September 07, 2024

วันนี้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างสมบูรณ์ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย หรือผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 13.64 ล้านคน คิดเป็น 19.5% หรือ 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานอยู่จำนวน 5.11 ล้านคน คิดเป็น 37.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด การเผชิญหน้ากับ 'สังคมผู้สูงอายุ' จึงนับเป็นโจทย์ที่ท้าทายเพราะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรครั้งสำคัญ

มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ตระหนักถึงสถานการณ์ของสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยมาโดยตลอด จึงได้ขับเคลื่อน "โครงการบ้านชื่นสุข" ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างพลังกายและพลังใจให้กับผู้สูงวัย ควบคู่ไปกับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ ให้ก้าวข้ามผ่านความกลัว ความเศร้า และความทุกข์ใจ เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าในตนเอง เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

ธิดา สำราญใจ ผู้บริหารด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท กล่าวว่า ผู้สูงอายุถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อสังคมและประเทศชาติ เพราะเป็นผู้ที่พร้อมไปด้วยความรู้ ประสบการณ์ คุณวุฒิ และภูมิปัญญา การทำให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างมีความสุขในบั้นปลาย โดยต้องมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ได้รับเกียรติ ได้รับการยอมรับ การเห็นคุณค่า ทั้งจากครอบครัวและสังคม ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ขณะเดียวกัน "ผู้สูงอายุ" ก็ถือเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมโทรมถดถอยในด้านต่างๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ อาจมีโรคภัยที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

“โครงการบ้านชื่นสุข เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่อยู่บ้านเพียงลำพัง และมีภาวะเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า แต่ยังสามารถ ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ ให้ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยบุคลากรอาสา เพื่อให้ท่านรับรู้ได้ว่าตนเองยังมีความสำคัญ มีคนห่วงใย พร้อมช่วยดูแล สร้างความอบอุ่นใจให้พวกท่าน เพื่อที่จะต่อสู้กับชีวิตในวัยสูงอายุได้ดีขึ้น และยังถือเป็นการตอกย้ำในเรื่อง “ความกตัญญู” รวมถึงการตอบแทนบุญคุณ รู้จักให้ ที่คนรุ่นลูกรุ่นหลานพึงกระทำ” ธิดา กล่าว

ทางด้าน อาจารย์ อัญชลี ไก่งาม อดีตรองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าแดงวิทยา ต.หัวง้ม อ.พาน จ.เชียงราย ที่ปัจจุบันได้เข้ามาเป็นบุคลากรอาสา ดูแลโครงการบ้านชื่นสุขร่วมกับมูลนิธิฯ กล่าวว่า โครงการบ้านชื่นสุข เป็นโครงการฯ ที่สร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุอย่างแท้จริง ทำให้ผู้สูงวัยเข้าใจถึงคำว่า “แก่อย่างสง่า ชราอย่างมีคุณภาพ"  เพราะสามารถพึ่งพาตนเองได้ และไม่เป็นภาระของสังคม อย่างน้อยโครงการฯ ก็ได้ช่วยแบ่งเบาภาระทั้งภาครัฐ และลูกหลานที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในการดูแลผู้สูงวัยในครอบครัว

“ถึงแม้ผู้สูงอายุบางคนจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ก็ยังต้องการความรัก การเอาใจใส่จากครอบครัวและลูกหลาน จึงอยากเชิญชวนให้ลูกหลานกลับไปเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้านกันบ้าง ไม่ต้องมีเงินทองมากมายมาให้ เพียงแต่มาเยี่ยม มาพูดคุย ให้กำลังใจ อยู่เป็นเพื่อนท่านบ้าง ก็ถือเป็นการสร้างความสุขในบั้นปลายให้แก่ท่านแล้ว” อาจารย์อัญชลี กล่าว

บุญยนุช จันทร์บุญธรรม หรือ คุณยายญา ตัวแทนผู้เข้าร่วมโครงการฯ บอกนิยามของโครงการฯนี้ว่า “กินอิ่ม นอนอุ่น” เป็นคำพูดที่เข้าใจได้ง่าย และสะท้อนผลสำเร็จ ของโครงการฯ จากสุขภาพร่างกายที่อ่อนแรง และจิตใจที่อ่อนแอ การได้เข้าร่วมโครงการบ้านชื่นสุข ทำให้ได้ศึกษาธรรมะ ฝึกสมาธิ และทำกิจกรรมสันทนาการต่างๆร่วมกับคนในวัยเดียวกัน คุณยายรู้สึกสนุกและมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเจอเพื่อน ๆ โครงการฯ นี้พลิกฟื้นชีวิตให้กลับมาเป็นปกติ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง กลับมาทำกับข้าว กวาดบ้านถูบ้านได้ สรุปง่ายๆว่า “ช่วยคืนชีวิต คืนความสุขให้กับผู้สูงอายุได้ 100%”

โครงการบ้านชื่นสุข ถือเป็นหนึ่งในโครงการที่ตอกย้ำความเชื่อของเครือซีพี ในคุณค่า ‘ความกตัญญู’ ที่สามารถบ่มเพาะให้เติบโตในจิตใจของทุกคน ที่จะกลายเป็นการหยั่งรากสร้างพื้นฐานที่มั่นคงและยั่งยืนในสังคม ซึ่งถือเป็นคุณธรรมที่ดีงามของสังคมไทย

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มอบผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพ สนับสนุนโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 42 ร่วมสร้างโอกาสการเรียนรู้แก่เยาวชนจากพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ มุ่งพัฒนาทัศนคติแนวคิด สู่การพัฒนาตนเองและครอบครัว สู่การเป็น “คนดีของสังคม” พร้อมนำความรู้ไปต่อยอดสร้างโอกาสทางการศึกษาในอนาคต ณ สโมสรทหารบก (ส่วนกลาง) วิภาวดี กรุงเทพมหานคร

โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 42 ได้รับเกียรติจาก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกมูลนิธิ "สานใจไทย สู่ใจใต้" เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ พร้อมด้วย นายอารีย์ วงศ์อารยะ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิฯ โดยมี นายจอมกิตติ ศิริกุล ผู้บริหารสูงสุด สายงานด้านบริหารกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และผู้ช่วยบริหารสำนักประธานคณะกรรมการบริหาร ซีพีเอฟ เป็นผู้แทนบริษัท ร่วมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำศาสนา ครอบครัวอุปถัมภ์ เยาวชนผู้ร่วมโครงการฯ และครูพี่เลี้ยง เข้าร่วมกิจกรรมรวมกว่า 350 คน

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวว่า “สานใจไทย สู่ใจใต้” ชื่อโครงการนี้ได้แสดงออกถึงความร่วมมือของทุกคนในประเทศไทย ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันช่วยเหลือดูแล ส่งเสริม ให้ความอนุเคราะห์แก่เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีโอกาสได้รับสิ่งที่พวกเขาใฝ่ฝันไว้ นอกจากนี้ ขอฝากถึงเยาวชนให้จดจำดำริของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ว่า "ความเป็นไทย และความเป็นธรรม" ความเป็นไทย หมายถึง ความรัก ความผูกพัน โอบอ้อมอารี โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีความเชื่อเหมือนกัน แต่เมื่อมารวมกันเป็นคนไทยแล้ว ก็จะมีสิ่งนั้นอยู่ในความรู้สึกอยู่ในความคิดของทุกคน และเมื่อมีความเป็นไทย มีความผูกพันกันแล้ว การให้ "ความเป็นธรรม" ก็เกิดขึ้นได้ไม่ยาก จากความยุติธรรม มีความเท่าเทียมกัน ภายใต้กรอบวัฒนธรรมและกฎหมายของสังคม

ด้าน นายจอมกิตติ ศิริกุล กล่าวว่า ซีพีและซีพีเอฟ โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 20 สำหรับโครงการฯในรุ่น 42 นี้ บริษัทมอบผลิตภัณฑ์อาหาร ไข่ไก่สดซีพี และข้าวตราฉัตร ให้แก่เยาวชนและพี่เลี้ยง จำนวน 350 คน สำหรับนำไปประกอบอาหารบริโภคตลอดช่วงที่พักอาศัยกับครอบครัวอุปถัมภ์  ในระหว่างวันที่ 17 เมษายน – 27 พฤษภาคม 2567 ตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรมเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้ร่วมกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ ประสบการณ์ทักษะอาชีพ และได้พำนักกับครอบครัวอุปถัมภ์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ได้พัฒนาทัศนคติแนวคิด สู่การพัฒนาตนเองและครอบครัว เพื่อเป็นคนดีของสังคม พร้อมนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสร้างโอกาสทางการศึกษาต่อไปในอนาคต

ทางด้าน อาวาตีฟ โชติจันทร์ ตัวแทนเยาวชน กล่าวถึงสาเหตุที่ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ว่าต้องการพัฒนาตนเอง และออกจากกรอบ ประกอบกับอยากลองทำสิ่งใหม่ๆ โดยหวังว่าจะได้นำประสบการณ์ที่ได้รับไปพัฒนาในด้านต่างๆ และโครงการฯ นี้ถือเป็นโอกาสที่ดีและเป็นประสบการณ์ที่ไม่อาจหาได้จากที่อื่น

กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการจัดในนาม มูลนิธิ “สานใจไทย สู่ใจใต้” เป็นครั้งแรก โดยมูลนิธิฯ มีเป้าหมาย สนับสนุนให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมเดียวกัน มีความเป็นธรรม ความเป็นไทยเท่าเทียมกัน โดยโครงการ “สานใจไทย สู่ ใจใต้” เกิดขึ้นจากดำริของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ

วันนี้ เอสเอพี (SAP) ประกาศความร่วมมือกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ประยุกต์ใช้ชุดโซลูชันอันหลากหลายของ เอสเอพี ขับเคลื่อนการเติบโต ความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด และเพื่อความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์และองค์กรในอนาคต

ซีพีเอฟ เป็นผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรระดับโลก ผู้ผลิต หมู ไก่ กุ้ง และปลา  ดำเนินธุรกิจใน 17 ประเทศ ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปยังกว่า 50 ประเทศ เข้าถึงผู้บริโภคมากกว่า 4 พันล้านคนทั่วโลก ซีพีเอฟกำลังดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลด้วยการประยุกต์ใช้โซลูชัน RISE with SAP, SAP Sustainability Footprint Management, SAP Sustainability Control Tower, และ SAP Environment Management เพื่อธุรกิจที่พร้อมสำหรับอนาคตและรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบด้านความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก

ความมุ่งมั่นสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของซีพีเอฟ มุ่งสู่การเป็น “ครัวของโลกที่ยั่งยืน”  ซีพีเอฟเป็นบริษัทผลิตอาหารบริษัทแรกในโลกที่ได้รับอนุมัติทั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว สอดคล้องตามมาตรฐาน Forest, Land and Agriculture (FLAG) ซึ่งเป็นมาตรฐานเฉพาะสำหรับภาคเกษตรและอาหาร จากองค์กร the Science Based Targets initiative (SBTi) การประยุกต์ใช้โซลูชันด้านความยั่งยืนของ เอสเอพี เพื่อบันทึก รายงาน และดำเนินการกับข้อมูลด้านความยั่งยืน จะสามารถช่วยในการขับเคลื่อนการบัญชีคาร์บอน ทั้งในระดับองค์กรและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero)  ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 1 และ 2 ลง 42% และขอบเขตที่ 3 ลง 30.3% ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573  และภายในปี พ.ศ. 2593 บริษัทมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซขอบเขต 1 และ 2 ลง 90% และขอบเขต 3 ลง 72%

ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นเพียงทางออกเดียวในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซีพีเอฟตระหนักและมุ่งมั่นมีส่วนร่วมช่วยลดผลกระทบที่มีต่อโลกใบนี้ มุ่งมั่นผลิตอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับผู้บริโภค เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดีต่อโลก ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การทำปศุสัตว์ จนถึงการผลิตอาหาร ไปสู่อาหารบนจานของผู้บริโภคก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยโซลูชัน RISE with SAP และ SAP sustainability solutions ช่วยให้ซีพีเอฟสามารถบันทึกและผู้บริหารได้รับรายงานข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ซีพีเอฟสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว มีข้อมูลครบถ้วน และช่วยในการดำเนินงานที่ยั่งยืนเพื่อโลกของเรา”

เทคโนโลยี เอสเอพี ช่วยสนับสนุน ซีพีเอฟ ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบคาร์บอนในอนาคตที่กำลังจะมีขึ้นในตลาดต่างๆ รวมถึง มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป (EU C-BAM) หรือ SEC climate risk disclosures ของสหรัฐอเมริกาด้วย

หัวใจสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเน้นไปที่ลดการปล่อยก๊าซในห่วงโซ่อุปทาน หรือ ขอบเขตที่ 3 ของซีพีเอฟ ซึ่งมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การทำงานร่วมกับ SAP Services, YASH Technologies เพื่อใช้ความเชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนของบริษัท และทำการโฮสต์บน Amazon Web Services (AWS) ซีพีเอฟจะสามารถใช้โซลูชันด้านความยั่งยืนของ เอสเอพี เพื่อบันทึกและรายงานผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1 และ 2 ในประเทศไทย และบันทึกขอบเขตที่ 3 (3.1 และ 3.4) สำหรับธุรกิจอาหารสัตว์ในประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งแบบ FLAG และ non-FLAG และในช่วงระยะต่อไปของการดำเนินการก็จะขยายขอบเขตให้ครอบคลุมไปทั้งการดำเนินงานทั่วโลก

ความยั่งยืนของคลาวด์ 

พอล แมริออท ประธานกรรมการ เอสเอพี ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า “ความยั่งยืนคือโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับธุรกิจทั่วเอเชีย การใช้ RISE with SAP และโซลูชันด้านความยั่งยืนของเราจะช่วยให้ ซีพีเอฟ ก้าวนำหน้ากฎระเบียบด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตเท่านั้น และช่วยผลักดันธุรกิจเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ด้วยการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น และสามารถใช้ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ขับเคลื่อนประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ดีมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน และสร้างความแตกต่างทางธุรกิจกับคู่แข่งได้”

เยี่ยมชมศูนย์ข่าว SAP News Center หรือติดตาม เอสเอพี ได้ที่ @SAPNews

หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cpfworldwide.com/en/media-center/list/sustainability  

 

“วลัยพร ช่วยยก” เจ้าของร้านจำหน่ายข้าว ใน อ.เมืองนครศรีธรรมราช ที่ทำเป็นธุรกิจครอบครัวมาหลายปี กระทั่งผันตัวเองมาเปิดร้านไก่ย่าง กับธุรกิจห้าดาว จากจุดเริ่มต้นที่ลูกชายของเธอชอบรับประทานไก่ย่าง ประกอบกับตัวเธอเองเป็นคนที่ใส่ใจกับเรื่องอาหารการกินอยู่แล้ว จึงตั้งมาตรฐานกับอาหารสำหรับครอบครัวไว้ค่อนข้างสูง ไม่ใช่จะทานอะไรก็ได้ ดังนั้นเนื้อไก่ที่ลูกทานก็ต้องเป็นไก่ที่ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย ซึ่งแบรนด์เดียวที่เธอมั่นใจคือ “ไก่ย่างห้าดาว”

วลัยพรไม่รีรอที่จะติดต่อส่วนกลางของธุรกิจห้าดาวผ่านเบอร์ 02-800-8000 จากนั้นทีมงานห้าดาวในพื้นที่นครศรีธรรมราช ก็ติดต่อกลับเธอในทันที ตั้งแต่เข้ามาช่วยหาพื้นที่ในการเปิดร้าน การดูทำเลร้าน รวมถึงประสานงานกับพื้นที่ จนในที่สุดร้านห้าดาวสาขาแรก ที่หน้าร้านเซเว่นเปิดใหม่ หน้าอบต.ท่าซัก อ.เมืองนครศรีธรรมราช จึงเริ่มต้นเปิดร้านในเดือนมิถุนายน 2565 ในรูปแบบกลาสเฮ้าส์ ที่ทันสมัย มีที่นั่งในร้านอย่างสะดวกสบาย จึงได้รับการตอบรับจากลูกค้าที่ดีมาก สาขานี้ขายดีอย่างที่ตั้งเป้าไว้

“ตอนที่เริ่มเปิดสาขาแรก ก็ไม่คิดว่าจะทำจริงจังขนาดนี้ แค่อยากให้เป็นธุรกิจเสริมเพื่อให้ลูกได้ทานไก่ย่างที่ได้มาตรฐาน แต่เวลาทำอะไรเราทุ่มเทอยู่แล้ว โดยเริ่มลงทุนทำเองตั้งแต่เริ่มต้น ทางห้าดาวให้ไปเรียน 5 วัน โดยให้ทีมงานไปด้วย 1 คน ได้เรียนรู้รูปแบบธุรกิจ การบริหารร้าน การจัดการสินค้า เทคนิคการขาย จากนั้นก็ลงมือเองทุกอย่าง เพื่อให้เราทำเป็นและในที่สุดคือสอนงานทีมงานได้ หลังจากใช้เวลาเรียนรู้ จนทีมงานพร้อมและทำได้เหมือนเรา หลังจากนั้นก็ปล่อยมือให้เขาทำกันเอง โดยเราดูแลให้ได้มาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด และย้ำกับทีมงานตลอดว่าต้องขายสินค้าที่ดี อร่อย และต้องซื่อสัตย์กับลูกค้าเสมอ” วลัยพร กล่าว

เมื่อร้านแรกไปได้สวย จากนั้นร้านสาขาที่ 2 ก็ตามมา แต่ครั้งนี้ไม่ใช่แค่เพราะอยากให้ลูกทานไก่มาตรฐานเท่านั้น แต่วลัยพรกับสามีคิดตรงกันว่า การลงทุนทำร้านอย่างน้อยก็เป็นการสร้างงานในคนพื้นที่ ให้มีรายได้ มีงานทำ และยังทำให้คนในชุมชนได้รับประทานอาหารที่มีมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เมื่อมีพื้นที่เหมาะสม เธอจึงเปิดร้านอีกสาขาใกล้บ้าน จากแนวคิดที่ว่าหากซื้อบ้านหลังละล้านกว่าบาท แล้วให้คนมาเช่าก็จะได้ค่าเช่าเดือนละ 3-4 พัน แต่ถ้ามาลงทุนกับร้านห้าดาวหรือซุ้มไก่ย่าง ก็ยังมีกำไรหมุนเวียนต่อเนื่อง

“จากร้านห้าดาวร้านแรก ใช้เวลาเพียง 1 ปี 3 เดือน ในการขยายสู่ร้าน 11 สาขาในวันนี้ ทั้งสาขาที่นครศรีธรรมราช 10 สาขา และขยายสาขาไปที่พัทลุงอีก 1 สาขา ไปทำที่บ้านเกิดของเรา เพราะอยากให้มีร้านห้าดาว ให้คนในพื้นที่บ้านเราได้รับประทานอาหารที่มีมาตรฐาน และคนในชุมชนก็ได้มีงานทำด้วย ถือว่าเราบรรลุเป้าหมายที่วางไว้แล้ว ทั้งเรื่องมาตรฐานอาหารที่ทุกคนควรมีโอกาสเข้าถึง และการสร้างงานสร้างอาชีพด้วยธุรกิจห้าดาว” วลัยพร บอกอย่างมั่นใจ

 

สำหรับกุญแจของความสำเร็จ วลัยพรบอกว่า เกิดจากสินค้าที่มีมาตรฐานที่ดี ซึ่งตัวเธอมั่นใจกับซีพี เพราะเคยทำงาน FOOD Store ของข้าวตราฉัตร มานานกว่า 7 ปี เธอเชื่อมั่นในทุกผลิตภัณฑ์ของบริษัท ที่มีการยกระดับมาตรฐานสินค้าที่ดีอยู่แล้ว ยิ่งธุรกิจห้าดาวที่เป็นผู้นำในธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหาร ที่มีการจัดการร้านและการจำหน่ายที่ดี ควบคู่กับการจัดโปรโมชั่นของบริษัท เมื่อผนวกกับการวางแผนการสั่งสินค้าที่เหมาะสม มีเทคนิคการขาย และการสร้างคนให้พร้อมในการทำงานเสมอ และเธอยังเข้าตรวจร้านทุกสาขา มีกล้องวงจรปิดที่สามารถสั่งการผ่านกล้องได้ ช่วยในการดูแลร้าน  ดูการทำงานของทีมงานและลูกค้า ทำให้ธุรกิจทั้ง 11 สาขาของวลัยพรสำเร็จได้อย่างไม่ยาก

“ห้าดาวไม่ใช่แค่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้เราเท่านั้น แต่ยังสร้างอาชีพให้คนในชุมชนอีกมากมาย ไม่เฉพาะร้านของเรา แต่หมายถึงธุรกิจแฟรนไชส์ห้าดาวทั่วประเทศ อีกกว่า 5,000 สาขา เชื่อว่าธุรกิจนี้จะกลายเป็นมรดกให้กับลูกๆได้ อย่างลูกคนโตอายุ 18 ปี ที่เริ่มเข้ามาเรียนรู้ธุรกิจต่อจากเราแล้ว ส่วนลูกคนเล็กอายุ 12 ปี ก็สนใจมาก โดยนำธุรกิจของแม่ ทั้งการบริหารงาน การดูแลการทำงานของทีมงาน ไปเสนอในวิชาเลือกธุรกิจที่โรงเรียน ถือว่าเป็นความภูมิใจของเขา สำหรับคนที่อยากทำธุรกิจสิ่งที่ต้องมุ่งเน้น คือ ความจริงจังและซื่อสัตย์กับลูกค้า ไม่หวังกำไรอย่างเดียว ต้องเป็นผู้ให้คืนกลับสู่สังคมด้วย” วลัยพร กล่าวทิ้งท้าย.

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน​) หรือซีพีเอฟ ร่วมมือกับกระทรวงแรงงานขับเคลื่อนต้นแบบองค์กรเอกชนปลอดยาเสพติด ดูแลพนักงานในสถานประกอบกิจการห่างไกลยาเสพติด มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน หนุนสร้างสังคมเข้มแข็ง เศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง ตั้งเป้าภายในปี 2567 นี้ ฟาร์มและโรงงานทั้ง 437 แห่งทั่วไทย ผ่านการรับรองโรงงานสีขาว

ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด “องค์กรสีขาว เพื่อย่างก้าวที่ยั่งยืน” ระหว่าง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.)​ และ ซีพีเอฟ จัดขึ้นที่ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน มีนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธี พร้อมมอบธงนำร่องสถานประกอบกิจการผ่านเกณฑ์โรงงานสีขาว และการดำเนินงานมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ (มยส.) แก่นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ และผู้บริหารบริษัทในกลุ่มซีพีเอฟ ซึ่งมีนางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พล.ต.ท. ภานุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการ ปปส. ร่วมลงนาม 

นายพิพัฒน์​ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน กล่าวว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติที่รัฐบาลมีนโยบายดำเนินการจัดการอย่างเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนให้ประเทศพัฒนาอย่างเข้มแข็งและมั่นคง กระทรวงแรงงานมุ่งเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และเอกชนบูรณาการดำเนินแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการอย่างเป็นระบบตามหลักเกณฑ์โรงงานสีขาว สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงในวันนี้เป็นหลักประกันว่าพนักงานของซีพีเอฟทุกคนได้ทำงานในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย มีระบบและกลไกในการแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดแบบครบ วงจร เป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กรที่มีแนวปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี ดูแลพนักงานทุกคนด้วยความเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อให้พนักงานทุกคนที่ทำงานในประเทศไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างยั่งยืน

“ขอชื่นชมซีพีเอฟที่ให้ความร่วมมือกับภาครัฐบรรลุเป้าหมายในการป้องกัน และหยุดยั้งปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน และยังมีการต่อยอดดูแลชุมชนที่อยู่รอบๆ หน่วยงานให้มีความเข้มแข็ง และห่างไกลจากยาเสพติดอย่างจริงจัง”​ นายพิพัฒน์ กล่าว

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า พนักงานเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนบริษัทฯ บรรลุวิสัยทัศน์การเป็นครัวของโลก ซีพีเอฟให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหายาเสพติดมาอย่างต่อเนื่อง การลงนามบันทึกความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด “ขับเคลื่อนองค์กรสีขาว เพื่อย่างก้าวที่ยั่งยืน”  เป็นการประกาศเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการต่อต้านยาเสพติด นำหลักเกณฑ์และแนวทางของโรงงานสีขาว  นำมาส่งเสริมและปฏิบัติอย่างเป็นระบบ  เพื่อพัฒนาสถานประกอบการของซีพีเอฟกว่า 437 แห่งทั่วประเทศ ให้เป็นองค์กรที่ปลอดจากยาเสพติด ซึ่งครอบคลุมพนักงานทั้งคนไทยและ พนักงานจากประเทศเพื่อนบ้านกว่า 70,000 คน  โดยการตั้งเป้าหมายภายในปีนี้ สถานประกอบกิจการทุกแห่งในประเทศไทย ได้รับการรับรองโรงงานสีขาวและมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ (มยส.) ร่วมสร้างความยั่งยืนขององค์กร ชุมชนและประเทศต่อไป

“ซีพีเอฟมีความยินดีร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน และภาคีเครือข่ายพัฒนาสถานประกอบกิจการของบริษัทฯ ทุกแห่งทั่วประเทศเป็นต้นแบบองค์กรดูแลพนักงานทุกคน และชุมชนรอบข้างมีภูมิคุ้มกันห่างไกล สนับสนุนสังคมไทยมีความเข้มแข็ง และเศรษฐกิจเติบโตอย่างมั่นคง ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาสามประโยชน์สู่ความยั่งยืนที่ผู้บริหารและพนักงานซีพีเอฟยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นลำดับแรก ประโยชน์ของประชาชนเป็นลำดับที่สอง และประโยชน์ของบริษัทเป็นลำดับสุดท้าย”​ นายประสิทธิ์กล่าว

ซีพีเอฟ ให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนองค์กรปลอดยาเสพติดและเป็นโรงงานสีขาว ตามโครงการ “ซีพีเอฟ องค์กรสีขาว เพื่อย่างก้าวที่ยั่งยืน” เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดี เคารพหลักสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่การให้ความรู้ความเข้าใจให้พนักงานมีความตระหนักและร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายด้านยาเสพติดอย่างจริงจัง การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดเป็นเครือข่ายที่สำคัญเป็นเกราะป้องกันไม่ให้พนักงานมีความเสี่ยงไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด รวมทั้งมีนโยบายช่วยเหลือพนักงานในการบำบัดรักษาและฟื้นฟู และให้โอกาสพนักงานที่รักษาหายสามารถกลับมาทำงานกับองค์กรได้ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการทุกแห่งของซีพีเอฟเป็นสมาชิกที่ดี และร่วมดูแลชุมชนรอบข้างปลอดจากยาเสพติด เพื่อสร้างสังคมเข้มแข็ง อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มั่นคงและยั่งยืน

X

Right Click

No right click