×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 810

ยืนยง  ทรงศิริเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการปฏิบัติการและประสิทธิภาพธุรกิจสาขา ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า  ธนาคารมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในแบบลูกค้าต้องการ  โดยเห็นว่าช่องทางสาขาคือช่องทางในการให้บริการลูกค้าที่มีความสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทีเอ็มบีจึงได้พัฒนาสาขารูปแบบใหม่ สำหรับลูกค้าในยุคดิจิทัล  “ TMB Digital Branch Banking  Experience” เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการบริการในสาขาเพื่อไปสู่ธนาคารรูปแบบใหม่รายแรกของไทย นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่ก้าวต่อๆ ไปในการให้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้ง

  TMB Digital Branch Banking Experience  เป็นการนำเทคโนโลยีการออกแบบช่องทางการบริการมาผสานเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล  ช่วยให้กระบวนการธุรกรรมมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดระยะเวลารอคอย เกิดประสบการณ์ใหม่ที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน  โดยการบริการที่ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับการใช้งานดังกล่าว มีอยู่ 4 ส่วน ประกอบด้วย 1. การนัดหมายล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ (New Queue Platform)  2. บริการข้อมูลผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ ผ่าน อี-โบรชัวร์ (E-Brochure) 3. เทคโนโลยี VDO Conference เพื่อให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจาก TMB Advisory 4. เจ้าหน้าที่ Navigator พร้อมอุปกรณ์ที่จะให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นสำหรับการใช้บริการทุกธุรกรรม

         ยืนยง ทรงศิริเดช หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการปฏิบัติการและประสิทธิภาพธุรกิจสาขา ทีเอ็มบี

ยืนยงกล่าวถึงรูปแบบสาขาว่า การออกแบบภายในจะเน้นการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรเพื่อช่วยให้ลูกค้าเข้าใจการเปลี่ยนผ่านการให้บริการนี้ โดยในระยะแรกต้องสร้างความเข้าใจทีละขั้นตอนเพื่อสร้างความคุ้นเคย ซึ่งจากการทดลองใช้งานมาช่วงหนึ่ง พบว่าลูกค้าชอบบริการที่นำมาใช้กับสาขารูปแบบใหม่  จึงนำไปสู่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่สาขาเป็นแบบบริการตัวเองเพิ่มมากขึ้น

 รูปแบบของสาขาใหม่นี้เป็นอีกก้าวสำคัญของการให้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้งของทีเอ็มบี โดยยึดหลักให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย มีความสะดวกสบายและรวดเร็ว  นำความต้องการพื้นฐานมาสู่ประโยชน์ของลูกค้าและสร้างรูปแบบบริการตัวเองที่จะช่วยให้ลูกค้าติดต่อกับธนาคารได้ง่ายขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการธนาคาร  แต่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน ทีเอ็มบีจึงมุ่งเน้นการเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานก่อนเป็นอันดับแรก

 ประสบการณ์รูปแบบใหม่ผ่านสาขานี้จะให้อำนาจกับลูกค้าในการเลือกอะไร ที่ไหน และอย่างไร ตามความสะดวกของแต่ละคน ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ตัดขาดการสื่อสารกับคนด้วยกัน หากพอใจจะขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่โดยตรงมากกว่าผ่านระบบการบริการแบบครบวงจร ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสาขาจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เข้าถึงช่องทางบริการทางดิจิทัล และจะเป็นปัจจัยสำคัญให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายจากการเปลี่ยนผ่าน

        เจ้าหน้าที่ของสาขาจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เข้าถึงช่องทางบริการทางดิจิทัล

 ทั้งนี้ สาขารูปแบบใหม่จะนำร่องให้บริการใน 15 สาขา ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ประกอบด้วย เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, สยามพารากอน, ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต, เดอะมอลล์ บางแค, ซีคอนสแควร์, เซ็นทรัลพระรามเก้า, เซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต, เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ, แฟชั่นไอแลนด์, เซ็นทรัล เฟสติวัล หาดใหญ่, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, เซ็นทรัลเวิลด์, เดอะมอลล์บางกะปิ, เซ็นทรัล มหาชัย และทีเอ็มบี สำนักงานใหญ่

 

รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ประธานกรรมการ TMB เปิดเผยว่า เนื่องจากบุญทักษ์ หวังเจริญ แจ้งความประสงค์ที่จะดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ศกนี้     คณะกรรมการธนาคารจึงได้พิจารณาสรรหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งแทน และได้มีมติแต่งตั้ง ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน เป็นผู้สานต่อภารกิจในการนำธนาคารก้าวไปข้างหน้า ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป

รังสรรค์กล่าวว่า “การแต่งตั้งคุณปิติ นี้ นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านที่มีความต่อเนื่องและราบรื่น โดยคุณบุญทักษ์ได้ปฏิบัติภารกิจหลักสำคัญสองประการหลังจากที่มีการต่อสัญญาให้ทำหน้าที่ต่ออีก 2 ปีเมื่อปลายปี 2559  คือการวางรากฐาน Digital Transformation ให้กับธนาคารและการร่วมสรรหาผู้ที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งทำให้ TMB พร้อมแล้วสำหรับผู้นำคนใหม่ที่จะมาทำหน้าที่นี้ต่อไปเพื่อดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ของธนาคาร ทั้งนี้คณะกรรมการธนาคารเล็งเห็นว่าคุณปิติเป็นนักการธนาคารที่มีวิสัยทัศน์และความรู้ความสามารถ และได้ร่วมงานกับธนาคารมาตั้งแต่ช่วงที่คุณบุญทักษ์เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมวางกลยุทธ์และดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของธนาคาร ยิ่งไปกว่านั้นคุณปิติยังมีความเข้าใจในวัฒนธรรมของTMBเป็นอย่างดี คณะกรรมการธนาคารจึงเชื่อมั่นว่า คุณปิติจะสามารถนำTMBให้รุดหน้าต่อไปในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแผนที่ได้วางไว้”

ประวัติของ ปิติ อายุ 47 ปี เป็นนักการธนาคารที่มีประสบการณ์ เข้าร่วมงานกับTMBในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน       นายปิติจบการศึกษาปริญญาเอก สาขาการบริหารกลยุทธ์ ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) และ ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหการ ก่อนจะดำรงตำแหน่งปัจจุบัน ปิติมีประสบการณ์ในวงการธนาคารมากว่า 25 ปี ครอบคลุมทั้งด้านลูกค้าธุรกิจ, ด้านลูกค้า SME, ด้านลูกค้ารายย่อย และธุรกิจตลาดทุน นอกจากนั้นยังมีประสบการณ์การเป็นกรรมการอิสระของรัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน 

รังสรรค์กล่าวด้วยว่า “ในนามของคณะกรรมการธนาคาร ผมขอแสดงความชื่นชมและขอบคุณคุณบุญทักษ์ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุทิศตน และได้ใช้ความรู้ความสามารถในการดำเนินงานอย่างมีกลยุทธ์เพื่อปฏิรูปและพลิกโฉมธนาคารให้เป็นTMBในวันนี้ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่ที่ได้รับมอบหมายภารกิจที่มีความท้าทายอย่างยิ่งในการตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่าย คุณบุญทักษ์ได้ริเริ่มและนำการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญมาสู่TMB ด้วยการปรับองค์กรให้เป็นองค์กรที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้องค์กรมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ สร้างแบรนด์TMBตามปรัชญา Make THE Difference ของธนาคาร อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างเข้มข้น บริหารจัดการด้านการเงินและบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับธนาคาร ซึ่งทำให้TMBมีความมั่นคงและมีศักยภาพที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดีด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นผู้นำและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการธนาคารไทย รวมทั้งยกระดับให้TMBเป็นธนาคารชั้นนำที่สามารถตอบโจทย์ของผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายอย่างยั่งยืน ทั้งลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน และสังคมโดยรวม”

ในโอกาสนี้ บุญทักษ์ ได้กล่าวว่า “ผมขอขอบคุณลูกค้า คณะกรรมการธนาคาร และเพื่อนพนักงาน ที่ได้เคียงข้างกันมาบนเส้นทางการ ‘Make THE Difference เปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น’  ด้วยรากฐานที่มั่นคงในทุกด้าน ตลอดจนการมีแผนกลยุทธ์ธุรกิจระยะยาวที่ชัดเจนในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล        มีธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลกิจการ ประกอบไปด้วยทรัพยากรบุคคลคุณภาพ ผมเชื่อมั่นว่า TMBจะทะยานก้าวหน้าไปได้เร็วยิ่งกว่าเดิมในยุคดิจิทัล เป็นธนาคารที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง (Need-based) ให้ลูกค้าใช้งานง่าย (Simple & Easy) จนทำให้ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อให้คนรอบข้างมาใช้บริการของTMBมากยิ่งขึ้นต่อไป”

บุญทักษ์ เข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารTMB เมื่อวันที่  14 กรกฎาคม 2551 และเป็นผู้นำในการวางรากฐานทางการเงินที่ทำให้TMBพ้นจากภาวะขาดทุนสะสมกว่าหนึ่งแสนล้านบาท พลิกกลับมาเป็นธนาคารที่มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการทำกำไรและเติบโตอย่างต่อเนื่อง สามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ในงวดผลประกอบการปี 2553 นับเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งแรกในรอบ 14 ปี   และเป็นผู้ที่นำการสร้างแบรนด์TMB Make THE Difference เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยเป็นธนาคารไทยที่นำแนวคิด LEAN มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นำเสนอแนวคิดใหม่ในด้านการธนาคาร เช่น แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์เงินฝากเป็นกลุ่มบัญชีเพื่อใช้ เช่น TMB All Free และกลุ่มบัญชีเพื่อออม เช่น TMB No Fix และเป็นธนาคารแรกในไทยที่ยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมโอนเงินข้ามเขต ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากความเข้าใจในปัญหาและความต้องการของลูกค้า พร้อมกันนี้ได้นำธนาคารก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการพัฒนาองค์กรและวิธีการทำงานให้มีความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นผู้ริเริ่มการธนาคารรูปแบบใหม่สำหรับยุคดิจิทัล ME by TMB บัญชีดิจิทัลที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีทั่วไป และบุญทักษ์ยังได้ริเริ่มการให้บริการกองทุนรวมแก่ลูกค้าทุกคน ด้วยแนวคิด  TMB Open Architecture เปิดให้ลูกค้าสามารถเลือกลงทุนผ่านสาขาของTMBในกองทุนดีๆจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหลายแห่งโดยไม่ผูกติดอยู่กับบริษัทในเครือเท่านั้น เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก รวมทั้งเปิดให้บริการที่ปรึกษาและจัดพอร์ตการลงทุน TMB Advisory ทำให้ลูกค้ามีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายการลงทุนที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้ลูกค้ายังสามารถรับบริการผ่านช่องทางดิจิทัลได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผลงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ โดยได้ริเริ่มการจัดอบรม LEAN Supply Chain ฟรีให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภายใต้ซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อให้มีความรู้และทักษะสามารถนำ LEAN ไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการการทำงานและพัฒนากิจการของตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันเพื่อความสำเร็จและการเติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ทั้งนี้ TMB ยังคงดำเนินการต่อเนื่องตามแผนกลยุทธ์ 5 ปีที่วางไว้ต่อไปภายใต้การนำของคุณปิติ โดยยังคงมุ่งเป็นธนาคารที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าอย่างตรงจุด (Need Based) ลูกค้าใช้งานง่ายและสะดวก (Simple & Easy) เป็นธนาคารที่ให้บริการ Transactional Banking ที่ดีที่สุดที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพจนทำให้ลูกค้าเลือกใช้TMBเป็นธนาคารหลักและบอกต่อ เพื่อก้าวสู่การเป็นธนาคารไทยชั้นนำที่ทันสมัยและก้าวหน้าที่สุด

      ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดตัวซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์ เต็มรูปแบบแห่งแรกในประเทศไทย ณ ศูนย์การค้าเดอะคริสตัล วีรันดา เป็นธนาคารสาขาไร้เงินสด ศูนย์รวมบริการธนาคารดิจิทัลทั้ งด้านการเงิน และการลงทุน

     ดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์  เปิดเผยว่า “ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์”  ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านการบริหารการลงทุนและเสริมสร้าง ความมั่งคั่งเป็นหลัก รองรับการให้บริการกลุ่มลูกค้าซิตี้โกลด์โดยเฉพาะ และจากความสำเร็จในการพัฒนาการให้บริการผ่านทางรูปแบบดิจิทัล  “ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์” จึงได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนรูปแ บบการบริหารจัดการไปจากซิตี้แบงก์สาขาทั่วไป ที่จากเดิมให้บริการฝาก ถอน และแนะนำการลงทุนผ่านเคาน์เตอร์ มาเป็นการเน้นให้บริการในรูปแบบ นวัตกรรมดิจิทัลมากขึ้น โดยจะเป็นธนาคารสาขาไร้เงินสดที่อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมและให้คำปรึกษาการลงทุน การรับฝากหรือให้บริการถอนเงินสดลูกค้าสามารถทำได้โดยใช้บริการ ฝากและถอนเงินได้จากเครื่องอัตโนมัติทั้ง ATM และ CDM ที่ตั้งอยู่ภายในสาขา

     ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมบริการดิจิทัลเพื่อการลงทุน อาทิ ระบบโทเทิล เวลท์ แอดไวเซอร์   เครื่องมือวางแผนทางการเงินตามเป้าหมาย ที่ให้ลูกค้าสามารถตั้งเป้าหมาย ทางการลงทุนให้ตรงกับความต้องการสูงสุด และช่วยจัด และวิเคราะห์พอร์ตการลงทุนที่เหมาะสม  รวมถึงมี ระบบซิตี้ ฟันด์ เอ็กซ์พลอเรอร์ ระบบประเมินผลการดำเนินงาน และราคาย้อนหลังของกองทุนแต่ละตัว   ซึ่งจะให้มุมมองด้านการลงทุนข องลูกค้าแบบองค์รวม รวมไปถึงการให้บริการธุรกรรมผ่านทางวิดี โอคอล ภายใต้แอพพลิเคชั่นของซิตี้ แบงก์ ซึ่งแพลตฟอร์มใหม่นี้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมที่มีความปลอดภัยได้ แบบเรียลไทม์พร้อมกับตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อีกด้วย

     ที่ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์นี้ จะพลิกโฉมพนักงานประจำเคาน์เตอร์ในธนาคาร ให้เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำใน การจัดพอร์ตการลงทุนของลูกค้า ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นแบบการปรับตัวครั้งใหญ่ของธนาคารในประเทศไทยจากแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการในสาขาลดลง   โดยปัจจุบันการคัดเลือกที่ปรึกษาด้านการลงทุนของธนาคารซิตี้แบงก์ จะต้องผ่านมาตรฐานการมีความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง โดยธนาคารซิตี้แบงก์ร่วมมือกับสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับโลก จัดตั้ง Citi Wharton Global Wealth Institute เพื่อพัฒนาที่ปรึกษาด้านการลงทุนของธนาคารฯ ทั้งนี้ ซิตี้ยังมีบทวิเคราะห์ ทางเศรษฐกิจและข้อมูลเชิงลึกในการลงทุนทั่วโลกเพื่อให้ คำแนะนำด้านการลงทุนแก่ลูกค้าอย่างดีที่สุด

     ดอนคาดว่า   “ซิตี้โกลด์ เวลท์ เซ็นเตอร์” จะสามารถ อำนวยสะดวกสบายให้กับกลุ่ มลูกค้าซิตี้โกลด์มากยิ่งขึ้น   ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของนักลงทุนและผู้ใช้บริการย่านกรุงเทพฝั่งตะวันออกและละแวกใกล้เคียง

ดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ และวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย

     วีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ในปี 2560 ซิตี้แบงก์มีการปรับปรุงธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) รวมถึงเปิดตัวแคมเปญ Citigold Wealth on Your Terms ซึ่งจะเหมาะกับการลงทุนของแต่ละบุคคล โดยมี Total Wealth Advisor  ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริการวางแผนการลงทุนตลอดจนติดตามผลการลงทุนให้กับผู้ลงทุน  

     นอกจากนี้ เพื่อตอกย้ำถึงประสบการณ์ของลูกค้าที่จะมีได้รับจากบริการของซิตี้โกลด์  จึงมีการเปิดตัวแคมเปญการสื่อสารใหม่ ภายใต้แนวคิด  “Wealth on Your Terms” ได้แก่   Travelling the World, Securing A Bright Future   และ   Pursuing Your Passion เป็นแคมเปญที่ทางซิติ้แบงก์ ทั่วเอเชียแปซิฟิกนำเสนอเพื่อตอบสนองความต้องการให้แก่กลุ่มลูกค้า High Net Worth investor (HNW)  โดยแคมเปญนี้จะสะท้อนถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์การลงทุน การบริการตลอดจนเครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถวางแผน เป้าหมายการลงทุนตามความต้องการ ที่หลากหลายของแต่ละบุคคล พร้อมทั้งการนำเสนอสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ทั้งด้านการเดินทางและไลฟ์สไตล์ ให้แก่ลูกค้าอีกด้วย เช่น การได้รับสิทธิเป็นสมาชิก Marriott Club Member หรือการรับบริการรถลิมูซีนในการเดินทางเส้นทางยุโรป เป็นต้น  

    ปัจจุบัน ซิตี้แบงก์  มีบริการภายใต้กลุ่มงานการบริหารความมั่งคั่งหรือ Wealth Management ให้แก่ลูกค้านักลงทุน 2 กลุ่ม ได้แก่  ซิตี้ไพรออริตี้ เป็นลูกค้าที่มีสินทรัพย์กับธนาคารตั้งแต่ 1 ล้านบาท ถึง 5 ล้านบาท และ ซิตี้โกลด์ เป็นลูกค้า High Net Worth ที่มีสินทรัพย์กับธนาคารตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้จากแนวการขยายฐานลูกค้าดังกล่าว ซิตี้แบงก์ตั้งเป้าหมาย จะสามารถเพิ่มจำนวนฐานลูกค้าในกลุ่มซิตี้โกลด์มากขึ้นกว่า 40% ในปี พ.ศ. 2560  อีกทั้งยังตั้งเป้าเติบโต เป็น 2 เท่า  ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งจากแผนการรุกตลาดในกลุ่มนัก ลงทุนระดับสูงคาดว่าจะทำเงินลงทุนสุทธิ และสินทรัพย์ภาพใต้การจัดการ (AUM) เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวในปี พ.ศ. 2563   

 

    ธนาคารไทยพาณิชน์ ประกาศเดินหน้าภารกิจ SCB Transfomation เพื่อก้าวสู่การเป็น The Most Admired Bank  โดยจะรุกสู่การเป็นธนาคารดิจิทัลที่เข้าถึงความต้องการของลูกค้า แผนงานของธนาคารในปีนี้นอกจากการเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ แล้วยังรวมถึงการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับแพลตฟอร์มดิจิทัล และการนำเทคโนโลยี Business Intelligence ที่ช่วยให้ธนาคารตัดสินใจด้านการลงทุนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยอาศัยข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกธนาคาร และเทคโนโลยี Big Data Analysis ที่ช่วยให้ธนาคารวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในเชิงลึกได้มากขึ้น

    ผ่านไป9 เดือน เราได้เห็นการขยับของ SCB ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยมีดิจิทัล เวนเจอร์สเป็นแกนหลักในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในวงการธนาคาร ตัวอย่างที่เพิ่งผ่านมาไม่นานคือการพัฒนาแอพพลิเคชันจัตจักรไกด์ ที่ช่วยให้ร้านค้าและลูกค้าสามารถทำธุรกรรมกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รวมถึงช่วยบริการด้านข้อมูลให้กับผู้ที่ใช้งาน

    ล่าสุด SCB ก็ออกมาประกาศจัดตั้ง เอสซีบี อบาคัส เป็นบริษัทในเครือที่ที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาธุรกิจและบริการเป็นบริษัทแรกในกลุ่มธุรกิจทางการเงินและการธนาคารของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

     อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวในการเปิดตัวบริษัทลูกครั้งนี้ว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อ 2 ปีก่อน SCB จึงจัดตั้ง ดิจิทัล เวนเจอร์ส ขึ้นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก SCB เป็นองค์กรใหญ่ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำได้ยาก จึงต้องมีดิจิทัลเวนเจอร์สที่มีความเป็นอิสระ เพื่อทดลองเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งปัจจุบันกมีบางการทดลองได้เริ่มลงสู่ตลาดบ้างแล้ว

    เอสซีบี อบาคัส ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับดิจิทัล เวนเจอร์ส ที่จะมาช่วย SCB ในการขับเคลื่อนธนาคารด้วยเทคโนโลยี ด้วยการนำเอาข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดความเข้าใจความต้องการของลูกค้าแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งหากจะรอระบบวิเคราะห์ข้อมูลของธนาคารอาจจะไม่ทันกาล การจัดตั้ง เอสซีบี อบาคัส ขึ้นก็เพื่อจะนำเอาเทคโนโลยี AI มาใช้กับฐานข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อรู้จักผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เป็นไปตามแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ

     อาทิตย์ระบุว่าอยากให้ เอสซีบี อบาคัส สามารถผลิตผลงานได้เช่นเดียวกับ ดิจิทัล เวนเจอร์ส ที่ก่อตั้งมาก่อน รวมถึงให้ทั้งสองบริษัทประสานงานกันเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมา

     ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด ให้ข้อมูลต่อว่า เทคโนโลยี AI อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เห็นได้จากระบบการคัดแยกอีเมลที่ใช้ Machine Learning ระบบแนะนำสินค้าที่ตรงใจให้แก่ผู้ซื้อแต่ละคนในเว็บไซต์อีคอมเมอร์ซ หรือระบบการจดจำใบหน้าบุคคลที่ใช้บนโซเชียลมีเดีย เป็นผลผลิตจากเทคโนโลยี AI  ทั้งสิ้น

     ในแวดวงธนาคาร เทคโนโลยี  AI ถูกนำมาใช้แยกธุรกรรมบัตรเครดิตที่น่าสงสัยว่าจะมีการทุจริต ใช้สำหรับการแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุน ที่เรียกว่า Robo-advisor และการชำระเงินด้วยระบบการจดจำใบหน้า AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันของธุรกิจต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งเอสซีบี อบาคัส ด้วยพันธกิจหลักในการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำเอานวัตกรรมอย่าง AI มาเป็นกุญแจสำคัญในการวิเคราะห์และเรียนรู้ข้อมูล เพื่อต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการที่ตอบโจทย์ทั้งสำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ

อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ดร. สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด ณัฏฐกานต์ ครรภาฉาย ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสายนิติบริการและกฎหมายดิจิทัล (ซ้ายสุด) และ อรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Digital Ventures (ขวาสุด) ร่วมเปิดตัวบริษัท เอสซีบี อบาคัส

 

     ดร.สุทธาภาระบุว่าจุดแข็งของ เอสซีบี อบาคัส ที่เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ประกอบด้วย

  • ทรัพยากรบุคคล – มีทีมบุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก มาร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นและใช้งานได้จริง
  • การสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิชย์ – ให้ความไว้วางใจในการเลือกโครงการภายในธนาคาร ที่มีผลกระทบเชิงบวกสูงต่อการปรับปรุงพัฒนาบริการของธนาคาร ทำให้สามารถนำมาศึกษา พัฒนา และต่อยอดเป็นโซลูชั่นต่าง ๆ ได้
  • มีพันธมิตรระดับโลก – มีข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT ในสหรัฐฯ เพื่อนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ทั้งยังมีการจัดตั้งคณะที่ปรึกษา ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคธุรกิจ ได้แก่ ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร คุณวิลาสินี พุทธิการันต์ และ ศาสตราจารย์ ดร. เบ็นจามิน แวนรอย มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพื่อร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ

    ปัจจุบันเอสซีบี อบาคัส มีโครงการที่อยู่ในมือที่พอจะประกาศให้ทราบได้ เช่น ในแอปพลิเคชัน SCB Easy บริษัทจะเข้าไปช่วยพัฒนาระบบการแนะนำการใช้บริการธนาคารหรือที่เรียกว่า Recommendation Engine ซึ่งทำให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าต้องการได้รวดเร็ว ตรงใจต่อลูกค้ามากยิ่งขึ้น รวมไปถึง ระบบบริการด้านสุขภาพที่จะนำเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT  เข้ามาช่วยส่งเสริมไลฟ์สไตล์ด้านสุขภาพ โดยใช้ AI ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันที่เหมาะสมเฉพาะแต่ละบุคคล เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าใส่ใจดูแลสุขภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่ เอสซีบี อบาคัส จะเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบ Call Center ด้วยการนำ AI มาคาดการณ์ปัญหาของลูกค้าที่โทรเข้ามา เพื่อโอนสายไปยังผู้เชี่ยวชาญที่ตอบปัญหาได้ตรงจุด ช่วยยกระดับคุณภาพบริการและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า 

    การเปิด เอสซีบี อบาคัส ทำให้เห็นภาพความพยายามของ SCB ในการรุกตลาดฟินเทคเช่นเดียวกันกับเมื่อครั้งนำเอาเทคโนโลยี ATM เข้ามาเปิดให้บริการเป็นรายแรกของประเทศไทยเมื่อพ.ศ. 2526  

            อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า จากผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ประกอบไปด้วย ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (บล.ภัทร) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด (บลจ.ภัทร) ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา สามารถดำเนินงานได้ตามแผนธุรกิจที่วางไว้

           ธุรกิจสินเชื่อ Credit House) ที่สินเชื่อรวมของธนาคารขยายตัวได้ดี (ครึ่งปีแรกโต 4.1% จากเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้ 5%) เป็นผลจากการเติบโตของสินเชื่อบรรษัทที่เกิดจากการผสานความร่วมมือของสายสินเชื่อบรรษัทกับสายงานวานิชธนกิจของ บล.ภัทร ตลอดจนการทำงานอย่างเข้มข้นของเครือข่ายสาขาและสายงานช่องทางการตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า เพื่อรุกตลาดสินเชื่อรายย่อย ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ KK SME รถคูณ 3

           ทางด้านธุรกิจตลาดทุน โดยเฉพาะในส่วนของ Private Bank ภายใต้ธุรกิจไพรเวทเวลธ์สำหรับผู้ลงทุนไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การให้คำแนะนำ (Asset under Advice: AuA) อยู่ที่ 403,000 ล้านบาท (ไม่รวมเงินฝาก) โดยมียอดเงินลงทุนใหม่กว่า 22,000 ล้านบาท และล่าสุด บล.ภัทร ได้เปิดบริการใหม่ คือ Global Investment Service (GIS) ซึ่งเป็นการให้บริการลงทุนต่างประเทศสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ไร้ข้อจำกัดด้านพรมแดน

           โดยแผนครึ่งปีหลัง 2560 ของ KKP อภินันท์แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ประกอบด้วย

           ด้านสินเชื่อ จะพยายามกระจายสินเชื่อเพิ่มขึ้น ทั้งสินเชื่อองค์กร สินเชื่อเช่าซื้อ โดยจะมีช่องทางที่หลากหลายในการให้บริการ เช่นเทเลเซลล์ ออนไลน์ ไดเร็กมาร์เก็ต โดยในช่องทางออนไลน์ยังรอเรื่องกฎหมายเพื่อทำให้ครอบคลุมครบวงจรต่อไป

           ด้าน Private Banking บริหารการเงินให้กับลูกค้า เป็นรายได้ที่สม่ำเสมอ ซึ่งยังมีช่องทางเติบโตได้อีก จากอัตราดอกเบี้ยที่ยังต่ำ ลูกค้าเงินฝากในประเทศมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดย KKP จะพยายามทำบริการให้ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับสากล พัฒนาผลิตภัฑณ์ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น

           ด้าน Wholesale Investment Banking  ในส่วนของวานิชะนกิจจะสามารถเริ่มให้บริการอย่างครบวงจร สามารถรองรับการทำธุรกรรมสำคัญๆ ได้ครบทุกมิติมากขึ้น โดยจะต้องต่อยอดด้วยการเพิ่มการรับรู้ของลูกค้า ในส่วนธุรกิจนายหน้า มองไปที่กลุ่มลูกค้าสถาบันซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่สามารถสร้างรายได้ได้ดี โดยจะต้องรักษามาตรฐานของงานวิจัย และผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

           อภินันท์สรุปว่า แผนงานครึ่งปีหลังของKKP เป็นการทำงานต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก แต่มีการปรับเปลี่ยนตามความเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการทำระบบและกระบวนการให้ทันสมัย โดย KKP อยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบคอร์แบงก์กิ้งซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561

Page 6 of 7
X

Right Click

No right click