October 23, 2024

ปัญหาค่าใช้จ่ายฉุกเฉินแบบคาดไม่ถึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หลายคนชีวิตต้องสะดุดเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงิน สินเชื่อส่วนบุคคลจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเงินก้อนอย่างกระทันหัน เพื่อนำไปใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นในช่วงเวลานั้น แต่การเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลให้เหมาะสมนั้นสำคัญมาก เพราะหมายถึงภาระหนี้ที่จะต้องแบกรับในระยะยาว ดังนั้นก่อนตัดสินใจ ทีทีบีจึงชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลให้มากขึ้น

สินเชื่อส่วนบุคคล ช่วยได้อย่างไร

สินเชื่อส่วนบุคคล คือ สินเชื่อที่สถาบันการเงินให้กู้ยืมโดยไม่ต้องมีหลักประกัน ซึ่งผู้ขอสินเชื่อสามารถนำเงินก้อนไปใช้จ่ายได้ตามต้องการ โดยมีเงื่อนไขในการผ่อนชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้กับธนาคารผู้ปล่อยสินเชื่อ เหมาะกับผู้ที่ต้องการเงินก้อนฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น รถเสีย บ้านชำรุด หรือค่ารักษาพยาบาล ต้องการเงินก้อนเพื่อการลงทุน เช่น เปิดร้านค้า ซื้อสินค้ามาขาย ต้องการปรับปรุงบ้าน เช่น ตกแต่งต่อเติมบ้าน หรือซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ ต้องการปิดหนี้บัตรเครดิต โดยรวบหนี้บัตรเครดิตหลายใบให้เป็นก้อนเดียว ต้องการศึกษาต่อ เช่น ชำระค่าเทอม ค่าใช้จ่ายระหว่างเรียน หรือเตรียมพร้อมให้บุตรก่อนเปิดเทอม และยังมีอีกหลายเหตุผลที่ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องการเงินก้อนไปใช้จ่ายยามจำเป็น

สิ่งที่ควรรู้ก่อนกู้สินเชื่อส่วนบุคคล

ผู้ขอสินเชื่อส่วนบุคคลควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้ก่อนตัดสินใจ เพื่อจะได้เลือกสินเชื่อที่เหมาะสมกับความจำเป็นของตนเองมากที่สุด ไม่เป็นภาระหนี้สินมากเกินไป จนกระทบต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

  • อัตราดอกเบี้ย ควรเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละสถาบันการเงิน เพื่อเลือกสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือมีความคุ้มค่าครอบคลุมมากที่สุด
  • ค่าธรรมเนียม เช่น ค่าธรรมเนียมการยื่นขอสินเชื่อ ค่าปรับล่าช้าในการชำระหนี้ ควรตรวจสอบให้ครบถ้วน
  • ระยะเวลาผ่อนชำระ เลือกระยะเวลาผ่อนชำระที่เหมาะสมกับกำลังในการผ่อนของแต่ละคน เพราะการผ่อนชำระนาน อาจช่วยในเรื่องกำลังการจ่ายในแต่ละเดือน แต่ยอดเงินที่ต้องจ่ายรวมก็จะมากขึ้น
  • วงเงินสินเชื่อ เลือกวงเงินสินเชื่อที่เพียงพอต่อความต้องการ ไม่เกินตัว เพื่อหลีกเลี่ยงภาระหนี้ที่ต้องแบกรับระยะยาว
  • ความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงิน ควรเลือกสถาบันการเงินที่มีความน่าเชื่อถือ มีสาขาให้บริการทั่วถึง และมีช่องทางติดต่อที่สะดวก

การเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลยังต้องใช้ความรอบคอบและศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพื่อให้ได้สินเชื่อที่เหมาะสมตามความต้องการและมีกำลังทรัพย์ในการใช้หนี้คืน และอย่าลืมวางแผนการเงินให้ดี ก่อนตัดสินใจกู้สินเชื่อ ควรคำนวณรายรับรายจ่ายให้เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามกำหนด เปรียบเทียบเงื่อนไขหลาย ๆ ที่ ข้อเสนอจากหลาย ๆ สถาบันการเงิน เพื่อเลือกสินเชื่อที่คุ้มค่าและเหมาะกับการจ่ายคืนของเรามากที่สุด พิจารณาสัญญาให้ละเอียด ควรอ่านสัญญาการกู้ยืมให้ละเอียด เพื่อทำความเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างชัดเจน หากยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกสินเชื่อส่วนบุคคลแบบไหนดี สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงินที่น่าเชื่อถือได้

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เข้าใจถึงความจำเป็นในการใช้จ่ายของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน จึงสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมทุกปัญหาทางการเงิน ด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล 2 ประเภท ได้แก่

  • บัตรกดเงินสด ทีทีบี แฟลช วงเงินสำรองพร้อมใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เหมาะกับผู้ที่ต้องการสำรองเงินไว้ในอนาคต เพราะบางครั้งค่าใช้จ่ายก้อนโตก็โผล่มาโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซ่อมแซมบ้าน ซ่อมรถยนต์ โดยสามารถเปลี่ยนวงเงินในบัตรเป็นเงินก้อนโอนเข้าบัญชีผ่านแอป ttb touch แล้วทยอยผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน ซึ่งจะช่วยให้วางแผนการเงินได้อย่างชัดเจน ประหยัดค่าดอกเบี้ยได้กว่าการผ่อนจ่ายขั้นต่ำ และสามารถเบิกถอนเงินสดฉุกเฉินจากตู้เอทีเอ็มได้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสด 3% เหมือนบัตรเครดิต ไม่ต้องไปกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง นอกจากนี้ยังสามารถผ่อนสินค้าแบบดอกเบี้ย 0% ได้ยาวนานสูงสุดถึง 60 เดือน (ขึ้นกับร้านค้าที่ร่วมรายการ)
  • สินเชื่อส่วนบุคคล ทีทีบี แคชทูโก เงินก้อนทันใจ ตอบโจทย์ได้ทุกไลฟ์สไตล์ โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน คิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และสามารถผ่อนชำระคืนเป็นรายเดือน มี 2 โปรแกรมให้เลือกได้แก่ สินเชื่อบุคคล แคชทูโก เหมาะกับคนที่ต้องการเงินก้อนไว้จัดการกับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน สมัครง่าย อนุมัติไว ไม่ยุ่งยาก พิเศษ! ลดดอกเบี้ย 2% ต่อปี และ สินเชื่อบุคคล แคชทูโก เคลียร์หนี้ ใครที่กำลังแบกภาระดอกเบี้ยหนัก อยากรวบหนี้เป็นก้อนเดียว เปลี่ยนดอกเบี้ยที่สูงให้ต่ำลง รับส่วนลดดอกเบี้ย 2%

หากสนใจสามารถอัปโหลดเอกสารผ่านแอป ttb touch ได้ทันที หรือติดต่อสอบถามได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขาทั่วประเทศ พร้อมรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินของทีทีบี ที่จะช่วยวางแผนทั้งในเรื่องการเลือกประเภทสินเชื่อและอัตราการผ่อนชำระ เพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาสุขภาพการเงินของลูกค้าได้ทุกจุด

ทีทีบีส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรกดเงินสด กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 25% ต่อปี เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีทั้งในวันนี้ และอนาคต

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จัดสัมมนา ttb I Global Trade & FX Forum ภายใต้หัวข้อ “The Future of Asia : Economic Trends and Trade Challenges for Thailand 2025” วิเคราะห์เจาะลึกสภาวการณ์เศรษฐกิจของไทยและการค้าโลกในปี 2025 เปิดมุมมองและประสบการณ์ตรงในการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญในภาครัฐ ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจากธุรกิจขนาดใหญ่ พร้อมแนะนำเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของไทย บริหารความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า อิทธิพลของภูมิรัฐศาสตร์ ความขัดแย้งทางการค้า ความไม่แน่นอนทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังคงเป็นปัญหาหลักที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งถือเป็นความท้าทายและเป็นความเสี่ยงอย่างมาก สำหรับผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากความผันผวนของค่าเงินสามารถส่งผลกระทบต่อกำไรและต้นทุนของธุรกิจ นอกจากนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนยังเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงนโยบายของจีนส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและโอกาสทางการค้าของธุรกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ในขณะที่ตลาดเอเชียยังคงมีศักยภาพในการเติบโตสูง ซึ่งการเข้าถึงตลาดเหล่านี้ช่วยกระจายความเสี่ยงและเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจในอนาคต

จากปัจจัยดังกล่าว นับเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศต้องมีความเข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดการค้าโลกและในเอเชีย เพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในระดับโลก รักษาความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตในระยะยาว ซึ่งงานสัมมนาในครั้งนี้ ทีทีบีมุ่งหวังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถวางแผนและปรับกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม รู้วิธีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากการทำการค้าระหว่างประเทศ และได้รับประสบการณ์ตรงจากผู้ที่ดำเนินธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำการค้าระหว่างประเทศในตลาดการค้าโลก

สำหรับงานสัมมนา ttb I Global Trade & FX Forum ภายใต้หัวข้อ “The Future of Asia : Economic Trends and Trade Challenges for Thailand 2025”  มีผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เศรษฐกิจทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้บริหารธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำการค้าระหว่างประเทศในตลาดเอเชีย ผู้บริหารความเสี่ยงการทำการค้าระหว่างประเทศมาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานนำไปปรับใช้กับองค์กรได้ตรงจุดมากขึ้น โดยมีวิทยากร ได้แก่ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษาและรองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและการค้าไทย ในหัวข้อ The 2025 Horizon: China’s Impact on Global Trade” และนายนริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต ให้มุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย ในหัวข้อ Global & Thailand Economic Outlook 2025”

นอกจากนี้ มีการจัดเวทีเสวนาแบ่งปันประสบการณ์จากผู้บริหารเจ้าของธุรกิจนำเข้าและส่งออก และมุมมองของภาครัฐ ในหัวข้อ Asia Trade Link Opportunities and Challenges” โอกาสและความท้าทายของผู้ประกอบการไทย ในตลาดเอเชีย โดย นายอรรถ เมธาพิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงิน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) ดร.ธนภัท แสงอรุณ ผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ อดีตรองกงสุลฝ่ายพาณิชย์ ณ เมืองมุมไบ และนางสาวบุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต ที่มาแนะนำเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกของไทย บริหารความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ

ทีทีบี เป็นธนาคารที่พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในทุกสถานการณ์ ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยบริหารความเสี่ยงสำหรับการนำเข้า-ส่งออก สำหรับการวางแผนการบริหารงานและกลยุทธ์การเติบโตขององค์กรได้อย่างยั่งยืน

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ชี้รายได้ธุรกิจโรงแรมขยับแตะ 88% ของรายได้ศักยภาพ (Potential Income) (1) บนความเปราะบางของการเติบโตแบบไม่เท่าเทียมที่รายได้กระจุกตัวในกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่เพิ่มสูงขึ้น และรายได้ไม่ได้กระจายไปยังเมืองรองอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แนะรัฐยกระดับนโยบายกระตุ้นเที่ยวเมืองรองให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยลดข้อจำกัดและเพดานการใช้มาตรการพร้อมแนวทางช่วยเหลือยกระดับผู้ประกอบ SMEs

ธุรกิจโรงแรมในปี 2567 นับเป็นธุรกิจที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 สูงที่สุด ส่งผลให้ขนาดธุรกิจหดตัวลงจากจุดสูงสุดเดิมกว่า 65% ในปี 2564 (2.87 แสนล้านบาท ลดลงเหลือ 1.01 แสนล้านบาท) อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของธุรกิจมีสัญญาณกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง โดยในปี 2565 อุตสาหกรรมโรงแรมฟื้นตัวได้เกินกว่า 70% และด้วยแรงส่งจากภาคท่องเที่ยวในปี 2566 ทำให้ตัวเลขจากภาคท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดหนุนแรงส่งอุปสงค์ภาคโรงแรมบนข้อจำกัดด้านอุปทานที่ไม่สามารถเพิ่มได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองอุปสงค์ ส่งผลให้ราคาห้องพักในภาพรวมปรับเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ของภาคโรงแรมสามารถก้าวผ่านจุดสูงสุดเดิมที่ระดับ 3.28 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ ในปี 2567 ด้วยแรงส่งจากภาคท่องเที่ยวจากทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่ามากกว่า 35 ล้านคน และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่สร้างประวัติศาสตร์ต่อเนื่องจำนวน 320 ล้านคน-ครั้งแล้ว พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงบนโครงสร้างประชากรที่กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน เฉพาะแค่ในกลุ่ม Gen X และ Gen Y ครอบคลุมแล้วกว่า 70.5% ของกลุ่มประชากรที่เป็นอุปสงค์การท่องเที่ยว ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมด้านการเงินเพียงพอในการตอบโจทย์ด้านการหาความสะดวกสบายในการท่องเที่ยว ทำให้ความเต็มใจจ่ายต่อทริปเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลต่อการเลือกโรงแรมสามารถตอบโจทย์และได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ส่งผลให้แรงส่งดังกล่าวขยับรายได้ของธุรกิจโรงแรมเพิ่มเป็น 3.70 แสนล้าน (รายได้ธุรกิจโรงแรมประเมินจากข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และประเมินผ่าน Potential Income(1) ของจำนวนโรงแรมที่สำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ) อย่างไรก็ตาม การเติบโตในเชิงของรายได้ในธุรกิจโรงแรมยังแฝงไว้ด้วยความเปราะบางสำคัญซึ่งประกอบด้วย

1) การกระจายรายได้ที่ไม่สมมาตรระหว่างผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่ โดยในปี 2562 สัดส่วนรายได้ของธุรกิจโรงแรมระหว่างผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) และ รายใหญ่มีขนาดใกล้เคียงกันในอัตราส่วน 45 : 55 แต่หลังจากการฟื้นตัวในปี 2566 อัตราส่วนกลับเปลี่ยนไปอยู่ที่ 37 : 63 บนความเป็นไปได้ที่สัดส่วนรายได้ของผู้ประกอบการ SMEs จะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง จากการที่ผู้ประกอบการรายใหญ่มีข้อได้เปรียบหลายประการ เช่น 1) ความได้เปรียบด้านต้นทุนในการบริการ (Economy

of Scale) ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรายใหญ่มีอัตราส่วนต้นทุนห้องพักต่อลูกค้าหนึ่งรายมีราคาขายต่ำกว่า 2) ความได้เปรียบจากบริการที่หลากหลาย (Economy of Scope) เนื่องจากในโรงแรมขนาดใหญ่มีการบริการที่ครบวงจร (Full Services) ตอบสนองกลยุทธ์ในรูปแบบ On Demand ที่มีความยืดหยุ่นและผู้เข้าพักแรมสามารถปรับเพิ่มลดบริการเสริมให้ตอบโจทย์กับความต้องการได้เพิ่มมากขึ้น และ 3) ความได้เปรียบจากธุรกิจอื่นที่มีความสัมพันธ์กัน (Conglomeration Economy) โดยปกติกลุ่มธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่มักมีธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น เช่น สปา ร้านอาหาร ธุรกิจแฟชั่น อสังหาริมทรัพย์ หรือ ห้างสรรพสินค้า ที่อาจใช้ประโยชน์จากธุรกิจอื่นผ่านรูปแบบสิทธิประโยชน์ เช่น บัตรกำนัลในการใช้บริการธุรกิจในเครือเดียวกัน เป็นต้น

2) การกระจุกตัวรายได้เกิดในเมืองหลักในรูปแบบ Gateway City ที่สะท้อนถึงความสัมฤทธิ์ผลที่ไม่สมบูรณ์ของโครงการท่องเที่ยวเมืองรองที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ประสิทธิผลของการกระจายเม็ดเงินเข้าสู่พื้นที่เมืองรองยังไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากเมืองรองยังไม่สามารถพัฒนาศักยภาพเพื่อดึงดูดให้เกิดการพักแรม ส่งผลให้เม็ดเงินส่วนใหญ่ยังคงหมุนเวียนในพื้นที่เมืองท่องเที่ยวหลัก ตัวอย่างเช่น พื้นที่ภาคตะวันออกในปี 2566 เทียบกับปี 2565 ที่มีนักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรีเพิ่มขึ้นเกิน 200% แต่รายได้โรงแรมเติบโต 27% ในขณะที่ชลบุรีที่มีผู้เยี่ยมเยือนเพิ่มขึ้น 50% แต่รายได้โรงแรมเติบโตถึง 70%

ดังนั้น แม้ธุรกิจโรงแรมยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสอดรับกับภาคการท่องเที่ยวที่ยังเติบโตต่อเนื่อง แต่ยังแฝงด้วยความเปราะบาง ด้วยเหตุดังกล่าว หากธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวไทยจะสามารถพัฒนาต่อได้อย่างยั่งยืน และเต็มรูปแบบ ทางttb analytics แนะภาครัฐควรเร่งพัฒนาศักยภาพ ผ่านนโยบายที่มีความต่อเนื่องและขยายผล เพื่อเพิ่มแต้มต่อให้กับธุรกิจโรงแรมในเมืองรองและกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ดังนี้

1. การสนับสนุนท่องเที่ยวเมืองรองให้เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากโครงการต่าง ๆ ได้เต็มที่ เช่น สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีในโครงการ”เที่ยวเมืองรอง 2567” ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 15,000 บาท โดยถ้าพิจารณาถึงเงินจำนวนดังกล่าวอาจเกิดจากการเดินทางแค่ 1 ทริป การท่องเที่ยวเมืองรองในทริปถัดไปอาจไม่จูงใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเมืองรอง รวมถึงเมื่อพิจารณา การนำรายจ่ายท่องเที่ยวเมืองรองมาหักภาษีได้เต็มจำนวนโดยไม่กำหนดเพดานอาจส่งผลดีกับรายรับของภาครัฐ เนื่องจากตามฐานข้อมูลผู้เสียภาษีพบกว่า 90% เสียภาษีในฐานภาษีไม่เกิน 10% และเม็ดเงินที่สามารถทำมาลดหย่อน ต้องเป็นเม็ดเงินที่อยู่ในระบบภาษีที่ส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่อัตรา 7% รวมถึงผลทางอ้อมที่จะเกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ผ่านตัวทวีรายจ่ายเอกชน (Multiplier Effect) ที่จะช่วยเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนและส่งผลต่อทั้ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ที่เพิ่มสูงขึ้น

2. การสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อสร้างแต้มต่อจากความเสียเปรียบตามธรรมชาติที่มีอยู่เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เช่น ออกนโยบายลดหย่อนภาษีพิเศษสำหรับผู้ประกอบการในพื้นที่เมืองรอง พร้อมออกนโยบายกระตุ้นฝั่งอุปสงค์ทั้งภาคประชาชนและธุรกิจที่จะมาพักแรมหรือทำกิจกรรมบนพื้นที่เมืองรองแบบมีเงื่อนไขและข้อจำกัดให้น้อยที่สุด หรืออาจออกวงเงินพิเศษ (Transformation Loan) เพื่อเป็นเงินทุนให้ผู้ประกอบการรายย่อย สามารถปรับเปลี่ยนพัฒนาห้องพักและบริการให้สอดคล้องกับกำลังใช้จ่ายของกลุ่มอุปสงค์เป้าหมาย

กล่าวโดยสรุป ttb analytics คาดธุรกิจโรงแรมยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องจากแรงหนุนของภาคท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง หากแต่ความเติบโตดังกล่าวมีลักษณะการเติบโตแบบไม่เท่าเทียม โดยธุรกิจรายใหญ่มีแนวโน้มเติบโตดีกว่ารายเล็ก เมืองท่องเที่ยวหลักยกระดับเป็นเมืองศูนย์กลางท่องเที่ยวภูมิภาค (Reginal Tourism Capital) ที่ดึงดูดการพักแรมของนักท่องเที่ยวจากเมืองรองในพื้นที่มาพักแรมในจังหวัดหลัก ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดยังกระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองหลัก ดังนั้น เพื่อลดความเปราะบางดังกล่าวภาครัฐควรสนับสนุนออกนโยบายแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของนโยบายเที่ยวเมืองรอง รวมถึงเน้นย้ำ “ความยั่งยืนต่อเนื่องของนโยบาย และสร้างความเชื่อมั่นนโยบาย” โดยสนับสนุนให้เป็นโครงการระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการโรงแรมสามารถวางแผนธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตไปพร้อม ๆ กับแรงหนุนจากภาครัฐที่ช่วยสร้างแต้มต่อให้ผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อเพิ่มศักยภาพการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เลือกพักแรมในเมืองรองเพิ่มขึ้น ทำให้ขนาดเศรษฐกิจโตขึ้นและส่งผลต่อการขยายตัวของเมืองรอง ซึ่งจะทำให้เกิดกิจกรรมมากพอที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเลือกที่จะพักและใช้เวลาในจังหวัดเมืองรองมากกว่าเพียงแค่เดินทางไปเช้า เย็นกลับ หรือใช้เป็นแค่ทางผ่านเหมือนอย่างปัจจุบัน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มุ่งมั่นเดินหน้าเปลี่ยน...ชุมชนเพื่อความยั่งยืน เชิญชวนผู้ที่สนใจเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรม fai-fah for Communities ที่ดำเนินการโดย มูลนิธิทีทีบี ภายใต้แคมเปญ “ขอ 1 วัน ใน 1 ปี มาทำอะไรดี ๆ ด้วยกัน” ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม เพื่อจุดประกายและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ชุมชนดีขึ้นอย่างยั่งยืน

นางประภาศิริ โฆษิตธนากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของการรวมตัวกันของอาสาสมัครทีทีบี (ttb volunteer) เพราะเชื่อว่า นอกเหนือจากการมาทำงานที่ธนาคารแห่งนี้ พวกเราชาวทีทีบีไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้ชุมชนด้วยเช่นกัน จึงเกิดโครงการที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้ใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ชุมชนดีขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งนอกจากจะช่วยจุดประกายโอกาสให้กับสังคมแล้ว ยังเป็นโอกาสดี ๆ ที่อาสาสมัครจะได้ทำความรู้จัก พบปะเพื่อนใหม่ต่างแผนก พัฒนาโครงการเพื่อสังคมที่ตนเองสนใจ วางแผนงานร่วมกับชุมชน และสุดท้าย ส่งต่อให้ชุมชนสามารถดำเนินงานต่อได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญา Make REAL Change ที่พนักงานทุกคนยึดถือมาโดยตลอด

โดยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา อาสาสมัครทีทีบีกว่า 20,000 คน ได้นำความรู้ความสามารถ เข้าช่วยเหลือชุมชนแล้วกว่า 260 ชุมชน เป็นจำนวน 262 โครงการทั่วประเทศ ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้ มีช่องทางในการประกอบอาชีพที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มทักษะการบริหารจัดการทางการเงิน การทำบัญชี เพื่อให้วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรเหล่านั้นเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ในปี 2567 นี้ เหล่าอาสาสมัครทีทีบี ยังคงมุ่งมั่นค้นหาชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาสังคมต่อไป และเพื่อต่อยอดพร้อมทั้งส่งต่อความรู้สึกแห่งการให้แก่ผู้มีจิตอาสาภายนอกองค์กร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงโลกให้น่าอยู่มากขึ้น จึงขอเชิญชวนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปัน ในกิจกรรม fai-fah for Communities ภายใต้แคมเปญ “ขอ 1 วัน ใน 1 ปี มาทำอะไรดี ๆ ด้วยกัน” กับ “ฝาขวด...รักษ์โลก” โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยน...ขยะพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อลดขยะพลาสติก ลดมลพิษ และสร้างคุณค่าให้แก่ฝาขวดพลาสติกสามารถนำไปเป็นทรัพยากรหมุนเวียนใช้ประโยชน์ต่อได้ โดยฝาขวดน้ำพลาสติกที่ได้รับจะนำไปรีไซเคิลเปลี่ยนเป็นโต๊ะ เก้าอี้เพื่ออุปกรณ์การเรียน เครื่องดนตรี บล็อกปูพื้นถนน ฯลฯ โดยผู้เชี่ยวชาญอย่างมหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิทยาศาสตร์ และโครงการกรีนโรด จังหวัดลำพูน ก่อนนำไปมอบให้น้องนักเรียนที่ขาดแคลนต่อไป” นางประภาศิริ กล่าว

ผู้ที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับอาสาสมัครทีทีบี สามารถส่งฝาขวดมาได้ที่ โครงการอาสาช่วยกันทำ ที่อยู่ 1/31 ซ.เพิ่มสิน 39 แขวงออเงิน เขตสายไหม กทม. 10220

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้จ่ายในยุค “ดิจิทัล” ทำให้การใช้ชีวิตของเราง่ายขึ้น ช่วยให้กลายเป็นสังคมไร้เงินสดอย่าง

Page 1 of 64
X

Right Click

No right click