×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10974

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย คุณสมบูรณ์ พัฒนรัตน์เจริญ ประธานกรรมการ และคุณจิตรา วุฒิศิริศาสตร์ กรรมการผู้จัดการ บ.อะมิตี้ อินชัวร์รันซ์ โบรคเกอร์ มอบรางวัลรถยนต์ Toyota Yaris ATIV มูลค่า 479,000 บาท ให้แก่ คุณเมษยา หมื่นแก้ว ผู้โชคดีที่ซื้อกรมธรรม์รถยนต์ TIP Lady จาก แคมเปญ "TIP Lady แจกโชคลุ้นรถ" จัดโดย บ.อะมิตี้ อินชัวรันส์โบรกเกอร์ นอกจากนี้ ทิพยประกันภัยยังได้เพิ่มบริการเสริมพิเศษสำหรับลูกค้า TIP Lady โดยจัดทีมให้คำปรึกษาด้านกฏหมายในทุกเรื่องแก่ลูกค้าที่ทำประกันภัยรถยนต์ TIP Lady ให้คุณสุภาพสตรีได้อุ่นใจเมื่อต้องการที่ปรึกษาทางกฎหมาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริการเสริมพิเศษ โดยสามารถติดต่อขอคำปรึกษา ได้ที่สายด่วน 1736 กด 8 สำหรับลูกค้าเดิมก็สามารถใช้บริการเสริมนี้ได้เช่นกัน

บราเดอร์ ดัน ‘ธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ’ รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เสริมแกร่งทีมบริหาร วางกลยุทธ์ นำองค์กรสร้างการเติบโตท้าทายกระแสเศรษฐกิจด้วยคอนเซปต์ ‘Towards the next level’  พร้อมรับมือ ‘การเปลี่ยนแปลง’ จากปัจจุบันสู่อนาคตด้วยกลยุทธ์ 3C’s โดยในปีงบประมาณ 2561 (เม.ย. 61 – มี.ค. 62) บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มเป็น 7% ซึ่งสูงกว่า                  ที่คาดการณ์ไว้แต่เดิมที่ 5%

         

บราเดอร์ กับ 5 ปีของการ ‘เปลี่ยน’ เพื่อสร้างการเติบโตแบบสวนกระแส

นายโทโมยูกิ ฟูจิโมโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด ได้อธิบายถึงหลักคิดเกี่ยวกับ ‘การเปลี่ยน’ เพื่อสร้างการเติบโต เราต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจ ก่อนที่คนอื่นจะมาเปลี่ยนเราและลดทอนบทบาททางธุรกิจลง โดยนายโทโมยูกิ ฟูจิโมโตะ อธิบายถึง ‘การเปลี่ยน’ ในครั้งนี้ว่า “บราเดอร์พยายามปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มธุรกิจ บริษัทฯ มุ่งหวังให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในระดับสูงทั้งในส่วนของนวัตกรรมและคุณภาพผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญอีกประการคือคุณภาพงานบริการหลังการขาย ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจของบราเดอร์ที่ผ่านมา” ผลของการวางกลยุทธ์ที่มองไปข้างหน้าอย่างตีโจทย์แตกของ บราเดอร์ ทำให้ที่ผ่านมา บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) มีการเติบโตเฉลี่ยขึ้นทุกปี โดยนายโทโมยูกิ ฟูจิโมโตะ มองว่าปัจจัยความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นจากการนำปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่ว่า ‘At Your Side’ มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจ โดยให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางหลักของแต่ละแนวคิด และขยายแนวคิดดังกล่าวไปยังพันธมิตรทางธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ

 

บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) ไม่เคยหยุด ‘ทรานส์ฟอร์ม’

ตลอดกว่า 10 ปีที่ได้ร่วมงานกับบราเดอร์ นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ผลักดันให้บราเดอร์ก้าวสู่การเป็นแบรนด์ผู้นำในตลาด โดยได้นำประสบการณ์ที่ถูกสั่งสม มาพัฒนาทีมงานและวิธีการทำงานให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้นำกลยุทธ์การตลาดต่างๆ มาขับเคลื่อนบราเดอร์จากแบรนด์เล็กสู่หนึ่งในผู้นำแบรนด์เครื่องพิมพ์ที่คุ้นเคยและยอมรับของคนไทย ผมเชื่อว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ‘ศักยภาพของทีมเวิร์ค’ คือหัวใจหลัก การกำหนดบทบาทที่ชัดเจนให้แต่ละฝ่าย การเปิดโอกาสให้เกิดการคิดนอกกรอบ ล้วนทำให้เราได้แนวทางการทำงานใหม่ๆ กล้าลองเพื่อได้สิ่งที่ต่าง และความต่างนี้เองที่ทำให้แบรนด์บราเดอร์โดดเด่นออกมาในมุมมองของกลุ่มเป้าหมาย และปัจจัยสุดท้ายคือพลังความร่วมมือจากพาร์ทเนอร์ที่ยิ่งทำให้การเติบโตของเราขยายตัวอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ผมมองว่าที่ผ่านมาเราไม่เคยหยุด‘ทรานส์ฟอร์ม’  เกมการตลาด และไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนเร็ว ทำให้เราต้องเตรียมรับมือให้เร็วยิ่งกว่าในแต่ละก้าวเสมอ”

 

2019 จุดเริ่มสูตรและส่วนผสมการบริหารงานของ ‘ธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ’

“Transform for the Future ยังคงเป็นแนวทางในการบริหาร”

เพิ่มการวางรากฐานธุรกิจที่แข็งแกร่งด้วยคอนเซปต์ ‘Towards the next level’

นายธีรวุธ กรรมการผู้จัดการคนล่าสุดของบราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) กล่าวถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจในปี 2019 - 2021 ว่า การเจริญเติบโตของบราเดอร์ในช่วงที่ผ่านมาคือบทพิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิผลของพลังแห่งการ ‘ทรานส์ฟอร์ม ที่เราสร้างมาอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายที่จะทรานส์ฟอร์มใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่ Business Transform, Operational Transform และ Talent Transform สำหรับปีนี้ นโยบายหลักของเราก็ยังคงมุ่งเน้นที่จะ “ทรานส์ฟอร์ม” อย่างต่อเนื่อง แต่จะเพิ่มรายละเอียดในแต่ละส่วน เพื่อตอกย้ำให้เห็นภาพชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยใช้กลยุทธ์ 3C’s เข้ามาเสริม และตลอด 3 ปีนับจากนี้ บราเดอร์ จะวางรากฐานที่มั่นคงในทุกมิติภายใต้คอนเซปต์ Towards to next level”

 

เจาะลึกกลยุทธ์ 3C’s ทางลัดสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

Customer หรือลูกค้า คือ C ตัวแรกที่ถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ สำหรับบราเดอร์ลูกค้าต้องมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอตามปรัชญาการดำเนินธุรกิจ ‘At Your Side’ ความซื่อสัตย์และจริงใจคือหลักปฏิบัติตลอดระยะเวลา 21 ปีที่ผ่านมาของการดำเนินธุรกิจในไทย ด้วยการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพและความหลากหลาย ศักยภาพในการตอบโจทย์ทุก Life Style ในราคาที่สมเหตุสมผล  การบริการหลังการขายด้วยศูนย์บริการคุณภาพ ที่พร้อมให้บริการกว่าร้อยสาขาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศเพื่อสนองตอบความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า (Customer Satisfaction) ต่างคือรูปธรรมแห่งนิยามของ Customer หรือลูกค้านั่นเอง

 

Channel Partner หรือพันธมิตรด้านช่องทางการขาย ปัจจุบันบราเดอร์ทำธุรกิจโดยการขายสินค้าผ่าน Business Partner 100% ดังนั้นในปีนี้ บราเดอร์ จะเน้นการทำงานใกล้ชิดกับตัวแทนจำหน่ายมากขึ้น และจากภาพรวมตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ Partner บางรายประสบปัญหาในการปรับตัว บราเดอร์จึงมุ่งเน้นในเรื่องของการเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขายในกลุ่มธุรกิจองค์กร, การขายแบบ Contractual Business หรือการทำ Online Business ที่กำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างมากนับจากนี้ ดังนั้น การผนึกพลังและเสริมศักยภาพช่องทางขาย จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางเพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างมั่นคง

 

Company หรือองค์กร คือจุดยุทธศาสตร์หลักที่ใช้ขับเคลื่อนกลยุทธ์สานต่อการเป็นผู้นำธุรกิจ บริษัทฯ ต้องปรับปรุงเและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยแยกออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ Process Improvement น้อยแต่มากขั้นตอนในการทำงานทั้งภายในและภายนอก โดยจะปรับปรุงและพัฒนาให้มีกระบวนการทำงานที่สั้นลง, มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความแม่นยำและถูกต้อง โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อความสะดวกสบายสำหรับลูกค้าและคู่ค้า People Development คนคือจุดยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา          บราเดอร์ให้ความสำคัญอย่างมากกับบุคลากรภายในองค์กร โดยมุ่งเน้นที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ทั้งทางด้านความสามารถและจิตใจ พร้อมที่จะสนับสนุนให้คลื่นลูกใหม่ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ เพื่อต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจในฐานะผู้นำ

 

ทั้งนี้ นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ ได้ร่วมงานกับ บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) มานานกว่า 10 ปี โดยปลายปี พ.ศ.2551 เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด โดยได้สร้างผลงานเพื่อผลักดันการเติบโตให้แก่องค์กรด้วยการนำประสบการณ์การบริหารงานธุรกิจ IT ที่สั่งสมมา ประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผล ด้วยการนำแบรนด์บราเดอร์ครองตำแหน่งผู้นำตลาดเครื่องพิมพ์เมืองไทยได้สำเร็จ และจากความสำเร็จดังกล่าวในปี พ.ศ. 2557 บราเดอร์จึงได้โปรโมทให้รับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด เพื่อวางกลยุทธ์ในภาพรวมอันถือเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้แก่องค์กร ท่ามกลางกระแสที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องเศรษฐกิจแต่บราเดอร์ กลับโชว์ผลงานครั้งสำคัญด้วยอัตราการเติบโตที่สูงกว่าตลาดรวมมาโดยตลอด ส่งผลให้บราเดอร์แต่งตั้งนายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญเป็นกรรมการผู้จัดการคนล่าสุด โดยจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน 2562

 

แชมป์ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าในไทย บทพิสูจน์คุณภาพงานบริการของบราเดอร์

เตรียมต่อยอดบริการด้วยความล้ำหน้าด้าน IT รับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุค 4.0

การนำระบบและเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามาใช้เพิ่มศักยภาพด้านงานบริการ เป็นอีกหนึ่งนโยบายหลักของบราเดอร์ ที่ใช้รองรับการเติบโตทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี เพื่อครองความเป็นผู้นำด้านงานบริการอย่างต่อเนื่อง “บราเดอร์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอย่างมาก เพราะเชื่อว่าการส่งมอบบริการที่ดีเยี่ยม ต้องมาจากพื้นฐานจิตใจและความคิดของผู้ให้บริการที่ได้รับการพัฒนาอย่างดียิ่ง  บราเดอร์จึงได้ลงทุนออกแบบและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด “The Power of Thinking” ซึ่งเป็นชุดของหลักสูตรอันประกอบด้วย Think Plus+ Program, Think BIG Program และ Think Smart Program” นายวรศักดิ์ ประดิษฐ์กุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมแนวทางการพัฒนางานบริการ “ในปี 2562 บราเดอร์จะนำระบบ ‘Chatbot’ เข้ามาใช้ จะทำให้บราเดอร์ขยายขีดความสามารถในการพัฒนางานบริการได้ดีขึ้น โดยงานบริการพื้นฐานจะเป็นส่วนที่ Chatbot เข้ามาช่วย ในขณะที่ทีมบริการจะเข้ามาในขั้นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น บริษัทฯ สามารถนำกำลังคนไปพัฒนาด้าน Training Chatbot รวมทั้งคิดกลยุทธ์งานบริการอื่นๆ ได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ทีมมีความเข้มแข็งในแบบ น้อยด้วยปริมาณแต่มากด้วยคุณภาพ ถือเป็นหัวใจหลักของการบริหารงานให้สอดรับกับโลกอนาคต”

  

สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วยการผสานงานบริการกับแนวคิดการคืนกลับสู่สังคม

การอุทิศองค์ความรู้ด้านงานบริการเพื่อคืนกลับสู่สังคมนั้น ในปีงบประมาณ 2562 บราเดอร์ ได้ร่วมลงนามความร่วมมือ (MoU) กับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดสุโขทัยและสถาบันการอาชีวศึกษา 6 แห่งประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย วิทยาลัยการอาชีพศรีสำโรง วิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย และวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย จัดกิจกรรม The Academic Cooperation Program’ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือทางวิชาการในการฝึกอบรมทางเทคนิคในการซ่อมเครื่องพิมพ์เพื่อถ่ายทอดความรู้ เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ในสายงานอาชีพ รวมทั้งการนำความรู้ไปใช้เพื่อบริการสังคมในพื้นที่ นอกจากนี้ บราเดอร์ยังได้ขยายโครงการไปในภาคใต้ที่ จ.สุราษฎร์ธานี อีก 2 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีและวิทยาลัยเทคนิคกาญจนดิษฐ์ พร้อมทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ จ.สุรินทร์ อีก 3 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์, วิทยาลัยการอาชีพสังขะ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จากความสำเร็จของโครงการทำให้ บราเดอร์ ประเทศไทย สามารถคว้ารางวัล Brother Global Charter Award ในสาขา Social Contribution จากโครงการดังกล่าวได้สำเร็จ

 

เพราะบราเดอร์เชื่อว่า...การมีสังคมที่มีสุขภาพดีย่อมเป็นที่มาพื้นฐานของการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืน

Brother Run & Share วิ่งฝันปันน้ำใจ เพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ในปี 2562 ถูกจัดขึ้นเป็นปีที่ 5 เป็นกิจกรรมเพื่อ คืนกำไรของบริษัทฯ กลับสู่สังคมที่บราเดอร์ตั้งใจจัดขึ้นเพื่อนำรายได้จากการจัดงานทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ มอบให้แก่มูลนิธิรามาธิบดี กองทุนมะเร็งโลหิตวิทยาผู้ใหญ่ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยากไร้ที่ไม่สามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้ โดยในปีนี้สามารถระดมยอดเงินบริจาคได้สูงถึง 1,564,190 บาท “บราเดอร์จะยังคงมุ่งมั่นและสานต่อการจัดกิจกรรมวิ่งเพื่อการกุศลดังกล่าว นอกจากนี้  ยังส่งเสริมเรื่องการพัฒนาศักยภาพของคนรุ่นใหม่ด้วยการส่งเสริมด้านการศึกษาและสร้างประสบการณ์จริงเพื่อเติมเต็มความพร้อมก่อนก้าวสู่โลกของการทำงาน” นายพรภัค อุไพศิลป์สถาพร ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงินและการบริหาร บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว การสนับสนุนพนักงานจากกิจกรรมสันทนาการในกลุ่มเล็กๆ สู่การผนึกพลังที่ยิ่งใหญ่ขึ้น เพื่อคืนกลับสู่สังคม คือการเปิดโอกาสให้พนักงานได้เป็นผู้ริเริ่มคิดและทำโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร คือหนึ่งกลยุทธ์ที่บราเดอร์นำมาใช้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของความเป็น ‘ทีมเวิร์ค’  “ที่บราเดอร์ เราคิดเสมอว่าเราคือบ้านหลังใหญ่หลังหนึ่งที่มีสมาชิกในครอบครัวที่มีความหลากหลาย และเราไม่เคยปิดกั้นความหลากหลายนั้นๆ แต่นำความหลากหลายที่มีมาทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นและเปิดอิสรภาพเพื่อให้แต่ละคนทำในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบและมีความถนัด และนำสิ่งที่ได้มาเป็นพลังบวกเพื่อนำไปสร้างประโยชน์แก่สังคมต่อไป เรามีการตั้ง Staff Welfare Committee ขึ้น เพื่อพัฒนาโปรเจคที่หลากหลายที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ (Health Project) ที่ขยายจากภายในองค์กรสู่การเป็นกิจกรรมระหว่างองค์กร ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ”

 

เกี่ยวกับ บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย)

เป็นเวลากว่าศตวรรษ ที่บราเดอร์เป็นที่รู้จักในฐานะของแบรนด์ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ รวมถึงความพึงพอใจของลูกค้าตลอดมา จากจุดเริ่มต้นที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1908 วันนี้เรามีโรงงานการผลิตถึง 19 แห่ง และบริษัทสาขาสำนักงานตัวแทนการขาย 43 แห่ง ใน 41 ประเทศทั่วทุกภูมิภาค บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ฉลาก สแกนเนอร์, เครื่องพิมพ์ผ้าระบบดิจิทัลและจักรเย็บผ้า สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ปรัชญาการดำเนินธุรกิจ "At your side" บราเดอร์อยู่เคียงข้างคุณและจะเป็นองค์กรที่เป็นที่ยอมรับจากพันธมิตรต่างๆ อย่างยั่งยืน

 

ทั้งนี้ สามารถติดตามข่าวสารต่างๆ ของบราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) ได้ที่ www.brother.co.th และ www.facebook.com/BrotherCommercialThailand

ซีพี ออลล์ จับมือ 10 องค์กรชั้นนำระดับประเทศ ร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย จัดงาน “Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย” พร้อมประกาศผลและมอบรางวัล สุดยอดนวัตกรรม “เซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2019” (7 Innovation Awards 2019) มอบรางวัลแก่เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพที่มีการพัฒนาผลงานนวัตกรรม โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นประธานมอบรางวัล

นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า การจัดประกวดรางวัล “สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards 2019” เป็นโครงการที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ภายใต้ความร่วมมือกับ 10 องค์กรระดับประเทศ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย(Thai-BISPA), หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดย ได้คัดเลือกสินค้าและบริการของผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีไทย ที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือรูปแบบสินค้า บริการ การดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ที่จะช่วยให้เกิดมูลค่าและคุณค่ามากขึ้น รวมถึงเป็นการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตามปณิธานของบริษัท “ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน”

นายก่อศักดิ์  กล่าวต่อว่า  ซีพี ออลล์ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีไทย โดยสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์  การสร้างสรรค์สินค้าที่มีความแปลกใหม่ออกสู่ตลาด เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าและประโยชน์ต่างๆในทางเศรษฐกิจ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ต่อยอดธุรกิจ ผ่านช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ อันหลากหลาย ได้แก่ ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เว็บไซต์ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง รวมไปถึงช่องทางใหม่ๆในเครือข่ายความร่วมมือ เช่น ร้านริมปิง  ซูเปอร์มาร์เก็ต  ร้านกาแฟมวลชน  Makroclick.com ในกลุ่มธุรกิจของแม็คโคร  Weloveshopping.com ในกลุ่มธุรกิจของทรู และร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาต่อยอดไปสู่ผลงานนวัตกรรมที่สูงขึ้นในระดับประเทศต่อไป เพื่อกระจายรายได้ให้เป็นไปอย่างทั่วถึง

โดยเมื่อเร็วๆนี้ ได้มอบรางวัล “สุดยอดนวัตกรรมเซเว่น อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2019” ในงาน “Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย” ซึ่งมีผู้ประกอบการส่งผลงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 120 ผลงาน และมีผลงานที่โดดเด่นผ่านการตัดสินให้ได้รับรางวัลทั้งสิ้น จำนวน 40 ผลงาน แบ่งเป็นผลงานนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 21 ผลงาน และผลงานนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านสังคม จำนวน 19 ผลงาน และในงานนี้ยังมีการเสวนาพิเศษหัวข้อ “เทคนิคการนำเสนอโครงการนวัตกรรมให้ได้รางวัล (Innovation Pitching)” ซึ่งผลงานที่ชนะเลิศ ด้านก่อให้เกิดประโยชน์ทางสังคม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกสายพันธุ์ใหม่ป้องกันฟันผุ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 1 to 5 Brain Exercise จาก บริษัท ไรทว์วิว วิสาหกิจสังคม จำกัด ในส่วนของผลงานที่ชนะเลิศ ด้านก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ขนมบราวนี่กรอบอร่อยปราศจากกลูเตนสู่ตลาดอาหารอนาคต (Future Food) จาก บริษัท สมายล์ มีล จำกัด งานในนครั้งนี้จักขึ้น ณ ภิรัช ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์นวัตกรรม

โครงการอบรม “Epson Moverio Experience ” สร้างมุมมองใหม่ด้วยเทคโนโลยีแว่นตาอัจฉริยะเอปสัน ร่วมการถ่ายภาพมุมสูงจากอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) สมาคมส่งเสริมและพัฒนาการถ่ายภาพร่วมกับเครือข่ายนิเทศศาสตร์ EPSON และ DJI 13 STORE กิจกรรมดีๆสำหรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย เครือข่ายนิเทศศาสตร์ พิเศษสุด!!! เปิดรับบุคคลทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพียง 20 ที่นั่ง !! ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด จองก่อนมีสิทธิ์ก่อน!!!

เสวนาเปิดวิสัยทัศน์ด้วยรายละเอียด นำมาซึ่งความแตกต่าง สร้างแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์ไอเดีย โดย ผศ.ภคมน ตั้งจิตติเลิศ สาขาศิลปะการถ่ายภาพภาควิชาออกแบบ วิทยาลับเพาะช่างอาจารย์ นท พูนไชยศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านสตูดิโอภาพยนตร์ สถาบันกันตนา และทีมงานEPSON และ DJI 13 STORE

กิจกรรมดีๆสำหรับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายนิเทศศาสตร์ วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2562 เวลา 8.30 – 16.00 น. ณ สถาบันกันตนา สตูดิโอ ศาลายา จ.นครปฐม พิเศษสุด!!! เปิดรับบุคคลทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพียง 20 ที่นั่ง!! ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด จองก่อนมีสิทธิ์ก่อน กิจกรรมดีๆสำหรับคนรักการถ่ายภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและจองอบรมได้ที่ Line ID : cherryiline

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศความร่วมมือในงานวิจัยระยะเวลาสองปีร่วมกับไอบีเอ็ม เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยในประเทศไทย โดยสวทช. และไอบีเอ็ม ร่วมด้วยกลุ่มมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกและรายใหญ่ที่สุดในเอเชียที่ให้การสนับสนุนความรู้เฉพาะทางในการวิจัยครั้งนี้ จะนำร่องพัฒนาแดชบอร์ดอัจฉริยะและแอพพลิเคชันบนมือถือ เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพของอ้อย ความชื้นของดิน ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากโรคและศัตรูพืช การคาดการณ์ผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย (ซีซีเอส) โดยอาศัยเทคโนโลยีเอไอชั้นนำของโลกและข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยำที่สุดในโลกจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี (The Weather Company) รวมถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์และอนาไลติกส์

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลและพลังงานชีวภาพในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีบทบาทสำคัญในการป้อนน้ำตาลสู่ตลาดโลกโดยมีส่วนแบ่งตลาด 9.4% ในปี 2560 [1] มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ำตาลได้ 14.1 ล้านเมตริกตันในช่วงปี 2561-2562 โดยเพิ่มขึ้น 3% จากปีที่ผ่านมา

ปัจจุบันนักวิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนา “อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์” (Agronomic Insights Assistant) ซึ่งใช้แพลตฟอร์มไอบีเอ็มวัตสันดีซิชันสำหรับการเกษตร (IBM Watson Decision Platform for Agriculture) ร่วมกับระบบไอบีเอ็มแพร์สจีโอสโคป (IBM PAIRS Geoscope) ซึ่งเป็นการผสานรวมข้อมูลความสัมพันธ์เชิงเวลาและพื้นที่ (เช่น ภาพถ่ายพืชผลจากกล้องหลายช่วงคลื่นที่เก็บภาพมาจากดาวเทียมหลายตัว ข้อมูลดิน ข้อมูลแบบจำลองความสูงของภูมิประเทศในรูปแบบดิจิทัล) ร่วมกับข้อมูลทางการเกษตร (เช่น สุขภาพของอ้อย ระดับความชื้นของดิน พยากรณ์ความเสี่ยงโรคและศัตรูพืช ปริมาณผลผลิต และดัชนีค่าคุณภาพความหวานของอ้อย) โดยใช้โมเดลการพยากรณ์ที่แม่นยำจากเดอะเวเธอร์คอมแพนี จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการสำรวจเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับการปรับและพัฒนาให้เหมาะกับการทำไร่อ้อยในประเทศไทยโดยสวทช. และความรู้เฉพาะทางด้านการเกษตรจากกลุ่มมิตรผล เพื่อกลั่นกรองเป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาวะการขาดน้ำและอาหารที่ส่งผลต่อการเติบโตของอ้อย ความเสี่ยงของโรคและศัตรูพืช ตลอดจนปริมาณผลผลิตทางการเกษตรและดัชนีคุณภาพของอ้อย

ทั้งนี้ จะมีการนำร่องใช้อโกรโนมิคอินไซต์แอสซิสแทนท์ในช่วงกลางปีนี้บนไร่อ้อยขนาดไม่เกินหนึ่งล้านตารางเมตรจำนวน 3 ไร่ โดยเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ คาดว่าจะทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะช่วยประเมินและจัดการความเสี่ยงต่างๆ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่พยากรณ์ล่วงหน้าได้สูงสุดสองสัปดาห์ ร่วมด้วยการแจ้งเตือนเกี่ยวกับโรคและศัตรูพืชอย่างหนอนเจาะลำต้นข้าวและความเสี่ยงที่จะเกิดโรคใบขาว และการพยากรณ์อากาศระยะสั้นตามฤดูกาลแบบเจาะจงพื้นที่ คาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้อย่างเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นการทดน้ำและระบายน้ำ การใส่ปุ๋ย และการกำจัดศัตรูพืช เพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่อาจนำไปสู่การสูญเสียผลผลิต

“ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับประเทศ สวทช.   มีความมุ่งมั่นที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับการวิจัยและการพัฒนาของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอาหารและการเกษตร ซึ่งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจหลายพันล้านบาทต่อปี และยังคงเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย” ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าว “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะช่วยให้มั่นใจได้ถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนและความสามารถในการแข่งขันระดับโลกของประเทศไทย และ สวทช. มีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับกลุ่มมิตรผลและผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม เพื่อร่วมกันสร้างเกษตรกรรมยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โดยเริ่มต้นที่การทำไร่อ้อยในประเทศไทย”

“กลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงนำมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลผลิตอ้อยทั้งในด้านของคุณภาพและปริมาณซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนของทุกภาคส่วนที่อยู่ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล” รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต Head of Innovation and Research Development Institute กลุ่มมิตรผล กล่าว “การร่วมมือกับสวทช. รวมถึงการนำเทคโนโลยีเอไอ การสำรวจระยะไกลผ่านดาวเทียม และระบบพยากรณ์อากาศขั้นสูงของไอบีเอ็มมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำไร่อ้อย จึงนับว่าเป็นอีกก้าวที่สำคัญในการทำเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) ซึ่งอยู่ภายใต้แผนการปรับเปลี่ยนให้เกษตรกรไทยก้าวสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ หรือ Modern Farming
ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังสร้างประโยชน์ให้กับภาคเกษตรกรรมของไทยอย่างยั่งยืน”

“ไอบีเอ็มภูมิใจที่ได้ร่วมทำวิจัยภายใต้เป้าหมายในการนำข้อมูลเชิงลึกเข้าเป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพการทำไร่อ้อยของไทย และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมหลักอย่างหนึ่งของประเทศ อันเป็นการสนับสนุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของไทย” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “การผนึกจุดแข็งของสวทช. และไอบีเอ็มในด้านการวิจัยและเทคโนโลยีขั้นสูงที่ใช้บิ๊กดาต้า อนาไลติกส์ เอไอ และอินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ เข้ากับความรู้เชิงลึกด้านการเกษตรของกลุ่มมิตรผล เป็นการพลิกโฉมแนวปฏิบัติของหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เก่าแก่ที่สุด และแสดงให้เห็นถึงก้าวย่างใหม่ของเกษตรกรรมอัจฉริยะในประเทศไทย”

“ปัจจัยต่างๆ อย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ประชากรที่เพิ่มขึ้น และความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหาร ล้วนเป็นตัวผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐต้องแสวงหาโมเดลการทำงานร่วมกันรูปแบบใหม่บนพื้นฐานของข้อมูลและนวัตกรรมใหม่ๆ” แคทรีน กวารินี รองประธานฝ่ายวิจัยอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยไอบีเอ็ม กล่าว “สถาบันวิจัยไอบีเอ็มหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในลักษณะเดียวกันนี้เพิ่มเติมในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก”

X

Right Click

No right click