บล็อกเชนและคริปโตในมุมมอง “จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา”

June 24, 2018 6805

ท่ามกลางการการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล (Digital Disruption) ที่โลกต้องเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนผ่าน (Digital transformation) และการเข้ามาของบล็อกเชน และสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอเรนซี่ (Cryptocurrency) นั้น จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา กรุ๊ป ซีอีโอ บล็อกเชนแคปิตัล และอดีตผู้ก่อตั้ง Coins.co.th เผยความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ 

เริ่มจากความคิดเห็นต่อกฏของก.ล.ต (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) และพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 จิรายุส กล่าวว่า การกำหนดอัตราภาษีคริปโต 15% ของรายได้ที่ได้รับจากการลงทุน ซื้อ-ขาย ในสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น เราต้องมองหลายมุม  หากในมิติของกรมสรรพากร นั้นถือว่าทำหน้าที่ได้ดีมาก ตรงวัตถุประสงค์ที่ตั้งมาเพื่อเก็บภาษีให้ประเทศให้ได้สูงสุด แต่หากมองในมุมของการเข้าใจเทคโนโลยี นั้นไม่ดีเลย เรียกว่าไม่เข้าใจเป้าหมายหลักของคริปโตเคอเรนซี่ คือ การลดต้นทุน โดยลดตัวกลางออกไป เพื่อทำให้เกิดการลดต้นทุนในการโอนเงิน” 

แต่ปรากฏว่ารัฐบาลกลับไปเพิ่มต้นทุนการโอนเงินอีกถึง 15 % จากที่การโอนคริปโตเคอเรนซี่จะเสียค่าธรรมเนียมเพียงแค่ 0-1% ในลักษณะเช่นนี้จะทำให้คนกลับไปใช้การบริการโอนเงินผ่าน Traditional Bank ที่มีค่าธรรมเนียม 5% จึงเท่ากับว่าเราไม่สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มศักยภาพได้ 

มุมองต่อมา คือ เรื่องที่ ก.ล.ต.มีการกำกับดูแล ICO portal  เพื่อจะเข้ามาตรวจสอบว่า เหรียญไหนจะระดมทุนได้ การคัดกรองในลักษณะนี้ ถือว่าดีในเชิงที่ช่วยป้องกันแชร์ลูกโซ่ ป้องกันไม่ให้มีการหลอกหลวง ซึ่งการ ที่กลต. เข้ามาควบคุม มีข้อบัลคับให้ต้องขออนุญาตในการทำ ICO อาจจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดแชร์ลูกโซ่ในเมืองไทยได้ระดับหนึ่ง 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องเข้าใจ คือ ระบบนี้เป็นระบบเปิด ซึ่งคนไทยในต่างประเทศก็สามารถทำได้อยู่ดี เพราะการซื้อหรือการลงทุน ICO มีแค่ดิจิทัลเคอเรนซี่และอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ท้ายที่สุด เกรงว่าจะเป็นการป้องกันไม่ให้คนไทยหลอกคนไทยด้วยกันเอง แต่จะป้องกันให้ฝรั่งมาหลอกคนไทยไม่ได้ วิธีนี้จึงไม่ใช่หนทางแก้ไข  ซึ่งการแก้ไขโดยจริงๆ คือ การให้ความรู้ ซึ่งอาจจะตั้งเป็น Education Center ขึ้นมาเพื่อให้ความรู้กับคนอย่างจริงจัง  เพราะเมื่อคนมีความรู้ก็จะไม่ถูกหลอกง่ายๆ

ส่วนมุมมองเรื่อง การควบคุม Exchange ของ ก.ล.ต. ที่มีการอนุญาตทั้ง 3 รูปแบบ  คือ Exchange license,  Broker  license และ Dealer license   ซึ่งกลต.จะเข้ามาควบคุม และบอกว่าเหรียญไหนใช้สำหรับการเทรดดิ้งได้ เข้าใจว่ากฏหมายต้องการไม่ให้คนที่เป็น retail investors หรือนักลงทุนรายย่อย เสียผลประโยชน์หรือถูกหลอก รวมถึงยังมีลิมิตในการซื้อ โดยให้ซื้อได้ในจำนวนจำกัด แต่ VC (Venture Capital) และ license Investor สามารถซื้อได้ไม่อั้น โดยเป็นการใช้crowdfunding แบบเดิมๆมาครอบ สำหรับใครที่เคยเข้ามาลงทุนใน ICO  ก็จะรู้ว่าซื้อจากชั่วโมงไพรเวตเซลส์  โอกาสทำกำไรก็มีมากเป็น 10 เท่ารีเทิร์น

จิรายุส ประเมินรูปการว่า  เมื่อ VC ไปซื้อในชั่วโมงไพรเวตเซลส์ แล้วมาขายต่อที่ตลาดรอง( Secondary Market) ทันที ถือเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เพราะฉะนั้นในความคิดเห็นของเขา จึงยังคงเป็นกรอบเดิมๆ แต่ต้องถือว่ามีวัตถุประสงค์ที่ดี ที่สามารถวางกรอบเพื่อกำหนดให้เกิดสิ่งที่ถูกต้องขึ้นมา พร้อมให้ข้อเสนอแนะว่า ไม่ควรมีการตั้งเพดานในการเทรดนั้น เพราะจะเป็นการสร้างช่องว่างทำให้คนมีเงินรวยขึ้นเรื่อยๆ เพราะซื้อได้ไม่อั้นแล้วไปขายต่อ Secondary Market  จึงไม่ควรมีลิมิต ให้ทุกคนซื้อได้เท่าเทียมกัน หรือหากจะมีลิมิตจริงๆ ก็ต้องมีการกำหนดช่วงเวลาให้กับ VC ที่ซื้อได้ไม่อั้น จะต้องมีการถือไว้ 1 ปี ก่อนจึงจะขายต่อใน Secondary Market อย่างนี้จึงจะแฟร์สำหรับนักลงทุนรายย่อย

พลัง Next Gen Tech หนุน Crypto และ Block chain

ในด้านมุมมองถึงการเข้ามาของเทคโนโลยี block chain ที่มาของการเกิด crypto นั้น จิรายุส บอกว่าหากเรามองย้อนกลับไปในปี 2014 ในระยะนั้น ส่วนใหญ่คนจะคิดว่า บิทคอยน์ คือ แชร์ลูกโซ่ ใช้สำหรับการฟอกเงิน ซื้อขายยาในตลาดมืด นั่นคือสิ่งที่คนมอง 

กระทั่งก้าวเข้าสู่ปี 2015-2016 ในขณะที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่า บล็อกเชนเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ยังมีความคิดว่าบิทคอยน์เป็นสิ่งไม่ดีอย่าเข้าไปยุ่ง ทั้งที่เป็นเทคโนโลยีเดียวกัน เพราะบิทคอยน์เป็นเทคโนโลยีของบล็อกเชน และเป็น Public blockchain   ความคิดนี้ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจธนาคารที่ไม่อยากโดนดิสรัปชั่น  โดยจะมีความพยายามสื่อสารว่า ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี บิทคอยน์ เพราะไม่ดี มีความเสี่ยง แต่บล็อกเชนดี เพราะต้องการสนับสนุนในเรื่องของไพรเวทบล็อกเชน ที่สามารถควบคุมมูลค่าในระบบที่ปิดได้ทุกอย่าง

เมื่อเข้าสู่ปี 2017เป็นปีที่คริปโตเคอเรนซี เริ่มเป็นที่นิยมกว้างขวาง และเป็นตลาดที่ทุกคนเข้ามา เพราะมีความเข้าใจมากขึ้น จึงเริ่มเปลี่ยนทัศนคติ ความเข้าใจที่ว่าบิทคอยน์เป็นแชร์ลูกโซ่เริ่มมีน้อยลง มีคนเข้ามาศึกษา ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างจริงจัง และหลังจากปี 2017 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่ ICO บูมมากที่สุด ตลาดและ วอลลุ่มการซื้อขายบิทคอยน์บูมทั่วโลก

นี่คือเทรนด์ เช่นเดียวกัน สถานการณ์ในเมืองไทยนั้นก็เป็นไปตามเทรนด์ของต่างประเทศ รวมถึงกลุ่มยูสเซอร์ที่เทรดซึ้อ-ขายบิทคอยน์และคริปโตฯมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยบวกจากความรู้ ความเข้าใจ และการศึกษาจากคนที่เข้ามาทดลองใช้จริง 

หลังการทดลองทำให้เห็นข้อดีของบิทคอยน์หรือคริปโตฯอื่นๆว่า สามารถประหยัดค่าธรรมเนียมได้สูงมาก เมื่อพบว่าการโอนเงินแบบนี้แล้วประหยัดกว่า จึงไม่กลับไปใช้การโอนเงินระหว่างประเทศของเวสเทิร์น ยูเนี่ยน หรือโอนเงินในระบบโอนผ่านธนาคารอีกต่อไป เพราะมีต้นทุนที่แพงกว่า 

เพราะการโอนเงินในคริปโตเปรียบเสมือนกับการส่งข้อมูลผ่านระบบอีเมล เมื่อมีประสบการณ์ว่าการส่งอีเมลไม่ต้องใช้เวลานานเพื่อส่งไปปลายทาง คนก็ไม่กลับไปเขียนจดหมายอีก  เหมือนคนที่ขับรถเป็นแล้ว ก็ไม่กลับไปขี่ม้า ชี้ให้เห็นว่า เมื่อคนมีความรู้ ความเข้าใจ เข้ามาทดลองใช้แล้วเห็นว่าเวิร์ค จะไม่กลับไปใช้สิ่งที่ด้อยกว่าเดิม

เพราะฉะนั้นวอลลุ่มจึงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ไช่เพียงแค่ที่ไทย แต่ทั่วโลกเป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยเฉพาะกลุ่มเจเนอเรชั่นที่อยู่ในแวดวงเทคโนโลยี สตาร์ทอัพ คนรุ่นใหม่ จะเป็นเจนฯในการขับเคลื่อน Crypto และ block chain ให้เกิดและนำมาใช้ในโลกได้อย่างมีศักยภาพ

เจอเนเรชั่นบล็อกเชนและคริปโตฯ จะเป็นสิ่งที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก เหมือนที่อินเทอร์เน็ตคือ TCIP เข้ามาเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์คน วิถีชีวิต การทำธุรกิจทั้งหมด โดย จิรายุส  ทรัพย์ศรีโศภา มีความเชื่อเฉกเช่นเดียวกันว่าบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการแลกเปลี่ยนมูลค่า วงการการเงิน และในอนาคตนั้นจะขยายไปในทุกอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

X

Right Click

No right click