×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10972

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6847

Kinesis Money ระบบเงินตราดิจิทัลที่อิงสินทรัพย์จริง ประกาศสร้างความร่วมมือกับ TicketSocket แพลตฟอร์มการจองตั๋ว ลงทะเบียน และจัดอีเวนต์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถปรับแต่งตามความต้องการของลูกค้า

ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ สกุลเงินของ Kinesis จะถูกรวมเป็นตัวเลือกการชำระเงินบนแพลตฟอร์ม TicketSocket ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์แก่ทีมกีฬาอาชีพ บริษัททัวร์ และสถานที่จัดงานขนาดใหญ่ทั่วโลก ดังนั้น ลูกค้าจึงสามารถซื้อตั๋วเข้าร่วมกิจกรรมระดับโลกได้โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลของ Kinesis

สกุลเงินดิจิทัลของ Kinesis ผสานเสถียรภาพของทองคำและโลหะเงิน เข้ากับประสิทธิภาพของบล็อกเชนในฐานะสื่อกลางการแลกเปลี่ยน สกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้อิงกับทองคำแท่งจริงในอัตราส่วน 1:1 และได้รับการเก็บรักษาในตู้นิรภัยทั่วโลกโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย สกุลเงินดังกล่าวสามารถถือครองหรือถ่ายโอนระหว่างกระเป๋าเงินดิจิทัลของ Kinesis ผ่านเครือข่ายบล็อกเชนที่ปลอดภัย ทั้งยังสามารถใช้จ่ายอย่างง่ายดายโดยใช้บัตรเดบิตได้ทุกที่ที่รับบัตร Visa/Mastercard

ความร่วมมือระหว่าง Kinesis และ TicketSocket ในครั้งนี้ เป็นการตอกย้ำศักยภาพในการใช้งานสกุลเงินของ Kinesis ในโลกแห่งความจริง

คุณ Ryan Case ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ของ Kinesis Money กล่าวว่า "ผู้ถือครองสกุลเงินดิจิทัลอิงทองคำหรือโลหะเงิน ซึ่งมีเสถียรภาพและไม่เผชิญความเสี่ยงเหมือนกับสกุลเงินดิจิทัลที่อิงเงินกระดาษ สามารถใช้สกุลเงินเหล่านี้ในโลกแห่งความจริงได้มากขึ้น เช่น ใช้ซื้อตั๋วเพื่อชมการแสดงหรือการแข่งขันกีฬา เป็นต้น"

"ผู้ถือครองสกุลเงินของ Kinesis ไม่เพียงได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้สกุลเงินดังกล่าวในการทำธุรกรรมในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย"

คุณ Kai M. Blache ประธานของ TicketSocket กล่าวว่า "เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้ร่วมมือกับ Kinesis เพื่อนำเสนอตัวเลือกการชำระเงินรูปแบบใหม่ให้แก่ลูกค้าของเรา และเราจะนำ Kinesis มาสนับสนุนประสบการณ์ในการจองตั๋วและการจัดอีเวนต์ตามความต้องการของลูกค้า"

คุณ Ryan สรุปว่า "ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นตัวอย่างสำคัญของการใช้สกุลเงินดิจิทัลของ Kinesis ในโลกแห่งความจริง การที่ TicketSocket สนับสนุน Kinesis เป็นทางเลือกในการชำระเงิน ทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายสูงสุดในการปฏิวัติระบบเงินตราที่เราใช้กันในปัจจุบัน

 

 รายงานดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ Dell Technologies Digital Transformation Index (the DT Index) จัดทำโดยเดลล์เทคโนโลยีส์ ร่วมกับอินเทล สำรวจความก้าวหน้าในการปรับตัวสู่ดิจิทัลขององค์กรธุรกิจขนาดกลางถึงใหญ่ทั่วโลกกว่า 4,000 แห่ง โดยมอบหมายให้ Vanson Bourne บริษัทวิจัยอิสระสำรวจผู้นำธุรกิจ 100 รายในประเทศไทยเพื่อประเมินกลยุทธ์ด้านไอที ความริเริ่มในการปฏิรูปของคนทำงาน และความสามารถที่รับรู้ได้โดยเทียบจากคุณลักษณะสำคัญที่ธุรกิจดิจิทัลต้องมี พร้อมประเมินความคาดหวังและมุมมองของผู้บริหารในเรื่องดิจิทัล

โดยปีนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่เดลล์ เทคโนโลยีส์ และอินเทลทำการสำรวจนี้ โดยได้ขยายกลุ่มขอบเขตงานวิจัยจาก 16 ประเทศเป็น 42 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยที่มีการสำรวจครั้งแรก

โดยผลสำรวจในส่วนของประเทศไทยที่น่าสนใจมีดังนี้

  

การเปรียบเทียบเพื่อแบ่งกลุ่ม

รายละเอียด

การวิเคราะห์ ระดับประเทศในปี 2018

(ประเทศไทย)

ผู้นำด้านดิจิทัล

(Digital Leaders)

มีการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ในหลากหลายรูปแบบ และถูกปลูกฝังอยู่ในดีเอ็นเอของธุรกิจ

7%

ผู้ที่เริ่มก้าวสู่ดิจิทัล

(Digital Adopters)

มีแผนงานด้านดิจิทัลที่เป็นจริงเป็นจัง มีการลงทุนและมีนวัตกรรมในองค์กร

40%

ผู้ที่กำลังประเมินดิจิทัล

(Digital Evaluators)

ตอบรับการปฏิรูปสู่ดิจิทัลอย่างระมัดระวัง ค่อยเป็นค่อยไป มีการวางแผนและลงทุนสำหรับอนาคต

 

25%

ผู้ตามในเรื่องดิจิทัล

(Digital Followers)

 

ลงทุนด้านดิจิทัลน้อยมาก เพิ่งเริ่มต้นวางแผนคร่าวๆ สำหรับอนาคต

23%

ผู้ที่ถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังดิจิทัล

(Digital Laggards)

ไม่มีแผนงานด้านดิจิทัล มีการลงทุนและความริเริ่มที่จำกัดในองค์กร

5%

นพดล ปัญญาธิปัตย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ อีเอ็มซี ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ตามดัชนี DT Index พบว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในไทย อยู่ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มก้าวสู่ดิจิทัล (Digital Adopters) โดยบริษัทเหล่านี้ มีแผนงานและนวัตกรรมที่ล้ำหน้าในองค์กรที่ช่วยขับเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปองค์กร (transformation) อย่างไรก็ตาม ผลการรายงานยังเผยให้เห็นว่า เกือบ 1 ใน 4 ของบริษัทยังอยู่ใน 2 กลุ่มหลัง ซึ่งหมายความว่าบริษัทเหล่านี้ กำลังก้าวไปอย่างช้าๆ หรือไม่ก็ยังไม่มีแผนงานด้านดิจิทัลเลย

 อุปสรรคที่กีดขวางการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล

 

  • 53% การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์
  • 49% วัฒนธรรมด้านดิจิทัลที่ยังไม่แข็งแรงพอ ขาดความสอดคล้อง และการประสานความร่วมมือภายในบริษัท
  • 48% ขาดวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ด้านดิจิทัลที่สอดคล้องกัน
  • 45% ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำงานให้ทันต่อธุรกิจ
  • 43% ขาดทักษะและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในองค์กร
  • 96% บอกว่าพบอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล
  • 90% เชื่อว่าการปฏิรูปสู่ดิจิทัลควรแพร่หลายและครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรได้มากกว่านี้
  • 71% กังวลว่าองค์กรของตนเองจะต้องพยายามอีกมากเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
  • 33% กังวลว่าองค์กรจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลังไม่สามารถตามความเปลี่ยนแปลงได้ทัน
  • 61% เชื่อว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ก่อนที่จะถูก disrupt

 การก้าวข้ามอุปสรรค

 งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจกำลังเดินหน้าเพื่อที่จะก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับการคุกคามในการที่จะถูกเอาชนะจากผู้เล่นที่ไวกว่าและมีนวัตกรรมเหนือกว่า โดยเห็นได้จากประเด็นต่อไปนี้

  • 69 % ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช่วยเร่งสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่
  • 68 % สร้างระบบรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวไว้ในทุกอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน และอัลกอริธึมทั้งหลาย
  • 65 % กำลังพยายามอย่างมากในการพัฒนาทักษะรวมถึงความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในองค์กร เช่นการสอนให้พนักงานเรียนรู้วิธีการเขียนโค้ด รวมถึงระดับบริหารที่ควรจะรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 52 %แบ่งปันความรู้ในทุกฟังก์ชันงาน ด้วยการเตรียมพร้อมให้ผู้นำด้านไอที มีทักษะทางธุรกิจ และให้ผู้นำธุรกิจมีทักษะไอทีในขณะเดียวกัน
  • 45 % มีรูปแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันที่เหมาะกับการนำไปใช้แล้วปรับแก้อย่างรวดเร็ว

  ในส่วนของแผนการลงทุนที่วางไว้ภายใน 1 ถึง 3 ปีข้างหน้า

  • 73 % ตั้งใจที่จะลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์
  • 63 % ตั้งใจว่าจะลงทุนด้านมัลติ-คลาวด์
  • 61 % ตั้งใจว่าจะลงทุนด้านการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้แนวทางมุ่งเน้นที่การประมวลผลเป็นหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล รวมถึงศักยภาพและการดำเนินการที่เหมาะสมและคุ้มค่าในเรื่องของเวิร์กโหลด
  • 56 % ตั้งใจว่าจะลงทุนเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI)
  • 55 % ตั้งใจว่าจะลงทุนในเทคโนโลยี IoT
  • 55 % กำลังจะลงทุนด้าน blockchain
  • 44 % จะลงทุนในระบบที่มีกระบวนการรับรู้ได้เอง (cognitive systems)
  • 40 % จะลงทุนใน Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR)

นพดลมองว่า องค์กรที่วางเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลาง จะได้รับประโยชน์จากโมเดลธุรกิจดิจิทัล รวมถึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เพื่อจัดการทุกสิ่งได้ในแบบอัตโนมัติและทำให้ลูกค้าพึงพอใจ นี่คือสาเหตุที่การปฏิรูปสู่ดิจิทัล เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง

เมื่อถามว่าเดลล์มีวิธีให้คำแนะนำกับผู้ที่กำลังมองหาเทคโนโลยีและสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลในองค์กรเขาตอบว่า จะใช้วิธีแนะนำให้ดูตัวอย่างจากองค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองรองรับโลกดิจิทัลได้ ซึ่งก็เป็นวิธีหนึ่งสำหรับผู้ที่กำลังมองหาหนทางเปลี่ยนแปลงองค์กรของตนให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลในปัจจุบัน

จักรพงศ์ ธรรมวิเศษศรี ประธานกรรมการบริหาร ควินท์ เรล์ม ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์โครงการควินทิลเลียน เบิร์ก (QUiNTILLION BURGH) เมืองอัจฉริยะท่ามกลางธรรมชาติ เพื่อผู้อยู่อาศัยวัยเกษียณจากทั่วโลก ที่รองรับการใช้ควินท์ คอยน์ กล่าวว่า “ในระหว่างที่ทิศทางของวงการ
คริปโตเคอเรนซีเมืองไทยกำลังเดินหน้าไปด้วยดี และอยู่ในช่วงเวลาที่ผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจกำลังขอใบอนุญาต ทางเราอาศัยจังหวะนี้ออกโรดโชว์ในต่างประเทศ พบว่ามีชาวต่างชาติให้ความสนใจโครงการของเราเป็นจำนวนมาก ในทางเดียวกันก็ทำให้เกิดความต้องการซื้อขายเหรียญมากเกินความคาดหมาย เราจึงตัดสินใจนำควินท์ คอยน์ ขึ้นเทรดบนกระดานต่างประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลกที่กำลังให้ความสนใจซื้อขายเหรียญของเรา”

โดยควินท์ เรล์ม บี.วี. พา ควินท์ คอยน์ (QUiNT COIN) ขึ้นเทรดวันแรก 8 สิงหาคม 2561 บน EXRATES  กระดานซื้อขายอันดับที่ 35 ของโลก ที่ลิสต์เหรียญมากกว่า 120 สกุล

ควินท์ คอยน์ คือการระดมทุนในรูปแบบไอซีโอ (ICO: Initial Coin Offering) จำนวน 1,250 ล้านโทเคน เสนอแก่ผู้ที่สนใจจากทั่วโลก ในราคาเหรียญละ 0.024 ดอลลาร์สหรัฐ/โทเคน หรือประมาณ  0.75 บาท/โทเคน ซึ่งสิ้นสุดการเสนอขายไปเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา รวมยอด ได้ทั้งสิ้นกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 661 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ของโครงการควินทิลเลียน เบิร์ก

จักรพงศ์บอกว่า ควินทิลเลียน เบิร์ก เป็นโครงการที่สามารถใช้ควินท์ คอยน์ ซื้อสิทธิในการอยู่อาศัย หรือใช้จ่ายภายในโครงการได้ นับได้ว่าเป็นโครงการแห่งอนาคตที่คนทั่วโลกกำลังมองหา  จึงมั่นใจเป็นอย่างมากว่าราคาซื้อขายของควินท์ คอยน์ จะสามารถรักษาระดับได้ดี ทั้งจากผู้ต้องการอยู่อาศัยจริงและจากผู้มองเห็นโอกาสในการลงทุน

โดยโครงการควินทิลเลียน เบิร์ก (QUiNTILLION BURGH) จะสร้างบนพื้นที่ขนาดประมาณ 3,200 ไร่ หรือประมาณ 4.8 ตารางกิโลเมตร ใน อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ มีการนำแนวคิดเมืองอัจฉริยะมาบริหารจัดการโครงการอย่างเต็มศักยภาพในทุกส่วน โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัยและการดูแลสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ซึ่งสำรวจแล้วว่าเป็นความต้องการหลักของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายวัยเกษียณจากทั่วโลกที่ปรารถนาจะเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองไทย

 

          Crescent Crypto Asset Management ผู้จัดการกองทุนดัชนีสกุลเงินดิจิทัล ที่นำโดยศิษย์เก่าโกลด์แมน แซคส์ ประกาศปิดการระดมทุน Series A และเปิดตัวกองทุนต่างประเทศ Offshore Cayman โดยการระดมทุนรอบนี้นำโดย FBG Capital ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับบล็อกเชน ตั้งแต่การลงทุนในโทเคน การซื้อขาย เช่น principal trading, over-the-counter ("OTC") trading ไปจนถึงกลยุทธ์การลงทุนประเภทต่าง ๆ ได้เข้ามาลงทุน พร้อมนำเครือข่ายและความรู้ในอุตสาหกรรมมาสู่ Crescent

           FBG จะอาศัยความได้เปรียบจากฐานการดำเนินงานระดับโลกที่แข็งแกร่ง เพื่อช่วยสนับสนุน Crescent ในการเพิ่มสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ สำหรับกลุ่มกองทุนเชิงรับ (passive fund) ทั้งในสหรัฐและต่างประเทศ นอกจากนี้ FBG จะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของตนเองเพื่อช่วย Crescent พัฒนาและนำผลิตภัณฑ์เหรียญดิจิทัลหลายสกุลเข้าจดทะเบียนในตลาดการเงินแบบดั้งเดิม

           สำหรับเงินที่ได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ในการขยายทีมงาน ว่าจ้างผู้บริหารระดับอาวุโสประจำฝ่ายขายและการพัฒนาธุรกิจ โดยมุ่งเน้นไปที่บุคลากรที่มีความสามารถจากบริษัทวาณิชธนกิจและผู้ให้บริการ ETF ชั้นนำ ซึ่งมีวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่จะผลักดันสกุลเงินดิจิทัลเข้าสู่ตลาดกระแสหลักเช่นเดียวกันกับบริษัท นอกจากนี้ บริษัทยังตั้งใจที่จะนำเงินทุนที่ได้มาใช้สร้างแพลตฟอร์มให้คำปรึกษาและการวิจัยสินทรัพย์ดิจิทัลอีกด้วย

          กองทุนต่างประเทศ (Offshore Fund) กำหนดมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำที่ 250,000 ดอลลาร์ และขณะนี้เปิดรับใบจองซื้อแล้ว โดยมีค่าธรรมเนียมการจัดการ 2% และสามารถใช้สิทธิไถ่ถอนเป็นรายไตรมาส

           Crescent Crypto เปิดตัวในฤดูใบไม้ผลิของปี 2560 ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัททุกคนเริ่มต้นการทำงานที่โกลด์แมน แซคส์ ก่อนที่จะไปสั่งสมประสบการณ์เพิ่มเติมในกองทุนเฮดจ์ฟันด์และธุรกิจเงินร่วมลงทุน โดยมี Crescent 20 Index Fund เป็นกองทุนเรือธง โดยเป็นกองทุนดัชนีสกุลเงินดิจิทัลที่บริหารจัดการโดยเอกชน ที่มุ่งเน้นผลตอบแทนการลงทุนในโลกของคริปโตด้วยแนวทางเชิงรับและมีกฎเกณฑ์ กลยุทธ์การลงทุนดังกล่าวปรับตัวตามความผันผวน สภาพคล่อง และการจัดเก็บที่ปลอดภัย (safe storage) และได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เป็นเครื่องมือการลงทุนที่ไม่ซับซ้อนสำหรับนักลงทุน กองทุน Crescent 20 Index ครอบคลุมมูลค่าตลาดรวมประมาณ 90% ของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล กองทุนถูกจัดเก็บในรูปแบบ Cold Storage ทั้ง 100% และมีการปรับสัดส่วนกองทุนเป็นประจำทุกเดือน ทั้งนี้ กองทุนในประเทศ (onshore fund) จำกัดการลงทุนให้กับผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย (accredited investor) เท่านั้น ด้วยมูลค่าการลงทุนขั้นต่ำที่ 100,000 ดอลลาร์

"เมื่อกล่าวถึง Disruptive Technologies ซึ่งนานๆทีจะเกิดสักครั้ง แต่นั่นหมายถึงเทคโนโลยีที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) หรือ Lifestyle ของผู้คนครั้งสำคัญ เหมือนเช่นดั่งในปี 1975 ที่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal computer) เป็น Disruptive platform เป็น infrastructure ที่เปิดโอกาสให้คนอย่าง บิล เกตต์ สร้างแอพพลิเคชั่นมาเปลี่ยนแปลงโลกจนทุกวันนี้ที่ไม่มีใครไม่ใช้ Personal computer และอีกครั้งในเวลาต่อมาคือในปี 1990 ที่เทคโนโลยี อินเทอร์เนต TCP/IP ก็เป็น Infrastructure รอบใหม่ที่เปิดโอกาสให้คนอย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบริก สร้างแอพพริเคชั่น facebook หรือ แลร์รี่ เพจ สร้าง Google ขึ้นมาและสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกดังเช่นที่เห็นกันในทุกวันนี้"

สำหรับรอบนี้ถือเป็นความโชคดีของคนในยุคนี้ที่จะมีโอกาสได้ใช้ Blockchain ซึ่งจะเป็น Disruptive Technology เป็น Infrastructure ของ Generation โดยที่ผ่านมามี Bitcoin ที่พวกเราแทบทุกคนรู้จักกันดีทั่วโลก เป็นแอพพริเคชั่นตัวแรกซึ่งถูกปล่อยออกมาในปี 2009 แต่ในเวลาไม่ถึง 9 ปี ธนาคารทั่วโลกต้องขยับตัวกันอย่างมหาศาล หรือกระทั่งวงการระดมทุนที่เรียกว่า ICO จะเห็นได้ว่าในปี 2017 มูลค่าการลงทุนผ่าน ICO ปีเดียวมากกว่า VC ทั่วโลกรวมกัน

"หมายความว่า Blockchain  คือ  Disruptive platform ตัวต่อไปที่ทุกวงการจะต้องหันมาใช้ เหมือนกับที่เคยต้องหันมาใช้ Personal computer และ Internet TCP/IP ในทำนองเดียวกัน"  นั่นคือ Talk บทเปิดของ จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา  บนเวที Thailand MBA Forum 2018

Blockchain Technology 

เปลี่ยนผ่าน Internet of information → Internet of Value

"ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา" Group CEO Blockchain Capital, Group Holdings Co.,Ltd. ได้บรรยายถึงหัวใจสำคัญของ บล็อกเชน เทคโนโลยี ซึ่งเป็น layer ที่สองของอินเตอร์เน็ท ที่มีพัฒนาการเหนือไปกว่ายุคแรกที่เป็น TCP/IP ที่เป็น Internet of Information ซึ่งส่งผ่านได้เพียงข้อมูล แต่สำหรับ บล็อกเชน เป็นอินเตอร์เน็ทที่มีความสามารถเหนือไปกว่า เพราะสามารถที่จะส่งผ่านสิ่งที่เรียกว่า "มูลค่า" (Value) ออกไปได้ด้วย โดยไม่ต้องผ่านเทคโนโลยีของตัวกลางดั่งเช่นในอดีตอีกต่อไป และแปลว่าในอนาคตอันใกล้ เหล่ากลไกตัวกลางในวงการแลกเปลี่ยนต่างๆ จะต้องปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่

"ท๊อป จิรายุส" ยกกรณีตัวอย่างของวงการแลกเปลี่ยนมูลค่า อย่างเช่น การโอนเงินที่เคยมีธนาคารเป็นตัวกลาง การซื้อขายหุ้นที่เคยต้องผ่านโบรคเกอร์ หรือกระทั่งการซื้อขายที่ดินที่เคยต้องผ่านตัวแทนหรือนายหน้า  ธุรกรรมต่างๆ ที่เคยต้องอาศัยเทคโนโลยีหรือกลไกของตัวกลางในการดำเนินการ ต่อไปเราสามารถแลกเปลี่ยนมูลค่ากันได้โดยตรง เพราะบล็อกเชนมีความพร้อมและอนุญาตให้เราสามารถ digitized มูลค่ากันได้แล้ว เรียกว่า Decentralized Vs. Centralized system

ในอดีตเราใช้อินเตอร์เนท TCP/IP ส่งออกส่งที่เป็นข้อมูลหรือรูปภาพ คือการส่งสิ่งที่เป็นสำเนาออกไป มากมายเพียงใดก็ทำได้ แต่ต้นฉบับก็ยังคงเหลืออยู่ ดังนั้นจึงส่งสิ่งที่เป็นมูลค่า ออกไปไม่ได้จริง ไม่เช่นนั้นเราก็ย่อมจะสามารถส่งออกสิ่งที่มูลค่า เช่นธนบัตรใบละ 1,000 บาทออกไปให้ใครต่อใครก็ได้ มากเท่าไหร่ก็ได้ เพราะส่งกี่ครั้ง ต้นฉบับก็ยังคงเหลืออยู่ และนั่นคือข้อจำกัดหรือที่เรียกว่า Double spent problem

แต่สำหรับ บล็อกเชน ได้รับการพัฒนาภายใต้การรวบรวมปัญหาและงานวิจัยโดยนักพัฒนาผู้มีนามว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ ผู้คิดและพัฒนาบิทคอย โดยเขาได้แก้ปัญหาในสิ่งที่เรียกว่า Solve Double Spent Problem ทำให้บล็อคเชน สามารถเก็บมูลค่า และสามารถส่งออก "มูลค่า" ได้โดยตรงระหว่างผู้ส่งและผู้รับ และนั่นคือเป็นวิวัฒนาการของสิ่งที่ว่า Internet of value

4 Development ของ Blockchain

"จิรายุส" บอกกล่าวเล่าถึงพัฒนาการในวงการบล็อกเชนว่า สามารถแบ่งออกได้เป็นขั้นเป็นตอนอยู่ 4 ระยะ ใน stage แรกของบล็อกเชน คือ Internet of Money เช่น bitcoin ที่ออกมาได้ 8-9 ปี ทุกวันนี้ digital currency ทั่วโลกมีมากกว่า 1,700 ตัว โดยกลุ่มแรกของคริปโตนั้น มุ่งเป้าไปสู่การเป็น internet of money เพื่อที่จะทำให้เราสามารถ digitized เงินแล้วโอนหากันแบบ peer to peer โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางอีกต่อไป

เพราะในระบบที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ การโอนเงิน  ซึ่งหมายถึงการโอนเงินจากธนาคารต้นทางไปยังธนาคารผู้รับ จะมีสิ่งที่เรียกว่า international clearing house  เปรียบเสมือนทางด่วนที่เราต้องจ่ายค่าผ่านทางเพื่อจะไปยังจุดที่หมาย  ยิ่งหลายด่านก็หมายถึงค่าผ่านทางที่ต้องเพิ่มขึ้นและต้องจ่ายไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงปลายทาง และนั่นคือที่มาของค่าธรรมเนียมการโอนเงิน 5-10 % ในการโอนเงินไปต่างประเทศ   แต่พอมี digital money อย่าง bitcoin,light coin, state cash หรือ Ripple  เหล่านี้คือ Digital money ที่ล้วนมีเป้าหมายที่ต้องการจะเอาออกในสิ่งที่เรียกว่า international clearing house  หรือกลไกตัวกลางออกไปเพื่อให้เราสามารถโอนเงินกันได้อย่างเร็วขึ้น-ประหยัดขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Internet of Assets = Value Registry

stageที่สองของบล็อกเชน เป็นความสามารถในการ digitized ทุกอย่างที่มีมูลค่า ซึ่งไม่ได้หมายความว่า คือ เพียงเงิน(money)อย่างเดียว แต่สินทรัพย์ที่มีมูลค่าอื่นอาทิเช่น ที่ดิน, เพชร, พลอย, ภาพเขียนหรืออื่นๆ อีกมากมาย ก็สามารถนำมา digitized อยู่ในบล็อกเชนได้เช่นกัน

Internet of Entities = Value Ecosystem

สำหรับstageที่ 3 บล็อคเชนจะถูกนำมาใช้ในการปลดล็อค ทำให้ก่อเกิดโมเดลธุรกิจ และการจัดการใหม่ๆ เป็น decentralized autonomous ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ Ethereum หนึ่งในบล็อกเชนที่เป็น Generalized platform  ที่ถูกใช้ในการสร้างเหรียญและมี Smart contract ที่เปิดโอกาสให้คนสามารถสร้างบล็อคเชนและโทเคน(Token) ขึ้นมาอย่างง่ายดาย  กลายเป็นเครื่องมือในการออกTokenเพื่อระดมทุนในรูปแบบที่เรียกว่า ICO ( Initial Coin Offering) ซึ่งปรากฏว่าจากคริปโตที่เคยมีเพียงไม่กี่ตัวในอดีต เพียงปีเศษๆ ที่ผ่านมามีคริปโตเกิดขึ้นกว่า 1,700 ตัวทั่วโลก โดยกว่า 90% ของเหรียญเหล่านั้นถูกสร้างบน Ethereum

Interoperable  Ledgers = Value web

เป็นพัฒนาขั้นที่ 4 ที่ปัจจุบันกำลังเร่งพัฒนาเพื่อให้โทเคนที่มีอยู่ทั่วโลกจำนวนมากมาย  และจะเพิ่มจำนวนขึ้นอีกมาก แต่มีสิ่งที่เป็นปัญหาติดอยู่ ณ ขณะนี้คือ โทเคนในแต่ละแพลตฟอร์ม  ยังคุยกันคนละภาษา ซึ่งหากจะมีการแลกเปลี่ยนมูลค่าซื้อขาย-แลกเปลี่ยน ก็จะต้องเอาเหรียญเหล่านั้นโอนไปยังที่ที่เรียกว่า Centralized exchange crypto แล้วก็ซื้อขายเพื่อแลกเปลี่ยนกันเหมือนซื้อขายหุ้น เหตุเช่นนี้เพราะคริปโตแต่ละตัวยังไม่สามารถคุยกันได้โดยตรง ( เหมือนอินเตอร์เนทในยุคแรกๆ)

ในขณะนี้นักพัฒนากลุ่มใหม่ๆ เช่น Kyber, Ox, Airswap หรือ OmiseGo กำลังเร่งพัฒนาเพื่อสร้างการเชื่อมโยงระหว่างโทเคนตัวต่างๆ ให้สามารถคุยกันหรือแลกเปลี่ยนมูลค่ากันได้โดยตรง


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ "Blockchain for Management" โดย จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา จากงาน Thailand MBA Forum 2018  ได้ที่นี่

 

 

 

X

Right Click

No right click