×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 807

2.วิสัยทัศน์ 5G อุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายกำลังพัฒนาและเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี 5G ซึ่งผลพวงจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆ จะทำให้เครือข่าย 5G กลายเป็นศูนย์กลางของระบบนิเวศที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลของสังคมทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง

ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านเทคโนโลยี 2G, 3G และ 4G มาแล้ว ต่อจากนี้เป็นต้นไป เทคโนโลยี 5G ก็จะมาต่อยอดความสำเร็จนี้เพื่อพัฒนาเครือข่าย และแพลตฟอร์มต่างๆ โดยสมาคม GSMA ได้คาดการณ์ว่าจะมีการตอบสนองต่อการใช้งานเครือข่าย 5G เพื่อการพาณิชย์อย่างกว้างขวางในช่วงหลังปี 2020 หรือที่ เรียกกันว่ายุคแห่งเทคโนโลยี 5G

ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในการกำหนดมาตรฐาน 5G ก็กำลังพยายามกำหนด นิยามว่าเทคโนโลยี 5G ควรจะมีลักษณะอย่างไร ซึ่งในทางเทคนิคแล้ววัตถุประสงค์ของเทคโนโลยี 5G ก็คือการโอนถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วอย่างต่ำ 1 Gbps และมีความหน่วงเวลาที่น้อยกว่า 10 มิลลิวินาที อย่างไรก็ตามโดยหลักการ พื้นฐานที่แท้จริงแล้ว ยุคแห่งเทคโนโลยี 5G จะถือเป็นยุคแห่งการเชื่อมต่อแบบไร้พรมแดน และใช้กระบวนการทำงานอัตโนมัติอย่างชาญฉลาดที่จะทำให้ผู้คนมี ความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้น และช่วยเปลี่ยนแปลงกระบวนการในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเทคโนโลยี  5G จะทำงานร่วมกันกับ 4G เพื่อทำให้การเชื่อมต่อในยุค 5G มีความครอบคลุมทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ความก้าวหน้าทางการคำนวณ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และขีดความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์ IoT ต่างๆ จะมีความสมบูรณ์แบบ

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวอุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สายจะต้องทำให้เกิดมาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานเดียวกันและแสวงหาวิธีการใช้เครือข่าย 5G บนเครือข่ายคลื่นความถี่ที่สอดคล้องกันทั่วโลก โดยแผนทางธุรกิจที่ สร้างขึ้นจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมองหาโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ   ที่จะกำหนดราคาการให้บริการ 5G อย่างมีประสิทธิภาพ   และแสวงหาโอกาสสำหรับรายได้ส่วนเพิ่มที่จะมาพร้อมกับศักยภาพที่เหนือกว่าของเทคโนโลยี 5G ที่ไม่เคยมีอยู่ใน 4G

วิสัยทัศน์และเป้าหมายสำหรับยุคแห่งเทคโนโลยี 5G

เทคโนโลยีกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกของเราซึ่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคตจะถูกกำหนดโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, เทคโนโลยี IoT, กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล Big data, การเรียนรู้ของเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีเสมือนจริง ซึ่งจะได้รับการผลักดันโดยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และมีความปลอดภัยซึ่งสามารถงานได้ทุกหนทุกแห่งบน smart devices ที่มีราคาที่ทุกคนสามารถหาซื้อได้ การพัฒนาของเทคโนโลยีอันหลากหลายเหล่านี้จะเติบโตอย่างเต็มที่ในยุคแห่งเทคโนโลยี 5G หรือช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งจะมีการใช้ระบบ 5G เพื่อการพาณิชย์อย่างแพร่หลาย

วัตถุประสงค์ 5 ประการของอุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สายแสดงดังภาพ

GSMA ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของเทคโนโลยี 5G ไว้โดยสรุปได้ดังนี้

  1. ให้บริการเชื่อมต่อแบบไร้พรมแดนสำหรับทุกคน เทคโนโลยี 5G จะเปิดให้บริการควบคู่ไปกับเทคโนโลยี 4G และเทคโนโลยีทางเลือกอื่นๆเพื่อทำให้เกิดประสบการณ์ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบไร้พรมแดน รวดเร็ว ไว้วางใจได้และมีวามปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนแอพพลิเคชั่นในระบบที่มีอยู่อย่างมากมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. บริการเครือข่ายแห่งอนาคตที่มาพร้อมกับรูปแบบธุรกิจใหม่ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในทุกอุตสาหกรรมจะพยายามสร้างให้เกิดการบริการเครือข่ายที่มีคุณภาพดีกว่าเดิมและคุ้มค่าโดยเครือข่ายในอนาคตจะพึ่งพาการผสานรวมกันของเทคโนโลยีกระแสหลักและเทคโนโลยีทางเลือก และผสมผสานการใช้ทั้งคลื่นความถี่ในหลายๆช่วงความถี่ (5G ต้องการแถบคลื่นความถี่ถึง 100 MHz)
  3. เร่งรัดให้เกิดการปฏิรูปทางด้านดิจิทัลของอุตสาหกรรมแนวดิ่ง (vertical) อุตสาหกรรมการสื่อสารแบบไร้สายจะส่งผลให้เกิดเครือข่ายและแพลตฟอร์มที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติของการ ดำเนินกิจกรรมต่างๆในทุกอุตสาหกรรม (การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4)
  4. ปฏิรูปประสบการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง เครือข่าย 5G จะมาพร้อมกับประสบการณ์ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ได้รับการพัฒนาจนมีความเร็วสูงถึง 1 Gbps และการหน่วงเวลาที่น้อยกว่า 10 มิลลิวินาที พร้อมทั้งแพลตฟอร์มสำหรับบริการที่อาศัยเทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI)
  5. ผลักดันให้เกิดการเติบโตของการเชื่อมต่อ IoT โดยเครือข่าย 5G จะทำให้เกิดแพลตฟอร์มที่เพียงพอสำหรับการรองรับการใช้บริการด้านการสื่อสารที่จำเป็น เช่น การควบคุมหุ่นยนต์และรถยนต์

บทความ โดย : พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ “Next-Gen. Leaders & Next-Gen. Mobile Tech” โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช. จากงาน Thailand MBA Forum 2018  ได้ที่นี่

1. บทนำ ในยุคเทคโนโลยี 5G ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า 4G ถึง 10 เท่าเป็นอย่างต่ำ โดยจะใช้แถบความกว้างของความถี่ในระดับ 50 - 100 MHz ซึ่งจะทำให้หุ่นยนต์และมนุษย์ทำงานร่วมกันในโรงงาน และในโรงงานจะทำหน้าที่เหมือนวง ดนตรีที่เล่นเพลงเดียวกันอย่างไพเราะด้วยเครื่องดนตรีที่หลากหลาย นอกจากนี้หุ่นยนต์จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบคลาวด์ (Cloud robotics) ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อความปลอดภัยและสั่งการควบคุมกระบวนการ ซึ่ง 5G ไม่ได้มีการก้าวกระโดดแค่เรื่องความเร็ว   แต่จะมีการเพิ่มจำนวนเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อกันได้มากขึ้นและ สามารถรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ได้ถึงล้านล้านชิ้น อุปกรณ์ทั่วโลกซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน 5G ที่มีการวางไว้แล้ว

ทั้งนี้การวิเคราะห์และการคาดการณ์จากสำนักวิจัยหลายสำนักสามารถสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมสื่อและโทรคมนาคมจะถูกพลิกโฉมอย่างที่ไม่เหลือรูปแบบเดิมๆ ประมาณช่วงปี 2023-2025 (หลังจากการประกอบร่างของ AI และ Big data สำเร็จ) ตามมาด้วยอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารและค้าปลีกในช่วงปี  2025  (หลังจากการประกอบร่างระหว่าง AI, Big data และ Blockchain สำเร็จ) ไปจนถึงอุตสาหกรรมพลังงานในปี  2030  (หลังจากการประกอบร่างระหว่าง  AI,  Big data, Blockchain และ Energy storage สำเร็จ)  ซึ่งหลังจากปี  2030  จะเป็นภาพจริงของการอพยพจากอุตสาหกรรมเก่าเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) อย่างสมบูรณ์แบบ

การให้บริการ Mobile broadband กำลังก้าวไปสู่ระบบ 5G โดยมีแผนที่จะวางโครงข่ายครั้งแรกในหลายประเทศไม่เกินปีนี้ (ปี 2018) ซึ่งถือได้ว่าเร็วกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ถึง 2 ปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันที่รุนแรง ในความพยายามที่จะผลักดันให้การบริการ Mobile broadband ที่สามารถให้บริการ Digital platform ในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก

ความต้องการเพิ่มความเร็วเครือข่ายในระดับ Gbps และการมีแอพพลิเคชั่นที่ หลากหลาย ส่งผลทำให้ 5G มีผลกระทบต่อบทบาทและขอบเขตของการให้บริการ โทรคมนาคมอย่างมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาในการให้บริการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเงินการธนาคาร, ประกันภัย, การขนส่ง, ค้าปลีก บันเทิง ไปจนถึง พลังงาน

เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้กลายเป็นเครื่องมือหลักของการเข้าถึงการเชื่อมต่อระหว่างคนด้วยกันเอง   และระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร   และจะส่งผลกระทบต่อทุกสิ่งทุกอย่างบนอินเทอร์เน็ต ไปจนถึงระบบเมืองอัจฉริยะด้วยการเชื่อมโยงของ Internet of Things  (IoT), รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง,  หุ่นยนต์,  Virtual Reality (VR), Big Data เป็นต้น โดยจุดเด่นของ 5G ที่สำคัญได้แก่

(1) เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5G จะกลายเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงเครือข่ายสำหรับเชื่อมต่อระหว่างคนด้วยกันเอง และระหว่างคนกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร โดยเครือข่ายเหล่านี้จำเป็นจะต้องพัฒนาปรับปรุงเครือข่าย ทั้งในแง่ของคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัย

(2) 5G  จะผลักดันให้วิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตมุ่งเน้นไปที่พื้นฐานสำคัญ 2 ประการ นั่นคือความจุเครือข่าย (ความเร็วในการส่งข้อมูล) และความสามารถในการเชื่อมต่อที่หนาแน่น เพื่อลดปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคอขวดจากการเพิ่ม ขึ้นของ real-time videos

(3)  ความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วของ  5G  ในระดับ  Gbps  จะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันในเมืองอัจฉริยะทำได้แบบ real time ส่งผลให้สภาพแวดล้อมภายในเมืองมีประสิทธิภาพในการบริหาร ทรัพยากรมากขึ้น  เช่น  การควบคุมจราจร  จะพัฒนาได้มากเมื่อสามารถวิเคราะห์ สภาพถนนได้แบบ real time โดยการใช้กล้อง IP ที่ชาญฉลาด

(4) การสำรวจของอีริคสันพบว่าร้อยละ 95 ของผู้นำด้านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เชื่อว่า 5G จะเข้ามาช่วยสนับสนุนการใช้ข้อมูลปริมาณมหาศาลจากอุปกรณ์ IoT ซึ่งผลสำรวจยังกล่าวถึงการนำ 5G มาใช้ โดยร้อยละ 64 จะใช้เครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในการส่งผ่านข้อมูลไปยังอุปกรณ์ต่างๆ โดยใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนการเชื่อมต่อ WiFi, ร้อยละ 38 ใช้ดำเนินการด้านสุขภาพ เช่น บริษัท เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสามารถใช้อุปกรณ์  IoT ในการเชื่อมต่อ 5G เพื่อตรวจสอบผู้ป่วยที่กำลังฟื้นตัวจากการรักษา, ร้อยละ 36 ใช้ในการควบคุมระยะไกลแบบ real time เช่น  บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติใช้การเชื่อมต่อ 5G เพื่อสำรวจและ ตรวจสอบความพร้อมและความผิดปกติของระบบต่างๆ

สำหรับมุมมองของโนเกียเชื่อว่าเครือข่าย 5G จะทำให้ผู้ใช้งานระบบเสมือนจริง สามารถทำงานร่วมกันได้ราวกับว่าอยู่ใกล้กัน ซึ่งอาจจะดูเหมือนวิดีโอเกมยุคใหม่ และการทำงานร่วมกันจากระยะไกลโดย 5G จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ใน การนำระบบอัตโนมัติมาใช้กับทุกสิ่งทุกอย่าง โดย 5G จะสร้างแพลตฟอร์มเพื่อ บริหารจัดการด้วยการเชื่อมโยงสู่ Cloud robotics

Facebook ประกาศว่าโครงการ Telecom Infra Project เป็นความคิดริเริ่มในการออกแบบเพื่อปรับปรุงโครงสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับ ความต้องการใช้งานข้อมูลที่มีเพิ่มขึ้นของโลก อีกทั้งบริษัทเครือข่ายทางสังคม (Social media)ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้จำหน่ายอุปกรณ์ เช่น Nokia, Intel และ Deutsche Telekom เพื่อให้สามารถดำเนินการรับมือกับการใช้งานข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นระบบ VR และการ ดูวิดีโอออนไลน์ เป็นต้น

หนึ่งในจุดเด่นของ 5G คือความสามารถในการลดความหน่วงเวลาได้อย่างมาก (Ultra-low latency) เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับรถยนต์ได้อย่างต่อเนื่องแบบ Real time ซึ่งสามารถพัฒนาความปลอดภัยของยานพาหนะได้อย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น ความหน่วงเวลาที่ต่ำของ 5G จะช่วยให้เครือข่ายหุ่นยนต์สามารถดำเนินงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้

นอกจากนี้เทคโนโลยีเครือข่าย 5G ยังเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จสำหรับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ยุคใหม่ ที่มีการควบคุมแบบไร้สายมากกว่าการสื่อสารแบบมีสายและการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์ (Cloud robotics) ด้วยความสามารถเหล่านี้  ทำให้หุ่นยนต์สามารถถูกควบคุมการเคลื่อนที่ ได้อย่างแม่นยำและ real time มากที่สุด และสามารถเชื่อมได้กับทั้งคน เครื่องจักร อุปกรณ์ทั้งในประเทศและทั่วโลก

ความท้าทายที่สำคัญของผู้ให้บริการเครือข่าย 5G ในอนาคต ได้แก่ มาตรฐาน การให้บริการ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งความ ท้าทายของเทคโนโลยีเครือข่าย 5G จะต้องมุ่งเน้นการเชื่อมต่อของสังคมดิจิทัล (Digital Society) ในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยสำคัญประกอบด้วย

  • ระบบเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นทำให้เครือข่ายเคลื่อนที่และอุปกรณ์ สามารถเชื่อมต่อได้ง่ายขึ้น ซึ่งในอดีตที่ผู้ให้บริการต้องพบกับข้อจำกัดต่างๆ
  • สามารถเชื่อมต่อองค์ความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของอินเทอร์เน็ต การให้บริการคลาวด์ และการวิเคราะห์ Big Data
  • การขับเคลื่อนนวัตกรรม 5G โดยการเปลี่ยนผ่านและหลอมรวมทางเทคโนโลยี (Technology convergence)และโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT จะผลักดันให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการในทุกอุตสาหกรรม

ในอนาคตข้างหน้า 5G จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในการใช้ ในชีวิตประจำวัน การทำงาน และบันเทิง ซึ่งถือว่าเทคโนโลยี 5G จะเป็นหนึ่งในผู้เปลี่ยนเกมการให้บริการและ Business model ในอุตสาหกรรมทุกอุตสาหกรรมและ ทุก Digital platform และแน่นอนความเสี่ยงด้านไซเบอร์ก็จะทวีคูณขึ้นเป็นเงาตาม ตัวด้วยความเร็วในระดับ 5G เช่นกัน

มีการคาดการณ์จากนักอนาคตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ไว้ว่า TV ในอนาคต อาจจะเป็นเพียงพลาสติกใสบางๆ และในที่สุดจะเป็นภาพลอยขึ้นมาแบบสามมิติ ด้วย content ที่ผลิตผ่าน social media ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายใน 10 ปีจากนี้

อย่างไรก็ตามรูปแบบอนาคตของ TV ณ ขณะนี้ยังเป็นการต่อสู้ระหว่าง 5G และ social media เช่น Facebook, Google, Youtube และ social media อื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นความสั่นสะเทือนวงการ TV ดั้งเดิมเป็นอย่างมาก

หลังจากการวางเคเบิ้ลไฟเบอร์ออฟติกใต้น้ำ (submarine optical cable) ตั้งแต่ปี 2000 ที่มีการแข่งขันกันกันสูงมากจนทำให้โลกถูกเชื่อมโยงด้วยทางด่วนข้อมูลใต้น้ำอย่างสมบูรณ์ จึงเป็นผลทำให้ราคาค่าเชื่อมโยงผ่านเคเบิ้ลใต้น้ำมีราคาถูกกว่า การเชื่อมโยงด้วยดาวเทียม และยังมีความเร็วสูงกว่าการส่งข้อมูลด้วยดาวเทียมอีกด้วย ผลกระทบดังกล่าวจึงทำให้ระบบ Mobile broadband มีต้นทุนในการส่ง content ถูกกว่าด้วยการส่ง content ผ่านระบบดาวเทียมเป็นอันมาก ยิ่งไปกว่านั้น ขีดความสามารถของโครงข่าย Mobile broadband มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด พร้อมทั้งการเข้าถึงของประชากรโลกมีความง่ายดายด้วย smart devices ที่มีราคาที่ ทุกคนสามารถหาซื้อได้ โดย GSMA คาดการณ์ว่ากว่า 70% ของประชากรโลกจะมี smartphone ใช้ภายในปี 2020 (ณ ขณะนี้ปี 2018 มีถึง 66%)

การให้บริการ Mobile broadband 5G ทำให้ผู้ให้บริการโครงข่าย (Network operators) จะต้องหาวิธีการรับมือกับปริมาณข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของ เทคโนโลยีไร้สายยุคใหม่ ที่มีการใช้งานเครือข่ายที่หนาแน่นมาก โดยขณะนี้ AT&T ได้ทดลองการให้บริการเครือข่าย 5G เพื่อแพร่ภาพโทรทัศน์ที่มีชื่อ โครงการว่า DirecTV Now  ซึ่งให้บริการวิดีโอออนดีมานด์ (VDO on demand) ในรูปแบบสตีมมิ่ง และได้เริ่มทดลองแพร่ภาพในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 ใน เมืองออสติน รัฐเท็กซัส  ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว

AT&T ทำการทดลองแพร่ภาพสตรีมมิ่งเป็นครั้งแรกผ่านโครงข่าย 5G โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อ "ทำให้เครือข่าย 5G สามารถให้บริการแทนระบบสายเคเบิ้ล" ซึ่งขีดความสามารถตามมาตรฐานของเทคโนโลยี 5G ได้ถูกกำหนดไว้โดย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)  เพื่อสามารถรองรับการใช้งานรับส่ง ข้อมูลปริมาณมากๆ เช่น วิดีโอ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบ real time อีกทั้งยัง สามารถรองรับการให้บริการด้านบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ในอนาคตได้อีกด้วย

ซึ่งการให้บริการเช่นนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการอวสานของ “เคเบิ้ลทีวี” ที่ กำลังจะมาถึงเร็วๆนี้ ด้วยบริการเครือข่ายไร้สาย 5G ที่มีราคาถูกกว่า,   มีประสิทธิภาพดีกว่าและเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายกว่าด้วย smartphone ที่มีขีดความ สามารถสูงและราคาถูก

5G ถือเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายไร้ที่มีเป้าหมายให้สามารถบริการด้วยความเร็วที่ สูงกว่าเครือข่าย 4G ถึง 100 เท่า โดยสามารถดาวน์โหลดด้วยความเร็วถึง 14 Gbps ซึ่งหากเทียบกับความเร็วสูงสุดที่ AT&T ให้บริการบนเครือข่าย 4G ใน ประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ ณ ขณะนี้ ที่มีความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดอยู่ที่ 14 Mbps เท่านั้น

ผู้ให้บริการโครงข่าย (Network operators) หลายรายในสหรัฐฯ ต่างมุ่งผลักดัน เพื่อการให้บริการแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Verizon Wireless, AT&T, Sprint และ T-Mobile ต่างก็เริ่มมีการทดสอบการให้บริการเครือข่าย 5G กันไปบ้างแล้ว ซึ่งใน ปี 2017 ที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการทดสอบเครือข่าย 5G ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่ง จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการภายในปี   2018

อย่างไรก็ตามในขณะที่ผู้ให้บริการโครงข่าย 5G (Network operators) พยายาม แย่งชิงเพื่อที่จะเป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรม TV แต่ Facebook ก็ได้ประกาศไปแล้วว่า กำลังจะเริ่มให้บริการแพร่ภาพแบบสตรีมมิ่ง (Streaming videos) ผ่านแพลตฟอร์ม หลักของ Facebook โดยสามารถแสดงผลบนจอ TV แบบปกติโดยผ่านอุปกรณ์ เช่น Apple TV หรือ Google Chrome-cast ซึ่งการให้บริการดังกล่าวจะทำให้ สามารถรับชม Facebook videos บนจอขนาดใหญ่ได้ ซึ่งจะทำให้ social media เพิ่มความสามารถในการให้บริการเสมือนเป็นสถานีโทรทัศน์

นับจากนี้ไปสงครามชิงดำเพื่อยึด Landscape ใหม่ของ TV คงจะระอุอย่างยิ่ง ซึ่งคงเป็นเรื่องที่ยากในการคาดการณ์ว่าจะจบลงในรูปแบบใด

 


บทความ โดย : พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)


สามารถรับชมคลิปวิดีโอ หัวข้อ “Next-Gen. Leaders & Next-Gen. Mobile Tech” โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กสทช. จากงาน Thailand MBA Forum 2018 ได้ที่นี่

 

 

 

 

จุดพลุสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น 130 ปี จับมือหน่วยงานเศรษฐกิจพร้อม ด้วยคณะผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ระดับสูงจากญี่ปุ่นกว่า 500 ราย หารือแนวทางการยกระดับและสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ร่วมกัน เผยญี่ปุ่นให้ความสนใจในนโยบายไ ทยแลนด์ 4.0 พร้อมเตรียมให้การสนับสนุนการพั ฒนาEEC หรือ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยด้วยกา รถ่ายทอดการประยุกต์เทคโนโลยีดิ จิทัลและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการ นักลงทุนจากไทยและญี่ปุ่นอีกกว่า 1,400 รายเข้าร่วมรับฟังโอกาสแห่งความ ร่วมมือของภาครัฐบาล ภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น ในการส่งเสริมและยกระดับการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศ

test

July 21, 2017

หิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า  ตั้งแต่ปี 2559 ถึงเดือน มิถุนายน 2560 บีโอไอได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนในกิจการประกอบหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์อัตโนมัติซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 แล้วจำนวน 16 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 1,400 ล้านบาท  คือ

  • กิจการผลิตเครื่องกลึงอัตโนมัติควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CNC Lathe Machine) ของบริษัทซิติเซ็น แมชชีนเนอรี่ เอเชียจำกัด  
  • กิจการผลิตเครื่องออกตั๋วและประตูกั้นชานชลาในรถไฟฟ้าใต้ดิน ของบริษัทจินป่าว พรีซิชั่น อินดัสทรี่ จำกัด
  • กิจการผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และยางรถยนต์ ของบริษัท อิโซเบะ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นต้น

ล่าสุดบีโอไอยังได้อนุมัติการลงทุนในกิจการผลิตหุ่นยนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับระบบอัตโนมัติเพื่อการอุตสาหกรรม ของบริษัท นาชิ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตรายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นที่ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้วถึง 9 โครงการ ตั้งแต่ปี 2542 โดยได้ขยายการลงทุนเพิ่มเติมมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท เพื่อตั้งโครงการผลิตหุ่นยนต์  (Industrial Robots) ที่ สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.ระยอง

โดยเป็นหุ่นยนต์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป รวมทั้งจะมีบริการซ่อมแซมหุ่นยนต์ที่ผลิตเอง ซึ่งจะช่วยทดแทนการนำเข้าหุ่นยนต์และเครื่องจักรสำหรับงานอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ คาดว่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 764 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้บริษัทยังได้ตั้งศูนย์จัดแสดงสินค้าสำหรับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ตลอดจนส่วนทดสอบการให้บริการ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ และอบรมการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติให้กับลูกค้า  (Robot Technical Center) ซึ่งศูนย์ดังกล่าวจะเป็นศูนย์แห่งที่ 4  ของบริษัท หลังจากที่มีการจัดตั้งแล้วที่สหรัฐอเมริกา  จีน และไต้หวัน และในอนาคตหากการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในไทยขยายตัวบริษัทก็มีแผนจะขยายการผลิตและเปิดศูนย์ฯเพิ่มขึ้น

 

นางหิรัญญา กล่าวว่า โครงการลงทุนของบริษัทครั้งนี้นับเป็นการลงทุนโครงการที่ 10 ในประเทศไทย และเป็นโครงการแรกของบริษัทที่มีการลงทุนผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

รวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนกับบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นดำเนินการในปัจจุบัน ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยี ความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในรูปแบบสหกิจศึกษา (Work Integrated Learning :WiL) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อพัฒนาบุคลากรช่างฝีมือในประเทศไทย

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เดินหน้านโยบายพลังงานฐานนวัตกรรม “Energy 4.0” ยกระดับประสิทธิภาพของระบบพลังงาน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มมูลค่า ผสานกับการใช้พลังงานสะอาด เปิดตัวคลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์เรื่อง “Energy 4.0” ดึงมาสคอต ‘ฮีโร่พลังคิด’ มาเป็นตัวเอกเดินเรื่องด้วยข้อมูลที่ย่อยง่ายเพื่อสร้างการเข้าใจถึงทิศทางพลังงานยุคใหม่ ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click