พร้อมแก้หนี้ครัวเรือน เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร สร้างรายได้ยั่งยืนในชุมชนห้วยน้ำเพี้ย จ.น่าน

ผู้บริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร และนายคณิน ธรรมภิบาลอุดม หัวหน้าฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด นำคณะผู้บริหาร พนักงาน คณะสื่อมวลชน และครอบครัว ร่วมกิจกรรม “เรื่องจริงของคนตีไฟ” เพื่อเรียนรู้ถึงภารกิจการควบคุมและดับไฟป่าจากเหล่าเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าตัวจริง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับสังคม ถึงเรื่องปัญหา ผลกระทบ และแนวทางป้องกันไฟป่า รวมถึงภารกิจของเจ้าหน้าที่ควบคุมไฟป่าที่ต้องประสบกับไฟป่า พร้อมกันนี้ได้มอบอุปกรณ์จำเป็นสำหรับภารกิจดับไฟป่าให้เจ้าหน้าที่ ณ สถานีควบคุมไฟป่าเขาใหญ่ เมื่อเร็วๆ นี้

กิจกรรม “เรื่องจริงของคนตีไฟ” เป็นกิจกรรมเพื่อสังคมของเอปสัน ประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ “33 x Trees” ในวาระครบรอบ 33 ปี การก่อตั้งบริษัทฯ โดยปีนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ และเป็นการขานรับนโยบายที่ไซโก้ เอปสัน บริษัทแม่ของเอปสัน ประเทศไทยได้เข้าร่วมสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDG ขององค์การสหประชาชาติ

กิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมได้รับฟังเกี่ยวกับไฟป่า ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่สร้างความเสียหายอย่างมากกับพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยในแต่ละปี จากนายพีรวัฒน์ คำล้ำเลิศ หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าเขาใหญ่ รวมถึงภารกิจต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ควบคุมไฟป่าเขาใหญ่ในการป้องกันและควบคุมไฟป่าในแต่ละปี ตลอดจนได้เรียนรู้อุปกรณ์ในการทำภารกิจของเจ้าหน้าที่ เช่น ครอบ ไม้ตีไฟ ถังฉีดน้ำ และเครื่องเป่าลม เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ลงมือทำแนวกันไฟบริเวณป่ารอบสถานี และได้ลงมือดับไฟจริงจากอุปกรณ์ที่ได้เรียน ปิดท้ายด้วยการรับใบประกาศนียบัตรผ่านการอบรมจากหัวหน้าสถานีอีกด้วย

 

ซีพี-เมจิ ผู้นำอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมและโยเกิร์ต ชูกลยุทธ์ความยั่งยืน 3 ด้าน สุขภาพ-สังคม-สิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “เพิ่มคุณค่าชีวิต (Enriching Life)” พร้อมขยายตลาดสินค้าคุณภาพไปทั่วภูมิภาค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้เติบโตไปด้วยกัน

นางสาวสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทตระหนักเสมอถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน โดยใช้แนวคิดการเพิ่มคุณค่าชีวิต 3 ด้าน เริ่มด้วย ด้านสุขภาพ ที่บริษัทฯ จะผลิตเฉพาะผลิตภัณฑ์นมคุณภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วน มุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องดื่มที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้บริโภค ตอบโจทย์ทั้งไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น การเพิ่มรสชาติใหม่ๆ ที่มีฟังก์ชั่นในการดูแลร่างกายของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม โดยจะขยายพอร์ตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (High-value) และส่วนแบ่งการตลาดกลุ่มโยเกิร์ตให้เพิ่มขึ้น รวมถึงความตั้งใจขยายตลาดนมซีพี-เมจิ ออกไปให้ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางการขายน้ำนมแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมของไทยให้มากขึ้น

ถัดมา ด้านสังคม ที่ ซีพี-เมจิมุ่งเน้นการดูแลและสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงโคและการจัดการฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรต้นน้ำ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตสินค้าให้เติบโตเคียงข้างไปด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่เพียงเท่านั้นบริษัทฯ ยังให้การดูแลชุมชนในจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่โรงงานอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

สุดท้าย ด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด อาทิ การผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงานจากหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบการกำจัดน้ำเสียและนำกลับมาใช้ โดยจะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือกในกระบวนการผลิตให้มากขึ้น เพื่อมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net-Zero) ตลอดจนเพิ่มพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพให้กับโลกอย่างต่อเนื่อง

“โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบอย่างมากมายดังที่ทุกคนทราบกันดี ในฐานะที่ซีพี-เมจิ เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ เราจึงเดินหน้าคู่ขนานไปกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการดูแลรักษาโลกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว” นางสาวสลิลรัตน์ กล่าว

กลยุทธ์ความยั่งยืนทั้ง 3 ด้านจะนำไปสู่ความยั่งยืนทางธุรกิจของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี เมื่อผนวกกับสองปัจจัยบวก ทั้งการท่องเที่ยวและตลาดในประเทศฟื้นตัว ซีพี-เมจิ เชื่อมั่นว่า ในปีนี้ผลประกอบการจะเป็นไปตามเป้าหมาย หรือเติบโตราว 10% และยังคงครองการเป็นผู้นำอันดับ 1 ในกลุ่มนมพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ของประเทศไทยได้เช่นเดิม

เมื่อเร็วๆ นี้ นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช (กลางขวา) ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนมอบเงินจำนวน 38,067,065 บาท สมทบทุนให้กับ มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผ่านดร. บรรจงเศก ทรัพย์โสภา (กลางซ้าย) ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ ซึ่งเงินบริจาคดังกล่าว สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีได้ร่วมกันใช้คะแนน KTC FOREVER และบริจาคผ่านบัตรเครดิตเคทีซี เพื่อมอบชีวิตใหม่ให้กับเด็กยากไร้ได้ไปโรงเรียน มีอาหารรับประทานอิ่มท้อง และเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไป

ดร. บรรจงเศก กล่าวว่า “มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ เป็นองค์การพัฒนาเอกชน ที่ดำเนินพันธกิจในการพัฒนาเด็กด้อยโอกาสในประเทศไทย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาตลอด 65 ปี โดยมีเด็กและเยาวชนกว่า 100,000 คน ได้รับโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการดำเนินงาน “โครงการอุปการะเด็ก” และ “โครงการพิเศษ” อื่นๆ ของมูลนิธิ ”

 ครั้งแรก! ยกกองขยะมาไว้ใจกลางกรุง พร้อม 7 ศิลปินร่วมสร้างจิตสำนึก  “เลิกเทรวม”

สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย นายเอกกมล แพทยานันท์ (ที่ 2 จากซ้าย) นายกสมาคมฯ จัดงานแถลงข่าว เชิญคนไทยทั้งประเทศร่วมเป็นเจ้าภาพ การประชุมสมัชชาสหภาพคนตาบอดโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2566 ณ จังหวัดภูเก็ต โดยการประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมระดับนานาชาติของผู้แทนคนตาบอดจากองค์กรสมาชิกของสหภาพคนตาบอดโลกภาคพื้นเอเชียและ แปซิฟิกจำนวน 21 ประเทศ ผู้นำคนตาบอดจากองค์กรเครือข่าย รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานที่ทำงานด้านคนตาบอดและคนพิการในระดับประเทศ รวมทั้งสิ้น 350 คน โดยได้รับเกียรติจาก นายพิสิฐ พูลพิพัฒน์ (ที่ 3 จากซ้าย) รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นายมณเฑียร บุญตัน (ยืนกลาง) สมาชิกวุฒิสภา และดร.นันทนุช สุวรรนาวุธ(ที่ 3 จากขวา) เลขานุการสมาคมฯ ในฐานะดูแลงานด้านต่างประเทศ ร่วมให้รายละเอียด ณ ห้องคริสตัล โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร

ผู้ชนะเลิศในโครงการ ‘สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี AIA Healthiest Schools’ ปีที่ 1

มูลนิธิพลังน้ำใจไทย โดยนายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ ที่ปรึกษามูลนิธิพลังน้ำใจไทย, นายประวิช สุขุม กรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วยภาคีภาคเอกชน 12 บริษัท, เครือข่ายโครงการ eisa (Education Institute Support Activity) ร่วมลงพื้นที่โรงเรียนพรหมบุรีรัชดาภิเษก เพื่อส่งมอบอาคารสาธารณูปโภคที่ได้สนับสนุนการซ่อมแซมจากอุทกภัยน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ให้กับนางสาวนุชนารถ ยิ้มจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพรหมบุรีรัชดาภิเษก ในงานได้จัดกิจกรรม Football Clinic มอบโอกาสแก่นักเรียนได้เข้าร่วมฝึกทักษะฟุตบอล/ Workshop ศิลปะสร้างสรรค์คิดดีทำ (ได้) ดี และศิลปินมาร่วมขับร้องเพลงสร้างความสุขแก่น้องๆ อาทิ แช่ม แช่มรัมย์, แสน นากา, โอม ภวัต จิตต์สว่างดี, ฟอร์ด อรัญญ์ อัศวสืบสกุล ณ โรงเรียนพรหมบุรีรัชดาภิเษก จังหวัดสิงห์บุรี ที่ผ่านมา

จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับองค์กรภาครัฐ และ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือ บีเคพี ภายใต้กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรให้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดตัว โครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” สนับสนุนคู่ค้าผู้รวบรวมและจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เครือข่ายของบีพีเค ในเขตภาคเหนือ ใช้ข้อมูลจากระบบตรวจสอบย้อนกลับและภาพถ่ายดาวเทียมติดตามการเผาแปลง และร่วมดูแลห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ปลอดการเผาตอซัง

ในงานเปิดตัวโครงการฯ ได้รับเกียรติจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดฯ โดยมี นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้ง ผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และคู่ค้าพันธมิตรในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ร่วมงาน ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จ.เชียงใหม่ให้ความสำคัญสูงสุดหมอกควันแลทุกภาคส่วนอย่างเต็มกำลัง ในการจัดการสถานการณ์หมอกควันและฝุ่น PM 2.5 และโครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” เป็นความร่วมมือขององค์กรเอกชนที่นำเทคโลยีภาพถ่ายดาวเทียมในการตรวจจุดความร้อน เข้ามาช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในภาคการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองในระยะยาว สอดคล้องกับนโยบายจัดการปัญหาฝุ่นควันในภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนของรัฐบาล และจังหวัดเชียงใหม่

“ปัญหาฝุ่นละออง เป็นปัญหาระดับชาติ ต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนและประชาสังคมผนึกกำลังลงมือทำอย่างจริงจัง อย่างที่บีเคพีริเริ่มโครงการเพื่อลดการเผาในภาคการเกษตร  เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน” ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าว

ด้าน นายไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานคณะผู้บริหาร บีเคพี กล่าวว่า บีเคพีเป็นบริษัทแรกของไทยที่นำระบบตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ในการจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี  2559 และเพื่อให้ระบบตรวจสอบย้อนกลับของซีพีเป็นต้นแบบอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดการกับปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมถึงพ่อค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เข้ามาช่วยดูแลเกษตรกรและแปลงข้าวโพดในห่วงโซ่อุปทานของซีพี โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียม ช่วยลดปัญหาการเผาตอซัง

“บีเคพีจะขยายผลการดำเนินโครงการฯ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในปี 2566 นี้ โดยบริษัทฯ จะแบ่งปันข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจุดความร้อนในพื้นที่รับซื้อข้าวโพด เพื่อให้คู่ค้าเป็นเครือข่ายติดตามแปลงเพาะปลูกที่ยังมีการเผา หากพบว่าเกษตรกรรายใดมีการเผาแปลง ทางบริษัทและคู่ค้าพร้อมร่วมมือกันเข้าไปดูแล ให้ความรู้และคำแนะนำ เพื่อให้เกษตรกรร่วมมืองดการเผาตอซัง และหาวิธีการจัดการที่เหมาะสมทดแทน” นายไพศาล กล่าว

ภายในงาน บริษัทฯ ยังร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และ GISTDA จัดอบรมสัมมนา ถึงสถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 ร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดเพื่อประชาชน และแนวทางการปรับตัวขององค์กรธุรกิจและภาคประชาชน ตลอดจนการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับควบคู่กับระบบติดตามการเผาแปลง

โครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” เป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของเครือซีพีในสร้างความร่วมมือระหว่างคู่ค้าของบริษัทฯ เพื่อร่วมจัดการกับปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง ซึ่งเป็นวาระสำคัญของประเทศ  พร้อมกับการพัฒนาขีดความสามารถคู่ค้าพันธมิตรในกระบวนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อโลก และสนับสนุนเครือซีพีและบริษัทในเครือฯ ให้บรรลุเป้าหมาย Net-Zero ในปี 2050

โครงการ “TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง” ภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร และมูลนิธิเพื่อนักกีฬาไทย นำทีมโค้ชมืออาชีพ อาทิ “โค้ชเตี้ย” สะสม พบประเสริฐ อดีตกุนซือ ชลบุรี เอฟซี และทีมชาติไทย  “โค้ชโย่ง” วรวุธ ศรีมะฆะ อดีตกุนซือทีมชาติไทย  วีระยุทธ สวัสดี อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย หัวหน้าวิทยากรในโครงการ รวมถึงทีมโค้ชระดับประเทศ ได้แก่ ณรงค์ สุวรรณโชติ, วีระพงษ์ เพ็งลี, อัมรินทร์ เยาดำ, พ.ต.ภาณุพงศ์ ผิวอ่อน และ กฤษณะ วงษ์บุตรดี มาฝึกสอนให้ความรู้และทักษะสำหรับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 200 คน เมื่อวันที่ 28 – 29  ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์กีฬาบางบอน 

 

ครั้งนี้นับเป็นการจัดโครงการสนามที่ 4 ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนเข้าร่วมโครงการเพื่อเรียนรู้ทักษะตามฐานที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ อาทิ รับ ส่ง โหม่ง ยิง เดาะ เลี้ยง ซึ่งเป็นพื้นฐานลักษณะสำคัญของฟุตบอลพื้นฐานที่ทั่วโลกฝึกกัน โดยการฝึกซ้อมฐานต่าง ๆ นี้เป็นการฝึกให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างรอบด้าน ผ่านการดูแลและการให้คำแนะนำอย่างถูกต้องจากโค้ชและนักกีฬาทีมชาติของสโมสร โดยในแต่ละสนามจะมีการเฟ้นหาช้างเผือกเป็นตัวแทนไปร่วมคัดเลือกเป็นสุดยอดนักกีฬา TIP SPIRIT (ฟุตบอล) FINAL MATCH ในโครงการสนามสุดท้าย สนามที่ 6 ณ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง

โครงการ “TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง” ยังมีจัดอีก 2 สนามในเดือนพฤศจิกายน 2566 สำหรับน้อง ๆ เยาวชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ฯ ต้องมีอายุระหว่าง 8-17 ปีบริบูรณ์ สุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว พร้อมรับการอบรมและสามารถเดินทางเข้าร่วมโครงการตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ เฟซบุ๊ก TIP ZONE โดย ทิพยประกันภัย

X

Right Click

No right click