นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคธุรกิจอสังหาฯ มีส่วนในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และบริษัทฯ ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว พร้อมวางกลยุทธ์สร้างพันธกิจ เพื่อผลักดันให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นในระยะยาว สู่การเป็นองค์กรที่มุ่งสู่ความยั่งยืน พร้อมตั้งเป้าหมายระยะกลาง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2573 โดยวางแผนรองรับที่สามารถทำได้จริง ซึ่งการผลักดันการใช้พลังงานสะอาดสำหรับที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในแผนดำเนินงาน เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุพันธกิจและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นผลในระดับมหภาค พร้อมหนุนให้ลูกบ้านศุภาลัยได้อยู่อาศัยในบ้านประหยัดพลังงานอย่างแท้จริง พร้อมติดตั้ง “โซลาร์เซลล์” ตั้งเป้าเพื่อพิชิตยอด 15,000 หลัง ภายในปี 2571 โดยปัจจุบันได้อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการที่จะดำเนินการติดตั้งไปแล้วกว่า 30 % ครอบคลุมกว่า 29 จังหวัด ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวสามารถคำนวณยอดผลิตกระแสไฟฟ้ารวมได้ 82,300 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 49,300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เสมือนการปลูกต้นไม้ทดแทน 3.2 ล้านต้น และลูกบ้านศุภาลัยสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 20,000-30,000 บาทต่อปี และในอนาคต บริษัทฯ มีแผนพัฒนาเพิ่มช่องทางการ Tracking ติดตามพร้อมควบคุมการผลิตกระแสไฟฟ้าผ่าน Application : SABAI สามารถใช้งานได้อย่างครบวงจรมากขึ้น

นายกิตติพงษ์ ศิริลักษณ์ตระกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีความเข้าใจเทรนด์ผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ตระหนักและใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้กำลังมองหาที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงพร้อมคิดค้นนวัตกรรมด้านการก่อสร้าง การออกแบบ รวมถึงการพัฒนาวัสดุก่อสร้างร่วมกับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกัน เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าที่อยู่อาศัยของศุภาลัยในทุกประเภทเป็น “บ้านรักษ์โลก” เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ผ่าน 5 แกนหลักของลูกค้า ดังนี้

  1. นวัตกรรมเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ได้ออกแคมเปญ “Supalai Self-Provedเชิญชวนพิสูจน์ผลลัพธ์ของนวัตกรรมการก่อสร้างอย่างรักษ์โลก ผ่าน Supalai Waste Meter มาตรวัดปริมาณขยะจากการก่อสร้างโดยให้น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และนวัตกรรมด้านต่าง ๆ อาทิ การออกแบบบ้าน/อาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบเพื่อลดเศษวัสดุเหลือใช้ การออกแบบเพื่อลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งในนวัตกรรมบางอย่างที่ต้องอาศัยการผลิตขึ้นมาใหม่ ศุภาลัยจึงได้ร่วมหารือ คิดค้นและพัฒนาร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจ เช่น SCG TOA DOS CPAC เป็นต้น เพื่อผลิตวัสดุที่ตอบโจทย์ลูกค้าของบริษัทฯ และยังสามารถนำไปจัดจำหน่ายให้กับคนทั่วไปได้อีกด้วย
  2. การเป็นบ้านประหยัดพลังงาน มีการออกแบบวางผังตัวบ้าน/ตัวอาคารให้อยู่ในแนวเหนือใต้เพื่อหลบแดดและรับลม เน้นการออกแบบช่องเปิดประตูหน้าต่างหลายทิศทางเพื่อการระบายอากาศที่ดี และมีการเลือกใช้วัสดุที่ช่วยระบายความร้อน จนได้รางวัลการันตีด้านการออกแบบประหยัดพลังงานอีกทั้งเลือกใช้เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับฉลากประหยัดพลังงานเบอร์ 5 
  3. การออกแบบเพื่อคนทุกวัย(Universal Design)  โดยบริษัทฯ คำนึงถึงการออกแบบฟังก์ชันภายในบ้าน และการใช้งานต่างๆ เพื่อรองรับทุกเพศ ทุกวัยให้ได้รับความสะดวกสบาย ความปลอดภัยอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะฟังก์ชันเพื่อตอบโจทย์ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ออกแบบห้องนอนในชั้นล่าง พร้อมใช้วัสดุปูพื้นที่ช่วยลดการลื่นและการกระแทก ออกแบบบานประตูเลื่อน ไม่มีธรณีประตู ลดความต่างระดับ สำหรับกรณีการใช้รถเข็นได้สะดวกยิ่งขึ้น
  4. การปฏิวัติใช้พลังงานสะอาด นอกจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ และจุดติดตั้งEV Charger ให้กับลูกบ้านศุภาลัยกว่า 15,000 หลังทั่วประเทศแล้ว ศุภาลัยมีความมุ่งมั่น และจริงจังเพื่อพิชิตเป้าหมาย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2030  และมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดย อาคารศุภาลัย แกรนด์ ทาวเวอร์ สำนักงานใหญ่ ติดตั้งโซลาร์ เซลล์ 450 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 330,397 กิโลวัตต์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 198 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 1.5 ล้านบาทต่อปี และยังมีการติดตั้ง ณ สำนักงานขายทั่วประเทศ และสโมสรส่วนกลาง สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าส่วนกลางให้กับลูกบ้านได้อีกด้วย
  5. กิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากการสร้างโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า บริษัทฯ พร้อมสนับสนุนนโยบายระดับประเทศด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการให้ความสำคัญและส่งเสริมงานด้านความยั่งยืนในมิติการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในทุกภาคส่วนขององค์กร อาทิ การปลูกต้นไม้บนที่ดินของบริษัทฯเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์,เปลี่ยนการใช้ปุ๋ยเคมี สู่ปุ๋ยอินทรีไบโอฯ,กิจกรรมร่วมแบ่งปันเสื้อผ้า และสิ่งของส่งต่อให้คนงานก่อสร้าง, สนับสนุนสินเชื่อ Green Loan

เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำอสังหาฯ ที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) เชิญชวนพันธมิตรธุรกิจด้านเทคโนโลยี ยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด และบริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมผนึกความแข็งแกร่ง สร้างความเชื่อมั่นสู่การเป็น No.1 “บ้านติดโซลาร์” โดยเฟสแรกได้ดำเนินแผนการติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ลูกบ้านศุภาลัย ประเดิม 1,500 หลังทั่วประเทศ พร้อมดูแลระบบติดตั้ง บำรุงรักษา รวมถึงความรู้ความเข้าใจด้านการใช้งาน และร่วมกันผลักดันการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับลูกค้า ยังเป็นวิธีที่ช่วยไม่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดภาระให้แก่โลกโดยทุกคนสามารถทำได้และเข้าถึงได้ง่าย ๆ

นายโลแกน ยู ประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจดิจิทัลพาวเวอร์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด เปิดเผยว่า “บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาดเพื่ออนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ผู้ออกแบบโซลูชันอุปกรณ์แปลงผันกำลังไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนระบบการจัดการและแสดงผลอัจฉริยะด้านดิจิทัลพาวเวอร์สำหรับทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน  หัวเว่ยจะดำเนินตามเป้าหมายเรื่องการส่งเสริมให้ทั้งภาคองค์กรและครัวเรือนในประเทศไทย ร่วมติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์รายสำคัญของเราในประเทศไทย โดยหัวเว่ยจะสนับสนุนองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี รวมทั้งช่วยพัฒนาโมเดลธุรกิจและการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านโปรแกรม Smart Design 2.0 สำหรับกลุ่มที่อยู่อาศัยและภาคธุรกิจของ บมจ.ศุภาลัย โดยร่วมกับไอออน เอเนอร์ยี่ ในการสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อโปรโมทโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในประเทศไทย” 

หัวเว่ย ศุภาลัย และไอออน เอนเนอร์ยี่ ต่างมีวิสัยทัศน์ตรงกันในการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการจัดการพลังงานที่ยั่งยืนเพื่อรองรับเทรนด์โลกในอนาคต จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมมือกันศึกษาและพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาด ลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง โดยทดแทนด้วยพลังงานสะอาดในโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ของศุภาลัย เพื่อใช้เป็นต้นแบบเรื่องการบริหารจัดการพลังงานที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การต่อยอดและพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยให้ยั่งยืนยิ่งขึ้นในอนาคต ในขณะที่ไอออน เอเนอร์ยี่ จะเป็นผู้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการต่าง ๆ

โดยหัวเว่ย ในฐานะที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานดิจิทัลในระดับโลก และมีบริการรวมถึงโซลูชันต่าง ๆ ที่ได้รับการนำไปประยุกต์ใช้ในตลาดมากกว่า 170 ประเทศ ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บพลังงาน การนำไปใช้งาน และความปลอดภัยในการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ หัวเว่ยส่งเสริมให้ทั้งภาคองค์กรและครัวเรือนร่วมติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ตามเป้าหมายเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ และตามพันธกิจของหัวเว่ยที่ต้องการ 'เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย' และ ‘การปลดปล่อยขุมพลังแห่งดิจิทัลเพื่ออนาคตที่ดีกว่า’

นายพงศภัค นครศรี กรรมการบริหาร บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ION ผู้นำธุรกิจจัดหาโซลูชั่นพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ จัดหา และติดตั้ง รวมถึงการดูแลบริการหลังการขายสำหรับภาคครัวเรือน อสังหาริมทรัพย์ และองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพื่อลุยภารกิจพิชิต Net Zero สู่อนาคตที่ยั่งยืน เทรนด์ติดตั้ง Solar Roof มีเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัย (Residential) ด้วยเหตุผลภาระค่าไฟฟ้าที่กำลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากความผันแปรของต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและการซื้อไฟฟ้า ส่งผลให้ค่า FT มีการปรับตัวสูงขึ้น หากมีพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ก็จะทำให้ภาพรวมภาระค่าไฟฟ้าต่อเดือนยังคงอยู่ในระดับสูง อีกทั้งยังเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีกด้วย การเลือกใช้งานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนควรร่วมมือกันผลักดันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในทุกภาคส่วนของสังคมและสิ่งแวดล้อม

ไอออน ได้เล็งเห็นความสำคัญและร่วมมือกับพันธมิตร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการอสังหาริมทรัพย์ และภายใต้ความร่วมมือนี้ยังได้รับความไว้วางใจจากบริษัทระดับโลกอย่างบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานดิจิทัลมาร่วมออกแบบและติดตั้ง Solar Roof ให้กับบ้านในโครงการของศุภาลัย และเซ็ตมาตรฐานการติดตั้งด้วยอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์ระดับ Tier 1 คู่กับ Huawei Inverter และ สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล (BCC) ที่ได้รับรองคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยผู้ผลิตบริษัท Bangkok Cable เพื่อยกระดับการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานบ้านศุภาลัยทั้งในด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ

สำหรับลูกค้าที่กำลังมองหา “บ้านประหยัดพลังงาน” หรือ “บ้านพร้อมโซลาร์”  เตรียมพบกับโครงการศุภาลัย ที่พร้อมเปิดขายในปีนี้ อาทิ โครงการบ้านเดี่ยว บ้านสามชั้น บ้านแฝด โฮมออฟฟิศ รวมถึงคอนโดมิเนียม* ทั่วประเทศ (โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯกำหนด) ซึ่งจะมาพร้อมโปรโมชันหรือข้อเสนอพิเศษมากมาย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1720 หรือติดตามข้อมูลโครงการเปิดใหม่ในช่องทาง www.supalai.com และ Facebook: Supalai

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) กำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก หลายๆ ประเทศลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล พร้อมทั้งวางแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติในการยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและพัฒนาระบบเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ ประเทศเหล่านั้นเข้าใจดีว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งและระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่มั่นคง คือตัวแปรสำคัญที่จะช่วยนำพาประเทศก้าวผ่านความซับซ้อนของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและยกระดับศักยภาพทางการแข่งขันให้กับประเทศชาติ ปัจจุบัน ภูมิภาคอาเซียนยังคงมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วและคึกคักที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลภายในภูมิภาคนี้ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ด้วยจุดเด่นด้านยุทธศาสตร์เพื่อเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทย จึงเป็นแกนนำหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับภูมิภาค ทั้งยังเป็นมีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของภูมิภาคนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลไทยได้ประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะเวลา 20 ปี หรือ ‘ประเทศไทย 4.0’ โดยมีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจมูลค่าสูง ผลักดันให้ประเทศได้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันโดยรวม โดยรัฐบาลไทยเดินหน้าผลักดันกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง  เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรมและยกระดับประเทศไทยไปสู่การเป็นหนึ่งในประเทศรายได้สูง

เป้าหมายด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศไทย

ในการเดินหน้ายกระดับความเป็นอัจฉริยะให้กับทุกอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนเป้าหมายไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และผลักดันประเทศไทยขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน รัฐบาลไทยได้จัดสรรงบประมาณลงทุนปีละหนึ่งหมื่นล้านบาท เพื่อจัดตั้งคลังข้อมูลภาครัฐ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีล้ำสมัย อาทิ Big Data และ AI มาใช้ อย่างไรก็ตาม การบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลยังคงมีอุปสรรคที่ทำให้เป็นไปได้ยาก  

เปลี่ยนจากระบบแยกส่วนการทำงาน ไปสู่การใช้งานแบบรวมศูนย์ เพื่อต้นทุนรวมที่ต่ำลง

ประเทศไทยมีคลังข้อมูลภาครัฐกว่า 300 แห่ง ซึ่งมีสถาปัตยกรรมโครงสร้างระบบการจำลองเสมือน (virtualization) ที่แยกส่วนแบบเก่า การใช้งานในแบบกระจัดกระจายกันนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาที่มีข้อมูลบางส่วน สามารถเข้าถึงได้เฉพาะกลุ่ม หลายฝ่ายไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลเดียวกันได้ (data silos) ส่งผลให้การใช้งานทรัพยากรได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันการใช้งานและการบำรุงรักษาคลังข้อมูลจำนวนมากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายสูงตามมา รัฐบาลจึงมองหาแนวทางในการจัดตั้งระบบคลาวด์กลางของภาครัฐเพื่อรวบศูนย์การใช้งานคลังข้อมูลเหล่านี้ และเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเดิมที่มีอยู่แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

บอกลาระบบ Virtualization แบบเก่า พร้อมอ้าแขนรับระบบคลาวด์

รัฐบาลไทยจึงมองหาเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมล้ำสมัย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ระบบการขนส่งอัจฉริยะ และอุตสาหกรรม 4.0  ระบบการจำลองเสมือน (virtualization) ของคลังข้อมูลแบบดั้งเดิม ไม่สามารถรองรับความต้องการเหล่านี้ได้ทัน รัฐบาลไม่ได้ต้องการแค่เพียงย้ายทรัพยากรไปสู่ระบบคลาวด์ แต่กำลังมองหาบริการระบบคลาวด์ที่ล้ำสมัยและครบวงจร ที่จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของทรัพยากร มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของข้อมูล และช่วยผลักดันการเติบโตของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

การสร้างมาตรฐานให้กับอธิปไตยทางดิจิทัล และการมองหาการสนับสนุนด้านการจัดการและบำรุงรักษา

รัฐบาลไทยมีเป้าหมายที่จะสร้างอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereignty) ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้นั้น มาตรฐานที่เคร่งครัด ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ที่สามารถรองรับการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพสูง และการลงทุนมหาศาลด้านการจัดการและซ่อมบำรุง (O&M) ในระยะยาวล้วนเป็นสิ่งจำเป็น แต่ภาครัฐยังคงขาดผู้เชี่ยวชาญและทรัพยากรอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนามาตรฐานและสอดคล้องกับข้อบังคับทางกฎหมายเพื่อให้คลาวด์มีความมั่นคงและเสถียรภาพสูง หรือมีความเป็นอธิปไตยทางดิจิทัล รัฐบาลจึงต้องการผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมาอย่างยาวนาน สามารถกำหนดและนำมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนามาอย่างสมบูรณ์มาใช้ได้งานได้ทันที และที่สำคัญ สามารถให้ความสนับสนุนด้านการจัดการและซ่อมบำรุงได้อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้รัฐบาลสามารถจัดตั้งอธิปไตยทางดิจิทัลได้ตามเป้าหมาย

การใช้งานคลาวด์เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ศูนย์กลางด้านดิจิทัลของอาเซียน      

ระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (national government cloud) มีข้อกำหนดที่เคร่งครัดทั้งในด้านความมั่นคง การปฏิบัติตามมาตรการข้อบังคับทางกฎหมาย และคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการ ผลิตภัณฑ์ Huawei Cloud Stack ได้รับเลือกให้เป็นแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยสำหรับการวางระบบคลาวด์กลางภาครัฐ โซลูชัน Huawei Cloud Stack ซึ่งถูกนำไปใช้งานในหลายๆ หน่วยงาน ช่วยให้ลูกค้าทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กร สามารถติดตั้งระบบคลาวด์แบบไฮบริดที่มีประสิทธิภาพสูง มั่นคง และปลอดภัย โดยระบบมีการพัฒนาทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัย มาตรการที่สอดคล้องกับกฎข้อบังคับทางกฎหมายของประเทศไทย และนวัตกรรมการบริการอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานคลาวด์ในเชิงลึกได้อย่างมั่นใจ และขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่ความเป็นอัจฉริยะได้เร็วยิ่งขึ้น  

  • อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

หัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีคลาวด์เพียงรายเดียวที่มีพื้นที่การให้บริการ (region) ในประเทศไทย และ Huawei Cloud Stack คือโซลูชันคลาวด์แบบไฮบริดแห่งแรกของอุตสาหกรรมที่สามารถรองรับสมรรถนะโมเดลขนาดใหญ่ได้ Huawei Cloud Stack ยังใช้สถาปัตยกรรมโครงสร้างเดียวกับคลาวด์สาธารณะ (public cloud) ของหัวเว่ย และมีการอัปเกรดฟีเจอร์บริการไปพร้อมๆ กันทั้งสองระบบอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบัน โซลูชัน Huawei Cloud Stack ให้บริการฟีเจอร์คลาวด์ที่สามารถใช้งานได้ทันทีมากกว่า 90 ฟีเจอร์ พร้อมด้วยโซลูชันที่หลากหลายรองรับความต้องการเฉพาะด้านของลูกค้าแต่ละราย ไม่เพียงเท่านั้น Huawei Cloud Stack ยังรองรับสมรรถนะรอบด้านแบบ full-stack ครอบคลุมตั้งแต่ Big Data, AI, โมเดลผานกู่ และบล็อกเชน จึงสามารถรองรับการพัฒนานวัตกรรมการบริการด้านคลาวด์และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอนาคต     

  • ระบบคลาวด์แบบรวมศูนย์ที่ประกอบด้วยหลายพูล (Pool)

Huawei Cloud Stack ได้รับเลือกนำมาใช้เป็นระบบคลาวด์กลางภาครัฐเพื่อรองรับแอปพลิเคชันการทำงานของทุกกระทรวงในประเทศไทย โดยมีโซลูชัน ManageOne ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการระบบคลาวด์ของ Huawei Cloud Stack ทำหน้าที่บริหารจัดการ VMware resource pool เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐยังคงสามารถสร้างคุณค่าจากทรัพยากรเหล่านี้ได้ โดยแต่ละหน่วยงานยังคงมี Virtual Data Center (VDC) ของตนเองและสามารถเรียกใช้ทรัพยากรได้ตามต้องการ จึงเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดหาทรัพยากรไอทีให้ดียิ่งขึ้น

  • ลดค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุง

ทีมงานระดับมืออาชีพของ Huawei Cloud Stack พร้อมให้บริการด้านการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุง (O&M) รวมไปถึงความช่วยเหลือทางออนไลน์ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ข้อมูลด้านการปฏิบัติการและการซ่อมบำรุงต่าง ๆ จากศูนย์ข้อมูลในท้องถิ่นจะถูกเก็บไว้ภายในประเทศไทย กรณีเกิดปัญหา สามารถเข้าไปจัดการแก้ไขได้ในแบบเรียลไทม์ เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในระบบ สามารถระบุตำแหน่งและดำเนินการแก้ไขได้ภายในไม่กี่นาที กระบวนการด้านการปฏิบัติการและ
การซ่อมบำรุงยังได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติการลงได้มาก

ด้วยโซลูชัน Huawei Cloud Stack หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐได้ภายใน 60 วัน ปัจจุบัน หลายหน่วยงานสามารถเข้าถึงบริการเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ได้ภายในไม่กี่นาที รองรับการใช้งานบริการภาครัฐที่เพิ่มมากขึ้น แพลทฟอร์มระบบคลาวด์กลางภาครัฐรองรับการให้บริการแก่ 20 กระทรวง ครอบคลุมสำนักงานมากกว่า 219 แห่ง และระบบไอทีกว่า 3,065 ระบบ การใช้งานระบบคลังข้อมูลส่วนกลางนี้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีลงได้ปีละกว่า 850 ล้านบาท ในขณะเดียวกันยังสามารถปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการบริการภาคสาธารณะให้กับหน่วยงานภาครัฐของไทย ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางด้านดิจิทัลแก่คนในประเทศ

การบริการสาธารณะด้านดิจิทัลที่เอื้อประโยชน์ต่อคนไทยมากขึ้น     

กรมการขนส่งทางบกพัฒนาโครงการสถานีขนส่งผู้โดยสารอัจฉริยะ ‘Smart Bus Terminal’ แพลทฟอร์มรถโดยสารอัจฉริยะที่เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วประเทศสามารถเข้าถึงตารางรถโดยสารออนไลน์ในแบบเรียลไทม์ ช่วยให้การเดินทางในแต่ละวันง่ายขึ้น ในทำนองเดียวกัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้พัฒนาระบบแผนที่อาชญากรรมแบบหลายมิติ โดยเปลี่ยนจาก การออกตรวจพื้นที่มาใช้ระบบสแกน QR Code แทน จึงสามารถรายงานเหตุอาชญากรรมได้ในแบบเรียลไทม์ ระบบใหม่นี้ช่วยให้การสื่อสารระหว่างตำรวจและสาธารณะมีความง่ายขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแพลทฟอร์มบริการการแพทย์ดิจิทัล (Digital Healthcare Platform) ที่สามารถวิเคราะห์และแสดงผลแนวทางการบริหารจัดการในสถานการณ์โรคระบาด โดยใช้ข้อมูลจากระบบภายในหน่วยงานและจากเครือข่ายสาธารณะ ความร่วมมือกันระหว่างศูนย์การแพทย์เพื่อปรับปรุงทรัพยากรทางการแพทย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นนี้ ช่วยให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถปรับปรุงมาตรการป้องกันและควบคุมโรคระบาดได้ดียิ่งขึ้น  

ในฐานะศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเส้นทางการค้าที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออกและตะวันตก สำหรับทิศทางก้าวต่อไปของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งขับเคลื่อนด้วยแผนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 รัฐบาลไทยจะยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ควบคู่ไปกับการผลักดันนวัตกรรม ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม สร้างเมืองอัจฉริยะ และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะสร้างความสมดุลให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อม พร้อมกับ
การขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

หัวเว่ย จะยังคงอยู่เคียงข้างสนับสนุนประเทศไทยในการเดินหน้าสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้ความเชี่ยวชาญอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งในด้าน Big Data, AI, โมเดลผ่านกู่ และเทคโนโลยีคลาวด์แบบไฮบริด พร้อมทั้งเดินหน้าให้การสนับสนุนประเทศไทยในการยกระดับระบบนิเวศด้านคลาวด์ พัฒนาโซลูชัน Huawei Cloud Stack เพื่อเป็นแพลทฟอร์มทางด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งให้กับประเทศไทย และช่วยเหลือรัฐบาลไทยและบริษัทต่างๆ ในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI และแอปพลิเคชันการทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะด้านของแต่ละอุตสาหกรรม              

ในงานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์และโซลูชันของหัวเว่ย ซึ่งจัดขึ้นภายในงานมหกรรม Mobile World Congress Barcelona ประจำปี พ.ศ. 2567 (MWC Barcelona 2024) คุณบรูซ สวิน ประธานฝ่ายบริการด้านเทคนิคระดับโลกของหัวเว่ย ประกาศเปิดตัวโซลูชันอัจฉริยะทางดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์และการบริการด้านไอซีที โดยโซลูชันเหล่านี้ได้มีการนำเทคโนโลยี AI ใหม่ล่าสุดมาประยุกต์ใช้ ประกอบด้วยโซลูชัน Intelligent Connectivity Integration, Intelligent IT Integration, Intelligent Operations, SmartCare, Intelligent Digital Service และ Huawei Learning โดยโซลูชันนวัตกรรมใหม่และรูปแบบการใช้งานใหม่ ๆ จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตใหม่ และผลักดันให้โลกก้าวเข้าสู่ยุคอัจฉริยะทางดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น      

คุณบรูซ สวิน กล่าวว่า “ในยุคโลกอัจฉริยะ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นอัจฉริยะทางดิจิทัลจะขับเคลื่อนด้วยการผสมผสานเทคโนโลยี AI เข้ากับกระบวนการคิดและประมวลผลในเชิงโทรคมนาคม และข้อมูลจำนวนมหาศาลซึ่งรวบรวมมาจากผู้ให้บริการเครือข่าย ซึ่งฝ่ายซอฟท์แวร์และการบริการของหัวเว่ยได้นำเทคโนโลยี AI และวิธีการในรูปแบบใหม่มาใช้เพื่อยกระดับโซลูชัน ปรับปรุงเครือข่ายให้มีความเสถียรและประหยัดพลังงานได้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งสามารถมอบประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจให้กับผู้ใช้งาน ตลอดจนช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมการบริการและสร้างการเติบโตในรูปแบบใหม่ให้แก่ธุรกิจ”     

โซลูชัน Intelligent Connectivity Integration: เร่งเครื่องยกระดับสู่เครือข่ายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  

โซลูชัน Intelligent Connectivity Integration มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถยกระดับการพัฒนาเครือข่ายให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ตามเป้าหมาย ด้วยการเข้ามาช่วยแก้ปัญหาความท้าทายในสองสถานการณ์สำคัญ นั่นคือ ในสถานการณ์ที่ไม่มีไฟฟ้าหรือการเชื่อมต่อไม่มีคุณภาพ ระบบอัลกอริธึมจะวางแผนการจ่ายพลังงานซึ่งใช้ AI เข้ามาช่วยสั่งการให้กักเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ เครื่องปั่นไฟดีเซล และแบตเตอรี่ ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียด้านทราฟฟิกข้อมูลที่ได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าดับ ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ สำหรับในสถานการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาแบบครบวงจรและมีการวางแผนด้านการยกระดับทั้งสำนักงานส่วนกลาง เครือข่าย บริการ และระบบโครงสร้างพื้นฐาน การบริการโดยเชื่อมต่อและถ่ายโอนระหว่างเครือข่ายสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นไม่มีติดขัด จึงสามารถช่วยลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ การยกระดับเครือข่ายให้มีความทันสมัยมากขึ้นยังจะช่วยให้องค์กรมีพื้นที่ในการพัฒนาบริการรูปแบบใหม่ ๆ และสร้างการเติบโตใหม่ได้อีกด้วย      

โซลูชัน Intelligent IT Integration: สร้างศูนย์ประมวลผลข้อมูลแบบหลากหลาย

โซลูชัน Intelligent IT Integration มีเป้าหมายเพื่อสร้างศูนย์ประมวลผลข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการด้านการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ในยุคอัจฉริยะ โดยการวางแผนและรวมศูนย์ระบบประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และเครือข่ายเข้าด้วยกันจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์ได้อย่างมหาศาล ในขณะเดียวกัน โซลูชันระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว (liquid cooling) แบบ L1 & L2 full-stack และอัลกอริธึมระบบปรับอุณหภูมิด้วย AI จะช่วยให้สามารถประหยัดพลังงานลงได้อีกมาก

โซลูชัน Intelligent Operations: ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ไปสู่การปฏิบัติการโดยมีบริการเป็นศูนย์กลาง

ระบบจำลองฝาแฝดดิจิทัลของเครือข่ายและเทคโนโลยี AI ได้เข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้แก่การเปลี่ยนผ่านในกระบวนการซ่อมบำรุง (O&M) จากรูปแบบเดิมที่เน้นเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (network-centric) สู่การมุ่งเน้นที่บริการเป็นหลัก (service-centric) โดยในสถานการณ์การซ่อมบำรุงต่าง ๆ ของธุรกิจบรอดแบนด์มือถือ โซลูชันและอัลกอริธึม AI จะสามารถประเมินผลกระทบจากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นที่ไซต์โครงข่าย ซึ่งสามารถส่งผลต่อผู้ใช้งานและการบริการได้โดยอัตโนมัติ รวมทั้งยังสามารถระบุตำแหน่งไซต์โครงข่ายที่มีความสำคัญสูง และให้บริการเพื่อชดเชยและลดผลกระทบต่อการบริการได้ ส่วนทีมวิศวกรก็จะได้รับมอบหมายให้เข้าไปแก้ไขปัญหาที่ไซต์โครงข่ายที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ก่อน ในขณะเดียวกัน สำหรับการใช้งานรูปแบบใหม่ กิจกรรมการซ่อมบำรุงต่าง ๆ ก็จะได้รับการวางแผนโดยอ้างอิงจากผลกระทบต่อบริการ นอกจากนี้ การใช้งานในรูปแบบใหม่นี้ยังขยายผลต่อยอดไปสู่สถานการณ์การซ่อมบำรุงของธุรกิจไฟเบอร์ออฟติก (FTTx) ซึ่งระบบจำลองฝาแฝดดิจิทัลของเครือข่ายและระบบการกู้คืนที่มีความแม่นยำสูง จะสามารถระบุต้นเหตุของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ในเวลาไม่กี่นาที และสามารถมอบหมายการดำเนินงานแก้ไขได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน ซึ่งจะมีระบบผู้ช่วยอัจฉริยะที่คอบสนับสนุนวิศวกรซ่อมบำรุง เพื่อส่งเสริมความเชี่ยวชาญและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น       

โซลูชัน SmartCare: สร้างเครือข่าย NPS ที่ดีที่สุดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาบริการด้านดิจิทัล 

หัวเว่ยได้สร้างระบบจำลองฝาแฝดดิจิทัลแบบ Spatio-Temporal ที่มีเอกลักษณ์ ด้วยการเชื่อมต่อ วิเคราะห์ และจำลองข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ เครือข่าย ประสบการณ์ และความพึงพอใจ โดยการนำเทคโนโลยี AI ใหม่ล่าสุดมาประยุกต์ใช้นี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการเครือข่ายสามารถพัฒนาเครือข่าย NPS ที่ดีที่สุด พร้อม ๆ ไปกับการส่งมอบประสบการณ์ผู้ใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย โซลูชัน Smart Data Cube ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการใหม่ ๆ เช่น การอัพเกรดผู้ใช้จาก 4G สู่ 5G การดึงดูดผู้ใช้โซลูชัน Mobile Money รายใหม่ ๆ และการให้บริการโซลูชัน FWA เป็นต้น   

โซลูชัน Intelligent Digital Service: เดินหน้าสู่ยุคอัจฉริยะ ด้วยบริการใหม่ ประสบการณ์ใหม่ และการเติบโตใหม่

ระบบ Convergent Billing System (CBS) ใหม่ ซึ่งดำเนินการโดย Generative AI (GenAI) จะใช้ข้อมูลจากคลังบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับภาษีศุลกากรทั่วโลกกว่าหลายล้านหมวด เพื่อลดระยะเวลาของกระบวนการเปิดตัวภาษีพิกัดใหม่ ช่วยแปลงไอเดียให้เป็นเงินได้อย่างรวดเร็ว

โซลูชัน AICC ยังมีระบบตอบรับอัจฉริยะที่สามารถเข้าใจความหมายของคำศัพท์ได้อย่างถูกต้องและสามารถให้ความรู้และคำแนะนำได้อย่างแม่นยำ ด้วยอัตราความสำเร็จในการปิดจบการให้บริการด้วยตัวเองที่เพิ่มขึ้นจาก 60% เพิ่มเป็น 85% ระบบผู้ช่วยอัจฉริยะนี้ยังสามารถรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และสามารถแนะนำร่างบทสนทนาได้อย่างเหมาะสม จนสามารถปรับปรุงประสบการณ์การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ และลดระยะเวลาในการดำเนินงานโดยเฉลี่ยลงได้ถึง 30% ระบบใหม่นี้ยังสนับสนุนกิจกรรมการขายแบบ ToB จึงสามารถสร้างการเติบโตใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจได้อีกด้วย

ขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ด้านการเงินในระดับจุลภาค (micro-finance) ภายใต้โซลูชัน SmartCare จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการดึงดูดลูกค้ามูลค่าสูงรายใหม่ ๆ ให้เข้ามาใช้บริการ รวมไปถึงสามารถกระตุ้นการทำธุรกรรม และเพิ่มรายได้ด้านการเงินระดับจุลภาพให้กับภาคธุรกิจ ส่วนแพลตฟอร์มแบบเปิดที่ใช้โค้ดเพียงเล็กน้อย (low-code capability) สามารถร่นระยะเวลาของการเปิดตัวแอปพลิเคชันจากหลายเดือนให้เหลือเพียงไม่กี่วัน ทำให้สามารถเข้าถึงพันธมิตรในอีโคซิสเต็มได้รวดเร็วยิ่งขึ้น       

Huawei Learning: มุ่งพัฒนาบุคลากรแห่งโลกอัจฉริยะทางดิจิทัล เดินหน้าสู่ยุคของ AI

หัวเว่ยให้บริการด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ ซึ่งรวมไปถึงการวางแผนบุคลากร การฝึกอบรม การประเมินผล และการปฏิบัติงาน บริการดังกล่าวมุ่งเน้นที่การพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรใหม่ ๆ ในยุคแห่งโลกอัจฉริยะ รวมไปถึงการกำหนดแนวทางและวิธีการฝึกอบรม โดยหัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าบ่มเพาะบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคอัจฉริยะทางดิจิทัลต่อไป  

คุณบรูซ ซูน ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าเป้าหมายหลักของการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะคือการคลี่คลายปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน และสร้างคุณค่าทางธุรกิจที่สัมผัสได้อย่างแท้จริงให้กับลูกค้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่และการใช้งานในรูปแบบใหม่ ซึ่งกลุ่มธุรกิจด้านซอฟท์แวร์และบริการด้านไอซีทีของหัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ผ่านทางนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานเทคโนโลยีนั้น ๆ ต่อไป  

ทั้งนี้ ภายในงาน หัวเว่ยได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันล้ำสมัยเทคโนโลยีล่าสุด ณ บูธ 1H50 ในอาคาร Fira Gran Via Hall 1 ในงานมหกรรม MWC Barcelona จัดขึ้นในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน จากการประกาศเปิดตัวเทคโนโลยี 5.5G เพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2567 นี้ หัวเว่ยได้ผนึกกำลังร่วมกับผู้ประกอบการเครือข่ายและพันธมิตรทั่วโลกเพื่อค้นหาและขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ ๆ ในด้านเทคโนโลยีเครือข่าย คลาวด์ และระบบอัจฉริยะ โดยหัวเว่ยพร้อมเดินหน้าร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี 5G พร้อมขับเคลื่อนให้เกิดระบบนิเวศทางอุตสาหกรรมที่เฟื่องฟู นำไปสู่ยุคใหม่ของการเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีดิจิทัลที่ชาญฉลาด ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2024.

การประชุมสุดยอดหัวเว่ย คลาวด์ ซัมมิท (Huawei Cloud Summit) ตอกย้ำความเป็นเลิศของหัวเว่ย คลาวด์ ด้านความเป็นที่สุดแห่งโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ AI โดยงานประชุมจัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘รุดหน้าสู่ความอัจฉริยะด้วยทุกสิ่งในรูปแบบบริการ’ (Accelerate Intelligence with Everything as a Service) ซึ่งมีผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญกว่า 500 รายจากหลากหลายอุตสาหกรรมเข้าร่วม เช่น ธุรกิจบริการเครือข่าย ธุรกิจการเงินและอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์เผย 10 นวัตกรรมสุดล้ำเพื่อ AI และความเชี่ยวชาญหลากหลายด้านของผานกู่ โมเดล (Pangu Model) โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรองรับ AI และประยุกต์ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมแต่ละสาขาเพื่อก้าวสู่ยุคอัจฉริยะได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

นายจิม ลู่ ประธานภูมิภาคยุโรปและรองประธานอาวุโสของหัวเว่ย กล่าวย้ำระหว่างสุนทรพจน์ว่า “ระบบอัจฉริยะจะเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ให้ยุโรปในทศวรรษหน้า เรามุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีไอซีทีเพื่อช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลกปลดล็อกศักยภาพสู่ความอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ เมื่อผนึกกำลังกับพันธมิตรในยุโรป เราจะพร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและยุคอัจฉริยะในภาคอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้นไปอีก”

แจ็คเกอลีน สือ ประธานฝ่ายการตลาดและบริการขายระดับโลกของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวว่า “หัวเว่ย คลาวด์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ทีมงานของเราทุกคนทุ่มเทเพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดและนำเสนอเทคโนโลยีล้ำสมัยให้กับลูกค้าทั่วโลก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้เปิดตัว Could Region ในไอร์แลนด์, ตุรกี, อินโดนีเซีย, ซาอุดีอาระเบีย เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงระบบคลาวด์ประสิทธิภาพสูงได้ง่ายขึ้น หัวเว่ยมีการรับรองด้านความปลอดภัยมากกว่า 120 ฉบับทั่วโลก มอบความมั่นใจว่าธุรกิจและข้อมูลของคุณจะปลอดภัย นอกเหนือจากการนำเสนอเทคโนโลยีสุดล้ำ เรามุ่งผลักดันพาร์ทเนอร์ให้เติบโตไปพร้อมกัน และบรรลุเป้าหมายดังกล่าวด้วยโครงการ GoCloud และ GrowCloud ในขณะที่ เทคโนโลยี AI ปัจจุบันกำลังพลิกโฉมทุกสิ่ง และเรามุ่งยืนหยัดในระดับแนวหน้าเพื่อวางรากฐานระบบคลาวด์ที่แข็งแกร่งสำหรับผู้ใช้งานทุกคน ใน ทุกอุตสาหกรรมเพื่อพุ่งทะยานสู่ความอัจฉริยะ”

โมเดลพื้นฐานในปัจจุบันสร้างนิยามใหม่ของการผลิต, ปฏิสัมพันธ์, กระบวนทัศน์การบริการ และโมเดลธุรกิจสำหรับการใช้งานแบบดั้งเดิม AI ถูกใช้เป็นเครื่องมือผลักดันการเติบโตของการประมวลผลบนคลาวด์ ถึงแม้ว่า AI จะมีศักยภาพมากมาย แต่การนำไปใช้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจต้องมีนวัตกรรมเชิงระบบที่เหมาะสม บรูโน จาง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของหัวเว่ย คลาวด์ กล่าวว่า “หัวเว่ย คลาวด์จะช่วยคุณด้วยสองกลยุทธ์หลัก กล่าวคือ AI for Cloud ที่ใช้ AI และโมเดลพื้นฐานในการยกระดับประสบการณ์ใช้งาน โดยพลิกโฉมการพัฒนาซอฟต์แวร์ การผลิตคอนเทนต์ดิจิทัลและสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย และอีกข้อคือ Cloud for AI ที่ทำให้การใช้ AI ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ โดยใช้นวัตกรรมเชิงสถาปัตยกรรม พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ AI Native และการผสานข้อมูลกับ AI ทำให้การฝึกและใช้งาน AI มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคย"

วิลเลียม ฟาง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย คลาวด์ เน้นย้ำถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นในด้านต่าง ๆ ของโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ เนื่องจาก AI และโมเดลพื้นฐานพัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็ว ลูกค้าต้องการการทำงานร่วมกันระหว่างสถาปัตยกรรมการประมวลผลที่ต่างกัน การประมวลผลแบบคลาวด์ เนทีฟ (Cloud Native) ประสิทธิภาพสูง พื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ การปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัย การกำกับดูแลที่ลดความสูญเปล่า และความยืดหยุ่นด้านการใช้งาน เมื่อโมเดลพื้นฐานขยายไปสู่การใช้งานที่กว้างขึ้น การประมวลผลบนคลาวด์จะช่วยบ่มเพาะนวัตกรรมและการพัฒนาโมเดล AI ดังนั้น การผสานการทำงานระหว่าง AI กับคลาวด์จะปลดปล่อยศักยภาพความอัจฉริยะให้รุดหน้า โดยหัวเว่ย คลาวด์มุ่งมั่นผลักดันการบูรณาการนี้ให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการสูงสุดของลูกค้า

ในการประชุมสุดยอดหัวเว่ย คลาวด์ ซัมมิท หัวเว่ย คลาวด์เปิดตัว 10 นวัตกรรมล้ำสมัยที่มุ่งรองรับ AI ตอกย้ำความเป็นที่สุดแห่งโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์สำหรับ AI อย่างแท้จริง

คูเวิร์ส (KooVerse): หัวเว่ย คลาวด์มี Availability Zone (AZ) 85 แห่งใน 30 ภูมิภาค ในกว่า 170 ประเทศ โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ระดับโลกนี้ครอบคลุมการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย และระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ที่ลดค่าความหน่วงลงเหลือเพียง 50 มิลลิวินาที

สถาปัตยกรรมชิงเทียนแบบกระจาย (Distributed QingTian architecture): โมเดลพื้นฐานต้องการทรัพยากรการประมวลผลเพิ่ม 10 เท่าทุก 18 เดือน ซึ่งเหนือกว่ากฎของมัวร์ (Moore's Law) มาก เพื่อรับมือความท้าทายนี้ สถาปัตยกรรมชิงเทียนแบบกระจายได้พัฒนาจากสถาปัตยกรรมหลักและรองแบบดั้งเดิม และเนื่องจากสร้างบนบัสความเร็วสูง (Unified Bus) ชิงเทียนจึงก้าวข้ามขีดจำกัดด้านการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และเครือข่ายในกลุ่มแกนหลักการประมวลผล AI ขั้นสูงที่ประมวลผลด้วยเครือข่ายแบบ peer-to-peer ด้วยฐานข้อมูลต่างชนิดกัน

การประมวลผล AI (AI compute): บริการ AI บนคลาวด์ขนาดมหึมาและเสถียรภาพสูง รองรับการฝึกโมเดลพื้นฐานได้ในระดับล้านล้านพารามิเตอร์ ทำการฝึกอบรม AI บนคลัสเตอร์ที่มีการ์ดนับพันใบต่อเนื่องได้เป็นเวลา 30 วัน โดยประสิทธิภาพการทำงานสูงถึง 90% มีช่วงเวลาหยุดให้บริการไม่เกิน 10 นาที ใช้การประมวลผลผ่านผานกู่ โมเดล (Pangu Model) มากกว่า 100 ชุด พร้อมด้วยโมเดลโอเพนซอร์สขนาดใหญ่ที่ดัดแปลงแล้ว 100 รายการ

พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบ AI-Native (AI-Native storage): โมเดลการฝึกอบรมต้องการข้อมูลมหาศาล หัวเว่ย คลาวด์รับมือกับความต้องการนี้ด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ บริการหน่วยความจำ EMS ที่จัดเก็บพารามิเตอร์หลายเพตะไบต์ด้วยแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ถึง 220 TB พร้อมค่าความหน่วงต่ำระดับไมโครวินาที; บริการ Cache SFS Turbo พร้อมประสิทธิภาพการประมวลผลเหนือระดับและทำงานพร้อมกันด้วยความเร็วหลายสิบล้าน IOPS ทำให้บันทึกข้อมูล 1 พันล้านรายการในเวลาเพียง 5 ชั่วโมง จากเวลาปกติ 100 ชั่วโมง และแหล่งเก็บข้อมูลบนคลาวด์ Object Storage Service (OBS) ที่ลดต้นทุนการจัดเก็บข้อมูลการฝึกอบรมและการอนุมานลงถึง 30%

การรักษาความปลอดภัย E2E (E2E security): วงจรการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมสภาพแวดล้อมการทำงานของโมเดลทั้งข้อมูลการฝึก, โมเดล, เนื้อหาที่สร้างขึ้นและแอปพลิเคชัน เพิ่มความมั่นใจได้ว่าจะเป็นโมเดลและแอปพลิเคชันที่มีความเสถียร ปลอดภัย และสอดคล้องกับข้อกำหนด

เกาส์ดีบี (GaussDB): คลังข้อมูลยุคใหม่พร้อมใช้งาน ทั้งยังเปี่ยมประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, ความยืดหยุ่นและความอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังปรับใช้งานและโยกย้ายได้ง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาปัตยกรรมแบบกระจายที่รองรับความต้องการระดับองค์กร ยกระดับความพร้อมใช้งานด้วยจุดกู้คืนข้อมูล (RPO) คลัสเตอร์คู่แบบ zero intra-city, แยกการขัดข้องระหว่างซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อย่างสมบูรณ์โดยไม่หยุดการทำงาน เกาส์ดีบี (GaussDB) ได้รับการรับรองความปลอดภัยระดับ CC EAL4+ ซึ่งเป็นระดับความปลอดภัยสูงสุดในอุตสาหกรรม สำหรับระบบอัตโนมัติ เกาส์ดีบี (GaussDB) ยกระดับการโยกย้ายฐานข้อมูล การใช้งาน และการโยกย้ายในรูปแบบฐานข้อมูล AI เนทีฟชุดแรกของโลก

ดร. นิโคส เอ็นตาร์มอส ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฐานข้อมูล สถาบันซอฟต์แวร์ส่วนกลางของหัวเว่ย กล่าวย้ำว่า GaussDB เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ด้านฐานข้อมูลของหัวเว่ยเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี นอกจากนี้ศักยภาพการบริการระดับองค์กรอันเป็นที่ยอมรับมานานกว่า 30 ปี GaussDB จึงเป็นตัวเลือกที่เหนือกว่าสำหรับผู้ใช้คลาวด์ทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการด้านธุรกรรมและการประมวลผลข้อมูลขั้นสูง

การผสานระหว่าง Data และ AI (Data-AI convergence): ปลดปล่อยศักยภาพเต็มรูปแบบของโมเดลพื้นฐาน จาก “Data+AI” เป็น “Data4AI และ AI4Data” หัวเว่ยคลาวด์ เลคฟอร์เมชัน (Huawei Cloud LakeFormation) รวมข้อมูลมหาศาลจาก Data Lake หรือคลังสินค้าหลายแห่ง และสามารถใช้ชุดข้อมูลเพียงชุดเดียวกับกลไกการวิเคราะห์ข้อมูลและกลไก AI อื่น ๆ โดยปราศจากการโยกย้ายข้อมูล ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง DataArts, ModelArts และ CodeArts จากนั้นจัดระเบียบและกำหนดข้อมูลและขั้นตอนการทำงานของ AI ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะขับเคลื่อนการฝึกอบรมแบบออนไลน์และการอนุมานด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์ กลยุทธ์ AI4Data ทำให้การกำกับดูแลข้อมูลมีความอัจฉริยะยิ่งขึ้น ตั้งแต่การบูรณาการข้อมูล การพัฒนา ไปจนถึงการจัดการคุณภาพและสินทรัพย์

โครงสร้างพื้นฐานสำหรับสื่อ (Media infrastructure): หัวเว่ย คลาวด์ สร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสื่อที่เปี่ยมประสิทธิภาพเพื่อรองรับยุคทองของการสร้างคอนเทนต์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AIGC) และอินเทอร์เน็ต 3 มิติ (3D Internet) ที่มอบประสบการณ์สดใหม่และพลิกโฉมวงการโดยสิ้นเชิง เจมี หลู ประธานฝ่ายบริการสื่อหัวเว่ย คลาวด์ เผยว่า หัวเว่ย คลาวด์ ปรับโฉมและบูรณาการบริการด้านสื่อด้วยโซลูชันล้ำสมัยที่ออกแบบเฉพาะอุตสาหกรรม ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ Huawei Cloud MetaStudio รวมบริการผลิตคอนเทนต์ที่มาพร้อม Workspace และมนุษย์เสมือนจริงจาก AIGC ช่วยเพิ่มคุณภาพและย่นเวลาการผลิตเนื้อหา ในด้านประสบการณ์โซลูชัน Huawei Cloud Live, Low Latency Live และ SparkRTC มอบประสบการณ์ไลฟ์สดที่น่าจดจำ และในด้านการพลิกโฉมวงการสื่อ หัวเว่ย คลาวด์มอบบริการ AIGC และ 3D space ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ ทุกบริการดังกล่าวช่วยต่อยอดธุรกิจและยกระดับประสบการณ์การใช้งานไปอีกขั้น

การจัดการพื้นที่ใช้งาน (Landing Zone): ลูกค้าองค์กรใช้งานและจัดการทรัพยากรได้ดีขึ้นบนหัวเว่ย คลาวด์ ด้วยการบริหารแบบควบรวมทั้งบัญชีผู้ใช้ ข้อมูลส่วนตัว สิทธิ์การใช้งาน เครือข่าย การกำกับดูแล และการจัดการต้นทุน โดยระบบคลาวด์แบบ multi-tenancy ทำให้การทำงานร่วมกันทั้งด้านบุคลากร การเงิน ทรัพยากร สิทธิ์การใช้งานและการปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัยราบรื่นแบบไร้รอยต่อ

การใช้งานที่ยืดหยุ่น (Flexible deployment): ศักยภาพและบริการของผานกู่ โมเดล (Pangu Model) สามารถใช้งานได้ในระบบคลาวด์สาธารณะ ระบบคลาวด์ส่วนตัวและระบบคลาวด์แบบไฮบริด กล่าวคือลูกค้าสามารถสร้างและใช้งานแพลตฟอร์ม AI และโมเดลพื้นฐานบนคลาวด์ส่วนตัวขององค์กรในศูนย์ข้อมูลบนหัวเว่ย คลาวด์ สแต็ก (Huawei Cloud Stack) ซึ่งเป็นโซลูชันคลาวด์แบบไฮบริด

นอกเหนือจากการเปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำทั้ง 10 ประการ หัวเว่ย คลาวด์ได้ย้ำกลยุทธ์การบูรณาการเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟและเทคโนโลยี AI เพื่อขับเคลื่อนความรุดหน้าด้านเทคโนโลยีและการใช้งาน AI อย่างกว้างขวางทั่วโลก ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ บรูโน จาง เปิดตัว Global Leap Program โดย Cloud Native Elite Club (CNEC) ภายใต้แนวคิด “เติบโตก้าวกระโดดด้วยคลาวด์เนทีฟและ AI” (Leap with Cloud Native × AI) เพื่อจุดประกายความคิดผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคนิค การอภิปรายเชิงลึกและหลักปฏิบัติสู่ความสำเร็จ

ณ งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส บาร์เซโลนา ประจำปี 2567 (Mobile World Congress 2024 – MWC) หัวเว่ยคว้ารางวัล GSMA Foundry Excellence Awards 2024 ในสาขาผู้ประสานงานในภาคอุตสาหกรรม (Industry Collaborator Award) จากคุณริชาร์ด ค็อกเคิล ผู้นำคนปัจจุบันของ GSMA Foundry โดยรางวัลบนเวทีระดับสากลครั้งนี้สะท้อนความร่วมมือของหัวเว่ยในนวัตกรรมหลากหลายด้านในปีที่ผ่านมา อาทิ เครือข่ายโทรคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี 5G New Calling ตลอดจนร่วมสนับสนุนการผนึกกำลังระหว่างพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรม โดยมีดร. ฟิลิป ซอง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่าย และนายลีโอ หม่า ประธานการตลาดคลาวด์คอร์เน็ตเวิร์กเป็นตัวแทนจากหัวเว่ยเพื่อขึ้นรับรางวัล

ในปีพ.ศ. 2566 หัวเว่ยได้ร่วมมือกับพันธมิตรอุตสาหกรรมชั้นนำหลายสิบรายเพื่อสนับสนุน GSMA Foundry ในหลากหลายโครงการที่มีนวัตกรรม ซึ่งรวมถึงโครงการ ‘ก้าวสู่โลกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: สร้างผลลัพธ์มากขึ้นจากการทำงานที่น้อยลง’ (Towards Green: Doing More with Less) และโครงการ ‘5G New Calling’ โดยโครงการดังกล่าวจะผนึกกำลังระหว่างผู้นำในอุตสาหกรรมชั้นนำเพื่อร่วมเผยแพร่กรณีศึกษาและสมุดปกขาวในหลายหัวข้อ โดย GSMA Foundry จัดการประชุมสุดยอดผู้นำหลายครั้งผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเร่งรับมือกับความท้าทายที่ภาคอุตสาหกรรมนี้กำลังเผชิญ

หนึ่งในนวัตกรรมล่าสุดที่ประสบความสำเร็จในโครงการ GSMA Foundry คือโซลูชันการพัฒนาด้านกรีน 1-2-3 หรือเครือข่ายการสื่อสารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมอบ “1” หนึ่งดัชนีให้กับลูกค้าต่อ “2” สองสถานการณ์ประหยัดพลังงาน (ระหว่างสถานะการทำงานและสถานะหยุดนิ่ง) และโซลูชันสถาปัตยกรรม “3” สามระดับ (ครอบคลุมเรื่องการดำเนินงาน, เครือข่ายและไซต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) โดยโซลูชันดังกล่าวได้เพิ่มศักยภาพผู้ให้บริการ เพื่อส่งมอบเครือข่ายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสามารถขยายเครือข่ายและข้อเสนอการบริการที่ครอบคลุมไปพร้อม ๆ กัน นับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผลักดันให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมบรรลุเป้าหมายด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

โซลูชัน 1+3+N สำหรับบริการโทรออกหรือรับสายด้วยเสียงของหัวเว่ย ถือเป็นอีกหนึ่งผลลัพธ์สำคัญจากการผนึกกำลังกับ GSMA Foundry โดยได้มอบศักยภาพการใช้งานเครือข่ายที่รองรับการใช้งานด้านเสียงและมัลติมีเดีย (IP Multimedia Subsystem - IMS) รวมถึงแพลตฟอร์ม New Calling (NCP), ฟังก์ชันด้านสื่อที่มีการควบรวม (Unified Media Function - UMF) และฟังก์ชันการสื่อสารหลากหลายช่องทาง (Multimodal Communications Function - MCF) โดยศักยภาพการใช้งานดังกล่าวสามารถรองรับบริการ New Calling ได้หลายรูปแบบ อาทิ การโทรด้วยเสียงหรือวิดีโอความละเอียดสูง, ประสบการณ์ใช้งานแบบมีส่วนร่วม, และการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ โดยแพลตฟอร์มการใช้งานดังกล่าวสามารถมอบศักยภาพเหนือระดับของเครือข่าย, รองรับการสื่อสารในหลากหลายสถานการณ์ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแนวดิ่งเพื่อพัฒนาบริการใหม่ที่ตอบโจทย์เรื่องการแปลแบบเรียลไทม์, ความบันเทิงระหว่างการโทร (fun calling), การโทรพร้อมวิดีโอ และการถอดเสียงพูดเป็นข้อความแบบอัตโนมัติ

ด้วยเครือข่ายเหล่านี้ ผู้ใช้งานทั่วไปจะสามารถเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การโทรติดต่อด้วยเสียงและวิดีโอที่เหนือระดับ ในขณะที่ผู้ใช้งานระดับองค์กรจะสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าทางธุรกิจและสังคมให้เพิ่มขึ้นได้

GSMA Foundry คือแพลตฟอร์มส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาธุรกิจ ที่มุ่งปลดล็อกศักยภาพเครือข่ายการเชื่อมต่อ โดยสมาชิกสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) และผู้เล่นในอุตสาหกรรมสามารถร่วมระดมความคิดเพื่อพัฒนาโซลูชันที่ใช้งานได้จริง เพื่อรับมือกับความท้าทายในปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที, บ่มเพาะแนวคิดสดใหม่ผ่านการทดลองเชิงพาณิชย์, และขยายโซลูชันที่เปี่ยมประสิทธิภาพทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อปูทางให้แก่อนาคตทางดิจิทัล

หัวเว่ยให้การสนับสนุนแพลตฟอร์ม GSMA Foundry มาอย่างยาวนาน สืบเนื่องจากการมุ่งส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ของ 5G หัวเว่ยมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและผู้ให้บริการเครือข่าย ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีไอซีทีในสถานการณ์การใช้งานและภาคอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มขึ้น

โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส บาร์เซโลนา ประจำปี พ.ศ. 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 กุมภาพันธ์ ณ เมืองบาร์เซโลนา, ประเทศสเปน, โดยหัวเว่ยจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันสุดล้ำที่บูธ 1H50 ใน Fira Gran Via ฮอลล์ 1

เพื่อรองรับการเปิดตัว 5.5G เชิงพาณิชย์ในปีพ.ศ. 2567 หัวเว่ยจับมือผู้ให้บริการและพาร์ทเนอร์ทั่วโลกเพื่อค้นหานวัตกรรมใหม่ด้านเครือข่าย, เทคโนโลยีคลาวด์, และระบบอัจฉริยะ เราจะร่วมขับเคลื่อนธุรกิจ 5G และส่งเสริมอีโคซิสเต็มอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต เพื่อก้าวสู่ยุคใหม่แห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ สามารถดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2024

Page 1 of 25
X

Right Click

No right click