×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดตัว การจ่ายเงินอุดหนุนให้กับผู้ประสบปัญหาทางสังคม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ Krungthai Corporate Online โดยมี สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง นภา  เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และ ผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ร่วมในพิธีเปิด ณ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

ผยง กล่าวว่า ความร่วมมือกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมบัญชีกลางในครั้งนี้ นอกจากสนองนโยบายภาครัฐในเรื่องธรรมาภิบาลแล้ว ยังช่วยเพิ่มความรวดเร็ว มั่นใจ โปร่งใส และสะดวกสบายให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยระบบ Krungthai Corporate Online จะดำเนินการโอนเงินโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้ประสบภัยทางสังคมที่มีบัญชีธนาคารกรุงไทยจะได้รับเงินในทันที ส่วนผู้ที่มีบัญชีของธนาคารอื่นจะได้รับเงินภายใน 2 วัน

ทั้งนี้ ระบบดังกล่าว ผู้ทำรายการสามารถดูสถานะการทำรายการต่างๆ รวมถึงมีหลักฐานแสดงข้อมูลการทำรายการทั้งแบบสรุป และแบบมีรายละเอียดอย่างครบถ้วน  รวมทั้งมีระบบตรวจสอบข้อมูลของผู้รับเงินก่อนจะดำเนินการโอนเงินด้วย

อย่างไรก็ตาม เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ธนาคารกรุงไทยได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปิดบัญชีสำหรับผู้รับเงินอุดหนุนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ค่ารักษาบัญชีสำหรับผู้มีบัญชีธนาคารกรุงไทย ซึ่งเมื่อโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว ผู้รับเงินจะได้รับ SMS แจ้งเตือนเงินเข้าบัญชี ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งไว้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้รับเงินอุดหนุนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือไม่สะดวกในการไปเปิดบัญชี ในอนาคต จะสามารถรับเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือใช้บัตร E-​​​​​Money ได้อีกด้วย

หลังจากที่ บมจ.เจมาร์ท (JMART) ประกาศความสำเร็จ บ.เจ เวนเจอร์ส (JVC) บริษัทย่อยที่ระดมทุน ICO (Initial Coin Offering) สำเร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเปิด Pre-Sale ขาย JFin Coin 100 ล้านโทเคนหมดเกลี้ยงภายใน 55 ชั่วโมง ล่าสุดเดินหน้าแผนธุรกิจตามที่กำหนดไว้ เปิดเกมรุกสินเชื่อในโลกฟินเทค โดยพัฒนา JFin DDLP ระบบสินเชื่อแบบดิจิทัลที่ไม่มีตัวกลาง อีกทั้งเตรียมนำมาต่อยอดผลิตภัณฑ์อื่นๆ ประเดิมใช้งานในกลุ่มเจมาร์ทภายในปี 2562 นี้

อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART  เปิดเผยถึง แผนการดำเนินงานหลังจาก บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ JVC (เป็นบริษัทย่อยที่ JMART ถือหุ้นในสัดส่วน 80%)  ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ และแอฟพลิเคชั่นทางด้านฟินเทค ลงทุนในธุรกิจสตร์ทอัพ ประสบความสำเร็จจากการระดมทุนด้วยการทำ ICO เป็นรายแรกในประเทศไทยของกลุ่มบริษัทมหาชน ที่สร้างปรากฏการณ์ของโลกการเงิน นำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาใช้ในการทำธุรกิจสินเชื่อ ในชื่อเหรียญ JFin Coin

 

อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน)

 

ทั้งนี้ JFin Coin เปิดเสนอขาย Pre-sale วันแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับเกินคาดหมาย โดยเปิดเสนอขายในคราวนี้จำนวน 100 ล้านโทเคน ที่ราคาขาย 6.60 บาทต่อโทเคน ได้ถูกผู้สนับสนุนจองซื้อหมดเต็มจำนวนเรียบร้อยแล้วภายใน 55 ชั่วโมงแรก ตอกย้ำความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนในแผนธุรกิจที่วางไว้ ในฐานะที่เจมาร์ทเป็นบริษัทมหาชน ก่อตั้งและดำเนินธุรกิจมา 30 ปี การันตีความถูกต้อง และธรรมภิบาลในการบริหารธุรกิจ มุ่งหวังในการเป็นผู้นำเทคโนโลยีทางด้านการเงินอย่างสมบูรณ์แบบ ทำให้เกิด ICO ที่มีมาตรฐานขึ้นในประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆ มั่นใจนำเงินที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ โดยเม็ดเงินที่ได้จากการระดมทุนราว 660 ล้านบาท ทีมงานได้เริ่มดำเนินการพัฒนาระบบ Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) ไปตามแผนที่วางไว้เรียบร้อยแล้ว สนับสนุนการเติบโตในธุรกิจสินเชื่อของกลุ่มเจมาร์ท ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นได้

ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ JVC เผยถึงการพัฒนระบบสินเชื่อแบบดิจิทัลที่ไม่มีตัวกลาง (Decentralized Digital Lending Platform หรือ DDLP) คือ ระบบการกู้ยืมเงินแบบดิจิทัลบนเทคโนโลยี Blockchain ที่มีความปลอดภัยสูง รองรับกระบวนการแบบครบวงจร ตั้งแต่การระบุตัวตน (KYC) กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ การประเมินเครดิต การอนุมัติสินเชื่อ และการติดตามหนี้สิน เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการบริการด้านสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รวมถึงรองรับระบบ P2P Lending ระบบตลาดสินเชื่อออนไลน์ที่เชื่อมต่อให้ผู้กู้ที่มีศักยภาพสามารถกู้เงินได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านธนาคารหรือสถาบันการเงิน ดังนั้น ระบบ DDLP จะเป็นหนึ่งในระบบสำคัญที่เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของกลุ่มบริษัทเจมาร์ทในอนาคตอันใกล้นี้ ตั้งเป้าระบบจะแล้วเสร็จ พร้อมเริ่มใช้งานในปี 2562

 

 

สำหรับจุดแข็งของ  JFin DDLP  คือ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ ทำให้สามารถสร้างระบบการเงินที่ยั่งยืน ขยายตลาด และเข้าถึงประชากรได้อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบธนาคารหรือการให้บริการทางการเงิน โดยบริษัทฯ มุ่งเน้นการจับกลุ่มลูกค้าที่มีเครดิตดี วิเคราะห์จากฐานข้อมูลลูกค้าของกลุ่มเจมาร์ทที่มีรวมกันมากกว่า 3 ล้านราย

โดยเฉพาะบริษัทในเครือ ได้แก่ บมจ.เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) ผู้นำในธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ และรับจ้างติดตามหนี้สิน เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เรามีฐานข้อมูลและสามารถรับความเสี่ยงได้มากขึ้น

รวมถึงการเสริมทัพด้วยการจับมือพันธมิตรและกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เพื่อสนับสนุนข้อมูลให้แก่บริษัทฯ ให้มี Big Data ที่สามารถสร้าง Credit scoring หรือการประเมินการขอสินเชื่อบุคคลโดยอัติโนมัติผ่านเทคนิคการให้คะแนนเครดิตผ่านข้อมูลต่างๆ ที่ระบุไว้ เพื่อให้สามารถคัดเลือกลูกค้าที่มีเครดิตดีได้อย่างแม่นยำมากขึ้น นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในโลกการเงินอย่างสมบูรณ์แบบ ส่งผลดีต่อ JVC ในฐานะผู้นำในธุรกิจพัฒนาซอฟท์แวร์ และแอฟพลิเคชั่นทางด้านฟินเทคให้ได้รับการตอบรับมากขึ้นในอนาคต

 

หลังจากบริษัทย่อยของกลุ่มเจมาร์ท บริษัท เจเวนจอร์ส ประกาศทำ ICO (Initial Coin Offering) ในชื่อ JFin Coin โดยเริ่มเสนอขาย Pre-Sale วันแรก เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.00 น. ผ่าน TDAX ตลาดแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลของคนไทยเหรียญที่นำมาเสนอขายครั้งนี้ทั้งหมดจำนวน 100 ล้านโทเคน ที่ราคา 6.60 บาท หรือคิดเป็นเงิน 660 ล้านบาทสามารถขายได้หมดในเวลาเพียง 55 ชั่วโมง และเตรียมเข้าซื้อขายในตลาดรองไม่เกิน 2 เมษายนที่จะถึงนี้ เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่วงการการเงินและฟินเทคในประเทศไทยต้องบันทึกไว้

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีใหม่นี้เริ่มจาก Bitcoin เหรียญชื่อดังเจ้าแรกเป็นต้นมา ผู้ที่สนใจวงการนี้ในประเทศไทย ก็เริ่มขยับตัวตามกันมา ในช่วงแรกยังคงอยู่ในวงแคบๆ ไม่โด่งดังเท่าไรนัก จนกระทั่งราคา Cryptocurrencies ในตลาดโลกพุ่งสูงทำสถิติกันเป็นรายวัน ส่งผลให้เกิดความตื่นตัวในฝั่งผู้ลงทุน และกลุ่มที่ต้องการทำเหมือง (Miner) ขุดเหรียญต่างๆ จนปัจจุบันตลาด Cryptocurrencies ในไทยมีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น จำนวนเหรียญที่อยู่ในตลาดแลกเปลี่ยนหลายล้านเหรียญ คือเครื่องยืนยันในเรื่องนี้รวมถึงงานพูดคุยสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่มีให้เห็นอยู่แทบจะทุกสัปดาห์

ตาม White Paper ของ JFin Coin ระบุว่า จะนำเงินที่ได้ไปใช้พัฒนา Decentralized Digital Lending Platform (DDLP) เป็นแพลตฟอร์มการให้บริการกู้ยืมแบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี Blockchain แน่นอนว่าเจ้าของโครงการย่อมมีความยินดีที่ ICO ของตนได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม
อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) กล่าวหลังจากการ Pre-Sale สิ้นสุดเนื่องจากมีผู้จองซื้อโทเคนหมด 100 ล้านโทเคนว่า “ขอขอบคุณหน่วยงานต่างๆ ที่ให้โอกาสเราในการอธิบาย และคำแนะนำต่างๆ การทำ ICO ครั้งนี้ เราถือเป็นกลุ่มบริษัท
จดทะเบียนรายแรกที่ทำเรื่องนี้ ผมเข้าใจดีว่าย่อมมีอุปสรรคในด้านการอธิบายความเข้าใจ และมีหลากหลายความคิดเห็น แต่ด้วยความตั้งใจของผมและทีมงานที่มุ่งหวังให้ ICO นี้เกิดขึ้นให้ได้ในประเทศไทย ที่ผมทำธุรกิจมาตั้งแต่ต้น”

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นส่งผลให้เห็นการออกตัว ICO อีกหลายรายติดตามมา บางรายก็ไปออกขายในต่างประเทศ บางรายเสนอขายในประเทศ แต่ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดเท่าที่ควร แต่ก็เห็นได้ว่ามีหลายธุรกิจที่มองว่า ICO คือช่องทางหนึ่งในการระดมทุนสำหรับกิจการ

ความใหม่ของ ICO เป็นหนึ่งในความท้าทายสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานกำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หนึ่งในหน่วยงานหลักของภาครัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเกี่ยวกับ Cryptocurrency ก็ออกข่าวเตือนเกี่ยวกับการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ ICO มาเป็นระยะในช่วงที่เกณฑ์การกำกับดูแลยังไม่ออกมาอย่างเป็นทางการ โดย ก.ล.ต. เตือนและให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องว่า “การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ICO และ Cryptocurrencies จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างมาก เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้มีความเสี่ยงในหลายแง่มุม หากผู้ลงทุนไม่เข้าใจอย่างแท้จริงจะเสียหายได้โดยง่ายนอกจากนี้ อาจมีผู้ฉวยโอกาสในการสร้างกระแสโดยนำโครงการที่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนมาเป็นจุดขาย หรือโครงการที่ไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจนที่จะสามารถรองรับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว และ/หรือนำเรื่องเทคโนโลยีมาบังหน้า เพื่อหลอกลวงประชาชนให้ลงทุน
ผู้ที่ได้รับการชักชวนหรือคิดที่จะลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล จำเป็นต้องทำความเข้าใจรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ทั้งสินทรัพย์ที่จะลงทุน ตัวกิจการ สิทธิของผู้ลงทุน และโครงสร้างของโทเคนที่จะได้รับจากการลงทุน และประเมินความเหมาะสมเทียบกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนก่อนลงทุนเสมอ ตลอดจนระวังความเสี่ยงจากการที่ผู้ให้บริการไม่ใช่ธุรกิจที่อยู่ในการกำกับดูแลความเสี่ยงและไม่มีการกำหนดมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์และอื่น ๆ

อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนควรตระหนักว่า การกำกับดูแลจะช่วยลดความเสี่ยงได้เฉพาะบางส่วนเท่านั้น เช่น ป้องกันการหลอกลวง แชร์ลูกโซ่ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงในด้านอื่นๆ ยังคงมีอยู่ เช่น ความเสี่ยงทางธุรกิจของกิจการ ความเสี่ยงจากราคาสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผันผวน ตลอดจนความเสี่ยงจากการที่ระบบเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลอาจถูกโจรกรรมไซเบอร์ และที่สำคัญที่สุด ควรตระหนักว่า หากเกิดความเสียหาย มีโอกาสสูงที่จะไม่สามารถเรียกร้องจากใครได้ ดังนั้น ถ้าไม่เข้าใจ อย่าลงทุน เพราะสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ได้เหมาะกับทุกคน”

โดย ก.ล.ต. เตรียมออกเกณฑ์กำกับดูแล ICO ที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนในประเทศไทยคาดว่าจะออกมาภายในเดือนมีนาคมนี้ หลังจากรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาแล้ว 2 รอบ

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีประกาศไปยังสถาบันการเงินให้งดทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrencies ก็เป็นอีกหนึ่งดาบที่หยุดความร้อนแรงของวงการสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยไปได้ระดับหนึ่ง

ฝั่งผู้ให้บริการอย่าง TDAX ต้องออกประกาศในหน้า ICO Portal ว่า “เนื่องจากความไม่แน่นอนต่อกฎเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. อาจจะประกาศออกมาในเร็วๆ นี้ ทางเราได้ทำการระงับการดำเนินการของ ICO portal ไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีความชัดเจนต่อสถานการณ์นี้มากขึ้น” ทำให้ ICO ที่เตรียมจะขายใน TDAX ต้องรอต่อไปจนกว่าจะมีความชัดเจน

ผลกระทบจากปรากฏการณ์ ICO ที่เปิดตัวกันอย่างร้อนแรงจะเป็นอย่างไรต่อไป ต้องติดตามดูท่าทีจากหน่วยงานกำกับดูแล ในการออกเกณฑ์การควบคุมดูแลที่ความชัดเจน ป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุนจากผู้ที่คิดใช้เครื่องมือนี้เพื่อหลอกลวง และป้องกันการใช้เครื่องมือทางการเงินใหม่นี้ในทางที่ผิด โดยต้องไม่ลืมว่า เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถเคลื่อนตัวไปได้ทุกแห่งตราบที่ยังสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เราจะมีส่วนร่วมกับเรื่องนี้ในระดับใด และทำอย่างไรให้ประเทศไทยปรากฏตัวอยู่บนแผนที่ของเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้เราเสียโอกาสได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้  

โมเดอร์นฟอร์มแบรนด์แห่งนวัตกรรม เปิดตัวการลงทุนใน FIN$TREET (ฟินสตรีท) Tech Startup Company โดย ทักษะ บุษยโภคะ (กลาง) ประธานกรรมการบริหาร บริษัทโมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กิติพัฒก์ เนื่องจำนงค์ (ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัทโมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ  ดร.โกศล ทรัพย์ประเสริฐ (ซ้าย) ผู้ก่อตั้ง FIN$TREET (ฟินสตรีท)  ณ โชว์รูมโมเดอร์นฟอร์ม เพลินจิต 

ทักษะ บุษยโภคะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการลงทุนใน FIN$TREET (ฟินสตรีท) ว่า “โมเดอร์นฟอร์มให้ความสำคัญกับวิวัฒนาการปัจจุบันซึ่งเป็นการตอบสนองนโยบายของภาครัฐ ที่มุ่งสู่ Digitalization ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกอุตสาหกรรมในธุรกิจกำลังปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ Digital Transformation ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย สำหรับโมเดอร์นฟอร์มได้นำเรื่องของ Digital Transformation มาปรับใช้ในการบริหารจัดการหลายๆส่วน และโครงการที่เราได้ตัดสินใจลงทุนไปเมื่อไม่นานมานี้ก็คือการลงทุน Tech Startup Company คือ FIN$TREET ซึ่งโมเดอร์นฟอร์ม ร่วมลงทุนอยู่ในสัดส่วน 10% และ HBot จากการศึกษา พัฒนาและก่อตั้งของดร. โกศล 

ในขณะนี้ กำไร ที่ได้จากกำลงทุน และกำไรที่ได้จากขาย อัตราส่วนอยู่ที่ 30% ต่อ 70% ภายใน 2 ปี คาดว่าจะมีอัตราส่วนอยู่ที่ 50% ต่อ 50% ในอนาคตอีก 3-5 ปีข้างหน้า โมเดอร์นฟอร์มจะไม่ได้อยู่แค่ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์เพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นบริษัทโฮลดิ้ง ขยายการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไฟแนนซ์ โรงแรม โรงพยาบาล เพื่อให้เกิดวิธีการใหม่ๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน และส่งเสริมให้ต่างฝ่ายต่างแข็งแกร่งมากขึ้น ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของโมเดอร์นฟอร์มให้ก้าวหน้า ทันต่อสถานการณ์โลกอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงสร้างกลุ่มลูกค้า ขยายฐานลูกค้า ต่อยอดธุรกิจที่มีอยู่ให้เติบโต และก้าวหน้าไปได้อีกในอนาคต

คุณกิติพัฒก์ เนื่องจำนงค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริม นอกจากจะเน้นเรื่อง Digital แล้ว สิ่งที่ทำมาตลอดคือ เราจะไม่หยุดนิ่งและเพิ่มพันธมิตรไปเรื่อยๆ และสาเหตุที่โมเดอร์นฟอร์มตัดสินใจลงทุนในฟินสตรีทเพราะเรามองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น รวมถึงเป็นอีกจุดหนึ่งที่ยืนยันและแสดงให้เห็นว่าโมเดอร์นฟอร์มนั้น เป็นแบรนด์และเป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ทันสมัย และยังทำให้เราดู younger ขึ้นอีกด้วย เรามองว่าการลงทุนในธุรกิจต่างๆ เป็นผลดีกับทั้ง 2 ฝ่าย เพราะจะได้แลกเปลี่ยน knowledge, know-how ที่เรามีให้กันและกัน และเสริมให้เราทั้ง 2 แข็งแกร่งมากขึ้น 

FIN$TREET ตั้งใจพัฒนา SMART Credit Report ให้เป็นอีกทางเลือก ที่จะช่วยในการประเมิน คำนวณ วิเคราะห์ถึงสุขภาพทางการเงินและความสามารถในการผ่อนชำระ ที่มองเห็นถึงความสามารถของผู้กู้ในอนาคต โดยวิเคราะห์สุขภาพทางการเงินของผู้ใช้งานจากการบูรณาการของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บจากหลายมิติ ทั้งทาง โซเชียล การชำระภาษีเงินได้ พฤติกรรมการใช้เงิน และที่สำคัญที่สุดคือข้อมูลที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติผ่านการใช้งานระบบ FIN$TREET ตัวอย่างเช่น ระบบจะสามารถบอกได้ว่าคนที่มีความเข้าใจและสามารถปลดหนี้บัตรเครดิตได้ น่าจะมีแนวโน้มที่จะไม่มีหนี้เสียอีก หรือคนที่เคยผ่านการรีไฟแนนซ์บ้านบ่งชี้ได้ถึงวินัยทางการเงินที่ดีSMART Credit Report ให้ข้อมูลในมิติที่ลึก แต่รวดเร็วแบบ real time ให้กับทั้งสถาบันการเงิน ผู้ให้กู้ยืม โดยจะครอบคลุมทั้งลูกค้าชั้นดี ลูกค้าทั่วไป คนที่เคยเสียประวัติ หรือไม่มีข้อมูลเครดิต

ด้วยกลยุทธ์เจาะตลาดแบบเข้าถึง โดยการนำเสนอคอนเทนต์คุณภาพบน FIN$TREET Facebook ช่วยสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ทำให้มีกระแสตอบรับผู้ใช้ต่อโพสต์มากถึง 6 ล้านการเข้าถึงแบบ organic รวมถึงการที่ลูกเพจแชร์หลายๆโพสต์ต่อๆกันไปร่วม 100,000  shares ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการของ FIN$TREET ได้พุ่งทะยานแบบก้าวกระโดดกว่า 10 เท่าตัวในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ปัจจุบันมีฐานผู้ใช้งานกว่า 130,000 คน บน Facebook และในขณะเดียวกันระบบ FIN$TREET สามารถรองรับผู้ใช้งานที่ต้องการคำปรึกษาส่วนตัว ด้วยการใช้ A.I. Chatbot แบบตัวต่อตัว 1:1 ในกรณีที่เป็นเรื่องซับซ้อน และต้องใช้การวิเคราะห์เชิงลึกช่วยให้คำปรึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานไม่เพียงแต่เข้ามาหาความรู้บนหน้าเพจเท่านั้น ซึ่งจะทำให้แพลตฟอร์มเกิดการพัฒนายิ่งๆขึ้นไปในรูปแบบ Machine Learning

นอกเหนือจากระบบ Chatbot ที่สามารถให้คำปรึกษาแบบอัตโนมัติ FIN$TREET จึงได้พัฒนาสร้างระบบ จับคู่ ที่ช่วยหาผู้ที่มีความรู้ มีประสบการณ์ มาให้คำปรึกษา แนะนำ ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการบริหารจัดการหนี้สิน ออมเงิน ลงทุน หรือการวางแผนทางการเงิน แบบแชทตัวต่อตัว 1:1 บนแพลตฟอร์มของ FIN$TREET เริ่มเปิดใช้งานฟีเจอร์ล่าสุดนี้ มี.ค. 2561 ซึ่งบริการนี้จะเป็นการเปิดมิติใหม่ของการให้คำปรึกษาทางการเงินแบบ exclusive ส่วนตั๊วส่วนตัว ก่อให้เกิด peer-to-peer learning โดยใช้ระบบเก็บข้อมูลประวัติการรับบริการและวิธีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยีBlockchain”

ความชัดเจนในการออกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกรรมดิจิทัล จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีบทบาทในการทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนที่มีประสิทธิภาพของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป

จากกรณีที่กระทรวงการคลังได้ออกหนังสือเตือนนักลงทุนมาตลอดว่าสกุลเงินดิจิทัล ไม่ใช่สกุลเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย การลงทุนมีความเสี่ยง

ตามด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรม หรือมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency (สกุลเงินดิจิทัล) ทั้งการเข้าไปลงทุนหรือซื้อขายเพื่อประโยชน์ของสถาบันการเงินและหรือผลประโยชน์ของลูกค้า, การให้บริการรับแลกเปลี่ยน, การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อเป็นสื่อกลางทำธุรกรรมระหว่างลูกค้า, การใช้บัตรเครดิตในการซื้อ และการรับให้คำปรึกษาเพื่อลงทุนหรือการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency

จากนั้นมีความเคลื่อนไหวของ เจ เวนเจอร์ส จำกัด (เจวีซี) บริษัทลูกของบริษัท เจมาร์ทจำกัด (มหาชน) ได้เปิด ICO (Initial Coin Offering)  ออก Cryptocurrency ที่มีชื่อว่า "เจฟินคอยน์" โดยมีเป้าหมายเพื่อระดมทุนเงินดิจิทัลสำหรับนำมาเปิดตัวโปรเจคโครงการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามกระแสของโลกยุคดิจิทัล

อย่างไรก็ตามในด้านของความชัดเจนในการออกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกรรมดิจิทัลนั้น รพี สุจริตกุล เลขาธิการกรรมการในคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  กล่าวถึงการระดมทุนในรูปแบบ ICO อยู่ระหว่างการพิจารณาของ 4 หน่วยงานรัฐ โดยจะมีการพิจารณาเพื่อนำกฎหมายที่มีอยู่มากำกับ Cryptocurrency ซึ่งแนวทางในการกำกับดูแลเป็นเรื่องใหม่ และในปัจจุบันนี้ยังไม่มีประเทศไหนที่มีแนวทางในการกำกับดูแลได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้แนวทางกำกับดูแลการระดมทุนผ่านเงินสกุลดิจิทัลของก.ล.ต.นั้น กำลังศึกษาแนวทางเพื่อนำข้อสรุปเสนอสู่การพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

 

 

ทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ กรรมการในคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)  กล่าวถึงประกาศของธปท. ที่ไม่ให้สถาบันการเงินเข้าลงทุนในเงินดิจิทัลนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ขัดกันในนโยบาย

ซึ่งมองว่าธปท.ดำเนินการเพื่อเตือนไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ภายใต้การดูแลเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น และบริษัทที่มีการระดมทุน ICO ก่อนที่เกณฑ์จะออกนั้น ก.ล.ต.ไม่สามารถห้ามไม่ให้บริษัททำธุรกิจได้ และยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการดูแล ดังนั้นผู้ที่จะออกต้องคำนึงถึงผลกระทบของราคาหุ้น หรือกิจการของบริษัทจดทะเบียนด้วย ซึ่งบริษัทต้องมีการกำกับดูแลความเสี่ยงด้วย

ในด้านของการพิจารณากฎเกณฑ์การควบคุมสินทรัพย์การลงทุนในรูปดิจิทัล หรือดิจิทัล แอทเซส ที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง และ ธปท. มีความเห็นให้ก.ล.ต.เป็นผู้ดูแลในการดำเนินการหาแนวทางควบคุม

ซึ่งดิจิทัล แอทเซส มีความคล้ายคลึงกับหลักทรัพย์ และสามารถซื้อขายในตลาดรองได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถนำพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เข้าดูแลได้ นั่นเพราะดิจิทัล แอทเซส ไม่ใช่หลักทรัพย์จึงต้องหาแนวทางโดยทำงานร่วมกับทีมกฎหมายของกระทรวงการคลังว่า จะใช้กรอบกฎหมายแบบใดที่จะให้ก.ล.ต.กำกับดูแล ทั้งในด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือ ธุรกิจนายหน้าการซื้อขาย ซึ่งในต่างประเทศ ไม่ได้มีหลักเกณฑ์การดูแลดิจิทัล แอทเซส มาก่อน จึงต้องหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมถึงดูแลกฎเกณฑ์ ICO เพื่อเสนอสู่การพิจารณาของคณะกรรมการก.ล.ต.ในเวลาต่อไป

Page 6 of 9
X

Right Click

No right click