LINE ประเทศไทย ปักธงครบรอบ 12 ปี ตั้งเป้าขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น Smart Country ด้วย LINE Economy ระบบเศรษฐกิจบนแอปพลิเคชั่น LINE ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 54 ล้านคน มุ่งผลักดันการพัฒนาและทำงานร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างภาคเทคโนโลยีและภาคส่วนผู้ใช้งานต่าง ๆ บน 4 กลยุทธ์ ได้แก่

(1) ผสานจุดแกร่งระบบนิเวศเพิ่มขีดการแข่งขัน (2) ชูการเป็น Smart Platform ขับเคลื่อน Smart Country (3) สร้างคุณภาพชีวิต Life on LINE ที่ดีบนโลกดิจิทัล และ (4) ส่งเสริมการเติบโตยั่งยืนของเทคคอมพานี

 

ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “LINE ก้าวสู่ปีที่ 12 เราเติบโตจากแอปพลิเคชั่นสื่อสารมาเป็นแพลตฟอร์มสำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันที่สำคัญของผู้ใช้งานกว่า 54 ล้านคนในปัจจุบัน (ณ มิถุนายน 2566) โดยมีประชากรผู้ใช้หลากหลายภาคส่วน ธุรกิจ พันธมิตร คอมมูนิตี้ ที่ทำงานร่วมกันกับบริการและโซลูชันส์ต่าง ๆ บนระบบนิเวศจนเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจบนแอป LINE (LINE Economy) นำไปสู่โจทย์ทางธุรกิจข้อถัดไปของเราในการสร้างความยั่งยืนบนแพลตฟอร์มที่เติบโตนี้ โดยมีหมุดหมายสำคัญคือการผลักดันแพลตฟอร์ม LINE ด้วยบทบาทในระดับมหภาค บนความมุ่งมั่นของเราที่อยากจะเห็นแอปพลิเคชั่น LINE มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น Smart Country กล่าวคือ การที่เทคโนโลยีของ LINE มีบทบาท

สำคัญในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สอดประสานเข้าด้วยกัน นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย”

4 กลยุทธ์สร้าง LINE Economy ระบบเศรษฐกิจบนแอป LINE ให้ยั่งยืน

1. ผสานจุดแกร่งระบบนิเวศเพิ่มขีดการแข่งขัน

หลังเสริมทัพแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงและจัดกลุ่มธุรกิจใหม่เพื่อปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม, กลุ่มธุรกิจ Consumer Business, กลุ่มธุรกิจ LINE For Business, กลุ่มธุรกิจคอนเทนต์และบริการใหม่ และกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บริษัทฯ เดินหน้าสร้างพันธมิตร ไปพร้อมกับการผสานจุดแกร่งระหว่างบริการ – โซลูชันส์บนระบบนิเวศ เพื่อนำเสนอโซลูชันส์ในรูปแบบใหม่ ๆ ไปสู่การเพิ่มขีดการแข่งขันให้แก่ลูกค้าธุรกิจในทุกระดับ เป็นการดึงข้อได้เปรียบจากการเป็นแพลตฟอร์มที่มีโซลูชันส์ครบครัน สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

2. ชูการเป็น Smart Platform ขับเคลื่อน Smart Country

หมุดหมายสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Country คือการที่ทุกภาคส่วนในประเทศประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาเพื่อยกระดับการดำเนินการในส่วนต่าง ๆ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ซึ่ง LINE มุ่งหวังให้เทคโนโลยีบนแพลตฟอร์มเป็นส่วนช่วยผลักดันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ภาครัฐ ที่นำเสนอบริการ e-Service ให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าถึงและตรวจสอบการดำเนินการผ่านบัญชีทางการ LINE ได้ง่ายๆ ในไม่กี่ขั้นตอน ภาคเอกชน ที่นำโซลูชันส์ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม LINE มาสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจที่ต้องการแข่งขัน อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า และภาคประชาชน ด้วยประสบการณ์การใช้งานแอป LINE ในชีวิตประจำวันผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่การสื่อสาร โซเชียลมีเดีย ช้อปปิ้ง คอนเทนต์ข่าวสาร สั่งอาหาร ฯลฯ มากไปกว่านั้น คือการส่งเสริมให้ผู้ใช้สามารถเป็นได้หลากหลายบทบาทในเวลาเดียวกัน ทั้งครีเอเตอร์ แอดมินของคอมมูนิตี้ ผู้ประกอบการ โดยมี LINE เป็นแพลตฟอร์มรองรับ

3. สร้างคุณภาพชีวิต Life on LINE ที่ดีบนโลกดิจิทัล

นอกจากบริการต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ บริษัทฯ ได้ริเริ่มแนวคิด LINE Digital Well-being ที่ต้องการปักหมุดในระยะยาวเพื่อให้ความสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่บนโลกดิจิทัล โดยที่ผ่านมาได้ทำแคมเปญรณรงค์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการบริหารเวลาเพื่อลดความเหนื่อยล้าบนโลกออนไลน์ ความเห็นอกเห็นใจและทัศนคติเชิงบวกบนโลกออนไลน์ การดูแลความสัมพันธ์รอบตัว ซึ่ง LINE ประเทศไทย ก็ได้หยิบยกแง่มุมใหม่ ๆ มานำเสนอเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในประชากรผู้ใช้เพื่อสุขภาวะที่ดีบนโลกดิจิทัล

4. ส่งเสริมการเติบโตยั่งยืนของเทคคอมพานี

การดูแล Well-being ของพนักงาน ไปพร้อม ๆ กับการสร้างคนรุ่นใหม่ให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้แก่บริษัทฯ จึงเดินหน้าพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ผ่านโครงการ LINE ROOKIE เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาฝึกงานในโลกของการทำงานจริง ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นจำนวนมากกว่าพันรายในแต่ละปี เพื่อสร้าง New Talent ให้กับตลาดงานและแลกเปลี่ยนแนวคิดจากคนรุ่นใหม่เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีแผนความร่วมมือที่จะนำความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมาพัฒนาหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศเพื่อสร้างบุคลากรคุณภาพป้อนสู่ตลาดงานในประเทศภายในปี 2566 อีกด้วย

SAP (เอสเอพี) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศเปิดตัว GROW with SAP โซลูชันและบริการใหม่ที่จะช่วยให้องค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เพื่อประโยชน์สูงสุดจาก Cloud ERP ทำให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว คาดการณ์ธุรกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ และสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

การเปิดตัวดังกล่าวจัดขึ้นภายในงานการประชุม SEA Partner Success Summit 2023 ซึ่งมีพาร์ทเนอร์กว่า 300 รายทั่วภูมิภาคเข้าร่วม

โซลูชัน GROW with SAP ได้รวบรวมแพลตฟอร์มเพื่อตอบสนองการขยายธุรกิจอย่าง SAP Business Technology Platform เข้าไว้ในบริการนี้เพื่อให้องค์กรสามารถปรับใช้และกำหนดแนวทางซอฟต์แวร์ในแบบคลาวด์เนทีฟผ่าน SAP Build ด้วยโซลูชัน SAP Build ผู้ใช้งานสามารถสร้างแอปพลิเคชันภายในองค์กร สร้างกระบวนการทำงานอัตโนมัติ และออกแบบเว็บไซต์ธุรกิจได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องเขียนโค้ด ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจผ่านการสร้างสรรค์โซลูชันที่ตอบโจทย์

งานวิจัยของ SAP study พบว่า มากกว่า 2 ใน 3 ขององค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก มองเห็นว่าการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น มีความสำคัญต่อองค์กรและความอยู่รอดในอนาคตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน องค์กรมีความจำเป็นที่จะต้อง

อาศัยผู้เชี่ยวชาญและพาร์ทเนอร์ที่สามารถให้คำแนะนำพวกเขาตลอดกระบวนการดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างคล่องตัวและคุ้มค่ากับการลงทุน

องค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคิดเป็นเกือบ 99% ของธุรกิจทั้งหมด ก่อให้เกิดการจ้างงาน 90% และคิดเป็นเกือบ 60% ของจีดีพีในหลายประเทศในอาเซียน การร่วมมือประสานกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรธุรกิจของ SAP และพาร์ทเนอร์ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการใช้ประโยชน์จากโซลูชัน GROW with SAP จะช่วยส่งเสริมศักยภาพขององค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล กระตุ้นให้องค์กรเกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งยังส่งเสริมศักยภาพเพื่อโอกาสการเติบโตทางธุรกิจระหว่างประเทศใหม่ ๆอีกด้วย” เวเรน่า เซียว ประธานและกรรมการผู้จัดการ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

“T-PRIDE ก่อตั้งขึ้นเเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนชุมชนในการสร้างความร่วมมือและความยืดหยุ่นเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อการระบาดใหญ่ของโควิด 19 แม้ว่าปัจจุบันเราจะอยู่ในยุคหลังการระบาด แต่ T-PRIDE ยังคงเดินหน้าป้องกันและเตรียมความพร้อมขององค์กรอยู่เสมอ ซึ่งการย้ายการทำงานขององค์กรไปยังระบบคลาวด์และใช้งาน GROW with SAP ที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางการทำงานระบบดิจิทัล ช่วยให้องค์กรสามารถยกระดับกระบวนการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นและเป็นไปตามหลักธรรมภิบาลมากยิ่งขึ้น การมีตัวช่วยที่ครบครันจะช่วยให้เราสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้แนวทางการทำงานและการบริหารสอดคล้องกัน ด้วยแนวคิดการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลที่รวมเป็นหนึ่งช่วยให้การประมวลผลและการตัดสินใจถูกต้องและม่นยำ ทำให้ T-PRIDE สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน และบรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ” จูดี้ เฮย ประธานกรรมการบริหาร Temasek Public Resilience Infectious Disease Emergency (T-PRIDE) กล่าว

“ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของเอสเอพีที่มากกว่า 50 ปี ในการช่วยบริษัททุกขนาดในหลากหลายองค์กรให้กลายเป็นองค์กรอัจฉริยะที่ยั่งยืน เราเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าและแนวทางเพื่อช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากการนำ Cloud ERP มาใช้ รวมถึงทำอย่างไรลูกค้าจึงสามารถนำเอาโซลูชันคลาวจากเอสเอพีมาใช้เพื่อขยับขยายและสนับสนุนธุรกิจ พร้อมทั้งนำเสนอบริการที่ซับซ้อนให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถเตรียมความพร้อมสู่เป้าหมายความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต” เวเรน่า เซียว กล่าวเสริม

“ธุรกิจต่างๆทราบดีว่าการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่นและการย้ายไปยังระบบคลาวด์มีประโยชน์อย่างมาก แต่ความกังวลและไม่มั่นใจทำให้หลายองค์กรยังคงลังเล” คริสตอฟ เดอร์เดน หุ้นส่วนและผู้อำนวยการบริษัท Delaware ประเทศสิงคโปร์ และDelaware นานาชาติ กล่าว “GROW with SAP แสดงให้ลูกค้าเห็นว่าโซลูชันดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการด้านงบประมาณและธุรกิจของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เมื่อลูกค้าเข้าใจรายละเอียดขององค์ประกอบและบริการอย่างชัดเจน การย้ายไปยังระบบคลาวด์จึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป แต่ทุกกระบวนการจะอยู่ภายใต้การควบคุมที่เป็นขั้นเป็นตอน นอกจากนี้ยังรับประกันได้ว่า SAP และกลุ่มบริษัทพาร์ทเนอร์ พร้อมดูแลลูกค้าเป็นอย่างดีเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับธุรกิจ”

“SAP ผนึก 3 องค์ประกอบสำคัญที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเข้าด้วยกันในโซลูชันครบวงจร เพื่อช่วยให้ลูกค้าย้ายไปยังระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" กริช วิโรจน์สายลี ประธานกรรมการ บริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าว “ลูกค้าของเราสามารถพัฒนาธุรกิจผ่านการใช้งานบนระบบ SAP S/4HANA® Cloud ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆผ่าน SAP Business Technology Platform ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากการประสบการณ์ในการช่วยเหลือลูกค้ามายาวนานกว่า 50 ปีของเอสเอพี ยิ่งเรานำเทคโนโลยีและโซลูชันดังกล่าวมาใช้งานเร็วเท่าไหร่ ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กรยิ่งมีมากเท่านั้น

นอกจากนี้ SAP ยังได้มีการประกาศผู้ชนะรางวัล SAP SEA Partner Awards 2023 ซึ่งให้ความสำคัญกับพาร์ทเนอร์ดีเด่นในด้านการขาย นวัตกรรม เทคโนโลยี บริการ และโซลูชันอีกด้วย

 

 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินธุรกิจบริการดิจิทัลในปี 2566 มีมูลค่าถึง 5.6 แสนล้านบาทเติบโตกว่า 20% จากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปเป็นออนไลน์มากขึ้นหลังสถานการณ์โควิด-19 เร่งให้เกิดการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเร็วมากขึ้นและมีการแข่งขันที่สูงขึ้น แนะธุรกิจปรับตัวนำเทคโนโลยีใหม่ เช่น AI มาประยุกต์ใช้ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจการบริการให้ครบวงจร

ปัจจุบันธุรกิจบริการดิจิทัล (Digital Services) เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนและเป็นขั้นตอนกระบวนการสำคัญของภาคธุรกิจมากขึ้นอย่างชัดเจน ไม่เพียงเป็นประโยชน์ในด้านการสื่อสาร แต่ยังกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก โดยในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ธุรกิจบริการดิจิทัลในประเทศมีรายได้เติบโตต่อเนื่อง ผลจากการปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันธุรกิจบริการดิจิทัลของไทยในรูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล รองรับธุรกรรมออนไลน์ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ตั้งแต่การทำธุรกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันผ่านระบบออนไลน์ โดยในปี 2564 มีธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ 1) บริการสื่อบันเทิงออนไลน์ (Online Media) มูลค่าตลาด 1.3 แสนล้านบาท หรือสัดส่วน 38% 2) บริการขนส่ง E-Logistics มูลค่าตลาด 9 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 26% 3) บริการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-Retail หรือที่รู้จักคือ E-Commerce) มีมูลค่าตลาด 5.9 หมื่นล้านบาท สัดส่วนรายได้อยู่ที่ 17% และ 4) บริการอื่น ๆ มีมูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท สัดส่วน 19% เช่น บริการด้านการศึกษาออนไลน์ และบริการด้านสาธารณสุข/สุขภาพออนไลน์ (E-Health)

โดยสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงปี 2563-2564 ถือเป็นช่วงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค ช่วยผลักดันบริการดิจิทัลในภาพรวมเติบโตกว่า 36% จากการที่ผู้ประกอบการนำกลยุทธ์ Digital Transformation มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจเต็มตัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องพึ่งพาการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีการปรับตัวและมีความคุ้นเคยกับการใช้บริการธุรกิจบริการดิจิทัลจนถึงปัจจุบัน โดยในปี 2565 คนไทยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 3.4% ทำให้ปัจจุบันระดับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 78% ของประชากรทั้งหมด อีกทั้งยังมีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยต่อวันถึงกว่า 9 ชั่วโมง สูงเป็นอันดับ 7 ของโลกที่มีค่าเฉลี่ยราว 7 ชั่วโมงต่อวัน

ปัจจุบันธุรกิจบริการดิจิทัลที่มีรายได้ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าเป็นหลัก มีอัตราการเติบโตของรายได้มากกว่ากลุ่มที่ทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลอื่น ๆ กว่า 2 เท่า โดยพบว่าธุรกิจบริการดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายมีการเติบโตต่อเนื่อง เช่น ธุรกิจ E-Logistics และ E-Retail ที่เติบโตได้ 58% และ 44% ในปี 2564 ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานมีการซื้อสินค้าและการใช้บริการออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ส่วนธุรกิจบริการดิจิทัลที่มีรายได้มาจากแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลอื่น ๆ พบว่ามีอัตราการเติบโตที่แผ่วลง เช่น ธุรกิจ Online Media มีการเติบโตในปี 2564 ราว 28% มีรายได้หลักมาจากสื่อโฆษณาออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น เช่น Facebook และ YouTube โดยในปี 2565 สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของไทยได้สูงถึง 92% และ 79% ตามลำดับ ถือเป็นอัตราการเข้าถึงที่สูง

อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นทิศทางการเติบโตอย่างรวดเร็วในบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (E-Health) ถึงแม้ปัจจุบัน E-Health จะยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่น้อย แต่มีการเติบโตของรายได้ในปี 2564 ก้าวกระโดดกว่า 50% จากการที่ผู้ให้บริการเริ่มหันมาสนใจให้บริการด้านสุขภาพกันมากขึ้น อาทิ ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) กอปรกับ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) คือการมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปในสัดส่วนมากกว่า 20% ในอีก 8 ปีข้างหน้า

จากมูลค่าตลาดธุรกิจดิจิทัลในภาพรวมราว 4.5 แสนล้านบาทในปี 2565 ttb analytics คาดว่าในปี 2566 นี้ ธุรกิจบริการดิจิทัลยังมีแนวโน้มเติบโต 24% มูลค่าอยู่ที่ 5.6 แสนล้านบาท จากการที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มพัฒนาเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีด้านดิจิทัลส่งผลกระทบด้านบวกต่อภาคธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภค ทำให้มีการพัฒนาต่อยอดบริการดิจิทัลใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองอุปสงค์ที่เป็นลักษณะเฉพาะส่วนบุคคลมากขึ้น สอดคล้องกับทิศทางธุรกิจบริการดิจิทัลทั่วโลกที่มีการเติบโตเฉลี่ยกว่า 34% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ E-Logistics และ E-Retail แม้ว่าจะมีสัดส่วนรายได้มากกว่า 43% แต่ธุรกิจมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และยังมีการทุ่มงบประมาณด้านการตลาดเพื่อรักษาฐานลูกค้า ในขณะที่กลุ่มแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลอื่นๆเป็นกลุ่มที่ยังคงมีการเติบโตในระดับสูง

ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจบริการดิจิทัลควรมีการปรับตัว เพื่อเตรียมรองรับการขยายตัวของธุรกิจบริการดิจิทัลและการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ภายใต้แรงกดดันด้านกำไรที่ลดน้อยลงตามกระแสธุรกิจโลก โดยนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ เช่น นำระบบ AI มาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูล ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจากคำถามและพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้บริการได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้บริการ และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เชื่อมการบริการของธุรกิจเกี่ยวเนื่องให้ครบวงจร เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและสร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภค

 

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ผศ. ดร. สุทธิกร กิ่งเเก้ว ผู้บริหารโครงการวิจัยเผยผลวิจัยเกี่ยวกับบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่าน แอปพลิเคชัน โดยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีต่อ ประเด็นต่างๆ ทั้งประโยชน์ของบริการ ผลกระทบ ตลอดจนนโยบายของภาครัฐในการกำกับดูแลบริการ ดังกล่าว ผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 411 คน รวมถึงการจัดสนทนา กลุ่มย่อย (โฟกัสกรุ๊ป) กับกลุ่มผู้ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ทั้งวินมอเตอร์ไซค์ (ป้ายเหลือง) และ บุคคลทั่วไปที่ให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน (ป้ายดำ) พร้อมนำเสนอแนวทางที่ภาครัฐควรนำมาพิจารณา ในการกำกับดูแลบริการดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดกับทุกภาคส่วน ทั้งคนขับ ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน ภาครัฐ ตลอดจนสังคมโดยรวมควบคู่ไปกับส่งเสริมการสร้างราย ได้และกระตุ้นเศรษฐกิจในยุคยุคดิจิทัล โดยผลการสำรวจระบุว่า 

  • 83% ของกลุ่มตัวอย่าง เคยใช้บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชัน โดยให้เหตุผลว่า บริการดังกล่าวมีประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ
    • 4% เห็นว่าบริการดังกล่าวช่วยสร้างความสะดวกสบายในการเดินทาง เพราะสามารถ เรียกจากที่ไหนหรือเวลาไหนก็ได้
    • 8% ระบุว่าแอปเรียกรถมีความโปร่งใสในด้านราคา เพราะทราบค่าบริการล่วงหน้า ก่อนเรียกใช้บริการ
    • 2% บอกว่าบริการนี้สะดวกในแง่ระบบการชำระค่าบริการ เพราะสามารถจ่ายแบบ ออนไลน์ ไม่ต้องใช้เงินสด
    • 6% คิดว่าเป็นบริการที่ปลอดภัย เพราะแอปเรียกมีการคัดกรองที่เข้มงวด มีฐานข้อมูล คนขับ-ทะเบียนรถ สามารถตรวจสอบได้ และมีเทคโนโลยีติดตามการเดินทาง
    • 62% เห็นว่าสามารถเดินทางข้ามเขตหรือพื้นที่ได้ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องจุดรับเหมือนกับวิน ที่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่กำหนด
    • 8% มองว่าบริการนี้ช่วยสร้างอาชีพเสริมให้กับบุคคลทั่วไปที่มีรถมอเตอร์ไซค์
    • 4% เห็นว่าบริการนี้ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะมีส่วนลดจากโปรโมชัน และรีวอร์ดให้กับผู้ใช้ 
  • ต่อประเด็นที่หน่วยงานภาครัฐกำลังจะนำระบบวินมอเตอร์ไซค์มาใช้ในการกำกับดูแลบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างผ่านแอป เช่น ให้รับ-ส่งได้เฉพาะในพื้นที่เท่านั้น คนขับมีใบขับขี่สาธารณะ หรือใช้ป้ายเหลืองเท่านั้น และมีระบบโควต้าจำกัดจำนวนผู้ให้บริการ พบว่า 69% ของผู้ที่เคย ใช้บริการไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว
    • โดย 75% มองว่า ระบบวินมอเตอร์ไซค์มีข้อจำกัดในการให้บริการ ทั้งในเรื่องจุดรับ-ส่ง การไม่สามารถให้บริการข้ามเขตได้ ซึ่งไม่สะดวกและไม่ตอบโจทย์การเดินทางของ คนกรุงเทพฯ
    • ขณะที่ 72% ระบุว่าการใช้ระบบโควต้าส่งผลให้มีการจำกัดจำนวนคนขับหรือรถ อาจทำ ให้มีรถมอเตอร์ไซค์ที่ให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะใน ช่วงเวลาเร่งด่วน
    • นอกจากนี้ 88% ยังบอกว่าการใช้ระบบโควต้าอาจนำพาไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น มาเฟียเสื้อวิน การโก่งราคา หรือการปิดกั้นโอกาสคนขับทั่วไปที่ต้องการจะเข้าสู่ระบบ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม เป็นต้น
    • ส่วนผู้ที่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวมีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น โดย 91% ของคนกลุ่มนี้ เชื่อว่าระบบวินมีความปลอดภัยมากกว่าเพราะภาครัฐมีฐานข้อมูลของคนขับทุกคน ขณะที่ 75% คิดว่าระบบวินช่วยสร้างความมั่นใจเพราะเป็นระบบที่ถูกกฎหมาย

 ส่วนกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่าหน่วยงานภาครัฐจะมีคำสั่งปิดแอปพลิเคชันเรียกรถมอเตอร์ไซค์ รับจ้างที่ให้บริการโดยบุคคลทั่วไปนั้น 94% ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว

    • โดย 90% มองว่าเป็นการจำกัดทางเลือกของผู้ใช้บริการ ขณะที่ 81% เห็นว่าการดำเนิน การเช่นนั้นสะท้อนถึงความล้าหลังของกฎหมายไทยที่ไม่สอดรับกับพฤติกรรมของ ผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน และ 74% เชื่อว่าเป็นการปิดกั้นโอกาสทำกินและขัดต่อการ ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล
    • ส่วนผู้ที่เห็นด้วยกับการออกคำสั่งให้ปิดแอปมีซึ่งมีเพียง 6% เท่านั้น โดยส่วนใหญ่ (73%) มองว่าเป็นการบังคับใช้กฎหมายให้ถูกต้อง ขณะที่ 60% ไม่ต้องการถูกหักค่าธรรมเนียม การใช้บริการจากแอป และ 47% คิดว่าจะช่วยให้คนขับในระบบวินมีรายได้มากขึ้น 

นอกจากประชาชนผู้ใช้บริการแล้ว สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังได้ สำรวจความคิดเห็นเพิ่มเติมกับกลุ่มผู้ให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ (ป้ายเหลือง) และบุคคลทั่วไปที่ให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน (ป้ายดำ) ผ่านการทำสนทนากลุ่มย่อย (โฟกัสกรุ๊ป) โดย 

  • กลุ่มผู้ให้บริการวินรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างระบุว่า บริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปได้รับ ความนิยมเพิ่มมากขึ้น ทำให้เสื้อวินมีราคาถูกลงไปมาก หลายวินเริ่มไม่เก็บค่าธรรมเนียม รายเดือนอีกต่อไป ทั้งนี้ในหลายพื้นที่คนขับวินก็เริ่มปรับตัวเพื่อให้บริการผ่านแอป ไม่ว่าจะเป็น บริการรับ-ส่งผู้โดยสาร  รวมไปถึงบริการจัดส่งอาหารหรือขนส่งสินค้า-พัสดุ โดยตัวแทนคนขับ วินที่เข้าร่วมทำโฟกัสกรุ๊ปมองว่า การมีทั้งระบบวินและระบบเเอปเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตอนนี้คนขับวินในหลายพื้นที่เริ่มยอมรับรถป้ายดำที่วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารมากขึ้น เพียงแต่ต้อง ไม่มาทับพื้นที่กัน ในพื้นที่ที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก เช่น บริเวณสถานีรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT การมีวินประจำก็สะดวกต่อผู้โดยสาร ทำให้สามารถขึ้นวินต่อได้เลย ขณะเดียวกันระบบเเอป ก็ช่วยให้ผู้โดยสารที่อยู่ห่างจากวินหรืออยู่ในซอยลึกสามารถเดินทางได้สะดวกขึ้น เพราะมีรถ ไปรับถึงที่ทุกเวลา ดังนั้น ทั้งสองระบบสามารถอยู่ร่วมกันได้ เพราะช่วยเติมเต็มจุดเเข็งเเละ เเก้ปัญหาจุดอ่อนของกันเเละกันเพื่อตอบสนองผู้ใช้บริการ 
  • ขณะที่กลุ่มบุคคลทั่วไปที่ให้บริการผ่านแอปให้ความเห็นว่า การมีระบบเเอปเรียกมอเตอร์ไซค์ รับจ้างช่วยสร้างรายได้ให้กับตัวเองเเละครอบครัว และสร้างความสะดวกอย่างมากให้กับ ผู้โดยสารและตอบโจทย์คนยุคนี้ ทำให้มีจำนวนผู้เรียกใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้มี คนขับเข้ามาในระบบเรียกรถผ่านเเอปมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ อยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญ กับคนทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะกลุ่มวิน โดยมองไปที่ประโยชน์ในภาพรวม หากจะมีการบังคับใช้ กฎระเบียบใดๆ เพื่อควบคุมบริการ อยากให้คำนึงถึงผลกระทบและให้มีเวลาได้ปรับตัว เพราะไม่อยากสูญเสียรายได้ โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจที่ข้าวยากหมากแพงแบบนี้ หากมีการสั่งปิดแอปอย่างที่มีการรายงานข่าวจริง ย่อมส่งผลกระทบและสร้างความลำบาก ให้กับคนจำนวนมาก 

นอกจากนี้ ผศ. ดร. สุทธิกร กิ่งเเก้ว ยังได้นำเสนอแนวทางในการกำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลบริการ เรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชันในประเทศไทย โดยให้ทรรศนะว่า “ในเเง่มุมของประโยชน์ทาง เศรษฐกิจเเละสังคมโดยเฉพาะในโลกยุคดิจิทัล เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ ในสังคมได้ทำให้ชีวิตเราสะดวกสบายมากขึ้น สร้างโอกาสทางธุรกิจ เกิดเป็นอุตสาหกรรมใหม่ๆ และสร้าง การขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม แม้ปัจจุบันกฎหมายหรือข้อบังคับบางอย่างอาจจะไม่รองรับต่อ ความเปลี่ยนเเปลงของโลก เเต่สิ่งที่ภาครัฐควรทำคือ การปรับปรุงเเก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อให้ ทุกภาคส่วนของประเทศสามารถใช้ประโยชน์ได้จากเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ได้” 

“ในกรณีของการบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปพลิเคชันนั้น ส่วนตัวมองว่าภาครัฐไม่ควรที่จะ เดินถอยหลังเข้าไปเปลี่ยนเเปลงในสิ่งที่ดีอยู่เเล้ว โดยนำกฎหมายที่ถูกร่างขึ้นในยุคสมัยเดิมบังคับใช้ กับเรื่องในปัจจุบัน โดยไม่ได้พิจารณาถึงสภาพเเวดล้อมทางเศรษฐกิจเเละสังคมที่เปลี่ยนเเปลงไป เช่นภาครัฐไม่ควรเข้าไปกำหนดหรือบังคับห้ามไม่ให้คนขับป้ายดำต้องหยุดการให้บริการ ในทางกลับกัน ภาครัฐควรที่จะช่วยให้คนขับเหล่านี้สามารถให้บริการได้อย่างถูกกฎหมาย โดยมีแผนหรือกระบวนการ ต่างๆ รองรับ ซึ่งอาจจะทำในรูปแบบที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยทยอยปรับกฎระเบียบให้เป็นที่ยอมรับ ของทุกฝ่าย และอนุโลมให้รถป้ายดำสามารถวิ่งรับ-ส่งในระบบเเอปได้ไปก่อนจนกว่าทุกฝ่ายจะตกลง หาทางออกกันได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน ก็ควรหาทางส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กลุ่มคนขับวิน โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือกลุ่มที่ตามไม่ทันเทคโนโลยี สามารถปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชัน เหล่านี้ได้ จะได้มีรายได้เสริมและก้าวทันเศรษฐกิจดิจิทัล”

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click