บริษัทนีลเส็น (ประเทศไทย) เป็นบริษัทวิจัยและตรวจวัดข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ผู้โภคดู หรือซื้อ ได้มีการเก็บข้อมูลงบโฆษณารายเดือนและมีความประสงค์ที่จะแบ่งปันข้อมูลงบโฆษณาประจำเดือน ของเดือนกันยายน 2018

 

 


Copyright © 2017 The Nielsen Company (US), LLC. All rights reserved. Confidential and Proprietary.

 

หมายเหตุสำคัญ

สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่(transit):มีการรวมข้อมูลจาก  JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก  JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560

นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่นสื่อเคลื่อนที่(transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี2559  เป็นต้นมา

อินเตอร์เน็ท - ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่อ อินเตอร์เน็ทโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10  เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ททั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจากDAAT

สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้างTesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น

ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง, สื่อเคลื่อนที่, และสื่อในห้าง

 

 

ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย ความหลากหลายทางชีวภาพของไทยเป็นต้นทุนสำคัญของประเทศอีกประการที่นอกจากเราจะผลิตสินค้าอาหารประเภทต่างๆ เลี้ยงชาวโลกได้แล้ว เรายังสามารถมีส่วนแบ่งในเรื่องไบโอเทคโนโลยีได้อีกด้วย

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เนทบนสมาร์ทโฟนมากกว่า 45 ล้านคนและใช้เวลาโดยเฉลี่ยบนสมาร์ทโฟน 216 นาทีต่อวัน LINE ก็เป็นอีกช่องทางที่มีผู้ใช้มากกว่า 95% ของผู้ใช้อินเตอร์เนทบนมือถือและใช้เวลาบน LINE เฉลี่ยประมาณ 63 นาทีต่อวัน (ข้อมูลจาก Nielsen Q4, 2017) ทำให้ LINE กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มสนทนาหลักของผู้ใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งสติกเกอร์ก็ถือเป็นเอกลักษณ์ของ LINE ที่ผู้ใช้ชื่นชอบและใช้ในการสื่อสารแทนคำพูดหรือข้อความ

โดยสถิติของการใช้สปอร์นเซอร์สติกเกอร์ หรือสติกเกอร์แบรนด์ที่แจกฟรีนั้นเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 23% เมื่อเทียบไตรมาสแรกของปีนี้และปีที่ผ่านมา นอกจากสติกเกอร์จะทำให้การแชทของคุณสนุกและสื่อสารแทนคำพูดได้ชัดเจนขึ้น ยังช่วยโปรโมทแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นอีกด้วย จากผลสำรวจจาก TNS  ช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 ในเรื่องคาแรคเตอร์หรือมาสคอตของแบรนด์ต่างๆ โดยผลสำรวจ กล่าวว่าคาแรคเตอร์สามารถดึงดูดสนใจให้กับแบรนด์ถึง 83% และผลสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามผ่านทาง LINE กล่าวว่าสปอร์นเซอร์สติกเกอร์ หรือสติกเกอร์แบรนด์ที่แจกฟรีทำให้คนสังเกตุเห็นแบรนด์เพิ่มขึ้น 34% และรู้จักแบรนด์นั้นๆ มากขึ้น 33% โดย 78% ผู้ใช้เลือกที่จะดาวน์โหลดสติกเกอร์แบรนด์บางเซ็ต 56% เลือกเซ็ตที่มีคำพูดใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และ 47%  เลือกเซ็ตที่เป็นสติกเกอร์แอนิเมชั่น ซึ่งทาง LINE เลยจัดอันดับ 3 สติกเกอร์แบรนด์ที่มีผู้ใช้มากที่สุด สติกเกอร์แบรนด์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดแต่ละหมวดธุรกิจ และคำพูดที่ถูกใช้เยอะที่สุดครึ่งปีแรกของ 2561 ดังนี้

คำพูดและอิริยาบทที่ถูกส่งเยอะที่สุด

  1. OK
  2. Haha / 555
  3. ขอบคุณ / Thank you
  4. Love / รักนะ /
  5. Hi / สวัสดี / ดีจ้า

สติกเกอร์ที่มีผู้ใช้สูงที่สุด 3 อันดับของไตรมาสแรกปี 2018  

อันดับ 1 Miss OP ของแบรนด์ Oriental Princess

อันดับ 2 Godji Happy Life ของปตท.

อันดับ 3 Aunjai Good Days, Great Times ของ AIS Privilege

ที่สุดของสติกเกอร์แบรนด์ใน 10 ธุรกิจที่มีผู้ใช้มากที่สุด

  • ธุรกิจโทรคมนาคม: AIS Privilege
  • ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า: Samsung Mobile
  • ธุรกิจการเงินการธนาคาร: GH Bank
  • ธุรกิจเครื่องดื่ม: Singha Rewards
  • ธุรกิจยานยนตร์: Mitsubishi
  • ธุรกิจพลังงาน: ปตท
  • ธุรกิจเครื่องใช้อุปโภคบริโภค: Lion
  • ธุรกิจความงาม: Oriental Princess
  • ธุรกิจค้าปลีก: Robinson
  • หน่วยงานภาครัฐ: กฟผ

 

 

 

 

5.  5G ตัวเปลี่ยนเกมอุตสาหกรรมโลก การให้บริการ Mobile broadband กำลังก้าวไปสู่ระบบ 5G โดยมีแผนที่จะ roll out ครั้งแรกไม่เกินปี 2018 ซึ่งถือได้ว่าเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ถึง 2 ปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรงในความพยายามที่จะผลักดันให้การบริการ   Mobile broadband สามารถให้บริการในทุก digital platform

4. โทรคมนาคมเปลี่ยนผ่านสู่แพลตฟอร์ม IoT และโดรน ผู้ให้บริการโทรคมนาคม 4G/5G มีบทบาทที่อย่างมากในการเป็นผู้เล่นที่สำคัญในตลาด IoT และอากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicles : UAV) ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่าโดรน โดยแอพพลิเคชั่นโดรนจะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถปฏิรูปการดำเนินงานและเพิ่มประสิทธิภาพในแง่ของต้นทุนและเวลาในการวิเคราะห์ชุดข้อมูลเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจ จึงมีการจัดตั้งศูนย์กลางในการให้บริการเฉพาะทางเกี่ยวกับโดรนภายใต้ชื่อ Drone-powered Solutions (DPS) เพื่อช่วยลูกค้าในการวางแผนและนำโดรนมาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้โดรนในเชิงพาณิขย์ เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามบริษัทแต่ละแห่งจำเป็นต้องมีการลงทุนที่สำคัญและมีความสามารถเฉพาะด้าน เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับโดรนภายในบริษัท ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการแต่ละรายสามารถเสนอ DPS สำหรับทุกบริษัทได้ โดยผู้ประกอบการโทรคมนาคมสามารถมีบทบาทนี้ได้ เนื่องจากมีความสามารถในการเชื่อมต่อ IoT, ระบบคลาวด์, big data และการวิเคราะห์

โอกาสสำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม ประการแรกพวกเขาสามารถเสนอ DPS โดยการสร้างพันธมิตรในด้านต่างๆเกี่ยวกับโดรน, ประมวลผลข้อมูล และการจัด ส่งข้อมูล และสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถภายในห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งคาดว่าตลาดสำหรับ DPS ซึ่งไม่รวมถึงการจัดซื้อโดรนในกลุ่มประเทศ Gulf Cooperation Council (GCC) จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2020 ซึ่งตลาดนี้สามารถให้บริการด้วยรูปแบบธุรกิจที่หลากหลาย เช่น การให้บริการโดรนในเชิงพาณิชย์, Live Video แบบออนดีมานด์ หรือระบบขับเคลื่อนด้วยตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ

ประการที่สอง ผู้ประกอบการโทรคมนาคมสามารถช่วยในการจัดตั้งศูนย์ควบคุม การจราจรของโดรน หรือ Drone traffic control centre (DTCC) ซึ่งจะช่วยให้ สามารถควบคุมการทำงานของโดรนและเพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อ บังคับ โดยจะอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ DTCC ทั้งในการจัดหาและจัดการการจัดเก็บข้อมูล การเชื่อมต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การให้บริการในระดับมืออาชีพ และแอพพลิเคชั่นต่างๆ รวมทั้งระบบการจัดการการ จราจรของโดรน และการวิเคระห์และจัดทำรายงานแบบเรียลไทม์

ผู้ประกอบการโทรคมนาคมควรพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมและมีการกำหนด Roadmap สำหรับใช้โดรนในเชิงพาณิชย์ ซึ่งโดรนแสดงให้เห็นถึงโอกาสที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมสำหรับแหล่งรายได้ที่หลากหลายและการกระตุ้นการเติบโตใหม่ๆ

การปฏิวัติด้านสารสนเทศเป็นการปรับโฉมหน้าของเศรษฐกิจโลก การสร้างข้อมูล, การประมวลผล, การเก็บรักษา และการแลกเปลี่ยน กำลังเปลี่ยนแปลงการดำเนิน งานและปรับปรุงรูปแบบธุรกิจใหม่ ปัจจุบันการจัดเก็บชุดข้อมูลจำนวนมหาศาล และการใช้ข้อมูลอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิผล จำเป็นต่อความได้เปรียบ ทางการแข่งขัน การพลิกโฉมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเนื่องจากโดรนเป็นจุดเชื่อมต่อของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสองประเภท ได้แก่ Internet of Things (IoT, เซ็นเซอร์ และอุปกรณ์เชื่อมต่อ) และปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีโดรน หุ่นยนต์ และรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง

เป็นตัวอย่างของระบบข้อมูลที่บูรณาการรวมอยู่ในอุปกรณ์ทางกายภาพ ซึ่งโดรนยังเข้ามาเปลี่ยนแปลงแหล่งข้อมูลอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มีเซ็นเซอร์ และกล้องถ่ายรูปทำให้สามารถได้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมา ก่อน ซึ่งสามารถวิเคราะห์และเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้ และโดรนยังสามารถดำเนินงานที่สำคัญได้ เช่น การวิเคราะห์ การค้นหา การตรวจสอบ ส่งสัญญาณ การนำทาง และการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง โดยใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติ

เทคโนโลยีโดรน ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและไปไกลเกินกว่าเป้าหมายทางการ ทหารซึ่งเป็นเป้าหมายเดิมของการใช้โดรน และปัจจุบันได้เข้าสู่เชิงพาณิชย์ เช่น เดียวกับแอพพลิเคชั่นด้าน IT อื่นๆ การใช้งานโดรนในเชิงพาณิชย์มีการแพร่ กระจายมากขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพื้นฐานของโดรน (เช่น เซ็นเซอร์, กล้อง, GPS และแบตเตอรี่), สภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่เป็นบวก และความสนใจของนักลงทุน ซึ่งโครงการของ Federal Aviation Administration (FAA) ระบุว่าจำนวนโดรนที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯจะมีจำนวนเกือบสามล้านเครื่องในปี 2020 ซึ่งเพิ่มขึ้นสี่เท่าในปี 2016

โดรนช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานและดำเนินกิจกรรม ที่ท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านต้นทุนและเวลา โดรนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงได้ ไม่เพียงแต่ความสามารถทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการใช้งานที่กว้างขวางขึ้นสำหรับภาคธุรกิจอีกด้วย

DPS มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่นำมาใช้งาน เช่น การสำรวจและทำ แผนที่ การควบคุมการลงทุน การจัดการสินค้าคงคลัง การเฝ้าติดตามการบำรุง รักษา การขนส่งสินค้า การเฝ้าระวัง และการรายงานข่าวด้วยวิดีโอ ซึ่ง DPS จำนวนมากมีจำหน่ายแล้วในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน และเมื่อมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นในภาคส่วนอื่นๆ แอพพลิเคชั่นใหม่ๆจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการปรับปรุงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

การใช้โดรนสำหรับควบคุมการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคชุมชน ทำให้สามารถสำรวจสถานที่ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ข้อมูลภาคสนามสำหรับการสร้างแบบจำลองสถานที่อย่างแม่นยำ สามารถถูกรวบรวมไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   การสำรวจสถานที่ก่อสร้างได้รวดเร็วกว่าการสำรวจภาคสนามมากถึง 20 เท่า นักลงทุนสามารถตรวจสอบความคืบหน้าในการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม โดรนสามารถแก้ปัญหาด้านเทคนิคที่สำคัญ ที่สุดในการตรวจสอบการบำรุงรักษา นอกจากนี้ยังช่วยในการจัดการสินค้าคงคลัง และการบริหารจัดการสินทรัพย์ ตลอดจนการวางแผนและการใช้งานเครือข่าย ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม ในอดีตช่างเทคนิคต้องปีนขึ้น ไปบนสุดของอาคาร แต่ในปัจจุบันสามารถใช้โดรนทำงานนี้ได้แล้ว โดยสามารถบันทึกรายละเอียดข้อมูลที่มีคุณภาพสูงเกี่ยวกับสินทรัพย์ และดำเนินการสินค้าคงคลังที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม สามารถได้ภาพสถานที่อย่างถูกต้องซึ่งมักกระจายไปทั่วประเทศ

โดรนมีบทบาทในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานและติดตั้งให้อยู่ในสภาพดี สามารถดำเนินการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพได้อย่างสม่ำเสมอ ด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น และลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากโดรนสามารถถ่ายภาพ บันทึกวิดีโอ การวัด และการอ่านได้เหมือนกับช่างเทคนิค และช่วยเพิ่มความปลอดภัยเนื่องจากบริษัทต่างๆ ไม่จำเป็นต้องให้คนงานต้องมาเสี่ยงในการตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลหรือในสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย

ผู้ประกอบการโทรคมนาคมหลายรายมีความก้าวหน้าในเรื่องโดรน อย่างเช่น บริษัท AT&T ได้เปิดตัวโครงการในเดือนตุลาคม 2016 ที่ใช้โดรนในการตรวจสอบสถานีฐาน และบริษัท Verizon ใช้โดรนเพื่อตรวจสอบบริเวณสถานีฐานที่ได้    รับผลกระทบจากน้ำท่วมรุนแรง

โดรนยังสนับสนุนการวางแผนและการใช้งาน โดยสามารถระบุจุดที่เสียหายในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ เช่น บริษัท AT&T ใช้โดรนในการทดสอบความแรงของสัญญาณทั่วภูมิภาคต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ส่วนบริษัท Nokia ได้ทำการ ทดลองที่คล้ายคลึงกันนี้ใน United Arab Emirates (UAE)

ผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีบทบาทสำคัญในการใช้โดรน DPS ต่างๆ ที่หลากหลาย จะต้องมีความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลประเภทภาพและวิดีโอ และประมวลผลและวิเคราะห์อย่างละเอียด ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้อาจต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบการโทรคมนาคม

ซึ่งถือเป็นบทบาทใหม่สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม เนื่องจากตลาดโทรคมนาคมแบบดั้งเดิมกำลังจะพัฒนาขึ้น   ผู้ประกอบการโทรคมนาคมต่างกำลังมองหาหนทางใหม่ๆ ในการขยายธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัล โอกาสทางการค้ามีความ สำคัญ  บริษัทต่างๆในทุกอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศ GCC คาดว่ามูลค่าตลาด โดรนในเชิงพาณิชย์โดยรวมในกลุ่ม GCC (ไม่รวมการจัดซื้อโดรน) อาจสูงถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปี  2022


บทความ โดย : พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ “Next-Gen. Leaders & Next-Gen. Mobile Tech” โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช. จากงาน Thailand MBA Forum 2018  ได้ที่นี่

X

Right Click

No right click