ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดเม็ดเงินสะพัดช่วงสงกรานต์ปี 2567 ทะยานแตะ 4.2 หมื่นล้านบาท จากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และวันหยุดพิเศษที่ส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว แนะภาครัฐส่งเสริมต่อยอดและวางแผนการกำหนดวันหยุดให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างเม็ดเงินให้สะพัดในภาคการท่องเที่ยวไทย

เทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดประจำปีของไทยที่เป็นโอกาสสำคัญในการกลับภูมิลำเนาเพื่อพักผ่อนใช้เวลากับครอบครัว เนื่องจากเป็นวันหยุดยาวที่ตรงตามเทศกาลอย่างน้อย 3 วัน และเมื่อรวมกับวันหยุดสุดสัปดาห์รวมถึงวันหยุดพิเศษตามประกาศของภาครัฐ ย่อมทำให้วันหยุดรวมมีระยะเวลานานเพียงพอที่จะทำให้ผู้จากถิ่นฐานหรือภูมิลำเนาที่เดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครปริมณฑล และภาคตะวันออก สามารถกลับไปพักผ่อนใช้ชีวิตกับครอบครัวที่ภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลได้ นอกจากนี้ด้วยวันหยุดที่มีระยะเวลานานย่อมส่งผลดีต่อกลุ่มที่มีแหล่งงานในภูมิลำเนาตนเอง หรือกลุ่มที่ไม่ตัดสินใจเดินทางกลับไปเยี่ยมครอบครัวที่ต่างจังหวัด โดยเลือกที่จะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อเดินทางท่องเที่ยวแบบไม่เหนื่อยจนเกินไปจากจำนวนวันหยุดที่ยาวนานและยังเหลือวันหยุดเพื่อพักผ่อนหลังเดินทางท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม เทศกาลสงกรานต์ในปี 2567 นับเป็นปีที่วันหยุดค่อนข้างเอื้ออำนวยให้กับภาคการท่องเที่ยวสำหรับประชาชนบางกลุ่มที่สามารถลางานในช่วงวันที่ 9-11 เมษายน ได้ นับว่าเทศกาลนี้จะลากยาวถึง 11 วัน เนื่องจากในช่วงสัปดาห์ก่อนเทศกาลก่อนสงกรานต์ มีวันหยุดชดเชยวันจักรีในวันจันทร์ที่ 8 เมษายน และ วันหยุดพิเศษตามประกาศของรัฐบาลในวันศุกร์ที่ 12 เมษายน และแม้แต่ในส่วนกลุ่มที่ไม่สามารถลางานในสัปดาห์ก่อนวันสงกรานต์ วันหยุดยาวก็ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ช่วงวันที่ 6-8 เมษายน และวันที่ 12-16 เมษายน ซึ่งก็นับเป็นผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวและเม็ดเงินที่คาดว่าจะสะพัดเป็นพิเศษในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

นักท่องเที่ยวชาวไทย ในเทศกาลสงกรานต์ส่วนใหญ่มักเดินทางกลับภูมิลำเนาจากแหล่งงานในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่ EEC รายจ่ายในส่วนของการเดินทางกลับภูมิลำเนาไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากรายจ่ายปกติ แต่อาจเพิ่มขึ้นในส่วนของการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวของกลุ่มที่ไม่ได้กลับภูมิลำเนา หรือกลุ่มที่กลับภูมิลำเนาและเดินทางท่องเที่ยวไปในภูมิภาคที่ใกล้เคียงกับครอบครัว ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในพื้นที่ภูมิภาคไม่นับกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีรายจ่ายในบางรายการสูงขึ้น เช่น รายจ่ายค่าเดินทางโดยเฉลี่ยต่อคนต่อวันปรับเพิ่มขึ้น 6.9% รายจ่ายเกี่ยวกับอาหารและซื้อสินค้าที่คาดว่าจะปรับตัวจากรูปแบบวิถีชีวิตของชาวไทยที่เมื่อมีการรวมกลุ่ม คาดปรับเพิ่มขึ้น 12.9% ในขณะที่เม็ดเงินค่าใช้จ่ายในภาคโรงแรมโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มเพียง 2.7% เนื่องจากเทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่คนส่วนหนึ่งกลับภูมิลำเนาจึงพักอาศัยที่บ้านเกิดของตนแต่อาจได้รับอานิสงส์จากกลุ่มที่ตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลโดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวสำคัญ เช่น ภาคตะวันออก และจังหวัดติดทะเลใกล้กรุงเทพฯ โดยจากรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ttb analytics ประเมินเม็ดเงินที่สะพัดช่วงเทศกาลสงกรานต์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยคาดอยู่ที่ 17,200 ล้านบาท

ในส่วนของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรกของปีเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวที่ได้รับแรงหนุนจากช่วงวันหยุดยาว Golden Week ของชาวจีน และ เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวยุโรปหนีความหนาวมาพักพิงในภูมิภาคที่มีความอบอุ่น ส่งผล

ให้ในเดือนเมษายนนี้ แม้จะมีแรงส่งจากเทศกาลสงกรานต์ก็เชื่อว่ายังไม่สามารถชดเชยส่วนต่างที่หายไปจากฤดูท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสแรกของปี แต่จากแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวด้านจำนวนคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนเมษายนปี 2567 จะมีจำนวนราว 3 ล้านคน เพิ่มขึ้นเทียบกับปีก่อนหน้ากว่า 42% (เดือนเมษายน 2566 นักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวน 2.18 ล้านคน) ซึ่งเป็นปัจจัยบวกสำหรับการท่องเที่ยวไทย โดยเม็ดเงินที่สะพัดช่วงเทศกาลสงกรานต์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดอยู่ที่ 24,300 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อรวมเม็ดเงินจากทั้งกลุ่มคนไทยและต่างชาติ พบเม็ดเงินที่สะพัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เฉพาะวันที่ 12-16 เมษายน คาดว่าจะแตะ 41,500 ล้านบาท ซึ่งสูงขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงปี 2566 ที่เม็ดเงินสะพัดช่วงสงกรานต์ราว 26,800 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 55% ด้วยสาเหตุหลักซึ่งประกอบด้วย เม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ช่วงวันหยุดสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ดีกว่าปีก่อนที่เทศกาลมีวันหยุดเพียง 4 วัน นอกจากนี้ในปี 2567 เมื่อพิจารณาในระยะเวลาช่วงวันหยุดยาวสัปดาห์ก่อนสงกรานต์ซึ่งนักท่องเที่ยวบางกลุ่มเริ่มจับจ่ายตั้งแต่ช่วงวันที่ 6 เมษายน ลากยาวจนเดินทางกลับมาทำงานหลังสงกรานต์ ก็คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินเพิ่มเติมราว 25,800 – 37,400 ล้านบาท เมื่อรวม 2 ช่วงวันหยุดคิดเป็นเงินสะพัดถึง 67,300 – 78,900 ล้านบาท จึงเป็นเครื่องสะท้อนถึงการกำหนดวันหยุดพิเศษต่าง ๆ ที่ควรจะสอดคล้องและเอื้ออำนวยกับภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากแม้จำนวนวันหยุดที่เท่ากันแต่ช่วงเวลาที่ต่างกันย่อมส่งผลต่อเม็ดเงินให้สะพัดเพิ่มมากขึ้นในภาคท่องเที่ยวไทย

นอกจากนี้ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 นี้ เงินสะพัดอาจจะปรับเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าตัวเลขข้างต้น โดย ttb analytics มองภาครัฐยังสามารถต่อยอดนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวช่วงสงกรานต์ได้เพิ่มเติม เช่น รายจ่ายค่าที่พัก และอาหาร ในช่วงเทศกาลสงกรานต์สามารถนำมาลดหย่อนภาษี หรือขอความร่วมมือผู้ประกอบการทำโปรโมชันกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ เพื่อเป็นแรงดึงดูดให้คนไทยที่มีความต้องการเดินทางไปต่างประเทศช่วงสงกรานต์รู้สึกคุ้มค่าเพียงพอในการเลื่อนการเดินทางต่างประเทศออกไปในช่วงเวลาอื่นที่มีวันหยุดยาว เช่น เดือนพฤษภาคม หรือ กรกฎาคม และใช้ช่วงเวลาเทศกาลสงกรานต์เพื่อสร้างเม็ดเงินให้สะพัดในภาคการท่องเที่ยวไทยให้มากขึ้นในปีถัด ๆ ไป

เผยปีที่ผ่านมามอบความคุ้มครองให้ลูกค้าแล้วกว่า 2.2 ล้านราย

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เคียงข้างลูกค้าทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะช่วงเวลาฉุกเฉินทางการเงิน เพื่อให้สามารถวางแผนการใช้จ่ายได้ตรงจุดและตรงใจ กู้เท่าที่จำเป็นต้องใช้ และผ่อนชำระคืนไหว เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น มอบสิทธิพิเศษและโปรโมชันดับร้อน ผ่อนสบาย ให้แก่ผู้สมัครบัตรกดเงินสด ttb flash ด้วยบริการโอนเงินสดเข้าบัญชี หรือกดเงินสดได้ทันใจ เพียงสมัครบัตรกดเงินสด ttb flash และสมัครใช้บริการเงินสดผ่อนชิลล์ ชิลล์ (Cash Chill Chill) 50,000 บาทขึ้นไป รับฟรีกระเป๋าเดินทางมูลค่า 3,990 บาท อัตราดอกเบี้ย 4.99% ต่อปี สูงสุด 4 เดือนแรก สำหรับเดือนที่ 5 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย 22% ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 – 31 พฤษภาคม 2567 โดยต้องได้รับอนุมัติบัตรภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 เท่านั้น

นอกจากนี้บัตรกดเงินสด ttb flash ยังมีบริการให้ลูกค้าเลือกแบ่งผ่อนชำระได้หลากหลายรูปแบบ โดยไม่ต้องแบกภาระหนัก ได้แก่ บริการเงินสดผ่อนชิลล์ ชิลล์ (Cash Chill Chill) เปลี่ยนวงเงินคงเหลือจากบัตรกดเงินสด เป็นเงินก้อนโอนเข้าบัญชี พร้อมรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และผ่อนชำระคืนนานสูงสุด 60 เดือน บริการเงินสดสั่งได้ (Cash Transfer) บริการโอนวงเงินคงเหลือบัตรเข้าบัญชี พร้อมรับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ และสามารถเลือกชำระคืนได้ทั้งแบบเต็มจำนวน หรือ ชำระขั้นต่ำ 3% บริการเงินสดกดทันที (Cash Advance) เบิกถอนเงินสดผ่านแอป ttb touch หรือตู้เอทีเอ็ม ทีทีบี ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกที่ทั่วโลกที่แสดงสัญลักษณ์ plus โดยไม่มีค่าธรรมเนียมเบิกถอน สามารถเลือกชำระเต็มจำนวน หรือ ชำระขั้นต่ำ 3% และบริการแบ่งจ่ายรายเดือน 0% pay plan ผ่อนชำระค่าสินค้าและบริการ ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0% นานสูงสุด 60 เดือน *เฉพาะร้านค้าที่ร่วมรายการ เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

สนใจสมัครบัตรกดเงินสด ttb flash ได้ที่สาขาทีทีบี ทั่วประเทศ หรือ ผ่านแอป ttb touch หรือ http://www.ttbbank.com/th/fc-promotionnews-pr

ตอกย้ำการเป็นพันธมิตรเคียงข้างเอสเอ็มอีและลูกค้าธุรกิจ เติบโตอย่างยั่งยืน

สนับสนุนองค์กรที่ร่วมส่งเสริมและยกระดับชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้พนักงานเงินเดือน

X

Right Click

No right click