บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ สร้างผลงานยอดเยี่ยมบนโลกโซเชียลมีเดีย ติดอันดับแบรนด์ที่มีผลงานโดดเด่นที่สุด คว้ารางวัล FINALIST สาขา BEST BRAND PERFORMANCE ON SOCIAL MEDIA กลุ่มธุรกิจอาหารและขนมขบเคี้ยว สาขา Food & Snacks ในงาน Thailand Social Award 2024 ครั้งที่ 12 จัดโดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล ด้วยการวัดประสิทธิผลด้านการสื่อสารผ่านช่องทางหลักและช่องทางที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ เก็บคะแนนใน 2 รูปแบบ คือ Online Creators และ Celebrities โดย Online Creator จะทำการเก็บข้อมูลจากสื่อช่องทางของตนเอง (Owned) จาก 5 แพลตฟอร์มหลัก คือ Facebook, Instagram, X, TikTok และ YouTube  และ Celebrities จะทำการเก็บข้อมูล Owned จาก Official Account และช่องทางที่คนพูดถึงแบรนด์หรือสินค้า (Earned) จาก Person Keyword

นางสาวอนรรฆวี ชูรัตน์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดกลาง ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ รู้สึกยินดีเป็นอย่างมาก ที่ได้รับรางวัลนี้อีกครั้ง ปัจจุบันโซเชียลมีเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของทุกคน ไม่เพียงแค่ช่องทางการสื่อสาร แต่ยังเป็นสิ่งเชื่อมต่อและเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เห็นพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายมากขึ้น นำไปสู่การคิดค้นกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดเชิงรุก ควบคู่ไปกับการพัฒนาคอนเทนต์ต่างๆ และแคมเปญที่ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับแบรนด์

ปี 2566 โครงการ ‘ไก่ไทยจะไปอวกาศ’ สร้างกระแสทอล์กออฟเดอะทาวน์ระดับโลก เพียงเปิดตัวสร้างปรากฏการณ์จำนวนของการโพสต์ถึง 1,300 ล้านครั้ง ภายในเวลา 1 เดือน ทำให้แฮชแท็ก #ไก่ไทยจะไปอวกาศกับซีพี #CPMissiontoSpace ทะยานขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ X Thailand อันดับ 3 เทรนด์ X Worldwide ขณะที่หนังโฆษณา 'ครั้งแรกของโลก! ไก่ไทยจะไปอวกาศ กับ ซีพี' มียอดผู้ชมมากกว่า 100 ล้านวิวในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย สร้างความเชื่อมั่นแก่คู่ค้าเพิ่มขึ้นจากการตอบรับสินค้ามากกว่า 1,000 ร้านค้า ภายใน 1 เดือน

ด้าน แคมเปญ ‘ไข่ตุ๋น CP’ ที่ได้ บิวกิ้น-พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล พรีเซ็นเตอร์ขวัญใจคนรุ่นใหม่ ด้วยหนังโฆษณาสุดน่ารักชวนพักซอฟต์ใจ พร้อมกลยุทธ์การสื่อสารด้านการตลาด ที่มียอดวิวสูงกว่า 26 ล้านวิวในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และยังนำนวัตกรรม AR สร้างภาพสามมิติให้ทุกคนได้พักใจกับ ไข่ตุ๋น CP เพียงสแกนบนสื่อโฆษณาและสื่อ ณ จุดขาย พร้อมทั้ง แพลตฟอร์มใหม่ อย่าง ZEPETO โดยเลือกไอเท็มสุดพิเศษจากแบรนด์เพียง 30 วัน มีผู้เข้าร่วมเล่นเกม ทุบสถิติมากกว่า 14 ล้านยูสเซอร์ เป็นแคมเปญการตลาดผ่านโฆษณาภายในโลกเสมือนจริง ที่มีการเข้าชมสูงสุด อันดับ 2 ของโลกในปีที่ผ่านมา

ส่วน แคมเปญที่ประสบความสำเร็จ คือ ‘CP โบโลน่า สไปซี่’ พีพี-กฤษฏ์ อำนวยเดชกร ศิลปินเบอร์ 1 ของยุค ร่วมถ่ายทอดความเผ็ดร้อนและรสชาติแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ สร้างปรากฏการณ์ #ซีพีโบโลน่าพริกxพีพี ขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ X Thailand ภายใน 14 นาที ยอดรีโพสต์มากกว่า 40,000 ครั้ง สร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่วงการโฆษณาของไทยอีกด้วย

ซีพีเอฟ มุ่งผลิตและส่งมอบอาหารคุณภาพ ปลอดภัย มาตรฐานระดับโลก ควบคู่กับการคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีสู่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ นวัตกรรม (Innovation) สุขภาพ (Wellness) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Planet) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า พร้อมกับศึกษาความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก เพื่อนำมาต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งออกแบบการสื่อสารและสร้างสรรค์แคมเปญที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคและเทรนด์ต่างๆ

"วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านธรรมชาติล่าง" ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด จากชุมชนทางผ่านสู่เกาะช้าง สู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง โดยการสนับสนุนของ CPF ทั้งการช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และดูแลคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมาย "สร้างคุณค่าร่วมทางสังคม" สร้างประโยชน์ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

กระทั่งเป็น "โมเดลต้นแบบการเติบโตอย่างยั่งยืน" กลายเป็นชุมชนแห่งรอยยิ้ม ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง...

คลิกชมคลิป >>

 

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าหนุนเกษตรกรรายย่อย มากกว่า 5,500 รายทั่วประเทศ รับหน้าที่เป็นตลาดรับผลผลิตแทน ลดความเสี่ยงตลาดผันผวน เกษตรกรมีรายได้แน่นอน มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้-เทคโนโลยีสู่เกษตรกรรายย่อย-รายกลาง สร้างความมั่นคงในอาชีพ ร่วมสร้างอาหารมั่นคง ส่งมอบอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภค

 

นายสมพร เจิมพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ มุ่งยกระดับการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย ทั่วประเทศมากกว่า 5,500 ราย ในรูปแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเลี้ยงสัตว์ที่ดี ภายใต้การบริหารจัดการด้านการเลี้ยงสัตว์ที่มีมาตรฐาน ด้วยการนำขีดความสามารถของบริษัทฯ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการเลี้ยงแก่เกษตรกร ที่สำคัญเกษตรกรต้องมีตลาดรองรับผลผลิต บริษัทฯจึงทำหน้าที่เป็นตลาดรับซื้อผลผลิตคืนจากเกษตรกร เพื่อให้มีอาชีพที่ไร้ความเสี่ยงด้านราคาและการตลาด และมีหลักประกันรายได้ที่มั่นคง โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาที่ราคาสุกรผันผวนมาก จากการเข้ามาของขบวนการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรเถื่อน หากแต่เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงสุกรกับซีพีเอฟ ไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากมีการทำสัญญาตกลงราคากันไว้ล่วงหน้า และบริษัทฯ รับซื้อผลผลิตของเกษตรกรไว้ทั้งหมด

“นอกจากการส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยได้รับทั้งความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทำให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือเกษตรกรไม่ได้รับความเสี่ยงตลาดผันผวน โดยสินค้าที่ซีพีเอฟผลิตส่งจำหน่ายในตลาดและห้างโมเดิร์นเทรดต่างๆ ก็มาจากเกษตรกรรายย่อยที่บริษัทฯรับความเสี่ยงโดยตรง และยังมีเกษตรกรรายกลางอีกร่วม 500 ราย ที่ซีพีเอฟ เข้าไปช่วยสนับสนุนองค์ความรู้ โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในอาหาร เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปด้วยกัน” นายสมพร กล่าว

 

ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ปี 2518 ที่ซีพีเอฟ นำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมแบบครบวงจร เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แบบพันธสัญญาแก่เกษตรกรรายย่อย ภายใต้หลักคิด “เกษตรกรคือคู่ชีวิต” ร่วมสนับสนุนความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยของไทย มีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน พึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับชุมชนและประเทศ ควบคู่กับการผลิตเนื้อสัตว์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันผลิตและส่งมอบสินค้าอาหารคุณภาพมาตรฐานสูง สร้างความมั่นคงด้านอาหารให้คนไทย

นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธี ส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ที่เครือซีพี โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมกับ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ หรือ JCC ดำเนินการเข้าสู่ปีที่ 36 หนุนโภชนาการที่ดี สร้างคลังอาหารในโรงเรียน-ชุมชน มุ่งถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เยาวชน ปูพื้นฐานอาชีพนำองค์ความรู้ไปใช้ในอนาคต ณ โรงเรียนบ้านนาคำ (โพนสวรรค์) อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม

 

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า  รู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่งที่ JCC ให้ความสำคัญในการส่งเสริมภาวะโภชนาการที่ดีแก่เด็กและเยาวชนไทย ด้วยการสนับสนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน โดยโครงการฯ นี้เป็นตัวอย่างของการบูรณาการงานร่วมกับภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมี มูลนิธิฯ เป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโรงเรียนทั้ง 4 แห่งในพื้นที่จังหวัดนครพนม ที่ได้รับโอกาสนี้ จะดำเนินโครงการด้วยความตั้งใจ บริหารจัดการไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน และขอขอบคุณ JCC มูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ที่เดินหน้าโครงการฯ ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักเรียน โรงเรียน และชุมชน

ด้าน นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และผู้ช่วยบริหารสำนักประธานคณะกรรมการบริหาร ซีพีเอฟ ในฐานะกรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท กล่าวว่า มูลนิธิฯ และซีพีเอฟ ดำเนินโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ก้าวเข้าสู่ปีที่ 36 โดยในปี 2543 มูลนิธิฯผนึกกำลังกับ JCC ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายสนับสนุนโครงการฯ จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 24 ปี โดยเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการฯ ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงโภชนาการที่ดี ให้แก่นักเรียนในพื้นที่ห่างไกลและชุมชนในถิ่นทุรกันดาร สำหรับปีนี้ JCC สนับสนุนงบประมาณ แก่ 4 โรงเรียนในจังหวัดนครพนม ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านนาคำ โรงเรียนบ้านนาเต่า โรงเรียนบ้านค้อ และโรงเรียนพระซองวิทยาคาร

 

ส่วน นายวราราชย์  เรืองศรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ผู้แทนรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ร่วมสนับสนุนมูลนิธิ ทั้งงบประมาณและบุคลากร อย่างเต็มกำลัง ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำด้านการเลี้ยงไก่ไข่ และการจัดการผลผลิตไข่ไก่สด แก่ครูและนักเรียนในโรงเรียนที่ร่วมโครงการฯอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถบริหารโครงการได้ด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมสุขภาพของเด็กเยาวชนไทย ที่เป็นอนาคตของประเทศ จากการบริโภคไข่ไก่อาหารโปรตีนคุณภาพดีอย่างเพียงพอ อิ่มท้อง สมองแจ่มใส และหวังว่าโรงเรียนจะสามารถดำเนินการบริหารจัดการสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน เป็นแบบอย่างให้แก่โรงเรียนอื่นๆ ต่อไป

ทางด้าน นายโคโซ โท รองประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ กล่าวว่า JCC ตระหนักถึงความสำคัญของโภชนาการในเด็กวัยเรียน และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้สนับสนุนโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งผ่านความช่วยเหลือและส่งเสริมในด้านอาหารและโภชนาการแก่เยาวชนไทยในพื้นที่ห่างไกล ด้วยการสนับสนุนงบประมาณสำหรับก่อสร้างโรงเรือน การติดตั้งอุปกรณ์การเลี้ยง พันธุ์ไก่ไข่ อาหารสัตว์ และเวชภัณฑ์ในการเลี้ยงไก่ไข่รุ่นแรก ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน ครู ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารโปรตีนคุณภาพดี ตลอดระยะเวลา  24 ปีที่ผ่านมา มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ภายใต้ความร่วมมือของ JCC รวม 146 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยนำรายได้จากการเลี้ยงไก่ไข่รุ่นที่ 1 มาเป็นกองทุนบริหารจัดการในรุ่นต่อไป ส่งผลให้สามารถขยายผลสู่กิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยสร้างประโยชน์ให้กับโรงเรียนได้อย่างแท้จริง

ปัจจุบันมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน 959 โรงเรียนทั่วประเทศ มีนักเรียนกว่า 180,000 คน คุณครูและบุคลากรทางการศึกษากว่า 1,300 คน ตลอดจนชุมชน ได้เรียนรู้ทักษะการเลี้ยงไก่ไข่ การจัดการบริหารฟาร์มขนาดเล็ก และประยุกต์กิจกรรมสู่การเรียนการสอน เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญด้านการจัดการอาชีพเกษตรเชิงธุรกิจให้กับครู นักเรียน ได้เรียนรู้การบริหารจัดการธุรกิจเกษตร สามารถบริหารจัดการผลผลิตไข่ไก่จำหน่ายให้แก่ชุมชน ทำให้ชาวชุมชนได้บริโภคไข่ไก่สดในราคาที่เหมาะสม สร้างรายได้หมุนเวียน ต่อยอดขยายผล เกิดเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นฐานรากของ “ความมั่นคงทางอาหาร”

X

Right Click

No right click