี หากมาตรการ Digital wallet ดำเนินได้ในปีนี้ ก็อาจทำให้ กนง. เลื่อนการลดดอกเบี้ยออกไปได้ สำหรับมุมมองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาว มองว่ามีโอกาสปรับสูงขึ้นได้ จากแนวโน้มเงินทุนไหลออกตามการปรับน้ำหนัก Bond index ของ JP Morgan และความเสี่ยงที่อุปทานพันธบัตรรัฐบาลไทยอาจมีออกมามากขึ้นได้ในระยะต่อไป
บริการ Data center ไทยเติบโตอย่างรวดเร็วในทิศทางเดียวกับเทรนด์โลก ทั้งจากการให้บริการ Public cloud และบริการ Colocation
ความต้องการบริการ Data center เติบโตตามปริมาณการใช้งานข้อมูลที่เติบโตด้วยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคดิจิทัล โดยมูลค่าตลาดให้บริการ Data center ของโลกมีแนวโน้มขยายตัวราว 22%YOY ซึ่งเป็นการขยายตัวของบริการ Public cloud เป็นหลัก เช่นเดียวกับตลาด Data center ของไทย โดย SCB EIC คาดว่า มูลค่าตลาด Data center ของไทยมีแนวโน้มเติบโตราว 24%YOY ในปี 2024 โดยบริการ Public cloud ขยายตัวที่ราว 29%YOY จากปริมาณการใช้งานข้อมูลของผู้บริโภคที่ยังสูงขึ้นและการใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้นขององค์กรขนาดใหญ่ SMEs และ Startups ขณะที่การให้บริการ Colocation ซึ่งเป็นบริการรับฝาก Server ที่ผู้ให้บริการจะจัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดวางอุปกรณ์พร้อมโครงข่ายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยผู้เช่าจะจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ เองนั้น คาดว่าจะเติบโตราว 14%YOY จากการปรับแผนการจัดเก็บข้อมูลขององค์กรหลายแห่งที่หันมาใช้ระบบ Private cloud มากขึ้น และการขยาย Cloud region ของผู้ให้บริการต่างประเทศในไทย แม้ปัจจุบันการลงทุน Data center ในไทยจะเพิ่มขึ้นมาก แต่การพิจารณานโยบายสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ไทยก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำของอาเซียน
ปัจจุบันสิงคโปร์ถือเป็นศูนย์กลาง Data center ของอาเซียน แต่ด้วยนโยบายจำกัดการก่อสร้างศูนย์ Data center แห่งใหม่ของภาครัฐทำให้การขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่ทันต่อความต้องการใช้งาน ผู้ให้บริการ Data center ในสิงคโปร์จึงเริ่มมองหาประเทศใกล้เคียง ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย เพื่อลงทุน Data center แห่งใหม่ ทั้งนี้แม้ไทยเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่น่าสนใจในการลงทุน ทำให้มีการลงทุน Data center ของผู้ให้บริการต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่การพิจารณาสิทธิประโยชน์และนโยบายเพิ่มเติมของภาครัฐ อาทิ การขยายระยะเวลาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับ Data center ที่ตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงการสร้างระบบนิเวศที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล และการพัฒนาทักษะบุคลากร จะช่วยเพิ่มโอกาสดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ไทยก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำของอาเซียนได้
Build-to-Suit data center เป็นอีกเทรนด์ของบริการ Colocation ที่ได้รับความสนใจจากองค์กรขนาดใหญ่ที่มีปริมาณข้อมูลเติบโตอย่างรวดเร็ว และผู้ให้บริการ Cloud service ที่ต้องการตั้ง Cloud region
Build-to-Suit data center เป็นอีกหนึ่งรูปแบบบริการ Colocation ที่ผู้เช่าสามารถกำหนดและออกแบบพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะได้ แต่ใช้เม็ดเงินลงทุนที่น้อยกว่าและยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายภายใต้สัญญาเช่า บริการรูปแบบนี้มีแนวโน้มได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการ Data center ที่ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับการตั้ง Data center ภายในองค์กร รวมถึงผู้ให้บริการ Cloud service ที่ต้องการขยาย Cloud region ในหลายประเทศ เพื่อให้ทันต่อการรองรับความต้องการใช้งาน Cloud และให้การขยายตลาดทำได้รวดเร็ว อีกทั้ง บริการรูปแบบ Buit-to-Suit data center จะสร้างโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่มั่นคงให้แก่ผู้ให้บริการ Data center จากการทำสัญญาเช่าระยะยาวราว 5-10 ปี ซึ่ง ผู้ให้บริการต้องมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะทักษะและความเชี่ยวชาญของบุคลากรที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการ
การเติบโตของ Data center ยังส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น จึงทำให้ Sustainability เป็นประเด็นที่ผู้ให้บริการต้องให้ความสำคัญ
Data center เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ทำให้การบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพไฟฟ้าเพื่อรองรับช่วงเวลาที่มีการใช้งานสูงสุด (Peak traffic) เป็นความท้าทายสำคัญของผู้ให้บริการ Data center ควบคู่กับการมุ่งสู่ความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า การลดการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศ และการเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด อย่างไรก็ดี การผลักดันผู้ให้บริการ Data center ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น จำเป็นต้องอาศัยการกำหนดนโยบายรัฐควบคู่ด้วย อาทิ การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การสร้างความร่วมมือจากผู้ให้บริการ Data center และการกำหนดมาตรฐานการใช้พลังงาน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ Data center ของไทยเข้าใกล้ความยั่งยืนได้มากขึ้น
ทิศทางการเติบโตของ Data center จากเทรนด์โลกสู่ไทย
ในช่วงที่ผ่านมา มูลค่าตลาดให้บริการ Data center ของโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มขยายตัวราว 22%YOY ในปี 2024 ทั้งจากการให้บริการ Public cloud และบริการ Colocation ตามปริมาณการใช้งานข้อมูลที่เติบโตทั้งจากผู้บริโภค องค์กรต่าง ๆ และภาคธุรกิจ ด้วยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคดิจิทัล จึงทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมหาศาลและส่วนใหญ่ล้วนถูกจัดเก็บและประมวลผลบน Data center ที่มีพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่พร้อมทั้งมีระบบการเชื่อมต่อที่สามารถดึงข้อมูลออกมาใช้งานได้ตลอดเวลา โดย International Data Corporation (IDC) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดด้านโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลกได้คาดการณ์ปริมาณพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทั่วโลกทั้งภายในอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอย่างโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และภายในศูนย์ Data center จะเพิ่มขึ้นจาก 10.1 เซตตะไบต์ (ZB) ในปี 2023 เป็น 21.0 ZB ในปี 2027 หรือราว 18.5% CAGR อีกทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกในระยะข้างหน้า
มูลค่าตลาดการให้บริการ Public cloud ของโลกคาดว่าจะเติบโตที่ราว 23%YOY จากการใช้งานข้อมูลที่เพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระแสการใช้งานด้าน AI ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานข้อมูลของผู้บริโภค ทั้งการเก็บข้อมูลส่วนตัวอย่างรูปภาพและเอกสารต่าง ๆ และการใช้งาน Social Media, Video/Music Streaming และแอปพลิเคชัน ซึ่งคาดว่าจะเติบโตราว 21%CAGR ในช่วงปี 2024-2029 ตามรายงานปริมาณการใช้งานข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคทั่วโลกของ Ericsson รวมถึงการใช้งานในภาคธุรกิจและองค์กรที่ปรับใช้เทคโนโลยีมากขึ้น อย่างเช่น Internet of Things (IoT), Robotic, Smart devices และการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) โดยเฉพาะ Generative AI ซึ่งเป็นกระแสที่พูดถึงอย่างมากในปี 2023 และมีแนวโน้มใช้งานเพิ่มขึ้นอีกในระยะข้างหน้าสะท้อนจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารบริษัทชั้นนำทั่วโลกกว่า 1,360 รายในช่วง 22 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม 2024 เกี่ยวกับการใช้งาน AI ในองค์กรของ McKinsey พบว่า บริษัทที่มีการใช้งาน AI มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 72% จากการสำรวจในปีก่อนที่ 55% โดยการใช้งาน Generative AI เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 33% เป็น 65% อีกทั้ง นักพัฒนาซอฟต์แวร์ยังหันมาพัฒนาแอปพลิเคชันบน Cloud platform มากขึ้น เนื่องจากผู้ให้บริการ Cloud ได้พัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ช่วยในการตรวจเช็กโค้ดและทดสอบการใช้งานบน Platform ออกมาอย่างสม่ำเสมอ
ในส่วนของการให้บริการ Colocation จะเติบโตราว 14%YOY จากการปรับกลยุทธ์ขององค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งที่หันมาเช่าพื้นที่ฝาก Server ใน Data center ผ่านระบบ Private cloud แทนการเก็บข้อมูลในระบบ Server ภายในองค์กร (On-premise) เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าอินเทอร์เน็ต และลดค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ชำนาญการคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงลดความเสี่ยงจากระบบเชื่อมต่อที่ไม่เสถียรและอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้ง ยังสามารถปรับขนาดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลตามการใช้งานได้ง่าย
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันบริษัททั่วโลกนิยมจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Hybrid cloud ที่แบ่งการเก็บข้อมูลทั้งในระบบ Public cloud และ Private cloud ในรูปแบบ Colocation และ On-premise มากขึ้นสะท้อนจากรายงาน The Flexera 2024 State of the Cloud ของบริษัทซอฟต์แวร์ Flexera ในสหรัฐอเมริกาที่ได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารบริษัทชั้นนำทั่วโลกกว่า 750 ราย ในช่วงปลายปี 2023 พบว่า 65% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจจัดเก็บข้อมูลขององค์กรในรูปแบบ Hybrid cloud โดยใช้ Private cloud สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ต้องการความปลอดภัยสูง และมีการใช้งานในความหน่วงที่ต่ำ เช่น ธุรกรรมทางการเงิน ข้อมูลการติดต่อและใช้บริการของลูกค้า และจะเลือกใช้ Public cloud สำหรับจัดเก็บข้อมูลทั่วไป
Data center ไทยกับการก้าวสู่การเป็นผู้นำในอาเซียน
ปัจจุบันสิงคโปร์ถือเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลของอาเซียน ซึ่งรวมถึงการเป็นศูนย์กลางด้าน Data center ด้วย แต่การเติบโตมีข้อจำกัดจากนโยบายภาครัฐ โดยในช่วงปี 2016-2019 มูลค่าตลาด Data center ของสิงคโปร์เติบโตสูงต่อเนื่องราว 29%CAGR จากการขยายพื้นที่ของผู้ให้บริการในสิงคโปร์และการเข้ามา
ของผู้ให้บริการระดับโลกอย่าง Microsoft, AWS และ Apple อย่างไรก็ดี ด้วยพื้นที่ของสิงคโปร์ที่มีจำกัดยากต่อการตั้ง Data center ขนาดใหญ่, ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าใน Data center ที่สูง ซึ่งมีโอกาสกระทบต่อเสถียรภาพด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศในอนาคต และอัตราการปล่อย CO2 ต่อตารางเมตรของประเทศที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศใช้นโยบายจำกัดการก่อสร้างศูนย์ Data center แห่งใหม่บนเกาะสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2019 และผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวในช่วงปลายปี 2022 โดยอนุญาตให้ก่อสร้างเฉพาะ Data center ที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและได้รับการรับรองด้านการประหยัดพลังงานจากหน่วยงานภาครัฐ ทำให้การขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานที่ยังเติบโตต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราพื้นที่ว่างของ Data center ในสิงคโปร์ลดลงอย่างรวดเร็วเหลือต่ำกว่า 1% ในปี 2024 ตามรายงานของ Cushman & Wakefield ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มีสาขามากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก
ผู้ให้บริการ Data center ในสิงคโปร์เริ่มมองหาประเทศใกล้เคียง เพื่อขยายศูนย์ Data center รองรับความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ขยายตัวในสิงคโปร์ ซึ่งการเลือกพื้นที่ตั้งศูนย์ Data center นอกจาก
จะพิจารณาด้านต้นทุนและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจแล้ว ความสะดวกในการเดินทาง ความปลอดภัย ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐก็ถือเป็นปัจจัยที่ผู้ให้บริการให้ความสำคัญ โดยพื้นที่ที่ผู้ให้บริการสนใจพิจารณา ได้แก่
ไทยพาณิชย์จับจังหวะเทรนด์การซื้อขายตราสารหนี้ภาคเอกชนในตลาดรองฉายแววเด่น เพราะมีสภาพคล่องสูง เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามเป้าหมายของผู้ลงทุน เปิดตัวบริการใหม่ “ซื้อ-ขายหุ้นกู้ตลาดรองผ่านบัญชีหุ้นกู้ EASY-D” คัดสรรหุ้นกู้คุณภาพดี (Investment Grade) ให้ผู้ลงทุนรายย่อยช้อปหุ้นกู้มากมาย บน SCB EASY เพียงมีบัญชีหุ้นกู้ EASY-D สามารถซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การลงทุนยุคดิจิทัลที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย สอดคล้องกลยุทธ์ “Digital Bank with Human Touch” ดิจิทัลแบงก์อันดับหนึ่งด้านการบริหารความมั่งคั่ง พร้อมมอบประสบการณ์การให้บริการที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อในทุกช่องทางให้กับลูกค้า
นายแพททริก ปูเลีย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบัน นักลงทุนรายย่อยเริ่มให้ความสำคัญกับการลงทุนในหุ้นกู้ เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ และยังได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก และพันธบัตรรัฐบาล โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ผู้ลงทุนรายย่อยเป็นผู้ถือหุ้นกู้เอกชนในสัดส่วนสูงที่สุดที่ประมาณ 39% ของตลาด ด้วยมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 626,000 ล้านบาท
ปีที่ผ่านมา ธนาคารได้เปิดบริการบัญชีหุ้นกู้ EASY-D โดยผู้ลงทุนสามารถรวมหุ้นกู้ทั้งในรูปแบบใบหุ้นกู้และไร้ใบ และรับโอนหุ้นกู้จากที่อื่นมาฝากในบัญชีหุ้นกู้ EASY-D ไว้ในที่เดียว โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มนักลงทุนรายย่อยในการลงทุนผ่าน SCB EASY เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางด้านซื้อ-ขาย หุ้นกู้ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ธนาคารจึงได้เปิดตัวบริการใหม่ “ซื้อ-ขายหุ้นกู้ตลาดรองผ่านบัญชีหุ้นกู้ EASY-D” เพื่อเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อยเปลี่ยนเงินออมมาเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น โดยคัดสรรหุ้นกู้คุณภาพดี (Investment grade) ให้แก่ลูกค้า และเพิ่มสภาพคล่องในการลงทุนให้แก่ลูกค้าที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ อีกทั้งตอบรับผู้ลงทุนรายย่อยที่ให้ความสนใจซื้อขายหุ้นกู้เอกชนในตลาดรองมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะซื้อขายเปลี่ยนมือได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ลงทุนที่มีความต้องการหุ้นกู้ แต่ในเวลานั้นยังไม่มีเสนอขายในตลาดแรก สามารถเข้าถึงหุ้นกู้ได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งธนาคารคาดหวังว่าบริการ “ซื้อ-ขายหุ้นกู้ตลาดรองผ่านบัญชีหุ้นกู้ EASY-D” จะมีส่วนในการขยายจำนวนลูกค้าผู้ลงทุนรายย่อยใน SCB EASY ให้เติบโตต่อเนื่อง และสนับสนุนรายได้ดิจิทัลรวมของธนาคารตามเป้าหมายที่วางไว้ 25% ในปี 2568
ลูกค้าที่ต้องการซื้อขายหุ้นกู้ตลาดรองที่มีบัญชีหุ้นกู้ EASY-D สามารถทำรายการได้ทันทีผ่านทาง SCB EASY และสำหรับลูกค้าที่ยังไม่มีบัญชีหุ้นกู้ EASY-D สามารถลงทะเบียนเปิดบัญชีหุ้นกู้ EASY-D ทาง SCB EASY จากนั้นทำรายการซื้อขายได้ทันทีเช่นเดียวกัน โดยซื้อ-ขายได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งหลังจากที่ลูกค้าทำรายการซื้อหรือขายด้วยตัวเองบน SCB EASY ระบบจะตัดเงินจากบัญชีที่ลูกค้าเลือกเพื่อชำระค่าซื้อ หรือโอนเงินค่าขายเข้าบัญชีลูกค้า โดยลูกค้าจะได้รับอัพเดตหุ้นกู้ และได้รับแจ้งเตือนทางอีเมล ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์นักลงทุนในยุคดิจิทัล และสอดคล้องกลยุทธ์ “Digital Bank with Human Touch” ดิจิทัลแบงก์อันดับหนึ่งด้านการบริหารความมั่งคั่ง พร้อมมอบประสบการณ์การให้บริการที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อในทุกช่องทางให้กับลูกค้า
ผลสำรวจ SCB EIC Real estate survey 2567 สะท้อนความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนักจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ยังกดดัน ทำให้ปัจจัยด้านราคายังมีความสำคัญมากที่สุด และตลาดที่อยู่อาศัยมือสองยังได้รับความนิยมสูง ขณะที่ปัจจัยด้านทำเลที่เดินทางสะดวกหรือใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกยังคงมีความสำคัญมากกว่าพื้นที่ใช้สอย
⦁ ปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาระหนี้ครัวเรือน ภาระค่าใช้จ่าย ที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังกดดันการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน โดยความต้องการซื้อในช่วงไม่เกิน 2 ปีข้างหน้ามีสัดส่วนลดลงจากการสำรวจปีก่อนหน้า ขณะที่ความต้องการซื้อส่วนใหญ่ยังอยู่ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ที่ผู้ซื้อส่วนใหญ่คาดหวังว่าสถานการณ์เศรษฐกิจ และกำลังซื้อจะฟื้นตัวมากขึ้น รวมถึงมีความพร้อมทางการเงินมากกว่าในปัจจุบัน นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่งหนึ่งยังไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัย หรืออาจมีแผนหลังจาก 5 ปีข้างหน้า
⦁ กำลังซื้อกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลาง-บนมีแนวโน้มฟื้นตัวได้มากขึ้น และช่วยประคองตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2567 และในระยะ 2 ปีข้างหน้าได้บางส่วน โดยเฉพาะในตลาดที่อยู่อาศัยราคามากกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Real demand ที่ต้องการซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 และหลังแรก ตามลำดับ ขณะที่ความต้องการซื้อเพื่อการลงทุนยังมีสัดส่วนไม่มากนัก ใกล้เคียงกับการสำรวจในปีก่อนหน้า
⦁ สาเหตุหลักของการไม่มีแผนซื้อที่อยู่อาศัยในช่วง 5 ปีข้างหน้า เนื่องจากตนเองหรือคนในครอบครัว เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว และรายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายไม่เอื้ออำนวย ตามลำดับ โดยกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่มีรายได้ระดับปานกลาง-ล่าง มองว่ารายได้ในปัจจุบันไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ได้ จึงเลือกที่จะปรับตัว และอยู่อาศัยกับครอบครัวแทน ขณะที่กลุ่มที่รายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายไม่เอื้ออำนวยส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าสถานการณ์ด้านรายได้หรือภาระค่าใช้จ่ายจะคลี่คลายมากขึ้น จนสามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้หลังจาก 5 ปีข้างหน้า
⦁ ปัจจัยด้านความคุ้มค่าของราคา / ราคาที่เข้าถึงได้ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุด ส่วนปัจจัยด้านทำเลสำคัญมากขึ้น และยังสำคัญกว่าปัจจัยด้านความเพียงพอของพื้นที่ใช้สอย โดยในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง และต้องการรักษาสมดุลกับความพอเพียงของพื้นที่ใช้สอยควบคู่ไปด้วย
⦁ ตลาดที่อยู่อาศัยเพื่อการลงทุน / เก็งกำไร / ปล่อยเช่า ยังฟื้นตัวได้ไม่มาก จากแรงกดดันด้านกำลังซื้อ และมาตรการ LTV โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการลงทุนคอนโดในทำเลกรุงเทพฯ ซึ่งยังคงมีความต้องการจากผู้เช่า กลุ่มที่ต้องการอยู่ใกล้ที่ทำงาน สถานศึกษาของตนเอง และสถานศึกษาของบุตรหลาน และกลุ่มที่งบประมาณไม่พอสำหรับการซื้อเป็นหลัก
⦁ มาตรการภาครัฐยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดยมาตรการด้านดอกเบี้ยจะกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยจากกลุ่มที่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยได้มากที่สุด สำหรับมาตรการอื่น ๆ รองลงมา เช่น การลดหย่อนภาษี รวมถึงการผ่อนคลาย LTV ที่จะช่วยให้ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 กู้ได้ 100%
ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง หรือการอยู่ใกล้เมือง ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น โดยทำเลที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ ทำเลฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ขณะที่ความสามารถปรับแต่งฟังก์ชันการใช้ประโยชน์ภายในบ้านได้ (Customization) และเทคโนโลยี Smart home คือปัจจัยที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มจากงบประมาณเดิมมากที่สุด
โดยรายละเอียดความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท
SCB EIC มองว่า ผู้ประกอบการยังเผชิญความท้าทายในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย จากปัจจัยเศรษฐกิจที่ยังคงกดดันการฟื้นตัวของกำลังซื้อ ต้นทุนการพัฒนาโครงการที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแนวทางการปรับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ มีดังนี้
⦁ พัฒนาโครงการใหม่อย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงต้นทุนราคาที่ดิน หลีกเลี่ยงทำเลที่มีการแข่งขันรุนแรง หรือมีหน่วยเหลือขายสะสมสูง รวมถึงการกระจาย Portfolio ให้มีตัวเลือกที่อยู่อาศัยในหลากหลายระดับราคายังคงมีความจำเป็น
⦁ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อแต่ละกลุ่มอย่างตรงจุดในทุกประเภทที่อยู่อาศัย โดยเน้นการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อสร้างความแตกต่าง สามารถตอบโจทย์ความต้องการ รวมถึงลด Pain point ของผู้ซื้อในปัจจุบันที่ความต้องการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ทันอยู่เสมอ
⦁ ขยายตลาดผู้ซื้อชาวต่างชาติ จะเป็นอีกทางเลือกในช่วงที่ตลาดที่อยู่อาศัยยังมีแนวโน้มซบเซา ซึ่งกลุ่มผู้ซื้อที่มีสัดส่วนมากที่สุดคาดว่ายังคงเป็นชาวจีน ขณะที่กำลังซื้อจากรัสเซีย รวมถึงเอเชีย เช่น เมียนมา ไต้หวัน ก็ยังมีศักยภาพ
⦁ บริหารจัดการต้นทุนการพัฒนาโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาอัตรากำไร ควบคู่กับการรักษามาตรฐานที่อยู่อาศัย และการให้บริการหลังการขาย เพื่อสร้างความพึงพอใจของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย เช่น การนำเทคโนโลยีที่ช่วยลดขั้นตอนการก่อสร้าง และลดการใช้แรงงานมาใช้มากขึ้น การรักษาความสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือใหม่ ๆ กับผู้รับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องใน Supply chain
⦁ ให้ความสำคัญกับเทรนด์ ESG เนื่องจากผู้ซื้อในปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเทรนด์ ESG มากขึ้น โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยควรหันมาให้ความสำคัญ และดำเนินงานภายใต้กรอบ ESG อย่างครอบคลุม
ผลสำรวจ SCB EIC Real estate survey 2567 สะท้อนความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยยังไม่สามารถฟื้นตัวได้มากนักจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ยังกดดัน ทำให้ปัจจัยด้านราคายังมีความสำคัญมากที่สุด และตลาดที่อยู่อาศัยมือสองยังได้รับความนิยมสูง ขณะที่ปัจจัยด้านทำเลที่เดินทางสะดวกหรือใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกยังคงมีความสำคัญมากกว่าพื้นที่ใช้สอย
ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านทำเลที่สะดวกต่อการเดินทาง หรือการอยู่ใกล้เมือง ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากขึ้น โดยทำเลที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ ทำเลฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ขณะที่ความสามารถปรับแต่งฟังก์ชันการใช้ประโยชน์ภายในบ้านได้ (Customization) และเทคโนโลยี Smart home คือปัจจัยที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มจากงบประมาณเดิมมากที่สุด
SCB EIC มองว่า ผู้ประกอบการยังเผชิญความท้าทายในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย จากปัจจัยเศรษฐกิจที่ยังคงกดดันการฟื้นตัวของกำลังซื้อ ต้นทุนการพัฒนาโครงการที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแนวทางการปรับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ มีดังนี้
อ่านต่อรายงานฉบับเต็มได้ที่... https://www.scbeic.com/th/detail/product/real-estate-survey-2024-090724
ผู้เขียนบทวิเคราะห์ : เชษฐวัฒก์ ทรงประเสริฐ (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.)
นักวิเคราะห์อาวุโส
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)
EIC Online : www.scbeic.com
Line : @scbeic