ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ร่วมสนับสนุนทัพนักกีฬาไทยไปแข่งขัน Olympic 2024 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส กลางปีนี้ จับมือ “วีซ่า” จัดแคมเปญกีฬาโอลิมปิก 2024 พร้อมเชิญชวนชาวไทยร่วมส่งแรงใจไปเชียร์และร่วมลุ้นแชมป์ไปกับทัพนักกีฬาชาวไทย โดยเลือก กุลวุฒิ วิทิตศานต์ หรือ วิว แชมป์โลกแบดมินตันชายเดี่ยวคนแรกของไทย มาเป็นพรีเซนเตอร์บัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Paris 2024 Limited Edition เนื่องจาก วิว เป็นคนมีความมุ่งมั่น มีวินัย และกล้าเปลี่ยนตัวเองเพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม ทำให้จากเด็กโรคภูมิแพ้ในอดีตกลายมาเป็นแชมป์โลกแบดมินตันในวันนี้ มาเชิญชวนคนไทยให้กล้าลุกขึ้นมา “เปลี่ยน” สู่ชีวิตทางการเงินที่ดีกว่าเดิมทั้งวันนี้และอนาคต สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของ ทีทีบี ที่พัฒนาโซลูชันการเงินให้ตอบโจทย์ตรงใจการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่มีความต้องการด้านการเงินที่หลากหลาย และช่วยให้คนไทยทุกช่วงวัยมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

ในปีแห่งมหกรรมกีฬาระดับโลกโอลิมปิก ฤดูร้อนนี้ ทีทีบี ได้ร่วมกับ วีซ่า พันธมิตรทางการเงินที่แข็งแกร่ง และเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของ Olympic Paris 2024 เปิดตัว “บัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Paris 2024” Limited Edition ลายหน้าบัตรโอลิมปิก 2 ลายพิเศษ บัตรเดบิตใบแรกและใบเดียวที่ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี เพื่อส่งมอบประสบการณ์การใช้จ่ายระดับโลกเทียบเท่าบัตรเครดิตให้กับคนรุ่นใหม่ที่กล้าเปลี่ยน...เพื่อโอกาสทางการเงินที่เหนือกว่าเดิม

บัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Paris 2024 Limited Edition ลาย Olympic Paris 2024 หน้าบัตร 2 ลายพิเศษ มีจำนวนจำกัดเพียง 20,000 ใบเท่านั้น เป็นบัตรเดบิตใบแรกและใบเดียวที่ปลอดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี พร้อมสิทธิพิเศษส่วนลดสูงสุด 20% ตลอดปี จากร้านอาหารชั้นนำมากกว่า 600 ร้าน สามารถแตะชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าหรือค่าทางด่วนได้ ฟรีค่าธรรมเนียม FX Rate 2.5% เมื่อใช้จ่ายในต่างประเทศ นอกจากนี้ ยิ่งใช้ยิ่งได้เครดิตเงินคืนและของรางวัลจาก Olympic Paris 2024 เมื่อมียอดใช้จ่ายครบตามที่กำหนด พร้อมสิทธิ์คูณสอง ลุ้นไป Exclusive Olympic Paris 2024 Trip ร่วมชมพิธีปิดอย่างใกล้ชิด ดื่มด่ำกับความบันเทิงตลอด 5 วัน 4 คืน สำหรับผู้สมัครบัตรเดบิตวีซ่า ttb all free Olympic Paris 2024 Limited Edition ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2567 และมียอดใช้จ่าย 5,000 บาทขึ้นไปภายใน 30 วันแรกหลังออกบัตรจะได้รับกระเป๋าเป้ Olympic Paris 2024 Drawstring Bag Limited Edition 1 ใบ มูลค่า 800 บาท เพิ่มเติมด้วย

ทีทีบี ขอเชิญชวนคนไทยร่วมส่งกำลังใจและแรงเชียร์ให้ทัพนักกีฬาไทย รวมถึง วิว กุลวุฒิ อีกหนึ่งตัวเต็งลุ้นเหรียญทองแบดมินตันชายเดี่ยว ที่เป็นตัวแทนชาติไปแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลก โอลิมปิก ปารีส 2024 ในครั้งนี้ พร้อมสนับสนุนคนไทยให้กล้าเปลี่ยน...เพื่อคว้าโอกาสสัมผัสประสบการณ์การใช้จ่ายระดับโลก ปลดล็อกทุกค่าธรรมเนียม ดื่มด่ำกับอิสรภาพทางการเงิน และสิทธิพิเศษเหนือระดับจากพันธมิตรชั้นนำเทียบเท่าบัตรเครดิต กับบัตรเดบิต Olympic Paris 2024 บัตรเดบิตใบแรกและใบเดียวที่จะช่วยให้ลูกค้าผู้ถือบัตรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้านยิ่งกว่าเดิมอย่างแท้จริง

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนปี 2567 สร้างรายได้ 3.22 แสนล้านบาท บนความท้าทายที่เริ่มเผชิญกับข้อจำกัดจากแนวโน้มประชากรที่ลดลง และแนวคิดในการใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไปจากการรักษาขยับขึ้นเป็นการป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเข้ารับบริการในโรงพยาบาล ส่งผลให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจของโรงพยาบาลเอกชนต่างไปจากเดิม

 ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมาจากโครงสร้างประชากรและอัตราการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงข้อบังคับทางกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ส่งผลให้โรงพยาบาลมีรายได้เพิ่มจากระบบประกันสังคมโดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิในการรักษาพยาบาลสูงถึง 13.7 ล้านคน รวมถึงสวัสดิการประกันกลุ่มที่บริษัทเอกชนมอบให้แก่พนักงานจำนวนกว่า 2.6 ล้านกรมธรรม์ นอกจากในมิติของจำนวนอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ธุรกิจโรงพยาบาลเป็นกลุ่มธุรกิจบริการที่ไม่อ่อนไหวต่อราคาและรายได้ จากการที่เป็นธุรกิจบริการที่จำเป็นและทดแทนไม่ได้ในมิติของคุณภาพและระยะเวลาการเข้ารักษา ส่งผลให้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีอำนาจในการส่งผ่านราคาค่าบริการได้ง่าย เป็นผลให้ค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชนมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้มูลค่าตลาดของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนสามารถขยายได้ต่อเนื่อง โดย ttb analytics ประเมินปี 2567 ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีรายได้รวมสูงแตะ 3.22 แสนล้านบาท ขยายตัว 4% จากปี 2566 ที่มีรายได้รวม 3.14 แสนล้านบาท

 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตั้งแต่ปี 2565 ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนฟื้นตัวและได้รับผลบวกจากวิกฤตโควิด-19 มีรายได้เติบโตถึง 29% โดยในปี 2566 ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเริ่มเห็นสัญญาณการเติบโตที่มีข้อจำกัดมากขึ้นกว่าในอดีต ส่วนหนึ่งมาจากลักษณะเฉพาะตัวของอุปสงค์กลุ่มผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนที่มีลักษณะคาดการณ์ไม่ได้ (Unpredictable Demand) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ จะมีการใช้บริการเมื่อมีการเจ็บป่วย ส่งผลให้ต้องอาศัยอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรจำนวนมากจึงจะสามารถสร้างจำนวนผู้ป่วยในอัตราที่พึงประสงค์บนเงื่อนไขที่อัตราการเข้าโรงพยาบาลคงที่ ดังนั้น ในช่วงปี 2566 ที่จำนวนประชากรเริ่มลดลงกอปรกับกระแสการตื่นตัวในการดูแลสุขภาพที่สูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยจากการที่ตระหนักถึงค่ารักษาพยาบาลที่สูงเมื่อเทียบกับรายได้ ที่แม้จะมีสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลจากประกันสุขภาพแต่ก็ยังพบว่า หลายครั้งผู้ใช้บริการยังต้องชำระเงินส่วนเกินของค่ารักษา ทำให้อัตราการเข้าโรงพยาบาลในอนาคตอาจมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในภาพรวมเริ่มประสบความท้าทาย โดยการเติบโตของโรงพยาบาลเอกชนจะมีลักษณะเป็น K-Shape โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้

  กลุ่มที่ยังรักษาอัตราการเติบโตได้ดี คือ โรงพยาบาลเอกชนที่เน้นลูกค้าต่างชาติที่รายได้ในปี 2566 ยังขยายตัวได้ราว 15.3% จากความสามารถในการขยายตลาดเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เข้ารับบริการจากคุณภาพการรักษาพยาบาลที่สูงบนราคาที่เข้าถึงได้ (High Quality Medical Service at an Affordable Price) ประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มตะวันออกกลางที่ไทยได้เปรียบเรื่องราคาที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบในคุณภาพเดียวกันหรือสูงกว่า รวมถึงกลุ่มอุปสงค์ที่มีรายได้สูงในภูมิภาคอาเซียน เช่น กัมพูชา เมียนมาร์ ลาว ที่ไทยมีข้อได้เปรียบเรื่องคุณภาพของระบบสาธารณสุขที่มีมาตรฐานที่สูงกว่า

· กลุ่มที่เริ่มเผชิญข้อจำกัดในการขยายตัว คือ กลุ่มโรงพยาบาลเอกชนที่เน้นลูกค้าชาวไทย ที่รายได้รวมลดลง 18.3% ในปี 2566 เริ่มเผชิญข้อจำกัดจากจำนวนผู้ป่วยนอกที่ลดลงจากรายงานการสำรวจการเข้าโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนในปี 2565 มีจำนวนผู้ป่วยนอก 58.5 ล้านราย เทียบกับ 58.8 ล้านรายในปี 2560 กอปรกับเมื่อพิจารณาบนบริบทที่ประชากรไทยกำลังเข้าสู่ช่วงลดลง ส่งผลให้ปริมาณอุปสงค์ของผู้ใช้บริการเริ่มมีข้อจำกัดในการขยายตัว รวมถึงในช่วงเวลาที่ผ่านมาค่ารักษาพยาบาลมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้ กดดันให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ในระยะยาว

 ดังนั้น บนสถานการณ์ปริมาณอุปสงค์ของผู้ใช้บริการในประเทศที่เข้ารักษาพยาบาลมีแนวโน้มลดลง รวมถึงในกลุ่มตลาดผู้ใช้บริการชาวต่างชาติที่แม้ยังมีพื้นที่ในการขยายตัวไม่ว่าจะมาจากจำนวนผู้ใช้บริการและราคาที่ยังปรับเพิ่มจากราคาเปรียบเทียบที่ยังต่ำกว่าประเทศต้นทางในบางประเทศ แต่ในระยะยาวการเติบโตบนบริบทที่ตลาดต่างชาติเริ่มเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว การรักษาพยาบาลแบบดั้งเดิมอาจเริ่มเผชิญกับข้อจำกัด ซึ่ง ttb analytics มีความเห็นว่านับจากปี 2567 จะเป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไปของกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 1) การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าใช้บริการ เนื่องจาก ปัจจุบันโครงสร้างรายได้ของกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน ส่วนหนึ่งมาจากระบบประกันสุขภาพ เช่น ประกันกลุ่มที่มีจำนวนกรมธรรม์สูงถึง 2.6 ล้านฉบับ ซึ่งตามสถิติ ผู้มีประกันกลุ่มเข้ารับบริการโรงพยาบาลเฉลี่ย 5.7 ครั้งต่อปี แต่อย่างไรก็ตามการใช้บริการโรงพยาบาลแม้ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลกลับมีต้นทุนแฝงอื่น เช่น ค่าเดินทาง และการลางานที่อาจกระทบต่อผลการประเมินประสิทธิภาพงานในแต่ละปี ส่งผลให้บางครั้งผู้เข้ารับบริการที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Minor Illnesses) อาจเลือกไม่เข้ารับบริการ ถึงแม้ตนมีสิทธิในการเข้ารับการรักษา ส่งผลให้การนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น Telemedicine สามารถเพิ่มความถี่ของการเข้ารับบริการให้เพิ่มสูงขึ้นแม้อาจไม่ได้เพิ่มในจำนวนของผู้รับบริการก็ตาม

2) การเพิ่มความต้องการเฉพาะของบริการทางการแพทย์ เพื่อลดข้อจำกัดเรื่องอุปสงค์ของกลุ่มผู้ใช้บริการที่คาดการณ์ไม่ได้ (Unpredictable Demand) ในการสร้างความจำเป็นพิเศษ (Special Needs) เพื่อรับบริการทางการแพทย์ ตัวอย่างเช่น ในกลุ่มโรงพยาบาลและคลินิกเฉพาะทาง เช่น การบำบัด การเสริมความงาม หรือแม้แต่เทรนด์เพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยด้วยเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Care) ที่รายได้เติบโตด้วยอัตราเร่งที่ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 30.2% โดยรายได้คาดการณ์ปี 2567 อยู่ที่ราว 4.2 หมื่นล้านบาท จากความสามารถในการตอบสนองความต้องการเฉพาะนอกเหนือจากเข้ารับบริการเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาที่มีความถี่ในการใช้บริการต่ำและมีข้อจำกัดในการทำการตลาดจากการที่ไม่สามารถคาดการณ์การใช้บริการได้

3) การมุ่งเน้นให้เกิดรายได้หมุนเวียน (Recurring Income) เพื่อสร้างฐานรายได้เติบโตได้อย่างสม่ำเสมอจากผู้ใช้บริการที่คาดการณ์ได้ (Predictable Demand) โดยการเพิ่มเติมความจำเป็นพิเศษเพื่อเปลี่ยนมุมมองจากเดิมที่เข้ารับบริการเพื่อการรักษา (Treatment) สู่มุมมองร่วมสมัยที่เข้ารับบริการในรูปแบบเวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Care) ทำให้เกิดรูปแบบการให้บริการใหม่ที่มีความถี่สูงขึ้น เช่น เวชศาสตร์ฟื้นฟู บริการด้านสุขภาพ หรือกลุ่มอาหารเสริม รวมถึงการขยายรูปแบบบริการในธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่ตอบโจทย์ปัญหาของประเทศไทยที่กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น (Super Aged Society) บนบริบทของครอบครัวที่มีขนาดเล็กลงยิ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุมีทิศทางที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี โดย นายปิติ ตัณฑเกษม (ที่ 2 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นางประภาศิริ โฆษิตธนากร (ขวาสุด) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านทรัพยากรบุคคล มอบรายได้จากการจำหน่ายสลากกาชาดทีทีบี ประจำปี 2566 จำนวน 9,152,586.08 บาท ให้แก่สภากาชาดไทย โดยมีนายขรรค์ ประจวบเหมาะ (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย เป็นผู้รับมอบ ณ  ทีเอ็มบีธนชาต สำนักงานใหญ่ โดยรายได้ดังกล่าวจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เพื่อนำไปช่วยเหลือสังคมและสาธารณกุศลต่อไป

จุดประกายการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ ช่วยลดปัญหาการบูลลี่ในรั้วโรงเรียน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ครองอันดับหนึ่งธนาคารด้าน ESG ต่อเนื่อง ด้วยการคว้าสองรางวัลทั้งในเวทีระดับประเทศและนานาชาติ หลังต้อนรับศักราชใหม่ ปี 2567 ด้วยการครองอันดับหนึ่งธนาคารที่มีคะแนนด้าน ESG สูงสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 จากการประเมินโดย Fair Finance Thailand โดดเด่นในหมวดการคุ้มครองผู้บริโภค และขยายบริการทางการเงิน โดยล่าสุดคว้ารางวัล Best Environmental Sustainability Bank จากเวที International Finance Awards 2023 ตอกย้ำแนวคิดการทำงานแบบ Make REAL Change มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงผสานธุรกิจและความยั่งยืน ตามกรอบ B+ESG ก้าวสู่ “การธนาคารเพื่อความยั่งยืน”  

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ทุกวันนี้ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับแนวคิดการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยต้องคำนึงเรื่องของ ESG ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) ซึ่งทีทีบีได้วางกรอบการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสร้างการเติบโตและความยั่งยืนอย่างสมดุลในทุกมิติมาหลายปีแล้ว ด้วยการ Make REAL Change เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอันนำไปสู่การธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) สะท้อนความมุ่งมั่นและความตั้งใจจริงในการขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายอย่างแท้จริง จากการครองอันดับ 1 ธนาคารที่มีผลคะแนนด้าน ESG สูงสุดติดต่อกัน 5 ปี ในการประเมินนโยบายด้าน ESG ของธนาคาร โดยแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) ถือเป็นหนึ่งรางวัลแห่งเกียรติยศและความภาคภูมิใจในการผลักดันให้ทุกภาคส่วนในองค์กรร่วมกันผลักดันสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

ทีทีบีใส่ใจเรื่องความยั่งยืนมายาวนาน ทุกกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของธนาคารอยู่บนพื้นฐานสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม (B+ESG) ผ่านการพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) และการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending) เพื่อสนับสนุนธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับลูกค้า คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ชุมชน และสังคม ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนมากขึ้น กลายเป็นประเด็นสำคัญของโลก เห็นได้จากการปรับปรุงเกณฑ์ประเมินของ Fair Finance Guide International 2023 หรือ FFGI ที่เข้มข้นกว่าเกณฑ์ชุดเดิมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทีทีบีพร้อมปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองกับทุกบริบทของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น สิ่งที่ธนาคารจะก้าวต่อไปจากนี้คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควบคู่ไปกับการทำให้ทุกคนมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง

นายนริศ อารักษ์สกุลวงศ์ ประธานกลุ่มกลยุทธ์องค์กรและดิจิทัล ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า “ทีทีบี มีผลคะแนนรวม 39% จากการประเมินนโยบายด้าน ESG ของธนาคาร ปี 2566 โดดเด่นในหมวดการคุ้มครองผู้บริโภคมีคะแนน 66% ที่ธนาคารได้ประกาศนโยบายในการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้าอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่ช่องทางการร้องเรียน ระบบการดำเนินการ ระยะเวลาการดำเนินการจัดการ และการรายงานผล พร้อมให้มีการเยียวยาลูกค้า รวมถึงมีโครงการอบรมพนักงานในประเด็นสิทธิผู้บริโภค นโยบายคุ้มครองผู้บริโภค และธรรมเนียมปฏิบัติ เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ของพนักงานในการบริการและนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ"

นอกจากนี้ ทีทีบียังมุ่งมั่นขยายบริการทางการเงินให้ครอบคลุม ทำให้มีคะแนนในหมวดนี้ถึง 61% ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยให้เข้าถึงทางการเงินให้กับลูกค้าได้ทุกกลุ่ม ผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบ เพิ่มการเข้าถึงและความสะดวกสบาย รวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลทั่วประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ ธนาคารยังให้ความสำคัญในประเด็นสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน นอกจากมีสินเชื่อบ้าน ทีทีบี ที่คู่รักเพศเดียวกันสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้แล้ว ยังมีการประกาศนโยบายที่ครอบคลุมถึงลูกค้าธุรกิจ ที่ต้องทำธุรกิจโดยไม่ยอมรับการใช้แรงงานเด็กทุกรูปแบบ ต้องมีการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียม รวมถึงกำหนดให้มีสภาพพื้นที่การทำงานที่ดี มีมาตรการป้องกันสุขภาพและความปลอดภัยที่เหมาะสมด้วย

และอีกบทพิสูจน์ที่สะท้อนความมุ่งมั่นในการดำเนินงานภายใต้กรอบ B+ESG โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม คือการเป็นที่ยอมรับบนเวทีระดับนานาชาติการันตีด้วยรางวัลอันทรงเกียรติ Best Environmental Sustainability Bank จากเวที International Finance Awards 2023 จัดโดย International Finance Magazine (IFM) นิตยสารด้านธุรกิจและการเงินชั้นนำระดับโลกจากประเทศอังกฤษ โดยธนาคารได้ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมผ่านโซลูชันทางการเงินที่ยั่งยืน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การออกตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือตราสารหนี้สีเขียว ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนทางทะเล หรือตราสารหนี้สีฟ้า สินเชื่อที่เชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน รวมถึงการปล่อยสินเชื่อสีเขียวเพื่อสนับสนุนธุรกิจในการอนุรักษ์และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลงสังคมสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

“ทีทีบีตั้งเป้าหมายเป็นธนาคารที่เป็นผู้นำด้านการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น หรือ The Bank of Financial Well-being ให้กับคนไทย โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ได้อย่างแท้จริงกับลูกค้าทุกกลุ่มในแต่ละช่วงชีวิต ควบคู่กับการให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เพราะเชื่อว่าเป็นการสร้างความยั่งยืนได้ในระยะยาว ตอกย้ำความสำเร็จจากรางวัลด้านความยั่งยืนที่ธนาคารได้รับมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรางวัลธนาคารที่มีคะแนนด้าน ESG สูงสุดอันดับ 1 จาก Fair Finance Thailand ติดต่อกัน 5 ปี ซึ่งปีล่าสุดมีการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินให้เข้มข้นขึ้น ถือเป็นเกณฑ์ประเมินธนาคารด้านความยั่งยืนที่ละเอียดและอัปเดตที่สุดชุดหนึ่งในโลก สะท้อนชัดถึงการลงมือทำอย่างแท้จริงของธนาคารในการขับเคลื่อนสู่การธนาคารเพื่อความยั่งยืน” นายปิติกล่าวสรุป

X

Right Click

No right click