สมิติเวชฉลองครบรอบ 40 ปี เปิด โรงพยาบาลญี่ปุ่น สมิติเวช โรงพยาบาลญี่ปุ่นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน (First Japanese hospital in AEC) ด้วยมาตรฐานทางการแพทย์ระดับสากล จับมือโรงพยาบาลทากัตสึกิ และโรงพยาบาลซาโน่ โรงพยาบาลชั้นนำจากประเทศญีปุ่น เพื่อมอบสุขภาพที่ดีให้แก่ชาวญี่ปุ่น โรงพยาบาลญี่ปุ่น สมิติเวช  เป็นหนึ่งในเครือโรงพยาบาลสมิติเวช ภายใต้การบริหารของ บริษัท  กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)

เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ตั้งอยู่ซอยสุขุมวิท 49 เป็นย่านที่อยู่อาศัยของชาวญี่ปุ่น พร้อมดูแลด้วยทีมแพทย์ พยาบาลชาวญี่ปุ่น และเครื่องมือที่ทันสมัยพร้อม Tele-Translator แปลภาษาญี่ปุ่นด้วยล่ามผ่านระบบวีดีโอคอล ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และการบริการจากใจในแบบฉบับวัฒนธรรมญี่ปุน ตลอดจนออกแบบสถานที่ อุปกรณ์ในสไตล์ญี่ปุ่น  เพื่อให้รู้สึกคุ้นเคย เกิดความไว้วางใจในการเข้ารักษาเสมือนโรงพยาบาลในบ้านเกิดของตนเอง

นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช กล่าวว่า หลายปีนี้ มี Expat ชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำงานใน South East Asia มากขึ้น เช่นเดียวกับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนและก่อตั้งบริษัทใน EEC การที่ชาวต่างชาติต้องมาใช้ชีวิตในประเทศที่ไม่คุ้นเคย นอกจากความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตแล้ว การดูแลสุขภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ชาวญี่ปุ่นคำนึงถึง โดยตลอด 40 ปีของสมิติเวช โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง เพื่อเป้าหมายหนึ่งเดียว คือ สร้างระบบการสาธารณสุขที่ดี เพื่อรองรับชาวญี่ปุ่นในระดับประเทศ ในปีที่ผ่านมามีผู้รับบริการชาวญี่ปุ่นประมาณ 400 คนต่อวัน มีทารกญี่ปุ่นคลอดที่สมิติเวช ประมาณ 200 คนต่อปี  นอกจากนี้สมิติเวชเป็นโรงพยาบาลแรกนอกประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการเยี่ยมสำรวจ จาก Japan Council  for Quality  Health Care (JCQHC) ประเทศญี่ปุ่น ด้านคุณภาพความปลอดภัยทางการแพทย์

 

รวมถึงการลงนามกับโรงพยาบาลทากัตสึกิ ที่เชี่ยวชาญด้านกุมารเวช การดูแลทารกแรกเกิดวิกฤต และการผ่าตัดข้อเข่า และโรงพยาบาลซาโน่ ที่เชียวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ช่วยคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งสำไส้ใหญ่ด้วยเทคนิคการส่องกล้อง NBI (Narrow Band Image) สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งเร็วขี้น 2 เท่าและเทคนิคการผ่าตัดก้อนเนื้อขนาดใหญ่ผ่านกล้อง ESD (Endoscopic Submucosal Dissection) เพื่อให้ทุกท่านมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ และมีความสุขตลอดไป

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ (กลาง) อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมผู้ประกอบการไทยภายใต้โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน รุ่นที่ 5 (Young Entrepreneur Network Development Plus Program: YEN-D Season V) ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ โดย EXIM BANK ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศมาเลเซียและบริการทางการเงินของธนาคารให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจค้าขายหรือลงทุนกับมาเลเซีย เมื่อเร็วๆ นี้

“แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจนี้คือคุณปู่กับคุณย่าค่ะ ซึ่งหนูไม่มีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณพวกท่านแล้วจึงอยากส่งมอบความปราถนาดีนี้ผ่านการเพิ่มคุณค่าให้แก่สังคมผู้สูงวัยค่ะ” น.ส.กัลยรัตน์ พิกุลน้อย (พลอย) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) หลักสูตรบัญชี  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  หนึ่งในสมาชิกทีม JElder  เผยถึง แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจเพื่อสังคม ( SE: social enterprise ) ซึ่งเป็น Market Place ที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้สูงอายุโดยมีวิธีการขายเป็น Group buy ซึ่งผู้สูงอายุสามารถเพลิดเพลินกับการขายสินค้าอุปโภค บริโภค รวมถึงการจัด Event ต่างๆได้ใน Platform นี้ โดยไอเดียธุรกิจนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขัน Startup Thailand League 2019 ที่สนามแข่งขันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีโคราช จังหวัดนครราชสีมา และเตรียมความพร้อมลงสนามรอบ Final Pitching Demo Day

น้องพลอยเล่าว่า ไอเดียธุรกิจนี้ ได้ร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์กับเพื่อนๆอีก 3 คนในทีม JElder  มีด้วยประกอบด้วย  น.ส.กัญญารัตน์ ชาญประโคน คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตรการท่องเที่ยว  น.ส.อนุตตรีย์ เชิดครบุรี คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตร การโรงแรม และ น.ส. อานิต้า แสงโรจน์

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาการโรงแรม โดยเริ่มเริ่มแรกได้นำเสนอไอเดียธุรกิจนี้ผ่านโครงการนพรัตน์ทองคำซึ่งเป็นโครงการสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ผู้ที่มีคุณสมบัติแก้ว 9 ประการ ขณะนั้นได้รับรางวัลนวัตกรรมชมเชยจากผลงาน จุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ทำให้พัฒนาตนเองและสร้าง Platform ธุรกิจให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

การเรียนที่ CIBA มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนให้กับนักศึกษา ทำให้สร้าง J E I d e r ให้ประสบความสำเร็จได้ โดย DPU X จะสอนการ Pitching เสนอไอเดียอย่างไรให้เข้าเป้าหรือประสบความสำเร็จได้ มีทีมงานให้คำปรึกษาแนะแนวทางในการสร้างสรรค์ไอเดียธุรกิจเสมอ น้องพลอยกล่าว

  

ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวย้ำว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เราปลูกฝังทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้นักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนชั้นปี 1 ในทุกสาขาวิชา ผ่านวิชาในกลุ่ม DPU CORE  (ดียู คอร์) เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาที่เรียกว่า Capstone Projects นักศึกษาจะทำงานเป็นทีม สมาชิกในทีมมาจากต่างสาขาและต่างคณะ เพื่อให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์  ออกไอเดียและสร้างสรรค์ชิ้นงาน หัวข้อโครงการอาจเกิดจากนักศึกษาเอง หรือจากสถานประกอบการและพันธมิตรในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย และยังได้จัดตั้งสถาบัน DPU X (ดีพียู เอ็กซ์) เพื่อทำหน้าที่บ่มเพาะทีมนักศึกษาเหล่านี้ต่อในโครงการ DPU Startup Bootcamp เพื่อปั้นไอเดียให้เป็นจริงได้

นักศึกษาเราต้องผ่านเวทีประกวดแนวคิดธุกิจ CIBA MINI CAPSTONE ซึ่งเป็นการจัดแสดงแนวคิดธุรกิจยุค Thailand 4.0 ให้จับกลุ่มทำงานเป็นทีมหลากหลายคณะนำเสนอแผนธุรกิจผ่านโครงการ MINI CAPSTONE โดยมีการประกวด Final Pitching  และ Showcase ซึ่งจะจัดทุกปีเพื่อให้นักศึกษาได้มีเวทีนำเสนอผลงาน ดร.ศิริเดช กล่าวในตอนท้าย

ปฐม  อินทโรดม  กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ไอซีโอ จำกัด  นำทีมร่วมกับ สมใจ ถวิลถิขกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด นิตยสาร MBA  เข้าเยี่ยมแสดงความยินดี รศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในโอกาสขึ้นรับตำแหน่งคณบดีคนล่าสุด คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อกลางเดือนพฤกษาคมที่ผ่าน 

นัยว่านอกจากวาระของการร่วมยินดีกับตำแหน่งใหม่ สามปาร์ตี้มีเป้าหมายความร่วมมือเตรียมจัดหลักสูตรอบรมพิเศษ ทั้งบรรยายและ workshop  หัวข้อ Blockchain for Enterprise Transformation สำหรับเครือข่ายและผู้ที่สนใจหลักสูตรดังกล่าว เตรียมตัว Back to School ได้เร็วๆนี้

Disruption ในโลกยุคดิจิทัลขยายตัวไปตามอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็ว ด้วยรูปแบบหรือกระบวนการทางธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ กัน ผู้ประกอบการแต่ละรายจึงต้องคิดวางแผนและมองหาหนทางเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นให้ทันท่วงที 

X

Right Click

No right click