ผู้ชนะเลิศในโครงการ ‘สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี AIA Healthiest Schools’ ปีที่ 1

มูลนิธิพลังน้ำใจไทย โดยนายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ ที่ปรึกษามูลนิธิพลังน้ำใจไทย, นายประวิช สุขุม กรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วยภาคีภาคเอกชน 12 บริษัท, เครือข่ายโครงการ eisa (Education Institute Support Activity) ร่วมลงพื้นที่โรงเรียนพรหมบุรีรัชดาภิเษก เพื่อส่งมอบอาคารสาธารณูปโภคที่ได้สนับสนุนการซ่อมแซมจากอุทกภัยน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ให้กับนางสาวนุชนารถ ยิ้มจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพรหมบุรีรัชดาภิเษก ในงานได้จัดกิจกรรม Football Clinic มอบโอกาสแก่นักเรียนได้เข้าร่วมฝึกทักษะฟุตบอล/ Workshop ศิลปะสร้างสรรค์คิดดีทำ (ได้) ดี และศิลปินมาร่วมขับร้องเพลงสร้างความสุขแก่น้องๆ อาทิ แช่ม แช่มรัมย์, แสน นากา, โอม ภวัต จิตต์สว่างดี, ฟอร์ด อรัญญ์ อัศวสืบสกุล ณ โรงเรียนพรหมบุรีรัชดาภิเษก จังหวัดสิงห์บุรี ที่ผ่านมา

จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับองค์กรภาครัฐ และ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือ บีเคพี ภายใต้กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรให้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดตัว โครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” สนับสนุนคู่ค้าผู้รวบรวมและจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เครือข่ายของบีพีเค ในเขตภาคเหนือ ใช้ข้อมูลจากระบบตรวจสอบย้อนกลับและภาพถ่ายดาวเทียมติดตามการเผาแปลง และร่วมดูแลห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ปลอดการเผาตอซัง

ในงานเปิดตัวโครงการฯ ได้รับเกียรติจาก นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดฯ โดยมี นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้ง ผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และคู่ค้าพันธมิตรในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ร่วมงาน ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จ.เชียงใหม่ให้ความสำคัญสูงสุดหมอกควันแลทุกภาคส่วนอย่างเต็มกำลัง ในการจัดการสถานการณ์หมอกควันและฝุ่น PM 2.5 และโครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” เป็นความร่วมมือขององค์กรเอกชนที่นำเทคโลยีภาพถ่ายดาวเทียมในการตรวจจุดความร้อน เข้ามาช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในภาคการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองในระยะยาว สอดคล้องกับนโยบายจัดการปัญหาฝุ่นควันในภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนของรัฐบาล และจังหวัดเชียงใหม่

“ปัญหาฝุ่นละออง เป็นปัญหาระดับชาติ ต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชนและประชาสังคมผนึกกำลังลงมือทำอย่างจริงจัง อย่างที่บีเคพีริเริ่มโครงการเพื่อลดการเผาในภาคการเกษตร  เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน” ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าว

ด้าน นายไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานคณะผู้บริหาร บีเคพี กล่าวว่า บีเคพีเป็นบริษัทแรกของไทยที่นำระบบตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ในการจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่ปี  2559 และเพื่อให้ระบบตรวจสอบย้อนกลับของซีพีเป็นต้นแบบอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดการกับปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมถึงพ่อค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เข้ามาช่วยดูแลเกษตรกรและแปลงข้าวโพดในห่วงโซ่อุปทานของซีพี โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลจุดความร้อนจากดาวเทียม ช่วยลดปัญหาการเผาตอซัง

“บีเคพีจะขยายผลการดำเนินโครงการฯ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายในปี 2566 นี้ โดยบริษัทฯ จะแบ่งปันข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจุดความร้อนในพื้นที่รับซื้อข้าวโพด เพื่อให้คู่ค้าเป็นเครือข่ายติดตามแปลงเพาะปลูกที่ยังมีการเผา หากพบว่าเกษตรกรรายใดมีการเผาแปลง ทางบริษัทและคู่ค้าพร้อมร่วมมือกันเข้าไปดูแล ให้ความรู้และคำแนะนำ เพื่อให้เกษตรกรร่วมมืองดการเผาตอซัง และหาวิธีการจัดการที่เหมาะสมทดแทน” นายไพศาล กล่าว

ภายในงาน บริษัทฯ ยังร่วมมือกับ กรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ และ GISTDA จัดอบรมสัมมนา ถึงสถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 ร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดเพื่อประชาชน และแนวทางการปรับตัวขององค์กรธุรกิจและภาคประชาชน ตลอดจนการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับควบคู่กับระบบติดตามการเผาแปลง

โครงการ “Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน” เป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของเครือซีพีในสร้างความร่วมมือระหว่างคู่ค้าของบริษัทฯ เพื่อร่วมจัดการกับปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง ซึ่งเป็นวาระสำคัญของประเทศ  พร้อมกับการพัฒนาขีดความสามารถคู่ค้าพันธมิตรในกระบวนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อโลก และสนับสนุนเครือซีพีและบริษัทในเครือฯ ให้บรรลุเป้าหมาย Net-Zero ในปี 2050

โครงการ “TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง” ภายใต้ความร่วมมือของ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กรุงเทพมหานคร และมูลนิธิเพื่อนักกีฬาไทย นำทีมโค้ชมืออาชีพ อาทิ “โค้ชเตี้ย” สะสม พบประเสริฐ อดีตกุนซือ ชลบุรี เอฟซี และทีมชาติไทย  “โค้ชโย่ง” วรวุธ ศรีมะฆะ อดีตกุนซือทีมชาติไทย  วีระยุทธ สวัสดี อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย หัวหน้าวิทยากรในโครงการ รวมถึงทีมโค้ชระดับประเทศ ได้แก่ ณรงค์ สุวรรณโชติ, วีระพงษ์ เพ็งลี, อัมรินทร์ เยาดำ, พ.ต.ภาณุพงศ์ ผิวอ่อน และ กฤษณะ วงษ์บุตรดี มาฝึกสอนให้ความรู้และทักษะสำหรับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 200 คน เมื่อวันที่ 28 – 29  ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์กีฬาบางบอน 

 

ครั้งนี้นับเป็นการจัดโครงการสนามที่ 4 ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนเข้าร่วมโครงการเพื่อเรียนรู้ทักษะตามฐานที่ได้จัดเตรียมไว้ให้ อาทิ รับ ส่ง โหม่ง ยิง เดาะ เลี้ยง ซึ่งเป็นพื้นฐานลักษณะสำคัญของฟุตบอลพื้นฐานที่ทั่วโลกฝึกกัน โดยการฝึกซ้อมฐานต่าง ๆ นี้เป็นการฝึกให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างรอบด้าน ผ่านการดูแลและการให้คำแนะนำอย่างถูกต้องจากโค้ชและนักกีฬาทีมชาติของสโมสร โดยในแต่ละสนามจะมีการเฟ้นหาช้างเผือกเป็นตัวแทนไปร่วมคัดเลือกเป็นสุดยอดนักกีฬา TIP SPIRIT (ฟุตบอล) FINAL MATCH ในโครงการสนามสุดท้าย สนามที่ 6 ณ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง

โครงการ “TIP SPIRIT นักกีฬาเลือดใหม่ ใส่สุดพลัง” ยังมีจัดอีก 2 สนามในเดือนพฤศจิกายน 2566 สำหรับน้อง ๆ เยาวชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ฯ ต้องมีอายุระหว่าง 8-17 ปีบริบูรณ์ สุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว พร้อมรับการอบรมและสามารถเดินทางเข้าร่วมโครงการตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ เฟซบุ๊ก TIP ZONE โดย ทิพยประกันภัย

มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เปิดตัวโครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มุ่งมั่นสนับสนุนการศึกษาแก่คนพิการเพื่อผลิตบัณฑิตกลุ่มวิชาชีพครู หวังยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการในสังคมไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดี สร้างอาชีพ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมร่วมกับ บริษัท ซีเนริโอ จำกัด ชวนผู้ใจบุญ ชมละครเวทีรอบการกุศล “แฟนฉัน เดอะมิวสิคัล” ในวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จัดแสดง ณ เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ รายได้ร่วมสมทบทุนเข้าโครงการทุนสถาบันราชสุดา

สถาบันราชสุดา หรือเดิมทีมีชื่อว่า วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำแห่งแรกในประเทศไทย เป็นสถาบันที่ให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และศูนย์กลางเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในประชาคมอาเซียน โดยเปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 นับเป็นเวลากว่า 32 ปีแล้วที่สถาบันแห่งนี้ให้การศึกษาและยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการไทยกว่าหลายพันคน และในปี พ.ศ. 2566 นี้ วิทยาลัยราชสุดาและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ทำการควบรวมกัน เพื่อร่วมกันทำภารกิจส่งเสริมการศึกษาและสร้างพื้นที่สำหรับคนพิการให้เกิดสังคมแห่งการให้ที่ไม่ทอดทิ้งกัน

 

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “เหตุผลสำคัญของการควบรวมวิทยาลัยราชสุดาและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นโครงการสถาบันราชสุดาแห่งนี้ เพื่อร่วมกันทำภารกิจสำหรับคนพิการให้เกิดสังคมแห่งการให้ที่ไม่ทอดทิ้งกัน สนับสนุนให้เป็นสถาบันต้นแบบในการผลิตและพัฒนาบุคลากรกลุ่มวิชาชีพครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการสอนคนพิการที่มีคุณภาพให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย และ หวังกระจายครูสอนคนพิการไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ส่งเสริมศักยภาพให้คนพิการมีอาชีพที่มั่นคง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สืบเนื่องจากการควบรวมกันนี้ มูลนิธิรามาธิบดีฯ จึงได้มีโอกาสเป็นสะพานบุญแห่งการให้เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายจำเป็นต่าง ๆ ของสถาบันราชสุดา เพื่อให้สถาบันนำไปสานต่อภารกิจต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”

สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดสอนทั้งหมด 6 หลักสูตร แบ่งเป็น

ระดับปริญญาตรี เปิดสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และนักศึกษาที่มีการได้ยิน

1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา วิชาเอกการออกแบบเชิงพาณิชย์

2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหูหนวกศึกษา วิชาเอกล่ามภาษามือไทย

3. หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาของคนหูหนวก

ระดับปริญญาโท และเอก เปิดสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็น นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว นักศึกษาทั่วไป

4. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

5. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ

6. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

 

ด้าน อ.นพ.สมเกียรติ ลีละศิธร ผู้อำนวยการ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยว่า “กลุ่มนักศึกษาหลักของสถาบันราชสุดาคือกลุ่มคนพิการทางการได้ยิน รวมถึงคนทั่วไปที่สนใจเข้ามาเรียนร่วมในหลักสูตร ศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ที่เมื่อจบไปแล้วสามารถเป็นครูสอนคนพิการ หรือประกอบอาชีพอื่น ๆ ได้ตามศักยภาพ

นับตั้งแต่เปิดสถาบันราชสุดาแห่งนี้ได้ผลิตบัณฑิตไปแล้วกว่า 692 ราย ปัจจุบันมีจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 และ 3 ทั้งสิ้น 153 ราย แบ่งเป็น นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 84 ราย นักศึกษาที่มีการได้ยิน 69 ราย และคาดว่าจะมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี 2567 จำนวน 54 ราย

ในส่วนของระดับบัณฑิตศึกษา แบ่งเป็นระดับปริญญาโท 49 คน คาดว่าจะเสร็จการศึกษาปี 2566 จำนวน 7 ราย และระดับปริญญาเอก 24 ราย จะสำเร็จการศึกษาปี 2566 จำนวน 8 ราย โดยระดับนี้มีนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเห็น นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว รวมถึงนักศึกษาทั่วไป

ปัจจุบันมีคนพิการจำนวนมากที่หลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งสาเหตุเหล่านั้นมีทั้งความไม่พร้อมของสถานศึกษาในการรองรับคนพิการ, สภาพแวดล้อมในครอบครัว, ปัจจัยด้านการเดินทาง รวมถึงสถานะทางการเงิน ปัญหาเหล่านี้จึงยิ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นในสังคมไทย การมีอยู่ของสถาบันราชสุดาจึงถือเป็นเรื่องสำคัญในฐานะสถาบันการศึกษาที่จะช่วยสร้างโอกาสให้คนพิการได้เข้าถึงการศึกษา ผ่านการผลิตบัณฑิต และบัณฑิตเหล่านั้นไปส่งต่อความรู้ให้แก่คนพิการทางการได้ยินต่อไป”

 

นางสาวพรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ ผู้จัดการมูลนิธิรามาธิบดีฯ กล่าวเสริมว่า “การระดมทุนในครั้งนี้ นับเป็นการให้ที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างแน่นอน เพราะการศึกษานั้นเป็นรากฐานสำคัญของทุกคน ไม่แบ่งแยกด้วยสภาพร่างกาย เพศ อายุ ดังนั้น มูลนิธิรามาธิบดีฯ จึงมีความภูมิใจและดีใจเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอด พันธกิจของสถาบันราชสุดาไปยังสังคมวงกว้าง และเป็นสะพานแห่งการให้ที่รับน้ำใจของผู้ที่อยากช่วยให้คนพิการได้มีโอกาสทางการศึกษา อันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการต่อไปในอนาคต และสร้างสรรค์สังคมที่พวกเราทุกคนสามารถได้ใช้ศักยภาพและความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่”

 

“ในการเปิดตัว โครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ครั้งนี้ มูลนิธิรามาธิบดีฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท ซีเนริโอ จำกัด ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการ “ให้” โอกาสทางการศึกษาแก่คนพิการในสังคมไทยจัดรอบการแสดงละครเวทีการกุศล “แฟนฉัน เดอะมิวสิคัล” ขึ้นในวันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เวลา 19:30 น. โดยรายได้จากการจำหน่ายบัตรของรอบนี้จะถูกสมทบทุนให้แก่โครงการทุนสถาบันราชสุดา เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการต่อไป อีกทั้งยังได้เชิญชวนตัวแทนนักศึกษาของสถาบันราชสุดามาร่วมชมการแสดงในรอบนี้อีกด้วย” นางสาวพรรณสิรี กล่าว ทิ้งท้าย

 

โครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นับเป็นภารกิจครั้งใหม่ของมูลนิธิรามาธิบดีฯ เพื่อช่วยสร้างพื้นที่แห่งโอกาสทางการศึกษาให้คนพิการ รวมถึงพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านคนพิการ และการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพของคนพิการนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการในประเทศไทย เพราะการมอบการศึกษาคือหนทางที่จะช่วยสร้างสังคมที่ทุกคนมีคุณค่า ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมกันในสังคม และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ในโอกาสนี้จึงขอเชิญชวนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนให้กับโครงการทุนสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ที่ มูลนิธิรามาธิบดีฯwww.ramafoundation.or.th

เปิดค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม “เพาเวอร์กรีน” ครั้งที่ 18”

ความเป็นมาของโครงการฯ

จากวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกในวงกว้างและกำลังขยายผลกระทบขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ “Net Zero” กลายเป็นหนึ่งในวาระระดับโลกที่หลายประเทศให้ความสำคัญ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  ร่วมกับ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) และ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ในฐานะบริษัทพลังงานระดับโลกที่มุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกมิติ ได้ตระหนักถึงความเร่งด่วนของปัญหา จึงเดินหน้าให้การสนับสนุนเป้าหมายการลดปริมาณความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอนและเป้าหมาย “Net Zero” ของประเทศ ในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065)

สำหรับในประเทศไทย จังหวัดระยอง ในภาคตะวันออก ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญ และเป็นจังหวัดที่มีป่าชายเลนแพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งค่อนข้างมาก โดยป่าชายเลน ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญทั้งทางด้านนิเวศวิทยา เนื่องจากสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบัน พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยสามารถดูดกลับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละกว่า 9.4 ตันต่อไร่ (ข้อมูลกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง: 2566) อีกทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชายฝั่งทะเลเนื่องจากเป็นแนวป้องกันชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะพังทลาย และกำบังคลื่นพายุอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าพื้นที่ป่าชายเลนนั้นมีอัตราลดลง รวมถึงสภาพป่าชายเลนบางพื้นที่นั้นยังขาดความอุดมสมบูรณ์

โครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย” (Foster Future Forests) ซึ่งเป็นโครงการจากความร่วมมือของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  ร่วมกับ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) และบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศของพื้นที่ซึ่งยังไม่ได้รับการพัฒนาในบริเวณป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพิ่มพื้นที่สีเขียวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมส่งเสริมการอนุรักษ์ผ่านชุมชนสู่ความยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมไปจนถึงเศรษฐกิจในชุมชนตลอดการดำเนินงาน เพื่อขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไปในอนาคต เหล่านี้เป็นการตอกย้ำเป้าหมายของเชฟรอน และ SPRC ในพันธกิจลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินกิจการ หรือ Environmental Footprint (รอยเท้าทางนิเวศ) เพื่อสร้างผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรอบพื้นที่ในระยะยาว

 

ภาพรวมโครงการฯ

โครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย” (Foster Future Forests) เป็นโครงการระยะยาว ที่ริเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2566 ผ่านความร่วมมือของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจังหวัดระยอง พร้อมทั้ง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง  เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ สำนักงานประมงจังหวัดระยอง อำเภอเมืองระยอง  ประชาสัมพันธ์จังหวัดระยอง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ ชุมชนเนินพระ วิสาหกิจชุมชนประมงเรือเล็กเก้ายอด วิสาหกิจท่องเที่ยวตำบลปากน้ำ และกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำระยองและป่าชายเลนจังหวัดระยอง และมีที่ปรึกษาทางด้านวิชาการโดยสมาคมส่งเสริมพัฒนากำลังคนสเต็มเพื่ออนาคต (IAFSW) ในการดำเนินโครงการในพื้นที่ 100 ไร่ บริเวณป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่ได้รับการพัฒนาและมีสภาพแห้งแล้ง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมุ่งสนับสนุนการลดคาร์บอน และสร้างความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่ ดังนี้

  1. ฟื้นฟูระบบนิเวศและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าชายเลน ผ่านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมเพิ่มที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable Species) ไปจนถึงผลพลอยได้สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดระยองผ่านธรรมชาติที่สวยงามเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอนาคต
  2. สร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งในชุมชน ผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานในชุมชนอย่างใกล้ชิด อาทิ หน่วยงานภาครัฐจังหวัดระยอง โรงเรียน เยาวชน และกลุ่มผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ เพื่อสร้างการเชื่อมโยงกับชุมชน พร้อมให้ความรู้และเสริมทักษะของชุมชนและเยาวชนเกี่ยวกับการลดคาร์บอน ผ่านความร่วมมือกับโรงเรียนในพื้นที่ โดยจะนำไปสู่เป้าหมายในการสร้างอาชีพในอนาคตเพื่อเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตแก่ชุมชน ทั้งในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต
  3. ส่งเสริมด้านงานวิจัยผ่านการศึกษาและเรียนรู้จากธรรมชาติ (Nature-based learning) โดยติดตามและประเมินผลด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม พร้อมวางแผนดำเนินงาน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานวิชาการเพื่อค้นคว้าวิจัย ศึกษา รวมถึงติดตามความคืบหน้าของโครงการผ่านข้อมูลที่พิสูจน์และเชื่อถือได้ อีกทั้งยังผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น การใช้โดรน เพื่อวัดผลสำเร็จเคร่งครัด สู่การต่อยอดและขยายผลสู่ต้นแบบโครงการอื่นๆ ต่อไป โดยร่วมมือกับพันธมิตรวิชาการผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วน ได้แก่
    • คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการนำความเชี่ยวชาญด้านป่าไม้ และนิเวศวิทยา ประยุกต์ใช้ในการวางแผนดำเนินโครงการ รวมถึงประเมินพื้นที่ปลูกป่า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและวัดผลได้จริง
    • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผสานความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและอุทกวิทยา เพื่อศึกษาและวางแผนโครงการฯ เกี่ยวกับการทำทางน้ำเพื่อลดพื้นที่แห้งแล้ง และแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาวสำหรับพื้นที่ป่าในเมือง
    • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ให้บริการ ดูแล และกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการวัด การรายงาน และการทวนสอบ และให้การรับรองปริมาณการปล่อย การลด และการชดเชยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำงานร่วมกับโครงการฯ ในกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวัดผล เพื่อพัฒนาโครงการฯ สู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตราวัดผลได้เชิงรูปธรรม
  1. ปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง โดยส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอาสาเพื่อส่งต่อจิตสำนึกด้านการตอบแทนสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่ผู้คนรอบข้าง

จากเป้าหมายดังกล่าว ทางโครงการฯ ได้มุ่งทำงานและสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์หลายภาคส่วน อาทิ ชุมชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ กรมเจ้าท่า กรมประมง ชุมชนเนินพระ กลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำระยองและป่าชายเลนจังหวัดระยอง วิสาหกิจชุมชนประมงเรือเล็กเก้ายอด วิสาหกิจท่องเที่ยวตำบลปากน้ำ เยาวชนในพื้นที่ ตลอดจนนักท่องเที่ยว

สำหรับการดำเนินโครงการในระยะแรก มุ่งเน้นการศึกษาพื้นที่ในโครงการฯ ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอย่าง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ไปจนถึงหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อวางแผนฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างเป็นรูปธรรมและเน้นความยั่งยืน เช่น ศึกษาการนำเอาพืชพื้นถิ่นเข้ามาปลูก ศึกษาพื้นที่ทางน้ำและกระแสน้ำ รวมถึงวิเคราะห์คุณภาพดิน เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์และฟื้นฟูตามความเหมาะสมที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ ศึกษาตัวชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึงประเมินความเสี่ยงในด้านต่างๆ จากแผนงานที่วางไว้

 

สำหรับการวางแผนในระยะถัดมา ทางโครงการฯ วางแผนยกระดับสร้างการรับรู้ในวงกว้างขึ้น พร้อมร่วมมือกับสถานศึกษาในระดับต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนเข้าไปในหลักสูตร อีกทั้งวางแผนจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนเพื่อให้ผู้ที่สนใจ คนในชุมชน รวมถึงนักท่องเที่ยว ได้ร่วมทำกิจกรรม และร่วมเสวนาในประเด็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าในเมือง ตลอดจนจัดทำสื่อการศึกษาเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของป่าชายเลนและการอนุรักษ์ระบบนิเวศจากสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ในด้านการศึกษาติดตามความคืบหน้า เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทางโครงการฯ ได้มุ่งวัดผลเชิงลึกเพื่อประเมินเป้าหมายของปริมาณการดูดซับคาร์บอนสำหรับป่าชายเลนในพื้นที่ และประเมินการเปลี่ยนแปลงในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการผสานเทคโนโลยีมาช่วยวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้โดรนเพื่อวัดความสูงของต้นไม้และวัดอัตราการเติบโตในแต่ละปี ไปจนถึงการเปรียบเทียบจำนวนพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นมาคำนวณปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อชดเชย โดยข้อมูลดังกล่าวถือเป็นองค์ความรู้สำคัญเพื่อการต่อยอดขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมด้านการจัดการคาร์บอนเครดิต ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนในอนาคต

พร้อมกันนี้ โครงการฯ ยังมีแผนสำหรับการนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาพัฒนากิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้ภาครัฐ ชุมชน โรงเรียน พนักงานเชฟรอน และพนักงานบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรมปลูกป่า ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การสร้างทางน้ำ ทำคอนโดปู ไปจนถึงจัดทำบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน และยกระดับการรับรู้เกี่ยวกับโครงการในวงกว้างผ่านการจัดเสวนาวิชาการ หรือสื่อสารผ่านสื่อหลากหลายช่องทาง เพื่อสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับโครงการฯ และความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรเทาผลกระทบสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป

 

ความยั่งยืนของโครงการฯ

เช่นเดียวกับหลากหลายโครงการเพื่อสังคมของทั้ง 3 องค์กร โครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย” (Foster Future Forests) มุ่งดำเนินการในระยะยาวร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีและวิธีการศึกษา วิจัย และวัดผลเชิงวิชาการมาใช้ เพื่อให้สามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถวัดผลสำเร็จได้จริง พร้อมมุ่งทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อเสริมแกร่งเครือข่ายชุมชน และปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในพื้นที่สามารถต่อยอดผลประโยชน์จากโครงการดังกล่าว รวมถึงสามารถดูแลอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนต่อไปในอนาคตหลังจากส่งมอบพื้นที่เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ

นำกำไรทั้งหมด บริจาคให้โรงพยาบาลวชิรพยาบาล เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

แต้มสี เติมฝัน สร้างสุขอนามัย ส่งเสริมการออมให้น้อง

เอไอเอ ประเทศไทย โดย นายสุวิรัช พงศ์เสาวภาคย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภายนอก เป็นตัวแทนรับโล่ประกาศเกียรติคุณจาก พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี และประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ในโอกาสที่เอไอเอ ประเทศไทย สนับสนุนกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ จำนวน 320 กรมธรรม์ ให้แก่เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี สตูล และ 4 อำเภอของสงขลา ภายใต้โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 41 ซึ่งได้นำเยาวชนกว่า 320 คน มาใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวอุปถัมภ์และชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรม ทำให้เยาวชนได้รับประสบการณ์ตรง และมีความรู้ความเข้าใจบริบทของสังคมในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น โดยความคุ้มครองอุบัติเหตุนี้ จะช่วยให้เยาวชนและครอบครัวของเยาวชน ได้มีความอุ่นใจในขณะที่ต้องเดินทางมาทำกิจกรรมและใช้ชีวิตในพื้นที่ต่างภูมิลำเนา ซึ่งการมอบความคุ้มครองดังกล่าว ยังสอดคล้องกับนโยบายด้านความยั่งยืน (ESG) ของเอไอเอ และความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้ผู้คนกว่าพันล้านคนมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ ผ่านกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ อันเป็นการเดินตามพันธกิจ “AIA One Billion” อีกด้วย โดยพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณดังกล่าว จัดขึ้น ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก (ส่วนกลาง) วิภาวดี

ทั้งนี้ โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ได้ดำเนินการรุ่นที่ 1 ตั้งแต่ปี 2548 โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการของมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มูลนิธิรักเมืองไทย และมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กองทัพทุกเหล่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำพร้า หรือ ด้อยโอกาสทางการศึกษา ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตของครอบครัวอุปถัมภ์ในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง

X

Right Click

No right click