เคทีซีเปิดเวทีเสวนา “เคทีซีปลุกกระแสท่องเที่ยวยั่งยืนจากไทยสู่เวทีโลก” อุตสาหกรรมการบินและผู้ประกอบการโรงแรม พร้อมปรับตัวรับเทรนด์การท่องเที่ยวยั่งยืน แนะภาครัฐหามาตรการจูงใจสายการบิน เปลี่ยนใช้เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ขณะที่หน่วยงานท้องถิ่นเดินหน้าสร้างการท่องเที่ยวยั่งยืนครอบคลุมเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมชูโมเดลการท่องเที่ยวประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตัวอย่างการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ด้านเคทีซีร่วมกับพันธมิตรจัดกิจกรรมพิเศษพร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตลอดทั้งปี

นายยงยุทธ ลุจินตานนท์ ผู้จัดการภูมิภาคประจำประเทศไทย ลาว กัมพูชา และ เมียนมาร์ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (lATA: International Air Transportation Association) กล่าวในเวทีเสวนา “เคทีซีปลุกกระแสท่องเที่ยวยั่งยืนจากไทยสู่เวทีโลก” ว่า IATA ทำงานร่วมกับสายการบินทุกสายในการพัฒนาธุรกิจการบินให้เกิดความยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ทั่วโลกภายในปี 2593 โดยเป้าหมาย Net Zero ดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินได้เห็นความสำคัญของเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF แต่การเปลี่ยนมาใช้ SAF สายการบินจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 2 – 5 เท่า ดังนั้นหากรัฐบาลสามารถรับรองเครื่องบินและเครื่องยนต์ใหม่เพื่อให้สามารถใช้ SAF ได้ 100%  และพิจารณาการใช้สิทธิพิเศษจูงใจในการสนับสนุนการใช้ SAF ในอุตสาหกรรมการบินได้ อาจส่งผลให้ทุกสายการบินเปลี่ยนมาใช้ SAF ได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้นโดยไม่กระทบต่อต้นทุนมากนัก

นางสาวเคอรี่ ลุย ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค เปิดเผยว่า การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญของคาเธ่ย์เสมอมาเนื่องจากเป้าหมายของแบรนด์คือการขับเคลื่อนผู้คนไปข้างหน้าในชีวิต เรามุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง และบุกเบิกเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบินให้มากขึ้น เราดำเนินหลากหลายวิธีการเพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้บรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และนำไปสู่การเดินทางที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการชดเชยคาร์บอนที่ดำเนินการโดยการคำนวณการปล่อยคาร์บอน (Fly Greener) / โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของอากาศยานและการทำงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Corporate Sustainable Aviation Fuel) / การใช้ปลอกหมอนและผ้านวมทำจากผ้าฝ้ายที่ยั่งยืน 100% ในชั้นธุรกิจ การใช้ผ้าห่มที่ทำจากขวดพลาสติกรีไซเคิลและพรมจากวัสดุเหลือใช้ไนลอนที่นำกลับมาใช้ใหม่ การลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวบนห้องโดยสารบนเครื่องบินชั้นประหยัด โดยในปี 2565  สายการบิน ฯ สามารถลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวได้ถึง 56% ต่อผู้โดยสาร 1 คน และจะยังคงลงมือทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนต่อไปในปี 2567

สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ได้ดำเนินการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นฟื้นฟูถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ตลอดจนรับมือกันแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสายการบินฯ ได้ปลูกต้นไม้ที่ป่าชายเลนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2564 เป็นจำนวนกว่า 21,000 ต้น  และในปี 2567 นี้ สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ในประเทศไทยก็จะร่วมมือกับเคทีซีในการปลูกต้นไม้ที่ป่าชายเลนในจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 4,000 ต้น

ดร.วาสนา พงศาปาน ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า อพท. ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษฯ โดยบูรณาการและร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน มีความสมดุลใน 3 มิติ ทั้ง“เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม Co-creation & Co-own ขณะนี้มี 9 พื้นที่พิเศษฯ ที่ได้รับการประกาศแล้ว ซึ่ง อพท. ได้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเกิดผลเป็นรูปธรรมแล้ว ได้แก่

1) เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) ใช้พัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษฯ จนได้รับรางวัล Green Destinations Top 100 Stories แล้ว 5 แห่ง

 2) ร่วมขับเคลื่อนเมืองสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UCCN) เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แล้ว 4 เมือง  

3) ส่งเสริมมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STMS) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว 86 องค์กร

4) เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-Based Tourism หรือ CBT Thailand) ได้พัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้แก่ชุมชน CBT เข้าสู่กระบวนการพัฒนาและด้านการตลาด รวมถึงเครื่องมือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) มาอย่างต่อเนื่องและในปี 2567 ตั้งเป้าหมายสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่พิเศษไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท

นางสาวสุวิมล งามศรีวิโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย เซเรนาต้า โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กรุ๊ปและตัวแทนสมาคม TEATA สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) กล่าวว่า ปัจจุบันเทรนด์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเริ่มมองหาการท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น โดยผู้ประกอบการและบริษัทนำเที่ยวที่ให้บริการนักท่องเที่ยวต่างชาติ  (Inbound Tour) กว่า 50% ของตลาดนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจะมีการตรวจประเมินสถานที่พักด้านคุณธรรม / สังคมชุมชน / ความปลอดภัย และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก่อนเซ็นสัญญานำนักท่องเที่ยวเข้าพักสะท้อนให้เห็นว่านักท่องเที่ยวต้องการสร้างประสบการณ์ที่ดีในการท่องเที่ยวโดยเน้นกิจกรรมท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) และคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) 

สำหรับโรงแรมในเครือเซเรนาต้า โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กรุ๊ปถือเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวยั่งยืน (Sustainable Tourism) ตั้งแต่ปี 2519 โดยให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น ร่วมจัดตั้งสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.)  / ร่วมดำเนินโครงการ TEATA “เที่ยวไทยไร้คาร์บอน 50 เส้นทาง”  (Eco Friendly – Low Carbon) / ร่วมโครงการ Stay Green Stay with SERENATA  มอบส่วนลดสำหรับสมาชิกที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) ร่วมกับ KTC World Travel Service

นางสาวธันย์ชนก น่วมมะโน ผู้แทนประจำประเทศไทย การท่องเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ สถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า การท่องเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ได้มีการพัฒนากลยุทธ์และปลูกฝังแนวคิดสวิสเทเนเบิล (Swisstainable) ตั้งแต่ปี 2562 เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมายให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่สุดในโลกและเป็นจุดมุ่งหมายของนักเดินทางซึ่งจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์และยังเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอีกด้วย สำหรับยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของสวิตเซอร์แลนด์(Swisstainable Strategy) โดยการท่องเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ได้เชิญกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งภาคขนส่ง / ภาคอุตสาหกรรม / โรงแรมที่พัก / ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เข้าร่วมแคมเปญ ซึ่งทุกองค์กรจะได้รับการอนุมัติให้ใช้สัญลักษณ์สวิสเทเนเบิล (Swisstainable) ตามระดับความมุ่งมั่นของแต่ละองค์กร โดยปี 2566 ที่ผ่านมามีองค์กรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมทั้งหมด 2,500 องค์กรและตั้งเป้าหมายภายในสิ้นปี 2567 จะมีองค์กรเข้าร่วมมากถึง 4,000 องค์กร

ขณะที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสวิตเซอร์แลนด์สามารถร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้ เช่น การบริโภคผลิตภัณฑ์ ผลผลิตจากท้องถิ่นที่ผลิตในสวิตเซอร์แลนด์ / สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติของสวิตเซอร์แลนด์อย่างแท้จริงทั้งภูเขา ทะเลสาบ / เลือกการเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ไฟฟ้า และอยู่ต่อรวมถึงเข้าพักนานขึ้น (Stay Longer) เพื่อซึมซับธรรมชาติและเพิ่มประสบการณ์ท้องถิ่นในสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศจะคงความดั้งเดิมของการท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวเลือกสวิตเซอร์แลนด์เป็นจุดหมายปลายทางในอนาคตตามพันธกิจ “ธรรมชาติของเราเป็นแรงขับเคลื่อนให้คุณ”  (Our Nature Energizes You.)

มิสเตอร์อัวร์ส เคสเลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการรถไฟยุงเฟรา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเริ่มมองหาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนมากขึ้น กลุ่มบริษัทรถไฟยุงเฟรา (Jungfrau Railway Group) จึงได้พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์และแสดงให้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวและความยั่งยืนสามารถทำคู่ขนานไปด้วยกัน ทั้งนี้ได้กำหนดกลยุทธ์การใช้ทรัพยากรนิเวศอย่างยั่งยืนเช่น การใช้รถไฟและกระเช้าลอยฟ้า (Cable Car) ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมด 100% นอกจากนี้ได้เตรียมจัดตั้งกองทุนความยั่งยืนระยะเวลา 10 ปี สำหรับการดูแลหมู่บ้านกรินเดิลวาลด์ (Grindelwald) และหมู่บ้านเลาเทอร์บรุนเนน (Lauterbrunnen) กรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีแผนที่จะสร้างระบบโซลาร์ขนาด 12 เฮกตาร์บนเทือกเขาแอลป์ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตพลังงานให้ได้ 12 กิโลวัตต์ – ชั่วโมงต่อปี เพื่อจัดหาพลังงานให้กับ 3,000 ครัวเรือนในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ราคาไฟฟ้าแพงที่สุดเพราะมีความต้องการใช้มากที่สุด

นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหาร KTC World Travel Service และการตลาดหมวดสายการบิน “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า KTC World Travel Service หน่วยงานที่ดูแลและให้บริการด้านการท่องเที่ยวให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี ได้วางกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ดังนี้

  1. การสร้างความตระหนักรู้ให้กับนักท่องเที่ยวกับประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ท้องถิ่น ธรรมชาติและชุมชน ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของเคทีซี เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวชุมชน ร้านค้า ร้านอาหารท้องถิ่น ร้านขายของฝาก ที่พักชุมชน ให้กับสมาชิกได้เข้าถึงข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวกมากขึ้น
  2. การจัดทำโครงการนำร่อง “ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกับ KTC WORLD” ร่วมกับพันธมิตรท่องเที่ยวกว่า 10 รายทั้งในประเทศและต่างประเทศ คัดเลือกผลิตภัณฑ์กรีนโปรดักส์ด้านการทางท่องเที่ยวที่สะท้อนถึงการลดการปล่อยคาร์บอน หรือการเดินทางท่องเที่ยวแบบสาธารณะและชุมชนมากขึ้น อาทิ บัตรรถไฟ บัตรรถราง รถเช่าไฟฟ้า (EV) และแพคเกจท่องเที่ยวชุมชน โดยทุกยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซีกับกลุ่มผลิตภัณฑ์กรีนโปรดักส์ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป สมาชิกจะได้รับคะแนนพิเศษ KTC FOREVER 1,000 คะแนน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
  3. การมีส่วนร่วมกับพันธมิตรสร้างประโยชน์และคืนผลประโยชน์สู่ทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม อาทิ การร่วมต่อยอดกับสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ภายใต้โครงการ “บิน1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น (1 Ticket 1 Tree) ในการพัฒนาความยั่งยืนผ่านการปลูกต้นโกงกางในพื้นที่ป่าชายเลน เมื่อจองตั๋วกับสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ทุกๆ 1 ใบ ผ่าน KTC World Travel Service เคทีซีจะช่วยสบทบร่วมปลูกต้นไม้เพิ่ม 1 ต้นตลอดปี 2567

อย่างไรก็ตาม เคทีซีมองว่าหากทุกหน่วยงานร่วมมือกันอย่างจริงจัง จะทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวรายใหม่ๆ พร้อมที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวที่เน้นความยั่งยืนได้หลากหลายและตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวมนั่นคือการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงและไปสู่ชุมชนอันเป็นรากฐานของความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้แข็งแรงได้ระยะยาว

นางสาวพัทธ์ธีรา  อนันต์โชติพัชร ผู้บริหาร KTC World Travel Service และการตลาดหมวดสายการบิน “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ขึ้นรับรางวัล “ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวดีเด่นประจำปี 2023” (Top Agent Award 2023) จากองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) โดยมีนางเคอิ  โดอิ ผู้อำนวยการบริหาร องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) สำนักงานกรุงเทพฯ เป็นผู้มอบรางวัล ทั้งนี้ KTC World Travel Service หรือศูนย์บริการเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวสำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี ได้ให้การสนับสนุนและ ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวญี่ปุ่น ในเส้นทางประเทศญี่ปุ่นให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยรวมถึงสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีอย่างต่อเนื่อง สำหรับในปีนี้ KTC World Travel Service ได้รับรางวัลดังกล่าวติดต่อกันเป็นปีที่ 5 โดยพิธีมอบรางวัลจัดขึ้นที่โรงแรมคาร์ลตัน สุขุมวิท เมื่อเร็วๆ นี้

นายณัฐสิทธิ์  สุนทราณู  ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในระหว่างที่สภาพเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว และเป็นช่วงที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้จ่ายในหลายเทศกาลไตรมาสแรกนี้เคทีซีจึงต้องการแบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้กับผู้บริโภค โดยในหมวดของการช้อปออนไลน์ที่มีกลุ่มผู้บริโภคตอบรับมากขึ้นเรื่อยๆ เราได้เตรียมความคุ้มค่าไว้มอบให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี และสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ในแคมเปญ 3.3 ลดใหญ่ต้นปี เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำสิทธิพิเศษในหมวดช้อปออนไลน์ ซึ่งมี “ช้อปปี้” (Shopee) เป็นพันธมิตรที่ทำธุรกิจร่วมกันมายาวนาน และเป็นอีคอมเมิร์ซเบอร์ต้นๆ ที่ครองใจนักช้อปชาวไทย โดยในปีที่ผ่านมา 5 หมวดสินค้ายอดนิยมที่มีการใช้จ่ายด้วยบัตรเคทีซีผ่านช้อปปี้ ได้แก่ ของใช้ในบ้าน ความงามและของใช้ส่วนตัว สุขภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์มือถือและแก็ดเจ็ท (Gadget)” 

“สำหรับสิทธิพิเศษที่เคทีซีจัดเตรียมให้กับสมาชิกในแคมเปญดังกล่าว คือ 1) แลกรับโค้ด Shopee มูลค่า 333 บาท  โดยใช้ 1,699 คะแนน KTC FOREVER แลกรับผ่านแอปพลิเคชัน “KTC Mobile” และนำโค้ดส่วนลดไปกรอกในแอป “ช้อปปี้” ก่อนการชำระด้วยบัตรเครดิตเคทีซี ระหว่างวันที่ 3 มีนาคม 2567 – 31 มีนาคม 2567 หรือ 2) รับส่วนลดสูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปครบตามเงื่อนไขที่กำหนด สำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี และ บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” โดยสมาชิกฯ ยังสามารถรับบริการผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน (เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการ) ในวันที่ 3 มีนาคม 2567

“นอกจากนี้ สมาชิกฯ ยังสามารถรับโค้ดส่วนลดอีกมากมายจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 อาทิ ส่วนลดทุกวันพุธเที่ยงวัน / ส่วนลดเฉพาะร้านค้า Shopee Mall / ส่วนลดวันเงินเดือนออก (PAYDAY) และส่วนลดรายเดือน ช้อปคุ้มค่าและครบครันบนช้อปปี้ ผ่านแคมเปญ Shopee 3.3 ลดใหญ่ต้นปี โดยสามารถค้นหารายละเอียดโปรโมชันเพิ่มเติมได้ที่ ktc.promo/shopee

ผู้สนใจสมัครบัตรเครดิตเคทีซีทุกประเภท คลิก https://ktc.today/apply-card สมัครบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” คลิก https://ktc.today/KTC-PROUD หรือติดต่อ KTC PHONE โทร. 0-2123-5000 หรือศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรเครดิตควรใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี สำหรับผู้ถือบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ควรกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว 

เมื่อเร็วๆ นี้ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดคอร์สปันความรู้ในหัวข้อ Generative AI” ให้กับบุคลากรเคทีซี เพื่อตอกย้ำความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล โดยได้เชิญนายวิฑูรย์  ช่วงพงศ์พันธ์  ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นพ่อมด AI มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทำความรู้จักกับ Generative AI การใช้ CHAT GPT กับการทำงาน การใช้ Prompt และเครื่องมือ AI โดยมีพนักงานเคทีซีเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกว่า 100 คน ณ ห้องประชุมใหญ่ “เคทีซี“ ชั้น 11 อาคารสมัชชาวาณิช 2

เคทีซีมุ่งพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ให้กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ด้วยการพัฒนาทักษะแบบ Soft Skills ที่ช่วยให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ และ Hard Skills ทักษะความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ด้วยความเชื่อมั่นว่าการพัฒนาคนในองค์กรให้มีคุณภาพ จะสามารถส่งต่อผลิตภัณฑ์และบริการที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลนี้ การเสริมสร้างความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเป็นการช่วยเปิดมุมมองในการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มศักยภาพขององค์กร  และพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับสมาชิก

นางสาวปิยะสุดา แคว้นนนทรีย์ (ซ้าย) ผู้บริหารสูงสุด สายงานทรัพยากรบุคคล “เคทีซี หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนผู้บริหารและพนักงานมอบสิ่งของรับบริจาคจากกิจกรรม "เคลียร์บ้าน ได้บุญ ปลายปี" เพื่อโครงการ "เหลือ - ขอ" มูลนิธิบ้านนกขมิ้น โดยเปิดรับบริจาคสิ่งของเหลือใช้จากผู้บริหารและเพื่อนพนักงาน เช่น เสื้อกันหนาวมือสอง เสื้อผ้าเด็ก ผู้ใหญ่ กระเป๋าและรองเท้า เพื่อส่งต่อให้กับน้องๆ เด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน เด็กด้อยโอกาส และกลุ่มผู้เปราะบาง ที่มูลนิธิบ้านนกขมิ้น เนื่องในโอกาสวันเด็กพร้อมมอบอุปกรณ์การเรียน กล่องดินสอ ดินสอสี สมุดวาดเขียน ขนมและนม ให้กับทางมูลนิธิฯ โดยมีนายชัยรัตน์ มิดชิด (ขวา) ผู้จัดการฝ่ายระดมทุน มูลนิธิบ้านนกขมิ้น เป็นผู้รับมอบ ณ มูลนิธิบ้านนกขมิ้น เขตบึงกุ่ม เมื่อเร็วๆ นี้

มูลนิธิบ้านนกขมิ้น ให้ความสำคัญกับคำว่า “ครอบครัว” เพราะว่าครอบครัว คือ รากฐานชีวิตของมนุษย์ทุกคน ซึ่งการเลี้ยงดู และสภาพแวดล้อม จะส่งผลต่อการเจริญเติบโต การพัฒนาบุคลิกภาพ นิสัยและความประพฤติของบุคคล มูลนิธิฯ จึงให้ความสำคัญและดูแลเด็กๆ โดยเติมเต็มครอบครัวใหม่ให้กับเด็ก และมีเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิบ้านนกขมิ้นที่เป็นคู่สามี-ภรรยา ทำหน้าที่เป็นพ่อแม่ให้กับเด็กๆ ในหนึ่งครอบครัวจะมีสมาชิกที่เป็นลูกประมาณ 10 คน ดูแลซึ่งกันและกันเหมือนกับครอบครัวทั่วไป เด็กทุกคนจะได้รับความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่อย่างใกล้ชิด ได้รับการอบรมสั่งสอนด้วยความรักและเด็กๆ จะได้รับโอกาสทางการศึกษา พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนกิจกรรมด้านอื่นๆ เช่น ดนตรี กีฬา เพื่อจะได้นำความรู้ความสามารถที่ได้รับ ไปต่อยอดเป็นอาชีพได้ในอนาคต และสามารถออกไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ

โครงการ “เหลือ-ขอ” โดย “ครูอ๊อด ขออาสา” เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันทำบุญ โดยขอรับบริจาคสิ่งของ อาทิ เสื้อผ้า หนังสือ รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า เพื่อเปลี่ยนเป็นค่าเทอมให้เด็กด้อยโอกาสในสังคม โดยสามารถนำมาส่งที่โครงการฯ หรือส่งทางไปรษณีย์ หรือแจ้งความประสงค์ให้มูลนิธิฯ ไปรับของบริจาคที่บ้านได้เช่นกัน

X

Right Click

No right click