สแกนเนีย เดินเกมบุกตลาดรถยูโร 5 ยกแรก ส่งรถบัสโดยสาร สแกนเนีย นิว บัส เจเนอเรชั่น ยูโร 5 พร้อมแชสซีส์ใหม่ทั้งคันสู้ศึก  หวังสร้างมาตรฐานใหม่ที่มากกว่าเครื่องยนต์ยูโร 5 ด้วยจุดเด่นด้านระบบความปลอดภัยสูงสุด การประหยัดน้ำมัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การันตีความมั่นใจให้กับลูกค้าด้วยการเป็นหนึ่งในผู้นำด้วยยอดใช้งานจริงจำนวนมากในยุโรปและอเมริกาใต้ตลอด 15 ปี คาดตลาดรถบัสปีนี้เป็นใจ ท่องเที่ยวฟื้น ความต้องการรถบัสบริการนักท่องเที่ยวพุ่ง ด้านผู้ประกอบการเร่งหารถเพิ่มเสริมทัพขยายธุรกิจ

นางสาวดวงใจ พงศ์ประเทืองสุข ผู้อำนวยการฝ่ายงานขาย และกลยุทธ์ประจำประเทศไทย บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด กล่าวถึงการบุกตลาดและการเปิดตัวรถโดยสารยูโร 5 ใหม่เป็นเจ้าแรกของไทยว่า การมาถึงของ สแกนเนีย นิว บัส เจเนอเรชั่น ยูโร 5 (Scania New Bus Generation EURO 5) พร้อมแชสซีส์ใหม่ จะเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งให้กับวงการรถโดยสารของไทย ซึ่งสแกนเนียมีเทคโนโลยีเครื่องยนต์ยูโร 5 ที่ใช้ในงานขนส่งจริงมามากกว่า 15 ปี โดยมีการพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องยนต์อย่างต่อเนื่องจนได้รับการยอมรับเป็นอันดับต้นทั่วโลก ทั้งในยุโรป อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง เอเชีย โอเชียเนีย และยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นในทั่วทุกภูมิภาคของโลก

สำหรับหัวใจที่ทำให้ สแกนเนีย ครองความเป็นอันดับหนึ่งรถบัสโดยสารพรีเมียมนั้น มาจากการผลิตที่คำนึงถึงทุกส่วนสำคัญของผู้ประกอบการ คือ ความคุ้มค่าตลอดอายุการใช้งาน ทั้งประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และความคงทนของแชสซีส์ ความคุ้มค่าด้านต้นทุนจากการประหยัดน้ำมัน ความแข็งแรง เป็นผู้นำเรื่องระบบความปลอดภัยสูงสุด ช่วยลดการศูนย์เสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน มีช่วงล่างที่ผู้โดยสารประทับใจในความนุ่มนวลมั่นคง ไม่เวียนหัวแม้จะนั่งแถวหลังสุดของรถโดยสาร นอกจากนั้นยังมีงานบริการดูแลรักษาที่มีคุณภาพครบวงจร ส่วนในด้านของความยั่งยืนก็ไม่ได้เป็นแค่การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแค่การปล่อยไอเสียที่น้อยลงด้วยเครื่องยนต์ยูโร 5 ที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ความยั่งยืนที่สแกนเนียทำเป็นความยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งลูกค้า คู่ค้า พันธมิตร สังคม และสิ่งแวดล้อม

ส่วนแนวโน้มของตลาดรถบัสโดยสารของไทยปีนี้ คาดว่าจะเป็นปีของการฟื้นตัวอย่างชัดเจน จากสัญญาณที่แสดงให้เห็นตั้งแต่ปลายปี 2566 ที่มีการเดินทางของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะ จนผู้ประกอบการรถบัสโดยสารด้านการท่องเที่ยว มีการติดต่อสอบถามเข้ามาเพื่อถามหาและจองรถบัสของสแกนเนียเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3ของปี 2566 และในปีนี้ภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ ทั้งการฟรีวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวจีนและคาซักสถานที่เริ่มเห็นผลอย่างชัดเจน จนประเมินว่าปีนี้อาจมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยสูงถึง 40 ล้านคน ถือเป็นปัจจัยบวกอย่างมากต่อตลาดรถบัสโดยสารและเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการที่ต้องการรถใหม่ เนื่องจาก สแกนเนีย นิว บัส เจเนอเรชั่น ยูโร 5 เป็นรถเทคโนโลยีล่าสุด ที่มีความคุ้มค่าสูง และจะสร้างแต้มต่อทางธุรกิจให้กับกลุ่มผู้ให้บริการรถโดยสารด้านการท่องเที่ยวอย่างแน่นอน

ด้านนายณรงค์ฤทธิ์ อิทธิสารรณชัย ผู้อำนวยการสนับสนุนการขายและโลจิสติกส์ บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด กล่าวถึงประสิทธิภาพของ สแกนเนีย นิว บัส เจเนอเรชั่น ยูโร 5 ที่มาพร้อมแชสซีส์ใหม่ว่า เป็นรถบัสโดยสารที่มีนวัตกรรมและคุณสมบัติเด่นล่าสุดของตระกูลรถยูโร 5 ด้วยเครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูงช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 8% เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ยูโร 3 ของสแกนเนีย มีระบบเทคโนโลยีบำบัดมลพิษในไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์ (Selective Catalytic Reduction : SCR) โดยเติมแอดบลู (AdBlue) หรือ สารยูเรียที่ไม่เป็นอันตรายในการบำบัดไอเสียให้แปรสภาพจากไนโตรเจนออกไซด์ที่เป็นก๊าซพิษเป็นไนโตเจนกับน้ำก่อนปล่อยออก ทำให้ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยลง ลด PM2.5 ได้มากถึง 5 เท่า เมื่อเทียบกับรถยูโร 3 และระบบเกียร์ใหม่ที่มีเกียร์เดินหน้าถึง 12 เกียร์ (จากเดิม 8 เกียร์เดินหน้า) ช่วยให้การขับขี่ราบรื่นนิ่มนวลจนผู้โดยสารไม่รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงขณะเปลี่ยนเกียร์

อีกสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับรถ สแกนเนีย คือ ระบบความปลอดภัยที่ดีที่สุดในตลาดประเทศไทย ใหม่ล่าสุดกับ ADAS (Advanced Driver Assistance Systems) เต็มระบบ มาตรฐานเดียวกับรถโดยสารที่ใช้ในยุโรป เช่น ระบบป้องกันรถออกนอกเลน (LDW) ระบบเตือนจุดอับสายตา(Blind spot warning) ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ(AEB) ที่เบรคจนถึงจุดหยุดนิ่ง ทำงานร่วมกับระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน (ACC) ที่ปรับความเร็วรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากรถคันหน้าจนถึงจุดหยุดนิ่งโดยอัตโนมัติ และยังออกตัวเองเมื่อจอดไม่เกิน 3 วินาที รวมถึงยังมีระบบความปลอดภัยเดิมที่ยังมีอยู่ครบและยังทำงานได้ดีขึ้น เช่น เบรกABS และ EBS เบรกไอเสียและเบรกเสริมรีทาร์เดอร์ ระบบป้องกันการพลิกคว่ำ (ESP) ระบบกันลื่นไถล (Traction Control) ฯลฯ ด้วยคุณสมบัติเด่นดังกล่าวทำให้ทั้งผู้โดยสารและผู้ขับขี่รถบัสโดยสารระดับพรีเมี่ยมยกให้รถบัสสแกเนียเป็นแบรนด์ยุโรปอันดับหนึ่งในตลาดประเทศไทย

สแกนเนีย นิว บัส เจเนอเรชั่น ยูโร 5 และแชสซีส์ใหม่ เปิดตัวพร้อมกัน ทั้ง รถ 6 ล้อ (4x2) ความยาว 12 เมตร 320 แรงม้า และ รถ 8ล้อ (6x2*4) ความยาว 13.50 เมตร 410 แรงม้า) และ รถ 8ล้อ(6x2*4) ความยาว 15 เมตร 410 แรงม้า นอกจากนี้สแกนเนียยังมีความพร้อมด้านผู้เชี่ยวชาญการต่อตัวถังคอยดูแลให้รถได้มาตรฐาน และเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย

ด้านแผนการตลาดนั้น นายพรต โชตินันทน์ ผู้จัดการฝ่ายขายรถโดยสารสแกนเนีย บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด กล่าวว่า ลูกค้ากลุ่มรถบัสโดยสารของ สแกนเนีย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรถประจำทาง กลุ่มรถท่องเที่ยว กลุ่มรถโรงงาน และกลุ่มรถที่มาจากการประมูลงานราชการหรือกลุ่มที่นำรถไปใช้ส่วนตัว ซึ่งสิ่งสำคัญของผู้ประกอบการรถโดยสาร คือ ความต้องการรถประสิทธิภาพสูงที่พร้อมทำงานได้ตลอดเวลา มีความปลอดภัยที่ได้รับความไว้วางใจจากนักขับและผู้โดยสาร และความคุ้มค่าในการดำเนินงาน เช่น การประหยัดน้ำมัน ซึ่ง สแกนเนีย มีความพร้อมตอบโจทย์งานขนส่งผู้โดยสารครบทุกมิติ จึงไม่แปลกที่จะเป็นตัวเลือกลำดับต้นของผู้ประกอบการ ซึ่งในช่วงแรกที่ยังไม่เปิดตัวอย่างเป็นทางการก็ได้รับความสนใจและมีความต้องการจากตลาดจองรถกันเข้ามาแล้ว

ส่วนงานบริการและอะไหล่นั้น สแกนเนีย ประเทศไทย พร้อม 100% เพราะ นิว บัส เจเนอเรชั่น ยูโร 5 มีการใช้งานแพร่หลายอยู่แล้ว ผนวกกับศูนย์บริการมาตรฐาน 11 สาขาทั่วประเทศบนเส้นทางขนส่งหลักและทีมช่างที่ได้รับการอบรมตามมาตรฐานการดูแลรักษารถอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานสูงสุดเสมอ รวมถึงมีสต๊อกอะไหล่อย่างเพียงพอต่อความต้องการ

สำหรับการเปิดตัว สแกนเนีย นิว บัส เจเนอเรชั่น ยูโร 5 สู่ตลาดนั้น จะมีการจัดกิจกรรมแนะนำ นิทรรศการ และสัมผัสรถตัวจริงตั้งแต่วันที่ 4-15 มีนาคม 2567 ที่ศูนย์บริการ สแกนเนีย บางนา และจะมีการขยายกิจกรรมแนะนำรถไปยังส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมีนาคม ที่ศูนย์หาดใหญ่ สัปดาห์ที่ 4 ที่ศูนย์เชียงใหม่ สำหรับราคาขายนั้น รุ่น 6 ล้อ เริ่มต้นที่ 3.9 ล้านบาท ซึ่งสแกนเนีย มีหน่วยงานบริการด้านการเงิน (ไฟแนนซ์) ของตัวเอง ที่เข้าใจธุรกิจขนส่งและพร้อมมอบความยืดหยุ่น เงื่อนไขสุดพิเศษให้กับลูกค้าที่สนใจทุกท่าน

ผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมรถบัสโดยสาร สแกนเนีย นิว บัส เจเนอเรชั่น ยูโร 5 สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณพรต โชตินันทน์ หรือค้นหาข้อมูลได้ที่ LINE OA: Scania TH Group.

PTG วางโรดแมป “PTG Business Outlook : Drive for Tomorrow” เพื่อยกระดับสถานีบริการน้ำมัน PT และยกระดับการบริการผ่าน PT Service Master ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเพื่อความ “อยู่ดี มีสุข” ในทุกด้านของช่วงชีวิต เผยปี 65 ยอดขายน้ำมันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จำนวน 5,316 ล้านลิตร พร้อมเผยกลยุทธ์การรุกตลาดของพันธุ์ไทย และแผนอนาคต 5 ปี ขยายธุรกิจ Oil & Non-Oil ให้เติบโตและยั่งยืนทุกมิติ

นายพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (PTG หรือ บริษัทฯ ) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้จัดงานแถลงข่าวใหญ่ “PTG Business Outlook : Drive for Tomorrow” เพื่อต้องการสื่อสารถึงการยกระดับสถานีบริการ PT ยกระดับการบริการ PT Service Master ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ “อยู่ดี มีสุข” ทั้งนี้ ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย โดยธุรกิจ Oil ของ PTG มีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันผ่านทุกช่องทางสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จำนวน 5,316 ล้านลิตร เติบโตขึ้น 5.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) โดยการเติบโตหลัก ๆ มาจากช่องทางการค้าปลีกผ่านสถานีบริการที่ 6.5% YoY นอกจากนี้ ยังได้เปิดตัวสถานีบริการน้ำมัน PT ครบวงจร (PT Max Park Salaya) ซึ่งเป็น Flagship รูปแบบแรกที่ได้รับการออกแบบให้มีความทันสมัย ติดตั้งหัวจ่ายน้ำมันระบบดิจิทัล พร้อมทั้งจัดให้มีพนักงาน PT Service Master เข้ามาอำนวยความสะดวกในส่วนของการให้บริการจำหน่ายน้ำมัน ซึ่งทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษ เพื่อมาเสริมด้านการบริการให้สร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่กลุ่มลูกค้า

ในส่วนของธุรกิจ Non-Oil บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ภายในสถานีบริการน้ำมัน PT ภายใต้นามว่า Elex by EGAT Max โดย ณ สิ้นปี 2565 Elex by EGAT Max ได้ติดตั้งไปแล้ว 35 สถานี และมีแผนที่จะติดตั้งเป็น 65 สถานีในปี 2566 กระจายตามจุดสำคัญทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ยังมีร้านกาแฟพันธุ์ไทย ที่พร้อมเติบโตตามแผนกลยุทธ์ 4 ด้าน คือ 1.มุ่งขยายสาขาร้านกาแฟพันธุ์ไทยในรูปแบบของ “แฟรนไชส์” ทั้งภายในและนอกสถานีบริการน้ำมัน PT 2.รังสรรค์เครื่องดื่มใหม่ ๆ โดยใช้วัตถุดิบที่มีรสชาติดีและหาทานได้ยากจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย 3.เน้น Delivery Platform ให้มากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มการรับรู้ (Awareness) การมองเห็น (Visibility) และการเข้าถึงแบรนด์ของลูกค้า (Accessibility) และ 4.นำข้อมูลลูกค้าจากบัตรสมาชิก PT Max Card และ PT Max Card Plus มาเป็น

เครื่องมือในการวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า เพื่อเพิ่มยอดขายและความถี่ของการเข้าใช้บริการร้านกาแฟพันธุ์ไทย

นอกจากนี้ ยังมี Enabler สำคัญที่ได้เข้ามาช่วยเสริม ธุรกิจ Oil และ Non-Oil ก็คือ Max Me ที่ได้เปิดตัวเมื่อไตรมาส 3 ปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็น Application ที่จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ลูกค้าสมาชิกบัตร PT Max Card ที่มีอยู่ในปัจจุบันกว่า 19 ล้านสมาชิก ให้สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสะสมแต้มเสมือนบัตร PT Max Card อีกทั้งยังมีฟังก์ชัน e-Wallet ให้สามาถใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือในยุคดิจิตอลไลฟ์สไตล์ สอดคล้องกับยุคสังคมไร้เงินสด

ในส่วนของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ร่วมลงนามสัญญาก่อสร้างและบริหารจัดการโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากชุมชน ณ เทศบาลเมืองบ้านพรุ จังหวัดสงขลา ขนาด 4.5 เมกะวัตต์ ซึ่งได้ลงนามสัญญาก่อสร้างและบริหารกับทางเทศบาลเมืองบ้านพรุไปในปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในไตรมาส 3/2566 และคาดว่าจะเปิดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ภายในปี 2568 โดยความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยลดปริมาณขยะสะสม ลดผลกระทบจากกลิ่นและน้ำเสีย อีกทั้งยังเป็นการนำของเสียมาก่อให้เกิดประโยชน์ และช่วยส่งเสริมสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนในละแวกดังกล่าวให้ดีขึ้น ตามวิสัยทัศน์การดำเนินงานของบริษัทฯ ที่หวังให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมีชีวิตที่ “อยู่ดี มีสุข” ในทุกด้านของช่วงชีวิต

นายพิทักษ์ กล่าวอีกว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะมี Retail Oil Market Share กว่า 25% มีจำนวนสมาชิก Max Card กว่า 30 ล้านสมาชิกซึ่งจะครอบคลุมคนไทยทั่วประเทศ และมีจำนวนสาขากาแฟพันธุ์ไทยกว่า 5,000 สาขา พร้อมพัฒนาและมุ่งหาธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศของ PTG สร้างประสบการณ์ O2O ที่ไร้รอยต่อ รวมถึงการใช้ Data เพื่อให้เกิด End-to-End Personalization ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ ยังพร้อมยกระดับสถานีบริการน้ำมัน PT ใน 3 มิติ ได้แก่ 1. Expansion and Renovation โดยเดินหน้าขยายสาขาทั้งหมดปีนี้สู่ 2,206 สาขา 2. Service Innovation โดยการยกระดับการให้บริการ ซึ่งบริษัทฯ จัดตั้ง PT Service Master ขึ้นมาเพื่อให้คำแนะนำลูกค้า อีกทั้งยังมี Max Camp ให้ลูกค้าได้เข้าพักผ่อนในระหว่างการเดินทาง โดยให้บริการฟรีสำหรับสมาชิก Max Card และ 3. Data Optimization โดยการรวบรวมความต้องการของกลุ่มลูกค้าต่าง ๆ ผ่านทางฐานสมาชิก Max Card, Max Card Plus, Max Me และ Max Enterprise Connect เพื่อนำเสนอ Data-Driven Offerings and Promotions ให้ตรงใจ และตรงความต้องการลูกค้ามากที่สุด

“บริษัทฯ เราจะยกระดับการให้บริการภายในสถานีบริการน้ำมัน PT โดยบริการรูปแบบใหม่ “PT Service Master” ที่พร้อมดูแล แนะนำลูกค้าให้ประทับใจได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถดูแลลูกค้าได้ทั่วประเทศ โดยทุกวันนี้มี 200 กว่าคน และเรา

จะเพิ่มเป็น 2,500 คน ภายใน 5 ปีข้างหน้านี้ สำหรับ PT Max Camp เรามีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ไม่ว่าจะเป็นห้องอาบน้ำ เตียงนอน ทีวี เครื่องซักผ้า โดยลูกค้าที่เป็นสมาชิกสามารถใช้บริการได้ฟรี โดยจะเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมติดตั้งกล้องวงจรปิด เพื่อความปลอดภัยอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันตั้งอยู่ใน 64 สถานี และจะขยายเป็น 141 สถานี ภายในปี 2570 ในปัจจุบันเรามีฐานสมาชิก Max Card ทั้งสิ้น 19 ล้านสมาชิก โดยเราจะขยายไปเป็น 30 ล้านสมาชิกในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งความสำคัญของ Max Card และ Max Card Plus คือเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เพิ่มยอดขาย และเพิ่มความถี่ของการเข้ามาใช้บริการธุรกิจในเครือเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เรามีเครื่องมือ Max Me ที่เป็น Application และ e-Wallet ที่จะช่วยต่อยอดฐานสมาชิกในโลกออนไลน์ โดยภายในปีนี้คาดว่าลูกค้าจะสามารถชำระเงินผ่าน Max Me กับ Partner ของเรากว่า 1 ล้าน Touchpoints อีกทั้งเรายังมีบริการสินค้าดิจิทัล Financing และ Lifestyle ที่จะมาเชื่อมต่อกับ Max Me อีกด้วย ทั้งนี้ เรายังมีการใช้ Digital Platform เพื่อตอบโจทย์ B2B ได้แก่ Max Enterprise Connect ซึ่งเป็น Fuel Management Platform ที่ช่วยในการบริหารต้นทุนน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาได้ตรงจุด และลดความยุ่งยากที่เกี่ยวกับเอกสาร เหมาะสำหรับผู้ประกอบการและองค์กรธุรกิจทุกขนาด โดยที่สามารถดู Real Time Data ได้ตลอด 24 ชม. และเราสามารถเชื่อมต่อ Microservices เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับองค์กรได้ในอนาคต” นายพิทักษ์ กล่าว

ขณะที่ นายรังสรรค์ พวงปราง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในส่วนของจำนวนสถานีบริการน้ำมัน PT สิ้นปี 2565 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 2,149 สถานี แบ่งเป็น สถานีบริการฯ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ (COCO) จำนวน 1,809 สถานี และสถานีบริการฯ ที่เป็นของผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิ์จากบริษัทฯ (DODO) จำนวน 340 สถานี

สำหรับจำนวนสาขาของธุรกิจ Non-Oil สิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1,526 สาขา แบ่งเป็น 1.ร้านกาแฟพันธุ์ไทย จำนวน 511 สาขา 2.ธุรกิจ LPG แบ่งเป็น สถานีบริการ Auto LPG จำนวน 231 สถานีบริการ และร้านจำหน่ายก๊าซ LPG บรรจุถัง (Gas Shop) จำนวน 253 สาขา 3.ร้านสะดวกซื้อ Max Mart จำนวน 309 สาขา 4.ร้านคอฟฟี่ เวิลด์ จำนวน 26 สาขา 5.ศูนย์บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษารถยนต์ Autobacs จำนวน 45 สาขา 6.ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมัน Maxnitron Lube Change จำนวน 52 สาขา 7.จุดพักรถ Max Camp จำนวน 64 จุด 8.สถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging) จำนวน 35 จุดชาร์จ

“ธุรกิจ Non-Oil ของ PTG มีการเติบโตในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น จำนวน Touchpoint ที่เติบโต 36% YoY และมี CAGR 5 ปีเฉลี่ยสะสมที่ 34% รายได้เติบโต 68% YoY และ CAGR 5 ปี ที่ 37% กำไรขั้นต้นเติบโต 50% YoY และ CAGR 5 ปี ที่ 36% และสัดส่วนกำไรขั้นต้นที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นปี มีสัดส่วนกำไรขั้นต้นในธุรกิจ Non-Oil ที่ 18.5% ซึ่งเป็นไปตามที่เรามองไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 15-20%” นายรังสรรค์ กล่าว

ส่วนโครงการ Solar Rooftop เป็นการลงทุนผ่าน บริษัท พีทีจี กรีน เอ็นเนอยี จำกัด (PTGGE) ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างลงทุนและซื้อขายไฟฟ้าในรูปแบบ Private PPA กับบริษัทฯ และจะขยายการลงทุนในประเทศและต่างประเทศต่อไปในอนาคต ปัจจุบันโครงการนี้มีมูลค่าเงินลงทุนจำนวน 300 ล้านบาท และมีกำลังการผลิตไฟฟ้า ทั้ง Phase 1-4 โดยรวมประมาณ 8.171 MW โดยในปัจจุบัน Phase 1 และ 2 ได้ดำเนินการติดตั้งเสร็จสิ้นแล้ว โดยปีนี้มีแผนติดตั้งเพิ่มอีก 6.291 MW คาดว่าปี 2567 จะลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า 9.5 ล้านหน่วยต่อปี และคาดว่าจะลดค่าใช้จ่าย 40-50 ล้านบาท รวมทั้งช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 4.237 ล้านตันต่อปี (EPPO ref:การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยการใช้ไฟฟ้า (kWh) :0.446)

“ในส่วนของโรงไฟฟ้าขยะเพื่อชุมชน ณ เทศบาลเมืองบ้านพรุ มีขนาด 4.5 MW ซึ่งโครงการนี้จะช่วยเสริมธุรกิจ Renewable Energy ของบริษัทฯ และส่งเสริมมิติสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับกลยุทธ์ ESG ของบริษัทฯ ซึ่งมีมูลค่าโครงการโดยประมาณ 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างได้ในช่วงไตรมาส 3/2566 และ เปิด COD ได้ในปี 2568 โดยผลประโยชน์ที่บริษัทฯ คาดว่าจะได้รับ คือสามารถลดปริมาณขยะสะสมได้ 2-3 ล้านตัน คาดว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมได้ 4-5 ล้านตัน และสร้างงานสร้างโอกาสให้คนอีก 100 ตำแหน่ง ทั้งหมดนี้เพื่อเชื่อมให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงชีวิตที่ “อยู่ดี มีสุข" ในทุกด้านของช่วงชีวิต” นายรังสรรค์ กล่าว

นางสาวพิชามน จิตรเป็นธรรม  ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจสินเชื่อบุคคล

X

Right Click

No right click