นางวรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เข้าเยี่ยมคารวะ ดร.บุนเหลือ สินไซวอระวง ผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป.ลาว (BOL) และนางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน พร้อมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทย-สปป.ลาว ณ BOL สำนักงานใหญ่ และสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ พร้อมกันนี้ ได้พบปะและแสดงความยินดีกับนายวงสกุล ยิ่งยง ผู้อำนวยการ รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (EDL) ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ณ EDL สำนักงานใหญ่ สปป.ลาว เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจ สปป.ลาว อยู่ระหว่างฟื้นตัวในอัตราราว 2-3% ในช่วงปี 2564-2566 ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โดยได้รับแรงหนุนจากการท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน รถไฟจีน-สปป.ลาว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศ มีส่วนช่วยสนับสนุนการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและดึงดูดการลงทุนของภาคการผลิต

นายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน EXIM BANK เข้าร่วมงาน “แบ่งฝัน & ปันรัก...ทำดีเพื่อเพื่อนมนุษย์” จัดโดยมูลนิธิเพื่อการฟื้นฟูพัฒนาเด็กและครอบครัว (ฟอร์เด็ก) ในโอกาสมูลนิธิเปิดดำเนินงานครบรอบ 26 ปี และ EXIM BANK เป็นผู้สนับสนุนหลักของมูลนิธิ โดยผู้บริหารและพนักงาน EXIM BANK บริจาคเงินโดยตัดบัญชีเงินเดือนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 และในโอกาสนี้ EXIM BANK ได้ร่วมกิจกรรมและสนับสนุนค่าอาหารและอุปกรณ์การศึกษาให้แก่เด็กและครอบครัวผู้ยากไร้ พร้อมมอบทุนการศึกษาระดับอาชีวศึกษาจำนวน 5 ทุน ภายใต้โครงการ EXIM เพื่อโอกาสในการประกอบอาชีพ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 230,000 บาท โดยมี ดร.อัมพร วัฒนวงศ์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ มูลนิธิฟอร์เด็ก ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนวัดมหาวงษ์ มูลนิธิฟอร์เด็ก 6 จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและคณะ พร้อมด้วย ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และผู้บริหาร EXIM BANK เข้าร่วมประชุมหารือกับสถาบันการเงินชั้นนำของฮ่องกง ในโอกาสเดินทางเยือนเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสานสัมพันธไมตรีและหารือแนวทางการขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ อาทิ การร่วมลงทุน (Co-financing) การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การระดมทุน (Debt Capital Market) การรับประกันสำหรับผู้ส่งออก (Export Insurance Business) บริการการค้าต่างประเทศ (Trade Finance) โอกาสในการใช้เงินหยวนเป็นเงินสกุลเงินกลางในการทำธุรกรรมในตลาดโลก (Yuan Settlement) การออกพันธบัตรสกุลเงินหยวน (Yuan Bond) พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance : ESG) โดยมีนายซุน ยู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารแห่งประเทศจีน (ฮ่องกง)

 

นายหลิว ย่ากัน ประธานกรรมการและกรรมการบริหาร อินดัสเตรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า (เอเชีย) ลิมิเต็ด หรือ ICBC (Asia)

 

และนาย เจฟฟี่ ไบ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไชน่า ซีติก แบงก์ อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับ ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเร็ว ๆ นี้

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ดร.ปีเตอร์ เคเอ็น แลม ประธานองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) และนางมากาเร็ต ฟง กรรมการบริหาร HKTDC ร่วมเป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการต่อเนื่องเป็นฉบับที่ 3 ระหว่าง ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กับนางสาวโซเฟีย ชอง
รองกรรมการบริหาร HKTDC ณ HKTDC สำนักงานใหญ่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567

บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง EXIM BANK และ HKTDC ในการยกระดับการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยและฮ่องกงให้มีความสามารถในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงความร่วมมือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนภารกิจของ EXIM BANK และ HKTDC ในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับฮ่องกง การจับคู่ธุรกิจ การให้สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ประกอบการที่อาจมีโอกาสเป็นลูกค้าของ EXIM BANK และ HKTDC เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินและการรับประกันความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการไทยกับฮ่องกง

ปัจจุบันไทยและฮ่องกงมีความตกลงการค้าเสรีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยฮ่องกงยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากอาเซียนทุกรายการและผูกพันไม่ขึ้นภาษีสินค้าทุกรายการภายใต้ AHKFTA ในอนาคต ขณะเดียวกัน ฮ่องกงเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 13 ของไทยในปี 2566 โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 2.4% ของมูลค่าการค้ารวมของไทย สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปฮ่องกง ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และเครื่องยนต์สันดาปภายใน สินค้านำเข้าของไทยจากฮ่องกง ได้แก่ อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรกล และสินแร่โลหะ นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นแหล่งรองรับการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Thai Direct Investment : TDI) สำคัญของไทย โดยถือเป็นแหล่งลงทุนอันดับ 1 ของไทยในแง่มูลค่าเงินลงทุนโดยตรงสะสมที่ 2.65 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ ไตรมาส 3 ปี 2566 โดย TDI Outflow ของไทยไปฮ่องกงอยู่ที่ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 มากเป็นอันดับ 5 รองจากสิงคโปร์ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และมอริเชียส โดยธุรกิจที่นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในฮ่องกง อาทิ การเงินการธนาคาร ประกันภัย ค้าปลีกค้าส่ง อาหารและเครื่องดื่ม ขณะที่ธุรกิจที่นักลงทุนฮ่องกงเข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ โลจิสติกส์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และนายวรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SSP) ร่วมลงนามในสัญญาสนับสนุนสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan : SLL) ของ EXIM BANK จำนวน 2,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567

การสนับสนุนของ EXIM BANK ในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนของกลุ่ม SSP ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน เพื่อสนับสนุนให้เกิดพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายของ EXIM BANK ที่มุ่งสู่บทบาท Green Development Bank ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกของไทย (Alternative Energy Development Plan : AEDP) ที่มีการปรับเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดมากขึ้น และแผนความร่วมมือด้านพลังงานภูมิภาคอาเซียนที่มีการกำหนดนโยบายเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มีสัดส่วน 35% ของกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมภายในปี 2568 ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการไทยที่ดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Environmental, Social, and Governance : ESG) ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่อนาคตโดยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) สร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาคอาเซียน ควบคู่กับการรักษาสมดุลของการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

X

Right Click

No right click