งานฟุงานฟุตบอลประเพณีสุดยิ่งใหญ่ สืบสานมายาวนาน ส่งต่อรุ่นพี่สู่รุ่นน้องมาหลายทศวรรษ พร้อมประกาศความยิ่งใหญ่อีกครั้งหลังจากหยุดการจัดงานมานานกว่า 5 ปี กับการหวนคืนการแข่งขันที่มีประวัติมายาวนานเพื่อเกียรติยศและศักดิ์ศรีกับ “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 พร้อมปลุกพลังในตัวเองกับแมทซ์หยุดโลก!!! ประกาศความพร้อมในทุกส่วนของงานฟุตบอลประเพณีในครั้งนี้ตบอลประเพณีสุดยิ่งใหญ่ สืบสานมายาวนาน ส่งต่อรุ่นพี่สู่รุ่นน้องมาหลายทศวรรษ พร้อมประกาศความยิ่งใหญ่อีกครั้งหลังจากหยุดการจัดงานมานานกว่า 5 ปี กับการหวนคืนการแข่งขันที่มีประวัติมายาวนานเพื่อเกียรติยศและศักดิ์ศรีกับ “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 พร้อมปลุกพลังในตัวเองกับแมทซ์หยุดโลก!!! ประกาศความพร้อมในทุกส่วนของงานฟุตบอลประเพณีในครั้งนี้
พร้อมร่วมกันสร้างความเป็นหนึ่งของชาวธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ปลุกพลังนิสิตทุกรุ่นทุกสมัย ให้มาเจอกันในนัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง 2 มหาวิทยาลัยเก่าแก่ ที่มีชื่อเสียงอยู่คู่ประเทศไทยมาหลายช่วงยุคสมัย โดยจะกลับมาสร้างความทรงจำครั้งใหม่อีกครั้ง ซึ่งในปีนี้ทางสมาคมธรรมศาสตร์ฯ เป็นเจ้าภาพ สลับกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพในครั้งที่ผ่านมา โดยการจัดงานครั้งนี้ทั้งสองสถาบันได้มีการกำหนดรูปแบบงานที่ยังคงรักษาความยิ่งใหญ่ อลังการ พร้อมรวมความสุข สนุกบันเทิง สะท้อนถึงความรักความสามัคคี รวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกัน
นายลวรรณ แสงสนิท ประธานกรรมการดำเนินงานการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ครั้งที่ 75 กล่าวถึงภาพรวมในงานปีนี้ว่า หากพูดถึงกีฬาของสองสถาบันการศึกษาที่อยู่คู่กันมายาวนานกว่า 90 ปี ก็ต้องคิดถึงการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ที่ห่างหายการจัดงานไปนานกว่า 5 ปี โดยเราพร้อมที่จะจัดงานขึ้นอีกครั้งเป็นครั้งที่ 75 โดยการเตรียมงานจากความรัก ความสามัคคี ของนิสิตนักศึกษาที่เป็นปัญญาชนของทั้งสองสถาบันทุกคนที่พร้อมสื่อสารผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการแปรอักษร, ขบวนพาเหรด เพื่อให้สังคมได้รับรู้และเห็นถึงความตั้งใจ ทั้งในด้านการกีฬา, กองเชียร์ ตลอดจนการแสดงทางความคิดเชิงสร้างสรรค์ของเส้นทางการเมือง-การปกครองของประเทศชาติ ผ่านการจัดงานในครั้งนี้
“การแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ที่ห่างหายไปนาน โดยมีนักศึกษาบางรุ่นไม่เคยได้สัมผัสงานนี้ ได้กลับมาสร้างความยิ่งใหญ่อีกครั้ง เราคาดว่าในทุก ๆ กิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นในปีนี้จะต้องยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยอุปกรณ์การเชียร์จะทำขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ในปีนี้เราตั้งใจทำการแปรอักษรให้ออกมาดีที่สุด เพราะการแปรอักษรถือเป็นเอกลักษณ์ และเสน่ห์ของงานฟุตบอลประเพณี และอีกเสน่ห์ของการแปรอักษรก็คือการที่มีการตอบโต้ระหว่างกันของทั้งสองสถาบัน ผ่านนิสิตนักศึกษามาแปรอักษรจริง ไม่ใช่การแปรอักษรรูปแบบดิจิทัล ซึ่งในปีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่ายินดีที่ทางจุฬาจะเน้นการนำเสนอรูปแบบความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่มีอิสระโดยมีรุ่นพี่ คอยให้คำปรึกษากับรุ่นน้องในการทำงานแต่ละภาคส่วน จึงอยากขอเชิญชวนทุก ๆ ท่านมาพบกันในงานฟุตบอลธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 นี้ครับ”
ทั้งนี้ “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” การแข่งขันที่เป็นไปตามประเพณีดั้งเดิมที่มีมายาวนานระหว่างนักกีฬาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือเป็นการแข่งขันที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและประเพณีในวงการศึกษาของไทย จัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477ทซึ่งนอกจากจะเป็นการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังถือเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองมหาวิทยาลัย และมีความสนุกสนานในส่วนของการเชียร์จากผู้ชมที่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานด้วย
โดย “ฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ” ครั้งที่ 75 นี้มีการออกแบบเสื้อฟุตบอลประเพณีโดย นายภูริทัต ชูชัยยะ คณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ผู้ชนะการประกวดแบบเสื้อเชียร์จุฬาฯ ภายใต้แนวคิด “The Time of Tapestry: อดีต อนาคตของปัจจุบัน” ผ่านการดีไซน์ที่ผสมผสานระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ได้อย่างลงตัว
งานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 75 ทุกท่านฯ สามารถมาร่วมงาน เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ได้ พร้อมกับนิสิต ทั้งรุ่นพี่ที่จบการศึกษาไปแล้ว และกำลังศึกษาอยู่ ที่จะมาพบกัน อีกหนึ่งสีสันที่ขาดไม่ได้ นั่นก็คือ ทีมผู้นำเชียร์แห่งธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์ ปีนี้พร้อมมาก ฟาดแรง ไม่ยั้ง !!! #TEAMCHULA #TEAMTHAMMASAT พร้อมใจส่งแรงเชียร์ ให้ดังกึกก้องไปทั้งสนาม!!! ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 ในวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สนามศุภชลาศัย ประตูเปิดเวลา 12.00 น. เป็นต้นไป