เติบโตภายใต้หลัก 2 ดี “สินค้าดี-พันธมิตรดี” ดันยอดขายปี’66 โตทะลุ 260 ล้าน  

คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้าน ประกาศปี’67 พร้อมเดินหน้าสนับสนุน ส่งเสริม SME ภายใต้ "กลยุทธ์ 3 ให้” ต่อเนื่อง

การพัฒนา SME อาจไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ก็มีปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของเอสเอ็มอีที่น่าสนใจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาของผู้ประกอบการรายย่อยได้ เคล็ดลับหนึ่งที่สอดแทรกอยู่ในงานอบรมโครงการ “ตอกเสาเข็มเพื่อ SME” ปี 2567 ที่ทางศูนย์เซเว่น อีเลฟเว่น สนับสนุนเอสเอ็มอี ภายใต้การบริหารของซีพี ออลล์ หยิบยกขึ้นมาคือ “การสร้างแบรนด์” ได้จุดประกายให้เกิดคำถามต่อเนื่องที่เชื่อมโยงสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมีนัยยะสำคัญ

ผศ.ดร.วราภรณ์ คล้ายประยงค์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์ SME หนึ่งในวิทยากร ได้ขยายความเรื่องของ “การสร้างแบรนด์” สิ่งที่ SME ควรรู้ก่อนที่จะปั้นแบรนด์ให้ปัง เพื่อพิชิตใจผู้บริโภคอย่างน่าสนใจ โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันมีการแบ่งแยกประเภทลูกค้าตามพฤติกรรมของลูกค้า แทนแบ่งแยกตามอายุ (Generation) เนื่องจาก Digital เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิต และภาพเหล่านี้ยิ่งชัดเจนมากขึ้นหลังเหตุการณ์โควิด 19 โดยมีวางกรอบกลุ่มผู้บริโภคใหม่ดังนี้ กลุ่มที่น่าจับตามองคือกลุ่ม Generation C (Connected Generation) ซึ่งมีประมาณ 75% ของประชากรวัยทำงาน ต่างกับ Generation X, Y และ Z ในอดีต ตรงที่อายุไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ

Gen C กลุ่มนี้จึงไม่ได้ถูกจำกัดด้วยอายุ แต่มุ่งเน้นไปที่ทัศนคติและกรอบความคิดในการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับไลฟ์สไตล์ จากข้อมูล Parachute Digital. 2024 พบว่า กลุ่ม Gen C ส่วนใหญ่จะเสพข้อมูลผ่านเว็บไซต์โซเซียลมีเดีย โดย 42% ใช้แท็บเล็ตขณะดูทีวี และ 64% ของเวลาบนมือถือถูกใช้ไปกับ Application ต่างๆ เรียกว่า กลุ่ม Gen C มีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยไม่เพียงแต่บริโภคเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังสร้าง content ขึ้นมาด้วย

จากการวิจัยของ Think with Google พบว่า 90 % ของผู้บริโภค Gen C สร้างเนื้อหาบนโลกออนไลน์อย่างน้อยเดือนละครั้ง การแบ่งปันชีวิตกับโลกดิจิทัลผ่านเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter และ Instagram ความคิดสร้างสรรค์และกรอบความคิดดิจิทัลคือสิ่งที่ทำให้คน Gen C แตกต่างจากคนรุ่นอื่นๆ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คนเหล่านี้คือคนที่กิน นอน และหายใจผ่านสื่อดิจิทัล (ข้อมูลจาก : Appleton. 2024) ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อกลุ่ม Gen C มีขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่จะทำอย่างไรเพื่อให้เข้าถึงคนกลุ่มนี้ หนึ่งในวิธีที่เห็นผลและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนก็คือ “การสร้างแบรนด์” โดยการสร้างแบรนด์ในสมัยนี้ง่ายและสะดวกสบายกว่าเมื่อก่อนมาก แบรนด์ที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

1.ทัศนคติในเชิงบวกกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง : การมองโลกในแง่ดีและสนับสนุนผู้บริโภคด้วยการสร้างมูลค่าเชิงบวกกับการขายที่ลำบากจะเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความมั่นใจและสร้างความสัมพันธ์ในแบรนด์ เช่น ผู้ประกอบการจำหน่ายพลาสเตอร์ปิดแผล ซึ่งจะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อเกิดบาดแผล หากผู้ประกอบการมีการนำข้อความดีๆหรือออกแบบลายที่ดูสดใส ก็จะช่วยสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่ดีได้

2.มีความเป็นมิตร : ผู้บริโภคกำลังมองหาความไว้วางใจและมูลค่าในการซื้อสินค้า ที่มากกว่ามูลค่าทางตัวเงิน ผ่านการให้ความใส่ใจผู้บริโภค เช่น บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริการด้วยใจ ดังนั้นเรื่องของคุณภาพ ความปลอดภัย และความสะดวกจึงยังคงสำคัญ แม้ว่าจะมีความอ่อนไหวต่อราคาเพิ่มขึ้น เช่น ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่คนไม่สามารถออกมาจับจ่ายซื้อสินค้าได้ ผู้ประกอบการก็มีบริการจัดส่งแบบเดลิเวอรี่ หรือมีการสอบถามเพื่อแสดงความห่วงใย

3.ผสานเทคโนโลยีทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน : เมื่อกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในตลาดออนไลน์ ผู้ประกอบการก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเข้าไปสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางนี้ ซึ่งปัจจุบันมีหลากหลายแพลตฟอร์มออนไลน์ให้เลือกทำตลาด และมีค่าใช้จ่ายไม่สูง เหมาะกับผู้ประกอบการ SME หน้าใหม่ให้ได้ทำตลาดและสร้าง  แบรนด์ โดยผู้ประกอบการจะต้องศึกษารูปแบบและวิธีการขายในแต่ละแพลตฟอร์มให้ดี เพื่อสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

4.ให้ความสำคัญกับงานและชีวิต : การที่กลุ่ม Gen C เข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลขององค์กร ดังนั้น หากแบรนด์มีการสร้างการตระหนักรู้ถึงความใส่ใจขององค์กรที่มีต่อพนักงาน ก็จะยิ่งทำให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น เพราะความสุขของพนักงานที่มีต่อการทำงานจะสะท้อนออกมาผ่านตัวสินค้าและบริการนั่นเอง

5.ให้ความสำคัญกับสังคม : ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และต้องการเห็นธุรกิจดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ กลุ่ม Gen C มักจะค้นหาข้อมูลของผู้ประกอบการและที่มาของสินค้าว่า สร้างผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่ รวมถึงมีการทำกิจกรรมหรือโครงการดีๆ เพื่อตอบแทนสังคมหรือรักษาสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างมาก

หากดำเนินการสร้างแบรนด์ครบทั้ง 5 เรื่องแล้ว ลำดับถัดไปคือการเลือกช่องทางในการสร้างแบรนด์ ผู้ประกอบการควรเลือกจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีการการันตีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางออนไลน์ที่เป็นสื่อกลางในการขายสินค้าจำนวนมาก หากผู้ประกอบการสร้างแบรนด์ผ่านช่องทางขายออนไลน์ของตัวเอง ก็สามารถการันตีสินค้าได้เช่นกัน และต้องมีการสื่อสารกับลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความพึงพอใจ

LINE for Business ตอกย้ำผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อธุรกิจ มุ่งเป็นเพื่อนร่วมทางเคียงข้าง SME ไทย เดินหน้าสู่ปีที่ 9 ในการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้งาน LINE เพื่อธุรกิจ เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ LINE เพื่อช่วยเหลือให้ความรู้แก่ SME ไทยเรื่องการทำธุรกิจในโลกดิจิทัล ล่าสุดเปิดตัว LINE Certified Coach ประจำปี 2567 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการคัดเลือกและรับรองจาก LINE พร้อมเดินสายให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำแบบจัดเต็ม สู่ทุกธุรกิจ SME ทั่วประเทศไทยตลอดปี 2567 นี้!

LINE Certified Coach เป็นทีมผู้เชี่ยวชาญการใช้งาน LINE เพื่อธุรกิจที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อส่งมอบความรู้ ให้คำปรึกษาแก่ SME ไทยในการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์ม LINE ได้อย่างเต็มศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน LINE Official Account การลงโฆษณาผ่าน LINE Ads การสร้างหน้าร้านออนไลน์ ปิดการขายผ่าน LINE SHOPPING รวมถึงเครื่องมือและโซลูชั่นอื่นๆ บน LINE โดยโค้ชทุกท่านผ่านการคัดเลือกมาอย่างเข้มข้น ทั้งในรูปแบบการทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์ เพื่อให้มั่นใจถึงทักษะในการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ และความเข้าใจในเทคโนโลยีต่างๆ ของ LINE พร้อมความสามารถในการแนะนำ ให้คำปรึกษา นำเสนอกลยุทธ์ที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาธุรกิจให้ SME ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทัศนคติ และความมุ่งมั่นในการเติบโตในฐานะพันธมิตรของ LINE อย่างแท้จริง

สำหรับปีนี้ มีผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น 34 ท่านที่ผ่านการคัดเลือกเป็น LINE Certified Coach โดยมีทั้งโค้ชผู้คร่ำหวอดจากปีที่แล้ว และโค้ชดาวรุ่งหน้าใหม่อีกมากมาย ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่การเป็น LINE Certified Coach ในปีนี้ นับเป็นอีกหนึ่งปีที่ LINE ได้โค้ชที่มีทักษะ ความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย อาทิ เจ้าของธุรกิจ ที่ปรึกษาธุรกิจ คนรุ่นใหม่วัย Young Gen เป็นต้น เสริมแกร่งให้กองทัพดิจิทัลกูรูจาก LINE สามารถส่งมอบความรู้ ความเชี่ยวชาญให้กับ SME ไทยได้อย่างครอบคลุม และแตกต่างกันไปตามแต่เฉพาะลักษณะของธุรกิจ

LINE Certified Coach ประจำปี 2567 ทั้ง 34 ท่าน แบ่งประเภทการให้คำปรึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : กลุ่มโค้ชเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ จำนวน 29 ท่าน เน้นให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์การตลาด การใช้งานเครื่องมือต่างๆ บนแพลตฟอร์ม LINE ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน LINE Official Account การใช้งาน LINE Ads และการใช้งานโซลูชั่นอื่นๆ บน LINE เพื่อการทำธุรกิจ การตลาด การขาย สร้างธุรกิจให้เติบโต

กลุ่มที่ 2 : กลุ่มโค้ชผู้เชี่ยวชาญด้าน API จำนวน 5 ท่าน  เน้นให้คำแนะนำในเชิงเทคนิค สำหรับการสร้าง หรือการใช้งานโซลูชั่นต่างๆ ในเชิงลึก เพื่อเชื่อมต่อข้อมูล เชื่อมต่อระบบต่างๆ มาสู่แพลตฟอร์ม LINE รวมถึงการสร้าง Chatbot เพื่อการปิดการขายที่ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ LINE ยังได้นำเสนอ Recommended Coach หรือโค้ชที่ได้รับการแนะนำจาก LINE เป็นพิเศษสำหรับปี 2567 จำนวน 8 ท่าน โดยเป็นกลุ่มโค้ชที่ LINE เห็นถึงศักยภาพอันโดดเด่นตลอดปี 2023 ที่ผ่านมา ด้วยประสบการณ์การให้ความรู้ คำปรึกษาแก่ธุรกิจ SME ได้อย่างหลากหลายและน่าประทับใจ รวมถึงมีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจในการทำธุรกิจดิจิทัลด้วยโซลูชั่นต่างๆ บนแพลตฟอร์ม LINE อย่างดีเยี่ยม

SME เตรียมตัวให้พร้อม แล้วเตรียมพบกับกิจกรรมอัดแน่น เพื่อเสริมความรู้ให้ผู้ประกอบการ SME ไทยตลอดทั้งปี ที่ทาง LINE for Business พร้อมเหล่า LINE Certified Coach เตรียมไว้ให้! ผู้ที่สนใจ สามารถติดตามอัปเดตข่าวสารกิจกรรมอันน่าสนใจเหล่านี้ได้ เร็วๆ นี้ที่ LINE Official Account: LINE for Business (@linebizth) หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ LINE for Business พร้อมติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ LINE Certified Coach ทั้ง 34 ท่านได้ที่ https://lineforbusiness.com/th/line-certified-coach/

Page 1 of 17
X

Right Click

No right click